การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Objective Analysis การวิเคราะห์วัตถุประสงค์
Advertisements

ผศ.ดร.ศิรภัสสร วงศ์ทองดี
ส่วนที่ 2 การประเมินกับ การบริหารงานบุคคล รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
Objective Analysis การวิเคราะห์วัตถุประสงค์
What is MEQ Workshop on “MEQ Examination for Preclinical Years”
หลักการจัดการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายการศึกษา และพฤติกรรมการศึกษา
The Revised Bloom’s Taxonomy
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการศึกษา
การวัดทางด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
อบรมปฏิบัติการ จัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
โครงงานคืออะไร หลักการของการเรียนรู้ของ โครงงาน จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ ด้วยโครงงาน โครงงานกับการเรียนรู้แบบต่างๆ ลักษณะเด่นของการเรียนรู้ด้วย.
Active Learning ผศ. ดร. เยาวเรศ ภักดีจิตร ภาควิชาหลักสูตร และการสอน.
แนวทาง การวัดและประเมินผล “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
Heart : การเสริมสร้างคุณลักษณะและค่านิยม. Heart ประเด็นการนำเสนอ  1. นิยามศัพท์  2. จุดมุ่งหมายการจัดกิจกรรมฯ  3. แนวทางการจัดกิจกรรมฯ  4. รูปแบบการจัดกิจกรรมฯ.
การวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าอัตราส่วนปลอดภัย
การฝึกอบรมคืออะไร.
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
รูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ Moderate Class More Knowledge
ความขัดแย้ง-การเปลี่ยนแปลง- การสร้างทีมงาน และภาวะผู้นำของผู้บริหาร : กรอบคิดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์ ภาควิชาบริหารและพัฒนาการศึกษา.
รายวิชา คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข
การอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (DVE : Dual Vocational Education)
การวัดและประเมินการปฏิบัติ
การวัดและประเมินผลการศึกษา
แปลว่าความรู้(Knowledge)
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
แนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวกับการประเมินภาคปฏิบัติ
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรม และท่องเที่ยว
บทที่ 8 เครื่องมือการวิจัย
บทที่ 5 ความต้องการ วิศวกรรมความต้องการ แบบจําลองการวิเคราะห์
วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เทคนิคการสอนยุค IT ตอนที่ 2
บทที่ 4 ทัศนคติของลูกค้า
การเบิก-จ่ายเงินอย่างมืออาชีพ
การวิจัยในชั้นเรียน( Classroom Action Research)
สมรรถนะของข้าราชการ กลุ่มงานบริการประชาชน ด้านสุขภาพและสวัสดิการ
การวัดผลและประเมินผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของ TQF
Hilda  Taba  (ทาบา).
ความหมายและความสำคัญ ของการประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment)
Hermeneutics หลักการตีความหมายพระคัมภีร์
การวัดผลและประเมินผลพฤติกรรมของมนุษย์
การประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินการเรียนการสอน
ครูกับการออกแบบการเรียนรู้ สู่คุณภาพเด็กไทย
การจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี
การสร้างข้อสอบตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร
ผู้ใช้และการใช้สารสนเทศ
กรอบการประเมินการรู้วิทยาศาสตร์ (PISA 2015 และ 2018)
พระพุทธศาสนา.
การวัดและประเมินผลการศึกษา
ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET,NT 2558
ดร.ภาสกร พงษ์สิทธากร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ.
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
Why’s KM ?.
การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
แนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวกับการประเมินภาคปฏิบัติ
เทคนิคการเขียนข้อสอบ
พฤติกรรมผู้บริโภค 8 ตลาดผู้บริโภคและพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค
ตัวแบบพฤติกรรมผู้บริโภค (Model of Consumer Behavior)
รายวิชา ISC2101 ระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น 3 (ทฤษฎี2-ปฏิบัติ2-ศึกษาด้วยตนเอง5) หน่วยกิต
Skills of 21st century learning ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3Rs X 7Cs (เรียนรู้ตลอดชีวิต) Reading ’Riting (Writing) ’Rithmetic (Arithmetic) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
บทที่ 5 ตัวแบบพฤติกรรมผู้บริโภค
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี
คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
บทที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
บทที่ 3.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย รองศาสตราจารย์บรรพต พรประเสริฐ

แนวคิดการจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์เป็นการจัดกิจกรรม สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน โดยคำนึงถึงวัยและความสามารถของเด็กแต่ละคนเพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับประสบการณ์ตรง พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ อันจะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน

ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อเด็กได้รับประสบการณ์ตรง ได้ฝึกการคิด แสดงออกอย่างอิสระและสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์นั้น ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาของตนและส่วนรวม เนื่องจากเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในช่วงวัยนี้จะมุ่งเน้นการตอบสนองธรรมชาติและความต้องการตามวัยของเด็กอย่างสมดุล

หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 1. มุ่งเน้นให้เด็กพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บูรณาการการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันทั้งกิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่มเล็ก กิจกรรมกลุ่มใหญ่ ในห้องเรียน นอกห้องเรียน ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง 3. การจัดประสบการณ์ต้องดัดแปลงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของเด็ก สภาพของท้องถิ่น เพื่อเด็กจะได้มีโอกาสฝึกฝนตนเองให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น

หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 4. จัดประสบการณ์โดยมุ่งเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้เด็กได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ และความสามารถของแต่ละคน มุ่งเน้นกระบวนการมากกว่าผลผลิต 5. จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ 6. ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก

จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 1. พัฒนาการด้านร่างกาย เพื่อพัฒนาร่างกายให้เจริญเติบโตตามวัย พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็กและประสาทสัมพันธ์ ตลอดจนปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง 2. พัฒนาด้านอารมณ์ จิตใจ เพื่อให้เด็กมีสุขภาพจิตดี มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ส่งเสริมให้เด็กมีวินัยในตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย

จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 3. พัฒนาการด้านสังคม เพื่อให้เด็กรู้จักตนเอง รู้จักบุคคลใกล้ชิด รู้ถึงความสำคัญของครอบครัว สังคม และชุมชน ตลอดจนปลูกฝังให้มีสังคมนิสัยที่ดี ให้เกิดความสนใจ มีมารยาทในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ 4. พัฒนาการด้านสติปัญญา เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการใช้ภาษาในการสื่อความหมายให้เด็กรู้จักสังเกต โดยการใช้ประสาทสัมผัสและการคิดอย่างมีเหตุผล พัฒนาและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนปลูกฝังนิสัยรักการเรียนรู้

มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี 2. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง มีความคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน 3. มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข 4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม 5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย 6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย

มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย 8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย 10. มีความสามารถในการคิดและการแก้ไขปัญหาได้เหมาะสมกับวัย 11. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กรมวิชาการ (2546 : 9) ได้จัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ และความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยมีมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 2. คุณลักษณะตามวัย กรมวิชาการ (2546 : 9-10) คุณลักษณะตามวัยเป็นความสามารถตามวัย หรือพัฒนาการตามธรรมชาติเมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้น ๆ ผู้สอนจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี เพื่อนำไปพิจารณาการจัดประสบการณ์ให้เด็กในแต่ละวัย

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 3. สาระการเรียนรู้ กรมวิชาการ (2546 : 9 – 10) สาระการเรียนรู้ใช้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้สาระการเรียนรู้ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ความรู้สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็กที่เด็ก

รูปแบบการจัดกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย 1. กิจกรรมเสรีหรือเล่นตามมุม กิจกรรมเสรีเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ภายในห้องเรียน เช่น มุมบล๊อก มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ หรือมุมธรรมชาติศึกษา มุมบ้าน มุมร้านค้า เป็นต้น มุมต่าง ๆ

รูปแบบการจัดกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย 2. กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การฉีก – ตัด – ปะ หรือการประดิษฐ์ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ช่วยฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต คิดหาเหตุผล ฝึกการสร้างสรรค์ผลงาน ฝึกลักษณะนิสัย ฝึกความพร้อมในการเรียน

รูปแบบการจัดกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย 3. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจอง เครื่องเคาะจังหวะ และอุปกรณ์อื่น ๆ มาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะและควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้

รูปแบบการจัดกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย 4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงาน และอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหาด้วยการใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยมีบรรยากาศการเรียนรู้จะเป็นแบบการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเกิดความคิดรวบยอด สามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ดี จดจำได้นาน เรียนด้วยความสุข

รูปแบบการจัดกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย 5. กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กมีโอกาสออกไปนอกห้องเรียน เพื่อออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกาย และแสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก กิจกรรมนี้ครูควรจัดให้เด็กได้เล่นทุกวัน โดยที่กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อเด็กมาก เพราะเด็กต้องการการเคลื่อนไหว และพัฒนาความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ

รูปแบบการจัดกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย 6. เกมการศึกษา เกมการศึกษา เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎกติกาง่าย ๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้ ช่วยให้เด็กรู้จักสังเกต คิดหาเหตุผล และเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวน ประเภท ความสัมพันธ์เกี่ยวกับพื้นที่ ระยะ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 3 – 6 ปี เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ โดมิโน ลอตโต ภาพตัดต่อ

รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ รูปแบบ หมายถึงตัวแทนของกรอบความคิดที่แสดงถึงแผนของการทำงานหรือปฏิบัติงาน ที่ใช้อธิบายกระบวนการสำคัญในการปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อช่วยให้ตนเองและผู้อื่น สามารถเข้าใจได้ชัดเจนในความหมายดังกล่าว ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง แผนการหรือโครงสร้างที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ในการสอนประกอบด้วยปรัชญา ทฤษฎี หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการสอน การวัดและการประเมินผล ตลอดจนเทคนิควิธีการสอนสำหรับเด็กอายุ 0 – 5 ปี

องค์ประกอบและลักษณะของรูปแบบ องค์ประกอบของรูปแบบ คีฟส์ (Keeves, 1997: 386 – 387 อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี, 2546 : 2) กล่าวว่า รูปแบบโดยทั่วไปจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1. รูปแบบจะต้องนำไปสู่การทำนาย (prediction) ผลที่ตามมา ซึ่งสามารถพิสูจน์ ทดสอบได้ กล่าวคือ สามารถนำไปสร้างเครื่องมือเพื่อไปพิสูจน์ทดสอบได้ องค์ประกอบที่ 2. โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์/เรื่องนั้นได้ องค์ประกอบที่ 3. รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination) ความคิดรวบยอด (concept) และความสัมพันธ์ (interrelations) รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตของการสืบเสาะความรู้ องค์ประกอบที่ 4. รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural relationship) มากกว่า ความสัมพันธ์เชิงเชื่อมโยง (associative relationships)

องค์ประกอบและลักษณะของรูปแบบ รูปแบบ (Model) ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี 5 แบบ หรือ 5 ลักษณะ คือ (Kaplan, 1964 อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี, 2546 : 2 – 3) ลักษณะที่ 1รูปแบบเชิงเปรียบเทียบ (Analogue Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกในลักษณะของการเปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ อย่างน้อย 2 สิ่งขึ้นไป รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ ลักษณะที่ 2รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านการใช้ภาษา (พูดและเขียน) รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านศึกษาศาสตร์ ลักษณะที่ 3รูปแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางสูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปแบบเชิงภาษาแล้ว ลักษณะที่ 4รูปแบบเชิงแผนผัง (Schematic Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางแผนผัง แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น ลักษณะที่ 5รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ของสภาพการณ์/ปัญหาใด ๆ รูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ มักจะใช้แบบนี้เป็นส่วนใหญ่

องค์ประกอบของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 1.หลักการของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นส่วนที่กล่าวถึงความเชื่อและแนวคิด ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ หลักการของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จะเห็นตัวชี้นำ การกำหนดจุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และขั้นตอนการดำเนินงานในรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2.จุดประสงค์ของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นส่วนที่ระบุถึงความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 3.สาระและกระบวนการ เป็นส่วนที่ระบุถึงเนื้อหาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4.กิจกรรมและขั้นตอนการดำเนินงาน เป็นส่วนที่ระบุถึงวิธีการปฏิบัติในขั้นตอน ต่าง ๆ เมื่อนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไปใช้ 5.การวัดและประเมินผล เป็นส่วนที่ประเมินถึงประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

ลักษณะของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีควรมีแนวคิดหรือหลักการพื้นฐานรองรับ มีองค์ประกอบที่สัมพันธ์กับแนวคิดหรือหลักการพื้นฐาน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ที่มุ่งจะพัฒนาผู้เรียนให้มีพฤติกรรมที่ต้องการ โดยการกำหนดแนวทางในการนำไปใช้ซึ่งรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้นั้น จึงจะทำให้เกิดผลตามที่ต้องการ

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เป็นการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และข้อค้นพบจากการวิจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน หรือปัญหาจากเอกสาร ผลการวิจัย หรือการสังเกต สอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง การกำหนดหลักการ เป้าหมาย และองค์ประกอบอื่น ๆ ของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับข้อมูลพื้นฐานและสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบระเบียบ การกำหนดเป้าหมายของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไปใช้ให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการสอน เพื่อให้การสอนบรรลุผลสูงสุด การกำหนดแนวทางในการนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไปใช้ ประกอบด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการและเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ หรือกลุ่มย่อย ผู้สอนจะต้องเตรียมงาน หรือจัดสภาพการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อให้การใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นการทดสอบความมีประสิทธิภาพของรูปแบบที่สร้างขึ้นการปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นการปรับแก้รูปแบบการสอนที่ได้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น มีข้อบกพร่องน้อยลง โดยการนำสิ่งที่ได้จากการทดลองใช้รูปแบบการสอนมาปรับปรุงแก้ไข

การนำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 1 ที่มาของรูปแบบการสอน (Orientation to the model) เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่มาของรูปแบบการสอน ประกอบด้วยเป้าหมายของรูปแบบทฤษฎี ข้อสมมติ หลักการ และแนวคิดสำคัญที่เป็นพื้นฐานของรูปแบบการสอน ขั้นตอนที่ 2 รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (The model of teaching) เป็นการอธิบายถึงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน

การนำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไปใช้ (Application) เป็นการให้คำแนะนำ และตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไปใช้ให้ได้ผล มีประสิทธิผลมากที่สุด ขั้นตอนที่ 4 ผลที่ได้จากการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ทั้งผลทางตรงและทางอ้อม เป็นการระบุถึงผลของการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่คาดว่าจะเกิดแก่ผู้เรียนทั้งผลทางตรง

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย หลักการสำคัญในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ดังนี้         1. จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง         2. เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่         3. จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต         4. จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์         5. ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก

การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ : หัวใจสำคัญของกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย การเรียนรู้แบบลงมือกระทำมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ 1. การเลือกและตัดสินใจ เด็กจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจากความสนใจและความตั้งใจของตนเอง เด็กเป็นผู้เลือกวัสดุอุปกรณ์และตัดสินใจว่าจะใช้วัสดุอุปกรณ์นั้นอย่างไร  2. สื่อ ห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะมีเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย เพียงพอ และเหมาะสมกับระดับอายุของเด็ก เด็กต้องมีโอกาสและมีเวลาเพียงพอที่จะเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ

การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ : หัวใจสำคัญของกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย การเรียนรู้แบบลงมือกระทำมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้   3. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 การที่ให้เด็กได้สำรวจและจัดกระทำกับวัตถุโดยตรง  4. ภาษาจากเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็ก ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำเด็กมักจะเล่าว่าตนกำลังทำอะไร

การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ : หัวใจสำคัญของกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย        5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในห้องเรียนที่เรียนรู้แบบลงมือกระทำต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก สังเกตและค้นหาความตั้งใจและความสนใจของเด็ก  ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำ เด็กจะได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ คน แนวคิด และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ อย่างหลากหลาย สิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในชีวิตประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติ จะช่วยให้เด็กสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

การออกแบบแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและเกิดประโยชน์กับเด็กปฐมวัย         1. วางแผนการจัดประสบการณ์สำหรับใคร ครูต้องรู้จักเด็กที่ตนเองรับผิดชอบ รู้พัฒนาการตามวัย ความสนใจ ความถนัด ความสามารถ รวมทั้งรู้ว่าควรปรับปรุงและพัฒนาเด็กคนใดในเรื่องใดบ้าง        2. ต้องการให้เด็กเรียนรู้อะไร ครูต้องรู้จุดหมายของการจัดประสบการณ์ ครูจึงควรศึกษาก่อนว่าทักษะ สาระการเรียนรู้ หรือประสบการณ์สำคัญใดที่จะจัดให้กับเด็ก แล้วจึงวางแผนการจัดกิจกรรมต่อไป        3. เด็กจะเรียนรู้เรื่องที่ต้องการให้เรียนรู้ได้ดีที่สุดได้อย่างไร ครูต้องรู้จักคิดหาวิธีสอน และสื่อเพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ         4. รู้ได้อย่างไรว่าเด็กเกิดการเรียนรู้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ครูต้องรู้วิธีประเมินผล สร้างและใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม

บทบาทครูปฐมวัยในการจัดการเรียนรู้ 1. การเตรียมผู้สอนให้พร้อม ซึ่งความหมายของการเตรียมผู้สอนให้พร้อม หมายถึงการที่ผู้สอนจะต้องมีความพร้อมในด้านความรู้ที่จะนำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียน 2. การเตรียมผู้สอนให้พร้อม ซึ่งความหมายของการเตรียมผู้สอนให้พร้อม หมายถึงการที่ผู้สอนจะต้องมีความพร้อมในด้านความรู้ที่จะนำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียน 3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการออกแบบกิจกรรมสำหรับผู้เรียน โดยยึดหลักการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ และรับรู้ผ่านอวัยวะรับสัมผัส ทั้งนี้การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้จะต้องพิจารณาจากจุดประสงค์การเรียนรู้ว่าต้องการให้ผู้เรียนพัฒนาในเรื่องใด

บทบาทครูปฐมวัยในการจัดการเรียนรู้ 4. การประเมินผล เป็นการประเมินผลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ว่าเป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ ตามวิธีการและเครื่องมือที่ได้ออกแบบไว้ การประเมินผลนี้ต้องครอบคลุมทั้งด้านความรู้ทักษะการแสดงออกและความรู้สึกของผู้เรียนและต้องประเมินถึงกระบวนกรที่ผู้เรียนได้ใช้ในการสร้างความรู้ รวมทั้งผลการเรียนรู้ ทั้งนี้การประเมินจะประเมินทั้งในขณะที่ดำเนินกิจกรรมและประเมินหลังกิจกรรม 5. การสรุปและนำไปประยุกต์ใช้ หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะเกิดประสบการณ์และรวบรวมเป็นความรู้ที่ได้สร้างขึ้นด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เกิดเป็นข้อสรุปจากสาระที่ได้เรียนรู้ ครูจะแนะนำให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงผลการเรียนรู้ โดยการสะท้อนความคิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเพื่อน การแสดงผลงานในรูปต่าง ๆ ในเรื่องใด

การจัดทำแผนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ องค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ อย่างน้อยต้องมีสิ่งต่อไปนี้ 1. สาระสำคัญ 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 3. สาระการเรียนรู้ 4. กิจกรรมการเรียนรู้ 5. สื่อ / อุปกรณ์ / แหล่งการเรียนรู้ 6. การวัดและประเมินผล 7. บันทึกผลหลังสอน

การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ 1. จัดทำแผนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ 1 แผนต่อการสอน 1 ครั้งภายในเวลาไม่ควรเกินกว่า1 ชั่วโมง กรณีที่มีการปฏิบัติกิจกรรมต่อเนื่องภายใต้จุดประสงค์เดียวกัน 2. จัดทำแผนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ 1 แผน ใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมงภายใต้จุดประสงค์และสาระสำคัญเดียวกันซึ่งต้องสอนหลายครั้งจึงจะบรรลุจุดประสงค์ ต้องแยกกิจกรรมการสอนออกเป็นรายครั้ง (ครั้งที่ 1……, ครั้งที่ 2 …….)

แผนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ที่ดี 1. มีความละเอียด ชัดเจน มีหัวข้อและส่วนประกอบต่าง ๆ ครอบคลุมตามศาสตร์ของการสอนโดยสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ 1.1 สอนอะไร (หน่วย หัวเรื่อง ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ) 1.2 เพื่อจุดประสงค์อะไร (จุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งควรเขียนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม) 1.3 ด้วยสาระอะไร (เนื้อหา / โครงร่างเนื้อหา) 1.4 ใช้วิธีการใด (กิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ) 1.5 ใช้เครื่องมืออะไร (วัสดุอุปกรณ์ สื่อและแหล่งการเรียนรู้) 1.6 ทราบได้อย่างไรว่าประสบความสำเร็จ (การวัดผลและประเมินผล

แผนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ที่ดี 2. แผนการจัดการเรียนรู้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 3. ส่วนประกอบต่าง ๆ ของแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องสัมพันธ์เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เช่น 3.1 จุดประสงค์การเรียนรู้ครอบคลุมสาระ / เนื้อหา และเป็นจุดที่พัฒนาผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการและเจตคติ 3.2 กิจกรรมการเรียนรู้ ควรสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหา / สาระ 3.3 วัสดุอุปกรณ์ สื่อ และแหล่งการเรียนรู้ ควรสอดคล้องสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ 3.4 การวัดผลและประเมินผล ควรสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

การจัดทำแผนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ กำหนดการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ (หน่วยการเรียนรู้รายภาคเรียน + สาระการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ) สาระการเรียนรู้และประสบการณ์สำคัญ สาระการเรียนรู้4 สาระ และ สาระการเรียนรู้รายปี /รายภาค หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้

ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ 1. วิเคราะห์ สาระการเรียนรู้รายปี หรือรายภาค และหน่วยการเรียนรู้ ที่สถานศึกษาจัดทำขึ้น เพื่อประโยชน์ในการเขียนรายละเอียดของแต่ละหัวข้อของแผนการจัดเรียนรู้ 2. วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเพื่อนำมาเขียนเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยให้ครอบคลุมพฤติกรรมทั้งด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการ เจตคติ และค่านิยม 3. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ โดยเลือกและขยายสาระที่เรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียนชุมชน และท้องถิ่น 4. วิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 5. วิเคราะห์กระบวนการประเมินผล โดยเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผล ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ 6. วิเคราะห์แหล่งการเรียนรู้ โดยคัดเลือกสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียนให้เหมาะสมสอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้

การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ (Objectives) ควรเขียนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral objectives) โดยเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาในเรื่องต่อไปนี้ 1. ความรู้ (Knowledge : K ) 2. ทักษะกระบวนการ (Process : P) ทักษะกระบวนการคิดและการปฏิบัติรวมทั้ง การแสดงออก 3. เจตคติ (Attitude : A) คือความสนใจ พอใจ รวมทั้งลักษณะนิสัย

พฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive domain) พฤติกรรมด้านจิตพิสัย (Affective domain) พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Psychomotor domain)

พฤติกรรมการรับรู้ด้านพุทธิพิสัย 6 ระดับ ความรู้ความจำ (Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehension) การนำไปใช้ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) การประเมินค่า (Evaluation)

คำกริยาที่บ่งบอกถึงการกระทำ Cognitive Domain ระดับ ความหมาย คำกริยาที่บ่งบอกถึงการกระทำ ความรู้ (Knowledge) ความสามารถในการจำความรู้ต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้มา นิยาม, จับคู่, เลือก, จำแนก, บอกคุณลักษณะ, บอกชื่อ, ให้แสดงรายชื่อ, บอกความสัมพันธ์, ฯลฯ ความเข้าใจ (Comprehension) ความสามารถในการแปลความ ขยายความ และเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้มา แปลความหมาย, เปลี่ยนแปลงใหม่, แสดง, ยกตัวอย่าง, อธิบาย, อ้างอิง, แปลความหมาย, สรุป, บอก, รายงาน, บรรยาย, กำหนดขอบเขต, ฯลฯ การนำไปใช้ (Application) ความสามารถในการใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้มาเป็นวัตถุดิบก่อให้เกิดสิ่งใหม่ ประยุกต์ใช้, จัดกระทำใหม่, แก้ปัญหา, จัดกลุ่ม, นำไปใช้, เลือก, ทำโครงร่าง, ฝึกหัด, คำนวณ, ฯลฯ

คำกริยาที่บ่งบอกถึงการกระทำ Cognitive Domain ระดับ ความหมาย คำกริยาที่บ่งบอกถึงการกระทำ การวิเคราะห์ (Analysis) ความสามารถในการแยกความรู้ออกเป็นส่วนแล้วทำความเข้าใจในแต่ละส่วนว่าสัมพันธ์คือแตกต่างกันอย่างไร จำแนก, จัดกลุ่ม, เปรียบเทียบ, สรุปย่อ, บอกความแตกต่าง, อธิบาย, วิเคราะห์, แยกส่วน, ทดสอบ, สำรวจ, ตั้งคำถาม, ตรวจสอบ, อภิปราย, ฯลฯ การสังเคราะห์ (Synthesis) ความสามารถในการรวมความรู้ต่าง ๆ หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ให้เกิดเป็นสิ่งแปลกใหม่ การออกแบบ, วางแผน, การแก้ปัญหา, การผลิต, การสร้างสูตร, ฯลฯ การประเมินค่า (Evaluation) ความสามารถในการตัดสินคุณค่าอย่างมีเหตุมีผล ตั้งราคา, ตัดสินคุณค่า, พิจารณา, สรุป, ประเมิน, ให้น้ำหนัก, กำหนดเกณฑ์, การเปรียบเทียบ, แก้ไข, ปรับปรุง, ให้คะแนน

3. การนำไปใช้ (Application) 2. ความรู้ เข้าใจ (Comprehension) ระดับสูง ความคิด 6. การประเมิน (Evaluation) 5. การสังเคราะห์ (Synthesis) 4. การวิเคราะห์ (Analysis) 3. การนำไปใช้ (Application) 2. ความรู้ เข้าใจ (Comprehension) พื้นฐาน 1. ความรู้ ความจำ (Knowledge)

ตัวอย่างประกอบด้านความรู้ การจำแนกแยกแยะ จัดกลุ่ม จัดหมวดหมู่ การแยกแยะระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องจินตนาการ การแยกแยะระหว่างเรื่องจริงกับความคิดเห็น การให้คำจำกัดความและตัวอย่าง การสรุป ระบุใจความสำคัญ

ตัวอย่างประกอบด้านความเข้าใจ การเปรียบเทียบ และเปรียบต่าง การระบุโครงสร้าง ขั้นตอนและกระบวนการ ความสัมพันธ์เชิงรูปร่าง ลักษณะ การเปรียบเทียบความหมายคำ การหาใจความสำคัญ การระบุความสัมพันธ์

ตัวอย่างประกอบด้านการนำไปใช้ การเรียงลำดับ การคาดคะเน ความเป็นไปได้ การอนุมาน การเปลี่ยนความหมายของคำ

ตัวอย่างประกอบด้านการวิเคราะห์ การเติมให้สมบูรณ์ ความเกี่ยวข้องของข้อมูล รูปธรรมหรือนามธรรม การกระทำที่เป็นเหตุเป็นผล การระบุส่วนประกอบ รายละเอียดและเหตุการณ์ที่เป็น เหตุเป็นผลกับเนื้อเรื่อง การพิจารณาข้อความว่าจริงหรือไม่

ตัวอย่างประกอบด้านการสังเคราะห์ การสื่อสารทางความคิด การวางแผน การสร้างสมมุติฐาน การหาข้อสรุป การเสนอทางเลือก

ตัวอย่างประกอบด้านการประเมิน การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลทั่ว ๆ ไป การตัดสินใจบนพื้นฐานของกฎกติกา หรือแนวทางที่กำหนดให้ การตัดสินบนพื้นฐานของความถูกต้อง การตัดสินใจโดยพิจารณาทางเลือก การระบุคุณค่า การระบุถึงความรู้สึก หรืออารมณ์เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง

คำกริยาที่บ่งบอกถึงการกระทำ Affective Domain ระดับ ความหมาย คำกริยาที่บ่งบอกถึงการกระทำ การรับรู้ (Receive) มีความตั้งใจสนใจในสิ่งเร้า การยอมรับ, เลือก, ถาม, ฟัง, ตั้งใจ, ฯลฯ การตอบสนอง (Respond) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จัดขึ้น การส่งเสริม, การบอก, สนับสนุน, อาสาสมัคร, เล่าเรื่อง, ช่วยเหลือ ฯลฯ เห็นคุณค่า (Value) เห็นคุณค่าในสิ่งที่กระทำ รู้สึกซาบซึ้งยินดีและมีเจตคติที่ดีต่อสิ่งนั้น เลือก, แบ่งปัน, สนับสนุน, เห็นคุณค่า, ซาบซึ้ง, ร่วมสนุก, ฯลฯ

คำกริยาที่บ่งบอกถึงการกระทำ Affective Domain ระดับ ความหมาย คำกริยาที่บ่งบอกถึงการกระทำ การจัดระบบ (Organize) การเห็นความแตกต่างในคุณค่า, การแก้ไขความขัดแย้งของสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่อยู่ภายใน, การสร้างปรัชญาหรือเป้าหมายให้กับตนเอง การป้องกัน, สรุปความ, ความสัมพันธ์, เรียงอันดับ, ทำให้เป็นระบบ ฯลฯ บุคลิกภาพ (Characterize) การทำให้เป็นคุณลักษณะหนึ่งของชีวิต การจำแนก, การประพฤติตน, ความสมบูรณ์, การปฎิบัติ, การตรวจสอบ ฯลฯ

ด้านเจตพิสัย (Affective Domain) การมีลักษณะนิสัย การจัดระบบ การสร้างค่านิยม การตอบสนอง การยอมรับ

คำกริยาที่บ่งบอกถึงการกระทำ Psychomotor Domain ระดับ ความหมาย คำกริยาที่บ่งบอกถึงการกระทำ การเลียนแบบ (Imitation) สามารถที่จะสังเกตและทำตาม การดู, การทำตาม, ฯลฯ การลงมือปฏิบัติ (Manipulation) เน้นทักษะที่สามารถทำได้ การจัดกระทำ, การปฏิบัติ ฯลฯ ความถูกต้อง (Precision) เน้นความถูกต้องในการแสดงพฤติกรรมและควบคุมและลดความผิดพลาด การปฏิบัติ, ทักษะที่ถูกต้อง, ฯลฯ ความชัดเจนในการปฏิบัติ (Articulation) เน้นถึงการเรียนรู้วิธีการถูกต้องตามขั้นตอนที่มี การปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ฯลฯ ความเป็นธรรมชาติ (Naturalization) การแสดงพฤติกรรมเป็นประจำ เป็นอัตโนมัติ จนกลายเป็นธรรมชาติ การปฏิบัติจนเป็นนิสัย, การทำให้เป็นลักษณะนิสัยส่วนตัว

ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) ทำเป็นธรรมชาติ ทำต่อเนื่อง ทำอย่างถูกต้อง ทำตามแบบ เลียนแบบ

การประเมินผลการเรียนรู้ ขั้นตอนการประเมินผลการเรียนรู้ ศึกษาและทำความเข้าใจพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา 2. วางแผนเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับใช้บันทึกและประเมินพัฒนาการ เพื่อจะได้ผลของการพัฒนาการที่ถูกต้องตามความต้องการ ดำเนินการประเมินและบันทึกพัฒนาการ หลังจากที่ได้วางแผนและเลือกเครื่องมือที่จะใช้ประเมินและบันทึกพัฒนาการก่อนจะลงมือประเมินและบันทึก ประเมินและสรุป ในการประเมินและสรุปนั้นจะต้องดูจากผลการประเมินหลาย ๆ ครั้ง 5. รายงานผล เมื่อได้ผลจากการประเมินและสรุปการเรียนรู้ของเด็กแล้ว ผู้สอนจะต้องตัดสินใจว่าจะรายงานข้อมูลไปยังผู้ใด เพื่อจุดประสงค์อะไร และต้องใช้รูปแบบ 6.การให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน ผู้สอนต้องตระหนักว่าการทำงานร่วมกับผู้ปกครองเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กเป็นเรื่องสำคัญมาก

เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ 1. การสังเกต การสังเกต (observation) เป็นวิธีการที่ครูปฐมวัยใช้มากที่สุด เป็นวิธีการหลักของการประเมินตามสภาพจริง ครูจะศึกษาเด็กโดยการสังเกต จดบันทึกและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กไว้ เพื่อช่วยให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็ก 2. การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ (interview) ถือเป็นวิธีการประเมินที่มีประโยชน์มากที่สุดวิธีหนึ่ง และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ การสัมภาษณ์ หรือพูดคุยกับเด็ก จะทำให้ครูเข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิดของตัวเด็กได้

เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ 5. แบบทดสอบ แบบทดสอบ (test) เป็นวิธีการอีกวิธีที่ใช้เพื่อประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย แต่ควรกระทำด้วยความระมัดระวัง และกระทำอย่างรอบคอบ

สวัสดี