อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย สัญญาขายสินค้าระหว่างประเทศ United Nations Convention on Contracts for International Sale of Goods (CISG)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
Advertisements

การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
บทที่ 1 การรวมธุรกิจ.
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 101 หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
ผู้ลี้ภัยการเมือง จัดทำโดย นางสาว อำพันธ์ แสนคำวัง ลำดับ 106.
สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
การออกคำสั่งทางปกครอง
ทรัพย์สินทางปัญญากับการส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าและการตลาด
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
สำนักความรับผิดทางแพ่ง
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การอุดหนุน งบประมาณ ให้แก่ สถานศึกษาใน สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการ การศึกษาขั้น พื้นฐาน.
ประเภทของ CRM. OPERATIONAL CRM เป็น CRM ที่ให้การสนับสนุนแก่กระบวนการธุรกิจ ที่เป็น “FRONT OFFICE” ต่างๆ อาทิ การขาย การตลาด และการ ให้บริการ SALES FORCE.
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
หน่วยที่ 2 สัญญาประกันภัย
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2410
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
หลักการของจริยธรรมทางกฎหมาย
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
บทที่ 1 หน่วยผลิตและทางเลือกภายใต้โครงสร้างตลาด
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
โดยอาจารย์ฐิติพร วัฒนชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การกระทำอันไม่เป็นธรรม (Unfair Labour Practice)
พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
การรายงานความคืบหน้าหรือสถานะ
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ.
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงาน และการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.
ฝ่ายการดำเนินงานในโรงแรม
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สถานการณ์การเมืองของไทย
วาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
สัญญายืมเปรียบเทียบ.
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
กฎหมายเอกเทศสัญญา 1 อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 13.
การจัดการกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในเขตปลอดอากร นักตรวจสอบภาษีชำนาญการพิเศษ
วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177181)
ทบทวน ;) จริยธรรมนักกฎหมายต่างจากจริยธรรมทั่วไปอย่างไร?
ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในรูปแบบ Feed-in Tariff พ.ศ
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2400 (ปรับปรุง)
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ********************
Supply Chain Management
หุ้นส่วนและบริษัท การเป็นหุ้นส่วน คือ การทำสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการนั้น.
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 7 นิติบุคคล (Juristic Persons)
ลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศ อ.ดร. นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย สัญญาขายสินค้าระหว่างประเทศ United Nations Convention on Contracts for International Sale of Goods (CISG)

ประวัติความเป็นมา ของ CISG สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีสถานประกอบการอยู่ห่างไกลกันคนละประเทศ แต่ เดิมนั้นสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศมิได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่าง ประเทศ แต่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายภายในแห่งประเทศคู่สัญญา ซึ่งคู่สัญญาอาจตกลงกันให้ใช้กฎหมายของประเทศหนึ่งประเทศใดเป็นกฎหมายที่ใช้ บังคับกับสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศก็ได้ 

หากคู่สัญญาไม่ได้ตกลงเลือกกฎหมายที่จะใช้บังคับกับสัญญาซื้อขาย ระหว่างประเทศไว้ ก็ต้องพิจารณาตามหลักกฎหมายขัดกัน (Conflict of Law) แห่งประเทศที่คู่สัญญานำเสนอข้อพิพาทว่า จะให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับกับสัญญา แต่ปัญหาคือหลัก กฎหมายขัดกันของแต่ละประเทศก็ยังมีความแตกต่างกัน ตลอดจนกฎหมายภายในของบางประเทศก็ขาดความทันสมัยและไม่ สอดรับกับวิธีปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศ

ประวัติความเป็นมา ของ CISG ต่อ  เพื่อเป็นการขจัดอุปสรรคทางการค้าและสร้างกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับการซื้อขาย ระหว่างประเทศที่เป็นเอกภาพ คณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่ง สหประชาชาติจึงได้ร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขาย ระหว่างประเทศ ค.ศ. 1980  หรือ United Nations Convention on Contracts for the International Sales of Goods (CISG) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับ กับสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศในระหว่างประเทศภาคีที่มีลักษณะเป็น สัญญาซื้อขายทางพาณิชย์ (Commercial Sale of  Goods)

CISG Common law and Civil Law on ขายสินค้าระหว่าง ประเทศ UK , USA, Australia, New Zealand, France Germany Thailand?

ไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญา CISG พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ซึ่ง บัญญัติว่า “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใด บังคับสำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญหรือผลแห่งสัญญานั้นให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่ อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้งหรือโดยปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับ ได้แก่ กฎหมายสัญชาติของ จึงสรุปกฎหมายที่มีผลใช้บังคับแก่กรณีตามลำดับได้ดังนี้ (1) กฎหมายแห่งเจตนาของคู่สัญญา (2) กฎหมายแห่งสัญชาติอันร่วมกันของของคู่สัญญา (3) กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทำขึ้น (4) กฎหมายแห่งถิ่นที่พึงปฏิบัติตามสัญญา จากคำพิพากษาของศาลไทยที่เกี่ยวกับคดีที่ลักษณะระหว่างประเทศให้เห็นว่าคู่ความ ในศาลไทยแสดงเจตนาเลือกกฎหมายดังต่อไปนี้มาใช้บังคับต่อสัญญา CISG จึงนำมาบังคับใช้ในสัญญาได้

ส่วนประกอบหลักของ CISG ส่วนที่ 1 ขอบเขตการใช้ และบทบัญญัติทั่วไป (Sphere of Application and General Provisions) มาตรา 1-13 ส่วนที่ 2 การก่อให้เกิดสัญญา (Formation of the Contract) มาตรา 14-24 ส่วนที่ 3 บทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายสินค้า (Sale of Goods) กำหนดหน้าทีของผู้ขายและผู้ซื้อ มาตรา 25-88 ส่วนที่ 4 บทเฉพาะกาล (Final Provisions) มาตรา 89 – 101

ส่วนที่ 1 ขอบเขตการใช้ และบทบัญญัติทั่วไป (Sphere of Application and General Provisions) มาตรา 1-13 มาตรา 1 ขอบเขตการใช้ อนุสัญญาฉบับนี้ใช้กับสัญญาขายสินค้าระหว่างคู่สัญญาที่มีสถานประกอบธุรกิจในต่างรัฐกันโดย : เมื่อรัฐที่ต่างกันนั้นเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญา : หรือ เมื่อกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลนำไปสู่การใช้กฎหมายของรัฐภาคีของอนุสัญญา ไม่ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีสถานประกอบธุรกิจในต่างรัฐกัน เมื่อใดก็ ตามที่ข้อเท็จจริงนี้ไม่ปรากฏในสัญญา หรือในธุรกรรมระหว่างคู่สัญญา หรือจากข้อมูลที่เปิดเผย โดยคู่สัญญา ณ เวลาใดก็ตามก่อน หรือ ณ เวลาทำสัญญา สัญชาติของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย หรือลักษณะทางแพ่งหรือพาณิชย์ของคู่สัญญาหรือของตัว สัญญา จะไม่นำมาพิจารณาว่าสมควรใช้อนุสัญญาฉบับนี้หรือไม่

ส่วนที่ 1 ขอบเขตการใช้ และบทบัญญัติทั่วไป (Sphere of Application and General Provisions) มาตรา 1-13 มาตรา2 “อนุสัญญาฉบับนี้ไม่ใช้บังคับกับการซื้อขาย: สินค้าที่ซื้อไปเพื่อใช้ส่วนบุคคล สำหรับครอบครัว หรือสำหรับครัวเรือน เว้นเสียแต่ว่าผู้ขายไม่รู้ หรือไม่ควรรู้ว่าสินค้าที่ซื้อไปเพื่อใช้ในการเช่นนั้น ก่อน หรือในเวลาที่สัญญานั้นได้เกิดขึ้น; โดยการประมูล; ในการบังคับคดี หรือโดยอำนาจตามกฎหมายอื่นๆ; หุ้น, หลักทรัพย์ลงทุน, ตราสารเปลี่ยนมือ หรือเงินตรา; เรือ, พาหนะทางทะเล, เรือ Hovercraft, อากาศยาน; ไฟฟ้า”

ส่วนที่ 2 การก่อให้เกิดสัญญา (Formation of the Contract) มาตรา 14-24 ประกอบด้วยหลักเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับการก่อให้เกิดสัญญา เช่น ลักษณะของคำเสนอและคำสนอง เวลาที่คำเสนอและคำ สนองมีผล การเพิกถอนคำเสนอและคำสนอง การยกเลิกและ การปฏิเสธคำเสนอและคำสนอง

ส่วนที่ 3 บทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายสินค้า (Sale of Goods) กำหนดหน้าทีของผู้ขายและผู้ซื้อ มาตรา 25-88 มาตรา 25 คู่สัญญาฝ่ายใดผิดสัญญาจะถือเป็นการผิดสัญญาในสาระสำคัญถ้า เป็นผลให้เกิดความเสียหายถึงขนาดที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับสิ่ง ที่เขาพึงจะได้ตามสัญญา เว้นเสียแต่ว่าคู่สัญญาที่ผิดสัญญาไม่ สามารถคาดเห็นได้ล่วงหน้า และวิญญูชนในลักษณะเดียวกันและ ภายใต้สถานการณ์เดียวกันไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าเช่นกัน

หน้าที่ของผู้ขาย มาตรา 30 ผู้ขายจะต้องจัดส่งสินค้า ส่งมอบเอกสารที่จำเป็นเกี่ยวกับตัว สินค้าและโอนกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าตามสัญญาและอนุสัญญา ฉบับนี้ มาตรา 35 (1) ผู้ขายต้องจัดส่งสินค้าที่ปริมาณ คุณภาพ และลักษณะตรงตามคำ พรรณนาในสัญญาโดยสินค้านั้นต้องบรรจุหรือใส่หีบห่อในแบบ ที่สัญญากำหนด ข้อ ๔๖   ผู้ซื้ออาจเรียกให้ผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้ของตน เว้นเสียแต่ผู้ซื้อได้หาทางเยียวยาที่ไม่สอดคล้องกับการเรียกร้องให้มีการปฏิบัติการชำระหนี้นั้น ถ้าสินค้าไม่ตรงตามสัญญา ผู้ซื้ออาจเรียกให้ผู้ขายจัดส่งสินค้าทดแทน หากการที่สินค้าไม่ตรงตามสัญญานั้นเป็นการผิดสัญญาในสาระสำคัญ และการเรียกให้จัดส่งสินค้าทดแทนนั้นทำสอดคล้องกับหนังสือแจ้งที่ส่งให้ผู้ขายตามข้อ ๓๙ หรือภายในกำหนดเวลาอันควรหลังจากนั้นแล้ว ถ้าสินค้าไม่ตรงตามสัญญา ผู้ซื้ออาจเรียกให้ผู้ขายแก้ไขให้ถูกต้อง เว้นเสียแต่ว่าเป็นการไม่สมควรภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ การร้องขอให้แก้ไขจะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งตามข้อ ๓๙ หรือภายในกำหนดเวลาอันสมควรหลังจากนั้น ข้อ ๔๗ ผู้ซื้ออาจกำหนดขยายระยะเวลาอันสมควรสำหรับการปฏิบัติการชำระหนี้ของผู้ขายก็ได้ ถ้าผู้ซื้อไม่ได้รับหนังสือแจ้งจากผู้ขายว่าผู้ขายจะไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าว ผู้ซื้อจะต้องไม่หาทางเยียวยาเนื่องจากการผิดสัญญาในระหว่างระยะเวลานั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อจะไม่สูญเสียสิทธิใดๆ ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากากรล่าช้าในการปฏิบัติการชำรพหนี้

การเยียวยาเนื่องจากการผิดสัญญาของผู้ขาย มาตรา 45 ถ้าผู้ขายไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ใด ๆ ภายใต้สัญญา หรืออนุสัญญาฉบับนี้ ผู้ซื้ออาจจะ (ก) ใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 46 ถึง 52 (ข) เรียกค่าสินไหมทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 74 ถึง 77 ข้อ ๔๖   ผู้ซื้ออาจเรียกให้ผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้ของตน เว้นเสียแต่ผู้ซื้อได้หาทางเยียวยาที่ไม่สอดคล้องกับการเรียกร้องให้มีการปฏิบัติการชำระหนี้นั้น ถ้าสินค้าไม่ตรงตามสัญญา ผู้ซื้ออาจเรียกให้ผู้ขายจัดส่งสินค้าทดแทน หากการที่สินค้าไม่ตรงตามสัญญานั้นเป็นการผิดสัญญาในสาระสำคัญ และการเรียกให้จัดส่งสินค้าทดแทนนั้นทำสอดคล้องกับหนังสือแจ้งที่ส่งให้ผู้ขายตามข้อ ๓๙ หรือภายในกำหนดเวลาอันควรหลังจากนั้นแล้ว ถ้าสินค้าไม่ตรงตามสัญญา ผู้ซื้ออาจเรียกให้ผู้ขายแก้ไขให้ถูกต้อง เว้นเสียแต่ว่าเป็นการไม่สมควรภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ การร้องขอให้แก้ไขจะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งตามข้อ ๓๙ หรือภายในกำหนดเวลาอันสมควรหลังจากนั้น ข้อ ๔๗ ผู้ซื้ออาจกำหนดขยายระยะเวลาอันสมควรสำหรับการปฏิบัติการชำระหนี้ของผู้ขายก็ได้ ถ้าผู้ซื้อไม่ได้รับหนังสือแจ้งจากผู้ขายว่าผู้ขายจะไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าว ผู้ซื้อจะต้องไม่หาทางเยียวยาเนื่องจากการผิดสัญญาในระหว่างระยะเวลานั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อจะไม่สูญเสียสิทธิใดๆ ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากากรล่าช้าในการปฏิบัติการชำรพหนี้ ข้อ ๔๘ [ภายใต้บังคับของข้อ ๔๙] แม้ภายหลังวันที่ต้องจัดส่งสินค้าผู้ขายอาจขอเยียวยาแก้ไขด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองในเรื่องการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ของตน ถ้าผู้ขายสามารถกระทำเช่นนั้นโดยไม่ทำให้เกิดความล่าช้าตามสมควร และปราศจากการก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ผู้ซื้อตามสมควรหรือความไม่แน่นอนในการที่ผู้ซื้อจะได้รับการชดใช้คืนค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อได้จ่ายล่วงหน้าไป อย่างไรก็ตามผู้ซื้อมีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนตามที่บัญญัติในอนุสัญญาฉบับนี้ ถ้าผู้ขายร้องขอต่อผู้ซื้อให้แจ้งว่าผู้ซื้อจะยอมรับการปฏิบัติการชำระหนี้ของผู้ขายหรือไม่ และผู้ซื้อไม่ทำตามคำขอภายในกำหนดเวลาที่สมควร ผู้ขายอาจปฏิบัติการชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาที่ได้ระบุไว้ในคำขอก็ได้ ในช่วงเวลานั้นผู้ซื้อไม่สามารถจะใช้ทางเยียวยาใด ๆ อันจะไม่เป็นการสอดคล้องกับการปฏิบัติการชำระหนี้ของผู้ขายดังกล่าว หนังสือแจ้งจากผู้ขายว่าผู้ขายจะปฏิบัติการชำระหนี้ที่กำหนดตามย่อหน้าก่อน ให้ถือว่าได้รวมคำขอจากผู้ขายให้ผู้ซื้อแจ้งการตัดสินใจของผู้ซื้อแล้ว คำขอ หรือหนังสือแจ้งจากผู้ขายภายใต้วรรค (๒) หรือ (๓) ของข้อนี้ไม่มีผลถ้าผู้ซื้อไม่ได้รับคำขอหรือหนังสือดังกล่าว ข้อ ๔๙ ผู้ซื้ออาจบอกเลิกสัญญา (ก) ถ้าผู้ขายไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ใดๆของตนภายใต้สัญญา หรืออนุสัญญาฉบับนี้ที่เป็นการผิดสัญญาในสาระสำคัญ หรือ ในกรณีไม่มีการจัดส่งสินค้า ถ้าผู้ขายไม่จัดส่งสินค้าภายในกำหนดระยะเวลาที่ผู้ซื้อขยายให้ตามข้อ ๔๗(๑) หรือแจ้งว่าผู้ขายจะไม่จัดส่งภายในระยะเวลาเช่นว่านั้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้ขายได้ทำการจัดส่งสินค้า ผู้ซื้อเสียสิทธิที่จะแจ้งเลิกสัญญา เว้นเสียแต่ว่าเขาบอกเลิกสัญญา : ในกรณีที่มีการส่งมอบล่าช้า--ภายในกำหนดเวลาอันสมควร หลังจากที่ผู้ซื้อทราบว่าได้มีการจัดส่งสินค้าแล้ว ในกรณีที่มีการผิดสัญญาในข้ออื่นนอกจากการจัดส่งล่าช้า—ภายในกำหนดเวลาอันสมควร : ภายหลังรู้หรือควรจะได้รู้ถึงการผิดสัญญาดังกล่าว ภายหลังการสิ้นสุดลงของระยะเวลาที่ผู้ซื้อได้ขยายออกไปตาม ข้อ ๔๗ (๑) หรือ ภายหลังจากที่ผู้ขายแจ้งว่าจะไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ของตนภายในกำหนดเวลาที่ผู้ซื้อได้ ขยายออกไปนั้น หรือ ภายหลังการสิ้นสุดของระยะเวลาที่ผู้ขายได้ระบุไว้ตามข้อ ๔๘ (๒) หรือภายหลังผู้ซื้อแจ้งว่าจะไม่ยอมรับการปฏิบัติการชำระหนี้นั้น

การใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 46 ถึง 52 (โดยสรุป) 46 ผู้ซื้ออาจเรียกให้ผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้ของตน เว้นเสียแต่ผู้ซื้อได้ หาทางเยียวยาที่ไม่สอดคล้องกับการเรียกร้องให้มีการปฏิบัติการชำระหนี้นั้น ถ้าสินค้าไม่ตรงตามสัญญา ผู้ซื้ออาจเรียกให้ผู้ขายจัดส่งสินค้าทดแทน 47 ผู้ซื้ออาจกำหนดขยายระยะเวลาอันสมควรสำหรับการปฏิบัติการชำระหนี้ ของผู้ขายก็ได้ 49 ผู้ซื้ออาจบอกเลิกสัญญา ถ้าผู้ขายไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ใดๆของตน ภายใต้สัญญา หนือในกรณีไม่มีการจัดส่งสินค้า ถ้าผู้ขายไม่จัดส่งสินค้า ภายในกำหนดระยะเวลาที่ผู้ซื้อขยาย 50 ถ้าสินค้าไม่ตรงตามสัญญา และไม่ว่าจะได้มีการชำระราคากันแล้ว หรือไม่ ผู้ซื้ออาจลดราคาซื้อขายลงได้

หน้าที่ของผู้ซื้อ มาตรา 53 ผู้ซื้อจะต้องชำระราคาสินค้า และรับมอบสินค้าตามสัญญา และตามอนุสัญญาฉบับนี้ มาตรา 54 หน้าที่ของผู้ซื้อในการชำระราคา รวมถึงการดำเนินการต่าง ๆ และการกระทำการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับพิธีกรรมตามสัญญาหรือกฎหมายและกฎระเบียบเพื่อการชำระเงิน มาตรา 55 ในกรณีที่มีการทำสัญญากันถูกต้อง แต่สัญญานั้นไม่ได้กำหนดหรือเปิดช่องให้มีการกำหนดราคาซื้อขายกันโดยแจ้งชัดหรือโดยปริยายและหากไม่ปรากฏข้อบ่งชี้เป็นเชิงตรงกันข้ามแล้ว ให้ถือว่าคู่สัญญาอิงราคาซื้อขายที่ใช้อยู่ทั่วไปในขณะที่ทำสัญญานั้นเพื่อการซื้อขายสินค้านั้น ๆ ภายใต้สถานการณ์เทียบเคียงกันได้

การเยียวยาเนื่องจากการผิดสัญญาของผู้ซื้อ 61 ถ้าผู้ซื้อไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ใด ๆ ของตนภายใต้สัญญาหรืออนุสัญญา ฉบับนี้ ผู้ขายอาจจะ (ก) ใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 62-65 (ข) เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

การใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ใน 62-65 62 ผู้ขายอาจเรียกร้องให้ผู้ซื้อชำระราคา รับมอบสินค้า หรือปฏิบัติการชำระ หนี้ของตน 63 ผู้ขายอาจขยายกำหนดเวลาออกไปตามสมควรเพื่อให้ผู้ซื้อปฏิบัติการชำระหนี้ ก็ได้ 64 ถ้าผู้ซื้อไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ใด ๆ ภายใต้สัญญาหรืออนุสัญญาฉบับนี้ อัน ถือเป็นการผิดสัญญาในสาระสำคัญ หรือ ถ้าผู้ซื้อไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยการ ชำระราคาซื้อขาย หรือรับมอบสินค้าหรือผู้ซื้อประกาศว่าจะไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ ของตน ภายในกำหนดเวลาที่ผู้ขายได้ขยายเวลาให้

ข้อยกเว้น- เหตุสุดวิสัย- Force Majeure  มาตรา 79 คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ต้องรับผิดที่ไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ของตน ถ้าพิสูจน์ได้ว่าการที่เขาไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ได้นั้นเป็นผลสืบเนื่องจากอุปสรรคที่อยู่เหนือการควบคุมของเขา และเขาไม่อาจจะคาดการณ์ล่วงหน้าถึงเหตุการณ์เช่นนั้นได้ หรือคิดการหลีกเลี่ยงหรือเอาชนะอุปสรรคหรือผลของมันได้ในขณะทำสัญญา ถ้าการที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาเป็นผลสืบเนื่องจากการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ของบุคคลภายนอกที่คู่สัญญาฝ่ายนั้นว่าจ้างให้ปฏิบัติการชำระหนี้แทนทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน คู่สัญญาฝ่ายนั้นได้รับการยกเว้นจากความรับผิดถ้าหากว่า

(ก) เขาได้รับการยกเว้นภายใต้วรรคต้น และ (ข) บุคคลภายนอกที่ได้รับการว่าจ้างก็จะได้รับการยกเว้นความรับผิด ถ้าข้อบังคับในวรรคต้น นำมาใช้กับเขาด้วย การยกเว้นที่กำหนดไว้ในข้อนี้ มีผลบังคับตลอดระหว่างเวลาที่อุปสรรคยังคงมีอยู่ คู่สัญญาฝ่ายที่ไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ จะต้องทำหนังสือแจ้งไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งให้ทราบถึงอุปสรรคและผลต่อความสามารถในการปฏิบัติการชำระหนี้ของตน ถ้าหนังสือบอกกล่าวไม่ถึงมือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งภายในเวลาอันควรภายหลังคู่สัญญาฝ่ายที่ไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้นี้ได้รู้ หรือควรจะได้รู้ถึงอุปสรรคนั้น คู่สัญญาฝ่ายนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันเป็นผลสืบเนื่องจากการที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้น ไม่มีบทบัญญัติใดในข้อนี้อันจะเป็นการขัดขวางมิให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิอื่นๆ นอกเหนือไปจากสิทธิการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนภายใต้อนุสัญญานี้

ข้อ 80 คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่อาจจะพึ่งพิงการไม่ปฏิบัติการ ชำระหนี้ของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ตราบเท่าที่การไม่ได้ ปฏิบัติการชำระหนี้เช่นว่านี้เกิดจากการกระทำ หรือการ งดเว้นการกระทำของคู่สัญญาฝ่ายแรก

เยียวยาเนื่องจากการผิดสัญญาของผู้ซื้อ คำถามสรุป ความคลอบคลุมของ CISG หน้าที่ของผู้ขาย หน้าที่ของผู้ซื้อ เยียวยาเนื่องจากการผิดสัญญาของผู้ซื้อ เยียวยาเนื่องจากการผิดสัญญาของผู้ขาย ข้อแก้ต่างในการไม่ปฏิบัติตามสัญญา

Website Pace law----http://www.cisg.law.pace.edu/

ร่างพรบ. สัญญาซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์เป็นการเฉพาะ http://164.115.22.127/index.php?pageFaq=8187