ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

การคัดเลือกพื้นที่เพื่อการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุข ในชายแดนชนบท
เครื่องชี้วัดคุณภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
สรุปสถานการณ์การ ระบาดเพลี้ยแป้ง ระหว่างวันที่ สิงหาคม 2554.
กระบวนการของการอธิบาย
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
โครเมี่ยม (Cr).
การวางแผน การศึกษาระดับ จุลภาค Micro Planning.  ความเชื่อพื้นฐานทางการวางแผน การศึกษา  การวางแผนก็เปรียบเสมือนการจัดให้มี แนวปฏิบัติว่าในระยะเวลาหนึ่งจะต้องทำ.
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การจัดกิจกรรม ชุมนุม Science Club. การจัดกิจกรรมชุมนุมสนองตอบ วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ตามมาตรา ๒๔ ได้อย่างครบถ้วน.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
เพลี้ยไฟมะม่วง ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช Plant Protection Sakaeo
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
ตำรับยาเหลืองปิดสมุทร
สาธารณสุขยุคใหม่ สร้างสังคมสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทย
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
เครื่องมือทางภูมิศาตร์
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
ขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยว
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
กลุ่มเกษตรกร.
บทที่ 4 การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การทำเตียง อ.กรวรรณ สุวรรณสาร.
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
ทรัพยากรสัตว์ป่า.
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ : ความชุกวัณโรค, ผู้ต้องขังในเรือนจำ
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
กฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ.....
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
ศาสนาเชน Jainism.
ตัวแบบมาร์คอฟ (Markov Model)
นโยบายของรัฐด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สมุดปกขาว BCG in Action การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ.
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
02/08/62 การศึกษาพลังงานทางเลือกจากมูลช้างทำถ่านอัดแท่ง สู่ชุมชนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุรินทร์ The Study of Alternative Fuel From Elephant Dung Made Bar.
งานสังคมครั้งที 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน โดย น.ส.อธิชา ฤทธิ์เจริญ ม.4 MEP-A เลขที่ 21.
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี บทที่ 20 ประชากร ชีววิทยา เล่ม 5 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี เนื้อหาสาระ ความหนาแน่นของการแพร่กระจายของประชากร ขนาดของประชากร รูปแบบการเพิ่มของประชากร การรอดชีวิตของประชากร ประชากรมนุษย์ คำถามท้ายบทที่ 20 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ผลการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับความหมายของประชากร ความหนาแน่นของประชากร อัตราการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร และปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร สืบค้นข้อมูล อภิปราย และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องประชากรมนุษย์ การเติบโตและโครงสร้างอายุของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ประชากร บนโลกมีสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ มากมายหลายชนิดอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ทั้งบนบก และในน้ำบางชนิดทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตัวเองได้ บางชนิดอาศัยอยู่บนพื้นดินกินพืชและสัตว์อื่นเป็นอาหาร บางชนิดอาศัยอยู่ใต้ดินกินซากพืชและซากสัตว์เป็นอาหาร บางชนิดอาศัยอยู่ตามต้นไม้ ขอนไม้ กินหนอน กินแมลง กินผลไม้เป็นอาหารและบางชนิดอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ กินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำอื่นๆ เป็นอาหาร เป็นต้น สิ่งมีชีวิตต่างๆ เหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่ได้ก็ต้องอาศัยสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้น เป็นต้น และยังมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเองอีกด้วย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ประชากร ถ้าหากสภาพแวดล้อมต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปก็อาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและมีผลต่อการดำรงชีวิตและมีผลต่อการเพิ่มหรือลดจำนวนของประชากรได้ด้วย นักเรียนทราบหรือไม่ว่า มีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนประชากร นักเรียนจะค้นหาคำตอบได้จากการศึกษาในบทเรียนต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.1 ความหนาแน่นของการแพร่กระจายของประชากร

20.1 ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากร สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อาศัยอยู่บนโลกนี้ ล้วนต้องการสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางกายภาพที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ดังจะเห็นได้ว่ามักจะพบประชากรนกอาศัยทำรงอยู่บนพื้นดิน และจะพบประชากรปลาอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่สะอาดมากกว่าที่จะพบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่สกปรก นักเรียนสงสัยหรือไม่ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.1 ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากร ภาพที่ 20-1 ประชากรนกปากห่างที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี เดือนมีนาคม พ.ศ.2547 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามนำ ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากร ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ ประชากรหมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง การกล่าวถึงประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดใดๆ ควรจะระบุแหล่งที่อยู่และช่วงเวลาที่พบด้วย เช่น ประชากรปลาตะเพียนที่เลี้ยงในกระชังของนายสวัสดิ์ ในเดือนพฤษภาคม 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,750 ตัว เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม เพราะเหตุใดที่วัดไผ่ล้อม จ.ปทุมธานีจึงมีประชากรนกปากห่างมาอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.1 ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากร การพบสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งในพื้นที่เฉพาะนั้น เนื่องจากว่าสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ มีความจำเพาะและเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ ดังเช่นการที่นกส่วนมากมาทำรังอยู่บนต้นไม้เนื่องจากว่าต้องการหลบหลีกภัยจากศัตรูที่จะมารุกราน หรือทำอันตรายและการอาศัยอยู่บนต้นไม้สูงย่อมทำให้นกปลอดภัยจากผู้ล่าบนพื้นดินได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.1 ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากร นอกจากนี้แล้วยังพบว่าประชากรสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีการแพร่กระจายในแต่ละพื้นที่ในปริมาณและสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงมีผลทำให้เกิดความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันด้วย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม ในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่มีความหนาแน่นของประชากรมนุษย์เป็นอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.1.1 ความหนาแน่นของประชากร ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่งสามารถศึกษาความหนาแน่นได้โดยการคาดคะเนความหนาแน่นของประชากร (population density) ซึ่งหมายถึงจำนวนสิ่งทีชีวิตชนิดเดียวกันต่อหน่วยพื้นที่หรือปริมาตร สามารถประเมินหาความหนาแน่นได้ 2 วิธีคือ การหาค่าความหนาแน่นอย่างหยาบ (crude density) เป็นการหาจำนวนประชากรต่อพื้นที่ทั้งหมด (total space) ที่ศึกษา การหาค่าความหนาแน่นเชิงนิเวศ (ecological density)เป็นการหาจำนวนหรือมวลของประชากรต่อหน่วยพื้นที่ที่ประชากรนั้นอาศัยอยู่จริง (habitat space) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่   ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม การนับจำนวนสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยพื้นที่นั้น มีปัจจัยสำคัญอย่างไรบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.1.1 ความหนาแน่นของประชากร ในสภาพธรรมชาติพบว่า การหาความหนาแน่นของประชากรที่แท้จริง (true density) โดยการสำรวจหรือการนับจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมด (totat count) ต่อหน่วยพื้นที่นั้นทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสิ่งมีชีวิตโดยส่วนใหญ่มักมีการเคลื่อนย้ายและไม่ค่อยอยู่กับที่ ดังนั้นจึงมีวิธีการประมาณค่าความหนาแน่นของประชากร ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ สุ่มตัวอย่างแบบวางแปลง (quadrat sampling method) เป็นวิธีการประมาณจำนวนประชากรโดยการวางแปลงสุ่มตัวอย่างสิ่งมีชีวิตบางส่วนในบริเวณที่ต้องการศึกษา แล้วนำมาคิดคำนวณเทียบกับพื้นที่ทั้งหมดเพื่อหาความหนาแน่น ซึ่งเหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตที่ค่อนข้างอยู่กับที่ เช่น พืช เพรียงทะเล เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ถ้าหากในทุ่งร้างแห่งหนึ่งมีพื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตร พบนกยางชนิดหนึ่งจำนวน 150 ตัว อาศัยทำรังอยู่บริเวณรอบๆ แหล่งน้ำซึ่งพื้นที่ 5 ตารางกิโลเมตร ให้นักเรียนคำนวณหาค่าความหนาแน่นของประชากรอย่างหยาบ และค่าความหนาแน่นของประชากรเชิงนิเวศ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.1.1 ความหนาแน่นของประชากร ทำเครื่องหมายและจับซ้ำ (mark and recapture method) เป็นวิธีการประมาณจำนวนประชากรโดยการทำเครื่องหมายสัตว์ที่จับแล้วปล่อย เมื่อจับใหม่จะได้ทั้งตัวที่มีเครื่องหมายและตัวที่ไม่มีเครื่องหมาย ข้อควรคำนึงก็คือว่าในขณะที่ใช้วิธีนี้สัตว์ต้องไม่มีการอพยพเข้าและอพยพออก หรือไม่มีการเกิดและการตาย จึงจะได้จำนวนที่ใกล้เคียงจริงสามารถคำนวณได้จากสูตร P = T2M1 M2 เมื่อ P = ประชากรที่ต้องการทราบ T2 = จำนวนสัตว์ทั้งหมดที่จับได้ครั้งหลังทั้งที่มีและไม่มีเครื่องหมาย M1 = จำนวนสัตว์ที่จับได้ครั้งแรกละทำเครื่องหมายทั้งหมดแล้วปล่อย M2 = จำนวนสัตว์ที่มีเครื่องหมายที่จับได้ครั้งหลัง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมที่ 20.1   ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมที่ 20.1   ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมที่ 20.1 2.ใช้กรอบนับประชากร สุ่มตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในสนามหญ้าภายในบริเวณโรงเรียนหรือบริเวณรอบๆ โรงเรียน แล้วทำการนับจำนวนสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่สำรวจพบโดยการสุ่มอย่างน้อย 3 ครั้ง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันอภิปราย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม ความหนาแน่นของประชากรสิ่งมีชีวิตในบริเวณที่นักเรียนสำรวจนั้นเป็นอย่างไรและจากข้อมูลดังกล่าวนี้บอกอะไรเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนของนักเรียนได้บ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมเสนอแนะ   ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมเสนอแนะ   ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมเสนอแนะ   ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม การสุ่มตัวอย่างมากครั้งหรือน้อยครั้งมีผลต่อความแม่นยำในการนับจำนวนประชากรหรือไม่ อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.1.2 การแพร่กระจายของประชากร นักเรียนเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมจึงพบสัตว์บางชนิดได้ในเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เช่น โคอาลาและจิงโจ้พบที่ประเทศออสเตรเลีย หมีแพนด้าพบที่ประเทศจีน ค้างคาวคุณกิตติพบที่ประเทศไทย และกวางเรนเดียร์มากที่ทวีปอเมริกาเหนือ นอกจากตัวอย่างที่ยกมานี้นักเรียนยังอาจมีข้อสงสัยอีกมากและต้องการค้นหาคำตอบเหล่านั้น ซึ่งนักเรียนจะทราบคำตอบได้จากการศึกษาต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร ในแต่ละพื้นที่ที่มีสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันอาศัยอยู่ร่วมกันในปริมาณที่แตกต่างกันนี้ เนื่องจากมีปัจจัยจำกัด (limiting factor) บางประการที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดที่ไม่เหมือนกัน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของประชากรเกิดขึ้นเป็นปัจจัยดังกล่าวนั้น ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ ลักษณะทางกายภาพบางประการ เช่น ความสูงจากระดับน้ำทะเล อุณหภูมิ แสง ความชื้น ความเป็นกรด-เบส ฯลฯ พบว่ามีผลต่อการแพร่กระจายของประชากรของสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร ความสูงจากระดับน้ำทะเล มีผลต่อการแพร่กระจายของพืชบางชนิด เช่น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 - 1,700 เมตร จะพบว่าสนสามใบขึ้นอยู่ค่อนข้างมากและที่ระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตร จะพบสนสองใบขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไป อุณหภูมิ ในพื้นที่แถบทะเลทรายซึ่งมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงนั้น มักจะพบว่ามีพืชบางชนิดเท่านั้นที่สามารถขึ้นอยู่ได้ เช่น พืชจำพวกกระบองเพชร เนื่องจากสามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงถึง 60 องศาเซลเซียสได้ดี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร ความเป็นกรด - เบส พืชบางชนิด เช่น ข้าวพบว่าสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีที่สุดในสภาพดินเหนียว และในดินที่มีน้ำท่วมขังซึ่งมีค่าความเป็นกรด - เบส อยู่ในช่วง 6.5 - 7.0 แสง มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด เช่น เดือย ซึ่งเป็นพืชวันสั้น (short-day plant) ต้องการแสงแดดจัดในช่วงสั้นๆ และอุณหภูมิสูงในการเจริญเติบโต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร ปัจจัยทางชีวภาพ ในสภาพธรรมชาติโดยทั่วไป พบว่าสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกัน สิ่งมีชีวิตบางชนิดพบว่าเป็นปัจจัยทางชีวภาพที่เป็นปัจจัยจำกัดต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นได้ เช่น กรณีของเสือหรือสิงโตซึ่งเป็นผู้ล่ากับกวางซึ่งเป็นเหยื่อ กรณีดังกล่าวนี้พบว่าเสือหรือสิงโตจัดเป็นปัจจัยจำกัดต่อการมีชีวิตอยู่รอดของกวาง หรือกรณีของการแข่งขันเพื่อการอยู่รอดในสังคมของสัตว์ชนิดเดียวกัน พบว่าสัตว์ที่แข็งแรงกว่าจะมีโอกาสเจริญเติบโตและอยู่รอดมากกว่าสัตว์ที่อ่อนแอกว่า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยทางชีวภาพอื่นๆ ที่พบได้แก่ สิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นซึ่งพบว่ามนพื้นที่หนึ่งๆ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร มักจะมีสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นเข้ามาในพื้นที่นั้นอยู่เสมอจนทำให้สิ่งมีชีวิตเดิมที่มีอยู่ได้รับผลกระทบในลักษณะของการถูกแก่งแย่งที่อยู่อาศัยและอาหาร หรือการถูกขัดขวางการแพร่กระจายพันธุ์จากสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น เช่น ผักตบชวาที่แพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนทำให้ผักตบไทยซึ่งเป็นพืชดั้งเดิมในแหล่งน้ำนั้นลดจำนวนลงหรือสูญพันธุ์ไป กรณีการปล่อยปลาดูด (suckermouth catfish) หรือที่รู้จักกันในชื่อปลาเทศบาล ลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ พบว่ามีผลทำให้สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิดที่วางไข่บนหน้าดินและตัวอ่อนเจริญเติบโตบนหน้าดินลดจำนวนลงหรือสูญพันธุ์ไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร เนื่องจากปลาดูดจะทำลายแหล่งทำรังและแหล่งวางไข่ของสัตว์และกินไข่ของสัตว์น้ำเป็นอาหาร นอกจากนี้พบว่าการระบาดของหอยเชอรี่ในแหล่งน้ำหรือนาข้าวมีผลต่อการทำลายพืชผลโดยเฉพาะกล้าข้าว เนื่องจากหอยเชอรี่สามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ตลอดปี โดยจะวางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 350 - 3,000 ฟอง ดังภาพที่ 20 - 2 และไข่จะฟักเป็นตัวภายใน 7 - 12 วัน การแพร่ระบาดของหอยเชอรี่อาจมีผลทางอ้อมทำให้ปริมาณหอยโข่งในธรรมชาติลดปริมาณลงได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร ก. ข. ภาพที่ 20 – 2 ก.หอยเชอรี่ ข.ไข่หอยเชอรี่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร ในต่างประเทศ เช่น ในทวีปแอฟริกาพบว่าในพื้นที่หลายแห่งมีแมลงเซทซิ (tsetse fly) ดังภาพที่ 20 - 3 อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแมลงชนิดนี้เป็นพาหะของโรคเหงาหลับ (African sleeping sickness) จึงทำให้แทบจะไม่มีผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงอาศัยอยู่เลย ภาพที่ 20 – 3 แมลงเซทซิพาหะของโรคเหงาหลับ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ โรคเหงาหลับเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโพรโทซัวชนิดหนึ่งจำพวกแฟลเจลเลต ชื่อ trypanosome brucei rhodesiense และ Trypanosoma brucei gambiense ซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้ T. brucei rhodesiense พบในพื้นที่ที่มีการทำปศุสัตว์แถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา และ T. brucei gambiense พบในป่าแถวตอนกลางและตะวันตกของทวีปแอฟริกา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ โพรโทซัวชนิด T. brucei rhodesiense ที่พบในเลือดของคนที่ได้รับเชื้อฌรคเหงาหลับ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ เมื่อคนถูกแมลงเซทซิที่มีเชื้อโรคเหงาหลับกัด โพรโทซัวจะแพร่เข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางน้ำลายของแมลงเข้าสู่ทางผิวหนังของคนและแพร่เข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ระบบหมุนเวียนเลือดในขณะเดียวกันโพรโทซัวก็จะมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นและแพร่กระจายเข้าสู้หัวใจและสมองเมื่อเชื้อจากโพรโทซัวแพร่เข้าสู่สมอง สารพิษที่สร้างจากเชื้อชนิดนี้ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงซึม หลับตลอดเวลา และกินอาหารไม่ได้ เกิดอาการอ่อนเพลียและทำให้ตายได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร ปัจจัยอื่นๆ สภาพทุ่งภูมิศาสตร์เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร เช่น การที่สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นทะเล ทะเลทรายและเทือกเขาสูง สิ่งเหล่านี้จะเป็นกำแพงขวางกั้นหรือกีดขวางที่ทำให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถว่ายน้ำ ปีนป่าย บิน หรือลอยข้ามกำแพง กีดขวางไปยังอีกพื้นที่หนึ่งได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม ให้นักเรียนยกตัวอย่างปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว ที่มีผลต่อการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตมาอีก 2 ตัวอย่าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม ให้นักเรียนยกตัวอย่างการแพร่กระจายของประชากรสิ่งมีชีวิต ที่มีผลเนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์มาสัก 2-3 ตัวอย่าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม ในปัจจุบันนี้พบว่ามีภาคเอกชนและภาคธุรกิจของไทยหลายแห่ง ได้มีการพยายามนำเข้าสัตว์ต่างประเทศที่ไม่เคยมีในประเทศไทยเข้ามาเลี้ยงในเชิงธุรกิจ เช่น นกเพนกวิน แมวน้ำ นกกระจอกเทศ เป็นต้น และทำการปรับสภาพแวดล้อมที่เลี้ยงให้มีสภาพที่ใกล้เคียงกับสัตว์นั้นๆ เคยอาศัยอยู่ นักเรียนคิดว่ามีผลดีและผลเสียในเรื่องใดบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

รูปแบบการแพร่กระจายของประชากร ประชากรที่พบในธรรมชาติจะมีรูปแบบการแพร่กระจายแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิต อายุ และการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมอื่นๆ การแพร่กระจายของประชากรในธรรมชาติมีหลายแบบ ดังภาพที่ 20 – 4 ภาพที่ 20 – 4 รูปแบบการแพร่กระจายของประชากรในธรรมชาติ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม รูปแบบการแพร่กระจายของประชากรในธรรมชาติแต่ละแบบดังภาพที่ 20 – 4 มีผลดีและผลเสียอย่างไรบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม นักเรียนเคยเห็นพืชมีการแพร่กระจายอยู่ในธรรมชาติเป็นแบบใดบ้าง และแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุทำให้เกิดการแพร่กระจายแบบนั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

รูปแบบการแพร่กระจายของประชากร จากภาพที่ 20 - 4 จะเห็นว่าประชากรของสิ่งมีชีวิตมีรูปแบบการแพร่กระจาย 3 รูปแบบด้วยกัน คือ การแพร่กระจายแบบสุ่ม (random distribution) การแพร่กระจายแบบนี้พบมากในประชากรที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ โดยเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกันและไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง จึงไม่มีการแก่งแย่งแข่งขันระหว่างสมาชิกและไม่มีการรวมกลุ่มของสมาชิก เช่น การแพร่กระจายของพืชที่มีเมล็ดปลิวไปกับลม หรือสัตว์ที่กินผลไม้และขับถ่ายอุจจาระทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ และในอุจจาระนั้นมีเมล็ดพืชปะปนอยู่จึงงอกกระจายทั่วๆ ไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

รูปแบบการแพร่กระจายของประชากร การแพร่กระจายแบบรวมกลุ่ม (clumped distribution) การแพร่กระจายแบบนี้เป็นรูปแบบการแพร่กระจายของประชากรที่พบในธรรมชาติมากที่สุด ส่วนใหญ่มักพบอยู่รวมกันด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น สภาพแวดล้อมของดิน อุณหภูมิและความชื้น มีความแตกต่างกันทำให้เกิดแหล่งที่อยู่อาศัยรูปแบบต่างๆ เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ไส้เดือนดินจะพบในดินที่ร่วนซุยและมีความชื้นสูง มีอินทรียวัตถุมาก หรือการสืบพันธุ์ที่ทำให้สมาชิกในประชากรมาอยู่ร่วมกันโดนเฉพาะตัวอ่อนที่ยังอาศัยการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ เช่น สัตว์ที่อยู่เป็นกลุ่มครอบครัว เช่น ชะนี หรือรูปแบบของพฤติกรรมที่อยู่เป็นกลุ่ม เช่น ฝูงนก ฝูงวัวควาย ฝูงปลา และโขลงช้าง เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

รูปแบบการแพร่กระจายของประชากร การแพร่กระจายแบบสม่ำเสมอ (uniform distribution) การแพร่กระจายแบบนี้มักพบในบริเวณที่มีปัจจัยทางกายภาพบางประการที่จำกัดในการเจริญเติบโต เช่น ความชื้น อุณหภูมิและลักษณะของดิน เป็นต้น เช่น การแก่งแย่งน้ำเพื่อการเจริญเติบโตของกระบองเพชรยักษ์ (saguaro) ที่ขึ้นในทะเลทรายของรัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา การปลิวของเมล็ดยางไปตกห่างจากต้นแม่เพื่อนเว้นระยะห่างของพื้นที่ในการเจริญเติบโตเพื่อหลีกเลี่ยงการแก่งแย่งความชื้นและแสง หรือการที่ต้นไม้บางชนิดมีรากที่ผลิตสารพิษซึ่งสามารถป้องกันการงอกของต้นกล้าให้เป็นบริเวณห่างรอบๆ ลำต้น นอกจากนี้พบว่าบางครั้งการแพร่กระจายแบบนี้อาจเกิดจากพฤติกรรมทางสังคมที่กำหนดให้มีอาณาเขตรอบๆ เพื่อนหากิน สืบพันธุ์และสร้างรัง เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

รูปแบบการแพร่กระจายของประชากร ภาพที่ 20 – 5 กระบองเพชรยักษ์ ขึ้นในรัฐอริโซน ประเทศสหรัฐอเมริกา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.2 ขนาดของประชากร

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 20.2 ขนาดของประชากร ประชากรสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมีขนาดคงที่ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งซึ่งเป็นช่วงสั้นๆ เพราะโดยปกติแล้วขนาดของประชากรสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งนี้การเปลี่ยนของขนาดประชากรเกิดขึ้นเมื่อมีสมาชิกเข้ามาหรือออกจากกลุ่มประชากรนั้นๆ เช่น มีการเกิดหรืออพยพเข้า หรือมีการตายและการอพยพออกเกิดขึ้น เป็นต้น ดังภาพที่ 20-6 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.2 ขนาดของประชากร ภาพที่ 20-6 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามนำ ประชากรสิ่งมีชีวิตมีขนาดคงที่หรือไม่ และขนาดประชากรสิ่งมีชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร การเปลี่ยนแปลงของขนาดประชากรขึ้นอยู่กับอัตราที่มีสมาชิกใหม่เข้ามาในกลุ่มประชากรนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราที่มีสมาชิกออกจากกลุ่มประชากรนั้น ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรดังกล่าว ได้แก่ อัตราการเกิด การเกิดเป็นการเพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่ในกลุ่มประชากร ซึ่งเป็นผลมาจากการสืบพันธุ์ อัตราการเกิด(natality)คำนวณได้จากจำนวนของสิ่งมีชีวิตที่เกิดใหม่ต่อจำนวนสิ่งมีชีวิตนั้นจำนวน 1000ตัว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร ภาพที่ 20-7 ประชากรสุกรที่เกิดใหม่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร อัตราการตาย การตายเป็นการลดจำนวนสมาชิกในกลุ่มประชากร อัตราการตาย (mortality) คำนวณได้จากจำนวนสิ่งมีชีวิตที่ตายต่อจำนวนสิ่งมีชีวิตจำนวนนั้น จำนวน 1000 ตัว การอพยพ การอพยพ (migration)มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดประชากรทั้งนี้เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายของสิ่งมีชีวิตจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งทำให้จำนวนสมาชิกของประชากรสิ่งมีชีวิตนั้นเพิ่มจำนวนขึ้นหรือลดจำนวนลงได้ซึ่งการอพยพดังกล่าวนี้มี 2 ลักษณะคือ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร 1.การอพยพเข้า (immigration)เป็นการเคลื่อนย้ายสิ่งมีชีวิตจากประชากรแหล่งอื่นเข้ามารวมกลุ่มกับประชากรที่มีอยู่เดิมทำให้จำนวนประชากรในแหล่งนั้นเพิ่มจำนวนขึ้น 2.การอพยพออก (emigration) เป็นการเคลื่อนย้ายสิ่งมีชีวิตจากประชากรแหล่งเดิมออกไปสู่แหล่งใหม่มีผลทำให้จำนวนประชากรในแหล่งเดิมนั้นลดจำนวนลง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร ภาพที่ 20-8 การอพยพของนกนางนวล ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ อัตราการเกิดของคนนั้นคำนวณได้จากจำนวนทารกที่เกิดจากสตรีที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ (อายุระหว่าง 15-44 ปี)จำนวน 1,000 คน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.3 รูปแบบการเพิ่มของประชากร

20.3 รูปแบบการเพิ่มของประชากร ประชากรของสิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีรูปแบบการสืบพันธุ์เพื่อเพิ่มอยู่ 2 รูปแบบคือ แบบแรก เป็นการเพิ่มประชากรโดยที่สมาชิกโดยที่สมาชิกของประชากรนั้นมีการสืบพันธ์เพียงครั้งเดียวในช่วงชีวิต (single reproduction) สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ก็จะออกลูกออกหลานจากนั้นก็จะตาย พบได้ในแมลง เช่น แมลงชีปะขาว ผีเสื้อและตัวไหม เป็นต้น หรือพืชบางชนิด เช่น คะน้า กวางตุ้ง ข้าว ถั่วเขียว ลาน และไผ่ เป็นต้น แบบที่สองเป็นการเพิ่มประชากรโดยที่สมาชิกของประชากรนั้นมีโอกาสมีการสืบพันธุ์ได้หลายครั้งในช่วงชีวิต (multiple reproduction) สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ได้แก่ สัตว์มีกระดุกสันหลัง เช่น สุนัข แมว มนุษย์ ไม้พุ่ม เช่น ชบา แก้ว เข็ม และไม้ต้น เช่น มะม่วง ขนุน ส้ม ลำไย เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามนำ สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในโลกนี้มีแบบแผนการเพิ่มของประชากรที่เหมือนกันหรือไม่ อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม รูปแบบของการเพิ่มของประชากรรูปแบบแรกที่สมาชิกมีการสืบพันธุ์เพียงครั้งเดียวในช่วงชีวิต กับรูปแบบที่สองที่สิ่งมีชีวิตสามารถสืบพันธุ์ได้หลายครั้งในช่วงชีวิตนั้นมีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.3 รูปแบบการเพิ่มของประชากร นักนิเวศวิทยาได้นำแบบแผนทางคณิตศาสตร์มาอธิบายการเพิ่มของประชากรจากรูปแบบการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งสองแบบนั้น ซึ่งแบบแผนทางคณิตศาสตร์นั้นช่วยให้เราสามารถทำนายแนวโน้มการเพิ่มของประชากรได้แบบแผนการเพิ่มของประชากรมี 2 รูปแบบ ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษามีดังต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.3.1 การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล การเพิ่มของประชากรเอ็กซ์โพเนนเชียล (exponential growth) หรือแบบทวีคูณนั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตที่อัตราการเติบโตของประชากรสูงมาก มีการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็วโดยไม่มีปัจจัยใดๆ ในสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยจำกัด เช่น การเพิ่มจำนวนประชากรพวกแมลงต่างๆ อย่างรวดเร็วในตอนต้นฤดูฝน หรือการเพิ่มของประชากรมนุษย์ หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นต้น กราฟตัวอย่างของการเพิ่มของประกรสิ่งมีชีวิตเอ็กโพเนนเชียลดังแสดงในภาพที่ 20-9 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.3.1 การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล ภาพที่ 20-9 กราฟการเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.3.1 การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล จากกราฟจะเห็นได้ว่าการเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลจะได้กราฟเป็นรูปตัวเจ (J shape)ซึ่งพบว่าการเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลมีระยะของการเปลี่ยนแปลง เป็น 2 ระยะคือ ระยะที่มีการเพิ่มของประชากรอย่างช้าๆ (lag phase) เป็นระยะที่ประชากรมีการเพิ่มจำนวนค่อนข้างช้าเนื่องจากประชากรยังมีจำนวนน้อย ระยะที่มีการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว (exponential growth phase) เป็นระยะที่มีการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วมากในระยะที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.3.1 การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล ดูเหมือนว่าประชากรจะเพิ่มอย่างไม่มีที่สิ้นสุดและไม่มีปัจจัยใดๆ มาขัดขวางการเจริญเติบโตได้ลักษณะดังกล่าวนี้เป็น ภาวะเหตุการณ์ทางอุดมคติ (idearized circumstances)แต่ในธรรมชาตินั้นจะมีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อม (environmental resistance) ได้แก่ อาหารที่อยู่อาศัยและความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่มายับยั้งไม่ให้การเพิ่มประชากรเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีขีดจำกัด ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้สอดคล้องกับแนวคิดของ ทอมัส มัลทัส (Thomas Malthus) ซึ่งกราฟที่เขียนจะคล้ายรูปตัวเจในระยะแรก และเมื่อถึงระยะหนึ่งการเพิ่มของประชากรก็จะลดอย่างรวดเร็วและมีการเพิ่มขึ้นและลดลงของประชากรสลับกัน (irruptive growth) ดังภาพที่ 20 - 10 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.3.1 การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล ภาพที่20-10 กราฟแสดงการเพิ่มของประชากรตามแนวคิดของมัลทัส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ ตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อม หมายถึง ปัจจัยจำกัดทางสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย เช่น อาหาร ของเสียจากเมแทบอลิซึม การแก่งแย่งแข่งขันของสมาชิก การเป็นผู้ล่าและเหยื่อ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้มีผลทำให้การเพิ่มจำนวนของประชากรลดลง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม การเพิ่มประชากรแบบรูปตัวเจ และตามแนวคิดของทอมัส มัลทัส มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม เพราะเหตุใดกราฟการเพิ่มประชากรตามแนวคิดของมัลทัส ในช่วงปลาย มีลักษณะขึ้นๆ ลงๆ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ ทอมัส เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เสนอแนวความคิดของการเพิ่มประชากรมนุษย์ว่า ประชากรมนุษย์มีแนวโน้ม การเพิ่มแบบเรขาคณิต แต่การเพิ่มของอาหารสำหรับมนุษย์เป็นแบบเลขคณิต ซึ่งพบว่าลักษณะดังกล่าวนี้จะทำให้เกิดการไม่สมดุลระหว่างประชากรกับอาหารสำหรับบริโภคจึงทำให้มนุษย์ มีการคิดค้นหาวิธีการ ในการเพิ่มผลผลิตทางเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อรองรับกับปัญหาดังกล่าว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.3.2 การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก (logistic growth) เป็นการเพิ่มจำนวนประชากรที่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมหรือมีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องตัวอย่างการเพิ่มประชากรแบบนี้ ซึ่งเป็นการศึกษาการเพิ่มจำนวนของเซลล์ยีสต์ที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ดังภาพที่ 20 – 11 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.3.2 การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก ภาพที่ 20-11 กราฟการเพิ่มจำนวนของเซลล์ยีสต์แบบลอจิสติก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.3.2 การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก จากกราฟจะเห็นได้ว่าการเพิ่มประชากรแบบลอจิสติกามารถเขียนกราฟได้เป็นรูปตัวเอส (S-Shape) หรือกราฟแบบซิกมอยด์ (Sigmoidal curve) ซึ่งแบ่งระยะต่างๆ ออกได้เป็นสี่ระยะด้วยกันคือ ระยะที่ 1 : ชั่วโมงที่ 2-6 พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรเป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากประชากรเริ่มต้นอย่างมีจำนวนน้อย ระยะที่ 2 : ชั่วโมงที่ 6-10 พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากประชากรเริ่มต้น (ก่อนการแบ่งเซลล์ การเจริญเติบโต และแพร่พันธุ์) มีจำนวนมาก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.3.2 การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก ระยะที่ 3 : ชั้วโมงที่ 10-14 พบว่าอัตราการเพิ่มของประชากรลดลงเนื่องจากมีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ระยะที่ 4 : ชั่วโมงที่ 14-18 พบว่ามีอัตราการเพิ่มประชากรค่อนข้างคงที่เนื่องจากประชากรสามารถปรับตัว ต่อตัวต้านทานได้ในสิ่งแวดล้อมได้ จึงมีอัตราการเกิดเท่ากับอัตราการตาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.3.2 การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก ในการเพิ่มประชากรแบบลอจิสติกนี้ ตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมมีผลมากขึ้นต่อการเพิ่มประชากรในระยะที่ 3 และ 4 จึงทำให้มีขีดจำกัดที่ทำให้สภาพแวดล้อมนั้นสามารถเลี้ยงดูประชากรได้ ระดับที่สภาพแวดล้อมสามารถเลี้ยงดูประชากรได้มากที่สุดนี้เรียกว่า แครีอิงคาพาวิตี้(carrying capacity) และเมื่อนำกราฟรูปตัวเจและรูปตัวเอสมาเปรียบเทียบกันเจได้ดังภาพที่ 20-12 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.3.2 การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก ภาพที่ 20-12 กราฟเปรียบเทียบการเพิ่มประชากรแบบรูปตัวเจและรูปตัวเอส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม ในการเพิ่มของประชากรแบบรูปตัวเอส นี้ ตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมมีบทบาทอย่างไรต่อการเพิ่มประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม ให้นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่มีการเพิ่มของปะชากรแบบรูปตัวเอสมมาอีกสัก 1-2 ตัวอย่าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.4 การรอดชีวิตของประชากร

20.4 การรอดชีวิตของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี นักเรียนเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมสิ่งมีชีวิตบางชนิดจึงออกลูก หรือวางไข่คราวละมากๆ และบางชนิดก็ออกลูกหรือวางไข่คราวละ 1 หรือ 2 ตัว สิ่งที่นักเรียนสงสัยหรือเคยสงสัยนี้ สามารถหาคำตอบได้จากบทเรียนต่อไปนี้ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีแบบแผนการรอดชีวิตของประชากร ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงอายุขัย (lifespan) ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด สิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แมลงมีช่วงอายุขัยสั้น แต่ในสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ช้าง และคน มีช่วงอายุขัยยาวนานเฉลี่ย 70 - 120 ปี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามนำ การมีชีวิตรอดของประชากรแปรผันตามอายุของประชากรอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

กราฟการรอดชีวิตของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ตลอดช่วงอายุขัยของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีอัตราการอยู่รอดในช่วงอายุขัยต่างๆ ไม่เหมือนกัน การรอดชีวิตของประชากรในช่วงวัยต่างๆ กัน ทำให้ความหนาแน่นของประชากรที่อยู่ในวัยต่างๆ แตกต่างกันด้วย ดังภาพที่ 20 - 13 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

กราฟการรอดชีวิตของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ภาพที่ 20 – 13 กราฟการรอดชีวิตของประชากรสิ่งมีชีวิต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม สัดส่วนของสมาชิกในประชากรที่มีอายุขัยต่างกัน สามารถใช้คาดคะเนขนาดของประชากรได้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

กราฟการรอดชีวิตของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กราฟการรอดชีวิตของประชากรจะมีอยู่ 3 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 สิ่งมีชีวิตมีอัตราการรอดชีวิตสูงในวัยแรกเกิด และจะตงที่เมื่อโตขึ้น จากนั้น อัตราการรอดชีวิตจะต่ำเมื่อสูงวัยขึ้น สิ่งมีชีวิตดังกล่าว เช่น คน ช้าง ม้า สุนัข เป็นต้น รูปแบบที่ 2 สิ่งมีชีวิตมีอัตราการรอดชีวิตที่เท่ากันในทุกวัย เช่น ไฮดรา นก เต่า เป็นต้น รูปแบบที่ 3 สิ่งมีชีวิตมีอัตราการรอดชีวิตต่ำในระยะแรกของช่วงชีวิต หลังจากนั้นเมื่ออายุมากขึ้นอัตราการรอดชีวิตจะสูง เช่น ปลา หอย และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม เพราะเหตุใดการอยู่รอดของประชากรในแต่ละรูปแบบจึงแตกต่างกัน มีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการอยู่รอดของประชากรนั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.5 ประชากรมนุษย์

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 20.5 ประชากรมนุษย์ ในทุกวันนี้นักเรียนคงเคยได้ยินหรือได้รับข่าวสารเกี่ยวกับ สถานภาพของประชากรมนุษย์กันมาบ้างแล้ว บ้างก็ว่าอัตราการเติบโตของประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บ้างก็ว่าในประเทศมีอัตราการเติบโตของประชากรลดลงหรือบางประเทศกำลังวิตกกังวลเกี่ยวกับจำนวนประชากรในประเทศของตนที่สืบเนื่องมาจากมีอัตราการเกิดและอัตราการตายต่ำ เป็นต้น นอกจากนี้ในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารต่างๆก็มักมีการหยิบยกปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรที่ส่งผลกระทบต่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอๆ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ได้รับทราบมานี้ นักเรียนคิดว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ของโลกที่แท้จริงควรเป็นอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามนำ ประชากรมนุษย์ มีอัตราการเติบโตอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.5.1 การเติบโตของประชากรมนุษย์ อันที่จริงแล้วประชากรมนุษย์มีแบบแผนการเติบโตเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ถ้าหากลองพิจารณาดูกราฟการเติบโตของประชากรตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาหลายพันปีจนกระทั่งปัจจุบันจะเห็นว่าในระยะแรกการเติบโตของประชากรค่อนข้างต่ำ และคงที่นับพันๆ ปี จากนั้นประชากรก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังภาพที่ 20 - 14 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.5.1 การเติบโตของประชากรมนุษย์ ภาพที่ 20 – 14 การเติบโตของประชากรมนุษย์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม จากภาพที่ 20 – 14 ถ้าการเพิ่มประชากรมนุษย์เป็นแบบรูปตัวเจ นักเรียนคิดว่าการเพิ่มประชากรในลักษณะนี้จะมีที่สิ้นสุดหรือไม่ อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม นักเรียนคิดว่ามีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมอะไรบ้างที่มีผลต่อการเพิ่มประชากรมนุษย์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.5.1 การเติบโตของประชากรมนุษย์ ดังที่ทราบแล้วว่าประชากรมนุษย์ในโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะการเพิ่มของประชากรมนุษย์มีแบบแผนการเพิ่มเป็นแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล โดยมีกราฟการเพิ่มของประชากรเป็นรูปตัวเจ ดังข้อมูลจำนวนประชากรมนุษย์ของโลก จากตารางที่ 20.1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.5.1 การเติบโตของประชากรมนุษย์ ตาราง 20.1 เปรียบเทียบจำนวนประชากรของมนุษย์โลกในรอบทศวรรษ ปี พ.ศ. 2493 - 2553 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ใช้ข้อมูลในตาราง 20.1 หาอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ในแต่ละช่วง 10 ปี โดยมีการเก็บข้อมูลเมื่อเดือนพฤษภาคมตั้งแต่ปี พ.ศ.2493-2553 แล้วนำค่าที่ได้มาเขียนกราฟเพื่อดูแนวโน้มของอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม จากตารางในปี .ศ. 2493 – 2553 แนวโน้มของจำนวนประชากรมนุษย์ของโลกเป็นอย่างไร และมีอัตราการเพิ่มเป็นเช่นไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม จากตาราง ในปี พ.ศ. 2493-2553จำนวนประชากรมนุษย์ของโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากจะทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบด้านใดต่อมนุษย์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดประชากรของมนุษย์ จากที่นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่าในการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรสิ่งมีชีวิตขึ้นอยู่กับอัตราการเกิด อัตราการตายและอัตราการอพยพ ในประชากรมนุษย์ก็เช่นเดียวกันพบว่าในการศึกษาเรื่องประชากรมนุษย์ (demography)นักประชากรศาสตร์จะใช้อัตราการเกิดหรืออัตราการเกิดเชิงประเมิน (crude birth rate) และอัตราการตายหรืออัตราการตายเชิงประเมิน (crude death rate) ในการนำเสนอข้อมูลในภาพรวมอย่างคร่าวๆ ดังภาพที่ 20-15 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดประชากรของมนุษย์ ภาพที่ 20 – 15 อัตราการเกิดเชิงประเมินและอัตราการตายเชิงประเมินของประชากรในประเทศต่างๆ ในปี พ.ศ.2550 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

คำถาม จากภาพที่ 20-15ประชากรในประเทศใดที่มีแนวโน้มของอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้น และในประเทศที่มีแนวโน้มของอัตราการเพิ่มของประชากรลดลงเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่ออัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรมนุษย์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม เพราะเหตุใดอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรในประเทศโปแลนด์จึงเท่ากัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร นอกจากขึ้นอยู่กับอัตราการเกิดและอัตราการตายแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยใดอีกบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมที่ 20.2 1.พิจารณาตารางแสดงจำนวนประชากรคนไทยในปี พ.ศ. 2462-2552 แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปของกราฟ ตารางจำนวนประชากรคนไทยในปี พ.ศ. 2462 - 2552 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมที่ 20.2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมที่ 20.2 2.ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนประชากรคนไทยในประเด็น ต่อไปนี้ 2.1 การเพิ่มของประชากรจากอดีตถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร ช่วงใดมีการเพิ่มจำนวนประชากรมากที่สุด เพราะเหตุใด 2.2 ในช่วงระยะปี พ.ศ. 2542 – 2552 การเพิ่มจำนวนประชากรเป็นอย่างไรเพราะเหตุในจึงเป็นเช่นนั้น 2.3 การเพิ่มจำนวนประชากรมีผลต่อการขยายตัวของชุมชนเมือง เพื่อที่อยู่อาศัยการเกษตร และอุตสาหกรรมอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมที่ 20.2 2.4 การเพิ่มจำนวนประชากรมีผลต่อปริมาณความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไรและมีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมใดบ้าง นักเรียนจะมีวิธีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์ ประชากรมนุษย์มีการเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ ผลิตลูกเป็นรุ่นๆ ประชากรมนุษย์ในแต่ละรุ่นก็จะเจริญเติบโตต่อไปและสืบพันธุ์ให้ลูกหลานรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากลักษณะของ 3 กลุ่มคือ วัยก่อนเจริญพันธุ์ (pre-reproductive age) ช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิด – 14 ปี วัยเจริญพันธุ์ (reproductive age) ช่วงอายุตั้งแต่ 15 – 44 ปี และวัยหลังเจริญพันธุ์ (post – reproductive age) ช่วงอายุตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไปประชากรที่มีช่วงอายุที่แตกต่างกันนี้เมื่อนำมาประกอบเป็นแผนภาพโครงสร้างอายุของประชากร (age structure diagram) ซึ่งแสดงในรูปพีระมิดพบว่าถ้าหากกลุ่มระชากรในวัยก่อนเจริญพันธุ์มีขนาดใหญ่ที่สุดอัตราการเกิดของประชากรก็จะสุงกว่าอัตราการตาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์ ดังนั้นพีระมิดโครงสร้างอายุของประชากรก็จะมีฐานกว้าง ปลายยอดแหลม ถ้าหากขนาดของกลุ่มประชากรในวัยเจริญพันธุ์เท่ากับขนาดของกลุ่มประชากรในวัยก่อนเจริญพันธุ์พีระมิดโครงสร้างอายุของประชากรจะเป็นรูประฆังคว่ำ และถ้าหากว่าขนาดเล็กกว่าขนาดของกลุ่มประชากรในวัยเจริญพันธุ์พีระมิดโครงสร้างอายุของประชากรก็จะเป็นรูปดอกบัวตูม พีระมิดโครงสร้างอายุของประชากรแบบต่างๆ แสดงดังภาพ 20-16 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ ในการเขียนกราฟพีระมิดโครงสร้างอายุของประชากร นิยมใช้ช่วงอายุห่างกัน ในแต่ละช่วง 5 ปี และแยกประชากรเพศชายและเพศหญิงออกจากกัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์ ภาพที่ 20 – 16 พีระมิดโครงสร้างอายุประชากรมนุษย์แบบต่างๆ ก.พีระมิดฐานกว้างยอดแหลม ข.พีระมิดรูปกรวยปากแคบ ข.พีระมิดรูประฆังคว่ำ ง.พีระมิดรูปดอกบัวตูม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์ จากภาพพีระมิดโครงสร้างอายุประชากรมนุษย์ ทำให้สามารถคาดคะเนแนวโน้มของประชากรในประเทศนั้นๆ ได้ เช่น แบบ ก. พีระมิดฐานกว้าวยอดแหลม แสดงถึงโครงสร้างประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วพบโครงสร้างอายุประชากรแบบนี้ได้ใน ประเทศกัวเตมาลา ซาอุดิอาระเบียและประเทศในแอฟริกา เช่น เคนยาและไนเจีย เป็นต้น แบบ ข. พีระมิดรูปกรวยปากแคบ แสดงถึงโครงสร้างประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆพบโครงสร้างอายุประชากรแบบนี้ได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา และไทย เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์ แบบ ค. พีระมิดรูประฆังคว่ำ แสดงถึงโครงสร้างประชากรที่มีขนาดคงที่ พบโครงสร้างอายุประชากรแบบนี้ได้ในประเทศสเปน เดนมาร์ก ออสเตรเลีย และอิตาลี เป็นต้น แบบ ง. พีระมิดรูปดอกบัวตูม แสดงถึงโครงสร้างประชากรลดลง พบโครงสร้างอายุประชากรแบบนี้ได้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ฮังการี สวีเดน บัลกาเรีย และสิงคโปร์ เป็นต้น นอกจากนี้ลักษณะโครงสร้างอายุประชากรสามารถสะท้อนภาพของประชากรจากอดีตถึงปัจจุบันได้ และยังสามารถได้ใช้คาดคะเนขนาดของประชากรในอนาคตได้อีกด้วย ดังแสดงในภาพที่ 20 - 17 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์ ภาพที่ 20 – 17 พีระมิดโครงร้างของประชากรมนุษย์ในปี พ.ศ.2528 และ พ.ศ.2568 ก.ประเทศที่กำลังพัฒนา ข.ประเทศที่พัฒนา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม สัดส่วนของสมาชิกในประชากรที่มีช่วงวัยต่างกันใช้คาดคะเนขนาดของประชากรได้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม โครงสร้างอายุของประชากรใช้คาดคะเนขนาดของประชากรในอนาคตได้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม จากภาพที่ 20 – 17 ประชากรมนุษย์ในประเทศที่พัฒนาแล้วกับประชากรมนุษย์ในประเทศที่กำลังพัฒนาในปี พ.ศ. 2528 มีอัตราการเติบโตเป็นอย่างไรและแนวโน้มของการทั้ง 2 กลุ่มในปี พ.ศ. 2568 มีการเติบโตเป็นอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม การเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรบ้านต่อระบบนิเวศ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์ ประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ เป็นองค์ประกอบทางชีวภาพที่สำคัญของระบบนิเวศทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้สลายสารอินทรีย์ ถ้าหากกลุ่มของสิ่งมีชีวิตทั้ง 3 กลุ่มนี้มีขนาด สัดส่วนและการกระจายที่เหมาะสมแล้วจะทำให้ระบบนิเวศเกิดความสมดุลแต่โดยความเป็นจริงแล้วพบว่า กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้บริโภคจะมีมากที่สุด จึงทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระบบนิเวศมากขึ้นโดยเฉพาะประชากรมนุษย์ มนุษย์เป็นประชากรในระบบนิเวศที่บริโภคทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติมากที่สุด ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่นั้นเสียสมดุลก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อตามมา ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษารายละเอียดในบทต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ประชากรมนุษย์ https://www.youtube.com/watch?v=bSCWSCh41NA ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

คำถามท้ายบทที่ 20

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 1.ถ้าต้องการสำรวจประชากรปลานิล ในบ่อเลี้ยงปลาแห่งหนึ่ง นักเรียนจะมีวิธีการสำรวจได้กี่วิธี และนักเรียนจะเลือกใช้วิธีใด เพราะเหตุใด ตอบ 1.การนับจำนวนโดยตรง  2.การทำเครื่องหมายและจับซ้ำ  เพราะปลาอาศัยอยู่ในบ่อเลี้ยงปลาซึ่งมีพื้นที่จำกัด อาจใช้อุปกรณ์ เช่น แห หรืออวน จับปลาจนหมดบ่อแล้วนับจำนวนได้ หรืออาจใช้วิธีจับขึ้นมาเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง ทำเครื่องหมายปลาที่จับได้ แล้วปล่อยลงบ่อไป ต่อจากนั้นทิ้งระยะเวลาพอสมควร จึงจับใหม่แล้วใช้วิธีคำนวณตามสูตรได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 2.นายเกรียงไกรเลี้ยงกบไว้ในบ่อขนาด 50x50 ตารางเมตร และต้องการทราบว่าในบ่อที่เลี้ยงนี้มีกบอยู่หนาแน่นมากน้อยเพียงใด จึงได้ทดลองหาความหนาแน่นของประชากรแบบทำเครื่องหมายและจับซ้ำและได้ข้อมูลดังนี้ สถานการณ์ที่ 1 นายเกรียงไกรจับกบขึ้นมาจากบ่อครั้งแรกได้กบ 1,350 ตัวทำเครื่องหมายแล้วปล่อยกบลงในบ่อ ทิ้งระยะเวลาพอสมควร จากนั้นจับกบขึ้นมาจากบ่อเป็นครั้งที่ 2พบว่ามีกบที่มีเครื่องหมายอยู่จำนวน 435 ตัวและไม่มีเครื่องหมาย 195 ตัว จากนั้นปล่อยกบลงบ่อ เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง เขาจึงทำการจับกบขึ้นมาจากบ่อเป็นครั้งที่ 3 ได้กบทั้งหมดที่มีเครื่องหมาย 613 และไม่มีเครื่องหมาย 365 ตัว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 2.1 กบที่นายเกรียงไกร เลี้ยงไว้ในบ่อมีจำนวนประชากรทั้งหมด เท่าไร ตอบ 1) นักเรียนสามารถเลือกข้อมูลจากการจับกบครั้งที่ 2 มาคำนวณหาค่าความหนาแน่นได้ โดยการแทนค่าจากสูตร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 เมื่อ P = ประชากรที่ต้องการทราบ T2 = จำนวนสัตว์ทั้งหมดที่จับได้ครั้งหลังทั้งที่มี เครื่องหมายและไม่มีเครื่องหมาย M1 = จำนวนสัตว์ที่จับได้ครั้งแรก และทำเครื่องหมาย ทั้งหมดแล้วปล่อย M2 = จำนวนสัตว์ที่มีเครื่องหมายที่จับได้ครั้งหลัง จะได้ P= (630 x 1,350)/435 = 1,955.17 ตัว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 2) นักเรียนสามารถเลือกข้อมูลจากการจับกบ ครั้งหลังสุด (ครั้งที่ 3) จงคำนวณหาค่าความหนาแน่น โดยแทนค่าจากสูตรจะได้ P = (978 x 1,350) / 613 = 2153.83 ตัว 3) หากนักเรียนนำข้อมูลจากชุดที่ 1 และชุดที่ 2 มารวมกันแล้วหาค่าความหนาแน่น นักเรียนสามารถทำได้แต่ต้องให้เหตุผลประกอบด้วยว่ากรณีเช่นนี้ จะหมายความว่า กบที่จับขึ้นมาครั้งที่ 2 จะต้องไม่ถูกปล่อยลงไปในบ่อ โดยแทนค่าจากสูตร จะได้ P = [978x[(1,350–435)+(435+195)]/613 = 2,464.94 ตัว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 สถานการณ์ที่ 2 ถ้านายแดงทดลองจับกบขึ้นมาจากบ่อนี้อีกครั้ง ได้จำนวนกบทั้งหมด 1,750 ตัว เป็นกบที่มีเครื่องหมายอยู่ 365 ตัว แล้วทำเครื่องหมายให้กับกบที่ยังไม่มีเครื่องหมาย จากนั้นจึงปล่อยกบทั้งหมดลงไปในบ่อดังเดิม วันรุ่งขึ้นจับขึ้นมา 1,530 ตัว พบว่ามีเครื่องหมายทั้งหมด 1,170 ตัว 2.2 ประชากรกบที่อยู่ในบ่อทั้งหมดมีประมาณเท่าไร ตอบ โดยแทนค่าจากสูตร จะได้ P = [ 1,530 x (1,385 + 1,350)] / 1,170 = 3,576.53 ตัว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 จากสถานการณ์ที่ 1 และ 2 นี้จะเห็นได้ว่า การสุ่มจำนวนประชากรมากครั้งจะได้รับความหนาแน่นของประชากรที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เพราะจำนวนประชากรที่สุ่มในแต่ละครั้งจะมากตามไปด้วย ทำให้เมื่อนำไปคำนวณหาค่าความหนาแน่น จะมีค่าความคลาดเคลื่อนที่ลดลง ตามไปด้วย ทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 3. ปัญหาการเพิ่มจำนวนประชากรมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นั้นก่อให้เกิด ปัญหาใดบ้าง และควรจะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร ตอบ ประชากรมนุษย์ เมื่อเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาดังนี้ 1.ที่อยู่อาศัยแออัด หรือขาดแคลนที่อยู่อาศัย 2. ขาดแคลนอาหาร 3. เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม 4. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมทำให้เกิดปัญหามลพิษ เกิดโรคระบาด และเกิดความเครียดเป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 วิธีแก้คือ ควรมีการวางแผนครอบครัว ควบคุมอัตราการเกิดของประชากรมนุษย์ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละชุมชน ที่มนุษย์อาศัยอยู่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 4. ปัจจัยใดเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอพยพของประชากร ตอบ 1. สภาพแวดล้อมในถิ่นที่อยู่อาศัย เดิมไม่เหมาะสม เกิดปัญหามลพิษขึ้น 2. จำนวนประชากรหนาแน่นเกินไป เกิดการแก่งแย่งในด้านต่างๆ 3. ขาดแคลนอาหาร 4. เกิดภัยธรรมชาติ เช่น พายุ น้ำท่วม โรคระบาดต่างๆ 5. สภาพเศรษฐกิจ สังคม และ การศึกษา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 5. สัดส่วนของประชากร ที่มีอายุต่างกัน สามารถใช้คาดคะเนการเปลี่ยนแปลง ขนาดของประชากรในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างไร และในประเทศที่กำลังพัฒนา จำนวนประชากรในระยะก่อนสืบพันธุ์ ระยะสืบพันธุ์ และระยะหลังสืบพันธุ์ จะเป็นอย่างไร ตอบ สัดส่วนของประชากรในช่วงอายุต่างกัน สามารถใช้คาดคะเน อัตราการเกิดและจำนวนประชากรในปัจจุบัน และอนาคตได้ เพราะโครงสร้างอายุของประชากรมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการเพิ่มจำนวนของประชากร ในประเทศที่พัฒนา จำนวนประชากรในวัยก่อนเจริญพันธุ์มีมากกว่าวัยเจริญพันธุ์มาก และประชากรในวัยเจริญพันธุ์มีมากกว่าวัยหลังเจริญพันธุ์เล็กน้อย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 6.ในการเลี้ยงแบคทีเรีย 50 เซลล์ในจานเพาะเชื้อ แบคทีเรียแบ่งตัวทุกๆ15 นาที ถ้าคิดว่าแบคทีเรียไม่มีการตายเลย เมื่อเวลาผ่านไป 3 ชั่วโมง 6.1 จำนวนประชากรจะเพิ่มเป็นเท่าใด และแนวโน้มของกราฟ จะเป็นรูปแบบใด ตอบ เพิ่มเป็น 204,800 เซลล์ แนวโน้มของกราฟจะเป็นแบบเอ็กโพเนนเชียล โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้ ใช้สูตร ให้ p = จำนวนประชากรที่ต้องการหา l = ประชากรเริ่มแรก t = จำนวนครั้ง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 วิธีคำนวณเวลา 3 ชั่วโมงแบ่งตัวทุกๆ 15 นาที จะได้ t = 12 ครั้ง แทนค่า 6.2 เมื่อทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง แล้วมีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อม ใดเกิดขึ้นบ้าง ตอบ เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่งแล้ว มีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นคือ ขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัยแออัด สภาพแวดล้อมเป็นพิษ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 7. การแพร่กระจายของประชากรมนุษย์ในลักษณะของการอพยพจากประเทศ หนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง เกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไร ตอบ ผลดี คือ 1.เกิดการกระจายของประชากร คือ ประชากรไม่ไปแออัด อยู่ที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 2.เกิดการกระจายทางด้านวิชาการ และเทคโนโลยี คือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีโอกาสนำนำความรู้ไปใช้กับประเทศที่ตนได้ไปอยู่ 3.สามารถนำแรงงานไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ กรณีที่ประชาชนย้ายจากย่านที่คนอยู่ หนาแน่นไปยังแหล่งที่ประชากรเบาบาง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 4.ช่วยลดความแออัดของประชากร ในบางท้องที่ลง และไปเพิ่มประชากรให้กับบริเวณอื่น 5.ทำให้เกิดการบุกเบิก นำทรัพยากรที่ถูกทอดทิ้ง มาใช้ประโยชน์ คือ เมื่อประชากรเพิ่มทรัพยากรก็จะต้องถูกนำมาใช้ให้เพียงพอกับจำนวนประชากร 6.เกิดการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรม มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ของแต่ละประเภทมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 ผลเสีย คือ 1.เกิดปัญหาสังคมขึ้นในเมือง เช่น ยาเสพติด โสเภณี อาชญากรรม และ ชุมชนแออัด 2.เกิดความขัดแย้งทางการเมือง เนื่องจากการเรียกร้องเชื้อชาติ และศาสนา 3.ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งอาจจะนำมาจากถิ่นเดิมของผู้ที่อพยพเข้ามา 4.ทำให้สุขภาพพลานามัย เสื่อมโทรม ต้องใช้เวลานานกว่าจะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ใหม่นั้นได้จึงก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 8. จากกราฟการอยู่รอด ของประชากรปลาดังภาพ เป็นรูปแบบของการมีชีวิต อยู่รอดรูปแบบใด เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น จงอธิบาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 20 ตอบ จากกราฟการอยู่รอดของประชากร ปลาดังภาพ พบว่าการอยู่รอดของประชากรปลา จะมีอัตราการรอดชีวิตต่ำ ในระยะแรกของช่วงชีวิต เนื่องจากเมื่อปลาวางไข่แล้ว โอกาสที่ไข่ปลาจะถูกสัตว์น้ำอื่นกินเป็นอาหารมีมาก ทำให้อัตราการอยู่รอดมีน้อย ดังนั้นเส้นกราฟจึงดิ่งลงมา หลังจากนั้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป ลูกปลาที่อยู่รอดจึงมีโอกาสเจริญเติบโต กลายเป็นตัวเต็มวัย อัตราการรอดชีวิตจึงสูงขึ้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี