การใช้คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา เด็กอายุ 2-15 ปี

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ชื่อเรื่อง ชื่อผู้ดำเดินงาน ที่อยู่. * Tel: บทคัดย่อ ………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………… บทคัดย่อ ………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………
Advertisements

โครงการพัฒนาระบบและกลไก เพื่อพัฒนาเด็กไทย มีโภชนาการสมวัย
การควบคุมวัสดุ ครุภัณฑ์ และรถราชการ
วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 และ 20 มิถุนายน 2560
การเตรียมความพร้อมรับการประเมิน จาก สมศ.
ด้านการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์
หนองบัวลำภู นายทรงเดช ทิพย์โยธา -ว่าง- นายเฉลิมชัย เรืองนนท์
มารู้จักหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์
แผนบูรณาการ การพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว Plant Protection Sakaeo
งานจัดการเรียนการสอน
ชุมชนต้นแบบด้านพัฒนาสุขภาพแม่และเด็ก
การตรวจราชการติดตามและประเมินผล : การพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
เอกสารแนะนำการใช้งานระบบจัดเก็บและบันทึกข้อมูลทะเบียนพาณิชย์ (เบื้องต้น) โดย นายพชร อินทรวรพัฒน์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.
การประเมินผลงานวิชาการ และการขอรับเงิน พ.ต.ก.
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ. ศ เวลา น
แนวทางการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่ม และน้ำแข็งบริโภค ในสถานประกอบการ
บทที่ 2 หลักการแก้ปัญหา
งานวันข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
เพื่อเข้าถึงแหล่งงบประมาณ
วาระที่ 3.1 กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ
การพัฒนาดิจิทัลคอลเลคชั่น
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรกรรมยั่งยืน ปี 2560
กรมกิจการเด็กและเยาวชน
ตัวชี้วัด1.3 ร้อยละของเด็กอายุ 6-14 ปีสูงดีสมส่วน
บทบาทของ สถ. ในการสนับสนุน การดำเนินงานถ่ายโอนภารกิจ
เด็กผอม – เด็กอ้วน ล้วนเป็นปัญหาของชาติ
ผู้อำนวยการกองกฎหมาย
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
สิทธิรับรู้ของประชาชน
ลำพูน นายพงษ์ธาดา แก้วกมล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการโยธาธิการ
การออกแบบธุรกิจออนไลน์
เรื่อง การปรับปรุงค่าตอบแทนภาคราชการ
การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
การนำเสนอผลงานการวิจัย
สงขลา นายไมตรี สรรพสิน นางฐาปณี รสสุคนธ์ นายพิชัย อุทัยเชฏฐ์
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
ดร. อำนาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 27 มกราคม 2562
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( )
การส่งเสริมพัฒนาการ เด็กปฐมวัย.
เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เรื่อง การทอผ้าห่มสี่เขา/ตะกอ
อุบลราชธานี นายนิวัตร ชูสมุทร นายชัยศักดิ์ ปิยะประสิทธิ์
สมุทรสงคราม -ว่าง- นายธีระชาติ ไทรทอง นางภาวดี ภูมรินทร์
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560
ปิรามิด แห่งการรับรู้
เรื่อง เทคโนโลยี ดนตรี หมอลำ
เรื่อง ทฤษฎีการค้นหาในการฝึกสุนัข
การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ
เรื่องชนเผ่าในจังหวัดมุกดาหาร
การแจ้งจัดสรรงบประมาณประจำปี ๒๕๖๒ โครงการส่งเสริมการอ่านตามรอยพระจริยวัตรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามหนังสือ สพฐ. ที่ ศธ ๐๔๐๑๐/ว ๑๑๐๖.
การนำเสนอแบบโปสเตอร์
กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย
แผนงานโครงการที่จะนำไปใช้เพื่อ การแก้ปัญหาสุขภาพหรือบริการ
หมวด 2 : การให้ความสำคัญกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วีระโชติ รัตนกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ.
หลักและศิลปะ ในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ
การประชุมชี้แจงแนวทางการกรอกข้อมูล เกณฑ์ชี้วัดมาตรฐานบริการสาธารณะสำหรับกรุงเทพมหานคร โดย คณะที่ปรึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยในเครือข่ายการวิจัย.
วิชาสถาบันการเมืองและรัฐธรรมนูญPPA1106
ทำยังไงเรียกเก็บแล้วได้เงิน
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
การยื่นข้อเสนอโครงการวิจัย
ฉบับที่ ๑๕/๒๕๖๐ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายปริญญา เพ็งสมบัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การใช้คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา เด็กอายุ 2-15 ปี การใช้คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา เด็กอายุ 2-15 ปี

ความเป็นมา การปรับปรุง ผู้จัดทำ : คณะนักจิตวิทยา ศูนย์สุขวิทยาจิต กองสุขภาพจิต ในขณะนั้น (ปัจจุบัน สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต) เริ่มโครงการปี พ.ศ. 2521 สร้างเสร็จสมบูรณ์และ นำมาใช้ พ.ศ. 2525 หัวหน้าโครงการ: อาจารย์สมทรง สุวรรณเลิศ นักจิตวิทยาคลินิกคนแรก ของประเทศไทย (ปัจจุบันเป็นประธานคณะกรรมการ วิชาชีพจิตวิทยาคลินิก การปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2530 ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2541 ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546 (ปัจจุบัน)

วัตถุประสงค์ในการสร้างคู่มือฯ เพื่อสร้างเครื่องมือที่ทดสอบได้รวดเร็วและสะดวกในการ ประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเด็กอายุ 2-15 ปี เพื่อให้ผู้ที่มิใช่นักจิตวิทยาคลินิก นำคู่มือฯไปทดสอบเด็กที่ สงสัยว่าจะมีปัญหาการเรียนหรือเชาวน์ปัญญาต่ำ เป็นการ บริการเข้าถึงชุมชน ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้รับการตรวจวินิจฉัย และคำแนะนำช่วยเหลือเสียแต่ต้นมือ วัตถุประสงค์ในการสร้างคู่มือฯ

ขอบเขตการใช้คู่มือฯ 1. ใช้ทดสอบเด็กอายุ 2-15 ปี (2 ปี 0 เดือน - 15 ปี 11 เดือน) เป็นรายบุคคล 2. เป็นวิธีการทดสอบโดยสังเขปเท่านั้น ในกรณีที่ต้องการศึกษาให้ละเอียดควรให้นักจิตวิทยาคลินิกทดสอบต่อไป 3. ผู้ใช้คู่มือฯ นี้ควรมีพื้นฐานความรู้เรื่องพัฒนาการเด็กปกติและจิตวิทยาทั่วไปบ้างพอสมควร และใช้คู่มือฯ อย่างระมัดระวังร่วมไปกับการสังเกตพฤติกรรมของเด็กขณะทำการทดสอบด้วย

4. การแปลผลจากคู่มือฯนี้จะได้ประโยชน์มากขึ้น หากผู้ใช้จะถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้ปกครองของเด็กเพื่อนำมาประกอบการสรุปผลการทดสอบ เช่น ประวัติพัฒนาการ หรือ คะแนนการสอบของเด็กที่เข้าโรงเรียนแล้วตั้งแต่เริ่มเรียนจนถึงปัจจุบันและพฤติกรรมโดยทั่วไปของเด็ก 5. ก่อนใช้คู่มือฯเพื่อการทดสอบ ควรศึกษารายละเอียดทั้งหมดให้เข้าใจอย่างชัดเจนและปฏิบัติตามคำแนะนำที่กำหนดไว้ ห้ามเปลี่ยนวิธีการทดสอบหรือการให้คะแนนตามความสะดวกของผู้ทดสอบ ไม่ว่าจะทดสอบเด็กปกติหรือเด็กที่มีปัญหาก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้ผลการทดสอบเป็นที่เชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน

6. ผู้ที่จะใช้คู่มือฯนี้ต้องผ่านการอบรมการใช้คู่มือฯจากนักจิตวิทยาคลินิก หรือติดต่อขอคำปรึกษาโดยตรงจาก สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข e-mail : wanitnee@yahoo.com 7. ห้ามคัดลอก ห้ามถ่ายเอกสาร

ขอบเขตในการประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา

ใช้ประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ความสามารถในการรู้จัก เข้าใจความหมายและเหตุผลทางด้านภาษาในระดับง่าย 2. ความสามารถในด้านความจำจากการเห็นและการได้ยิน 3. ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบและเกี่ยวโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน และการเข้าใจความหมายที่เป็นตัวเลขสัญลักษณ์หรือนามธรรม

4.ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว หยิบจับ ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจจากการมองเห็นและแสดงออกในการแก้ปัญหาต่างๆด้วยการกระทำอย่างรวดเร็ว เหมาะสม 5. ความสามารถในการเรียนรู้ สังเกตจากสิ่งแวดล้อม และการแก้ปัญหาโดยใช้ประสบการณ์

ลักษณะของคู่มือฯ คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเด็กอายุ 2-15 ปี ประกอบด้วย 1. รายละเอียดเกี่ยวกับข้อทดสอบและวิธีใช้ 2. การแบ่งระดับเชาวน์ปัญญาและตารางแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างข้อทดสอบกับความสามารถด้านต่างๆ

3. ตารางสำหรับเทียบระดับเชาวน์ปัญญา 4. ข้อทดสอบแบ่งตามช่วงอายุตั้งแต่2-15 ปี โดยแบ่งช่วงอายุละ 1 ปี เช่น ระดับอายุ 2 ปี ใช้ได้กับเด็กอายุ 2 ปี - 2 ปี 11 เดือน และระดับอายุ 3 ปี ใช้ได้กับเด็กอายุ 3 ปี ถึง 3 ปี 11 เดือน

5. ในแต่ละระดับอายุจะมีข้อทดสอบ 3 ข้อ พร้อมทั้งตัวอย่างคำตอบที่ถูกและหลักเกณฑ์การให้คะแนน 6. ตัวอย่างแบบบันทึกคำตอบ

การเตรียมการทดสอบ 1. จัดเตรียมอุปกรณ์การทดสอบ ดินสอที่มียางลบสำหรับผู้ถูกทดสอบ ปากกา หรือดินสอสำหรับผู้ทดสอบบันทึกคำตอบ คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา แบบบันทึกคำตอบที่จัดพิมพ์ตามแบบในคู่มือฯ นาฬิกาจับเวลาหรือนาฬิกาที่มีเข็มวินาที

ตัวอย่างอุปกรณ์การทดสอบ

2. คิดอายุจริง

3 ขั้นตอนการทดสอบ 1.สร้างสัมพันธภาพ ผู้ทดสอบควรทำความคุ้นเคยกับเด็กก่อนทำการทดสอบ เพื่อเด็กจะได้ไม่ประหม่ากลัวและให้ความร่วมมือเต็มที่ สำหรับเด็กเล็กผู้ทดสอบควรพูดคุยหรือชักชวนใน ลักษณะที่คล้ายเป็นการเล่น สำหรับเด็กโตควรอธิบายให้ ทราบว่า เป็นการทดสอบเพื่อดูความสามารถในด้านต่างๆ

2. เริ่มการทดสอบ ในการทดสอบไม่จำเป็นต้องทำทุกระดับอายุ แต่ควรปฏิบัติดังนี้ เริ่มทำ ในระดับอายุที่ต่ำกว่าอายุจริงของเด็กประมาณ 1-2 ปี เมื่อตั้งต้นทำที่ระดับอายุใดก็ให้ทำจนครบทุกข้อ ถ้าทำได้หมดในระดับอายุนั้นเรียกว่าคะแนนพื้นฐาน และให้ทำต่อไปในระดับอายุสูงขึ้นตามลำดับ แม้จะทำได้ไม่ครบทุกข้อก็ตาม เลิกทำ เมื่อเด็กทำข้อทดสอบในระดับอายุนั้นผิดหมดทั้ง 3ข้อ

3.ในกรณีที่เริ่มทำในระดับอายุใดอายุหนึ่งแล้ว เด็กไม่สามารถทำได้หมดทั้ง 3 ข้อให้ย้อนกลับไปทำในระดับอายุที่ต่ำลงไปตามลำกับจนกว่าจะถึงระดับอายุที่เด็กทำได้หมดทั้ง 3 ข้อ แล้วกลับมาทำต่อในระดับอายุที่ทำค้างไว้ตอนแรกและทำต่อไปเรื่อย ๆ จนทำข้อทดสอบทั้ง 3 ข้อผิดหมดในระดับอายุเดียวกันจึงเลิกทำ 4. สำหรับเด็กที่ไม่สามารถทำข้อทดสอบในระดับอายุ 2 ปีได้เลย ถ้าต้องการทราบระดับความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ควรส่งต่อนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อทดสอบด้วยเครื่องมืออื่นที่สามารถประเมินระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กได้

5. ในการทดสอบอาจมีเด็กที่สามารถทำข้อทดสอบจนถึงระดับอายุ 15 ปี ถ้าต้องการทราบระดับความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ควรส่งต่อนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อทดสอบด้วยเครื่องมืออื่นที่สามารถประเมินระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กได้ 6. ในระหว่างการทดสอบ ผู้ทดสอบอาจถามซ้ำเมื่อเด็กตอบไม่ได้หรือได้ยินคำสั่งไม่ชัดเจนยกเว้นในบางข้อทดสอบที่กำหนดให้อ่านเพียงครั้งเดียวหรือสองครั้ง ก็ให้ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด แต่ไม่ควรถามนำหรือบอกทำนองชี้แนะคำตอบแก่เด็ก

7. ในข้อที่ให้เด็กตอบโดยใช้คำพูด ผู้ทดสอบควรจดคำตอบของเด็กไว้ตามที่เด็กพูดแบบคำต่อคำเท่าที่สามารถจะทำได้และไม่ควรใช้วิธีสรุปคำพูดของเด็กตามความเข้าใจของผู้ทดสอบ ทั้งนี้เพื่อความความสะดวกและความถูกต้องในการให้คะแนนภายหลัง ไม่ควรให้คะแนนทันทีขณะทำการทดสอบ

8. ในกรณีที่มีการจับเวลา ให้ปฏิบัติตามที่ระบุไว้โดยเคร่งครัด 9. ในการทดสอบควรเลือกสถานที่สำหรับทำการทดสอบโดยหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะทำให้เด็กไม่มีสมาธิในการทำข้อทดสอบเท่าที่จะทำได้

ตัวอย่างการเริ่มทำและเลิกทำการทดสอบ ตัวอย่างที่ 1 เด็กอายุ 4 ปี 6 เดือน เริ่มทำ ข้อทดสอบระดับอายุ 3ปี 4ปี 5ปี 6ปี 1. 1. 1. 1. 2. 2. 2. 2. 3. 3. 3. 3. คะแนนรวม 3 ปี 8เดือน 4 เดือน 0 เดือน คะแนนขั้นพื้นฐานคือ 3 ปี ในตัวอย่างที่ 1 เริ่มทำที่ระดับอายุ 3 ปี ซึ่งทำได้ถูกทุกข้อ ให้ทำต่อที่อายุ 4 ปี ซึ่งถูก 2 ข้อทำต่อที่อายุ 5 ปี ถูก 1 ข้อ พออายุ 6 ปี เด็กทำผิดหมดทุกข้อ ให้เลิกทำ ดังนั้นคะแนนขั้นพื้นฐาน คือ 3 ปี

4. การให้คะแนน 1. ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในคู่มือฯ 2. ควรให้คะแนนหลังการ ทดสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว และหลีกเลี่ยงการให้คะแนนต่อหน้าเด็กขณะทดสอบถ้าไม่จำเป็น 3. การคิดคะแนนจะมีผลเทียบเท่ากับความสามารถตามระดับอายุเป็นปีและเดือน

4. คะแนนเต็มในแต่ละระดับอายุจะเท่ากับ 1 ปี (12 เดือน) หรือเทียบเท่าระดับอายุนั้น ๆ เช่น ถ้าทำข้อทดสอบได้ทุกข้อในระดับอายุ 3 ปี คะแนนที่ได้คือ 3 ปี (36 เดือน) แต่ถ้าทำข้อทดสอบได้บางข้อให้คิดคะแนนโดยเอาจำนวนข้อทดสอบคูณด้วยจำนวนเดือน ซึ่งกำหนดค่าไว้ดังนี้

ข้อทดสอบแต่ละข้อมีค่าเท่ากับ 4 เดือน ยกเว้นระดับอายุ 2 ปี เมื่อทำได้ 1 ข้อทดสอบ มีค่าเท่ากับ 1 ปี 4 เดือน 2 ข้อทดสอบ มีค่าเท่ากับ 1 ปี 8 เดือน 3 ข้อทดสอบ มีค่าเท่ากับ 1 ปี 12 เดือน หรือ 2 ปี

5. กรอกคะแนนที่ทำได้ของแต่ละระดับอายุในแบบบันทึกคำตอบที่เว้นช่องไว้ แล้วนำมาคิดคะแนน โดยกรอกรายละเอียดทั้งหมดลงในแผ่นรวมสำหรับคิดคะแนนและคำนวณหาระดับเชาวน์ปัญญา

6. การคิดคะแนนรวมทำโดยการบวกคะแนนในแต่ละระดับอายุที่เด็กทำข้อทดสอบได้เข้าด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ระดับอายุที่เด็กทำข้อทดสอบได้หมดทั้ง 3 ข้อ เรียกว่า คะแนนขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงระดับอายุที่เด็กทำได้ก่อนระดับอายุที่ทำข้อทดสอบผิดหมดทุกข้อ

7. การหาระดับเชาวน์ปัญญา ทำโดยนำคะแนนรวมที่ได้ไปเปรียบเทียบกับระดับอายุจริงตามตารางที่ 3 ถึง ตารางที่ 16 หน้า 21-27

ในกรณีที่ต้องการทราบระดับเชาวน์ปัญญา (I.Q) ให้ใช้วิธีคำนวณตาม ตัวอย่างข้างล่างนี้ I.Q. = X 100 อายุสมอง อายุจริง โดยอายุสมองและอายุจริงให้คิดเป็นเดือน

หมายเหตุ 1. อายุสมอง คือ คะแนนรวมที่เด็กทำได้จากการทดสอบ 2. ผลลัพธ์ที่มีจุดทศนิยมให้ใช้เพียงตำแหน่งเดียว และถ้าตัวเลขหลังจุดทศนิยมเท่ากับ 0.5 หรือต่ำกว่า 0.5 ให้ตัดทิ้งไป เป็น 100.5 เป็น 100 แต่ถ้าเกิน 0.5 ให้ปัดเป็น 1 และรวมเข้ากับเลขหน้าจุด เช่น 100.6 เป็น 101

จุดเด่น จุดด้อย จุดเด่น คือความสามารถในด้านที่เด็กทำได้สูงกว่าอายุจริง หาได้โดยดูว่าข้อใดที่เด็กทำได้ในช่วงอายุที่มากกว่าอายุจริง นำไปเปิดเทียบในตารางความสัมพันธ์หน้า 16 )

จุดด้อย คือ ความสามารถในด้านที่เด็กทำได้ต่ำกว่าอายุจริง หาได้โดยดูว่าข้อใดที่เด็กทำไม่ได้ในช่วงอายุที่ต่ำกว่าอายุจริงหรือในช่วงอายุจริง นำไปเปิดเทียบในตารางความสัมพันธ์หน้า 16 )