ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและองค์กร
Outline 2.1 ความสำคัญของสารสนเทศ 2.2 ความหมายของข้อมูล, สารสนเทศ, และความรู้ 2.3 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี 2.4 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.5 องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
2.1 ความสำคัญของสารสนเทศ ปัจจุบัน IT ได้ทวีความสำคัญขึ้นอย่างมาก ทั้งในชีวิตประจำวัน ชีวิตการทำงาน และการดำเนินงานองค์การต่าง ๆ จนบางครั้งอาจเปรียบสารสนเทศได้เสมือนกับสายเลือดที่หล่อเลี้ยงการทำงานแทบทุกด้านขององค์กร และผลกระทบของสารสนเทศมีอย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม องค์กร รวมทั้งการทำงานในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ "Information Is Power!"
2.1 ความสำคัญของสารสนเทศ (ต่อ) บทบาทความสำคัญของสารสนเทศ เป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม Alvin Toffler (1980) ได้แบ่งวิวัฒนาการของสังคมโลกออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคเกษตรกรรม » ที่ดิน, แรงงาน ยุคอุตสาหกรรม » คน, เครื่องจักร ยุคสารสนเทศ » ข้อมูล, ข่าวสาร, ความรู้
2.1 ความสำคัญของสารสนเทศ (ต่อ) การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในปัจจุบันทำให้สารสนเทศ มีความสำคัญเพิ่มขึ้น โดยเน้นประเด็นต่อไปนี้ ระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ การเปลี่ยนแปลงด้านองค์กรและการบริหาร การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
2.1 ความสำคัญของสารสนเทศ (ต่อ) ระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ มีลักษณะ 3 ประการคือ ระบบเศรษฐกิจโลก (Global Economy) ระบบเศรษฐกิจซึ่งเน้นการบริการที่อาศัยสารสนเทศ เป็นหลัก เครือข่ายความสัมพันธ์
2.1 ความสำคัญของสารสนเทศ (ต่อ) การเปลี่ยนแปลงองค์กรและการบริหาร มีลักษณะ 3 ประการคือ องค์กรแบบใหม่ การบริหารแบบใหม่ การบริหารที่เน้นความโปร่งใสและตรวจสอบได้
2.1 ความสำคัญของสารสนเทศ (ต่อ) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มากขึ้น ราคาถูกลง มีรูปแบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่หลากหลาย เทคโนโลยีมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจและการทำงานสาขาวิชาชีพต่าง ๆ เช่น การแพทย์, วิทยาศาสตร์, ประวัติศาสตร์, ปรัชญา, รัฐศาสตร์, ดนตรี ฯลฯ
2.2 ความหมายของข้อมูล, สารสนเทศ, ความรู้ ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการ จุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่งคือ การประมวลผลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
2.2 ความหมายของข้อมูล, สารสนเทศ, ความรู้ (ต่อ) ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
2.2 ความหมายของข้อมูล, สารสนเทศ, ความรู้ (ต่อ) ความหมายของสารสนเทศ สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้
ความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ INPUT 14 32 85 16 23 DATA PROCESS หาผลรวมตัวเลข 5 ตัว 170 หารด้วยเลข 5 34 OUTPUT ค่าเฉลี่ยของตัวเลข ที่หาได้ คือ 34 INFORMATION
2.2 ความหมายของข้อมูล, สารสนเทศ, ความรู้ (ต่อ) ความหมายของความรู้ ความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศบวกกับ Know-how คือ สารสนเทศอย่างเดียวไม่พอที่จะทำให้เกิดความรู้ เราต้องเข้าใจวิธีที่ดีที่สุดในการใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหาผลิตสินค้าหรือบริการ (Kogut & Zander, 1992) ความรู้ คือ ความรับรู้และความเข้าใจในการนำสารสนเทศไปใช้ในการแก้ปัญหาในการดำเนินงาน (ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์, 2546)
2.2 ความหมายของข้อมูล, สารสนเทศ, ความรู้ (ต่อ) ความเข้าใจ (Know- How) ประมวลผลข้อมูล (Data Processing) ข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) ความรู้ (Knowledge)
2.3 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี คุณค่าของสารสนเทศของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน (Haag et al, 2000) จะกำหนดลักษณะของสารสนเทศที่ดีไว้ 4 มิติ คือ มิติด้านเวลา (Time) มิติด้านเนื้อหา (Content) มิติด้านรูปแบบ (Format) มิติด้านกระบวนการ (Process)
2.3 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี (ต่อ) มิติด้านเวลา การทันเวลา (Timeliness) »สามารถหาได้รวดเร็วทันเวลาที่ต้องการ ความเป็นปัจจุบัน (Up-to-date)» มีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ มีระยะเวลา (Time Period) » มีข้อมูลทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและการตัดสินใจ
2.3 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี (ต่อ) มิติด้านเนื้อหา ความถูกต้องเที่ยงตรง » สารสนเทศซึ่งไม่มีข้อผิดพลาด ความสัมพันธ์กับเรื่อง » สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการ ความสมบูรณ์ » คลอบคลุมรายละเอียดที่สำคัญทุกเรื่องที่ต้องการทราบ ความน่าเชื่อถือได้ » ขึ้นอยู่กับการเก็บรวบรวมข้อมูล และแหล่งที่มาของข้อมูล ตรวจสอบได้ » ตรวจสอบความถูกต้องและแหล่งที่มา
2.3 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี (ต่อ) มิติด้านรูปแบบ ความชัดเจน ระดับของการนำเสนอรายละเอียด รูปแบบการนำเสนอ สื่อในการนำเสนอ ความยืดหยุ่น ความประหยัด
2.3 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี (ต่อ) มิติด้านกระบวนการ ความสามารถในการเข้าถึง การมีส่วนร่วม การเชื่อมโยง
2.4 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
2.4 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือ เอ็มไอเอส (management information system - MIS) หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือขั้นตอนที่ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ (http://th.wikipedia.org/wiki/ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ)
2.4 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไป กล่าวคือระบบนี้จะใช้ในการวิเคราะห์ระบบอื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในทางวิชาการ คำว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้ถูกใช้ในส่วนของรูปแบบการจัดการข้อมูล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบช่วยในการตัดสินใจ
2.4 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียน การสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
2.4 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน เช่น 1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน 2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม 3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ 4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา 5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาค้นคว้าจะประกอบ ไปด้วย 3 หลักใหญ่ คือ การศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) เรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้ทำระบบการทำงานของ Internet เข้าใจในระบบการติดต่อสื่อสาร เช่น การส่ง Email เป็นต้น การศึกษากับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง (interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation)
เทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า (ต่อ) การศึกษาโดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
2.5 องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems : CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอร์ฟแวร์ (Software) ฐานข้อมูล (Database) เครือข่าย (Network) กระบวนการ (Procedure) คน (People)