บทที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับการพยาบาลสุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิต

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
Advertisements

เครื่องชี้วัดคุณภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
ยุทธศาสตร์ลดปัจจัยเสี่ยง ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ปี 2551
ผู้วิจัย สิริภิญญ์ อินทรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ ปีการศึกษา 2556
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพ
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
ทีมคลินิกเบาหวาน/ความดัน
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับทีม
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
ผู้วิจัย คนึงนิจ วิหคมาตย์
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข้อที่เกณฑ์การประเมินการดำเนินงาน ข้อ 1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน.
เก่ง. ความรู้และทักษะ คุณลักษณะที่เน้น ความรู้ ทักษะเชิง วิชาชีพ และศาสตร์ที่ เกี่ยวข้อง.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovation
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
การเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบบริหารจัดการความเสี่ยง
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ประสบการณ์การ การใช้ระบบติดตามผลการดำเนินงานในกลุ่มผู้ใช้ยา/สารเสพติด
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
แนวทางการดำเนินงานเพื่อผู้สูงอายุ
การจัดลำดับความสำคัญของโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ตอนที่ 1ภาพรวมของการบริหารองค์กร (1-5 กำลังคน)
โอวาท๓ / ไตรสิกขา.
ฝึกวิเคราะห์ย่อหน้า 1 การศึกษาทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งยังช่วยพัฒนาทางด้านความคิด สติปัญญา และสังคม ทั้งนี้การศึกษายังมีความสำคัญต่อการเป็นอยู่ เพราะรากฐานของความมั่นคงมาจากการได้รับการศึกษา.
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
บทที่ 4 การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การทำเตียง อ.กรวรรณ สุวรรณสาร.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
การพัฒนาระบบการดูแลผู้รับบริการเพื่อตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
Ph.D. (Health MS.Health การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง The Health Promotion.
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
คำสำคัญ : ความชุกวัณโรค, ผู้ต้องขังในเรือนจำ
วิชา พฤติกรรมผู้บริโภค
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
สอนโดย : อาจารย์กุสุมา ยกชู
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
เราคือ ‘One PPG’ We protect and beautify the world วัตถุประสงค์ของเรา
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ จังหวัดน่าน
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
การเสริมสร้างพลังอำนาจ ในผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะแพร่กระจาย
เยาวเรศ ก้านมะลิ 1 อรัญ ซุยกระเดื่อง2
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
บทที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับการพยาบาลสุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิต
PRIMARY CARE PRIMARY CARE Primary care.
จริยธรรม (Ethics) คืออะไร
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
Ph.D. (Health MS.Health การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง The Health Promotion.
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยจิตเวช รุนแรง ยุ่งยาก ซับซ้อน
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับการพยาบาลสุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิต ผศ.ดร. สุจิตรา อู่รัตนมณี RN,MSN,Ph.D

วัตถุประสงค์ หลังจบบทรียนนี้ นักศึกษาสามารถ อธิบายวิวัฒนาการของการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชได้ อธิบายแนวคิดของการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช อธิบายองค์ประกอบของผู้มีสุขภาพจิตดี และจำแนกผู้ที่มีความผิดปกติทาง จิตได้ อธิบายปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตของครอบครัว กลุ่มคนและชุมชน อธิบายลักษณะสำคัญและเกณฑ์การจำแนกโรคทางจิตเวชในประเทศไทย  

วิวัฒนาการของพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

วิวัฒนาการของพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

วิวัฒนาการของพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

“โรงพยาบาลคนเสียจริต” “โรงพยาบาลโรคจิตต์ธนบุรี” (ชื่อเดิมของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา) http://www.somdet.go.th/known_orga/his_som.php

“โรงพยาบาลคนเสียจริต” “โรงพยาบาลโรคจิตต์ธนบุรี” (ชื่อเดิมของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา)

“สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา รพ.จิตเวช แห่งแรกของประเทศไทย”  “สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา รพ.จิตเวช แห่งแรกของประเทศไทย”

โรงพยาบาลโรคจิตต์ นนทบุรี ชื่อเดิมของ รพ.ศรีธัญญา

รพ.สวนปรุง

รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน http://www.prdmh.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95/153-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-2559.html

แนวคิดของการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช The World Health Organization (WHO) ได้ ให้ความหมายของสุขภาพจิตว่า “ Mental health as a state of well being in which each individual is able to realize his or her won potential, cope with normal stress of life, work productively , and make a contribution to the community” (Varcarolis, Elizabeth and Halter, 2014). ในประเทศไทยกรมสุขภาพจิต (2550) ให้ความหมายของคำว่าสุขภาพจิตว่า หมายถึง ความนึกคิดที่เป็นสุขที่ปราศจากโรค (ฉวีวรรณ สัตยธรรม และวิไลพร ขำวงษ์, 2556)

แนวคิดการเจ็บป่วยทางจิต การเจ็บป่วยทางจิตเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและส่งผลต่อภาวะ สุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน โรคทางจิตเกิดจากหลาย สาเหตุด้วยกันตามความเชื่อในแต่ละยุคสมัย อย่างไรก็ตามไม่มีข้อยุติว่าการเจ็บป่วยทางจิตเกิดจากสาเหตุใดเป็น หลักแต่เชื่อว่าสามารถเกิดจากหลากหลายสาเหตุร่วมกันได้ (มาโนช หล่อตระกูล และ ปราโมทย์ สุคนิชย์, 2558) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ เจ็บป่วยทางจิตมีหลายประการอาจแบ่งกว้างๆเป็น 2 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยเสี่ยง (Predisposing factor) และปัจจัยกระตุ้น (Precipitating factor)

ผู้มีความเจ็บป่วยทางจิต (Mental Illness) หมายถึง ความเจ็บป่วยทางจิต หรือ กลุ่มอาการแสดงที่มีความผิดปกติทางจิตใจ และพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลจากสังคม จิตใจ พันธุกรรม หรือความเจ็บป่วยที่เกิด จากทางชีวเคมีหรือสารสื่อประสาท ความเจ็บป่วยทางจิตไม่ได้หมายถึงการแสดง ความสัมพันธ์ของผู้ป่วยที่มีต่อสังคมเท่านั้น แต่ความเจ็บป่วยทางจิตยังส่งผลให้ ความสามารถในการทำงานด้านต่างๆ ลดน้อยลง ในความหมายอื่นๆ ความ เจ็บป่วยทางจิตเป็นสาเหตุให้บุคคลแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติ ไม่ สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ในสังคม (Shives, 2012)

การพยาบาลจิตเวชกับแนวคิดเกี่ยวกับบุคคลและความเจ็บป่วยทางจิต แนวคิดเกี่ยวกับบุคคลของพยาบาลจิตเวชมีแนวคิดต่างๆดังนี้ (ฉวีวรรณ สัตยธรรม, 2554, น.84) พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจไม่สามารถแยกออกจากกันได้ สภาพจิตใจและร่างกายต้องอยู่ในภาวะสมดุล พยาบาลจิตเวชมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีคุณค่าและศักดิ์ศรีของตนเอง พยาบาลต้องเข้าใจและยอมรับในคุณค่าของบุคคล พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่าทุกชีวิตต้องมีแรงกระตุ้นเพื่อการดำรงชีวิต มนุษย์ทุกคนต้องการความช่วยเหลือประคับประคองด้านจิตใจ พยาบาลจิตเวชเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีความต้องการทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า การสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อสุขภาพของบุคคลและความต้องการทางด้านอารมณ์ก็มีอิทธิพลต่อสุขภาพของบุคคลเช่นเดียวกัน พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่า การสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนกันทางสังคมมนุษย์อยู่คนเดียวในโลกไม่ได้

การพยาบาลจิตเวชกับแนวคิดเกี่ยวกับบุคคลและความเจ็บป่วยทางจิต พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่า การรับรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงเป็นลักษณะเฉพาะตัว เหตุการณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการพูด การเห็นล้วนแล้วแต่เป็นประสบการณ์ที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของบุคคล พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่า การสำนึกระมัดระวังตนเอง (Self awareness)มีอิทธิพลต่อความเข้าใจของแต่ละคนที่มีต่อบุคคลถ้าเรารู้ว่าเราทำอะไรเพื่ออะไร ก็ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของบุคคลที่เราติดต่อด้วยได้ พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่า อัตมโนทัศน์เกิดจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงในสังคมบุคคลจะรู้ตนเองว่าตนเองมีฐานะอะไรในสังคม พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่า ความคิดความรู้สึก อารมณ์ ก่อให้เกิดพฤติกรรม พฤติกรรมเป็นสิ่งซับซ้อนและเป็นผลรวมต่ออุดมคติ ความรู้สึก และปฏิกิริยาทางร่างกาย

พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่า พฤติกรรมทุกอย่างมีความหมาย ซึ่งแนวคิดนี้ช่วยให้พยาบาลได้สังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยแปลความหมายและพยายามทำความเข้าใจ พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่าพฤติกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่า ความเครียดอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอกและความจำเป็นอื่นๆ เมื่อใดก็ตามที่บุคคลเกิดความเครียดจะมีการปรับตัวทั้งด้านร่างกายและจิตใจเพื่อต่อต้านความเครียดนั้น พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่าความสามารถในการเผชิญความเครียดมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่าความสนใจและแนวถนัดในธรรมชาติของบุคคลเป็นพลังที่มีคุณค่าในการพัฒนาบุคลิกภาพ พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่า การเจริญเติบโตของมนุษย์และพัฒนาการทางบุคลิกภาพ เป็นผลจากกระบวนการที่ซับซ้อนจากประสบการณ์ วัฒนธรรมทางสังคม ภาวะสุขภาพ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล

พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่า มโนทัศน์เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของบุคคลมาจากวัฒนธรรม ครอบครัว ความคิด ความเชื่อของบุคคลและสังคม อิทธิพลที่มีผลต่อมโนทัศน์ด้านความเจ็บป่วยจะส่งผลต่อความเชื่อด้านสุขภาพและการรักษาของบุคคล พยาบาลจิตเวชมีแนวคิดว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นหัวใจของการบำบัดระยะฟื้นฟูเป็นระยะสำคัญต่อการบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยกลับสู่สภาวะที่ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ทั้งร่างกาย จิตใจและสติปัญญา

องค์ประกอบของผู้มีสุขภาพจิตดี 1. มิติที่เกี่ยวกับคุณภาพของจิตใจที่เป็นคุณสมบัติภายในของคน เป็นมิติของคุณสมบัติของคุณภาพจิตใจ ได้แก่ ความสงบและผ่อนคลายของจิตของบุคคลนั้น ความมั่นคงภายในจิตใจ ความพึงพอใจกับสิ่งที่ตนเองมีและสิ่งต่างๆ รอบตัว ความอดทนอด กลั้น เข้มแข็งของจิตใจ มิติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัวบุคคล เป็นมิติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความสามารถของบุคคลในการปรับตัว ในสถานการณ์ต่างๆรอบตัว การมีสัมพันธภาพที่เหมาะสมทางสังคม มิติทางสังคมของบุคคล กระบวนการทางสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวันของบุคคล รวมถึงบุคคลที่มีการดำเนินชีวิตที่มีกระบวนการร่วมในสังคม และสามารถเป็นสมาชิกใน สังคม

ลักษณะสำคัญของผู้มีสุขภาพจิตดี ลักษณะการปรับตัว ปรับจาก อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์ และ นภวัลย์ กัมพลาศิริ (2557) การมีสุขภาพจิตดีและมีความผิดปกติทางจิต เป็นสภาวะที่มีความเกี่ยวเนื่องและสามารถแปรเปลี่ยนไปมาได้ตลอดเวลาจากผู้ที่มีสุขภาพจิตดี อาจเปลี่ยนเป็นผู้มีปัญหาสุขภาพจิต จนถึงการเป็นผู้มีความเจ็บป่วยทางจิตได้ การปรับตัวที่ดี การปรับตัวไม่ดี การเจ็บป่วยทางจิต

ลักษณะงานของพยาบาลสุขภาพจิตและพยาบาลจิตเวช Normality Mental illness Mental health Stressed Mild disorder Mental illness

การแสดงออกของผู้มีสุขภาพจิตดี มีความสุข สามารถพบปะบุคคล และมีกิจกรรมได้ตามที่ตนเองต้องการ สามารถควบคุมพฤติกรรมการแสดงออกของตนเอง มองภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้อย่างถูกต้อง มองเห็นความแตกต่าง ของสิ่งที่เป็นจริง กับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มองตนเองในแง่ดี มีความสัมพันธ์ที่มั่นคง มีการสนับสนุนทางสังคม มีความสามารถในการปรับตัวต่อความเครียด

การแสดงออกของผู้มีปัญหาสุขภาพจิต มีความซึมเศร้า หมดหวัง หดหู่ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ กราดเกรี้ยว เกิดภาพหลอน มองสิ่งตรงหน้าไม่ตรงกับความเป็นจริง ไม่สามารถตัดสินใจในการทำงานต่างๆ ได้ มีภาวะพึ่งพาผู้อื่น ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง แสดงออกถึงอารมณ์ที่ไม่มั่นคงในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ใช้สารเสพติด หรือติดยาเสพติด

วิธีการจำแนกโรคทางจิตเวชในประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ใน แง่ของความผิดปกติทางจิตเวชทำได้สะดวกขึ้น มีประโยชน์ทางด้านการศึกษาและการวิจัย ใช้ในการจัดการและการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษา ใช้เพื่อค้นหาความรู้ใหม่ ๆ

ในส่วน 3 แกนแรกจะเป็นการวินิจฉัยที่เป็นทางการ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition (DSM-IV) DSM-IV เป็นระบบการจำแนกโรคทางจิตเวชที่พัฒนาโดยสมาคม จิตแพทย์อเมริกัน ปัจจุบันใช้ระบบปรับปรุงครั้งที่ 4 เป็นการจำแนกโรคโดยใช้อาการและอาการแสดงเป็นหลักโดยการประเมิน ผู้รับบริการในหลายด้าน แบ่งออกเป็น 5 แกน ในส่วน 3 แกนแรกจะเป็นการวินิจฉัยที่เป็นทางการ ในส่วน 2 แกนหลังเป็นข้อมูลในส่วนเพิ่มเติมในการรักษาและการพยากรณ์โรค

Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition (DSM-IV) Axis II : Developmental Disorders and Personality Disorders ความผิดปกติด้านพัฒนาการและความบกพร่องทางปัญญา หรือ ภาวะปัญญาอ่อน ที่อยู่ในบุคคลเป็นบุคลิกลักษณะที่ถาวร ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อาทิเช่น Autism and mental retardation Axis III : Physical Conditions ภาวะความเจ็บป่วยทางกายของผู้รับบริการ ในขณะนั้นที่อาจเกี่ยวข้องกับสภาพการเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนของพยาธิสภาพจากแกนที่ 1 และ 2 อาทิเช่น Brain injury หรือ HIV เป็นต้น Axis IV : Severity of Psychosocial Stressors ปัญหาจากจิต สังคม หรือสิ่งรอบตัวที่เป็นส่วนสำคัญในการเกิดโรคหรือทำให้โรคกำเริบโดยเฉพาะในอดีตระยะใกล้ที่ เพิ่งผ่านพ้นมา อาทิเช่น ตกงาน สอบไม่ผ่าน เป็นต้น

Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition (DSM-IV) Axis V : Highest Level of Functioning เป็นการประเมิน ประสิทธิภาพของการปรับตัวซึ่งอาจเป็นในช่วงของการเจ็บป่วย ก่อนการเจ็บป่วย หรือภายหลัง การเจ็บป่วย พฤติกรรมการแสดงออกจะแสดงออกกับสังคมโดยรวม ความสามารถในการ ประกอบอาชีพการงาน หรือแม้แต่การใช้เวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆ

International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problem,10th revision บัญชีแยกโรคระหว่างประเทศฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 (ICD -10) ปัจจุบัน ประเทศไทยนำมาใช้ในการวินิจฉัยตาม WHO ความผิดปกติทางจิตและ พฤติกรรม เป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของ โรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ICD -10 เป็นการจัดระบบโดยใช้ระบบตัวเลขร่วมกับตัวอักษร โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม (Mental and behavioral disorders = F00 - F99) โรคระบบประสาท (Diseases of the nervous system = G00 - G99)

(F00-F09) ความผิดปกติทางจิตและอาการทางจิตที่เกิดจากโรคทางกาย (วาทีนี สุขมาก, 2556; หน้า 49-57)

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของบุคคล ความเชื่อทางวัฒนธรรมของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน ทักษะการดูแลสุขภาพ และความเชื่อด้านสุขภาพของบุคคล ฮอร์โมน สารชีวภาพในร่างกายที่มีการหลั่งได้อย่างสมดุลและพอเหมาะ การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่านทอดจากครอบครัว ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อบุคคลตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว เพื่อน และสังคมที่อยู่อาศัย ความเชื่อทางจิตวิญญาณ พื้นฐานการเลี้ยงดูของครอบครัวของบุคคล การพัฒนาการตามช่วงวัยในแต่ละด้านของบุคคล บุคลิกภาพและลักษณะนิสัยเฉพาะตัวบุคคล การรับรู้ต่อความเครียดของบุคคล

เอกสารอ้างอิง ฉวีวรรณ สัตยธรรม และวิไลพร ขำวงษ์ (2556). แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพจิต. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุง) เล่มที่ 1. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก. วาทีนี สุขมาก (2556). การจำแนกความผิดปกติทางจิต. การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 1. มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์ (2555). การจำแนกโรคและการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์. สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2557). การสํารวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทยสิงหาคม พ.ศ. 2557. วันที่ เข้าถึงข้อมูล 12/12/2558 ที่มา http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/mental-healthRep0857.pdf. อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์ และ นภวัลย์ กัมพลาศิริ (2557). สุขภาพจิต การเจ็บป่วยทางจิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพยาบาลจิตเวช. ใน อัจฉราพร สี่หรัญ วงศ์, ประภา ยุทธไตร, พวงเพชร เกสร สมุทร และ วารีรัตน์ ถาน้อย (บรรณาธิการ). การพยาบาลจิตเวชศาสตร์. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. Varcarolis, M.E.(2013). Essentials of psychiatric mental health nursing a communication approach to evidence-based care. Saunders, an imprint of Elsevier Inc. Varcarolis, Elizabeth M., and Halter, M.J. (2014). Foundation of Psychiatric Mental Health Nursing : A Clinical Approach. 7th edition. St. Louis: Elsevier. Shives, L. R. (2012). Basic Concepts of Psychiatric-Mental Health Nursing. (8th ed.). Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. O’Brien.,G.,P., Kennedy.,Z.,W & Ballard.,A., K. (2013). Psychiatric mental health