ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) สกินเนอร์ ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
ความคิดของ สกินเนอร์ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของ Pavlov นั้นจำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่า
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำนั้น พฤติกรรมการตอบสนองจะขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement) สิ่งเร้าที่สามารถทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลง เราเรียกว่าตัวเสริมแรง (Rein forcer) สิ่งเร้าใดที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองเราเรียกว่าไม่ใช่ตัวเสริมแรง (Non rein forcer)
ประเภทของตัวเสริมแรง 1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร 2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้การตอบสนองเพิ่มขึ้นในทางลบ เป็นตัวเสริมแรงทางลบ เช่น เสียงดัง อากาศร้อน คำตำหนิ กลิ่น
ตารางเปรียบเทียบการเสริมแรงและการลงโทษ ตารางเปรียบเทียบการเสริมแรงและการลงโทษ ชนิด ผล ตัวอย่าง การเสริมแรงทางบวก พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งเร้าที่บุคคลนั้นต้องการ ผู้เรียนที่ทำการบ้านส่งตรงเวลาแล้วได้รับคำชม จะทำการบ้านส่งตรงเวลาสม่ำเสมอ การเสริมแรงทางลบ พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อสิ่งเร้าที่ไม่เป็นที่พึงปรารถนาถูกทำให้ลดน้อยหรือหมดไป ผู้เรียนที่ทำรายงานส่งตามกำหนด เวลาจะไม่เกิดความวิตกอีกต่อไป ดังนั้นในครั้งต่อไปเขาก็จะรีบทำ รายงานให้เสร็จตรงตามเวลา การลงโทษ 1 พฤติกรรมลดลงเมื่อมีสิ่งเร้าโดยเฉพาะสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้น เมื่อถูกเพื่อน ๆ ว่า "โง่" เพราะตั้ง คำถามถามผู้สอน ผู้เรียนคนนั้น เลิกตั้งคำถามในชั้นเรียน การลงโทษ 2 พฤติกรรมลดน้อยลง เมื่อนำสิ่งเร้าที่เขาพึงปรารถนาออกไป ผู้เรียนที่ถูกหักคะแนนเพราะตอบ ข้อสอบในลักษณะที่แตกต่างจาก ครูสอน ในครั้งต่อไปเขาจะไม่ ตอบคำถามในลักษณะนั้นอีก
สกินเนอร์ (B.F. Skinner) เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก และเชื่อในทฤษฎีการวางเงื่อนไข โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง การให้การเสริมแรง ทฤษฎีนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่มนุษย์ตอบสนองต่อสิ่งเร้า และพฤติกรรมการตอบสนองจะเข้มข้นขึ้นหากได้รับการเสริมแรงที่เหมาะสม
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ สามารถสรุปได้ดังนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรงแนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลง และหายไปในที่สุด 2. การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้เกิดการตอบสนองกว่า การเสริมแรงที่ตายตัว 3. การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว 4. การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อมีการแสดงพฤติกรรมที่ต้องการ สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังวินัยที่ต้องการได้
สรุปแนวคิดที่สำคัญของ สกินเนอร์ Skinner “สกินเนอร์” ได้กล่าวไว้ว่า “ การเสริมแรงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้บุคลแสดงพฤติกรรมซ้ำ และพฤติกรรมของบุคคลส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมแบบเรียนรู้ปฏิบัติและพยายามเน้นว่า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆของบุคคล สิ่งเร้านั้นจะต้องมีสิ่งเสริมแรงอยู่ในตัว หากลดสิ่งเสริมแรงลงเมื่อใด การตอบสนองจะลดลงเมื่อนั้น ’’
นางสาว อรุณวรรณ บุญเกษม รหัสนักศึกษา 6006011018 สาขา การประถมศึกษา จัดทำโดย นางสาว อรุณวรรณ บุญเกษม รหัสนักศึกษา 6006011018 สาขา การประถมศึกษา