งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การบริหารสัญญา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การบริหารสัญญา."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การบริหารสัญญา

2 สัญญา เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 149
สัญญา คืออะไร สัญญา เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 149 ให้ความหมายไว้ว่า “การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการ ผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”

3 รูปแบบของสัญญา 1. เต็มรูป (ข้อ 132)
1.1 ทำสัญญาตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด 1.2 มีข้อความแตกต่าง เสียเปรียบ/ไม่รัดกุม 1.3 ร่างใหม่ 2. ลดรูป (ข้อ 133) ข้อตกลงเป็นหนังสือ (ใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง) 2.1 ตกลงราคา ส่งของภายใน 5 วันทำการ 2.3 กรณีพิเศษ การซื้อ/จ้างโดยวิธีพิเศษ (บางกรณี) 3. ไม่มีรูป (ข้อ 133 วรรคท้าย) 3.1 ไม่เกิน 10,000 บาท 3.2 ตกลงราคา กรณีเร่งด่วน ตามข้อ 39 วรรคสอง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ ส่ง สนง.อัยการสูงสุดพิจารณา

4 ใคร ? เป็นผู้มีอำนาจลงนามในสัญญา หรือใบสั่งซื้อ /ใบสั่งจ้าง
ใคร ? เป็นผู้มีอำนาจลงนามในสัญญา หรือใบสั่งซื้อ /ใบสั่งจ้าง สัญญา หัวหน้าส่วนราชการ (ข้อ 132) ใบสั่งซื้อ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ใบสั่งจ้าง (ในวิธีตกลงราคา ข้อ 39 วรรคแรก)

5 ตัวอย่างสัญญาต่าง ๆ ตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด
สัญญาซื้อขาย สัญญาจ้าง สัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ สัญญาซื้อขายคอมพิวเตอร์ สัญญาจ้างบริการบำรุงและซ่อมแซมแก้ไขคอมพิวเตอร์ สัญญาเช่าคอมพิวเตอร์ สัญญาซื้อขายและอนุญาตให้ใช้สิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สัญญาจ้างผู้เชี่ยวชาญรายบุคคลหรือจ้างบริษัทที่ปรึกษา สัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบและควบคุมงาน สัญญาเช่ารถยนต์

6 แบบสัญญา ตามตัวอย่างที่เคยผ่านการพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด
- สัญญาจ้างให้บริการรักษาความปลอดภัย - สัญญาจ้างทำความสะอาดอาคาร ฯลฯ

7 สัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K)
ต้องมีการประกาศในเอกสารประกวดราคางานก่อสร้าง (เฉพาะงานก่อสร้างประเภทที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนด ตามหนังสือ ที่ นร 0203/ว 109 ลว. 24 สค. 2532) ต้องกำหนดในสัญญา ให้สอดคล้องกับประกาศ ประกาศไม่ได้กำหนด ในสัญญากำหนดไม่ได้

8 เงื่อนไขที่สำคัญของสัญญา
1. ข้อตกลงเรื่องรูปแบบ ปริมาณ จำนวน ราคา 2. การจ่ายเงิน (งวดเงิน) 3. การจ่ายเงินล่วงหน้า (ข้อ 68) 4. หลักประกัน 5. การส่งมอบ การตรวจรับ 6. การขยายเวลา งดหรือลดค่าปรับ 7. การปรับ 8. การประกันความชำรุดบกพร่อง

9 ผลของสัญญา หลักการ สัญญามีผลนับตั้งแต่วันที่คู่สัญญาได้ลงนาม ในสัญญา
สัญญามีผลนับตั้งแต่วันที่คู่สัญญาได้ลงนาม ในสัญญา ยกเว้น คู่สัญญามีข้อตกลงกำหนดเงื่อนไขกันไว้ในสัญญาเป็นอย่างอื่น

10 สัญญาเช่า หรือสัญญาจ้างต่อเนื่อง มีผลย้อนหลัง ?
หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) /ว 351 ลงวันที่ 9 กันยายน 2548 อนุมัติยกเว้นเฉพาะสัญญาเช่า หรือสัญญาจ้างที่จำเป็นต้องเช่า/จ้างต่อเนื่องไปในปี งปม.ใหม่ ภายหลังจากสัญญาเดิมสิ้นสุดลง แต่ส่วนราชการไม่สามารถลงนามสัญญาได้ทันภายในวันที่ 1 ตุลาคม เนื่องจาก 1. พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ยังไม่มีผลใช้บังคับ หรือ 2. ยังไม่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณ

11 สัญญาเช่า หรือสัญญาจ้างต่อเนื่อง มีผลย้อนหลัง ? (ต่อ)
ผล ให้สัญญามีผลย้อนหลังได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม อันเป็นวันเริ่มต้นปีงบประมาณ หรือวันที่มีการเช่าหรือจ้างจริง โดยมีเงื่อนไขว่า:- 1. ส่วนราชการได้ดำเนินการจัดหาไว้แล้วก่อนสิ้นปีงบประมาณ และรู้ตัวผู้ให้เช่า หรือผู้รับจ้างที่จะลงนามเป็นคู่สัญญาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรายเดิม หรือรายใหม่ ก็ตาม 2. ผู้มีอำนาจอนุมัติ ได้อนุมัติให้เช่า หรือจ้างจากรายที่ได้จัดหา ไว้แล้วก่อนสิ้นปีงบประมาณ เพียงแต่อยู่ในขั้นตอนไม่อาจ ลงนามในสัญญาได้ทันในวันที่ 1 ตุลาคม เท่านั้น

12  ซื้อ/จ้าง จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ 50 %
การจ่ายเงินล่วงหน้าที่กำหนดในสัญญา (ข้อ 68)  ซื้อ/จ้าง จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ 50 %  ซื้อจากต่างประเทศ จ่ายตามที่ผู้ขายกำหนด  การบอกรับวารสาร,/สั่งจองหนังสือ/ จ่ายเท่าที่จ่ายจริง ซื้อข้อมูล E /บอกรับสมาชิกInternet  ซื้อ/จ้าง วิธีสอบราคา/ประกวดราคา จ่ายได้ 15% (ต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ในประกาศด้วย)  ซื้อ/จ้าง โดยวิธีพิเศษ จ่ายได้ 15%

13 การจ่ายเงินล่วงหน้า หลัก จ่ายไม่ได้ ข้อยกเว้น มีความจำเป็นจะต้องจ่าย
หลัก จ่ายไม่ได้ ข้อยกเว้น มีความจำเป็นจะต้องจ่าย มีกำหนดเงื่อนไขไว้ในเอกสารสอบราคา หรือประกวดราคา ก่อนการทำสัญญาหรือข้อตกลง จ่ายได้เฉพาะกรณีและตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

14 Ex. การจ่ายเงินล่วงหน้า
ผู้รับจ้างมีการเบิกจ่ายเงินล่วงหน้าไปแล้ว 15% ต่อมา มีการแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมปริมาณงาน ทำให้วงเงินในสัญญาเพิ่มขึ้น ผู้รับจ้างขอเบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้า 15% ของวงเงินที่เพิ่มขึ้น กรณีดังกล่าวไม่สามารถจ่ายเงินล่วงหน้าเพิ่มได้ ใช้วิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี จึงได้ดำเนินการโดยวิธีพิเศษ ในหนังสือเชิญชวนมิได้กำหนดเงื่อนไขให้มีการจ่ายเงินล่วงหน้าไว้ ผู้เสนอราคาได้มาขอให้จ่ายเงินล่วงหน้า 15% ก่อนทำสัญญา จึงเป็นการกำหนดเงื่อนไขขึ้นใหม่

15 หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ที่ กค (กวพ) 0421
*** หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ที่ กค (กวพ) /ว 169 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 กวพ. ซักซ้อมความเข้าใจการดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติ ในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e – market) และ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e – bidding) - ให้นำหลักเกณฑ์หรือวิธีการที่กำหนดไว้สำหรับวิธีสอบราคา และวิธีประกวดราคา มาใช้ในการจัดหาด้วยวิธี e – market และ วิธี e – bidding แล้วแต่กรณี เช่น การจ่ายเงินล่วงหน้า ให้นำ ระเบียบฯ 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 68 (4) มาใช้ถือปฏิบัติ เป็นต้น 15

16 การจ่ายเงินล่วงหน้าต้องวางหลักประกัน (ข้อ 70)
การจ่ายเงินล่วงหน้า กรณีสอบราคา/ประกวดราคา/วิธีพิเศษ  ต้องวางหลักประกันการจ่ายล่วงหน้าเป็น - พันธบัตรรัฐบาลไทย หรือ - หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ ยกเว้น การจ่ายเงินล่วงหน้าค่าซื้อพัสดุ จากต่างประเทศ ค่าบอกรับวารสารฯ ไม่ต้องเรียกหลักประกัน

17 การแบ่งงวดงานและงวดเงิน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้งานที่จ้างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ตามหลักวิชาการของการก่อสร้าง และการแบ่งจ่ายเงินเมื่อผู้รับจ้างส่งมอบงานในแต่ละงวด เพื่อให้ผู้รับจ้างเกิดสภาพคล่องทางการเงิน และใช้เป็นทุนหมุนเวียน ในการก่อสร้าง การกำหนดจ่ายเงินเป็นงวดนั้น จึงต้องกำหนดให้ สัมพันธ์กันระหว่างงวดงานกับงวดเงิน กรณีที่มีการแบ่งงวดงานและงวดเงินแล้ว โดยหลัก ผู้ว่าจ้างไม่อาจรับ มอบงานและจ่ายเงินข้ามงวดได้ เว้นแต่ ตามข้อเท็จจริงของหลักวิชาการ ของการก่อสร้าง งานที่ส่งมอบนั้น เป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องกับงานในงวด ก่อนหน้านั้น และมีการกำหนดไว้ในสัญญาว่า สามารถส่งมอบงาน ข้ามงวดได้

18 (ตัวอย่าง) คู่สัญญาส่งมอบไม่ตรงงวดงาน ในสัญญา ยังไม่ถือว่าผิดสัญญา จึงปรับระหว่างงวดงานไม่ได้
สัญญากำหนดเงื่อนไขการปรับว่า “หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้ ในสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้างนับถัด จากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญา” คำวินิจฉัย การแบ่งงวดงานแต่ละงวดในสัญญา เป็นเงื่อนไขที่คู่สัญญาตกลงแบ่งงวดงาน เพื่อประโยชน์ ในการ จ่ายเงินค่าจ้างเป็นงวด ตามผลงานที่ดำเนินการไปแล้ว มิใช่เป็นการกำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานตามสัญญา ►เมื่อผู้รับจ้างส่งงานไม่เป็นไปตามงวด จึงไม่อาจนำมาคิดค่าปรับตามสัญญาได้

19 หลักประกันสัญญา หลักประกันที่ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ที่เป็นคู่สัญญากับ ส่วนราชการนำมาวางขณะทำสัญญา เพื่อประกันความเสียหายจากการผิดเงื่อนไข ตามข้อกำหนดในสัญญา ใช้เป็นหลักประกันจนกว่าจะสิ้นสุดข้อผูกพัน ตามสัญญา

20 หลักประกันซอง/หลักประกันสัญญา
ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 1. เงินสด 2. เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย 3. หนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศ 4. หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุน 5. พันธบัตรรัฐบาลไทย

21 มูลค่าหลักประกัน ร้อยละ 5 ของวงเงิน / ราคาพัสดุ ที่จัดหาในครั้งนั้น
เว้นแต่ การจัดหาที่สำคัญพิเศษ กำหนดสูงกว่า ร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 * กรณีส่วนราชการ / รัฐวิสาหกิจ เป็นคู่สัญญา / ผู้เสนอราคา ไม่ต้องวางหลักประกัน (ข้อ 143)

22 มูลค่าหลักประกัน ร้อยละ 5 ของวงเงินที่จัดหาในครั้งนั้น คิดจากอะไร?
มูลค่าหลักประกัน ร้อยละ 5 ของวงเงินที่จัดหาในครั้งนั้น คิดจากอะไร? วงเงินที่จะจัดหาในครั้งนั้น หมายถึง วงเงินงบประมาณที่ใช้ในการจัดหาครั้งนั้น การที่หน่วยงาน กำหนดมูลค่าหลักประกันซองเป็นจำนวนเต็มในอัตราร้อยละ 5 ของราคากลาง จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยระเบียบฯ

23 การคืนหลักประกัน (ข้อ 144)
หลักประกันซอง  คืนภายใน 15 วัน นับแต่วันพิจารณา เบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว หลักประกันสัญญา  คืนโดยเร็ว / อย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นข้อผูกพันแล้ว

24 ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) ค่าเสียหาย
ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) ค่าเสียหาย ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) เป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญาได้ ตกลงกันไว้ล่วงหน้า ไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหาย ค่าเสียหาย เป็นสิทธิเรียกร้องของคู่สัญญาเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ต้องพิสูจน์ความเสียหาย

25 การกำหนดอัตราค่าปรับในสัญญา (ข้อ134)
กรณีซื้อ /จ้าง  ไม่ต้องการผลสำเร็จของงานพร้อมกัน ค่าปรับรายวัน อัตราตายตัว ระหว่างร้อยละ 0.01 – ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ กรณีงานจ้างก่อสร้าง  ที่ต้องการผลสำเร็จของงานพร้อมกัน ค่าปรับรายวัน เป็นจำนวนเงินตายตัว อัตราร้อยละ 0.01 – 0.10 ของราคางานจ้าง แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 100 บาท  จ้างก่อสร้างสาธารณูปโภคที่มีผลกระทบต่อการจราจร ปรับรายวันในอัตรา อัตราร้อยละ 0.25 ของราคางานจ้าง

26 การคิดค่าปรับตามสัญญา
เมื่อครบกำหนดสัญญา /ข้อตกลง ยังไม่มีการส่งมอบต้องแจ้งการเรียก ค่าปรับตามสัญญา เมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ(ส่งมอบของ/งานจ้าง) ให้แจ้งสงวนสิทธิ การเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย การนับวันปรับ ให้นับถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา/ข้อตกลง จนถึงวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบสิ่งของถูกต้องครบถ้วน หรือจนถึงวันที่ บอกเลิกสัญญา/ข้อตกลง (หักด้วยระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจรับใช้ไปในการตรวจรับออกจากจำนวนวันที่ต้องถูกปรับด้วย) เงื่อนไขสัญญาซื้อเป็นชุด ให้ปรับทั้งชุด สิ่งของราคารวมติดตั้ง/ทดลอง ให้ปรับตามราคาของทั้งหมด

27 มีผลย้อนหลังไปถึง วันที่ส่งมอบ
ลงนาม ครบกำหนด 5 ม.ค. 31 ต.ค. (***วันเสาร์***) ส่งครั้งที่ 1 20 ต.ค. ส่ง 2 20 ธ.ค. แจ้งผล 1 16 พ.ย. แจ้งผล 2 28 ธ.ค. ผล : งานไม่ถูกต้อง ผล : งานถูกต้อง มีผลย้อนหลังไปถึง วันที่ส่งมอบ Y วัน X วัน ค่าปรับ = % x วงเงิน x Z 100 ระยะเวลาที่เกิดปรับ (3 พย. – 20 ธ.ค.) = X วัน หัก ระยะเวลาตรวจรับ (21 ต.ค. – 16 พ.ย.) = Y วัน จำนวนวันที่นำไปคำนวณค่าปรับ = Z วัน

28 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา (136)
หลัก ห้ามแก้ไข เปลี่ยนแปลง ข้อยกเว้น กรณีจำเป็น ไม่ทำให้ราชการเสียประโยชน์ กรณีแก้ไขเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

29 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา (136)
อำนาจอนุมัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา หัวหน้าส่วนราชการ ** หลักการแก้ไขฯ ** การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา สามารถที่จะพิจารณาดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาในช่วงเวลาใดก็ได้ แม้จะล่วงเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตามสัญญา ก็ตาม แต่อย่างช้าจะต้องดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงก่อนที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้าง ได้ทำการตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างไว้ใช้

30 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา
แก้ไขเพื่อความจำเป็น ไม่ทำให้ทางราชการประโยชน์ หรือเพื่อประโยชน์ราชการ หากมีการเพิ่มเนื้องาน และมีระยะเวลาเพิ่ม ต้องตกลงไปพร้อมกัน แม้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะไม่คิดเงินเพิ่ม จะต้องลงนามพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย แก้ไขก่อนตรวจรับงานงวดสุดท้าย เว้นแต่เป็นการแก้ไขเรื่องหลักประกัน กรณีเปลี่ยนแปลงรุ่น/ยี่ห้อ ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ต้องกำหนดเวลา ส่งมอบใหม่ไว้ด้วย มิฉะนั้น จะปรับไม่ได้

31 การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา (ข้อ 139)
การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา (ข้อ 139) อำนาจอนุมัติ หัวหน้าส่วนราชการ สาเหตุ (1) เหตุเกิดจากความผิด ความบกพร่อง ของราชการ (2) เหตุสุดวิสัย (3) เหตุเกิดจากพฤติการณ์ ที่คู่สัญญาไม่ต้อง รับผิดตามกฎหมาย

32 การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา (ข้อ 139)
การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา (ข้อ 139) วิธีการ - คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุให้ส่วนราชการทราบภายใน 15 วัน นับแต่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง หากไม่แจ้งตามที่กำหนด จะยก มากล่าวอ้างเพื่อขอลดหรืองดค่าปรับ หรือขยายเวลามิได้ เว้นแต่กรณีความผิดความบกพร่องของส่วนราชการ ซึ่งมี หลักฐานชัดแจ้งหรือส่วนราชการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น - พิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง

33 การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา
1. การพิจารณางดหรือลดค่าปรับ จะเป็นการพิจารณาอนุมัติให้ในเวลาที่ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาของสัญญาหรือข้อตกลงไปแล้ว และเป็นกรณีที่มีค่าปรับเกิดขึ้นแล้ว 2. การพิจารณาขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง ซึ่งจะเป็นการพิจารณาอนุมัติให้ก่อนที่จะครบกำหนดสัญญา และค่าปรับยังไม่เกิด

34 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา
ลงนาม ครบกำหนด การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ข้อ 136 เปรียบเทียบการพิจารณา ตามระเบียบพัสดุฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 136 และข้อ 139 ข้อ 139 ลงนาม ครบกำหนด ขยายเวลา งด / ลดค่าปรับ คู่สัญญาขอก่อนวันครบกำหนด แต่ผู้มีอำนาจอนุมัติหลังจากครบกำหนดแล้ว คู่สัญญาขอมาภายหลังจากครบกำหนดแล้ว คู่สัญญาต้องขอ และ ผู้มีอำนาจอนุมัติได้อนุมัติก่อน/ภายในวันครบกำหนด

35 การบอกเลิก / ตกลงกันเลิกสัญญาหรือข้อตกลง
หลัก 1) มีเหตุเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จ ภายในเวลาที่กำหนด (137 วรรคหนึ่ง) 2) ไม่ปฏิบัติตามสัญญา/ข้อตกลง และค่าปรับจะเกิน 10 % ของวงเงินทั้งสัญญา เว้นแต่ จะยินยอมเสียค่าปรับ ก็ให้ผ่อนปรนได้เท่าที่จำเป็น (138) การตกลงเลิกสัญญาต่อกัน ทำได้เฉพาะเป็นประโยชน์ /หรือเพื่อแก้ไข ข้อเสียเปรียบของราชการหากปฏิบัติตามสัญญา/ข้อตกลงต่อไป (137 วรรคสอง)

36 หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0421
หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) /ว 267 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2555 ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุฯ 35 ข้อ เมื่อครบกำหนด จนมีค่าปรับเกิดขึ้น และค่าปรับจะเกินร้อยละ 10 ให้มีหนังสือ แจ้งบอกล่าวคู่สัญญาว่า ค่าปรับจะเกินร้อยละ 10 แล้ว และจะบอกเลิกสัญญาต่อไป เว้นแต่คู่สัญญาจะได้มีหนังสือแจ้งภายในเวลาที่กำหนด ยินยอม เสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ 2. กรณีคู่สัญญามีหนังสือยินยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ภายในเวลา ที่กำหนด ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญา ได้เท่าที่จำเป็น โดยประเมินความคืบหน้าการดำเนินการตามสัญญาว่า การผ่อนปรนจะทำให้คู่สัญญาดำเนินการแล้วเสร็จหรือไม่ หรือจะต้องใช้ ดุลยพินิจว่าจะบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ตามแนวทางดังนี้

37 หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0421
หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) /ว 267 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2555 2.1 กรณีควรผ่อนปรน ให้แจ้งคู่สัญญาทราบดำเนินการตามสัญญาโดยเร็ว คู่สัญญาต้องกำหนดแผนและเวลาการดำเนินการแล้วเสร็จให้ชัดเจน 2.2 กรณีจะบอกเลิกสัญญา ให้แจ้งการบอกเลิกสัญญาไปยังคู่สัญญาโดยเร็ว โดยทำเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมกับแจ้งการปรับ และริบหลักประกัน สัญญา (ถ้ามี) 3. กรณีคู่สัญญามีหนังสือแจ้งยินยอมเสียค่าปรับโดยมีเงื่อนไข หรือไม่มี หนังสือแจ้งความยินยอมภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันควร ให้แจ้งบอกเลิกสัญญาโดยเร็ว โดยทำเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมกับ แจ้งการปรับ และริบหลักประกันสัญญา (ถ้ามี)

38 (EX.) การตกลงเลิกสัญญา
หน่วยงานทำสัญญาจ้างก่อสร้างอาคาร กำหนดให้เริ่มทำงาน ภายในวันที่ 30 ต.ค. 46 ครบกำหนดสัญญา 22 พ.ค. 48 กรมฯ ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ เนื่องจากมีอาคารและสิ่งก่อสร้างของ ผู้บุกรุก เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ไม่อาจทราบได้ว่า ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และสามารถมอบพื้นที่ให้ได้เมื่อใด เมื่อผู้รับจ้าง มีหนังสือขอเลิกสัญญา และกรมฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์ แก่ราชการโดยตรง ยิ่งกว่าให้สัญญามีผลต่อไป หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของทางราชการตามข้อ 137 วรรคสอง ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ และเมื่อตกลงเลิกสัญญากันแล้ว ผู้รับจ้างย่อมพ้นข้อผูกพันตามสัญญา กรมฯ ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องคืนหลักประกันสัญญาให้แก่ผู้รับจ้าง ตามสัญญาข้อ 3 วรรคสอง ประกอบระเบียบฯ ข้อ 144 (2)

39 หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับ/ตรวจการจ้าง
นร (กวพ) 1305/ว ลว. 13 ธ.ค. 43 คณะกรรมการ - ตรวจรับพัสดุ - ตรวจการจ้าง เสนอความเห็น 1. การแก้ไข เปลี่ยนแปลง สัญญา 2. การขยายระเวลาทำการ ตามสัญญา การงด หรือลด ค่าปรับ หัวหน้า ส่วนราชการ

40 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กลุ่มงานระเบียบฯ กรมบัญชีกลาง โทร ต่อ 4551 , 4588 , 4589 , 6125 , 6873 CALL cENTER กรมบัญชีกลาง โทร


ดาวน์โหลด ppt การบริหารสัญญา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google