การวัดผลและประเมินผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของ TQF

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Objective Analysis การวิเคราะห์วัตถุประสงค์
Advertisements

รู้จัก TQF และแบบมคอ. จัดโดย งานการศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Objective Analysis การวิเคราะห์วัตถุประสงค์
What is MEQ Workshop on “MEQ Examination for Preclinical Years”
จุดมุ่งหมายการศึกษา และพฤติกรรมการศึกษา
The Revised Bloom’s Taxonomy
ผศ.ดร.อังสนา บุญธรรม ภาควิชาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล
อบรมปฏิบัติการ จัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
โครงงานคืออะไร หลักการของการเรียนรู้ของ โครงงาน จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ ด้วยโครงงาน โครงงานกับการเรียนรู้แบบต่างๆ ลักษณะเด่นของการเรียนรู้ด้วย.
Active Learning ผศ. ดร. เยาวเรศ ภักดีจิตร ภาควิชาหลักสูตร และการสอน.
แนวทาง การวัดและประเมินผล “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
Heart : การเสริมสร้างคุณลักษณะและค่านิยม. Heart ประเด็นการนำเสนอ  1. นิยามศัพท์  2. จุดมุ่งหมายการจัดกิจกรรมฯ  3. แนวทางการจัดกิจกรรมฯ  4. รูปแบบการจัดกิจกรรมฯ.
ารวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา
องค์ประกอบที่ 1 หลักสูตร องค์ประกอบที่ 1 หลักสูตร “หลักสูตรผลิตครู 5 ปี ให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง เป็นหลักสูตรที่ได้ มาตรฐานวิชาการ และมาตรฐานวิชาชีพครู
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
การพัฒนาการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐
การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project based Learning : PBL)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
รูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ Moderate Class More Knowledge
ระดับหลักสูตร ผศ.ดร.พนมขวัญ ริยะมงคล มีนาคม 2561.
การอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (DVE : Dual Vocational Education)
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลยา ธเนศพงศ์ธรรม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
การวัดและประเมินการปฏิบัติ
การวัดและประเมินผลการศึกษา
Project based Learning
บทที่ 8 เครื่องมือการวิจัย
“แนวทางการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ”
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
การจัดทำแบบบรรยายลักษณะงาน (Job Description) และตัวชีวัดระดับบุคคล
เทคนิคการสอนยุค IT ตอนที่ 2
การประเมินคุณภาพหลักสูตรรายวิชา “
การวิจัยในชั้นเรียน( Classroom Action Research)
การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Hilda  Taba  (ทาบา).
แนวทางการบริหารงานเพื่อสอดรับ กับการปรับระบบบริหารงานบุคคล
การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน พ.ศ
การทวนสอบและการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
บทที่ 4 กระบวนการวินิจสาร
ความหมายและความสำคัญ ของการประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment)
การประเมินผลการเรียนรู้
รายละเอียดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร
ครูกับการออกแบบการเรียนรู้ สู่คุณภาพเด็กไทย
แผนกิจกรรมการสร้างการรับรู้ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเน็ตประชารัฐ
การสร้างข้อสอบตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร
ผู้วิจัย ศิริมา เที่ยงสาย
ปฏิรูปการเรียนรู้ ครูและผู้เรียน ด้วย Active Learning PLC และการนิเทศ
ดร.ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ ครูเชี่ยวชาญ (คศ.4)
กระบวนการเรียนรู้ของผู้บริโภค
การวัดและประเมินผลการศึกษา
สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ.
ดร.ภาสกร พงษ์สิทธากร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ.
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เทคนิคการเขียนข้อสอบ
12-13 พฤษภาคม 2561 ณ หอประชุมภัคพิพิธ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒
การเก็บรวบรวมข้อมูล.
การดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2554
การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
Skills of 21st century learning ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3Rs X 7Cs (เรียนรู้ตลอดชีวิต) Reading ’Riting (Writing) ’Rithmetic (Arithmetic) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
นักวิชาการกับงานวิชาการเพื่อสังคม (และตำแหน่งทางวิชาการ)
คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
การวางแผนงานสาธารณสุข
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การวัดผลและประเมินผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของ TQF รศ.ดร. อรสา จรูญธรรม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

องค์ประกอบ ของการจัดการศึกษา องค์ประกอบ ของการจัดการศึกษา O : Objective L : Learning Experience E : Evaluation

การศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงเพื่อเป็นพลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ

สาเหตุที่ต้องพัฒนาคุณภาพการอุดมศึกษา 1.ต้องพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้มาตรฐานใกล้เคียงกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2. การเปลี่ยนแปลงสังคมสู่สังคมเศรษฐกิจ ฐานความรู้ของโลกปัจจุบัน Knowledge Based Economy 3. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสาร

4. การเคลื่อนย้ายของนักศึกษา ครู อาจารย์ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย (Thai Qualifications Framework for Higher Education; TQF: HEd) เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หลักการที่สำคัญของ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา มุ่งเน้นที่มาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตในแต่ละคุณวุฒิ/ปริญญาของสาขาวิชาต่างๆ เพื่อประกันคุณภาพบัณฑิตและสื่อสารให้สังคมได้เข้าใจและมั่นใจในกระบวนการผลิตบัณฑิต มุ่งให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบัน อุดมศึกษาทุกแห่งของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้กับสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนที่พัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการศึกษา

มาตรฐานผลการเรียนรู้ หมายถึง ข้อกำหนดเฉพาะซึ่งเป็นผลที่สถาบันอุดมศึกษามุ่งหวังให้ผู้เรียนพัฒนาขึ้นจากการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ที่ได้รับการพัฒนาระหว่างการศึกษาจากการเรียนและการเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่สถาบันอุดมศึกษาจัดให้ทั้งในและนอกหลักสูตร

มาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน มีดังนี้ มาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน มีดังนี้ 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของคุณวุฒิระดับปริญญาตรี

1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม ผู้เรียนระดับปริญญาตรีจะต้องสามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม และวิชาชีพโดยใช้การวินิจฉัยทางค่านิยม ทางศีลธรรม ทางความรู้สึกของผู้อื่น ค่านิยมพื้นฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ แสดงออกซึ่งพฤติกรรมทาง ด้านคุณธรรม จริยธรรมระดับสูง เช่น มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ เป็นแบบอย่างที่ดี เข้าใจผู้อื่นและเข้าใจโลกเป็นต้น

2. ด้านความรู้ ผู้เรียนระดับปริญญาตรีต้องมีองค์ความรู้ในสาขาวิชาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ตระหนักรู้หลักการและทฤษฏีใน องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง สำหรับหลักสูตรวิชาชีพ มีความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของความรู้เฉพาะด้านในสาขาวิชา และตระหนักถึงงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ ส่วนหลักสูตรวิชาชีพที่เน้นการปฏิบัติ จะต้องตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์

3. ด้านทักษะทางปัญญา ผู้เรียนระดับปริญญาตรีต้องสามารถค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิดและทฤษฎีใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและงานอื่นๆ ด้วยตนเอง สามารถศึกษาปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงทฤษฏี ประสบการณ์ทางภาคปฏิบัติและผลกระทบจากการตัดสินใจ สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจอันถ่องแท้ในเนื้อหาสาระทางวิชาการและวิชาชีพ สำหรับหลักสูตรวิชาชีพ นักศึกษาสามารถใช้วิธีการปฏิบัติงานประจำและหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ เป็นผลการเรียนรู้ที่มีส่วนช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่ม สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจนและต้องใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ รวมทั้งพัฒนาตนเองและอาชีพอย่างต่อเนื่อง

5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข สามารถศึกษาและทำความเข้าใจในประเด็นปัญหา สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมาย และนำเสนอข้อมูลสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในการพูด การเขียน สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันได้

การประเมินผลการเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

ด้านคุณธรรม จริยธรรม 1. ผลการเรียนรู้ 1) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 2) มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาด้านจริยธรรม และความขัดแย้ง 3) มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรม และจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ

ผลการเรียนรู้ (ต่อ) 4) มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการพัฒนา เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น ทั้งในการดำรงตนและการปฏิบัติงาน และมีภาวะผู้นำ 5) มีวินัย มีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กร และสังคม 6) มีจิตสำนึกสาธารณะและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

2. กลยุทธ์การสอน ผู้สอนทุกคนจะต้องรับผิดชอบพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่กำหนด โดยจะต้องใช้กลวิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น การยกกรณีปัญหา การสร้างสถานการณ์จำลอง การปลูกฝังจิตสาธารณะ ปลูกฝังจิตสำนึกร่วมกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างกิจกรรมการสอน จัดรายวิชาคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมทุกรายวิชา สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน สอนโดยอ้างอิงจรรยาบรรณทางวิชาชีพ เชิญผู้มีประสบการณ์หรือพระบรรยายพิเศษ ผู้สอนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

3. วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผลการสอบในรายวิชาคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียนร่วมกันและกับผู้สอนทุกคน

3. วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (ต่อ) ประเมินพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม การรายงานผลงาน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ กำหนดหัวข้อทางคุณธรรม จริยธรรมให้ผู้เรียนแสดงออก ผลการประเมินจากการฝึกงานจากสถานประกอบการที่ผู้เรียนเข้าฝึกงาน

3. วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (ต่อ) สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและข้อบังคับ ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม

3. วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (ต่อ) ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ประเมินจากความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ประเมินจากกรณีศึกษา การอภิปรายด้านความรู้และความรับผิดชอบ

ด้านความรู้ 1. ผลการเรียนรู้ มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ในกระบวนการ และเทคนิคการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ในงานอาชีพ สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการในวิชาชีพเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้

2. กลยุทธ์การสอน ผู้สอนจะต้องใช้วิธีและเทคนิคการสอนหลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยต้องเน้นทั้งความรู้ภาคทฤษฏีและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ รวมถึงทักษะต่างๆ ผู้สอนควรจะต้องมีการเชิญวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ โดยเฉพาะจากสถานประกอบการ นอกจากนี้ควรจะต้องมีการพาไปศึกษาดูงานนอกสถานที่หรือในสถานประกอบการตามสาขาวิชานั้นๆ

ตัวอย่างกิจกรรมการสอน การบรรยาย มอบหัวข้อเรื่องให้ค้นคว้าและทำรายงาน ทั้งเดี่ยวและกลุ่ม ทำรายงานเปรียบเทียบความรู้จากห้องเรียนกับการทำงานจริงภาคปฏิบัติ อภิปรายเป็นกลุ่ม

ตัวอย่างกิจกรรมการสอน (ต่อ) การศึกษานอกสถานที่และทำรายงาน สอนโดยการสาธิตและฝึกปฏิบัติ ใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานการสอนที่เน้นการแก้ปัญหาหรือการสอนที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

3. วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3. วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ทดสอบทฤษฎีและปฏิบัติ โดยการสอบย่อย และให้คะแนน ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายและรายงาน ประเมินจากรายงานที่ให้ค้นคว้า และการฝึกปฏิบัติต่างๆ

ด้านทักษะทางปัญญา 1.ผลการเรียนรู้ 1. สามารถประมวล และศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ข้อโต้แย้ง และสังเคราะห์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และตามขั้นตอนเชิงวิทยาศาสตร์ 2. หาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมทั้งเชิงกว้าง และเชิงลึก 3. สามารถแก้ปัญหาที่ใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ได้

1. ผลการเรียนรู้ (ต่อ) 4. สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปสู่การฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม 5. สามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ และจากศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาทักษะการทำงานให้เกิดประสิทธิผล

2. กลยุทธ์การสอน การสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะทางปัญญา ผู้สอนควรใช้วิธีและเทคนิคการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางปัญญา (Brain-based leaning) เช่น การสอนโดยเน้นการวิจัย (Research-based learning) การสอนโดยเน้นการแก้ปัญหา (Problem-based learning) การสอนแบบโครงการ (Project-based learning)

ตัวอย่างกิจกรรมการสอน 1. กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ 2. อภิปรายเป็นกลุ่ม 3. การมอบหมายงานให้ค้นคว้า หรืองานที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนา 4. การบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประกอบการ 5. การฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง ตัวอย่างกิจกรรมการสอน

3.วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินผลจากผลงานที่มอบหมายให้ทำ การสอบข้อเขียน การเขียนรายงาน การประเมินจากการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง

ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 1. ผลการเรียนรู้ ปฏิบัติและรับผิดชอบงานตามหน้าที่และบทบาทของตนในการทำงานเป็นทีมได้ สามารถพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัย อย่างต่อเนื่องและตรงตามมาตรฐานสากล สามารถจัดการทรัพยากรเพื่อการทำงานและการบริหารได้อย่างเหมาะสม

2. กลยุทธ์การสอน การจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และมีความรับผิดชอบจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ฝึกให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ เช่น มีทักษะการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวได้ดี มีมนุษยสัมพันธ์ มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย สามารถเป็นผู้นำและผู้ตามได้ดี

ตัวอย่างกิจกรรมการสอน บรรจุเนื้อหาความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรายวิชาชีพ มอบหมายงานเป็นกลุ่มย่อย และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยหมุนเวียนกันในกลุ่ม สอนโดยการใช้กรณีศึกษา

3. วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3. วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินจากผลงานของกลุ่มและผลงานของผู้เรียนในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ทำงาน ประเมินตนเอง และประเมินซึ่งกันและกัน(peer) ใช้แฟ้มสะสมงาน(portfolio) ในการประเมิน สังเกตพฤติกรรมในการเรียน ใช้ผลการประเมินจากการฝึกงาน

ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1.ผลการเรียนรู้ สามารถใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม

1. ผลการเรียนรู้ (ต่อ) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร และการนำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในการประมวล การแปลความหมาย และการวิเคราะห์ข้อมูล

2. กลยุทธ์การสอน ผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูลและ นำเสนอผลงาน

ตัวอย่างกิจกรรมการสอน สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนใช้ความสามารถทางภาษาในการติดต่อกับคนไทยและต่างชาติโดยการใช้ทักษะทั้งการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน จัดห้องปฏิบัติการ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อฝึกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพ ฝึกให้นำเสนอผลงานที่ค้นคว้าด้วยตนเองโดยใช้รูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย

ตัวอย่างกิจกรรมการสอน (ต่อ) บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟต์แวร์หรือสื่อต่าง ๆ ในทุกรายวิชา ฝึกแก้ปัญหาหรือโจทย์ที่จำเป็นต้องใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ หรือสถิติ ฝึกอ่านผลงานวิจัย และฝึกปฏิบัติทำวิจัย

3. วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3. วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินผลโดยการสอบข้อเขียนและปากเปล่า และการฝึกปฏิบัติการทางภาษา ประเมินผลจากรูปแบบการนำเสนอผลงาน ประเมินผลจากการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประเมินผลจากการสรุปหัวข้อที่มอบหมายให้ค้นคว้า ประเมินผลงานวิจัย

จุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Educational Objectives )

จุดมุ่งหมาย หรือ จุดประสงค์ ที่สำคัญของการเรียนการสอน คือ เพื่อให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่พึงประสงค์ พฤติกรรมเหล่านี้จำแนกและจัดลำดับออกเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า Taxonomy of Educational objectives

บลูม และคณะ (Bloom and Others: 1971) ได้จำแนกพฤติกรรมทางการศึกษาในการวัดและประเมินผลของผู้เรียน เป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) และ ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)

พุทธิพิสัย (Cognitive domain) เป็นจุดมุ่งหมาย ที่ต้องการพัฒนาความสามารถทาง สมองหรือ สติปัญญาของผู้เรียน การประเมินค่า การสังเคราะห์ การวิเคราะห์ การนำไปใช้ ความเข้าใจ ความรู้-ความจำ

จุดมุ่งหมายทางการศึกษา ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive domain) จำแนกออกเป็น ความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินผล ง่าย ยาก

คำที่แสดงการกระทำจำแนกตามระดับต่างๆ ของจุดมุ่งหมายทางการศึกษาด้านพุทธิพิสัย 1. ความรู้-ความจำ บอก บ่งชี้ บรรยาย แยกประเภท จัดลำดับ ระบุ ให้ตัวอย่าง ให้นิยาม ให้เครื่องหมาย 2. ความเข้าใจ แปล เปลี่ยนรูป ใช้ภาษาของตนเอง ยกตัวอย่าง ตีความ บอก จัดเรียงใหม่ ทำนาย กะประมาณ ขยาย คาดคะเน ลงสรุป 3. การนำไปใช้ บอก ใช้ คำนวณ เลือก สร้าง เสนอ แก้ปัญหา ผลิต แสดง ดัดแปลง สาธิต เตรียม

คำที่แสดงการกระทำจำแนกตามระดับต่างๆ ของจุดมุ่งหมายทางการศึกษาด้านพุทธิพิสัย 4. การวิเคราะห์ บอก บ่ง จำแนก สกัด ค้นหา แยกแยะ บอกความแตกต่าง-คล้ายคลึง ลงสรุป จัดประเภท ประมาณราคา จัดจำพวก ตั้งคำถาม ทดสอบ 5. การสังเคราะห์ บอก เขียน สร้าง แก้ไข รวบรวม ประกอบ ขยาย ริเริ่ม ผลิต วางโครงการ เสนอ ออกแบบ ปรับปรุง พัฒนา อนุมาน พิสูจน์ ค้นหา 6. การประเมินผล ตัดสิน ประเมิน โต้แย้ง ใช้เกณฑ์วิพากษ์วิจารณ์ ชี้ขาด พิจารณา เปรียบเทียบ ให้คะแนน ใช้เกณฑ์เปรียบเทียบ บ่งเหตผล บ่งความสอดคล้อง

1. ความรู้ - ความจำ (Knowledge) 1.1 ความรู้ความจำในเนื้อเรื่อง (Knowledge of specifics) ความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม (Knowledge of terminology) เกี่ยวกับความหมายของศัพท์ นิยามหรือคำจำกัดความ สัญลักษณ์ หรือภาพอักษร และ เครื่องหมายต่าง ๆ ความรู้เกี่ยวกับกฎและความจริง (Knowledge of specific facts) เกี่ยวกับ สูตร กฎ ทฤษฎี หรือสมมุติฐาน ขนาด จำนวน สถานที่ เวลา คุณสมบัติ วัตถุประสงค์ สาเหตุและผลที่เกิด ประโยชน์และโทษ และสิทธิหน้าที่

1. ความรู้ - ความจำ (Knowledge) 1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน เกี่ยวกับแบบแผน ธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันต่อๆ มาในสังคม ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม แนวโน้มที่เกิดขึ้นในลักษณะเดิมๆ และขั้นตอนของการดำเนินการในเรื่องหรือสิ่งนั้นๆ ที่ต่อเนื่องกัน ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท

2. ความเข้าใจ (Comprehension) การแปลความ (Translation) เป็นความสามารถในการแปลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง ได้แก่ การแปลความหมายของคำและข้อความ การแปลความหมายของภาพและสัญลักษณ์ การแปลบทประพันธ์ สุภาษิตและคำพังเพย การตีความ (Interpretation) เป็นการสรุปความจากสิ่งต่าง ๆ มากกว่า 1 สิ่ง แล้วนำผลมาสรุป เป็นผลลัพธ์ใหม่อีกอย่างหนึ่งที่มีลักษณะแปลกไปจากของเดิม

2. ความเข้าใจ (Comprehension) การขยายความ (Extrapolation) การขยายความเป็นการแปลความให้ไกลไปจากข้อมูลเดิม โดยมีข้อมูลหรือแนวโน้มเพียงพอ โดยการขยายความมี 4 แบบ คือ ขยายความแบบจินตนาการ แบบพยากรณ์ แบบสมมุติ และแบบอนุมาน

3. การนำไปใช้ (Application) การนำไปใช้ เป็นการนำเอาความรู้ความจำ และ ความเข้าใจในเรื่องราวใดๆ ที่ตัวเองมีอยู่ ไปแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ ปัญหาใหม่นั้น เป็นปัญหาที่ไม่สามารถนำสูตร กฎแก้ปัญหาได้โดยทันที จะต้องใช้ยุทธวิธีหลายอย่างในการแก้ปัญหานั้น

4. การวิเคราะห์ (Analysis) การวิเคราะห์ความสำคัญ (Analysis of element) เป็นการค้นหาคุณลักษณะเด่นของเรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ เช่น ความเด่นของข้อความ ความสำคัญของเรื่อง ความนัยของคำพูดหรือกระทำต่าง ๆ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ( Analysis of relationships) เป็นการค้นหาความเกี่ยวข้องระหว่างคุณลักษณะสำคัญใด ๆ ของเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ อย่างสมเหตุสมผล

4. การวิเคราะห์ (Analysis) การวิเคราะห์หลักการ (Analysis of organizational principles) เป็นการค้นหาโครงสร้าง และ ระบบของวัตถุสิ่งของเรื่องราว และการกระทำต่าง ๆรวมกันอยู่ในสภาพนั้นได้เนื่องด้วยอะไร ยึดอะไรเป็นหลักเกณฑ์ หรือมีสิ่งใดเป็นตัวเชื่อมโยง

5. การสังเคราะห์ (Synthesis) การสังเคราะห์ข้อความ เป็นการนำเอาความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ มาผสมกัน เพื่อให้เกิดข้อความ หรือผลิตผล หรือการกระทำใหม่ ที่จะสามารถใช้สื่อสารความคิดและอารมณ์ ระหว่างบุคคลกับผู้อื่นได้ เช่น การพูดชี้แจง การแต่งคำประพันธ์ การวาดภาพ และการแสดงต่าง ๆ

5. การสังเคราะห์ (Synthesis) การสังเคราะห์แผนงาน การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นการนำเอาความสำคัญและหลักการต่าง ๆ มาผสมให้เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่มีความสัมพันธ์แปลกไปจากเดิม เช่น จงอธิบายปัญหาที่แท้จริงของการคอรัปชั่นในเมืองไทย

6. การประเมินค่า (Evaluation) การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน เป็นการประเมินโดยใช้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เท่าที่ปรากฏอยู่ในเรื่องราวนั้น มาเป็นหลักในการตัดสิน เช่น จากเรื่องสามก๊ก ขงเบ้งเป็นคนอย่างไร การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก เป็นการตัดสินสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์อื่น ๆ ที่อยู่นอกเรื่องราวนั้น แต่มีความสัมพันธ์กับเรื่องนั้น เกณฑ์ภายนอกอาจจะเป็นเกณฑ์ทางสังคม เช่น คำว่า "สองหัวดีกว่าหัวเดียว" ท่านเห็นด้วยหรือไม่

บลูมเดิม บลูมใหม่ 1 ความรู้-ความจำ (Knowledge-memory) จำ (Remembering) 2 ความเข้าใจ (Comprehension) เข้าใจ (Understanding) 3 การนำไปใช้ (Application) นำไปใช้ (Applying) 4 การวิเคราะห์ (Analysis) วิเคราะห์ (Analyzing) 5 การสังเคราะห์ (Synthesis) ประเมินค่า (Evaluating) 6 การประเมินค่า (Evaluation) สร้างสรรค์ (Creating)

ลำดับขั้นด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูมใหม่ได้มีการปรับคำที่ใช้ในแต่ลำดับขั้น จากเดิมเป็นคำนามเปลี่ยนมาใช้คำกริยาแทน เพื่อบ่งบอกถึงการกระทำในแต่ละลำดับขั้นแสดงการกระทำที่ชัดเจนและให้ง่ายต่อการนำไปใช้

จำ (Remembering) คำกริยาที่ใช้ ได้แก่ ให้คำนิยาม อธิบายความหมาย ทำซ้ำ เลียนแบบ บอกรายการ จำได้ พูดตาม กล่าวซ้ำ ฯลฯ เข้าใจ (Understanding) คำกริยาที่ใช้ ได้แก่ จำแนก อธิบาย ระบุ ค้นหา แปลหรือถอดความ อภิปราย เลือก ฯลฯ นำไปใช้ (Applying) คำกริยาที่ใช้ ได้แก่ เลือก สาธิต พิสูจน์ ทดลองใช้งาน ยกตัวอย่าง อธิบายด้วยภาพ ปฏิบัติ แก้ปัญหา ฯลฯ

วิเคราะห์ (Analyzing) คำกริยาที่ใช้ ได้แก่ เปรียบเทียบ แยก แยกแยะความแตกต่าง จำแนก แสดงให้เห็น ความแตกต่าง ฯลฯ ประเมินค่า (Evaluating) คำกริยาที่ใช้ ได้แก่ ประเมิน ตัดสิน ให้เหตุผล พูดหรือเขียนสนับสนุน ปกป้อง สนับสนุน ตีค่าตีราคา ประเมินราคา ฯลฯ

จิตพิสัย (Affective domain) เป็นจุดมุ่งหมาย ที่ต้องการพัฒนาความรู้สึกนึกคิด หรือ จิตใจของผู้เรียน การสร้างลักษณะคุณค่า การจัดระบบคุณค่า การให้คุณค่า การตอบสนอง การรับรู้

การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย

พฤติกรรมด้านจิตพิสัย เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายใจจิตใจของมนุษย์เกี่ยวข้องกับความรู้สึก อารมณ์และจิตใจของบุคคล เช่น ความสนใจ ความซาบซึ้ง เจตคติ ค่านิยม ความต้องการ การปรับตัว คุณธรรม จริยธรรม บุคลิกภาพ เป็นต้น เป็นสิ่งที่สร้างสมขึ้นจนเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล การเกิดจิตพิสัยภายในตัวบุคคลนั้น จะพัฒนาจากระดับต่ำจนถึงระดับสูง ได้แก่ การรับรู้ การตอบสนอง การสร้างคุณค่า การจัดระบบคุณค่า และ การสร้างลักษณะนิสัย การพัฒนาให้เกิดจิตพิสัยในระดับสูงต้องอาศัยพื้นฐานระดับการเรียนรู้ที่ต่ำกว่า

ธรรมชาติของการวัดจิตพิสัย เป็นคุณลักษณะด้านจิตใจที่มองไม่เห็นหรือ เป็นนามธรรม เป็นการวัดทางอ้อม การวัดจิตพิสัยมีความคลาดเคลื่อนในการวัดเกิดขึ้นได้ง่าย อาจมีการเสแสร้งและบิดเบือนคำตอบของผู้ถูกวัด การตอบของผู้ถูกวัดมีลักษณะเป็นไปตามที่สังคมมุ่งหวัง

องค์ประกอบของพฤติกรรมจิตพิสัย เป็นลักษณะที่แสดงออกถึงอารมณ์หรือความรู้สึกของบุคคล ในการวัดจิตพิสัยจึงต้องใช้เครื่องมือวัดที่แสดงออกในลักษณะของอารมณ์และความรู้สึก เป็นลักษณะที่มีแบบแผนเฉพาะคน คนที่มีความรู้สึกอย่างเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีการแสดงออกที่เหมือนกัน มีทิศทาง ความรู้สึกของบุคคลมีทิศทางเป็นไปในทางที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนา ชอบหรือไม่ชอบ พอใจหรือไม่พอใจ มีความเข้ม ระดับความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อเป้าหมายนั้นๆ มีทั้งปรารถนามาก น้อย ชอบมากชอบน้อย เป็นต้น เป้าหมายของการวัด เป็นสิ่งที่บุคคลต้องการแสดงความรู้สึกลงไปให้ชัดเจนและแน่นอนว่า ความรู้สึกนั้นเป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด

หลักการวัดพฤติกรรมจิตพิสัย วัดให้ครอบคลุมพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่ต้องการวัด วัดหลายๆ ครั้ง และใช้เทคนิคการวัดหลายวิธี วัดผลอย่างต่อเนื่อง ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่ถูกวัดเป็นอย่างดี ใช้ผลการวัดให้ถูกต้อง

วิธีการและเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมจิตพิสัย การสังเกต (Observation) เป็นวิธีการหนึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เรียน ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เครื่องมือชนิดนี้ใช้ครูหรือตัวบุคคลทำหน้าที่ในการวัดโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าโดยเฉพาะทางตาและหูเป็นสำคัญ ลักษณะของการสังเกตจะปล่อยให้สภาพการณ์ต่างๆ ดำเนินไป ตามธรรมชาติ ในการเรียนการสอนการสังเกตทำให้ครูทราบข้อมูลที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้เรียน ซึ่งเห็นได้จากพฤติกรรมที่แสดงออกมา คุณลักษณะต่างๆ ได้แก่ ความสนใจ นิสัยการเรียน การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน

ตัวอย่างพฤติกรรมการเรียนรู้ที่สามารถวัดได้โดย การสังเกต คุณลักษณะ พฤติกรรมที่แสดงออก ความสนใจ ความใส่ใจต่อการศึกษาวิชาต่างๆ การทำงาน การใฝ่รู้หรือการแสวงหาความรูการร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆ นิสัยการเรียน การเตรียมพร้อมในการเรียน การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความรับผิดชอบ ความกระตือรือร้น ความซาบซึ้ง การแสดงความชื่นชม ชื่นชอบต่อวิชาที่เรียน พอใจและสนุกสนานกับการทำกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปะ ดนตรี วัฒนธรรม ธรรมชาติ เจตคติ -ทางวิทยาศาสตร์ -ทางสังคม ยอมรับฟังผู้อื่น ใฝ่รู้ มีเหตุผล มีทักษะการคิด ไม่ด่วนสรุปจนกว่าจะมีหลักฐานที่ชัดเจน การมีสัมมาคารวะ เคารพกฎกติกา เคารพสิทธิของผู้อื่น ความปรารถนาที่จะช่วยเหลือสังคม การปรับตัว ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ปฏิกิริยาต่อคำชมและคำวิจารณ์ ความมั่นคงทางอารมณ์ การปรับตัวทางสังคม

แบบสังเกตที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) พฤติกรรม ใช่ ไม่ใช่ 1. มาเรียนเป็นประจำ 2. ตั้งใจทำกิจกรรมแม้ไม่มีครูอยู่ด้วย 3. ซักถามครูเมื่อมีปัญหา 4. ร่วมอภิปราย 5. มีความกระตือรือร้นในการเรียน รวมคะแนน

แบบสังเกตที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) พฤติกรรมที่สังเกต ระดับความถี่ของพฤติกรรม เสมอๆ (5) บ่อยๆ (4) บางครั้ง (3) นานๆ ครั้ง (2) ไม่เคยเลย (1) 1. มาเรียนเป็นประจำ 2.ตั้งใจทำกิจกรรมแม้ไม่มีครูอยู่ด้วย 3. ซักถามครูเมื่อมีปัญหา 4. ร่วมอภิปราย 5. มีความกระตือรือร้นในการเรียน รวมคะแนน

แผนภูมิการมีส่วนร่วม (Participation Chart) ชื่อสมาชิก ในกลุ่ม ความรับผิดชอบ การให้ความ ร่วมมือ การร่วม อภิปราย การทำงาน ที่ได้รับ มอบหมาย ร่วมกัน แก้ ปัญหา 1. ฟ้าสวย // /// 2. ฟ้าใส / 3. เหินฟ้า 4. เมฆงาม

ระเบียนพฤติการณ์ (Anecdotal) การบันทึกพฤติการณ์ของผู้เรียน ชื่อผู้ถูกสังเกต………………………….วิชา……………………….…….ชั้น………… วัน เดือน ปี ที่สังเกต .…………เวลาที่สังเกต……………..สถานที่ที่สังเกต…………………… บันทึกพฤติกรรม/ผลการสังเกต ……….……………………………………………………..…………………… ……………………………………………………………………….…………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………… ความคิดเห็นของครู……………………………………………………….…………… ……………………………………………………………….…………………… ………………………… ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………….…… ……………………………… ผู้สังเกต…………………………...

การสร้างแบบบันทึกการสังเกต กำหนดพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่ต้องการสังเกต แยกแยะพฤติกรรมที่ต้องการสังเกตออกเป็นพฤติกรรมย่อยๆ ที่สามารถสังเกตเห็นได้เป็นรูปธรรม เช่น ต้องการวัดความสนใจในการเรียน พฤติกรรมย่อยๆ ที่สังเกตเห็นได้ เช่น เข้าเรียนสม่ำเสมอ ร่วมทำกิจกรรมกลุ่มตามบทบาท กระตือรือร้นในการเรียน เป็นต้น เลือกรูปแบบของแบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ประกอบการสังเกต วางแผนการสังเกตว่าจะสังเกตช่วงเวลาใดหรือสถานการณ์ใด ใครเป็นผู้สังเกต สังเกตกี่ครั้ง กำหนดหลักเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละพฤติกรรมย่อย

คุณภาพของการสังเกตและเเบบบันทึกการสังเกต การนิยามพฤติกรรมที่ต้องการสังเกต ต้องชัดเจน สังเกตได้ เข้าใจตรงกันการตรวจสอบคุณภาพเน้นที่ความตรงเชิงเนื้อหาเป็นสำคัญ ในการสังเกต หากผู้ถูกสังเกตมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เนื่องจากรู้ตัวว่ากำลังถูกสังเกตพฤติกรรมข้อมูลที่ได้อาจผิดพลาดได้ ผู้สังเกตต้องได้รับการฝึกฝนและรู้เรื่องที่จะสังเกตเป็นอย่างดี ซึ่งการสังเกตจะได้ผลดีหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับความตั้งใจ ประสาทสัมผัส และการรับรู้ของผู้สังเกตซึ่งการรับรู้เป็นผลมาจากประสบการณ์และความสามารถของผู้สังเกตเป็นสำคัญ

วิธีการและเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมจิตพิสัย การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นการสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมายตามวัตถุประสงค์ที่เรากำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ได้ข้อมูลโดยตรงจากผู้ที่เราสนทนาด้วย ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเจาะลึกเฉพาะด้านเกี่ยวกับความจริงหรือ ข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความสนใจ ความคิดเห็นและเจตคติ เครื่องมือที่ใช้ประกอบการสัมภาษณ์คือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ มีลักษณะทั้งที่กำหนดคำถาม คำตอบไว้ล่วงหน้า และที่ไม่กำหนดคำถามตายตัว แต่จะกำหนดเป็นคำถามกว้างๆ คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนตอบได้เต็มที่และอาจนำคำตอบนั้นมาตั้งเป็นคำถามใหม่ได้

วิธีการและเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมจิตพิสัย การสอบถาม (Questionnaire) เป็นการให้ผู้เรียนเป็นผู้รายงานตนเองตามข้อคำถามที่เตรียมไว้ เป็นการสอบถามเรื่องราวต่างๆ ที่เน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความจริง ข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็น คำตอบโดยมากไม่มีถูกหรือผิด การตอบให้ผู้ตอบทำเครื่องหมายในข้อที่ต้องการตอบ ซึ่งเรียกว่าแบบสอบถามปลายปิด หรือให้ผู้ตอบเขียนคำตอบเอง ซึ่งเรียกว่า แบบสอบถามปลายเปิด เนื้อหาที่ถามอาจเป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียน หรือเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนของผู้เรียนด้านการเรียน ลักษณะนิสัยการเรียน ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการสอนของครู เป็นต้น

รายการ ชอบ ไม่ชอบ 1. เต้นรำ 2. แต่งเพลง 3. วาดภาพ 4. ตกแต่งบ้าน แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) แบบสำรวจความสนใจกิจกรรมด้านศิลปะ รายการ ชอบ ไม่ชอบ 1. เต้นรำ 2. แต่งเพลง 3. วาดภาพ 4. ตกแต่งบ้าน 5. เขียนบทละคร

แบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบสำรวจความสนใจกิจกรรมด้านการอ่าน รายการ 5 4 3 2 1 1.อ่านข่าวสารเรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง 2. อ่านข่าวสารเรื่องราวด้านเศรษฐกิจ 3.อ่านข่าวสารเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษา 4.อ่านข่าวสารเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางสังคม 5. อ่านเรื่องราวด้านบันเทิง สารคดี

วิธีการและเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมจิตพิสัย การใช้แบบวัดเชิงสถานการณ์ เป็นการใช้สถานการณ์ต่างๆ แล้วให้นักเรียนพิจารณาว่าในสถานการณ์เหล่านั้น นักเรียน มีความรู้สึก หรือมีความคิดเห็นอย่างไร หรือนักเรียนจะทำอย่างไร คำตอบของนักเรียนจะไม่มีผิดหรือถูก แต่คำตอบจะเป็นข้อมูลบอกให้ทราบว่าคุณลักษณะในด้านนั้นๆ ที่เราต้องการวัด นักเรียนมีอยู่ในระดับใด การสร้างแบบวัดเชิงสถานการณ์ จะมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนว่าในแต่ละสถานการณ์ต้องการตรวจสอบคุณลักษณะด้านใดของผู้เรียน ตัวเลือกจะมีระดับของคะแนนไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่อยู่กับทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาที่นำมาใช้เป็นหลักในการสร้างตัวเลือกเพื่อจะบอกว่า คุณลักษณะด้านจิตใจของบุคคลนั้น เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในระดับใด ตามทฤษฎีนั้นๆ

ตัวอย่างการวัดค่านิยมในการเสียสละ ถ้าเพื่อนบ้านบ้านใกล้เคียงที่รู้จักชอบพอกัน มาขอยืมอุปกรณ์เครื่องใช้บางอย่าง ถึงแม้ข้าพเจ้าจะหวง แต่ข้าพเจ้าให้ยืมเพราะ 1. เป็นเพื่อนบ้านที่รู้จักคงเอากลับคืนได้ 2. คราวหน้าเราจะได้ไปยืมของเพื่อนบ้านมาใช้บ้าง 3. เป็นเพื่อนบ้านกันควรมีน้ำใจต่อกัน 4. เพื่อนบ้านจะได้เห็นว่าเราเป็นคนมีน้ำใจ 5. การแบ่งปันกันใช้เป็นสิ่งที่คนมีน้ำใจควรปฏิบัติ 6. สังคมจะอยู่ได้ก็ด้วยน้ำใจที่เอื้อเฟื้อต่อกัน

การสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมจิตพิสัย ขั้นต้น 1. ระบุความต้องการหรือเป้าหมายของสิ่งที่ต้องการวัด เช่นต้องการวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการประกอบอาชีพ หรือต้องการวัดความมีวินัยในตนเองของผู้เรียน เป็นต้น 2. ศึกษาคุณลักษณะที่ต้องการวัดให้เข้าใจถ่องแท้ เพื่อการกำหนดคุณลักษณะ เป็นประเด็นที่ชัดเจน หรือแยกเป็นด้านๆ ซึ่งอาจเป็นคุณลักษณะตามทฤษฎีหรือตามหลักวิชา หรือเป็นคุณลักษณะที่ได้จากแหล่งข้อมูลในเรื่องนั้นๆ โดยตรง 3. นำคุณลักษณะที่ต้องการวัด มาเขียนในลักษณะของนิยามปฏิบัติการหรือเขียนในลักษณะของพฤติกรรมที่แสดงออกซึ่งสามารถวัดได้ เพื่อให้คุณลักษณะที่จะวัดอยู่ในรูปของพฤติกรรมที่สังเกตและวัดได้ หรือกำหนดขอบข่าย ประเด็นหลักและรายการของสิ่งที่จะถามในแต่ละเรื่องนั้นของการวัดนั้นให้ชัดเจนและครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวัด

การสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมจิตพิสัย ขั้นดำเนินการสร้าง 4. กำหนดวิธีการวัดหรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัด ว่าจะเป็นการสังเกต สัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบวัดเชิงสถานการณ์ หรือมาตรวัด พร้อมทั้งรูปแบบและประเภทของคำถามให้เหมาะกับเรื่องที่จะวัดและลักษณะของผู้เรียนแต่ละระดับว่า ควรเป็นคำถามลักษณะใด 5. สร้างเครื่องมือตามลักษณะและชนิดของเครื่องมือที่กำหนด ซึ่งมีรายละเอียดของการสร้างข้อคำถามที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของเครื่องมือ 6. ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ทั้งในด้านความตรง ความเป็นปรนัย ความชัดเจนของภาษา หรือความเหมาะสมของข้อความ รวมทั้งการจัดเรียงข้อความ ทั้งนี้ในการตรวจสอบคุณภาพ เป็นไปตามลักษณะของเครื่องมือวัดแต่ละชนิดที่อาจแตกต่างกันบ้างในบางประเด็น สำหรับการตรวจสอบคุณภาพขั้นนี้โดยการ 6.1 ตรวจสอบข้อคำถามเหล่านั้นด้วยตนเอง แล้วทำการปรับปรุงแก้ไข 6.2 ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา องค์ประกอบของเครื่องมือวัดที่ดี ความชัดเจนและความถูกต้องของภาษาที่ใช้ นำข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงตามความเหมาะสม

การสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมจิตพิสัย ขั้นดำเนินการสร้าง 7. นำเครื่องมือที่สร้างไปทดลองใช้กับผู้เรียนที่ไม่ใช่ผู้เรียนจริงที่จะวัด เพื่อดูความเป็นปรนัย ความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ คือดูว่าข้อคำถามนั้นเข้าใจตรงกันหรือไม่ มีความเข้าใจในข้อคำถามเพียงใด คำถามชัดเจนเข้าใจง่ายหรือไม่ มีคำตอบที่ควรจะเป็นครบหรือไม่ ถ้าเป็นคำถามปลายเปิดมีที่ว่างเพียงพอที่จะตอบหรือไม่ ที่สำคัญคือคำชี้แจง ผู้ตอบมีความเข้าใจคำชี้แจงมากน้อยเพียงใด 8. นำผลที่ได้จากการทดลองใช้มาวิเคราะห์คุณภาพรายข้อ แล้วปรับปรุงแก้ไขตามผลการทดลองใช้ในด้านความเป็นปรนัย และตามผลการวิเคราะห์ 9. ทดลองใช้ แล้วนำผลการทดลองใช้มาวิเคราะห์คุณภาพรายข้อ และคุณภาพทั้งฉบับด้านความตรง และความเที่ยง นำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข 10. สร้างเกณฑ์การแปลความหมายของคะแนน เมื่อเครื่องมือมีคุณภาพดีแล้วและจัดพิมพ์เครื่องมือวัดเป็นฉบับสมบูรณ์ต่อไป

ทักษะพิสัย (Psychomotor domain) เป็นจุดมุ่งหมาย ที่ต้องการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติโดยใช้กลไกต่างๆ ของร่างกาย กระทำได้อย่างธรรมชาติ กระทำอย่างต่อเนื่อง ความแม่นยำ การจัดทำ การเลียนแบบ

การวัดพฤติกรรมทางด้านทักษะพิสัย

พฤติกรรมทางด้านทักษะพิสัย (Psychomotor domain) เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการปฏิบัติหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นการประสานการทำงานของสมองหรือสติปัญญาและกล้ามเนื้อ

การวัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย เป็นการวัดที่ให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการปฏิบัติให้ดู โดยใช้ความสามารถทางสมองหรือทางกายหรือทั้งสองอย่างก็ได้ เพื่อให้ผู้สอนได้ตัดสินระดับความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียนว่า มีความถูกต้องในกระบวนการปฏิบัติหรือไม่

การวัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ผลงานที่ได้จากการปฏิบัติมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่งการวัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัยที่สมบูรณ์นั้น ไม่เพียงแต่วัดกระบวนการและผลงานงานเท่านั้น แต่รวมไปถึงการวัดพฤติกรรม การปฏิบัติของผู้เรียนด้วย ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมด้านจิตพิสัยนั่นเอง ดังแผนภาพข้างล่าง การวัด ด้านทักษะพิสัย พุทธิพิสัย จิตพิสัย

ธรรมชาติของการวัดทักษะพิสัย เป็นการวัดโดยใช้สถานการณ์เพื่อทดสอบการปฏิบัติงานของผู้เรียน ลักษณะงานที่ให้ทำแตกต่างกัน วิธีการวัดย่อมแตกต่างกัน เป็นการวัดกระบวนการในการปฏิบัติงาน (Process) และผลผลิต (Product) การบริหารการสอบ ผู้สอนต้องมีโอกาสสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด

จุดมุ่งหมายของการวัดทักษะพิสัย เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาทางทฤษฎี เพื่อตรวจสอบหรือประเมินกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อประเมินผลผลิตหรือผลงานที่เกิดจากกระบวนการปฏิบัติ เพื่อประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติที่ผู้เรียนแสดงออกในขณะปฏิบัติงาน

คุณลักษณะที่ใช้วัดกระบวนการ คุณภาพในขณะปฏิบัติงาน เวลา ทักษะการปรับปรุงการทำงาน ความปลอดภัยในการทำงาน ข้อบกพร่องจากการปฏิบัติ

คุณลักษณะที่ใช้วัดผลงาน คุณภาพของผลงาน ปริมาณงาน ทักษะการปรับปรุงผลงาน ความปลอดภัยของผลงาน ข้อบกพร่องจากการปฏิบัติ

คุณลักษณะที่ใช้วัดพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ตั้งใจทำงาน กระตือรือร้นในการทำงาน ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ร่วมมือแก้ปัญหาการทำงานในกลุ่ม ฯลฯ

กระบวนการวัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดงานให้ผู้เรียนปฏิบัติ กำหนดเงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์งานเพื่อกำหนดคุณลักษณะที่ใช้ในการวัดทักษะ กำหนดวิธีการวัดและเครื่องมือที่ใช้ในการวัด กำหนดวิธีการประเมินผลและรายงานผล สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวัด ดำเนินการวัดผลและประเมินผล

วิธีการที่ใช้ในการวัดด้านทักษะพิสัย การสังเกต การจัดอันดับคุณภาพ การทดสอบ การให้ผู้เรียนรายงานตนเอง การสัมภาษณ์

การสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมทักษะพิสัย วางแผนการสร้างเครื่องมือ การดำเนินการสร้างเครื่องมือ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ สร้างคู่มือการใช้

ส ส สวัสดี วั วั ส ส ดี ดี