ตัวอย่างกรณีศึกษา.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ
Advertisements

ปทุมธานี นางปลื้มจิตต์ เนี้ยวคงศักดิ์ นายอารัต เมืองจร
แนวทางการบริหารงบประมาณ
การจัดซื้อจัดจ้าง.
อำนาจเจริญ - ว่าง- - ว่าง- - ว่าง - -ว่าง -
สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
นางพจนีย์ ขจร ปรีดานนท์ โยธาธิการและผังเมือง จังหวัด นายทวีศักดิ์ สุริยะสิงห์ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โยธาธิการ ( ว่าง ) หัวหน้าฝ่ายบริหารงาน ทั่วไป นายปรีชา.
พังงา นางสาวอัญชลี ตันวานิช สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
แนวทางการปรับแผนโครงการ และแผนงบประมาณ ภายในหน่วยงาน ปี 2558
15 กันยายน 2558 หมวดงบลงทุน. งบ ลงทุน 1) ครุภัณฑ์ 2) ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่าย เพื่อการลงทุน ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายใน ลักษณะค่าครุภัณฑ์
การมอบนโยบายแนวทาง การปฏิรูปที่ดินประจำปี 2559 โดย นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการ ส. ป. ก.
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ พัสดุ ประกาศคณะรักษาความรักษา ความสงบแห่งชาติ การซื้อและ การจัดจ้างด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e – GP) และการบริหาร งบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วน.
การอุดหนุน งบประมาณ ให้แก่ สถานศึกษาใน สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการ การศึกษาขั้น พื้นฐาน.
ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ
สัญญาก่อสร้าง.
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
การบริหารจัดการงบค่าเสื่อม ปี 2561
ประเด็นที่เปลี่ยนแปลงจากปี 2560
ระบบการควบคุมภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2410
ประเด็นที่เปลี่ยนแปลง
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
น.ท.สุขสันต์ เหมศรี หน.ค่าใช้จ่าย กงต.กง.ทร. โทร 55562
พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนฯ สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร
การบริหารสัญญา.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย
การบริหารจัดการหนี้ค้างชำระ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
การปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับหน่วยงานภายใน ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการ เกษตรอย่างยั่งยืน
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
กลุ่มเกษตรกร.
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย เพื่อประกอบอาชีพเสริม
การให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ประชุมชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติงาน
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
ประเด็นปัญหาที่ตรวจพบจากการตรวจสอบ
โจทย์ที่ได้รับ การดำเนินการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงตาม ว 462
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
แนวทางปฏิบัติการรายงานข้อบกพร่องหรือข้อสังเกตที่ตรวจพบ
การแจ้งขออายัดสลากเพื่อประวิงการจ่ายเงินรางวัล
กฎหมายเอกเทศสัญญา 1 อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 13.
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในเขตปลอดอากร นักตรวจสอบภาษีชำนาญการพิเศษ
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.
แผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
การจัดการความรู้ด้านงานสนับสนุน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ตัวอย่างกรณีศึกษา

Ex. 1 ข้อหารือการปรับ  ส่วนราชการได้ทำสัญญาซื้อขายโครงการส่วนขยายระบบงาน GFMIS เพื่อรองรับข้อมูลของรัฐวิสาหกิจ โดยเงื่อนไขของสัญญากำหนดการส่งมอบงานแบ่งเป็น 5 งวด ผู้ขายได้ส่งมอบงานล่าช้าระหว่างงวด ล่าช้าไป 3 วัน ส่วนราชการจะสามารถปรับผู้ขายได้หรือไม่ ?

Ex. 1 ข้อหารือการปรับ (2) แนววินิจฉัย  กรณีนี้เป็นการตกลงซื้อขายและติดตั้งคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ การประมวลผล ให้พร้อมที่จะใช้งานได้ให้แก่ผู้ซื้อ โดยการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ระบบเครือข่ายทั้งระบบ ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งตามสัญญาข้อ 6 กำหนดเรื่องการตรวจรับว่า ถ้าผู้ขายส่งมอบไม่ตรงตามสัญญา หรือคุณสมบัติไม่ถูกต้อง หรือใช้งานได้ไม่ครบถ้วน ผู้ซื้อทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะไม่รับคอมพิวเตอร์นั้น

Ex. 1 ข้อหารือการปรับ (3) และตามสัญญาข้อ 14 การบอกเลิกสัญญากำหนดว่า กรณีผู้ขาย ไม่ติดตั้งและส่งมอบคอมพิวเตอร์บางรายการหรือทั้งหมดภายในกำหนดเวลา หรือส่งมอบไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบภายในกำหนด แต่ใช้งานไม่ได้ ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ย่อมแสดงว่าผู้ซื้อต้องการซื้อและติดตั้งทั้งระบบจนใช้งานได้ และข้อ 15 กำหนดเรื่องค่าปรับไว้ว่า ในกรณีที่คอมพิวเตอร์ที่ตกลง ซื้อขายเป็นระบบ ถ้าผู้ขายส่งมอบเพียงบางส่วน หรือส่งมอบทั้งหมดแต่ใช้งานไม่ได้ถูกต้องครบถ้วน ให้ถือว่ายังไม่ได้ส่งมอบเลย และคิดค่าปรับจากราคาของทั้งระบบ

Ex. 1 ข้อหารือการปรับ (4)  กรณีนี้คู่สัญญามีเจตนาซื้อขายและติดตั้งเพื่อพร้อมใช้งานได้ทั้งระบบ การคิดค่าปรับจึงต้องถือเอาระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาหลัก เป็นเกณฑ์ในการเริ่มต้นการปรับ และเมื่อผู้ขายส่งมอบงานระหว่างงวดล่าช้า แต่หากไม่เกินกำหนดส่งมอบงานทั้งหมดตามสัญญาหลัก ส่วนราชการ ก็ไม่อาจปรับผู้ขายได้

Ex.2 ข้อหารือการขยายเวลาส่งมอบงานตามสัญญาจ้าง หน่วยงานแห่งหนึ่ง ได้ทำสัญญาจ้างพิมพ์หนังสือ จำนวน 2,000 เล่ม กับห้างฯ วงเงิน 373,000 บาท ครบกำหนดตามสัญญาภายในวันที่ 20 มกราคม 2554 และมีการขยายเวลาการส่งมอบงาน ซึ่งตามข้อเท็จจริง ผู้รับจ้างขอขยายเวลาการส่งมอบงานจำนวน 60 วัน แต่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานจ้างของส่วนราชการ ได้ให้เหตุผล การขยายเวลาตามระเบียบฯ ข้อ 139 (1) โดยคำนวณวันตามเหตุ ที่เกิดจากความผิดหรือความบกพร่องจริง จำนวน 107 วัน ซึ่งมากกว่าจำนวนวันที่ผู้รับจ้างขอขยายเวลา ส่วนราชการจึงหารือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้

Ex. 2 ข้อหารือการขยายเวลาส่งมอบงานตามสัญญาจ้าง (2) 1. การที่ผู้รับจ้างขอขยายเวลาส่งมอบงานจำนวน 60 วัน แม้ว่าเมื่อคำนวณ ตามความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการ เป็นจำนวน 107 วัน ซึ่งมีจำนวนวันมากกว่าที่ผู้รับจ้างขอมา หน่วยงานจึงได้อนุมัติให้ขยายเวลา การส่งมอบงานให้เพียง 60 วัน เท่าที่ผู้รับจ้างขอมาเท่านั้น การปฏิบัติของ หน่วยงานถูกต้องตามระเบียบฯ แล้วหรือไม่ อย่างไร หากไม่ถูกต้อง ควรดำเนินการเพิ่มเติมอย่างไร 2. หากการอนุมัติให้ขยายเวลาตามจำนวนวันที่ผู้รับจ้างตามข้อ 1 ถูกต้องแล้ว ผู้รับจ้างจะขอขยายเวลาส่งมอบงานเพิ่มเติมจากเหตุเดิมอีก โดยอ้างว่า จำนวนวันตามความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการ มีมากกว่าจำนวนวันที่เคยขอมา ได้หรือไม่ อย่างไร

Ex. 2 ข้อหารือการขยายเวลาส่งมอบงานตามสัญญาจ้าง (3) แนววินิจฉัย กวพ. ตามระเบียบฯ ข้อ 139 วรรคแรก กำหนดว่า “การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญาหรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้อยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง ด้วยเหตุ 3 เหตุ คือ 1. เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของ ส่วนราชการ 2. เหตุสุดวิสัย 3. เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย วรรคสอง กำหนดว่า ให้ส่วนราชการระบุไว้ในสัญญา กำหนดให้คู่สัญญา ต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ส่วนราชการทราบภายใน 15 วัน นับแต่เหตุนั้น ได้สิ้นสุดลง หากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนด คู่สัญญาจะยกมากล่าวอ้าง เพื่อขอลดหรืองดค่าปรับหรือขอขยายเวลาในภายหลังมิได้ เว้นแต่กรณี ตาม (1) ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือส่วนราชการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น

Ex. 2 ข้อหารือการขยายเวลาส่งมอบงานตามสัญญาจ้าง (4) แนววินิจฉัย กวพ. กรณีตามที่หารือ 1 และ 2 หากหน่วยงานได้พิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว ปรากฏว่า เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการตามนัยระเบียบฯ ข้อ 139 (1) เป็นจำนวน 107 วัน แต่คู่สัญญาได้ขอขยายระยะเวลาตามเหตุดังกล่าวเพียง 60 วัน และหน่วยงานได้พิจารณาขยายระยะเวลา ให้แก่คู่สัญญาเพียง 60 วัน เท่าที่ผู้รับจ้างขอมาเท่านั้น การปฏิบัติของหน่วยงาน จึงถูกต้องตามระเบียบฯ แล้ว ต่อมา หากคู่สัญญาได้อ้างเหตุดังกล่าว เพื่อขอขยายระยะเวลาตามสัญญาออกไปอีก หน่วยงานยังสามารถพิจารณาขยายระยะเวลาให้แก่คู่สัญญาเพิ่มเติมได้ตามคำขอ ทั้งนี้ เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ได้ขยายให้ไปแล้ว ต้องไม่เกินตามจำนวนวัน ที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง

Ex. 3 ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา จังหวัดได้ว่าจ้างบริษัท ดำเนินการก่อสร้างโครงการฝายพร้อมระบบส่งน้ำ ตามสัญญาลงวันที่ 19 มกราคม 2554 วงเงิน 46,290,000 บาท ครบกำหนดวันที่ 22 สิงหาคม 2554 จังหวัดได้บอกเลิกสัญญาจ้างดังกล่าว เนื่องจากจำนวนเงินค่าปรับเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้าง โดยมีหนังสือลงวันที่ 30 ธันวาคม 2554 แจ้งบอกเลิกสัญญาจ้างต่อผู้รับจ้าง ต่อมา ภายหลังบริษัทฯ ได้ขอให้พิจารณาทบทวนการบอกเลิกสัญญา เนื่องจากบริษัทฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ตามสัญญา เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2555 และได้ดำเนินการส่งมอบงานงวดสุดท้าย เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 คณะกรรมการตรวจการจ้างได้รายงานตรวจการจ้างครั้งที่ 3 งวดที่ 6-12 (งวดสุดท้าย) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ทราบ เพื่อจะได้เบิกจ่ายค่าจ้างให้ผู้รับจ้างต่อไป

Ex. 3 ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา (ต่อ) จังหวัดจึงหารือแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบฯว่า ในกรณีดังกล่าว จังหวัดฯ จะยกเลิกการบอกเลิกสัญญาจ้างได้หรือไม่ และจะต้องดำเนินการอย่างไร จึงจะถูกต้องตามระเบียบฯ หากการปฏิบัติดังกล่าวไม่ถูกต้อง ตามระเบียบฯ จังหวัดฯ ก็ขออนุมัติผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างต่อไป เนื่องจากผู้รับจ้างได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จตามรูปแบบรายการตามสัญญาเดิม และคณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจการจ้างแล้ว

Ex. 3 ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา (2) แนววินิจฉัย กวพ. โดยหลักการตามระเบียบฯ ข้อ 138 กำหนดว่า ในกรณีที่คู่สัญญา ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกิน ร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างให้ส่วนราชการพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญา เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสีย ค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้า ส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น ซึ่งการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาดังกล่าวไม่สามารถถอนคืน การแสดงเจตนาได้

Ex. 3 ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา (3) แนววินิจฉัยของ กวพ. (ต่อ) ประกอบกับ ปพพ.มาตรา 391 บัญญัติว่า ภายหลังจากบอกเลิก สัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ และหากมีงานที่ผู้รับจ้างได้กระทำให้ และผู้ว่าจ้างยินยอมรับไว้ ผู้ว่าจ้างจะต้องชดใช้เงินคืน ตามควรค่าแห่งงานนั้น

Ex. 3 ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา (4) แนววินิจฉัยของ กวพ. (ต่อ) กรณีข้อหารือ เมื่อค่าปรับตามสัญญาจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้าง กรมฯ ในฐานะผู้ว่าจ้างได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับจ้างเร่งปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาและยินยอมชำระค่าปรับ แต่ผู้รับจ้างไม่ยินยอมชำระค่าปรับและปฏิบัติตามสัญญา กรมฯ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีหนังสือ ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2554 บอกเลิกสัญญาและขอสงวนสิทธิตามสัญญากับบริษัทฯ กรณีดังกล่าวคู่สัญญาจึงกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ซึ่งหากมีงานที่ผู้ว่าจ้างได้รับไว้และใช้ประโยชน์ในราชการได้ตามสัญญาแล้ว ผู้ว่าจ้างจะต้องมีการชดใช้ราคาให้แก่ผู้รับจ้าง โดยจะต้องมีการหักค่าปรับและค่าเสียหายอื่นๆ (ถ้ามี) ออกก่อนด้วย

EX. 3 ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา (5) แนววินิจฉัยของ กวพ. (ต่อ) เว้นแต่ งานที่รับไว้หากผู้ว่าจ้างไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในราชการ ตามสัญญาได้ จึงต้องถือว่างานนั้นไม่ควรค่าแห่งการชดใช้เงินคืน ตามนัย ปพพ. มาตรา 391 โดยผู้ว่าจ้างไม่สามารถยกเลิกการบอกเลิกสัญญาจ้างได้ ส่วนประเด็นในเรื่องการตรวจรับงานจ้างที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายหลัง การบอกเลิกสัญญา เนื่องจากตามหลักการระเบียบฯ คณะกรรมการตรวจ การจ้างจะต้องตรวจรับงานจ้างให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา เมื่อผู้ว่าจ้าง ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อนที่ผู้รับจ้างจะส่งมอบงานตามที่กำหนดไว้ ในสัญญา จึงถือว่าคู่สัญญามิได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญาเดิม ผู้ว่าจ้างจึงไม่สามารถตรวจรับงานจ้างตามหลักการดังกล่าวได้

Ex. 3 ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา (6) แนววินิจฉัยของ กวพ. (ต่อ) ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคณะกรรมการตรวจการจ้าง ได้ดำเนินการตรวจรับงานจ้างงวดสุดท้ายในวันที่ 30 มกราคม 2555 ซึ่งเป็นการตรวจรับภายหลังการบอกเลิกสัญญา จึงถือเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ

Ex.4 ข้อหารือกรณีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างค้างจ่ายภายหลัง การบอกเลิกสัญญา กรณีมีค่าปรับ หน่วยงานแจ้งว่า ได้ทำสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ กับบริษัท ก วงเงินงบประมาณ 262,500,000 บาท โดยค่าจ้างและ การจ่ายเงินแบ่งออกเป็น 24 งวด วันเริ่มต้นสัญญาวันที่ 1 ก.ค. 2551 สิ้นสุดสัญญา 20 มิ.ย. 2553 มีการขยายเวลาสิ้นสุดสัญญาครั้งใหม่ เป็นวันที่ 7 ก.พ. 2554 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาฯ ผู้รับจ้างยัง ไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จ คงเหลืองานงวดที่ 18 – งวดสุดท้าย (รวม 7 งวด) หลังจากนั้นผู้รับจ้างได้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้รับจ้างก็ยังไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้

Ex. 4 ข้อหารือกรณีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างค้างจ่ายภายหลัง การบอกเลิกสัญญา กรณีมีค่าปรับ (2) ต่อมา หน่วยงานพิจารณาเห็นว่า ได้ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาแล้วแต่ผู้รับจ้างยังไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จ ประกอบกับจำนวนเงินค่าปรับจะเกินกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินค่าจ้างตามสัญญา หน่วยงานได้พิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญากับผู้รับจ้าง และ สงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับตามสัญญากับบริษัท โดยหน่วยงานได้ตรวจสอบปริมาณงานคงเหลือตามสัญญา ในเบื้องต้นแล้วพบว่า ผู้รับจ้างได้ทำงานในงวดสุดท้ายไปบางส่วนแล้ว แต่ในขณะเดียวกัน ผู้รับจ้างก็ยังค้างค่าปรับให้แก่หน่วยงานในจำนวนเงินที่เกินกว่าค่าจ้าง ที่หน่วยงานค้างจ่าย

Ex. 4 ข้อหารือกรณีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างค้างจ่ายภายหลัง การบอกเลิกสัญญา กรณีมีค่าปรับ (3) หน่วยงานหารือดังนี้ 1. กรณีที่ได้มีการบอกเลิกสัญญาเนื่องจากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติงาน ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญาจ้าง และหน่วยงานได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับผู้รับจ้างแล้ว จึงทำให้ ผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานงวดดังกล่าวและเบิกจ่ายเงินได้ กรณีดังกล่าวหน่วยงานสามารถจ่ายค่าจ้างในส่วนที่ผู้รับจ้างได้ทำงานไปแล้วตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้หรือไม่ อย่างไร

Ex. 4 ข้อหารือกรณีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างค้างจ่ายภายหลัง การบอกเลิกสัญญา กรณีมีค่าปรับ (4) 2. กรณีเงินค่าปรับที่เกิดขึ้นก่อนการบอกเลิกสัญญา เนื่องจากผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามสัญญานั้น หน่วยงานฯ มีสิทธิหักค่าปรับจากเงินงบประมาณค่าจ้างที่ค้างจ่าย ตามข้อ 1. และสามารถเรียกเงินประกันอื่นๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

Ex. 4 ข้อหารือกรณีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างค้างจ่ายภายหลัง การบอกเลิกสัญญา กรณีมีค่าปรับ (5) แนววินิจฉัย กวพ. โดยหลักการตาม ปพพ. มาตรา 391 กำหนดว่า ภายหลังจาก บอกเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม หากมีงานที่ผู้ว่าจ้างได้ตรวจรับไว้แล้วให้ผู้ว่าจ้างจะต้องชดใช้เงินคืนตามค่าแห่งงานนั้น สำหรับกรณีข้อหารือ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาและหน่วยงานได้ใช้สิทธิบอกเลิกและ ขอสงวนสิทธิ์ตามสัญญากับบริษัทฯ แล้ว ผลของการบอกเลิกสัญญา ย่อมทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะ ดังที่เป็นอยู่เดิม ตามหลัก ปพพ. มาตรา 391 ข้างต้น

Ex. 4 ข้อหารือกรณีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างค้างจ่ายภายหลัง การบอกเลิกสัญญา กรณีมีค่าปรับ (6) แนววินิจฉัย กวพ. ดังนั้น หน่วยงานจึงไม่สามารถตรวจรับงานจ้างภายหลังบอกเลิกสัญญาตามหลักการระเบียบฯ ข้อ 72 ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการตรวจการจ้างจะต้องตรวจรับงานจ้างที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาได้ และ หากภายหลังจากการบอกเลิกสัญญาแล้ว ปรากฏว่า มีงานที่หน่วยงานเห็นควรรับไว้และใช้ประโยชน์ในราชการได้ตามสัญญาแล้ว หน่วยงานจะต้องมีการชดใช้เงินคืนตามค่าแห่งงานนั้นให้แก่ผู้รับจ้างโดยจะต้อง หักค่าปรับและค่าเสียหายอื่นๆ (ถ้ามี) ออกก่อนด้วย เว้นแต่งานที่ได้ รับไว้ หากหน่วยงานเห็นว่าไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามสัญญาได้

Ex. 4 ข้อหารือกรณีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างค้างจ่ายภายหลัง การบอกเลิกสัญญา กรณีมีค่าปรับ (7) แนววินิจฉัย กวพ. จึงต้องถือว่างานนั้นไม่ควรค่าแห่งการชดใช้คืนตามนัย ปพพ. มาตรา 391 ข้างต้น สำหรับกรณีค่าปรับที่เกิดขึ้นก่อนการบอกเลิกสัญญา หน่วยงานมีสิทธิหักค่าปรับในกรณีที่มีค่าปรับเกิดก่อนที่จะ บอกเลิกสัญญา และหากค่าปรับนั้นเกินกว่าค่างานที่ค้างจ่ายแล้ว หน่วยงานสามารถที่จะหักค่าปรับจากหลักประกันสัญญาได้

Ex. 5 ข้อหารือกรณีเนื้องานตามแบบรูปรายการกับรายละเอียด ในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) ไม่ตรงกัน กรม ก. ได้ทำสัญญาจ้างก่อสร้าง กับบริษัท เป็นเงินทั้งสิ้น 631,037,000 บาท ซึ่งเป็นสัญญาแบบถือราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ ต่อมา กรมฯ ได้ตรวจสอบพบว่า เนื้องานตามแบบรูปรายการกับบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) ไม่ตรงกัน เนื่องจากตามแบบรูปรายการไม่ปรากฏมุ้งลวดและเหล็กดัด แต่ผู้รับจ้างเสนอรายละเอียดและคิดค่างานติดตั้งมุ้งลวดและเหล็กดัดในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) แนบท้ายสัญญาภายในวงเงินที่ ผู้รับจ้างได้เสนอราคาไว้ กรมฯ จึงหารือว่า ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการติดตั้ง มุ้งลวดและเหล็กดัดตามที่ผู้รับจ้างได้เสนอไว้ให้กรมฯ หรือไม่อย่างไร เพื่อเป็นแนวทางและหลักการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจการจ้างต่อไป

Ex. 5 ข้อหารือกรณีเนื้องานตามแบบรูปรายการกับรายละเอียด ในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) ไม่ตรงกัน (2) แนววินิจฉัย กวพ. ตามสัญญาจ้างก่อสร้างที่กรมฯ ได้ทำไว้กับบริษัทฯ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551 ข้อ 2 วรรคท้าย กำหนดว่า “ความใดในเอกสารแนบท้ายสัญญา ที่ขัดแย้งกับข้อความในสัญญานี้ ให้ใช้ข้อความในสัญญานี้บังคับ และ ในกรณีที่เอกสารแนบท้ายสัญญาหรือแบบรูปรายการขัดแย้งกันเอง ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของผู้ว่าจ้าง” ซึ่งโดยหลักการ เมื่อผู้รับจ้างเสนอเงื่อนไขอย่างไรแล้ว ย่อมต้องผูกพันตามคำเสนอของตน โดยไม่อาจถอนได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ใบแจ้งปริมาณงานและราคา (BOQ) ของผู้รับจ้างมีข้อเสนอโดยระบุรายละเอียดและค่างานติดตั้ง มุ้งลวดและเหล็กดัดไว้ และกรมฯ ได้สนองรับราคาและมีการทำสัญญาแล้ว

Ex. 5 ข้อหารือกรณีเนื้องานตามแบบรูปรายการกับรายละเอียด ในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) ไม่ตรงกัน (3) แนววินิจฉัย (ต่อ) ดังนั้น ผู้รับจ้างจึงต้องผูกพันตามเงื่อนไขที่ตนเสนอ อีกทั้ง แบบรูปและรายการละเอียดและใบยื่นข้อเสนอบัญชีแสดง ปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) ที่ผู้รับจ้างได้เสนอเป็นเอกสารแนบท้าย สัญญาอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่องานติดตั้งมุ้งลวดและเหล็กดัดนั้น ปรากฏในใบแจ้งปริมาณงานและราคา (BOQ) ของผู้รับจ้าง กรมฯ ก็ต้องยึดถือ บัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) ดังกล่าว เป็นหลักในการวินิจฉัยให้ผู้รับจ้างปฏิบัติงานดังกล่าวต่อไป

Ex. 6 ข้อหารือการพิจารณาปรับและลดค่าปรับ - หน่วยงาน ง ได้ตกลงซื้อระบบแม่ข่าย – เครือข่ายข้อมูลเฉพาะด้าน ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวางแผน ตามสัญญาครบกำหนด วันที่ 28 ธค.55 ต่อมา ผู้ขายได้รับแจ้งจากผู้ผลิตว่า ผลิตภัณฑ์ เอ รุ่น 1 ไม่มีจำหน่ายแล้ว และผู้ขายได้แจ้งขอปรับเปลี่ยนรุ่นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งหน่วยงานพิจารณาแล้วเห็นควรพิจารณาแก้ไขสัญญา โดยไม่ตัดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าปรับและค่าเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากผู้ขายก่อนสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมจะมีผลใช้บังคับ แต่มิได้กำหนดวันส่งมอบใหม่ไว้ในสัญญา ซึ่งสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม มีผลบังคับวันที่ 7 มี.ค. 56 - ผู้ขายได้ส่งมอบพัสดุโดยถูกต้องในวันที่ 7 มี.ค. 56 พร้อมทั้งขอ สงวนสิทธิขยายระยะเวลาการส่งมอบและงดค่าปรับ จำนวน 69 วัน (29 ธ.ค.55 – 7 มี.ค. 56) เนื่องจากผู้ขายเห็นว่า เวลาที่เสียไปในการแก้ไขสัญญาเป็นพฤติการณ์ที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิด

Ex. 6 ข้อหารือการพิจารณาปรับและลดค่าปรับ (2) หน่วยงานหารือดังนี้ 1. หากหน่วยงานงดค่าปรับให้แก่ผู้ขายตามที่ผู้ขายร้องขอ จะเป็นการชอบด้วยระเบียบ ข้อ 139 (1) หรือไม่อย่างไร 2. การคำนวณเวลาที่เสียไปจากการแก้ไขสัญญา จะนับเวลาจากวันที่ผู้ขายแจ้งเป็นหนังสือขอแก้ไขสัญญา (25 ธ.ค. 55) หรือ นับเวลาจากวันที่เข้าสู่กระบวนการขอแก้ไขสัญญาของหน่วยงาน (31 มค.56)

Ex. 6 ข้อหารือการพิจารณาปรับและลดค่าปรับ (3) กวพ. พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยหลักการแล้ว กรณีที่บริษัทฯส่งของไม่ทันกำหนดเวลา เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเลิกผลิตสิ่งของรุ่นนั้นไปแล้ว และขอเปลี่ยนแปลงเป็นส่งสิ่งของที่มีคุณภาพดีกว่า หรือรุ่นใหม่ ซึ่งไม่ตรงตามรายละเอียดคุณลักษณะ แล้วมาขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการใหม่ โดยส่วนราชการได้แจ้งสงวนสิทธิเรียกค่าปรับจากผู้ขายไว้แล้ว เช่นนี้ ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาเพิ่มเติม หน่วยงานจะต้องระบุ “การสงวนสิทธิเรียกค่าปรับจากผู้ขาย และระยะเวลาการ ส่งมอบพัสดุใหม่ไว้ให้ชัดเจน ในสัญญาที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่นั้น”

Ex. 6 ข้อหารือการพิจารณาปรับและลดค่าปรับ (4) มิฉะนั้น หน่วยงานจะเรียกค่าปรับจากผู้ขายไม่ได้ เพราะไม่มี วันส่งมอบที่จะสามารถคำนวณค่าปรับได้ เพราะหากเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งของซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ถือได้ว่าเป็นการยกเลิกสัญญาเดิม หรือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ สัญญาเดิมย่อมระงับไป โดยหลักการแล้ว เมื่อผู้ขายส่งของไม่ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาต้องถือว่าคู่สัญญาฝ่ายเอกชนเป็นฝ่ายปฏิบัติที่ผิดสัญญา หน่วยงาน ชอบที่จะไม่รับสิ่งของนั้นไว้ แล้วแจ้งให้คู่สัญญาทำการแก้ไขสิ่งของนั้นให้ถูกต้อง หรือบอกเลิกสัญญา เรียกค่าเสียหาย ริบหลักประกันสัญญาและปรับคู่สัญญา นับตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันบอกเลิกสัญญา

Ex. 6 ข้อหารือการพิจารณาปรับและลดค่าปรับ (5) แต่หากหน่วยงานใช้ดุลยพินิจให้คู่สัญญาแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา หน่วยงานจะต้องพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงสิ่งของดังกล่าว มีความจำเป็นและคุ้มค่า เพื่อประโยชน์ต่อทางราชการ หากหน่วยงานเสียหายจะต้องกำหนดค่าปรับ (ที่สงวนสิทธิไว้) หรือค่าเสียหาย และกำหนดระยะเวลาการส่งมอบใหม่ไว้ให้ชัดเจนในสัญญาที่แก้ไขใหม่ กรณีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฎว่า การที่หน่วยงานได้รับแจ้งจากผู้ขายว่าผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ เอ รุ่น 1 ไม่มีจำหน่าย และผู้ขายได้แจ้งขอปรับเปลี่ยนรุ่นผลิตภัณฑ์ เป็น ผลิตภัณฑ์ เอ รุ่น 2 ซึ่งหน่วยงานได้พิจารณาแก้ไขสัญญา โดยมีการสงวนสิทธิในการเรียกค่าปรับไว้ แต่มิได้มีการกำหนดวันส่งมอบใหม่ไว้ในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม

Ex. 6 ข้อหารือการพิจารณาปรับและลดค่าปรับ (6) การปรับเปลี่ยนรุ่นของผลิตภัณฑ์ใหม่ จึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ถือได้ว่า เป็นการยกเลิกสัญญาเดิม หรือแปลงหนี้ใหม่ สัญญาเดิมย่อมระงับไป หน่วยงานจึงไม่สามารถ เรียกค่าปรับจากผู้ขายได้ เพราะไม่มีวันส่งมอบที่จะถือว่าเป็นวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อจะเรียกค่าปรับได้ และแม้แต่จะมีการสงวนสิทธิปรับไว้ แต่ขณะที่บริษัทฯ ขอแก้ไขสัญญานั้น ค่าปรับยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ประเด็นหารือเกี่ยวกับการงดค่าปรับและการคำนวณค่าปรับ จึงไม่มีประเด็นที่จะพิจารณา

Ex. 7 ข้อหารือการคืนเงินล่วงหน้า โดยปรับลดวงเงินค้ำประกันเงินล่วงหน้า ตามงวดและจำนวนหลักประกันเงินล่วงหน้าตามจริง หน่วยงานแห่งหนึ่งได้จ้าง หจก. ก ก่อสร้างอาคาร โดยข้อ 5 ของสัญญากำหนดให้ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าร้อยละ 15 เป็นเงิน 65 ล้านบาท และ ข้อ 5.5 วรรคท้าย กำหนดให้ผู้ว่าจ้างจะคืนหลักประกันเงินล่วงหน้าให้ผู้รับจ้างต่อเมื่อผู้ว่าจ้างได้หักเงินค่าจ้างไว้ครบจำนวนเงินล่วงหน้า หจก. ก ได้วางหลักประกันรับเงินล่วงหน้า จำนวน 45 ฉบับ ต่อมาเมื่อ หจก. ก ได้ส่งมอบงานงวดที่ 1 คกก. ตรวจการจ้างได้ตรวจรับงวดที่ 1 และหน่วยงานได้เบิกจ่ายเงินงวดที่ 1 เป็นจำนวน 13 ล้านบาท และหักเงินค่าจ้างล่วงหน้า ร้อยละ 15 ของค่าจ้างงวดที่ 1 หจก. ก. ได้มีหนังสือขอรับคืนหนังสือค้ำประกันเงินล่วงหน้างวดที่ 1

Ex. 7 ข้อหารือการคืนเงินล่วงหน้า โดยปรับลดวงเงินค้ำประกันเงินล่วงหน้า ตามงวดและจำนวนหลักประกันเงินล่วงหน้าตามจริง (2) ซึ่งตัวอย่างสัญญาจ้างที่ กวพ. กำหนดเงื่อนไขในการคืนหลักประกัน การรับเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้ในข้อ 5.3 กำหนดว่า ในการจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้างจะหักเงินค่าจ้างในแต่ละเดือนไว้ ทั้งนี้ จนกว่าจำนวนเงินที่หักไว้จะครบตามจำนวนเงินค่าจ้างล่วงหน้าที่ผู้รับจ้างได้รับไปแล้ว และ ข้อ 5.5 กำหนดให้ผู้ว่าจ้างจะคืนหลักประกันเงินล่วงหน้า ต่อเมื่อผู้ว่าจ้างได้หักเงินค่าจ้างไว้ครบจำนวนเงินล่วงหน้า ข้อหารือ หน่วยงานจะสามารถดำเนินการคืนหลักประกันดังกล่าว ได้หรือไม่

Ex. 7 ข้อหารือการคืนเงินล่วงหน้า โดยปรับลดวงเงินค้ำประกันเงินล่วงหน้า ตามงวดและจำนวนหลักประกันเงินล่วงหน้าตามจริง (3) แนววินิจฉัย กวพ. กรณีนี้ หน่วยงานต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาที่ได้ตกลงกัน ไว้แล้ว ตามข้อ 5.3 และ ข้อ 5.5 สำหรับกรณีที่ หจก. ก. ร้องขอให้หน่วยงานคืนหลักประกันการจ่ายเงินล่วงหน้าตามสัดส่วนของงวดงานที่ส่งมอบและตรวจรับแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติที่แตกต่างไปจากเงื่อนไขที่สัญญากำหนดไว้ จึงไม่สามารถกระทำได้ อย่างไรก็ดี หากหน่วยงานเห็นว่า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและ ไม่ทำให้ทางราชการเสียประโยชน์ หน่วยงานย่อมสามารถที่จะพิจารณา แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาเพื่อคืนหลักประกันเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้รับจ้าง โดยปรับลดวงเงินค้ำประกันเงินล่วงหน้าตามงวดและจำนวนหลักประกัน เงินล่วงหน้าที่ต้องมีตามจริงตามระเบียบฯ ข้อ 136 ได้

Ex. 8 ข้อหารือการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ งานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหอประชุม สำนักงาน พ. แจ้งว่า ได้ทำสัญญาจ้างปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหอประชุมกับบริษัท ช. สัญญาเริ่มต้นวันที่ 29 ก.ย. 2552 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 21 มกราคม 2554 แบ่งงานออกเป็น 16 งวด และขยายระยะเวลาก่อสร้างให้บริษัทฯ ถึงวันที่ 10 มี.ค. 2554 บริษัทฯ ได้ส่งมอบงานงวดที่ 1 ถึงงวด 5 เรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อครบกำหนดส่งมอบงาน บริษัทฯ ไม่สามารถส่ง มอบงานได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2554 บริษัทฯ ได้ส่งมอบงาน งวดที่ 6 สำนักงานฯ ได้หักเงินค่าปรับ เป็นเงิน 2,299,311 บาท จากค่าจ้าง ในงวดที่ส่งมอบ เมื่อบริษัทฯ ถูกหักค่าปรับจำนวนดังกล่าว บริษัทฯ ได้ฟ้องสำนักงานฯ ต่อศาลปกครองว่าเป็นการปรับโดยมิชอบพร้อม ทั้งเรียกค่าปรับและค่าเสียหายคืน

Ex. 8 ข้อหารือการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ งานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหอประชุม (2) บริษัทฯ ไม่ส่งมอบงานที่เหลือ สำนักงานฯ จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2554 ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ม.ค.2555 บริษัทฯ ได้ฟ้องศาลปกครองว่า สำนักงานฯ บอกเลิกสัญญาโดยมิชอบ และบริษัทฯ ไม่ยอมออกจากพื้นที่ก่อสร้าง สำนักงานฯ จึงมีหนังสือถึงสำนักงานคดีแพ่ง สำนักงานอัยการสูงสุด ฟ้องขับไล่บริษัทฯ ออกจากพื้นที่ ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ประมาณการค่าก่อสร้างส่วนที่เหลือให้ เป็นเงิน 20,501,900 บาท สำนักงานฯ จึงหารือในประเด็นดังนี้

Ex. 8 ข้อหารือการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ งานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหอประชุม (3) 1. สำนักงานฯ จะดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่เข้ามาดำเนินการก่อสร้างส่วนที่เหลืออยู่ให้แล้วเสร็จได้หรือไม่ 2. จากการประมาณการค่าก่อสร้างในวงเงิน 20,501,900 บาท แต่วงเงินงบประมาณที่สำนักงานฯ มีอยู่จากค่างวดงานที่เหลือตามสัญญาที่บริษัทฯ ยังไม่ได้ส่งมอบงานจำนวน 18,755,843 บาท ซึ่งวงเงินงบประมาณมีไม่เพียงพอที่สำนักงานฯ จะใช้ในการดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ สำนักงานฯ ควรจะจัดหางบประมาณมาดำเนินการจากแหล่งใด

Ex. 8 ข้อหารือการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ งานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหอประชุม (4) แนววินิจฉัย กวพ. - กรณีข้อหารือ 1 ตามข้อ 16 ของสัญญา กำหนดสิทธิของผู้ว่าจ้างภายหลังบอกเลิกสัญญาว่า “ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา ผู้ว่าจ้างอาจทำงานนั้นเองหรือว่าจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นต่อจนเสร็จได้...” และในวรรคสองกำหนดว่า “ในกรณีดังกล่าว ผู้ว่าจ้างมีสิทธิริบหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วนตามแต่จะเห็นสมควร นอกจากนั้น ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบในค่าเสียหายซึ่งเป็นจำนวนเกินกว่าหลักประกันการปฏิบัติงานและค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการทำงานนั้น ต่อให้แล้วเสร็จตามสัญญา และค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานเพิ่ม (ถ้ามี) ซึ่ง ผู้ว่าจ้างจะหักเอาจากเงินประกันผลงานหรือจำนวนเงินใดๆ ที่จะจ่าย ให้แก่ผู้รับจ้างก็ได้”

Ex. 8 ข้อหารือการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ งานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหอประชุม (5) แนววินิจฉัย กวพ. ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า สำนักงานฯได้มีหนังสือบอกเลิก สัญญาจ้างปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหอประชุมกับบริษัท ช. แล้ว สำนักงานฯ จึงสามารถดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่เพื่อมาดำเนินการก่อสร้างอาคารหอประชุมส่วนที่เหลืออยู่ตามสัญญาเดิมให้แล้วเสร็จได้ โดยสำนักงานฯ มีสิทธิริบหลักประกันการปฏิบัติงานตามสัญญาและเรียกค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าวได้

Ex. 8 ข้อหารือการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ งานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหอประชุม (6) แนววินิจฉัย กวพ. - กรณีข้อหารือที่ 2 หากการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่มีประมาณการ ค่าก่อสร้างอาคารหอประชุมเป็นจำนวน 20,501,900 บาท แต่วงเงินงบประมาณที่สำนักงานฯ มีอยู่จากค่างวดงานที่เหลือตามสัญญาที่ บริษัทฯ ยังไม่ได้ส่งมอบงานจำนวน 18,745,843 บาท วงเงินงบประมาณที่สำนักงานฯ มีอยู่จึงไม่เพียงพอที่จะใช้ในการดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ได้ กรณีดังกล่าว สำนักงานฯ สามารถดำเนินการได้ดังนี้

Ex. 8 ข้อหารือการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ งานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหอประชุม (7) แนววินิจฉัย กวพ. 2.1 กรณีที่สำนักงานฯ มิได้หาเงินงบประมาณจากแหล่งเงินอื่นหรือ ขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมจากสำนักงบประมาณเพื่อให้ครบตามจำนวนเงินประมาณการค่าก่อสร้างใหม่ สำนักงานฯ ต้องจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ ตามวงเงินงบประมาณที่เหลืออยู่ หากราคาต่ำสุดที่ได้สูงกว่าจำนวนเงินงบประมาณที่คงเหลืออยู่จากงานจ้างก่อสร้างตามสัญญาเดิม กรณีดังกล่าวสำนักงานฯ สามารถใช้สิทธิเรียกร้องส่วนต่างของราคาที่เพิ่มขึ้นซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการทำงานต่อให้แล้วเสร็จตามสัญญาจากผู้รับจ้างได้ โดยผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขในสัญญา ข้อ 16

Ex. 8 ข้อหารือการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ งานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหอประชุม (8) แนววินิจฉัย กวพ. 2.2 กรณีที่สำนักงานฯ สามารถหาเงินงบประมาณจากแหล่งเงินอื่น หรือขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมจากสำนักงบประมาณเพื่อให้ครบตามจำนวนเงินประมาณการค่าก่อสร้างใหม่ได้ สำนักงานฯ ก็สามารถดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ต่อไปได้ สำหรับส่วนต่างของราคาที่เพิ่มขึ้นที่สำนักงานฯ ใช้สิทธิเรียกร้องจากข้อพิพาทในสัญญาเดิมภายหลังจาก การจัดหาผู้รับจ้างรายใหม่ ให้สำนักงานฯ นำส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กลุ่มงานระเบียบฯ กรมบัญชีกลาง โทร. 0 2127-7000 ต่อ 4551 , 4588 , 4589 , 6125 , 6873 e-mail : opm@cgd.go.th CALL cENTER กรมบัญชีกลาง โทร. 0 2270 6400