บทที่ 8 เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
System Requirement Collection (2)
Advertisements

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
การจัดทำแผนปฏิทินการจัดการความรู้ และแผนในการติดตามประเมินผลการจัดการความรู้ E:\ประกันคุณภาพ\ppt\ดูงาน\12-PPT_เสนอ_ครุศาสตร์_จุฬา_19_11_50.ppt.
การเขียนโครงร่างวิจัย
จัดทำโดย น. ส. ดวงกมล งามอยู่เจริญ เลขที่ 8 น. ส. ณัชชา เชื้อตา เลขที่ 6 เตรียมบริหารธุรกิจปี 1.
แบบสอบถาม (Questionnaire)
แนวทางการสอน เพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบการสอน
ความรู้พื้นฐานทางสถิติ
เทคนิคการตรวจสอบภายใน
การวัด Measurement.
วิธีการและเทคนิค การตรวจสอบ และการรายงาน ผลการตรวจสอบ ( Auditing )
LOGO การคำนวณต้นทุนผลผลิต ของปีงบประมาณ 2553 โดย นายธีรชาติ พันธุ์หอม หัวหน้าฝ่ายแผนงานและ งบประมาณด้านก่อสร้าง คณะทำงานต้นทุนผลผลิตสำนัก ชลประทานที่ 11.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
บทที่ 3 ประเภทของบทและรูปแบบของรายการวิทยุโทรทัศน์
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
นาย สรวิศ เตธัญญวรากูล ปวช.3/2 นาย ศิวกร มาลี ปวช.3/2.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ความพึงพอใจต่อการบริหาร จัดการโครงการเรียนรู้จาก ประสบการณ์จริงด้วยวิธีการ เรียนรู้แบบศึกษาดูงาน บริหารธุรกิจสาขาการจัดการ / การตลาด ภาคเรียนที่ 2/2556.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
อาจารย์จุฑามาศ พรหมทอง สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
วัตถุประสงค์การวิจัย
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
การรายงานความคืบหน้าหรือสถานะ
การจัดการข้อมูล ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
แผนการขายลูกค้า SMEs พื้นที่ บน.3.1 ขบน ก.พ
ขั้นตอนการออกแบบ ผังงาน (Flow Chart)
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2561
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
เปิดบ้าน ชื่อโรงเรียน วันที่.
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
การขอโครงการวิจัย.
SMS News Distribute Service
มาฝึกสมองกันครับ.
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
สัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลหลายท่านซึ่งไม่สามารถกล่าวไว้ในที่นี้ได้ทั้งหมดทุกท่าน ซึ่งท่านแรก ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ.
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
การอนุรักษ์และสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัย นางสาวนนทกานต์ ลีอุดมวงษ์ .
Supply Chain Management
ชัยพฤกษ์รัตนาธิเบศร์ - วงแหวน
เล่าเรื่องอย่างผู้นำ Coaching by story
งานสังคมครั้งที 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน โดย น.ส.อธิชา ฤทธิ์เจริญ ม.4 MEP-A เลขที่ 21.
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
Lean Management การลดขั้นตอนการนัดตรวจสุขภาพจิตของ นร.กพ
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
กิจกรรมที่ 12 รวบรวมข้อมูลอย่างไรกันดี
การพัฒนาการทำแผล หอผู้ป่วยพิเศษร่มเย็น 4
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 8 เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล บทที่ 8 เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่ง ขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการวิจัย

ขั้นตอนของกระบวนการวิจัย การรายงานผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมาย การดำเนินการกับข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การออกแบบการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยและการตั้งสมมติฐานการวิจัย การทบทวนเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การค้นหาปัญหาและกำหนดหัวข้อในการทำวิจัย

งานที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมเอกสาร และบันทึก งานวิจัย อย่างเป็นระบบมีระเบียบแบบแผน งานที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมเอกสาร และบันทึก ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือในการเก็บต้องมีคุณภาพ สามารถตอบปัญหาของการวิจัยได้

เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสัมภาษณ์ (Interview) แบบตรวจรายการ (Checklist) แบบทดสอบ(Test)

แบบสอบถาม... ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญและนิยม แบบสอบถาม... ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญและนิยม ในการวิจัยเชิงสำรวจ

ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือข้อมูลที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวม (Collection) ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ตรงประเด็นกับเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ เพราะข้อมูลที่มีอยู่เดิมอาจมีรายละเอียดไม่ตรงกับข้อมูลที่ต้องนำมาวิเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับ พฤติกรรม ทัศนคติของบุคคล ความคิดเห็น 2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือข้อมูลที่ผู้อื่นได้ทำการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลไว้แล้ว และผู้วิจัย ไปทำการรวบรวม (Compilation) ข้อมูลเหล่านั้น เพื่อมาทำการวิเคราะห์ในประเด็นที่ต้องการศึกษา เช่น ข้อมูลอัตราการว่างงานของบัณฑิต นักวิจัยต้องไปขอข้อมูลย้อนหลังจากทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อวิเคราะห์อนุกรมเวลา (Time Series) แล้วนำมาคาดประมาณถึงแนวโน้มการว่างงานในอนาคต

ข้อดี ของข้อมูลปฐมภูมิ 1. ผู้วิจัยสามารถเก็บรายละเอียดของเนื้อหาข้อมูลได้ครบตาม วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2. สามารถเลือกประชากรเป้าหมาย เลือกวิธีการเก็บข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 3. ทราบข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการเก็บข้อมูล ทำให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องนั้นในการวิเคราะห์และอภิปรายผล

ข้อเสีย ของข้อมูลปฐมภูมิ 1. ผู้วิจัยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2. สิ้นเปลืองเวลาในการเก็บข้อมูล ดำเนินการกับข้อมูล และ ประมวลผลข้อมูล 3. ถ้าผู้วิจัยขาดความละเอียดรอบคอบในขั้นตอนการเก็บข้อมูล ดำเนินการกับข้อมูล และประมวลผลข้อมูล จะทำให้คุณภาพ ของข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ

ข้อดี ของข้อมูลทุติยภูมิ 1. ผู้วิจัยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียเวลาในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ดำเนินการกับข้อมูล และประมวลผลข้อมูล 2. นอกจากนี้ในการศึกษาแนวโน้มของปรากฏการณ์ใด ๆ จำเป็น ต้องอาศัยข้อมูลย้อนหลังในอดีตซึ่งหาได้จากข้อมูลทุติยภูมิ

ข้อเสีย ของข้อมูลทุติยภูมิ 1. ข้อมูลทุติยภูมิส่วนใหญ่จะไม่ทันสมัย เพราะต้องใช้เวลาในการ เก็บรวบรวมและพิมพ์เผยแพร่ 2. นอกจากนี้รายละเอียดของเนื้อหาข้อมูล อาจจะไม่ตรงกับที่เรา ต้องการศึกษา ทั้งยังไม่ทราบว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นมีกระบวนการ เก็บข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

แหล่งที่มาของข้อมูล 2.แหล่งที่มาของข้อมูลทุติยภูมิ 1. แหล่งที่มาของข้อมูลปฐมภูมิ ( rimary data) ได้แก่ บุคคล หรือวัตถุสิ่งของซึ่งไปทำการเก็บข้อมูลมาใหม่ โดยการสัมภาษณ์ สังเกต หรือทดลอง เพื่อให้ได้ข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์หาคำตอบของการวิจัยต่อไป 2.แหล่งที่มาของข้อมูลทุติยภูมิ ( econdary data) ได้แก่ รายงานประจำปี รายงานผลการสำรวจ รายงานผลการวิจัย สำมะโนประชากร บันทึกเอกสารสิ่งพิมพ์ หรือหนังสือต่างๆ รวมทั้งภาพถ่าย แผนที่ แผนภูมิ แผนผัง ฟิล์ม เทปบันทึกเสียง วิดีโอเทป แผ่นบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Diskette) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถสืบค้นหรือเก็บรวบรวมไว้ในห้องสมุดหรือสถาบัน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะเลือกใช้เครื่องมือใดขึ้นอยู่กับลักษณะหรือสาขาของการวิจัย แบบทดสอบ ... เหมาะกับการวิจัยเพื่อประเมินหรือเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การสังเกต … เหมาะกับการวิจัยเชิงมนุษยวิทยา แบบสอบถาม ... เหมาะกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์

แบบสอบถาม (Questionnaire) หมายถึง... ข้อคำถามทั้งหมดที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความเชื่อ ทัศนคติ ฯลฯ ซึ่งข้อคำถามต่าง ๆ เหล่านั้น ได้ถูกรวบรวมไว้อย่างมีหลักเกณฑ์และเป็นระบบ เพื่อให้บุคคลที่อยู่ในกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรเป้าหมายเป็นผู้ตอบ ความคิดเห็นของผู้สูงอายุ ความคิดเห็นของผู้หญิงทำงาน

คำถามในแบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ประเภท แบ่งเป็น 2 ประเภท 1. คำถามปลายเปิด (Open End Question) เป็นคำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบสามารถตอบได้อย่างเต็มที่ คำถามปลายเปิดนิยมใช้กันมากในกรณีที่ผู้วิจัยไม่สามารถคาดเดาคำตอบไว้ล่วงหน้าว่าคำตอบควรจะเป็นอะไร หรือใช้คำถามปลายเปิดในกรณี ที่ต้องการได้คำตอบเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างคำถามปลายปิด ตัวอย่างเช่น ท่านตัดสินใจประกอบอาชีพส่วนตัว เพราะ………

2. คำถามปลายปิด (Close End Question) เป็นคำถามที่ผู้วิจัยมีแนวคำตอบไว้ให้ผู้ตอบเลือกตอบจากคำตอบที่กำหนดไว้ไห้เท่านั้น คำตอบที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ล่วงหน้านี้บางครั้งได้มาจากการทดลองใช้คำถามในลักษณะที่เป็นคำถามปลายเปิด แล้วนำมาจัดกลุ่มของคำตอบ หรือได้มากจากผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือ จากความคิดของผู้วิจัยเอง และจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ

คำถามปลายปิดที่พบเห็น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 5 แบบ คำถามปลายปิดที่พบเห็น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 5 แบบ 2.1 คำถามที่ให้เลือกตอบเพียงคำตอบเดียวจากคำตอบที่ให้เลือก 2 คำตอบ (Dichotomous Question) ตัวอย่าง เช่น ปัจจุบันท่านใช้สบู่ยี่ห้อ “หอมจริง ๆ” หรือไม่ 1.ใช้ 2.ไม่ใช้ ท่านโครงการที่จะซื้อบ้านใหม่ในปีนี้หรือไม่ 1.มี 2.ไม่มี

2.2 คำถามให้เลือกตอบเพียงข้อเดียวจากคำตอบที่ให้เลือก มากกว่า 2 คำตอบขึ้นไป (Multiple Choice Questions) เช่น ระดับการศึกษาสูงสุดของท่าน 1. มัธยมต้น 4. ปริญญาตรี 2. มัธยมปลาย / ปวช. 5. สูงกว่าปริญญาตรี 3. อนุปริญญา / ปวส. 6. อื่น ๆ (โปรดระบุ)…….

2.3 คำถามให้เลือกตอบได้หลายคำตอบ (Checklist Questions) หรือมากกว่า 1 คำตอบ และมักจะมีคำตอบ “อื่น ๆ ระบุ…” ไว้ เป็นคำตอบสุดท้าย เช่น ท่านอ่านวารสาร / นิตยสาร ฉบับใดบ้าง (เลือกได้มากกว่า 1 คำตอบ) 1. ดิฉัน 5. ผู้จัดการ 2. มติชนรายสัปดาห์ 6. การเงินการธนาคาร 7. Marketteer 3. Economic Reviews 4. BrandAge 8. อื่น ๆ ระบุ …….

2.4 คำถามที่ให้จัดเรียงลำดับความสำคัญ (Rank Priority) คำถามประเภทนี้จะมีคำตอบให้เลือก ๆ คำตอบ ผู้ตอบต้องเปรียบเทียบและให้หมายเลขแสดงลำดับที่ตามความสำคัญ ซึ่งอาจจะเรียงจากมากไปน้อย หรือเรียงจากน้อยไปมากก็ได้ ในการพิจารณาซื้อรถยนต์ ท่านพิจารณาจากปัจจัยใดบ้าง กรุณาระบุลำดับที่ตามความสำคัญจากมากที่สุด (1) ไปจน ถึงน้อยที่สุด (7) ราคา ยี่ห้อ ขนาดของเครื่องยนต์ ขนาดของตัวถัง ความสวยงาม การให้บริการหลังการขาย ของแถม

ท่านมีความรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับธนาคารไทยพาณิชย์ 2.5 คำถามที่ให้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) คำถามประเภทนี้ผู้ตอบจะต้องระบุความคิดเห็น หรือ ความชอบ ส่วนมากจะใช้กับงานวิจัยตลาดหรือในการสอบถามความคิดเห็นของบุคคลในเรื่องทั่วๆไป เช่น ท่านมีความรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับธนาคารไทยพาณิชย์ เห็นด้วยอย่างมาก เห็นด้วย ไม่มี ความเห็น ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างมาก 1. มีชื่อเสียงดี 2. ไม่สนใจลูกค้ารายย่อย 3. การบริการน่าประทับใจ 4. มีการคืนกำไรสู่สังคมใน รูปของทุนการศึกษา

ข้อดีและข้อเสียของคำถามปลายเปิด 1. สามารถสร้างคำถามได้ง่าย และเปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็นเต็มที่ 2. คำตอบที่ได้จะตรงกับความรู้สึกนึกคิดของผู้ตอบมากกว่าคำถามปลายปิด ข้อเสีย 1. คำตอบที่ได้จะมีความหลากหลายบางคำตอบก็ไม่อยู่ในประเด็นที่เราสนใจ เสียเวลาในการสรุปประเด็นคำตอบเพื่อนำมาใส่รหัส 2. ผู้ตอบจะต้องเสียเวลาคิดหาคำตอบ อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่าย 3. บางคำถามมีคำลำบากใจในการตอบ เช่น อายุ รายได้

ข้อดีและข้อเสียของคำถามปลายปิด 1. ผู้วิจัยไม่ต้องเสียเวลาในการสรุปประเด็นคำตอบและ คำตอบที่ได้จะจำกัดเฉพาะประเด็นที่เราสนใจศึกษาเท่านั้น 2. ผู้ตอบไม่เสียเวลาในการคิดหาคำตอบ และเสียเวลาในการเขียนเรียบเรียงคำตอบ 3. นอกจากนี้คำตอบปลายปิดช่วยให้ผู้ตอบสะดวกใจในการตอบคำถามบางคำถาม เช่น เรื่อง อายุ รายได้ กำหนดเป็นช่วงอายุหรือช่วงของรายได้ จะทำให้รู้สึกสบายใจที่จะตอบมากกว่า

ข้อดีและข้อเสียของคำถามปลายปิด 1. ผู้ตอบไม่มีอิสระในการตอบ เพราะถูกจำกัดให้เลือกตอบเฉพาะคำตอบที่มีให้เลือกเท่านั้น 2. ผู้วิจัยต้องเสียเวลาในการคิดหาคำตอบไว้ล่วงหน้าว่าผู้ตอบจะตอบอะไรบ้าง ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับคำตอบของผู้ตอบ ทางแก้ไขควรให้ผู้ตอบสามารถเลือกตอบ “อื่น ๆ ระบุ…....” ได้แก่อะไรบ้าง

หลักการเขียนข้อคำถามในแบบสอบถาม 1. ควรถามเฉพาะเรื่องที่สำคัญ หรือ ถามเฉพาะตัวแปรที่ใช้วัดตัวแปร ในกรอบแนวความคิดของการวิจัย 2. ควรใช้ภาษาที่ง่าย ๆ ที่ทุกคนอ่านแล้วเข้าใจ 3. ควรใช้ประโยคที่สั้นและกะทัดรัดชัดเจน 4. ถ้าต้องการเน้นคำพูดใดของประโยค ควรขีดเส้นใต้หรือใช้ตัวอักษร หนาให้ผู้ตอบเห็นชัดเจน 5. ไม่ควรใช้ประโยคที่ตีความหมายได้หลายอย่าง 6. ไม่ควรใช้ประโยคที่มีความหมายกำกวม

หลักการเขียนข้อคำถามในแบบสอบถาม(ต่อ)... 7. ควรหลีกเลี่ยงประโยคซ้อนปฏิเสธ 8. ควรหลีกเลี่ยงการถามนำ หรือตั้งคำถามที่มีแนวโน้มจูงใจให้ผู้ตอบ ตอบในทางใดทางหนึ่ง 9. ควรหลีกเลี่ยงคำถามที่เกี่ยวกับค่านิยมที่จะทำให้ผู้ตอบเกิดความ ลำเอียงในการตอบ เพราะอายที่จะตอบฝืนค่านิยม 10. ควรหลีกเลี่ยงคำถามที่เป็นความลับส่วนตัวของผู้ตอบ 11. คำตอบที่ให้เลือกตอบ ควรมีทางเลือกที่เราต้องการเท่านั้น 12. คำตอบที่ได้จากแบบสอบถาม ควรจะสามารถนำมาแปลงเป็น ตัวเลขเพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงสถิติได้

โครงสร้างแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ โครงสร้างแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. หนังสือนำหรือคำชี้แจง เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามทราบถึงชื่อโครงการ และคณะวิจัย รวมถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้รับควรบอกผู้ตอบทรายว่าจะไม่นำข้อมูลไปเปิดเผย ควรอธิบายการตอบแบบสอบถาม ระยะเวลาในการส่งคืนและคำขอบคุณ

2. ส่วนที่เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว 2. ส่วนที่เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว คำตอบที่ได้จะเป็นข้อเท็จจริงของผู้ตอบแบบสอบถาม เช่น - เพศ - อายุ - ระดับการศึกษา - อาชีพ การจะถามอะไรบ้างขึ้นอยู่กับกรอบแนวความคิดในการวิจัย 3. ชุดคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือพฤติกรรม ของผู้ตอบ

ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม 1. ต้องทราบว่าเราต้องการข้อมูลอะไรบ้าง โดยดูจาก กรอบแนวความคิดของการวิจัยหรือสมมติฐาน 2. เขียนข้อคำถามให้ครอบคลุมตัวแปรทุกตัว 3. เรียงข้อคำถาม 4. ในกรณีที่ผู้วิจัยวางแผนไว้ว่าจะวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ควรทำช่องว่างด้านขวามือไว้สำหรับลงรหัสของตัวแปรต่าง ๆ 5. ตรวจสอบและแก้ไขแบบสอบถาม

6. นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Pretest) กลุ่มตัวอย่างประมาณ 20 - 50 คน 7. คัดเลือกข้อคำถามในแบบสอบถาม โดยตรวจสอบความสอดคล้องของคำตอบในแต่ละข้อ โดยนำคำตอบที่ได้ไปทดสอบความเชื่อถือได้ของชุดคำถามและคัดเลือกเอาเฉพาะ ข้อคำถามที่มีความเชื่อถือได้ตั้งแต่ 0.8 ขึ้นไป

แบบสัมภาษณ์ (Interview Schedule) หมายถึงชุดของคำถามที่มีไว้ให้ผู้สัมภาษณ์ถามและจดบันทึกคำตอบของผู้ตอบในขณะที่ทำการสัมภาษณ์ โดยที่ผู้ตอบจะไม่มีโอกาสเห็นแบบสัมภาษณ์ เมื่อฟังคำถามไม่เข้าใจสามารถซักถามจนเข้าใจได้ โครงสร้างของแบบสัมภาษณ์เหมือนกับแบบสอบถามทุกประการ อาจจะแตกต่างกันในด้านภาษาที่ใช้ แบบสัมภาษณ์เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียนก็ได้

แบบตรวจรายการ (Check-lists) หมายถึงชุดของคำถาม (Statement) ที่ระบุให้ผู้สังเกตหรือสัมภาษณ์ ขีด ถ้าพบสิ่งที่สังเกตหรือผู้ถูกสัมภาษณ์มีลักษณะหรือพฤติกรรมเป็นไปตามที่ระบุไว้ สิ่งอำนวยความสะดวก มี ไม่มี หม้อหุงข้าวไฟฟ้า พัดลม วิทยุ โทรทัศน์

แบบทดสอบ (Test) คือชุดของคำถามที่ใช้วัดสมรรถภาพทางสมอง เช่น วัดความรู้ ความถนัด ความสนใจ ความสามารถ ฯลฯ แบบทดสอบที่ใช้มากในการวิจัยทางการศึกษา หรือ การวิจัยเชิงจิตวิทยา ได้แก่ 1. แบบทดสอบวัดผมสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Achievement Test) 2. แบบทดสอบวัดความถนัด (Aptitude Test) 3. แบบทดสอบบุคคล - สังคม ได้แก่ Attitude Interest Adjustment

การเก็บรวบรวมข้อมูล - การเก็บข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง การเก็บข้อมูล (Data Collection) และการรวบรวมข้อมูล (Data Compilation) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะนำไปประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของการวิจัย - การเก็บข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) - การเก็บข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) # แบบสอบถาม (Questionnaire Method) # แบบสัมภาษณ์ (Interview Method) # แบบสังเกต (Observation Method)

การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 1. รูปแบบการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 1.1 การนำแบบสอบถามไปส่งให้ผู้ตอบด้วยตนเอง 1.2 การนำแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ 2. การติดตามแบบสอบถามกลับคืน ในกรณีส่งทางไปรษณีย์ ส่งจดหมายขอร้องให้ตอบแบบสอบถามกลับคืน 3 - 4 ครั้ง การเก็บรวบรวมข้อมูลกลับคืนมาภายในเวลาเพียง 20 - 25 % ถ้าหากมีการติดตามแบบสอบถามจะได้กลับคืนเพิ่ม 20 - 65 %

ข้อดีและข้อเสียของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อดี... 1. ถ้าตัวอย่างมีขนาดใหญ่ วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จะเป็นวิธีการที่สะดวกและประหยัดกว่าวิธีการอื่น 2. ผู้ตอบมีเวลาตอบมากกว่าวิธีการอื่น 3. ไม่จำเป็นต้องฝึกอบรมพนักงานเก็บข้อมูลมากเหมือนกับวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีการสังเกต 4. ไม่เกิดความลำเอียง อันเนื่องมาจากการสัมภาษณ์หรือการสังเกต เพราะผู้ตอบกรอกข้อมูลเอง

ข้อเสีย... 1. ในกรณีที่ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ มักจะได้แบบสอบถามกลับมาน้อย และต้องใช้เวลาในการติดตาม อาจทำให้ข้อมูลล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ 2. การเก็บข้อมูลโดยวิธีการใช้แบบสอบถามจะใช้ได้เฉพาะกับกลุ่มเป้าหมายที่อ่านและเขียนหนังสือได้เท่านั้น 3. จะได้ข้อมูลจำกัดเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น เพราะการเก็บข้อมูลโดยวิธีใช้แบบสอบถาม จะต้องมีจำนวนคำถามน้อยข้อที่สุด 4. ส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ หน่วยตัวอย่างอาจไม่ได้เป็นผู้ตอบแบบสอบถามเอง ทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน

ข้อเสีย... 5. ถ้าผู้ตอบไม่เข้าใจคำถาม หรือเข้าใจคำถามผิด หรือไม่ตอบบางข้อ หรือไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อน จะทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนได้ 6. ผู้ที่ตอบแบบสอบถามกลับคืนมาทางไปรษณีย์ อาจมีลักษณะที่แตกต่างจากลุ่มผู้ที่ไม่ตอบแบบสอบถามกลับคืนมา เช่น อาจจะเป็น ผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่า และเห็นความสำคัญของการวิจัยนี้มากกว่าผู้ที่ไม่ตอบแบบสอบถามกลับคืนมา ดังนั้นข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์อาจมีความลำเอียง อันเนื่องมาจากกลุ่มตัวอย่างได้

การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ คือ การพูดคุยโต้ตอบกัน เพื่อทราบข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความรู้สึกนึกคิดในเรื่องที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า การสัมภาษณ์จะประกอบด้วย ผู้สัมภาษณ์ (Interview) และผู้ถูกสัมภาษณ์ (Interviewee)

รูปแบบการสัมภาษณ์ 1. สัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์ หรือแบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) 2. สัมภาษณ์โดยไม่ใช้แบบสัมภาษณ์ หรือแบบไม่มี โครงสร้าง (Non - Structured Interview) เช่น การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In Depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) เหมาะสำหรับต้องการข้อมูลเชิงคุณภาพ ไม่เหมาะสมกับข้อมูลเชิงสถิติ

คุณสมบัติของพนักงานสัมภาษณ์ที่ดี 1. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีสามารถสร้างความเป็นกันเองกับผู้อื่นได้ง่าย 2. มีกิริยามารยาทเรียบร้อยสุภาพอ่อนโยน 3. มีความละเอียดรอบคอบช่างสังเกตและมีไหวพริบดี 4. มีความซื่อสัตย์ และ อดทน 5. มีความรู้ ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะไปสัมภาษณ์ รวมทั้งต้องทราบรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ที่จะไปทำการสัมภาษณ์ล่วงหน้า

ขั้นตอนในการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ # ก่อนออกสนาม # 1. เตรียมแบบสัมภาษณ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ในงานสนาม 2. ติดต่อประสานงานขอความร่วมมือจากหน่วยงานในท้องถิ่น 3. เตรียมรถ คนขับรถ เงินค่าใช้จ่ายระหว่างการเก็บข้อมูล 4. จัดทำคู่มือการสัมภาษณ์ แจกจ่ายให้พนักงานสัมภาษณ์ทุกคน 5. ฝึกอบรมพนักงานสัมภาษณ์ เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกัน

# ในระหว่างงานสนามจนกระทั่งสิ้นสุดงานสนาม # 1. ผู้วิจัยหรือผู้ช่วยวิจัยต้องตรวจตราความเรียบร้อยทุกครั้งก่อน เดินทางไปเก็บข้อมูล ตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูล 2. วางแผนการเก็บข้อมูลแต่ละวัน 3. พยายามทำให้พนักงานสัมภาษณ์ไม่เบื่อหน่ายต่อการทำงาน

ข้อดีและข้อเสียของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อดี... 1. เป็นวิธีการที่ใช้ได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะกับผู้ที่อ่านหนังสือและเขียนหนังสือไม่ได้ 2. ผู้สัมภาษณ์สามารถซักถามคำตอบที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบไม่ชัดเจน และสามารถชี้แจงคำถามที่ไม่ชัดเจนให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เข้าใจได้ 3. ผู้ถูกสัมภาษณ์จะให้ความสนใจและพยายามที่จะตอบคำถาม มากกว่าวิธีการใช้แบบสอบถาม

ข้อดีและข้อเสียของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อดี... 4. ช่วยให้ได้ข้อเท็จจริงบางอย่างที่แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ในความ รู้สึกนึกคิดของผู้ให้สัมภาษณ์ 5. เป็นวิธีการเก็บข้อมูลที่ได้จำนวนตัวอย่างครบถ้วนภายในช่วง เวลาที่ทำการเก็บข้อมูล

ข้อดีและข้อเสียของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อเสีย... 1. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แรงงาน และเวลามาก 2. คุณภาพความน่าเชื่อถือของข้อมูล ขึ้นอยู่กับความสามารถ เฉพาะตัว ประสบการณ์ ความซื่อสัตย์ของพนักงานสัมภาษณ์ 3. ผู้ถูกสัมภาษณ์อาจมีความรู้สึกอาย กลัว ระแวง ในการที่จะตอบ คำถาม 4. เป็นการยากที่จะคุมให้พนักงานสัมภาษณ์หลายๆ คนให้มีมาตรฐาน คนการสัมภาษณ์เหมือนกัน

การเก็บข้อมูลโดยการสังเกต การสังเกตอาจทำได้ 2 รูปแบบ คือ 1. การสังเกตแบบมีโครงสร้าง (Structured Observation) 2. การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Observation) การสังเกตแบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือเหตุการณ์ (Participant Observation) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือเหตุการณ์ (Non - Participant Observation)

เครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต จะใช้วิธีการบันทึกสิ่งที่พบเห็นได้รับรู้หรือได้สัมผัส ลงในแบบที่สร้างขึ้น อาจจะเป็นการสร้างคำถามปลายปิดให้ตรวจ Check List หรือมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) คุณสมบัติของผู้สังเกตที่ดี 1. เป็นคนช่างสังเกต มีความละเอียดรอบคอบ 2. เป็นผู้ที่ไม่เปิดเผยความลับของผู้ถูกสังเกต 3. เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และแปลความหมายสิ่งที่รับรู้ได้อย่างถูกต้อง ไม่มีอคติต่อผู้ถูกสังเกต

ข้อดีและข้อเสียของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสังเกต ข้อดี... 1. ข้อมูลที่ได้จากกการบันทึกโดยวิธีการสังเกตจะเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้น จริง ๆ ในขณะนั้น จึงมีความถูกต้องมากกว่าวิธีการอื่น ๆ 2. แม้ว่าผู้ถูกสังเกตจะไม่เต็มใจหรือไม่มีความสามารถในการให้ข้อมูล ผู้สังเกตก็สามารถเก็บข้อมูลโดยการสังเกตและบันทึกข้อมูลไว้ 3. วิธีการเก็บข้อมูลแบบนี้ อาจได้ข้อมูลในสิ่งที่ไม่คาดหวังมาก่อน หรือไม่ทราบมาก่อนเลย 4. ผู้สังเกตสามารถตีความหมายจากข้อมูลที่พบได้ถูกต้องกว่าวิธีการ เก็บแบบอื่น

ข้อดีและข้อเสียของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสังเกต ข้อเสีย... 1. ถ้ากลุ่มเป้าหมายอยู่ในพื้นที่ที่กว้างขวางเกินไป ผู้สังเกตไม่สามารถ สังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างทั่วถึง 2. ผู้วิจัยไม่สามารถเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันโดยไม่ได้วางแผน หรือ เตรียมการสังเกตไว้ล่วงหน้า 3. วิธีการเก็บข้อมูลแบบสังเกตจะต้องใช้เวลานานกว่าวิธีอื่น ๆ 4. คุณภาพและความเชื่อถือได้ของข้อมูลขึ้นอยู่กับผู้ทำการสังเกต