บทที่ 10 การวิเคราะห์งบการเงิน บทที่ 10 การวิเคราะห์งบการเงิน
การวิเคราะห์งบการเงิน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงบการเงิน กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์งบการเงิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน ข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงิน ประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน
2. กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์งบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงินถือว่า เป็นเครื่องมือในการเข้าไปรู้จักกับธุรกิจจึงมีผู้สนใจและใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์งบการเงินหลายกลุ่ม ได้แก่ 1. เจ้าหนี้ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ให้กิจการกู้เงินมาใช้ในการดำเนินธุรกิจจะวิเคราะห์งบการเงินของลูกหนี้เพื่อพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ ความสามารถในการหากำไรและลักษณะการได้มา และการใช้ไปของเงินทุนเพื่อวิเคราะห์ถึงความต้องการเงินทุนของลูกหนี้ แต่เจ้าหนี้จะให้ความสำคัญต่อการวิเคราะห์งบการเงินด้านความสามารถในการชำระหนี้ 2. ผู้ลงทุนทั่วไป หมายถึง ผู้ที่มีเงินออมและพร้อมที่จะลงทุนในธุรกิจจะวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรทั้งปัจจุบันและแนวโน้มของกำไรในอนาคต อัตราผลตอบแทน และความเสี่ยงจากการลงทุน 3. ผู้บริหาร มีหน้าที่และต้องรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกิจการจึงต้องการการวิเคราะห์อย่างละเอียดเพื่อพิจารณาถึงปัญหาและโอกาสของกิจการสำหรับการกำหนดแผนการดำเนินงานต่อไป การวิเคราะห์งบการเงินจึงเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญของผู้บริหารในการวางแผนควบคุมและตัดสินใจทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ 4. หน่วยงานรัฐบาล เพื่อได้ข้อมูลที่จะนำมาประกอบการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริโภค และประเทศโดยส่วนรวม 5. นักวิชาการ วิเคราะห์งบการเงินของกิจการเพื่อนำมาศึกษาและให้ข้อเสนอแนะตลอดจนจัดทำข้อมูลที่สำคัญ ๆ เพื่อการศึกษาและวิจัยซึ่งเป็นประโยชน์แก่การศึกษา วงการธุรกิจและการวิเคราะห์พอจะสรุปได้ดังนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือกลั่นกรองเบื้องต้นสำหรับการตัดสินใจโดยเฉพาะเรื่องการลงทุน เป็นเครื่องมือช่วยพยากรณ์ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานในอนาคตและการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นจากผลกระทบต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยปัญหาการบริหารงานฐานะการเงินและปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (Analytical Techniques Used) เครื่องที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินมี 4 ประเภทดังนี้ 1. การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio Analysis) 2. การวิเคราะห์งบการเงินโดยวิธีแนวดิ่ง (Vertical Analysis หรือ Common Size) 3. การวิเคราะห์งบการเงินโดยวิธีแนวโน้ม (Trend Analysis)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 3.1 การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio Analysis) อัตราส่วนทางการเงินเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินซึ่งเกิดจากการเปรียบเทียบโดยการนำรายการที่ปรากฏในงบการเงินสำหรับระยะเวลาหนึ่ง มาสัมพันธ์กันในรูปสัดส่วนหรืออัตราร้อยละ การนำอัตราส่วนมาแปลความและใช้ประโยชนโดยการเปรียบเทียบ มี 3 วิธี คือ 1. เปรียบเทียบกับอัตราส่วนมาตรฐาน 2. เปรียบเทียบกับกลุ่มบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน 3. เปรียบเทียบกับอัตราส่วนของบริษัทเดียวกัน เช่น เปรียบเทียบข้อมูลในปัจจุบันกับอดีต เป็นต้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 1. เปรียบเทียบอัตราส่วนมาตรฐานเป็นอัตราส่วนที่จัดทำขึ้นจากข้อมูลอุตสาหกรรมประเภทนั้นเป็นส่วนรวมตัวเลขที่ได้จากอัตราส่วนมาตรฐานจะเป็นเครื่องชี้ถึงสิ่งที่ธุรกิจแต่ละแห่งต้องการวัดว่าดีกว่าหรือด้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกิจการประเภทเดียวกันภายในอุตสาหกรรมนั้น ๆ (อัตราส่วนของธุรกิจที่ต่ำกว่ามาตรฐานถือว่าไม่ดี อัตราส่วนของธุรกิจที่สูงกว่ามาตรฐานถือว่าดี) การเปรียบเทียบเช่นนี้เป็นการเปรียบเทียบอย่างหยาบ ๆ การเปรียบเทียบเช่นนี้เราถือตัวเลขปรากฏในอัตราส่วนมาตรฐานเป็นจุดตัดสินใจ (Cut off point) 2. เปรียบเทียบกับบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน การเปรียบเทียบกับบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันนั้นบริษัทจะนำมาเปรียบเทียบกันนั้นจะต้องเป็นบริษัทที่มีขนาดเดียวกันหรือใกล้เคียงกันและต้องเป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันด้วยจึงจะชี้หรือวิเคราะห์ลงไปได้ว่าบริษัทของเราดีหรือไม่ดีอย่างไร 3. เปรียบเทียบกับอัตราส่วนของบริษัทเดียวกัน ในอดีตจะทำให้ทราบถึงแนวโน้มในอดีตหรือปัจจุบันว่ามีการบริหารงานดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไรและทำให้สามารถวิเคราะห์ถึงอนาคตได้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) อัตราส่วนทางการเงินแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. Liquidity Ratios เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นหรือวัดสภาพคล่องของกิจการประกอบด้วย 1.1 Current Ratio เป็นอัตราส่วนใช้วัดสภาพคล่องของกิจการ สูตร Current Raito = สินทรัพย์หมุนเวียน = ..............เท่า หนี้สินหมุนเวียน ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า ณ วันที่วิเคราะห์งบการเงินกิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นกี่เท่าของหนี้สินหมุนเวียนนั่นคือเมื่อกิจการจ่ายชำระหนี้ระยะสั้นแล้วยังมีสินทรัพย์หมุนเวียนเหลืออยู่หรือไม่ 1.2 Quick Ratio เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดสภาพคล่องของกิจการแสดงความสามารถที่กิจการจะนำสินทรัพย์หมุนเวียนที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว ได้แก่ เงินสด/ลูกหนี้การค้าและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดมาจ่ายชำระหนี้ระยะสั้นได้ทันเวลา สูตร Quick Ratio หรือ Acid – Test Ratio = เงินสด + หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด + ลูกหนี้การค้า = …………เท่า ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า ณ วันที่วิเคราะห์งบการเงิน กิจการมีสินทรัพย์ทีเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดได้เร็วเป็นกี่เท่าของหนี้สินหมุนเวียน สินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว ได้แก่ เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดและลูกหนี้การค้า
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 2. Activity Ratios เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ของกิจการ อัตราส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบระหว่างยอดขายกับการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ของกิจการ กล่าวคือ เราลงทุนในสินทรัพย์แล้วทำให้ยอดขาย (รายได้) เพิ่มหรือไม่ เช่น การลงทุนในลูกหนี้ การลงทุนในสินค้าคงเหลือ หรือสินทรัพย์ถาวร เป็นต้น อัตราส่วนนี้ประกอบด้วย 2.1 อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover) = ต้นทุนขายหรือยอดขาย = …………ครั้ง สินค้าคงเหลือเฉลี่ย จะเห็นได้ว่าการหาอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลืออาจจะคำนวณจากต้นทุนขาย แต่ต้องคำนึงถึงสินค้าคงเหลือด้วย ทั้งนี้จะใช้สินค้าคงเหลือถัวเฉลี่ย เนื่องจากว่าราคาสินค้าตลอดปีที่กิจการมีมา จะไม่ใช่ราคาเดียวกันตลอด อาจจะมีราคาขึ้น ๆ ลงๆ ตามภาวะเศรษฐกิจ และการใช้สินค้าคงเหลือถัวเฉลี่ยดีกว่าใช้สินค้าคงเหลือเพียงจุดเดียวเท่านั้น สินค้าคงเหลือถัวเฉลี่ย = (สินค้าคงเหลือต้นงวด + สินค้าคงเหลือปลายงวด) / 2 ผลลัพธ์จากการคำนวณอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือบอกให้ทราบว่าในงวดของการวิเคราะห์กิจการสามารถนำสินค้าคงเหลือขายไปได้กี่ครั้ง (จำนวนสินค้าที่ขายออกไปจะต้องซื้อสินค้าจำนวนที่เท่ากันเข้ามา) ถ้า Inventory Turnover มีจำนวนมากครั้ง แสดงถึง ประสิทธิภาพด้านการขายอยู่ในเกณฑ์ดี หรือสินค้านั้นอยู่ในความต้องการของตลาด ถ้าสินค้าคงเหลือหมุนได้น้อยครั้ง แสดงว่า ประสิทธิภาพด้านการตลาดยังต้องปรับปรุงหรือสินค้าไม่อยู่ในความต้องการของตลาด หรือธุรกิจเก็บสินค้าไว้นานจนเกินไป ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บสินค้าเพื่อขายแต่ละครั้ง (อายุของสินค้า) สามารถคำนวณได้ดังนี้ อายุสินค้า = จำนวนวันใน 1 ปี =……………….วัน อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า การวิเคราะห์เงินทุนที่ได้ลงทุนในสินค้านั้นกว่าจะเปลี่ยนสภาพเป็นลูกหนี้หรือเงินสดใช้เวลานานกี่วัน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 2.2 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover) = ยอดขายเชื่อ (ขายสุทธิ) = ………………… ครั้ง ลูกหนี้เฉลี่ย จากสูตรจะใช้ยอดขายเชื่อหรือยอดขายสุทธิก็ได้ แต่ที่ถูกต้องควรใช้ยอดขายเชื่อ เพราะตัวหารคือลูกหนี้เกิดจากยอดขายเชื่อ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผู้วิเคราะห์จะหามาได้ สำหรับลูกหนี้จะใช้ลูกหนี้เฉลี่ยมากกว่าจะใช้ลูกหนี้ปลายงวดเพียงจุดเดียวเพราะว่าลูกหนี้เกิดขึ้นตลอดงวดระยะเวลาบัญชี และบางช่วงอาจจะเกิดมากหรือน้อยก็ได้ การเฉลี่ยของลูกหนี้จัดเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า ช่วงเวลาที่ทำการวิเคราะห์ ธุรกิจได้ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อและสามารถเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้กี่ครั้งในรอบระยะเวลาบัญชี ถ้าอัตราส่วนการหมุนเวียนของลูกหนี้สูงยิ่งดี แสดงว่า ในช่วงเวลาที่วิเคราะห์ธุรกิจมีการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้เร็ว นั่นคือ ลูกหนี้ของกิจการมีความคล่องตัวสูง ถ้าอัตราส่วนการหมุนเวียนของลูกหนี้น้อย ไม่ดี แสดงว่า ช่วงเวลาที่วิเคราะห์นั้น ธุรกิจมีการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ช้า ระยะเวลาในการเรียกเก็บเงินถัวเฉลี่ย (Average collection Period) = จำนวนวันใน 1 ปี = ………………. วัน อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า ในงวดเวลาการวิเคราะห์นั้น กิจการสามารถเก็บเงินจากลูกหนี้หรือใช้เวลาในการเก็บหนี้ได้กี่วัน จำนวนวันที่ใช้ในการเก็บเงินจากลูกหนี้ยิ่งน้อยวันยิ่งดี
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 2.3 อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover) = ยอดขาย = …………..เท่า สินทรัพย์ถาวรเฉลี่ย ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า ความสามารถของกิจการในการใช้สินทรัพย์ถาวร มีประสิทธิภาพเพียงใดหรือธุรกิจใช้สินทรัพย์ถาวรไป 1 บาท จะก่อให้เกิดยอดขายเท่าใด ถ้าอัตราส่วนที่ได้มีค่ามาก แสดงว่า ธุรกิจมีการใช้สินทรัพย์ถาวรอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าอัตราส่วนที่ได้มีค่าน้อย แสดงว่า ธุรกิจใช้สินทรัพย์ถาวรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และ ถ้าธุรกิจมีการซื้อสินทรัพย์เพิ่มมากขึ้น และอัตราส่วนที่ได้น้อยลง ย่อมแสดงให้เห็นว่าธุรกิจนั้นมีสินทรัพย์ถาวรเกินความจำเป็น ธุรกิจนั้นจะต้องพยายามหาวิธีที่จะใช้สินทรัพย์ถาวรมากขึ้น หรืออาจจะขายสินทรัพย์ถาวรที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ออกไป ในกรณีที่ไม่สามารถคำนวณหาสินทรัพย์ถาวรในราคาทุนที่ซื้อมาได้ ให้ใช้ราคาตามมูลค่าบัญชีของสินทรัพย์ถาวรนั้น ๆ (ราคาตามมูลค่าบัญชี = ราคาทุน - ค่าเสื่อมราคาสะสม) หรือสินทรัพย์ถาวรสุทธิ 2.4 อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ (Total Asset Turnover) = ยอดขาย สินทรัพย์รวมเฉลี่ย ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า ความสามารถของกิจการในการใช้สินทรัพย์ทั้งสิ้นอย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด หรืออาจกล่าวได้ว่า ธุรกิจมีการใช้สินทรัพย์ไปและจะก่อให้เกิดยอดขายเท่าใด
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 3. Leverage Ratios เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการก่อหนี้ของกิจการ ประกอบด้วย 3.1 อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวม = หนี้สินรวม X 100 = ………………...% สินทรัพย์รวม ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า กิจการมีการกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้มาลงทุน เป็นอัตราร้อยละเท่าไรของสินทรัพย์รวม ฝ่ายเจ้าหนี้ พอใจในอัตราที่ปานกลางจนถึงต่ำ แสดงว่า กิจการมีสินทรัพย์รวมมากกว่าหนี้สินรวม เจ้าหนี้ของธุรกิจย่อมมีความเสี่ยงน้อย คือ ถ้าธุรกิจต้องเลิกกิจการ เจ้าหนี้มีโอกาสที่จะได้เงินคืน ที่ใกล้เคียงกับเงินต้นที่ให้กู้หรืออาจจะเท่ากันก็ได้ แม้ว่าสินทรัพย์ที่ถูกนำมาขายทอดตลาดโดยปกติแล้วจะต่ำกว่าทุนก็ตาม ฝ่ายเจ้าของกิจการ จะพอใจในอัตราส่วนที่สูง เนื่องจาก 1. เจ้าของกิจการหลีกเลี่ยงการเพิ่มทุนของกิจการ ซึ่งการเพิ่มทุนอาจทำให้ต้องเพิ่มเจ้าของกิจการ เป็นการเสียสิทธิ์ในการบริหารบริษัท อาจจะทำให้เจ้าของกิจการมีหุ้นที่ต้องลงเพิ่ม เทียบกับก่อนการเพิ่มทุน 2. เป็นการนำเงินของเจ้าหนี้มาและให้ผลตอบแทนที่ต่ำ ส่วนเกินจากอัตราที่ลงทุน หักด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ คือ กำไรของเจ้าของกิจการ 3. เป็นการลดความเสี่ยงในเงินลงทุนของเจ้าของกิจการ เนื่องจากว่าถ้ากิจการต้องยกเลิกผู้ที่เสียหายก็คือ เจ้าหนี้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 3.2 อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินรวม X 100 ส่วนของผู้ถือหุ้น ผลลัพธ์ที่ได้บอกให้ทราบว่า ธุรกิจมีแหล่งที่มาของเงินทุนจากหนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นเท่าไร 3.3 Time Interest Earned อัตรากำไรจากการดำเนินงานต่อดอกเบี้ยจ่าย = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ = …………….. เท่า ดอกเบี้ยจ่าย ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า กิจการมีผลกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีเงินได้เป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย แสดงถึงความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายตามข้อผูกพันประจำงวด และแสดงให้เห็นว่ากิจการจะต้องทำกำไรเท่าใด จึ่งจะไม่เดือดร้อนในการจ่ายค่าใช้จ่ายตามข้อผูกพัน มีผลกระทบต่อนโยบายของการจ่ายเงินปันผล และนโยบายอื่น ๆ ของบริษัท 3.4 Fixed charge Coverage Ratio อัตราส่วนในการวัดความสามารถในการจ่ายค่าใช้จ่ายของกิจการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายประจำ คือดอกเบี้ยจ่ายและเงินต้น ที่กิจการจะต้องจ่ายเมื่อถึงกำหนด = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ = ……………… เท่า ดอกเบี้ย + เงินต้นที่ต้องจ่ายคืน (1 – อัตราภาษีเงินได้) ผลลัพธ์ที่ได้ถ้ามีจำนวนเท่าสูงจะทำให้เจ้าหนี้ระยะยาวมีความปลอดภัยในการรับชำระเงินต้นและดอกเบี้ย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 4. Profitability Ratio เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ อาจแบ่งเป็น 2 ประเภท กำไรที่เปรียบเทียบกับยอดขาย ได้แก่ 4.1 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin) เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการบริหารแลการจัดการต้นทุนขาย อัตรากำไรขั้นต้น = ยอดขาย - ต้นทุนขาย X 100 = ……………% ยอดขาย ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า กิจการมีกำไรขั้นต้นเป็นกี่ เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานขายแล้วก่อให้เกิดผลกำไรขั้นต้นเป็นอย่างไร 4.2 อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit margin on Sales) ใช้วัดความสามารถในการบริหารงานขายเพื่อก่อให้เกิดผลกำไรสุทธิเป็นอย่างไร อัตรากำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ X 100 = …………….% ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า กิจการมีกำไรสุทธิเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) กำไรที่เปรียบเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์และส่วนของผู้ถือหุ้น ได้แก่ 4.3 อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (Return on total Asset) แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์รวมที่กิจการมีอยู่ว่าก่อให้เกิดผลตอบแทนในรูปกำไรให้กับธุรกิจมากหรือน้อยอย่างไร บางครั้งเรียกอัตราส่วนนี้ว่า อัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม = กำไรสุทธิ X 100 = ……………% สินทรัพย์รวม ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า กิจการมีกำไรสุทธิเป็นร้อยละเท่าใดของ สินทรัพย์รวม 4.4 อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Net Equity) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้ผู้ถือหุ้นทราบว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการที่เป็นผู้ถือหุ้นในธุรกิจมากน้อยเพียงใด อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = กำไรสุทธิ X 100 = …………..% ส่วนของผู้ถือหุ้น ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า กิจการมีกำไรสุทธิเป็นร้อยละเท่าใดของส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นการวัดว่าผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนเท่าใดในการลงทุน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) การวิเคราะห์ทางการเงินสำหรับผู้ลงทุนในหุ้นสามัญ 1. อัตรากำไรต่อหุ้น (Earning per share) = กำไรสุทธิ - เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิ = …………..บาท/หุ้นสามัญ จำนวนหุ้นสามัญ ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า ในการลงทุนหุ้นสามัญ 1 หุ้น ผู้ถือหุ้นจะได้กำไรกี่บาท ถ้านำกำไรต่อหุ้นของบริษัทมาเปรียบเทียบกับกำไรต่อหุ้นของบริษัทในอดีตก็สามารถที่จะบอกถึงแนวโน้มการหากำไรสุทธิของบริษัทได้ว่า มีความสามารถหากำไรดีขึ้นหรือเลวลง หรืออาจจะนำกำไรต่อหุ้นของบริษัทมาเปรียบเทียบกับธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกันที่มีขนาดเท่ากันก็สามารถบอกได้ว่า ธุรกิจใดมีความสามารถในการหากำไรดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร ข้อสังเกต การคำนวณหากำไรต่อหุ้น (Earning per share) คือ 1. จำนวนเหตุที่กำไรสุทธิหักด้วยเงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิ์ เนื่องจากว่าต้องการหากำไรต่อหุ้นสามัญ ดังนั้นกำไรสุทธตัวนี้จึงควรจะเป็นกำไรสุทธิของหุ้นสามัญโดยเฉพาะ 2. จำนวนหุ้นสามัญที่เป็นตัวหารนั้นควรเป็นจำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายโดยเฉพาะไม่ใช่หุ้นสามัญที่จดทะเบียน เนื่องจากสนใจว่าหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายต่อหุ้นควรจะได้กำไรเท่าใด 3. หุ้นสามัญที่ออกจำหน่าย ถ้าในระหว่างปีมีการจำหน่ายหุ้นสามัญของบริษัทหลายครั้งจำนวนหุ้นสามัญที่เป็นตัวหารควรจะเป็นจำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยด้วย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 2. Price – earning ratio ( P/E ratio) = ราคาตลาดต่อหุ้นของหุ้นสามัญ กำไรต่อหุ้น ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า ในงวดของการวิเคราะห์จะชี้ให้เห็นถึงการดำเนินงานของธุรกิจว่าเหมาะสมที่จะลงทุนหรือไม่ ถ้า P/E ลดลง แสดงถึง กำไรต่อหุ้นของบริษัทลดลง ก็จะมีผลทำให้ราคาตลาดต่อหุ้นของหุ้นสามัญลดลงด้วย ถ้า P/E เพิ่มขึ้น หมายถึง กำไรต่อหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้น ก็จะมีผลทำให้ราคาตลาดต่อหุ้นของหุ้นสามัญเพิ่มขึ้นด้วย 3. อัตราส่วนเงินปันผลต่อกำไรสุทธิ (Dividend Payout ratio) = เงินปันผล = …………% กำไรสุทธิ ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า ธุรกิจมีนโยบายจ่ายเงินปันผลกี่เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ และเก็บเป็นกำไรสะสมจำนวนเท่าใด ตัวอย่าง บริษัท แข่งขัน จำกัด เงินปันผลต่อหุ้น = 30 บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 50 บาท อัตราส่วนเงินปันผลต่อกำไรสุทธิ (Payout ratio) = เงินปันผลต่อหุ้น กำไรสุทธิต่อหุ้น = 30 /50 = 60% ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า ธุรกิจจะจ่ายเงินปันผลเท่ากับ 60% ของกำไร และธุรกิจจะมีนโยบายต้องการเก็บกำไรไว้ในการลงทุนในอนาคตเท่ากับ 40%
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 4. อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend yield) = เงินปันผลต่อหุ้น = …………..% ราคาตลาดต่อหุ้น อัตราส่วนนี้แสดงถึงผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับเมื่อลงทุนซื้อหุ้นสามัญ ณ ราคาตลาดขณะนั้น ซึ่งผลตอบแทนจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับการคาดการณ์อัตราความเจริญเติบโตของธุรกิจในอนาคต ข้อสังเกต บริษัทที่ประสบผลสำเร็จอย่างมั่นคง อาจจะมีอัตราการจ่ายเงินปันผลต่ำก็ได้เนื่องจากบริษัทประสงค์จะเก็บกำไรไว้เพื่อขยายการลงทุนของกิจการมากขึ้น ซึ่งผลที่ตามมาก็คือจะทำให้ธุรกิจมีราคาตลาดต่อหุ้นสามัญสูงขึ้น นั่นคือ ผลทำให้ธุรกิจมีความมั่นคั่งสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ลงทุนด้วยว่าต้องการอะไร
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 3.2 การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้งบการเงิน แบบ Common Size หรือ Vertical Analysis เป็นการปรับงบดุลและงบกำไรขาดทุนให้มีฐานเดียวกัน กล่าวคือ ให้เป็นฐานร้อยละ เพื่อสามารถเปรียบเทียบในปีที่ผ่านมาหรือเปรียบเทียบกับงบการเงินของบริษัทอื่นโดยงบดุลจะใช้กับสินทรัพย์รวมเป็นฐาน 100% เทียบกับหัวข้ออื่น ๆ ในงบดุล เพื่อพิจารณาสัดส่วนการลงทุนและการหาเงินทุนของบริษัท และงบกำไรขาดทุนจะใช้ยอดขายเป็นฐาน 100% เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อพิจารณาการกระจายของค่าใช้จ่ายสามารถแสดงดังนี้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) งบดุลแบบ Common Size ปี 44( % ) ปี 45(%) ปี 44 (%) ปี 45( %) สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น เงินสด 5 10 เจ้าหนี้การค้า 20 30 ลูกหนี้ 30 50 ภาษีค้างจ่าย 5 15 สินค้าคงคลัง 10 0 รวมหนี้สินหมุนเวียน 25 35 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 45 60 หนี้ระยะยาว 20 20 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 55 40 รวมหนี้สิน 45 55 ส่วนของผู้ถือหุ้น 55 45 รวมสินทรัพย์ 100 100 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 100 100
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) งบกำไรขาดทุนแบบ Common Size ปี 44 (%) ปี 45(%) ขายสุทธิ 100 100 หัก ต้นทุนขาย 60 70 กำไรขั้นต้น 40 30 หัก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 20 15 กำไรจากการดำเนินงาน 20 15 หัก ดอกเบี้ยจ่าย 5 5 กำไรก่อนหักภาษี 15 10 หัก ภาษี 5 4 กำไรสุทธิ 10 6
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 3.3 การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis) การวิเคราะห์แนวโน้ม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ของการเปลี่ยนแปลง (Trend Analysis or Percentage change Analysis or Horizontal Analysis) เป็นการเปรียบเทียบตัวเลขในงบการเงินเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงในงบการเงิน แยกเป็น ร้อยละที่เปลี่ยนแปลง = ข้อมูลปีปัจจุบัน – ข้อมูลปีฐาน x 100 ข้อมูลของปีฐาน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 3.3.1แบบ Moving Base Analysis เป็นการดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละปีโดยเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ตัวอย่างที่ 3.1 หน่วย : ล้านบาท รายการ ปี การเปลี่ยนแปลง 2543 2544 2545 ปี 44-43 % ปี 45-44 ยอดขาย 100 105 115 5 10 ต้นทุนขาย 50 55 65 18 กำไรขั้นต้น ค่าใช้จ่ายในการขาย 30 35 17 กำไรจากการดำเนินงาน 20 15 -5 -25 ดอกเบี้ยจ่าย 7 2 40 -2 -29 กำไรก่อนหักภาษี 8 -7 -47 25 ภาษี 4.5 2.4 3 -2.1 0.6 กำไรสุทธิ 10.5 5.6 -4.9 1.4
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 3.3.2 แบบ Fixed Base Analysis เป็นการดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละปีโดยการเปรียบเทียบกับปีฐาน ตัวอย่างที่ 3.2 หน่วย : ล้านบาท รายการ ปี การเปลี่ยนแปลง (%) 2543 2544 2545 ยอดขาย 100.0 105.0 115.0 ต้นทุนขาย 50.0 55.0 65.0 110.0 130.0 กำไรขั้นต้น ค่าใช้จ่ายในการขาย 30.0 35.0 116.7 กำไรจากการดำเนินงาน 20.0 15.0 75.0 ดอกเบี้ยจ่าย 5.0 7.0 140.0 กำไรก่อนหักภาษี 8.0 10.0 53.3 66.7 ภาษี 4.5 2.4 3.0 กำไรสุทธิ 10.5 5.6
5. ข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงิน 1. การได้มาซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการเปรียบเทียบเนื่องจากบางบริษัทขายสินค้าบริการที่หลายประเภททำให้การวิเคราะห์ลำบาก 2. การบิดเบือนของข้อมูล เช่น เงินเฟ้อ หรือ ฤดูกาล ทำให้ราคาของสินค้าบริการเปลี่ยนแปลงไป 3. การเลือกนโยบายบัญชี เช่น การเลือกจำนวนปีในการตัดค่าเสื่อมสินทรัพย์ถาวรต่างกัน ย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายทีต่างกันซึ่งจะมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิที่ต่างกันด้วย 4. การตกแต่งบัญชี (Window Dressing)
6. ประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน 1. ประโยชน์ต่อผู้บริหาร ในแง่ใช้ศึกษาทบทวน และประเมินผลงานที่ผ่านมาเพื่อปรับปรุงองค์กร 2. ประโยชน์ต่อเจ้าหนี้ในแง่ติดตามความสามารถในการจ่ายชำระหนี้รวมทั้งพิจารณาการปล่อยสินเชื่อ 3. ประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นเพื่อดูความสามารถในการทำกำไรของบริษัท และประเมินความสามารถของผู้บริหาร
จบแล้วจ้า