รองศาสตราจารย์ ดร. กุลธิดา ท้วมสุข คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ KKU. KULTHIDA Plagiarism รองศาสตราจารย์ ดร. กุลธิดา ท้วมสุข คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การประพฤติผิดทางวิชาการ KKU. KULTHIDA การลักลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism) หมายถึง การลอกผลงานหรือนำผลงานของบุคคลอื่นมาใช้หรือนำเสนอ ทำให้ดูเหมือนเป็นความคิดหรือผลงานของตนเอง รวมถึงการนำผลงานตนเองมาผลิตซ้ำ (Self-Plagiarism) การแก้ไขข้อมูลให้เป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง (Falsification) หมายถึง การแก้ไขหรือบิดเบือนรายละเอียดของการวิจัย เช่น วัสดุการวิจัย เครื่องมือ กระบวนการ หรือตัดข้อมูลหรือตัดข้อมูลบางส่วนทิ้ง หรือปรับแต่งผลการวิจัย โดยไม่ได้แสดงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง การสร้างผลงานทางวิชาการที่เป็นเท็จ (Fabrication) หมายถึง การสร้างข้อมูลหรือผลการทดลอง แล้วจัดทำบันทึกหรือรายงานว่าเป็นข้อมูลหรือผลการทดลองจริง โดยที่ไม่ได้ทำขึ้นจริง การละเมิดลิขสิทธิ์ (Copyright Infringement, Parity) หมายถึง การทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ Ethical Legal
การประพฤติผิดทางวิชาการ KKU. KULTHIDA การแก้ไขข้อมูลให้เป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง (Falsification) เปลี่ยนแปลงข้อมูลเพื่อหวังผลการวิเคราะห์ทางสถิติที่เชื่อถือได้ บิดเบือนวิธีการศึกษาเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในการวิจัย เปลี่ยนแปลงวัน เวลาที่ศึกษาหรือเก็บตัวอย่าง เสนอผลการวิจัย/การทดลองที่บิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง
การประพฤติผิดทางวิชาการ KKU. KULTHIDA การสร้างผลงานทางวิชาการที่เป็นเท็จ (Fabrication) สร้างชุดข้อมูลขึ้นมาทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทําการศึกษา/ทดลอง สร้างกระบวนการการศึกษา/ทดลอง โดยที่ไม่ได้มีการดำเนินการจริง เติมข้อมูลที่สร้างขึ้นมาลงในชุดข้อมูลจริงเพื่อให้ยอมรับได้ทางสถิติ ใช้ข้อมูล/ตัวอย่าง/วัสดุในการศึกษา/ทดลองที่ไม่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ได้รับอนุญาต
Fabrication, Falsification KKU. KULTHIDA https://www.slideshare.net/cjrw2/infamous-cases-of-research-misconduct
Fabrication, Falsification KKU. KULTHIDA https://www.slideshare.net/cjrw2/infamous-cases-of-research-misconduct
การประพฤติผิดทางวิชาการ KKU. KULTHIDA การประพฤติผิดทางวิชาการ Plagiarism Copyright Infringement Ethical Legal Fair Use Citation Permission Payment
ผลงาน คืออะไร KKU. KULTHIDA ผลงาน หมายถึง วรรณกรรม ที่อยู่ในรูปแบบต่างๆได้แก่ หนังสือ บทความ เอกสาร วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ภาพวาด ภาพเขียน ภาพถ่าย แนวคิด (ที่อาจนำเสนอในรูปโมเดล สูตร โค้ด แผนภูมิ แผนภาพ) สำนวน สุนทรพจน์ เว็บ อินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ สื่อ ทั้งที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์ และดิจิทัล
การลักลอกผลงานงานวิชาการ (Plagiarism) KKU. KULTHIDA การลักลอกผลงานงานวิชาการ (Plagiarism) การลอกคำ ประโยค เนื้อหา กระบวนการ หรือความคิดของบุคคลอื่น อาจเป็นการคัดลอกคำต่อคำ การลอกเพียงบางส่วน การถอดความเนื้อหาสาระ หรือการสรุปความแล้วนำเสนอให้ดูเสมือนเป็นความคิดและผลงานของตนเอง โดยมิได้ระบุถึงแหล่งที่มาของข้อเขียนหรือความคิดนั้นด้วยวิธีการอ้างอิงที่สมบูรณ์ ชัดเจนและเป็นหลักสากล ทั้งนี้ ให้หมายรวมถึง การคัดลอกผลงานของตนเอง โดยทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นงานสร้างสรรค์ใหม่ด้วย การลักลอกงานวิชาการถือเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรม/จรรยาบรณทางวิชาการ และในบางกรณีอาจเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีความผิดตามกฎหมายด้วย อ้างอิง: การลักลอกงานวิชาการและวรรณกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2556
ประเภทของการลักลอกผลงาน KKU. KULTHIDA ประเภทของการลักลอกผลงาน Verbatim (การคัดลอกคำต่อคำ) การนำข้อความจากต้นฉบับมาใช้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ Word Switch (การเปลี่ยนคำ) การนำข้อความต้นฉบับมาใช้โดยเปลี่ยนแปลงบางคำ Paraphrase (การถอดความ) การเขียนข้อความใหม่ที่ยังคงเนื้อหาหรือความหมายเดิมของต้นฉบับ โดยปรับเปลี่ยนสำนวนภาษา คำ และรูปประโยคให้เป็นภาษาของตนเอง ความยาวและน้ำหนักของเนื้อหาจะเท่าๆ กับของเดิม Summary (การสรุปสาระสำคัญ) การสรุปเนื้อหามาแต่เฉพาะใจความสำคัญ ทำให้ข้อความนั้นสั้นกว่าของเดิม เช่น จากหนึ่งย่อหน้าเหลือสองบรรทัด หรือจากหนึ่งหน้าเหลือแค่ย่อหน้าเดียว แต่เป็นภาษาของเราเองเหมือนกัน Source: http://www.plagiarism.org/plagiarism-101/types-of-plagiarism
ประเภทของการลักลอกผลงาน KKU. KULTHIDA ประเภทของการลักลอกผลงาน Translation (การแปลจากภาษาอื่น) การแปลข้อความหรือเนื้อหาต้นฉบับจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง Ideas Plagiarism (การคัดลอกแนวคิด) การนำแนวคิดความรู้หรือทฤษฎีต่างๆ มาอธิบาย ดัดแปลง หรือวิเคราะห์วิจารณ์ Citation Distortion (การอ้างอิงและใส่ข้อมูลเท็จ) – ลอกข้อความหรือเนื้อหา โดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มา แต่ตั้งใจใส่แหล่งที่มาที่เป็นเท็จหรือขาดการตรวจสอบแหล่งที่มาที่ถูกต้อง การคัดลอกงานตนเอง (Self Plagiarism) การนำงานเก่าของตนเองมาทั้งหมด หรือส่วนใหญ่ หรือส่วนที่เป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีการพัฒนาหรือปรับปรุงแต่เพียงเล็กน้อย เพื่อแสดงว่าเป็นการสร้างสรรค์งานขึ้นใหม่ Source: http://www.plagiarism.org/plagiarism-101/types-of-plagiarism
การคัดลอกคำต่อคำ และการเปลี่ยนคำ KKU. KULTHIDA การคัดลอกคำต่อคำ และการเปลี่ยนคำ ข้อพึงปฏิบัติ 1. ใส่คำหรือวลีที่คัดลอกอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ “...” 2. การคัดลอกสามารถทำได้บางตอนตามสมควร โดยถือว่าเป็นการใช้งานที่เป็นธรรม (Fair Use) ตามปริมาณ ดังนี้ - ร้อยกรอง (คำประพันธ์ หรือถ้อยคำที่เรียบเรียงในรูปแบบฉันทลักษณ์) หากเป็นบทกวีขนาดสั้นที่ไม่เกิน 250 คำ สามารถคัดลอกได้ทั้งบท หากเป็นบทกวีขนาดยาว สามารถตัดทอนมาได้ไม่เกิน 250 คำ - ร้อยแก้ว (ความเรียงที่ไม่มีลักษณะเป็นร้อยกรอง) สามารถคัดลอกได้ไม่เกิน 1,000 คำ หรือ ร้อยละ10 ของงานนั้น แล้วแต่จำนวนใดน้อยกว่ากัน แต่คัดลอกได้อย่างน้อย 500 คำ อย่างไรก็ดีจำนวนที่ระบุไว้นี้ สามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม เช่น อาจมีความยาวเกินมาเพื่อให้ข้อความของของบทกวีจบบท หรือข้อความของร้อยแก้วจบย่อหน้า เป็นต้น พรบ. ลิขสิทธิ์, 2537; มานิตย์ จุมปา. เขียนอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์, 2558
การคัดลอกคำต่อคำ และการเปลี่ยนคำ KKU. KULTHIDA การคัดลอกคำต่อคำ และการเปลี่ยนคำ ข้อพึงปฏิบัติ (ต่อ) - แผนถูมิ (Chart) กราฟ (Graph) แผนผัง (Diagram) ภาพวาด (Printing) การ์ตูน (Cartoon) รูปภาพ (Picture) หรือภาพประกอบ (Illustration) สามารถคัดลอกได้ 1 ภาพ หากมีความจำเป็นต้องคัดลอกงานมากเกินกว่าปริมาณที่ถือว่าเป็นธรรม จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้นก่อน มิฉะนั้นอาจเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ 3. การคัดลอกทุกเรื่อง ต้องระบุแสดงถึงที่มาของงาน ด้วยวิธีการอ้างอิง พรบ. ลิขสิทธิ์, 2537; มานิตย์ จุมปา. เขียนอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์, 2558
การคัดลอกคำต่อคำ และการเปลี่ยนคำ KKU. KULTHIDA การคัดลอกคำต่อคำ และการเปลี่ยนคำ ข้อห้าม การคัดลอกโดยไม่แสดงเครื่องหมายอัญประกาศ การคัดลอกเกินปริมาณที่เป็นธรรม (Fair use) โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ การไม่ระบุแสดงที่มาของงาน หรือไม่แสดงการรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้อื่นในงานนั้น มา มานิตย์ จุมปา. เขียนอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์, 2558
การถอดความ การสรุปสาระสำคัญ การแปล การคัดลอกแนวคิด KKU. KULTHIDA การถอดความ การสรุปสาระสำคัญ การแปล การคัดลอกแนวคิด ข้อพึงปฏิบัติ ต้องระบุแสดงถึงที่มาของงานต้นฉบับ หรือผู้เป็นเจ้าของ การแปลงานของผู้อื่นสามารถทำได้บางตอนตามสมควร แต่ หากมีความจำเป็นต้องแปลเป็นปริมาณมากต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ข้อห้าม ไม่ระบุแสดงถึงงานต้นฉบับ โดยทำเสมือนเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง การแปลงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เกินกว่าปริมาณที่เป็นธรรม อาจเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ มานิตย์ จุมปา. เขียนอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์, 2558
การอ้างอิงและใส่ข้อมูลเท็จ KKU. KULTHIDA การอ้างอิงและใส่ข้อมูลเท็จ ข้อพึงปฏิบัติ อ้างอิงทั้งในเนื้อหาและท้ายเรื่อง ต้องไม่เขียนผลงานโดยไม่อ้างอิงในเนื้อหา มีเพียงจัดทำรายการบรรณานุกรมไว้ท้ายเรื่องเท่านั้น อ้างอิงข้อมูลให้ถูกต้องตามที่ปรากฏจริงในต้นฉบับ ต้องตรวจสอบข้อมูลจากต้นฉบับให้ถูกต้องตรงกัน อ้างอิงจากต้นฉบับเดิม ไม่ควรอ้างอิงแบบ “อ้างถึง” (Cited in) ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการอ้างอิงอันเป็นเท็จ หากข้อมูลไม่ถูกต้อง หากเป็นการสรุปความ หรือถอดความจากเอกสารต้นฉบับหลายชิ้น ให้อ้างอิงเอกสารให้ครบทุกชิ้น
การลักลอกผลงานของตนเอง (Self-Plagiarism) KKU. KULTHIDA การลักลอกผลงานของตนเอง (Self-Plagiarism) การตีพิมพ์เกินความจำเป็น (Redundant Publication) – นำผลงานของตนเองที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วมาเพิ่มเติมหรือแก้ไขเพียงเล็กน้อย การตีพิมพ์ซ้ำ (Duplicate Publication) – นำผลงานของตนเองที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วในแหล่งหนึ่ง มาพิมพ์ซ้ำในอีกแหล่งหนึ่ง โดยอาจไม่มีการแก้ไขหรือมีการแก้ไขเพียงเล็กน้อยที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
การคัดลอกงานตนเอง (Self Plagiarism) KKU. KULTHIDA การคัดลอกงานตนเอง (Self Plagiarism) ข้อพึงปฏิบัติ การนำงานเก่าของตนมาแสดงเป็นส่วนหนึ่งของงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่สามารถทำได้ โดยจะต้องมีการสร้างสรรค์งานส่วนใหญ่ หรือส่วนที่เป็นสาระสำคัญขึ้นใหม่ ต้องระบุแสดงถึงที่มาของงานเดิมที่รวมอยู่ในงานสร้างสรรค์ใหม่ ข้อห้าม การนำงานที่มีอยู่เดิมมาแสดงซ้ำโดยไม่มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมาเพิ่มเติมในสาระสำคัญ การปกปิดไม่ระบุว่ามีงานเดิมรวมอยู่ในงานที่สร้างสรรค์ใหม่ โดยทำเสมือนว่าเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ทั้งหมด มานิตย์ จุมปา. เขียนอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์, 2558
เมื่อใดจึงจะไม่ต้องอ้างอิง แต่ถ้ารู้แหล่งที่มา ควรอ้าง KKU. KULTHIDA เมื่อใดจึงจะไม่ต้องอ้างอิง โดยหลักการ ความรู้ที่เป็นสามัญ (Common knowledge) หรือสิ่งที่ได้มาจากสาธารณสมบัติ (Public domain) ไม่จำเป็นต้องอ้างอิง สิ่งที่รู้กันโดยทั่วไป (ตัดสินจากผู้อ่านหรือเนื้อหา) หัวข้อข่าวหรือข่าวในหนังสือพิมพ์ ผลงานลิขสิทธิ์ที่หมดอายุ ผลงาน/ความรู้ที่มีอยู่ก่อนมีกฎหมายคุ้มครอง สูตรคณิตศาสตร์ ข้อมูลการสนทนาที่ไม่เป็นทางการ แต่ถ้ารู้แหล่งที่มา ควรอ้าง
หลักเกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ตามประกาศ กพอ. 2550 KKU. KULTHIDA หลักเกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ตามประกาศ กพอ. 2550 จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ มีข้อกำหนด 5 ข้อ ดังนี้ (1) ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตน และไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่ (2) ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า (3) ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน (4) ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ (5) ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
KKU. KULTHIDA ผลของการ Plagiarism ถ้ามีการตรวจพบหรือมีผู้ร้องเรียนว่าผลงานที่เขียนมี Plagiarism ผลที่เกิดขึ้นอาจเป็นดังนี้ (ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี) ผลงานไม่ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ผลงานนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ และหากตรวจพบภายหลัง จะถูกเพิกถอน/ถอดถอน (คุณวุฒิ ตำแหน่ง) และอาจมีผลตามมาในเรื่องอื่นๆด้วย กรณีเป็นอาจารย์/บุคลากร อาจมีการตรวจสอบและอาจส่งต่อความผิดทางวินัย หากผลงานเดิมมีลิขสิทธิ์ อาจต้องถูกพิจารณาโทษตามกฎหมาย
มานิตย์ จุมปา. เขียนอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์, 2558 KKU. KULTHIDA ข้อเตือนใจ การลักลอกงานวิชาการเป็นเรื่องละเอียดอ่อนกว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ บางการกระทำเป็นการลักลอกงานวิชาการแต่ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เปรียบเหมือนการลักลอกงานวิชาการเป็นการทำผิดศีลธรรม แต่การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการทำผิดกฎหมาย แต่การทำผิดศีลธรรมบางอย่าง ก็เป็นการทำผิดกฎหมายในตัว การคัดลอกงานวิชาการของคนอื่นโดยไม่อ้างอิงทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นงานของตนเอง ถือเป็น ”การลักลอกงานวิชาการ” และในขณะเดียวกันอาจเป็น “การละเมิดลิขสิทธิ์” ด้วยได้ ดังนั้น บุคคลพึงรักษาตนให้อยู่ในศีลธรรมซึ่งละเอียดกว่ากฎหมาย ย่อมทำให้มั่นใจว่าจะไม่ทำอะไรผิดกฎหมาย ฉันใดก็ฉันนั้น นักวิชาการผู้ใดรักษาตนในการเขียนผลงานทางวิชาให้อยู่ในลักษณะที่ไม่ลักลอกผลงานทางวิชาการ ย่อมทำให้มั่นใจว่าจะไม่ทำอะไรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มานิตย์ จุมปา. เขียนอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์, 2558
KKU. KULTHIDA การละเมิดลิขสิทธิ์ การทําซ้ําหรือดัดแปลง เผยแพรต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่เป็นไปตามข้อยกเว้นที่กฎหมายกําหนด ลิขสิทธิ์ คือสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยลิขสิทธิ์เป็นสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะกระทําการบางอย่างเกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์ของตนได้ การสร้างสรรค์ผลงานอันจะทําให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้น จะต้องปรากฏว่ามีลักษณะเป็นการใช้ความรู้ความชํานาญของผู้สร้างสรรค์ตามสมควรแก่สภาพของงานนั้น และเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเองโดยไม่ได้ลอกหรือเลียนมาจากผลงานของผู้อื่น พรบ. ลิขสิทธิ์, 2537; มานิตย์ จุมปา. เขียนอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์, 2558
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ KKU. KULTHIDA ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ หลักสำคัญ คือ (๑) ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน อันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ (๒) ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วย กฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร วิจัย หรือศึกษา หรือใช้ข้อมูลจากผลงานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น เช่น Book Review เสนอรายงานข่าวสารสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร พรบ. ลิขสิทธิ์, 2537; มานิตย์ จุมปา. เขียนอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์, 2558
หนังสืออ่านเพิ่มเติม KKU. KULTHIDA หนังสืออ่านเพิ่มเติม มานิตย์ จุมปา. 2556. เขียนผลงานทางวิชาการ อย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ลักลอกผลงาน (Plagiarism). พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. กัญจนา บุญยเกียรติ. 2556. การลักลอกงาน วิชาการและวรรณกรรม (Plagiarism). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
กรณีที่เป็นข่าวในประเทศไทย KKU. KULTHIDA กรณีที่เป็นข่าวในประเทศไทย ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สภาจุฬาฯ ถอนปริญญาเอก “ศุภชัย หล่อโลหการ” ปัญหาเรื่องการคัดลอกวิทยานิพนธ์ เกิดขึ้นหลังจากที่นายศุภชัย หล่อโลหการ ได้จบการศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2550 นายวิลเลียม วิน เอลลิส ได้ร้องเรียนต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่านายศุภชัยได้ลอกเลียนผลงานทางวิชาการของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย บริษัท สวิฟท์ จำกัด และของตน เพื่อนำไปเป็นส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ของนายศุภชัย โดยไม่มีการอ้างแหล่งที่มา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งลับ โดยมีหนังสือออกมาในเดือนกรกฎาคม 2552 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ผลการสอบสวนพบว่า วิทยานิพนธ์ดังกล่าวได้มีการคัดลอกผลงานจากเอกสารงานวิจัย หรือบทความอื่นอย่างมีนัยสำคัญ และในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งการกระทำดังกล่าว เข้าข่ายเป็นการลอกเลียนวรรณกรรมโดยมิชอบ (Plagiarism) วันที่ 21 มิถุนายน 2555 สภามหาวิทยาลัยจึงได้มีมติให้เพิกถอนมติของสภามหาวิทยาลัย ซึ่งอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตให้บุคคลนั้น โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2555 เป็นต้นไป
กรณีที่เป็นข่าวในประเทศไทย KKU. KULTHIDA กรณีที่เป็นข่าวในประเทศไทย อาจารย์ มรภ. นครสวรรค์ชงข้อมูลเลขาฯ ป.ป.ช. 4 คดี‘คณบดี-รองฯ’ลอกงานวิจัย สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 9 เม.ย.58 ผู้ช่วยศาสตราจารย์. . . อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้ส่งหนังสือถึง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ข้อมูลเพิ่ม เติมกรณีการร้องเรียนให้ตรวจสอบพฤติกรรมของ .... ซึ่งดำรงตำแหน่งคณบดีและรองคณบดี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเดียวกัน ลอกงานวิจัยแล้วขอรับเงินสนับสนุนการทำวิจัยของมหาวิทยาลัย จำนวน 40,000 บาท
กรณีที่เป็นข่าวในประเทศไทย KKU. KULTHIDA กรณีที่เป็นข่าวในประเทศไทย ม.ศิลปากรเตรียมถอดถอนปริญญาบัตร ลอกวิทยานิพนธ์ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ โลกออนไลน์มีการแชร์หนังสือมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ลงชื่อโดยนายกิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดี มข. ส่งถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2558 ทวงถามความคืบหน้าการลงโทษอดีตนักศึกษาคณะโบราณคดี มศก. ที่คัดลอกผลงานวิทยานิพนธ์ของอดีตนักศึกษาปริญญาโทคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข. โดยหนังสือระบุว่า ด้วย มข.ได้รับแจ้งจาก น.ส.จตุพร ดอนโสม ซึ่งสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข. พ.ศ.2551 โดยได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "การสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนไทยเชื้อสายเวียดนามบ้านนาจอก ต.หนองญาติ อ.เมือง จ.นครพนม" ว่า ถูกนางสาว ว. (นามสมมุติ) ซึ่งได้รับอนุมัติปริญญาโท จากภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มศก. เมื่อ พ.ศ.2553 ด้วยการทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมกับการปรับตัวธุรกิจร้านอาหารไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเทศบาลเมืองนครพนม" ซึ่งเป็นการคัดลอกวิทยานิพนธ์จริงในระดับขั้น "รุนแรง"....
กรณีที่เป็นข่าวในประเทศไทย หึ่ง อธิการ มศว. ลอกงานวิชาการ KKU. KULTHIDA กรณีที่เป็นข่าวในประเทศไทย หึ่ง อธิการ มศว. ลอกงานวิชาการ
กรณีที่เป็นข่าวในประเทศไทย KKU. KULTHIDA กรณีที่เป็นข่าวในประเทศไทย (คำพิพากษาฎีกาที่ 1908/2546) นายจันทร์เขียนหนังสือ “กลยุทธ์ในการฝึกอบรม” ซึ่งมีข้อความเหมือนและคล้ายกับข้อความที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ “คู่มือการประเมินผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา” และ “คู่มือการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา” ของนายอังคารในส่วนอันเป็นสาระสำคัญของงานประมาณ 30 หน้า จากจำนวนประมาณ 150 หน้า ข้อความบางตอนมีลักษณะเกือบเหมือนกันคำต่อคำ บางตอนมีลักษณะดัดแปลงให้ต่างกันเล็กน้อย และบางตอนก็เพียงแต่ปรับเปลี่ยนหัวข้อเล็กน้อย มีการจัดทำรายการอ้างอิงไว้ตอนท้ายเล่ม 24 รายการ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ศาลฎีกาวินิฉัยว่า “หนังสือ “กลยุทธ์ในการฝึกอบรม” ของจำเลยที่ เป็นหนังสือคำอธิบายเกี่ยวกับการฝึกอบรมขนาด 8 หน้ายก ซึ่งจำเลยสามารถที่จะแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้อยู่แล้ว การที่จำเลย เพียงแต่อ้างอิงถึงชื่อโจทก์และบุคคลอื่นพร้อมงานเขียนรวม 26 รายการ ไว้ในหัวข้อเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม ผู้อ่านย่อมไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าข้อความส่วนใดของงานดังกล่าวเป็นงานเขียนของโจทก์ซึ่งจำเลย คัดลอกมา จึงยังไม่เป็นการเพียงพอที่จะถือได้ว่าเป็นการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันจะถือได้ว่าการกระทำของจำเลย เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ มาตรา ๓๓ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “แม้จำเลยจะคัด ลอก หรือเลียนงานวรรณกรรมของโจทก์จำนวนประมาณ 30 หน้า จากจำนวนทั้งหมดประมาณ 150 หน้า อันถือได้ว่าเป็นงานบางตอน แต่การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์มาบางตอนดังกล่าวล้วนเป็นส่วนของเนื้อหาสาระที่สำคัญ และมีปริมาณงานเป็นจำนวนมาก จึงถือได้ว่าเป็นการคัดลอก หรือเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเกินสมควร”
กรณีที่เป็นข่าวในต่างประเทศ KKU. KULTHIDA กรณีที่เป็นข่าวในต่างประเทศ ปธน. ฮังการียอมลาออกแล้ว หลังเจอข้อหา "ลอกวิทยานิพนธ์ ป.เอก" ประธานาธิบดีปาล ชมิตท์ของฮังการี ประกาศลาออกแล้ววานนี้ (2 เม.ย.55) หลังจากเจอข้อหาลอกวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก และเจอแรงกดดันจากหลายฝ่ายให้พิจารณาตนเอง ล่าสุด มหาวิทยาลัยเซมเมลไวส์ ในกรุงบูดาเปสต์ ประกาศว่าจะถอนปริญญาระดับดุษฎีบัณฑิตของนายชมิตต์ เนื่องจากผลการสอบสวนตามข้อกล่าวหาเรื่องการโจรกรรมทางวิชาการของเขาเป็นความจริง ซึ่งเนื้อหาจำนวนกว่า 200 หน้า จาก 215 หน้า ในวิทยานิพนธ์ของเขา มีการเนื้อหาบางส่วนคล้ายกับงานเขียนของผู้อื่น ทำให้นาย ชมิตต์ต้องยอมลาออกในที่สุด รมต. กลาโหม เมืองเบียร์สละ “ดร.” หลังถูกกล่าวหาก๊อปปี้ “ดุษฎีนิพนธ์” คาร์ล-เธโอดอร์ ซู กุทเทนแบร์ก รมต.กลาโหม เยอรมนี ประกาศไม่รับตำแหน่ง “ดร.” หลังถูกกล่าวหาและโจมตีหนักว่าก๊อปปี้ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และผลงานเขียนของบุคคลอื่นมาใส่ใน “ดุษฎีนิพนธ์” ของตัวเอง จนได้รับฉายาว่าเป็น “รัฐมนตรีตัด-แปะ” (18 ก.พ. 2554)
กรณีที่เป็นข่าวในต่างประเทศ KKU. KULTHIDA กรณีที่เป็นข่าวในต่างประเทศ Senator Tito Sotto ประเทศฟิลิปปินส์ถูกจับได้ว่าลักลอกคำปราศรัยของบุคคลต่าง ๆ รวมทั้ง Robert Kennedy และผู้เป็น US bloggers หลายคน มาใส่ไว้ในคำปราศรัยของเขาจำนวนมาก เขาไม่ยอมรับและไม่ได้ขอโทษ กรณีดังกล่าวยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ผลที่ตามมาคือประเด็น การลักลอก ฯ กลายเป็นที่รู้จักและจะมีความสำคัญมากขึ้นในประเทศที่ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้มาก่อน รวมทั้งหลายประเทศในเอเชียด้วย
ชวนคิด KKU. KULTHIDA อาจารย์ผลิต PPT เพื่อใช้ในการสอน โดยในบางสไลด์มีการสรุปเนื้อหา คัดลอกข้อความ คัดลอกภาพมาจากงานของผู้อื่น อาจารย์ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาใน PPT ที่ใช้สอนหรือไม่ อาจารย์ออกข้อสอบเพื่อใช้ในการสอบรายวิชาที่ตนสอน โดยมีการยกเอาเนื้อหาจากวารสาร นิตยสาร หรือสื่อต่างๆ มาไว้ในข้อสอบ อาจารย์ต้องระบุไว้หรือไม่ว่าเนื้อหานั้นเอามาจากที่ใด อาจารย์/นักวิชาการ เตรียม PPT ไปบรรยายในการเป็นวิทยากรในการประชุมต่างๆ ซึ่งใน PPT มีการคัดลอกภาพ เนื้อหาจากงานของคนอื่นด้วย ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาใน PPT ที่ใช้ประกอบการบรรยายหรือไม่ อาจารย์/นักวิชาการ นำเอกสารประกอบการบรรยายไปพิมพืแจกในการเป็นวิทยากรในการประชุมต่างๆ โดยเอกสารนั้นผลิตร่วมกับเพื่อนอาจารย์/นักวิชาการ หรือผลิตโดยหน่วยงาน ควรต้องแจ้งแหล่งที่มาในเอกสารประกอบการบรรยายหรือไม่
ชวนคิด KKU. KULTHIDA อาจารย์นำเอาข้อมูลจากงานวิจัยของนักศึกษาที่ตนเองเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ไปเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ โดยได้บอกนักศึกษาแล้ว อาจารย์ควรต้องบอกในที่ประชุมด้วยหรือไม่ อาจารย์เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ นำเอาผลงานของนักศึกษาไปเขียนตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ โดยไม่มีชื่อนักศึกษา ซึ่งอาจารย์เป็นคนเขียนบทความเองทั้งหมด และนักศึกษาก็จบไปแล้ว ไม่สนใจจะตีพิมพืผลงานอีก แบบนี้ได้หรือไม่ นักวิชาการ/นักวิจัย เอาผลงานทางวิชาการจากต่างประเทศมาแปลเป็นภาษาไทย แล้วนำแกเผยแพร่ โดยระบุว่าแปลจาก..... แต่ไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของผลงาน แบบนี้ได้หรือไม่ อาจารย์/นักวิชาการ เขียนหนังสือร่วมกับเพื่อน ตีพิมพ์เผยแพร่ไปแล้วระยะหนึ่ง ต่อมาอาจารย์/นักวิชาการนั้นจะขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ จึงไปขออนุญาตตัดชื่อเพื่อนออก และนำผลงานไปใช้
KKU. KULTHIDA จบการนำเสนอ