การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ หมวดวิชา 02 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับอธิบายข้อมูลด้วยวิธีกราฟ Exit
การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับอธิบายข้อมูลด้วยวิธีกราฟ ก่อนที่จะศึกษาการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับอธิบายข้อมูลด้วยวิธี กราฟและวิธีการทางตัวเลข จำเป็นต้องทบทวนประเภทของข้อมูลก่อน ทั้งนี้ เพราะว่าการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเกี่ยวข้องกับประเภทของข้อมูล เช่น ถ้าเป็นข้อมูลประเภทเชิงปริมาณ จะต้องใช้คำสั่งและเลือกใช้วิธีการนำเสนอ ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติอีกแบบหนึ่งเป็นต้น ดังนั้นจึงทบทวนประเภท ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้ การแบ่งประเภทของข้อมูลตามมาตรวัด(Measurement) 1. ข้อมูลตามมาตรวัดนามบัญญัติ(Nominal Scale) 2. ข้อมูลตามมาตรวัดเรียงลำดับ(Ordinal Scale) 3. ข้อมูลตามมาตรวัดอันตรภาคชั้น(Interval Scale) 4. ข้อมูลตามมาตรวัดอัตราส่วน(Ratio Scale) Exit
การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับอธิบายข้อมูลด้วยวิธีกราฟ ข้อมูลตามมาตรวัดนามบัญญัติ(Nominal Scale) เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีค่าที่แท้จริงไม่ใช่ตัวเลข แต่เพื่อความสะดวกในการนำเสนอข้อมูลและ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติจึงจำเป็นต้องให้ตัวเลขแทนค่าของข้อมูล เช่น ภาค เป็นข้อมูลที่อยู่ในมาตรวัดนามบัญญัติ โดยมีค่าของข้อมูลดังนี้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ ดังนั้นจึงให้ตัวเลขต่อไปนี้แทนค่าของข้อมูลดังกล่าวคือ ให้ 1 แทน ภาค กลาง // 2 แทน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ // 3 แทน ภาคใต้ และ // 4 แทน ภาคเหนือ ตัวเลขเหล่านี้ เป็นตัวเลขที่ใช้จำแนกประเภท จึงมักเรียกข้อมูลในลักษณะนี้เป็นข้อมูลจำแนกประเภท(Categorical Data) ข้อมูลตามมาตรวัดเรียงลำดับ(Ordinal Scale) เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีค่าที่แท้จริงไม่ใช่ตัวเลข แต่เพื่อความสะดวกในการนำเสนอข้อมูลและ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติจึงจำเป็นต้องให้ตัวเลขแทนค่าของข้อมูล และ ตัวเลขดังกล่าวสามารถบอกทิศทางได้ เช่น ระดับการศึกษา มีค่าเป็น ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ระดับ ปริญญาตรี สูงกว่าระดับปริญญาตรี ถ้าให้ตัวเลขต่อไปนี้แทนค่าของข้อมูลดังกล่าวคือ ให้ 1 แทน ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี 2 แทน ระดับปริญญาตรี 3 แทน และ 3 แทน สูงกว่าระดับ ปริญญาตรี ตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขที่ใช้ใช้จำแนกประเภท และสามารถบอกทิศทางได้ กล่าวคือ ถ้า ถือว่าการศึกษาแต่ละระดับมีประสบการณ์ในการเรียนแตกต่างกัน ดังนั้น ตัวเลข 3 มีทิศทางที่ดีกว่า 2 และ 1 เป็นต้น Exit
การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับอธิบายข้อมูลด้วยวิธีกราฟ ข้อมูลตามมาตรวัดอันตรภาคชั้น(Interval Scale) เป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่มีค่าของข้อมูลที่แท้จริงเป็นตัวเลข ตัวเลขดังกล่าวไม่มีศูนย์แท้ และตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ต่อเนื่อง (เมื่อมีค่าเป็นจุดทศนิยม สามารถ ตีความหมายของตัวเลขได้)เช่น คะแนนผลสัมฤทธิ์(Achievement Scores ) คะแนน ผลการประเมินการปฏิบัติราชการ อุณหภูมิ(Temperature) ข้อมูลตามมาตรวัดอัตราส่วน(Ratio Scale) เป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่มีค่าของข้อมูลที่แท้จริงเป็นตัวเลข ตัวเลขดังกล่าวไม่มีศูนย์แท้ และตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ต่อเนื่อง (เมื่อมีค่าเป็นจุดทศนิยม สามารถ ตีความหมายของตัวเลขได้) เช่น เงินเดือน( Salary) หรือรายได้(Income) ปริมาณ น้ำฝนที่ตกเฉลี่ย(มม.) จำนวนพื้นที่โครงการรวม(ตร.กม.) จำนวนพื้นที่ส่งน้ำรวม(ตร. กม.) เป็นต้น Exit
ประเภทของข้อมูล เชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพกับการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ(Quantitative Data) สามารถใช้เทคนิคการวิเคราะห์ได้ ทุกเทคนิค และข้อมูลเชิงคุณภาพ(Qualitative Data) ใช้เทคนิคการ วิเคราะห์ได้บางเทคนิค เช่น ไม่สามารถหาค่าเฉลี่ย(Mean) และ ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard deviation: S.D)ได้ ถ้าแบ่งประเภทของข้อมูลตามมาตรวัด 4 มาตรวัด กับการใช้เทคนิค ทางสถิติเพื่ออธิบายข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ดังนี้ ข้อมูลตามมาตรวัดนามบัญญัติ (Nominal Scale) เทคนิคทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่(Frequency) ร้อยละ(Percentage) ฐานนิยม(Mode) ตารางไขว้ (Crosstab Table) การทดสอบโดยใช้สถิติทดสอบไค- กำลังสอง(Chi-square test) การทดสอบโดยใช้สถิติทดสอบทวินาม(Binomial test) Exit
ประเภทของข้อมูล เชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพกับการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลตามมาตรวัดอันตรภาคชั้น(Interval Scale) เทคนิคทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย(Mean หรือ average) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์(Correlation Analysis) การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) การวิเคราะห์ความแปรปรวน(Analysis of Variance : ANOVA) เป็นต้น ข้อมูลตามมาตรวัดอัตราส่วน(Ratio Scale) เทคนิคทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย(Mean หรือ average) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) การ วิเคราะห์ความสัมพันธ์(Correlation Analysis) การวิเคราะห์การถดถอย(Regression Analysis) การวิเคราะห์ความแปรปรวน(Analysis of Variance : ANOVA) การ วิเคราะห์อำนาจจำแนก(Discriminant analysis ) การวิเคราะห์ปัจจัย(Factor Analysis)เป็นต้น Exit