การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
พัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล สัญญาณควัน ม้าเร็ว นกพิราบสื่อสาร ระบบไปรษณีย์ โทรศัพท์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) การแชทและสังคมออนไลน์ การสื่อสารโดยใช้ดาวเทียม
รูปแบบการส่งสัญญาณข้อมูล 1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simple) เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือการส่งข้อมูลไปในทางเดียว เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ ผู้ส่ง ผู้รับ
รูปแบบการส่งสัญญาณข้อมูล 2. แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Half-Duplex) เป็นการส่งข้อมูลแบบสลับการส่งและรับข้อมูลไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น การสื่อสารวิทยุ คือต้องพูดสลับกันพูด ผู้ส่ง ผู้รับ
รูปแบบการส่งสัญญาณข้อมูล 3. แบบทางคู่หรือเต็มดูเพล็กซ์ (Full-Duplex) เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่งและรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่น การพูดโทรศัพท์ ผู้ส่ง ผู้รับ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันในเครือข่ายนั้น
องค์ประกอบของเครือข่าย 1. อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 2. ซอฟต์แวร์ (Software) 3. ตัวกลางนำข้อมูล (Media)
องค์ประกอบของเครือข่าย 1. อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ก. การ์ด LAN เป็นการ์ดที่ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจะมีช่องสำหรับเสียบสายเคเบิลแบบใดแบบหนึ่ง
ข. Hub ทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่กระจายข้อมูล ใช้ในการต่อแลนแบบดาว พอร์ตมีจำนวนแตกต่างกัน เช่น 5,8,10,16,24 สายทั้งหมดของทุกเครื่องจะถูกนำมารวมกันไว้ที่เครื่องเดียวกัน
2. ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นโปรแกรมควบคุมระบบที่มีความสามารถทำงานกับเครือข่าย เช่น Windows, Linux รวมถึงโปรแกรมสำหรับจัดการสื่อสาร ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
3. ตัวกลางนำข้อมูล (Media) สาย คู่บิดเกลียว (twisted pair) สายคู่บิดเกลียวแต่ละคู่สายที่เป็นทองแดงจะถูกพันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวน จากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่าน
ข. สายโคแอกเชียล (coaxial) เป็นสายสัญญาณที่มีสายทองแดงเดี่ยวเป็นแกนกลางและมีสายทองแดงถักล้อมรอบเป็นตัว กั้นสัญญาณรบกวนอยู่ด้านนอก ลักษณะของสายเป็นแบบกลมและใช้สำหรับสัญญาณความถี่สูงสายโคแอกเชียลที่ใช้ในระบบเครือข่ายมีหลายแบบตามคุณลักษณะทางด้าน ความต้านทานของสาย
ค. เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic) เป็นสายที่ใช้แสงความถี่สูงวิ่งไปตามเส้นใยแก้ว สายสัญญาณชนิดนี้สามารถนำข้อมูล ได้มาก เช่นสามารถส่งได้ถึงกว่าพันล้านบิตต่อวินาทีและใช้ได้ในระยะทางที่ ไกล เส้นใยนำแสงมักใช้เป็นสายรับส่งข้อมูลหลักสำหรับเครือข่าย
ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1. ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณที่ไม่ไกลเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์กรที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก ลักษณะสำคัญของเครือข่ายแลน คือ อุปกรณ์ที่ประกอบภายในเครือข่ายสามารถส่งรับสัญญาณกันด้วยความเร็วสูงมาก เครือข่าย LAN
2. ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN) การเชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อไกลกว่า ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แต่ระยะทางยังคงใกล้กว่าระบบ WAN (Wide Area Network) ได้แก่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันภายในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน ในเขตเดียวกัน เครือข่ายแมน (MAN)
3. ระบบเครือข่ายระยะไกล (wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เครือข่ายแวนเชื่อมระยะทางไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากจะมีสัญญาณรบกวนในสาย เครือ ข่ายแวน เป็นเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายแลนหลายๆ เครือข่ายเชื่อมถึงกันได้ เครือข่าย WAN
ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย สำนักงานอัตโนมัติ
End