การบริหารจัดการในชั้นเรียน (Classroom Management)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การบริหารการพยาบาล เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการบริการพยาบาล
Advertisements

ความเสี่ยง ความเสี่ยง หมายถึง โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ที่ทำให้งานไม่ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
แนวทางการตรวจ ราชการ นพ. ธีรพล โตพันธานนท์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข
ด้าน สิ่งแวดล้อ มและ สุขภาพ EHA อสธ จ. ระบบอนามัย สิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา.
การบริหารโครงการ (Project Management) โครงการ คือ งาน (task) ซึ่งมีการ กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ที่ แน่นอนและมีความต้องการใช้ทรัพยากร ต่างๆใน แต่ละกิจกรรมโดย.
การลงใบความเสี่ยง (IR) ใน Hosxp โดยทีมความเสี่ยง โรงพยาบาลควนเนียง.
KM (Knowledge Management
ส่งเสริมให้คำที่ปรึกษาและบริการความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
KS Management Profile.
บทที่ 4 กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ
แนวทางการจัดทำรายงานการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน
บทที่ 2 กระบวนการและการวางแผนจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Planning ดร. อัญภัคร์ ประพันธ์เนติวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตร Fundamental หัวข้อวิชา องค์กรและระบบงานตรวจสอบภายใน สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง.
การวิจัยในชั้นเรียน Classroom action Research
TSA 240 ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการพิจารณาการทุจริต ในการตรวจสอบงบการเงิน The Auditor's Responsibilities Relating to Fraud in an Audit of Financial.
บทที่ 5 การจัดการแฟ้มข้อมูล
ทรัพยากรการท่องเที่ยว (TIM 1301)
หลักสิทธิมนุษยชนกับการดำเนินคดีที่เป็นธรรม
การจัดการองค์ความรู้
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
นโยบายการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพมุ่งสู่คุณภาพ
“วัฒนธรรมองค์กร” (Organization Culture)
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร
การส่งเสริมสุขจิต วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
INTRO MOBILE COMP ผู้สอน ชัชวิทย์ อาภรณ์เทวัญ
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548 เห็นชอบให้สำนักงาน กพร
ดุลยภาพของตลาด (Market Equilibrium)
ประสบการณ์การทำงาน ชื่อ – ชื่อสกุล นายมานะ ครุธาโรจน์
นพ.ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล 13 มกราคม 2557
บทสรุป การออกแบบฟอร์ม
หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการกลุ่มวัย
สรุปรายงานสถานการณ์วัณโรค จังหวัดปทุมธานี ปี
แนวทางการจัดทำรายงาน
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในสถานศึกษา
การควบคุมภายในตามระเบียบ คตง. ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. ๒๕๔๔
แนวทางการตรวจนิเทศงานสาธารณสุขผสมผสาน การประเมินผล การปฏิบัติราชการRanking นำสู่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐.
การจัดการระบบฐานข้อมูล
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา  IFM4302 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้  การเลือกใช้เครื่องมือ (Tools) ในการจัดการความรู้
ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามนโยบายตัวชี้วัดวัณโรค
แผนที่ยุทธศาสตร์ของศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูงปี
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
การจัดทำรายงานการควบคุมภายใน ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 ข้อ 6.
Time management.
แนวคิดการจัดทำแผนพัฒนา และงบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
โดยสำนักอนามัย สิ่งแวดล้อมกรมอนามัย
สรุปประเมินผลการดำเนินงาน สาธารณสุขจังหวัดสระบุรี รอบ 10 เดือน (ต. ค
โดย สมพิศ จันทรเมฆินทร์ นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล 7
การบูรณาการ สมรรถนะที่ ก.พ. กำหนด สมรรถนะ M.O.P.H.
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดที่ 4 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ” สำนักโภชนาการ.
การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
(ร่าง) ตัวบ่งชี้และ เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ระดับอุดมศึกษา
นโยบายเร่งด่วน ของ ผบ.ตร.
การบริหารจัดการในชั้นเรียน (Classroom Management)
รายงานความก้าวหน้า คณะทำงานธรรมาภิบาล (CGO) เขตสุขภาพที่ ธันวาคม 2561
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School- Based Management
การดำเนินงานทันตสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2561
โรงพยาบาลจันทรุเบกษา
ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะต่อการ พัฒนาตัวชี้วัด
วิธีและเทคนิคการฝึกอบรม
ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Performance Agreement: PA)
เศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy.
การดูแลสุขภาพบุคลากรในโรงพยาบาล :Update องค์ความรู้ (Violence)
หน่วยการเรียนที่ 5 เทคนิคและวิธีการในการพัฒนาตน
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แผนงาน ……………………………………… Key Activity กิจกรรมหลัก
สรุปผลการตรวจสอบ รายงานการจัดการพลังงาน ประจำปี 2554มี ความครบถ้วนและถูกต้องตามที่กฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ กำหนดทุกประการ.
ประสานโครงการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การบริหารจัดการในชั้นเรียน (Classroom Management)

ความหมาย ความสะอาด ความปลอดภัย ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น การบริหารจัดการในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ห้องเรียน เพื่อสนับสนุนให้ เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข การจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ ความสะอาด ความปลอดภัย ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น ความสะดวกในการทำกิจกรรม ความพร้อมของอาคารสถานที่ ความเพียงพอเหมาะสมในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวน สีของสื่อและเครื่องเล่น บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ต่างๆ

ความสำคัญ การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนและ เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้ นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด ดังนั้น การสร้างบรรยากาศ ในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนี้

เป้าหมาย การบริหารจัดการชั้นเรียนจะช่วยให้นักเรียนพัฒนาในการควบคุมตนเองเพื่อให้มีชีวิตและทำงาน ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการชั้นเรียน 1. การบริหารจัดการชั้นเรียน และการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน ไม่สามารถแยกจากหน้าที่การ สอนได้ เมื่อมีการวางแผนการสอน ก็หมายความว่า ครูกำลังวางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการ เรียนรู้ 2. เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการทำหน้าที่การจัดการเรียนการสอน รูปแบบการสอนหรือกลยุทธ์ที่ครูเลือกใช้แต่ละรูปแบบก็มีระบบการบริหารจัดการของมันเองและมีภารกิจเฉพาะของรูปแบบหรือกลยุทธ์นั้น ๆ ที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทั้งของครูและนักเรียน 3. การบริหารชั้นเรียนเป็นความท้าทายของการเป็นครูมืออาชีพ ความสามารถของครูในการแสดงภาวะผู้นำ ด้วยการที่สามารถจะบริหารการจัดชั้นเรียนทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการบรรยากาศในห้องเรียน การดูแลพฤติกรรมด้านวินัยให้เกิดการร่วมมือในการเรียนจนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร

องค์ประกอบของการบริหารจัดการชั้นเรียน 1. องค์ประกอบด้านกายภาพ หมายถึง สิ่งอำนวยความสะดวกภายในชั้นเรียนจัดให้มีไว้อย่างเพียงพอ พร้อม ใช้งานได้ตลอดเวลา ซึ่งประกอบด้วย โต๊ะ เก้าอี้ ทั้งของผู้เรียนและผู้สอน กระดานดำ บอร์ดสำหรับจัด นิทรรศการ 2. องค์ประกอบด้านสังคม หมายถึง การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนในรูปแบบต่างๆ ตามกิจกรรม ประกอบการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา ผู้สอนกับผู้เรียนได้ช่วยกันทำงาน ผู้เรียนทำงานกันเป็นกลุ่ม ผู้สอน สาธิตให้ผู้เรียนได้ศึกษาสังเกต 3. องค์ประกอบด้านการศึกษา หมายถึง การจัดลำดับเนื้อหาสาระ ความรู้ให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน พร้อมทั้งให้ผู้เรียนมีการวางแผนการเรียนร่วมกับผู้สอน และให้ผู้เรียนได้ตระหนักในคุณค่าของความรู้ ความสามารถที่ได้รับจากผู้สอน หรือการศึกษาค้นคว้าตามที่ได้รับมอบหมายให้เต็มตามอัตภาพ

หลักการบริหารจัดการชั้นเรียน 1.. ชั้นเรียนควรมีสีสันที่น่าดูสบายตา มีอากาศถ่ายเทได้ดี แสงสว่างเพียงพอ ไม่มีเสียงรบกวน อากาศไม่เป็นพิษ ไม่ ร้อนจนเกินไป มีต้นไม้ ดอกไม้ประดับ และมีขนาดกว้างขวางอย่างเพียงพอ 2. สะอาดถูกสุขลักษณะ เป็นระเบียบเรียบร้อย น่าอยู่มีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมคล้ายคลึงกับชีวิตในบ้าน ใน ครอบครัวของนักเรียน 3. นักเรียนเรียนรู้ในชั้นเรียนอย่างมีความสุข มีอิสระ เสรีภาพในเรื่องการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น 4. ชั้นเรียนที่ดีไม่จำกัดเฉพาะในห้องสี่เหลี่ยมที่กำหนดให้เท่านั้น แต่ยังมีชั้นเรียนแบบเปิด แบบธรรมชาติเป็นการศึกษา นอกชั้นเรียนที่นักเรียนมีความต้องการและสนใจเช่นเดียวกัน 5. ครูต้องระมัดระวังและควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกของตนให้ดี ไม่ก้าวร้าวแสดงอาการไม่พอใจให้เกิดขึ้นในชั้นเรียน

การจัดการชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ บรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียน 1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียน เพื่อให้ ประสบผลสำเร็จในการทำงาน 2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล 3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคล สำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง

4. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จใน การเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ 5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การ ควบคุม ไม่ให้มีอิสระ 6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบ ความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบ ความสำเร็จให้มากกว่า การพูดถึงความล้มเหลว

ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี 1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ 2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ 3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง 4.ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ 5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ 6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน

รูปแบบการจัดชั้นเรียน 1. ชั้นเรียนแบบธรรมดา ชั้นเรียนแบบธรรมดาเป็นชั้นเรียนที่มีครูเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้นำการเรียนรู้ โดยมีผู้เรียนเป็น ผู้รับความรู้จากครู การจัดชั้นเรียนแบบนี้จะมีโต๊ะครูอยู่หน้าชั้นเรียน และมีโต๊ะเรียนวางเรียงกันเป็นแถว โดยหันหน้า เข้าหาครู

2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรม เป็นชั้นเรียนที่เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิควิธีการแบบ สอนใหม่ๆ เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบโฟร์แมท แบบโครงงาน ซึ่งทำให้นักเรียนจะมีอิสระในการเรียน อาจเรียน เป็นกลุ่ม หรือเป็นรายบุคคล โดยมีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา การจัดชั้นเรียนจึงมีรูปแบบการจัดโต๊ะเก้าอี้ในลักษณะต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเรียงแถวหันหน้าเข้าหาครู เช่น จัดเป็นรูปตัวที ตัวยู วงกลม หรือจัดเป็นกลุ่ม

ประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียน 1. บรรยากาศทางจิตวิทยา เป็นลักษณะของบรรยากาศที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของ ผู้เรียนที่ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้เรียน 2. บรรยากาศทางกายภาพ เป็นลักษณะของบรรยากาศที่เกิดจากการจัดอาคารสถานที่ ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ และสภาพของผู้เรียน การจัดบรรยากาศทางกายภาพที่ตอบสนองผู้เรียนและการทำกิจกรรมต่าง ๆ จะส่งผลให้การเรียนรู้ดำเนินไปด้วยดี 3. บรรยากาศทางสังคม เป็นบรรยากาศของกลุ่มคนที่อยู่ ร่วมกันและทำกิจกรรมร่วมกัน การมีบรรยากาศทางสังคมที่เป็นมิตรต่อกัน จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นเป้าหมายประการหนึ่งของการจัดการศึกษา

ปัญหาในการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ 1. ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ 2. ขาดความร่วมมือของบุคลากรและผู้เรียน 3. ครูไม่มีเวลา ไม่มีความรู้ 4. ผู้บริหารไม่สนับสนุน

ผู้จัดทำ นางสาววารุณี เปรี่ยมงูเหลือม 5680108225 นางสาวจุฬารัตน์ คำเฮียง 5680108206 นางสาววารุณี เปรี่ยมงูเหลือม 5680108225 นางสาวอิสรีญาภัส เสกสันติวงศ์ 5680108237 นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คณะครุศาสตร์ โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ ปี 4 หมู่ 2 P.2

แหล่งอ้างอิง เจนจิรา จำปี. (มปป). การบริหารจัดการชั้นเรียน. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2559, จาก https://sites.google.com/site/darunsitpattanarangsan สุนิสา สิงห์โต. (มปป). การบริหารจัดการชั้นเรียน. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2559, จาก http://sunisa12345.blogspot.com/p/blog-page.html การบริหารจัดการชั้นเรียน. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2559, จาก https://strisaensaeb.wordpress.com