โครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน (Zoning) นายกัมปนาท รุ่งเรืองชัยศรี รักษาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยี โรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน) การดำเนินงาน ปี 2557 กำหนดพื้นที่อุตสาหกรรมระดับจังหวัด จำนวน 14 จังหวัด ปี 2558 แผนพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม จำนวน 5 จังหวัด แนวทางการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม จำนวน 15 จังหวัด* ปี 2559 แผนพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม จำนวน 15 จังหวัด* แนวทางการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม จำนวน 2 จังหวัด หมายเหตุ : กลุ่ม 15 จังหวัดในปี 2558 เป็นการศึกษาเบื้องต้น และได้ศึกษาต่อในปี 2559
โครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน) ปี 2557 จังหวัดเป้าหมาย 14 จังหวัด แบ่งเป็น กลุ่มจังหวัดที่มีอุตสาหกรรมหนาแน่น จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง นครปฐม พระนครศรีอยุธยา ระยอง สมุทรปราการ และสมุทรสาคร กลุ่มจังหวัดที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตสูง จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ปราจีนบุรี เพชรบุรี สระบุรี และสุพรรณบุรี ผลลัพธ์ กำหนดพื้นที่อุตสาหกรรม ทั้ง 14 จังหวัด ระบบฐานข้อมูล GIS ทั้ง 14 จังหวัด http://gisweb.diw.go.th/zoning1/ สีเขียว: กลุ่มหนาแน่นฯ สีเหลือง: กลุ่มเติบโตสูง
โครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน) ปี 2558 จังหวัดเป้าหมาย 20 จังหวัด แบ่งเป็น กลุ่มจังหวัดตามยุทธศาสตร์เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด และสงขลา กลุ่มจังหวัดตามภูมิภาค จำนวน 15 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ ร้อยเอ็ด หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี ปทุมธานี ราชบุรี ชุมพร ระนอง กระบี่ และสุราษฏร์ธานี ผลลัพธ์ Map แสดงศักยภาพพื้นที่อุตสาหกรรมของ 5 จังหวัดตามยุทธศาสตร์ SEZ พร้อมทั้งจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมของจังหวัด 15 จังหวัด ตามภูมิภาคเป็นการศึกษาเบื้องต้น ผลที่ได้เป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม สีแดง: กลุ่ม SEZ Phase 1 สีฟ้า: จังหวัดตามภูมิภาค
โครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน) ปี 2558 (ต่อ) ตัวอย่างแผนที่แสดงระดับศักยภาพ ความเหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม จากการวิเคราะห์เชิงกายภาพของพื้นที่ทางเทคนิค Potential Surface Analysis (PSA)
โครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน) ปี 2559 (กำลังดำเนินการ) จังหวัดเป้าหมาย 17 จังหวัด แบ่งเป็น กลุ่มจังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ นครพนม และนราธิวาส กลุ่มจังหวัดที่ศึกษาในปี 2558 จำนวน 15 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ ร้อยเอ็ด หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี ปทุมธานี ราชบุรี ชุมพร ระนอง กระบี่ และสุราษฏร์ธานี ผลลัพธ์ของโครงการ Map แสดงพื้นที่ศักยภาพอุตสาหกรรมของจังหวัด จำนวน 15 จังหวัด พร้อมทั้งจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมของจังหวัด กลุ่มจังหวัด SEZ จำนวน 2 จังหวัด เป็นการศึกษาเบื้องต้น เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของจังหวัด
ปัจจุบัน มีการศึกษาศักยภาพพื้นที่อุตสาหกรรมแล้วจำนวน 19 จังหวัด โครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน) สรุปการดำเนินงาน โครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมฯ ปี 2557-2559 ปี 2557 แผนที่แสดงศักยภาพพื้นที่อุตสาหกรรม และประเภทอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งหมด 14 จังหวัด ระบบฐานข้อมูล GIS: http://gisweb.diw.go.th/zoning1/ ปี 2558 แผนพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม รวมถึงการกำหนดศักยภาพพื้นที่อุตสาหกรรมจากเทคนิค PSA และประเภทอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งหมด 5 จังหวัด แนวทางการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการศึกษาเบื้องต้นสำหรับ 15 จังหวัดตามภูมิภาค ปี 2559 ศึกษาต่อจาก ปี 2558 จำนวน 15 จังหวัด เพื่อกำหนดศักยภาพพื้นที่อุตสาหกรรม และจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม ศึกษาศักยภาพพื้นที่อุตสาหกรรมเบื้องต้น สำหรับจังหวัด SEZ จำนวน 2 จังหวัด ปัจจุบัน มีการศึกษาศักยภาพพื้นที่อุตสาหกรรมแล้วจำนวน 19 จังหวัด
การดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2558 ข้อเสนอข้อกำหนดที่ยืดหยุ่นตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 “มติ ครม. เห็นชอบข้อเสนอข้อที่ 1 ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการยกเลิกบัญชีกำหนดประเภทจำพวกโรงงานท้ายกฎกระทรวงบังคับใช้ผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน และจัดทำข้อกำหนดที่มีลักษณะยืดหยุ่น สามารถรองรับนโยบายหรือยุทธศาสตร์ของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ได้ รวมทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและที่จำเป็นต้องมีเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ”
การดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2558 ข้อเสนอข้อกำหนดที่ยืดหยุ่นตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 อก. โดย กรอ. ได้ติดตามตรวจสอบข้อมูล/ร่างกฎกระทรวงบังคับใช้ผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน/จังหวัด ที่กระทรวงมหาดไทยส่งมาให้พิจารณาเสนอความเห็นเป็นจำนวนมาก ซึ่งในส่วนของผังเมืองรวมจังหวัดพบว่ามีจำนวน 73 จังหวัด ประกาศเป็นกฎกระทรวงบังคับใช้แล้วจำนวน 33 จังหวัด อยู่ระหว่างรอการประกาศอีก 40 จังหวัด มีประเด็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดที่ไม่ยืดหยุ่นที่ตรวจสอบพบมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
การดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2558 ข้อเสนอข้อกำหนดที่ยืดหยุ่นตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 รูปแบบข้อกำหนดในปัจจุบัน 1. ผังเมืองรวม 38 จังหวัด มีข้อกำหนดเป็นบัญชีกำหนดประเภทจำพวกโรงงานท้ายกฎกระทรวงฯ ซึ่งมีลักษณะไม่หยืดหยุ่น เช่น จังหวัดพังงา จังหวัดพัทลุง จังหวัดกาญจนุบรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดปทุมธานี ฯลฯ 2. ผังเมืองรวม 35 จังหวัด ไม่มีบัญชีกำหนดประเภทจำพวกโรงงานท้ายกฎกระทรวงฯ แต่มีข้อกำหนดที่มีลักษณะไม่ยืดหยุ่นและไม่เอื้อต่อการลงทุนด้านอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้
ตัวอย่างบัญชีท้ายกฎกระทรวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
การดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2558 ข้อเสนอข้อกำหนดที่ยืดหยุ่นตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 ลักษณะข้อกำหนดที่ไม่ยืดหยุ่น 1. ข้อกำหนด กำหนดประเภทจำพวกโรงงานที่ไม่ให้ตั้งโรงงานจำนวนมาก เป็นลักษณะของการยุบบัญชีกำหนดประเภทจำพวกโรงงานท้ายกฎกระทรวงฯ แล้วกำหนดเป็นข้อความ เช่น จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตัวอย่างร่างกฎกระทรวงบังคับใช้ผังเมืองรวมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในพื้นที่สีเขียว กำหนดห้ามใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการประกอบกิจการโรงงาน ดังต่อไปนี้ ลำดับที่ 7(1)(4), 11(3)(4)(6), 16, 17, 18, 19(2), 22(1)(2)(3)(4), 24, 27(2), 29, 30, 31, 32(2), 38(1)(2), 42(1)(2), 43(1)(2)
โครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน) ข้อเสนอข้อกำหนดที่ยืดหยุ่นตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 2. ข้อกำหนดที่ไม่เป็นมาตรฐานที่ชัดเจนแต่ละจังหวัดแตกต่างกัน ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ใช้และผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจที่แตกต่างกัน เช่น บางจังหวัดมีการกำหนดประเภท ชนิด การประกอบกิจการโรงงานที่ไม่ครบถ้วน บางจังหวัดมีการห้ามการประกอบกิจการบางประเภท แต่ยกเว้นบางแปลงโฉนดที่ดินให้ประกอบกิจการได้บางจังหวัดมีการห้ามประกอบกิจการโรงงานบางประเภทในพื้นที่สีม่วง บางจังหวัดกำหนด ข้อยกเว้นซ้อนข้อยกเว้นยากแก่การทำความเข้าใจ เช่น จังหวัดระยอง จังหวัดสงขลา จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตัวอย่างร่างกฎกระทรวงบังคับใช้ผังเมืองรวมจังหวัดระยอง ในพื้นที่สีม่วง กำหนดห้ามใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการประกอบอุตสาหกรรมบางประเภท ยกเว้นบริเวณหมายเลข 3.17 และ 3.19 ในพื้นที่สีเขียว กำหนดห้ามใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการประกอบกิจการโรงงานทุกประเภท เว้นแต่โรงงานตามประกาศกระทรวงฯ เรื่อง การกำหนดประเภทของอุตสาหกรรมการบริการ แต่ไม่หมายความรวมถึงโรงงานลำดับที่ 26(2), 63(2), 88 และ ลำดับที่ 101 ให้ประกอบกิจการได้เฉพาะโรงงานบำบัดน้ำเสียชุมชน
การดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2558 ข้อเสนอข้อกำหนดที่ยืดหยุ่นตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 3. ข้อกำหนดที่ไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และศักยภาพเศรษฐกิจของจังหวัด เช่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดนครสวรรค์ มีข้อกำหนดที่ห้ามตั้งโรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตเอทานอล ซึ่งเป็นโรงงานที่ต่อเนื่องจากภาคเกษตรกรรม ทั้งที่จังหวัดเหล่านี้มีโครงการและพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวนมาก
ตัวอย่างบัญชีท้ายกฎกระทรวงจังหวัดชัยภูมิ ไม่อนุญาตลำดับที่ 11(3), 11(4) ไม่อนุญาตลำดับที่ 17
การดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2558 ข้อเสนอข้อกำหนดที่ยืดหยุ่นตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 4. ข้อกำหนดห้ามจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรมซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ไม่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมรวมกลุ่มกันทำให้ไม่สามารถตั้งนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรมตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 ได้ ซึ่งข้อกำหนดนี้ปรากฎในทุกประเภทที่ดิน ซึ่งเป็นพื้นที่เกือบทั้งหมดของจังหวัด จะมีเพียง ประเภทที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมที่ให้จัดสรรที่ดินได้แต่ว่าการวางผังเมืองมีการกำหนดพื้นที่สีม่วงไม่มาก และบางผังเมืองกำหนดพื้นที่สีม่วงไว้เพียงพื้นที่เล็กน้อยกำหนดเฉพาะพื้นที่โรงงานเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือกำหนดในทำเล ที่ไม่เหมาะสม เช่น จังหวัดเลย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตัวอย่างผังเมืองจังหวัดระนอง ตัวอย่างผังเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
การดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2558 ข้อเสนอข้อกำหนดที่ยืดหยุ่นตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 5. ข้อกำหนดอื่นๆ เช่น ห้ามประกอบกิจการในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ ห้ามขยายโรงงานยกเว้นมีพื้นที่ติดต่อกันและครอบครองมาก่อนแล้ว ห้ามตั้งโรงงานที่มีความเสี่ยงตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น จังหวัดระยอง จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งลักษณะอาคารของโรงงานที่เป็นอาคารสมัยใหม่จะมีความสูงมากกว่า 23 เมตร หรือมีพื้นที่มากกว่า 2,000 ตารางเมตร ไม่สามารถตั้งโรงงานได้ เนื่องจากเข้าข่ายอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่ต้องห้ามตามข้อกำหนดของผังเมือง
ตัวอย่างร่างกฎกระทรวงบังคับใช้ผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท ในพื้นที่สีเขียว กำหนดการประกอบกิจการอื่นที่นอกเหนือจากการเกษตร ให้ประกอบกิจการได้ในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ ขยายพื้นที่โรงงานได้เฉพาะพื้นที่ที่ใช้ในการผลิตได้อีกไม่เกิน 1 เท่าของพื้นที่ที่ใช้ในการผลิตเดิม ทั้งนี้ พื้นที่โรงงานที่ขยายได้ต้องเป็นพื้นที่ในที่ดินแปลงเดียวกันหรือติดต่อเป็นแปลง เดียวกัน ซึ่งเจ้าของโรงงานเดิมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้
หลักการเพื่อจัดทำข้อกำหนดที่ยืดหยุ่น 3 ข้อ 1. เป็นมาตรฐานชัดเจนที่ตรงกันและเข้าใจง่าย 2. ประเภทโรงงานที่มิได้มีไว้เพื่อให้บริการชุมชนจะถูกแยกออกจากพื้นที่เมือง 3. การประกอบกิจการโรงงาน จะต้องไม่ก่อความเดือดร้อนรำคาญเป็นอันตราย หรือก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ข้อเสนอข้อกำหนดที่ยืดหยุ่น 1. กรณีพื้นที่ในเมือง ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม (สีแดง) ประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) 1.1 ห้ามตั้งโรงงานทุกประเภท ยกเว้นโรงงานที่ให้บริการแก่ชุมชน 2. กรณีพื้นที่นอกเมือง ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ประเภทชุมชน (สีชมพู) 2.1 ห้ามตั้งโรงงานที่ไม่มีระบบควบคุมการปล่อยของเสียมลพิษหรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน 2.2 ห้ามตั้งโรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง (EHIA) ตาม ประกาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) 2.3 ห้ามตั้งโรงงานทุกประเภท ยกเว้นโรงงานเพื่อการสาธารณูปโภค 3. กรณีพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ (สีม่วง) ข้อกำหนดต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการ ประกอบอุตสาหกรรม
ขอบคุณมากครับ นายกัมปนาท รุ่งเรืองชัยศรี รักษาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม