03764491 ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐาน ทางการจัดการโลจิสติกส์ 03764491 ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐาน ทางการจัดการโลจิสติกส์ Basic Research Methods in Logistics Management กุสุมา พิริยาพรรณ เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ คณะวิทยาการจัดการ 4 : 30 ม.ค. 61
หัวข้อบรรยาย ความหมายการวิจัยทั่วไป ความหมายการวิจัยทางธุรกิจ ประเภทของการวิจัย มิติต่างๆ ของการวิจัย คุณค่าการวิจัยต่อธุรกิจ บทบาทการวิจัยกับธุรกิจ คุณค่าการวิจัยที่มีผลต่องานโลจิสติกส์
ความหมายการวิจัยทั่วไป “Research” การพิจารณาคำว่า “วิจัย” รากศัพท์ละติน Re + Search Research Again Cercier อีกครั้ง/ซ้ำๆ การค้นหา/การแสวงหา
ความหมายการวิจัยทั่วไป “Research” การค้นคว้าหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งหลายๆ ครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกระทั่งมั่นใจว่า ค้นพบข้อเท็จจริงที่สามารถจะคาดการณ์ ทำนายและอธิบายในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างถ้วนถี่และเชื่อถือได้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (2542) กำหนดให้ความหมายการวิจัย 2 ประเด็นคือ “การวิจัยเป็นการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา” “การวิจัยเป็นการสะสมและรวบรวม”
ความหมายการวิจัยทั่วไป พจนานุกรม Webster’s New Twentieth Century Dictionary (1966) ให้คำจำกัดความ “Research” - การสอบสวน/ตรวจสอบในความรู้สายใดสายหนึ่งอย่างระมัดระวัง อดทน อย่างเป็นระบบ ระเบียบและขันแข็งเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และกฎเกณฑ์ต่างๆ - การแสวงหาความจริงอย่างคร่ำเคร่งและต่อเนื่อง Williams and Stevenson (1963) ให้ความหมาย Research ว่า “การค้นหาโดยวิธีครุ่นคิด/การแสวงหาอย่างคร่ำเคร่ง เพื่อให้เกิดความแน่นอน” Plutchick (1968) ให้ความหมายในทำนองว่า การวิจัยเป็นการ สำรวจเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติได้ดีขึ้น ซึ่งจะมีส่วนประกอบ 2 อย่าง : - การพยายามอย่างเข้มแข็งที่จะค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ - การพยายามจัดระเบียบข้อเท็จจริงที่ค้นพบให้เป็นแบบแผนที่มีความหมาย
ความหมายการวิจัยทั่วไป Kerlinger (1986) ให้ความหมายของ “การวิจัย” ว่า การวิจัยเป็นการไต่สวนสืบค้นปรากฏการณ์ตามต่างๆ ธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุม มีการสังเกตการณ์จริงและการวิพากษ์วิจารณ์ โดยใช้ทฤษฎีและสมมติฐานเป็นแนวทางค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์นั้น Schumacher และ Mcmillan (1993) อธิบายถึง “การวิจัย” ว่า การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงระบบในการรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างสมเหตุสมผลเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2540) ให้ความหมาย “การวิจัย” ว่า กระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ และมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนเพื่อให้ได้ความรู้ที่เชื่อถือได้ - การศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง = ผู้วิจัยต้องค้นคว้าให้ได้มาทั้งข้อเท็จและ ข้อจริง ศึกษาค้นคว้าครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมทั้งข้อสนับสนุนและข้อคัดค้าน - การศึกษาค้นคว้าต้องทำเป็นระบบระเบียบเป็นขั้นตอนมีเหตุมีผล = วิธีทางวิทยาศาสตร์ - การศึกษาค้นคว้าต้องเป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง/หลายอย่างผสมกัน
ความหมายการวิจัยทั่วไป สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์ (2540) ให้ความหมาย การวิจัย ว่า กระบวนการแสวงหาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการศึกษา โดยที่มี… - การเก็บรวบรวมข้อมูล - การจัดระเบียบข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความหมายผลการวิเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้อง กระบวนการ = กิจกรรมต่างๆ ที่ได้กระทำขึ้นโดยมีความเกี่ยวโยงต่อเนื่องกันอย่างมีระบบเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย
ความหมายการวิจัยทั่วไป ในที่ประชุม Pan Pacific Science Congress ปี1961 ประเทศสหรัฐ ได้มีการอธิบายถึงความหมายคำว่า “ R E S E A R C H ” R = Recruitment and Relationship E = Education and Efficiency S = Science and Stimulation E = Evaluation and Environment A = Aim and Attitude R = Result C = Curiosity H = Horizon
ความหมายการวิจัยทั่วไป R = Recruitment and Relationship การฝึกฝนให้คนมีความรู้ การรวบรวมผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานร่วมกัน รวมทั้งการติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน E = Education and Efficiency ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้และมีสมรรถภาพสูงในการวิจัย S = Science and Stimulation การวิจัยเป็นศาสตร์ที่ต้องพิสูจน์ค้นคว้าเพื่อหาความจริงโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผู้วิจัยต้องมีความคิดริเริ่ม การกระตือรือร้นที่จะศึกษาวิจัย E = Evaluation and Environment ผู้วิจัยต้องรู้จักการประเมินคุณค่าของผลงานวิจัยประโยชน์มาก/น้อย และต้องรู้จักใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และอาจรวมถึงกำลังคนในการวิจัยอย่างเหมาะสม
ความหมายการวิจัยทั่วไป A = Aim and Attitude การวิจัยจะต้องมีจุดมุ่งหมาย/เป้าหมายที่แน่นอนและผู้วิจัยต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการวิจัยตั้งแต่เริ่มปฏิบัติ และติดตามผลการวิจัย R = Result ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นจะต้องยอมรับกันอย่างดุษฎี เพราะเป็นผลที่ได้จากการค้นคว้า ศึกษาอย่างมีระบบระเบียบที่ดีและถูกต้อง C = Curiosity ผู้วิจัยต้องมีความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ ความสงสัยและขวนขวายในการศึกษาวิจัยตลอดเวลา H = Horizon ผลงานการวิจัยย่อมทำให้ทราบและเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ ซึ่งเสมือนกับเกิดแสงสว่าง หากการวิจัยยังไม่บรรลุผลจะต้องหาทางศึกษาค้นคว้าต่อไปจนสำเร็จ
ความหมายการวิจัยธุรกิจ การวิจัยทางธุรกิจ ---> Business Research เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่มีระบบ ระเบียบอย่างถูกต้องตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยปราศจากการอคติ และมีประสิทธิภาพ ผลวิจัยสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในกระบวนการตัดสินใจ/การแก้ไขปัญหาการบริหารทุกลักษณะของธุรกิจ Zikmund (2000) ให้ความหมาย “การวิจัยทางธุรกิจ” ว่า การรวบรวมข้อมูล / สารสนเทศที่มีกระบวนการอย่างเป็นระบบระเบียบและมีวัตถุประสงค์ : - การรวบรวม (Gathering) - การบันทึก (Recording) - การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data) ทั้งนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
ความหมายการวิจัยธุรกิจ Business Research Cooper and Schindler (2011) : A process of determining, acquiring, analyzing, synthesizing, and disseminatin relevant business data, information,and insights to decision makers in ways that mobilize the organization to take appropriate business actions that, in turn, maximize business performance Research Should Reduce Risk : The primary purpose of research is to reduce the level of risk of a marketing decision
ความหมายการวิจัยธุรกิจ Business Research Cooper and Schindler (2011) : Types of risk that organizations face : - Financial risk - Economic risk - Social risks (preserving their reputation) - Physical risk (represented by dangers to living things: product recalls in pet food and human food, pharmaceuticals, etc. provide examples.) - Environmental risk (preserving the organization’s relationship with their physical environment) - Technological risk (falling behind or having the opportunity to leap ahead of their competition).
ความหมายการวิจัยธุรกิจ นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี (2542) ได้ให้ความหมาย “การวิจัยธุรกิจ” หมายถึง การศึกษาค้นคว้าถึงความจริงเกี่ยวกับธุรกิจด้วยวิธีการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Method) ถูกต้องตามระบบที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ธุรกิจดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ สถานการณ์ที่ใช้วิจัยทางธุรกิจ ตั้งแต่… การวิจัยทางการจัดการ การตลาด การเงิน การบัญชี การผลิต ตลอดจนเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดพื้นฐานการวิจัย กฎเหตุและผลของธรรมชาติ (Deterministic Law of Nature) เป็น แนวคิดที่ว่า ปรากฏการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ก่อ ให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอๆ หรือเมื่อกำหนดสถานการณ์ใดๆ ที่ เป็นสาเหตุย่อมจะหาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ (Systematic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ว่า ปรากฏการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลตามธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ค่อนข้างจะชัดเจน เช่น Y = f(x) หรือ y = ax+b เป็นต้น ผู้วิจัยจะได้นำรูปแบบดังกล่าวไปใช้อธิบายในปรากฏการณ์ที่เกดขึ้นโดยทั่วๆ ไปได้ 3. กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ (Associative Law of Nature) เป็น แนวคิดที่ว่า การเกิดปรากฏการณ์ใดๆ ที่แตกต่างกัน จะมีความมาก น้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปรผลที่แตกต่างกัน
แนวคิดพื้นฐานการวิจัย 4. กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ (Principle Component of Nature) เป็นแนวคิดที่ว่า ตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้นๆ ไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปรอื่น ๆ (ตัวแปรแทรก ซ้อน/สอดแทรก) ที่มักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ 5. กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ (Probabilistic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ว่า ปรากฏการณ์ใดๆ หรือความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติจะเป็นผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ที่มีความน่าจะเป็นในการ เกิดขึ้นที่ค่อนข้างสูง
ประเภทการวิจัย หลักการจำแนกประเภท มิติการจำแนกการวิจัย 1. ต้องมีกลุ่มให้ครบถ้วน (mutually exhaustive) 2. แต่ละกลุ่มที่กำหนดเมื่อกำหนดประเภทจะต้องแยกออกจากกันและ กันโดยเด็ดขาด (mutually exclusive) 3. กลุ่มแต่ละกลุ่มควรจะมีความหมายที่ชัดเจนและมีจำนวนมากเพียงพอ มิติการจำแนกการวิจัย - เหตุผลของการทำวิจัย - วัตถุประสงค์ของการวิจัย - วิธีการวิจัย - สถานที่หรือทำเลของการวิจัย - วัตถุหรือสิ่งที่ต้องการวิจัย - ผู้กระทำการวิจัย
การจำแนกตามเหตุผลการวิจัย ประเภทการวิจัย การจำแนกตามเหตุผลการวิจัย การวิจัยพื้นฐาน (Basic research) : การวิจัยแสวงหาความรู้และความเข้าใจประเด็นเรื่องต่างๆ ให้มากขึ้น มุ่งแสวงหาความจริงใช้ทดสอบ/สร้างทฤษฎี ไม่มีวัตถุประสงค์ใช้ประโยชน์ทันที แต่เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการและวิจัยต่อไป การวิจัยประยุกต์ (Applied research) : การวิจัยที่นำผลการวิจัย/ข้อค้นพบไปใช้ในทางปฏิบัติจริง โดยมุ่งหาข้อเท็จจริง/ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล/ตัวแปรในการแก้ไขปัญหาจริง
การจำแนกตามวัตถุประสงค์การวิจัย ประเภทการวิจัย การจำแนกตามวัตถุประสงค์การวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) : การวิจัยมุ่งพรรณนาสภาพที่เป็นอยู่และลักษณะสำคัญของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมเกิดขึ้น การวิจัยเชิงอธิบาย (Explanatory research) : การวิจัยมุ่งอธิบายสาเหตุการเกิดขึ้นสภาพที่เป็นอยู่ ปรากฏการณ์ หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น โดยมุ่งหาเหตุผล
การจำแนกตามวิธีการเก็บข้อมูลการวิจัย ประเภทการวิจัย การจำแนกตามวิธีการเก็บข้อมูลการวิจัย การวิจัยแบบอาศัยการทดลอง (Experimental research) : กระบวนการวิจัยที่มีการวางแผน โดยที่มีการกระตุ้นเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้การควบคุม ควบคุมดูแลและเฝ้าสังเกตอย่างเป็นระบบ การวิจัยแบบไม่อาศัยการทดลอง (Non-experimental research) : กระบวนการวิจัยที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ตามสภาพเป็นจริงโดยไม่มีการจัดกิจกรรม/ การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ
การจำแนกตามสภาวะการวิจัย ประเภทการวิจัย การจำแนกตามสภาวะการวิจัย การวิจัยสภาวะที่ควบคุมเต็มที่ (Highly controlled settings) : การวิจัยที่ควบคุมปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างครบถ้วนเต็มที่ การวิจัยสภาวะที่ควบคุมได้บ้าง (Partially controlled settings) : การวิจัยที่ควบคุมปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บางประการเท่านั้น เพื่อสังเกตการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงโดยวิธีการหนึ่งวิธีการใด การวิจัยสภาวะที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled settings) : การวิจัยที่ไม่มีการควบคุมปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยทำการศึกษาเก็บข้อมูลตามสภาพ ลักษณะหรือพฤติกรรมตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น
การจำแนกตามสิ่งที่ทำการวิจัย ประเภทการวิจัย การจำแนกตามสิ่งที่ทำการวิจัย มนุษย์ : บุคคล กลุ่มบุคคล สัตว์ พืช และอื่นๆ : สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ต้องการศึกษา สิ่งไม่มีชีวิต : สิ่งของ/วัตถุต่างๆ การจำแนกตามผู้กระทำการวิจัย การวิจัยโดยบุคคลเดียว : การวิจัยที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้เพียงคนเดียว การวิจัยคณะบุคคล : การวิจัยที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความหลากหลายสาขา
การจำแนกระดับหน่วยการวิเคราะห์ในการวิจัย ประเภทการวิจัย การจำแนกระดับหน่วยการวิเคราะห์ในการวิจัย การวิจัยระดับจุลภาค (Micro level) : การวิจัยปรากฏการณ์เกี่ยวกับลักษณะต่างๆ บุคคล หรืออาจจะเป็นพฤติกรรม ทัศนคติและความคิดเห็น การวิจัยระดับมหภาค (Macro level) : การวิจัยปรากฏการณ์เกี่ยวกับลักษณะรวมๆ ระดับชุมชน สังคมหรือ ประเทศในหลายจุดเวลา การจำแนกระดับความลึกของข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) : การวิจัยที่อาศัยข้อมูลตัวเลขเพื่อยืนยันพิสูจน์ความถูกต้องของ ข้อค้นพบและข้อสรุปต่างๆ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) : การวิจัยที่ไม่เน้นข้อมูลตัวเลขยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบและ ข้อสรุปต่างๆ
คุณค่างานวิจัยต่อธุรกิจ 1 2 3 4 เกิดความรู้ใหม่ทางธุรกิจ แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กำหนดนโยบายและแผน
ลักษณะงานวิจัยที่ดี Characteristics of Good Research Clearly defined purpose Detailed research process Thoroughly planned design High ethical standards Limitations addressed Adequate analysis Unambiguous presentation Conclusions justified Credentials
2 1 3 4 ลักษณะงานวิจัยที่ดี ลักษณะงานวิจัยที่ดี วัตถุประสงค์ชัดเจน มิติวิจัย เวลา สถานที่ ตัวแปร ลักษณะงานวิจัยที่ดี 3 เครื่องมือมีความเชื่อมั่นสูง 4 มีความเที่ยงตรงทั้งภายใน/ภายนอก
6 5 7 8 ลักษณะงานวิจัยที่ดี ลักษณะงานวิจัยที่ดี ความรู้ ความซื่อสัตย์ กระบวนการ ขั้นตอนเป็นที่ยอมรับ 6 ความรู้ ความซื่อสัตย์ ลักษณะงานวิจัยที่ดี 7 การวางแผนอย่างรอบคอบ 8 มีประสิทธิภาพและประหยัด
มาตรฐานงานวิจัย : มาตรฐานที่ดี/ถูกต้องตามวิธีการ - มีจุดประสงค์จำกัดความอย่างชัดเจน - มีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย - มีการออกแบบวางแผนการวิจัยอย่างถี่ถ้วน - ข้อจำกัดถูกแสดงอย่างเปิดเผย - มีมาตรฐานเกี่ยวกับหลักจริยธรรมสูง - การวิเคราะห์ที่เหมาะสมสำหรับความต้องการของผู้ทำ - การค้นคว้าถูกแสดงอย่างไม่คลุมเครือ - บทสรุปที่พิสูจน์ว่าถูกต้อง - สะท้อนประสบการณ์ของการวิจัย
บทบาทการวิจัยกับธุรกิจ เหตุผลการทำวิจัยธุรกิจ : Research provides you with the knowledge and skills needed for the fast-paced decision-making environment ความต้องการสารสนเทศและข้อมูลการบริหาร : 1. Global and domestic competition is more vigorous 2. Organizations are increasingly practicing data mining and data warehousing
บทบาทการวิจัยกับการดำเนินงานทางธุรกิจ การตัดสินที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ (ข้อมูล) สภาพแวดล้อม PEST รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (Scenario) แนวทางหรือ ทางเลือก ที่ดีที่สุด ปัญหา/โอกาส ทางการเงิน/บัญชี สภาพแวดล้อม ภายในองค์การ การเงิน/บัญชี การผลิต การบริหาร/จัดการ การตลาด ทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ แผนกลยุทธ์และดำเนินงาน ข้อมูลย้อนกลับ นำแผนสู่ภาคปฏิบัติ ประเมินผล
New Product Development Process Marketing Strategy Development Business Analysis Product Development Concept Development and Testing Market Testing Idea Screening Commercialization Idea Generation 32
ภาระหน้าที่/บทบาทของผู้บริหารกับการวิจัยทางธุรกิจ 1. สร้างความต้องการให้กับลูกค้า/ผู้ใช้บริการแทนที่จะให้เรียกร้องก่อน ภายหลัง 2. แก้ไขปัญหาทางการบริหารและจัดการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งภายใน องค์การและภายนอกองค์การ 3. ประเมินสถานการณ์/คาดการณ์ปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นใน อนาคต พร้อมจัดเตรียมแผนสำรองเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว ทางการจัดการเพื่อความยั่งยืนทางธุรกิจ 4. วางแผนและกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับบริบทหรือสถานการณ์ โดยอาศัย PEST 3C’s SWOT Five Competitive Forces Analysis Balanced Scorecard เป็นต้น แผนดำเนินการจะต้อง สอดคล้องกับแผนและนโยบายขององค์การในภาพรวม 5. การดำเนินงานขององค์การจะต้องคอยควบคุม ติดตามและตรวจสอบ อย่างใกล้ชิด พร้อมประเมินผลตามกรอบเวลา เช่น การประเมินผล ทุกรอบ 6 เดือน
ข้อพึงระวังเกี่ยวกับการวิจัย - เมื่อคำแนะนำไม่สามารถประยุกต์ให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ ขั้นวิกฤตได้ - เมื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการที่มีการเสี่ยงเล็กน้อย - เมื่อการจัดการมีทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะทำการศึกษาวิจัย - เมื่อราคาของการศึกษาวิจัยมีค่าเกินระดับของการเสี่ยงในการ ตัดสินใจ
คุณค่าการวิจัยที่มีผลต่องานโลจิสติกส์ งานวิจัยที่ประสบความสำเร็จ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้เป็นรูปธรรม และยังเป็นตัวอย่างให้กับโครงงานวิจัยอื่น ๆ ได้ศึกษาไว้เป็นตัวอย่าง เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป คุณค่าการวิจัยที่มีผลต่องานโลจิสติกส์ เพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายทั้งในระดับองค์กรและในระดับประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุน เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ
ตัวอย่าง คุณค่าการวิจัยที่มีผลต่องานโลจิสติกส์ - การพัฒนาฐานข้อมูลยาระดับชาติและระบบสืบค้นทางอินเตอร์เนตเพื่อการเชื่อมโยงของข้อมูลในโซ่อุปทานสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและยกระดับความปลอดภัยในการใช้ยา ของประชาชน ทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้นำฐานข้อมูลยาอันเป็นผลวิจัยภายใต้โครงการนี้ ไปเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินคาคงคลังยา (Vendor Managed Inventory : VMI) ของโรงพยาบาลกรุงเทพ และเครือโรงพยาบาลกรุงเทพทั้งหมด ที่มา : สำนักประสานงานโครงการวิจัยดานโลจิสติกส์ รวมระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานโลหิต ของโรงพยาบาลภายใน ประเทศไทย ตัวอย่าง คุณค่าการวิจัยที่มีผลต่องานโลจิสติกส์ - การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานโลหิต ของโรงพยาบาลภายใน ประเทศไทย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ นำผลวิจัยไปใช้ในการปรับโครงสร้างการจัดการอุปสงค์และอุปทานของโลหิตและจัดให้มีระบบสารสนเทศภายในโรงพยาบาลเพื่อใช้ในการบริหารคลัง ผู้บริจาคโลหิต และระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลโดย มีเป้าหมายเพื่อลดความสูญเสียโดยรวมอันเกิดจากสภาวะการขาดแคลนโลหิตและการหมดอายุของโลหิต ที่มา : สำนักประสานงานโครงการวิจัยดานโลจิสติกส์ รวมระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ตัวอย่าง คุณค่าการวิจัยที่มีผลต่องานโลจิสติกส์ - โครงการศึกษาระบบขนส่งแบบตอบสนองความต้องการสำหรับภาค บริการทองเที่ยวเมืองพัทยา ทางกรมขนส่งจังหวัดชลบุรีและศาลาว่าการเมืองพัทยาได้มีการนำผลวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาระบบขนส่งรถโดยสารสาธารณะของเมืองพัทยา เพื่อให้เกิดเป็นระบบเสนทางการเดินรถที่ครอบคลุมพื้นที่ท่องเที่ยวเมืองพัทยา และตอบสนองตอความตองการนักทองเที่ยว และเกิดอรรถประโยชน์สูงสุดต่อรถโดยสารสาธารณะ ที่มา : สำนักประสานงานโครงการวิจัยดานโลจิสติกส์ รวมระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ตัวอย่าง คุณค่าการวิจัยที่มีผลต่องานโลจิสติกส์ - การนำร่องการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาประยุกต์ใช้ในการบริหาร จัดการโลจิสติกส์ ผลิตภัณฑ์อาหารของมูลนิธิโครงการหลวง ทางศูนย์ผลิตผลโครงการหลวง กรุงเทพฯ และศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ได้ดำเนินการจัดสรรงบลงทุนและนำโปรแกรมเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีที่ได้จากผลวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการจัดการข้อมูลโดยเปลี่ยนจากบาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีทั้งหมด สำหรับตรวจรับตะกร้า และการชั่งน้ำหนัก ที่มา : สำนักประสานงานโครงการวิจัยดานโลจิสติกส์ รวมระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)