การดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Yamaha Electrics Co.,Ltd.
Advertisements

16. กลยุทธิ์ที่มุ่งเน้น ความสำเร็จ. Background การเปลี่ยนทัศนคติ จาก แรงงาน เป็นผลการปฏิบัติงาน แรงจูงใจบนพื้นฐานความเข้าใจ เพื่อบรรลุสู่ความสำเร็จ แบบญี่ป่น.
การทำตัวอักษรขึ้นต้นด้วย ตัวใหญ่ นางสาว ลลิตา เจริญผล
ประเด็น 1. ที่มาและความสำคัญของสมรรถนะ 2. ประโยชน์และการประยุกต์ใช้
ทิศทางการศึกษา ในโลกยุคใหม่ ดร. สุรัตน์ ดวงชาทม ผู้อำนวยการสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.
สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 10 พื้นที่รับผิดชอบ : ลุ่มน้ำชีตอนบน 5 จังหวัด ; กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม หนองบัวลำภู - พื้นที่ 39,761 ตร. กม.
D I G I T A L 4.0 Telling Time ENG M.1 Sem. 2 Vocabulary
ศึกษานิเทศน์และเจ้าหน้าที่จากองค์การแพธ
การฝึกอบรมคืออะไร.
การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan - IDP
ความก้าวหน้าการพัฒนากฎหมาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอนามัย
การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project based Learning : PBL)
การประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำ ( Self-Assessment and Reporting : SAR)
สิริพินท์ ศิริโสภาพงษ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ
ประเด็น สิ่งที่ชื่นชม แนวทางการพัฒนา
Training การฝึกอบรม.
แนวทางการตรวจประเมินองค์กรด้วยตนเอง (Self-Assessment)
โรงเรียนในเตาพิทยาคม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่
โครงการอบรมผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร รุ่นที่ 4
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
การเตรียมความพร้อมข้าราชการ สู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
Project based Learning
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ การจัดการกระบวนการ
ภาพรวมของ รพ.ส่งเสริมสุขภาพ ศอ5
งานจัดการเรียนการสอน
โครงงานประวัติศาสตร์ “ประวัติรัชกาลที่ 3” วิชา ส ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดทำโดย ด.ช.จิรกิตติ์ การะเกษ ม.3/8 เลขที่ 7 ก ด.ช.วัศพล โอวาทกานนท์
ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร, DMS. Excellence Training Institution
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
Effective Child Development สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่
กิจกรรมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย ความปลอดภัย
Learning Assessment and Evaluation
ประธานคณะทำงานเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน
ณ วันนี้เป็นวิชาชีพชั้นสูงหรือยัง
ระบบการประกันคุณภาพอาชีวศึกษา
ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตร และสหกรณ์ระดับจังหวัด ครั้งที่ 5/2561 วันอังคารที่ 11 กันยายน 2561 เวลา – น. ณ ห้องประชุมสุพรรณิการ์ ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี
การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน พ.ศ
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา ที่ปรึกษากระทรวงด้านพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข
การเตรียมความพร้อม สหกิจศึกษา
Training & Development
การสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรม Moodle”
แผนที่ยุทธศาสตร์ของศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูงปี
การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑
รายงานการประเมินตนเอง
การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล
การบริหารการปฏิบัติงานของทรู (Cycle of Performance Management System)
ดร.ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ ครูเชี่ยวชาญ (คศ.4)
สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
“No time to go to library use MSU LibraryGO. App”
PRE 103 Production Technology
สาธารณสุขยุคใหม่ สร้างสังคมสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทย
กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม
การบูรณาการ สมรรถนะที่ ก.พ. กำหนด สมรรถนะ M.O.P.H.
สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
ความรู้เกี่ยวกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
National Policy in CKD Prevention
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management
ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
บทที่ 5. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
ส่วนของ ผู้ดูแลระบบ. ระบบการเรียนการสอนแบบ Interactive Model สำหรับ CSMA ด้วยเทคโนโลยี m-Learning.
หมวด 1 การนำองค์กร และการจัดการดี
อ.พรพนา ปัญญาสุข วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ ผู้วิจัย
การประชุมชี้แจงแนวทางการกรอกข้อมูล เกณฑ์ชี้วัดมาตรฐานบริการสาธารณะสำหรับกรุงเทพมหานคร โดย คณะที่ปรึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยในเครือข่ายการวิจัย.
PROVINCE AJ.2 : Satit UP.
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคคล
แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 119 ตอนที่ 98/1 ก วันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2546

วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือ แรงงานให้มากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มมาตรการจูงใจด้านการยกเว้นภาษีเงินได้จากการฝึกอบรมฝีมือ แรงงาน และสิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือ แรงงาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงาน

สิทธิและประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการจากการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตาม พ. ร. บ สิทธิและประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการจากการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 1. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นกรณีพิเศษ สำหรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ผู้ประกอบกิจการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 % สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปในการจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 2. สามารถนำจำนวนผู้เข้ารับการฝึกไปนับสัดส่วน 50% ในการส่งเงิน สมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน กรณีมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ในปีนั้นๆ

3. ได้รับยกเว้นจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายโรงเรียนเอกชน (กรณีฝึกเตรียมเข้าทำงาน) 4. มีสิทธินำคนต่างด้าว ซึ่งเป็นช่างฝีมือแรงงานหรือผู้ชำนาญการเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อมาเป็นครูฝึก (พร้อมคู่สมรสและบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะ) 5. ได้รับคำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือจากกรมพัฒนาฝีมือ แรงงานในด้านต่างๆ 6. สิทธิและประโยชน์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

กรณีการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน 1. มีสิทธิและประโยชน์เช่นเดียวกับกรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกทั่วไป 2. ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการฝึกอบรม 3. มีสิทธิหักค่าไฟฟ้าและค่าประปาเป็นจำนวน 2 เท่าของ ค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการอบรมในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน 4. สิทธิและประโยชน์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

การนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปยกเว้นภาษีเงินได้ กรณีขอยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีกร้อยละ 100 ให้นำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหักออกจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี ตัวอย่าง *มีรายจ่ายในการลงทุนทั้งหมด 4,000 บาท (รวมค่าฝึกอบรม 500 บาท) *มีรายได้ 10,000 บาท หักค่าใช้จ่ายออก 100 % เพื่อเป็นกำไรสุทธิก่อนคำนวณภาษี (ปกติ) 10,000 – 4,000 = 6,000 บาท (100% แรก) นำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหักออกจากกำไรสุทธิก่อนคำนวณภาษี 6,000 – 500 = 5,500 บาท (เพิ่มอีก100%) ต้องเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิเพียง 5,500 บาท

การฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100% มี 3 ประเภท (เป็นลูกจ้าง) 1. การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน 1) ฝึกเอง 2. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ 2) ส่งไปฝึกภายนอก (ไม่ใช่ลูกจ้าง) 1) บุคคลทั่วไป ฝึกเอง 3. การฝึกเตรียมเข้าทำงาน 2) บุคคลทั่วไป ส่งไปฝึกภายนอก 3) รับนักเรียน นักศึกษาฯ ฝึกงาน

การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง การฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100%(ต่อ) การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (Inhouse Training) *หลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงจะนำไปยกเว้นภาษีเงินได้กับสรรพากร* ตาม มาตรา 4 (2) ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 148)

การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก การฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100% (ต่อ) การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก (Public Training) กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะให้ความเห็นชอบเฉพาะหลักสูตร เพื่อนับจำนวนผู้รับการฝึกในการประเมินเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเท่านั้น *ส่วนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้ยื่นต่อกรมสรรพากรเอง* ตาม มาตรา 4 (1) ตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 ประกอบกับประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการกำหนดสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่รับลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าศึกษาหรือฝึกอบรม

การฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง การฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100% (ต่อ) การฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (Inhouse Training) * ต้องได้รับความเห็นชอบรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกอบรมจาก กรมพัฒนาฝีมือแรงงานก่อน สำหรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้นำไป ขอยกเว้นภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรเองตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548

การฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก การฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100% (ต่อ) การฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก (Public Training) *หลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงจะนำไปยกเว้นภาษีเงินได้กับสรรพากรได้* ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 ประกอบกับมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545

การฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100% (ต่อ) การรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา หรือบุคคลที่ทางราชการส่งมาฝึกเข้ารับการฝึก * ต้องได้รับความเห็นชอบรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกอบรมจาก กรมพัฒนาฝีมือแรงงานก่อน สำหรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้นำไป ขอยกเว้นภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรเองตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548

ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างไม่ถึง 100 คน สามารถดำเนินการจัดฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ตามหมวด 1) และยื่นขอรับรองหลักสูตรและค่าใช้จ่าย เพื่อขอยกเว้นภาษีได้เพิ่มอีก 100 %ได้

แผนผังการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 2545 (กรณีผู้ประกอบกิจการมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป) นำหนังสือรับรองหลักสูตร (กรณีดำเนินการฝึกเอง Inhouse ที่มีค่าใช้จ่าย)ไปขอยกเว้นภาษีเงินได้ประกอบ ภ.ง.ด.50 ฝึกอบรมฝีมือแรงงานในแต่ละปี ตามกฎหมาย และยื่นต่อหน่วยงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อขอรับรองหลักสูตรภายใน 60 วันนับแต่ฝึกอบรมเสร็จ แต่ไม่เกิน 15 มกราคมของปีถัดไป ขึ้นทะเบียน ผู้ประกอบกิจการ (สท.1,สท.4) ณ สิ้นเดือนแรกที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปโดยเริ่มบังคับตั้งแต่ปี 2548 (ขึ้นครั้งแรกครั้งเดียว) หนังสือรับรองหลักสูตรการฝึกอบรม กรณีจัดฝึกอบรมแต่ไม่ครบตามสัดส่วนของลูกจ้าง 50%ในปีนั้น ยื่นแบบแสดงการจ่ายเงินสมทบฯ (สท.2)ประจำปี ภายในมีนาคมของปีถัดไป กรณีไม่ได้จัดฝึกอบรมตามสัดส่วนของลูกจ้าง 50%ในปีนั้น

แผนผังการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 2545 (กรณีผู้ประกอบกิจการไม่เคยมีลูกจ้างถึง 100 คน) ฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามเงื่อนไข และยื่นต่อหน่วยงานกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อขอรับรองหลักสูตรภายใน 60 วันนับแต่ฝึกอบรมเสร็จ แต่ไม่เกิน 15 มกราคมของปีถัดไป นำหนังสือรับรองหลักสูตร (กรณีดำเนินการฝึกเอง Inhouse ที่มีค่าใช้จ่าย)ไปขอยกเว้นภาษีเงินได้ประกอบ ภ.ง.ด.50 ผู้ประกอบกิจการไม่เคยมีลูกจ้างถึง 100 คน ไม่ต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ หนังสือรับรองหลักสูตรการฝึกอบรม

การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน มี 3 ประเภท 1. การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน 2. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ 3. การฝึกเตรียมเข้าทำงาน

1. การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน หมายถึง การที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้ลูกจ้าง ได้ฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพิ่มเติมในสาขาอาชีพที่ลูกจ้างได้ปฏิบัติงานอยู่ตามปกติ เพื่อให้ลูกจ้างได้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพนั้นสูงขึ้น โดยหลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการ แบ่งออกได้ 2 กรณี 1.1 ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง 1.2 ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก

เงื่อนไข 1.1 ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง เสนอหลักสูตร รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง และรายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ(ก่อนดำเนินการฝึกอบรม หรือหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว) กรณีที่ให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการฝึก การออกหนังสือ รับรองจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างส่ง รายละเอียด และหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรแล้ว

1.หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) 1.หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม 1) ต้องเป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพนั้นเพิ่มขึ้น โดยหลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการนั้น - ไม่ใช่การประชุมหรือสัมมนา (ที่ไม่ได้ให้ความรู้แก่ผู้รับการฝึกอบรม) - ไม่ใช่การฝึกอบรมหลักสูตรที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการฝึก เช่น หลักสูตรการดูแลครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรการศึกษา เช่น ปริญญาโท ปริญญาตรี ปวส. ปวช. เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรที่มีลักษณะการเรียนแบบ E-learning , Self-learning เป็นต้น 2) ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง 3) ผู้รับการฝึกต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึก อบรมทั้งหลักสูตร

2.สถานที่ฝึก 4) จำนวนผู้รับการฝึกอบรมให้แบ่งกลุ่ม ดังนี้ ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) 4) จำนวนผู้รับการฝึกอบรมให้แบ่งกลุ่ม ดังนี้ 4.1) กรณีการฝึกอบรมโดยการบรรยาย กลุ่มละไม่เกิน 100 คน 4.2) กรณีการฝึกอบรมโดยการจัดกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 50 คน ต่อวิทยากร 1 คน 4.3) กรณีการฝึกอบรมทักษะฝีมือซึ่งต้องมีภาคปฏิบัติ กลุ่มละไม่เกิน 25 คน ต่อวิทยากร 1 คน 2.สถานที่ฝึก 1) ฝึกในสถานประกอบกิจการ หรือหน่วยผลิต 2) ฝึกในสถานที่อื่น เช่น เช่าสถานที่ภายนอกเพื่อใช้ฝึกอบรม ซึ่งอาจเป็นทั้งของทาง ราชการหรือเอกชน 3) ฝึกในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

รายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้าง กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเอง ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) รายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้าง กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเอง 1) ค่าตอบแทนวิทยากร 2) ค่าลิขสิทธิ์ของหลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม 3) ค่าจ้างล่ามระหว่างการฝึกอบรม 4) ค่าแปลเอกสารประกอบการฝึกอบรม 5) ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรม หรือตำรา 6) ค่าจ้างถ่ายเอกสารประกอบการฝึกอบรม 7) ค่าถ่าย ล้าง อัดและขยายรูปภาพ ค่าบันทึกภาพและเสียง ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม

ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) 8) ค่าจัดทำหรือค่าเช่าสื่อการฝึกอบรม ได้แก่สื่อในลักษณะแผ่นโปร่งใส เทปเสียง เทปวีดีโอ ซีดี วีซีดี ดีวีดี ซีดี-รอมแผ่นภาพ สไลด์ และรวมถึงชุดทดลอง ชุดสาธิต หุ่นจำลองที่ไม่มีลักษณะคงสภาพเข้าข่ายเป็นการลงทุน ในกรณีเช่าสื่อการฝึกอบรมจะต้องมีระยะเวลาเช่าที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม 9) ค่าวัสดุ เครื่องมือต่างๆ ที่จะใช้ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน จะต้องมีลักษณะการใช้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในหลักสูตรนั้นๆ ทั้งนี้ วัสดุ เครื่องมือ ดังกล่าวจะต้องไม่ปะปนกับที่ใช้ในการประกอบกิจการตามปกติของผู้ขอรับความเห็นชอบ โดยจะต้องระบุรายการ จำนวนและราคาของวัสดุ เครื่องมือนั้นให้ชัดเจน 10) ค่าเช่าเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม ต้องมีระยะเวลาเช่าที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตร ที่จัดฝึกอบรม

กรณีจ้างจัด 11) ค่าเช่าสถานที่จัดการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) 11) ค่าเช่าสถานที่จัดการฝึกอบรม 12) ค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่างสำหรับ ผู้รับการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรมและวิทยากรระหว่างฝึกอบรม ยกเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 13) ค่าจ้างพาหนะเดินทางข้ามจังหวัดไป-กลับภายในประเทศเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสองเที่ยว ยกเว้นค่าเครื่องบิน 14) ค่าจ้างเหมาพาหนะรับ-ส่งผู้รับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรม และวิทยากรระหว่างการฝึกอบรม 15) ค่าจ้างเหมาพาหนะไปดูงานที่กำหนดไว้ในหลักสูตรภายในประเทศ ยกเว้นค่าเครื่องบิน 16) ค่าพาหนะเดินทางภายในประเทศของวิทยากร กรณีจ้างจัด ค่าฝึกอบรมซึ่งเป็นการจ้างจัดให้กับสถานประกอบกิจการเป็นการเฉพาะ จะต้องอยู่ภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเช่นเดียวกับกรณีดำเนินการฝึกเอง

ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) *การแนบสำเนาหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพื่อประกอบการพิจารณา* 1. ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีที่มีรายการถูกต้องสมบูรณ์ ต้องมีชื่อผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินชัดเจน พร้อมระบุชื่อหลักสูตร / รุ่น / วันที่อบรม / จำนวนเงินให้ชัดเจน (กรณีใบเสร็จรับเงินของโรงแรมให้แนบใบแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายของค่าที่พักและอาหารประกอบด้วย) 2. กรณีใบสำคัญรับเงินที่ให้บุคคลเป็นผู้รับเงินในการจ้างทำของหรือเป็นค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าจ้างทำอาหาร เป็นต้น ต้องมีชื่อผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินชัดเจน พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน 3. กรณีบิลเงินสด ต้องมีชื่อผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินชัดเจน (ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับเงินมาด้วย)

หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) 4. หลักฐานค่าใช้จ่ายที่เป็นสำเนา ต้องรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ 5. ผู้มีอำนาจลงนามเป็นผู้ยื่นคำขอ หรือสำเนาเอกสารหลักฐาน คือ ผู้มีอำนาจในนิติบุคคลนั้น หรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1. ผู้ดำเนินการฝึกซึ่งเป็นนายจ้างยังคงมีหน้าที่ต่อลูกจ้างตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 2. ถ้าฝึกเกิดจากการร้องขอของลูกจ้างและมีการตกลงกันเป็นหนังสือ หากจัดฝึกนอกเวลาทำงานปกติหรือในวันหยุด ให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ ลูกจ้าง ผู้เข้ารับการฝึกไม่น้อยกว่าค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามจำนวนชั่วโมงที่ฝึก 3. ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรม หรือค่าตอบแทนในลักษณะใดๆ จากผู้รับการฝึก

ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) การดำเนินการ ผู้ประกอบกิจการ อาจดำเนินการยื่นคำขอรับความเห็นชอบหลักสูตรก่อนฝึก หรือหลังฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้วก็ได้ แต่หลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว ต้องยื่นคำขอรับความเห็นชอบหลักสูตร รายละเอียดที่เกี่ยวข้องและรายการค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยจัดทำรายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย พร้อมแนบหลักสูตร กำหนดการฝึกอบรมและหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรตามที่จ่ายจริง เสนอต่อนายทะเบียนให้ความเห็นชอบภายใน 60 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นการฝึกแต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป

แบบฟอร์มการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) แบบฟอร์มการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง 1. คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (แบบ ฝย/ฝป 1) 2. รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเอง (แบบ ฝย/ฝป 2 - 1) 3. ใบลงทะเบียนผู้รับการฝึกอบรม (แบบ ฝย/ฝป 3) สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

เงื่อนไข 1.2 ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก 1.2 ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก เงื่อนไข เสนอหลักสูตร รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง และรายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ(ก่อนดำเนินการฝึกอบรม หรือหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว) กรณีที่ให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการฝึก การออกหนังสือ รับรองจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างส่ง รายละเอียด และหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรแล้ว

1.หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก (ต่อ) 1.หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม 1) ต้องเป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพนั้นเพิ่มขึ้น โดยหลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการนั้น - ไม่ใช่การประชุมหรือสัมมนา (ที่ไม่ได้ให้ความรู้แก่ผู้รับการฝึกอบรม) - ไม่ใช่การฝึกอบรมหลักสูตรที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการฝึก เช่น หลักสูตรการดูแลครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรการศึกษา เช่น ปริญญาโท ปริญญาตรี ปวส. ปวช. เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรที่มีลักษณะการเรียนแบบ E-learning , Self-learning เป็นต้น 2) ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง 3) ผู้รับการฝึกต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึก อบรมทั้งหลักสูตร

สิทธิประโยชน์ทางภาษี ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก (ต่อ) 2. สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ต้องเป็นสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานของทางราชการ หรือหน่วยฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่เป็นมูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และต้องเป็นการฝึกอบรมภายในประเทศ สิทธิประโยชน์ทางภาษี นายทะเบียนจะให้ความเห็นชอบเฉพาะหลักสูตร เพื่อนับจำนวนผู้รับการฝึกในการประเมินเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้ยื่นต่อกรมสรรพากรเอง

หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก (ต่อ) หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1. ผู้ดำเนินการฝึกซึ่งเป็นนายจ้างยังคงมีหน้าที่ต่อลูกจ้างตามกฎหมาย เกี่ยวกับแรงงาน สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 2. ถ้าฝึกเกิดจากการร้องขอของลูกจ้างและมีการตกลงกันเป็นหนังสือ หากจัดฝึกนอกเวลาทำงานปกติหรือในวันหยุด ให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ ลูกจ้าง ผู้เข้ารับการฝึกไม่น้อยกว่าค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามจำนวนชั่วโมงที่ฝึก 3. ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรม หรือค่าตอบแทนในลักษณะใดๆ จากผู้รับการฝึก

ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก (ต่อ) การดำเนินการ ผู้ประกอบกิจการ อาจดำเนินการยื่นคำขอรับความเห็นชอบหลักสูตร ก่อนฝึก หรือหลังฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้วก็ได้ แต่หลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว ต้องยื่นคำขอรับความเห็นชอบ หลักสูตร รายละเอียดที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยจัดทำรายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย พร้อมแนบหลักสูตร กำหนดการฝึก อบรมและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องตามที่ฝึกจริง เสนอต่อนายทะเบียนให้ความ เห็นชอบภายใน 60 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นการฝึกแต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป - หลักฐาน รายละเอียดต่างๆเป็นสำเนา ต้องรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ - ผู้มีอำนาจลงนามเป็นผู้ยื่นคำขอ หรือสำเนาเอกสารหลักฐาน คือ ผู้มีอำนาจในนิติบุคคลนั้น หรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ

แบบฟอร์มการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก (ต่อ) แบบฟอร์มการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก 1. คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (แบบ ฝย/ฝป 1) 2. รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ กรณีส่งไปรับการฝึกกับสถานฝึกอบรมอื่น (แบบ ฝย/ฝป 2 - 2) 3. ขอให้แนบหลักฐานการฝึกอบรมที่สามารถระบุได้ว่า การฝึกอบรมนั้นถึง 6 ชั่วโมง และบุคคลใดไปรับการฝึก เช่น ตารางการฝึกอบรม, โบวชัวร์, ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น มาในแต่ละหลักสูตร สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

2. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ หมายถึง การที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้ฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพิ่มเติมในสาขาอาชีพอื่นที่ลูกจ้างมิได้ปฏิบัติงานอยู่ตามปกติ เพื่อให้ลูกจ้างได้มีความรู้ ความสามารถที่จะทำงานในสาขาอาชีพอื่นนั้นได้ด้วย ดังนี้ 1. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพทั้ง ฝึกอบรมภายใน และส่งไปฝึก ภายนอก ใช้เงื่อนไขและแบบฟอร์มเช่นเดียวกับการฝึกยกระดับ ฝีมือแรงงาน เว้นแต่ 2. ระยะเวลาการฝึกอบรมต้องไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง

3. การฝึกเตรียมเข้าทำงาน หมายถึง จัดฝึกอบรมให้บุคคลทั่วไป ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของตน เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานก่อนเข้าทำงาน ซึ่งหลักสูตรต้องสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น แบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ 1.1 ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง 1.2 ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก 1.3 รับนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือบุคคลที่ทางราชการ ส่งมาเข้ารับการฝึก

การฝึกเตรียมเข้าทำงาน ฝึกอบรมให้บุคคลทั่วไป ผู้ประกอบกิจการ ฝึกอบรมให้บุคคลทั่วไป 1.3 รับนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือบุคคลที่ทางราชการส่งมาเข้ารับการฝึก 1.1 ดำเนินการ จัดฝึกเอง 1.2 ส่งไปฝึกภายนอก (สถานศึกษา/สถานฝึกอบรม ฝีมือแรงงาน)

1.1 ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนดำเนินการฝึก (ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 2545) 1. สถานที่ฝึก 1) ฝึกในสถานประกอบกิจการหรือหน่วยผลิต 2) ฝึกในสถานที่อื่น เช่น เช่าสถานที่ภายนอกเพื่อใช้ฝึกอบรม ซึ่งอาจเป็นทั้งของทาง ราชการหรือเอกชน 3) ฝึกในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

2. คุณสมบัติครูฝึกเตรียมเข้าทำงาน ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) 2. คุณสมบัติครูฝึกเตรียมเข้าทำงาน ข้อ 1 ครูฝึกเตรียมเข้าทำงานต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) ได้รับวุฒิบัตรมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพที่ฝึก หรือ (2) สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าขึ้นไปในสาขาที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพ ที่ฝึก หรือ (3) สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่าขึ้นไป ในสาขาที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึก และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึก ไม่น้อยกว่า 2 ปี ข้อ 2 ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพที่ฝึก ครูฝึกเตรียม เข้าทำงานต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 1(2) หรือข้อ 1(3) หรือต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่าขึ้นไปในสาขาที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึก และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ

ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) (2) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 7 ปี หรือ (3) สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา หรือเทียบเท่าขึ้นไป และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือ (4) ต้องมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพที่ฝึก โดยสาขาอาชีพนั้น ต้องเป็นสาขาอาชีพที่ขาดแคลนหรือเป็นสาขาอาชีพที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ข้อ 3 ผู้ที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ 1 และข้อ 2 ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับ การสอนไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง เว้นแต่มีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 เดือน

4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) 3. ระยะเวลาการฝึกอบรม ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรตามสาขาอาชีพ ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง 4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม ต้องมีเพียงพอ อยู่ในสภาพที่ดีและปลอดภัยสำหรับการฝึก 5. วิธีการและมาตรฐานการวัดผลการฝึก ต้องจัดให้มีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติหรือด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งต้องกำหนดเกณฑ์ผ่านการฝึกโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1) จัดให้มีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการฝึก 2) ทำสัญญาการฝึกเป็นหนังสือกับผู้รับการฝึก 3) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก 4) ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรม หรือค่าตอบแทนในลักษณะ ใดๆ จากผู้รับการฝึก (มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45) 5) จัดทำทะเบียนประวัติผู้รับการฝึกไว้เป็นหลักฐาน 6) ออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้รับการฝึกที่สำเร็จการฝึก

สัญญาการฝึกเตรียมเข้าทำงานกรณีฝึกเอง ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) สัญญาการฝึกเตรียมเข้าทำงานกรณีฝึกเอง 1. ระยะเวลาการฝึก 2. เวลาฝึก เวลาพัก และวันหยุดของผู้รับการฝึก 3. เบี้ยเลี้ยงระหว่างรับการฝึก 4. สวัสดิการตลอดจนมาตรการเกี่ยวกับสวัสดิภาพของผู้รับการฝึก 5. หลักเกณฑ์การลา 6. เงื่อนไขการเลิกสัญญาการฝึก 7. หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเกิด จากการฝึก 8. หลักเกณฑ์การรับเข้าทำงานและค่าจ้างเมื่อสำเร็จการฝึก 9. การให้ความยินยอมในการทำสัญญาการฝึกในกรณีผู้รับการฝึกเป็นผู้เยาว์ 10. รายการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก 1. ระยะเวลาฝึก - ไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง - งานที่อาจเป็นอันตรายไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง 2. เวลาพัก - ไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง หลังจากฝึกติดต่อกันไม่เกิน 4 ชั่วโมง 3. วันหยุด - วันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน - วันหยุดตามประเพณี - วันหยุดชดเชย 4. การลาป่วย - มีสิทธิลาป่วยได้ตามความเป็นจริงไม่เกินที่กำหนดในหลักสูตร 5. ข้อห้ามในการฝึก - ห้ามรับผู้รับการฝึกที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ - ห้ามฝึกหญิงหรือเป็นเด็กที่มีอายุ ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ฝึกงานที่อันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) 6. การจ่ายเบี้ยเลี้ยง - ผู้ดำเนินการฝึกจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้รับการฝึกในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดอัตราเดียวกันโดยจ่ายไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง 7. สวัสดิการ - จัดน้ำสะอาดสำหรับดื่ม ห้องน้ำและห้องส้วม - ช่วยเหลือ หรือให้บริการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อผู้รับการฝึก ประสบ อันตรายหรือเจ็บป่วยในระหว่างการฝึก - จัดให้มีการระบายอากาศ ทางระบายน้ำและสิ่งโสโครก แสงสว่าง ทางออกฉุกเฉินในอาคารที่ฝึก 8. ความปลอดภัยการทำงาน - จัดให้มีเครื่องมือป้องกันอันตรายสำหรับการฝึก ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อ สุขภาพหรือร่างกายของผู้รับการฝึก จัดให้มีอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม - จัดทำประกันอุบัติเหตุจากการฝึกให้แก่ผู้รับการฝึกให้ได้รับประโยชน์ไม่น้อย กว่าที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

แบบฟอร์มการฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (ต่อ) แบบฟอร์มการฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง 1. คำขอรับความเห็นชอบเกี่ยวกับการดำเนินการฝึกเตรียมเข้าทำงาน 2. สัญญาการฝึกเตรียมเข้าทำงาน 3. แบบแจ้งผู้สำเร็จการฝึกเตรียมเข้าทำงาน 4. สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

1.2 ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและรายการค่าใช้จ่ายในการฝึก อบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ หลังจากฝึกอบรมเสร็จสิ้น (ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 2545) 1. สถานที่ฝึก สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ต้องเป็นสถานศึกษาตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานของทางราชการ หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่มีฐานะเป็นมูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นการจัดฝึกอบรมให้แก่บุคคลเป็นการทั่วไป และต้องเป็นการฝึกอบรมฝีมือแรงงานภายในประเทศ

หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก (ต่อ) 2. ระยะเวลาการฝึกอบรม ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรตามสาขาอาชีพ ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1) ทำสัญญาการฝึกเป็นหนังสือกับผู้รับการฝึก 2) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก เช่นเดียวกับการฝึกเตรียม เข้าทำงานกรณีดำเนินการฝึกเอง เช่น การจ่ายเบี้ยเลี้ยง ผู้ดำเนินการฝึกจ่าย เบี้ยเลี้ยงแก่ผู้รับการฝึกในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ สูงสุดอัตราเดียวกันโดยจ่ายไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง 3) ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรม หรือค่าตอบแทนในลักษณะใดๆ จากผู้รับการฝึก (มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45)

รายการค่าใช้จ่ายในการฝึกฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก (ต่อ) รายการค่าใช้จ่ายในการฝึกฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก 1) ค่าธรรมเนียมเข้าอบรมหรือค่าลงทะเบียน ให้หมายความรวมถึง ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทางเพื่อเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายในการดูงานในประเทศหรือต่างประเทศตามที่กำหนดในหลักสูตร (ถ้ามี) ที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานเรียกเก็บ 2) ค่าพาหนะเดินทางข้ามจังหวัดไป-กลับภายในประเทศ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสองเที่ยว ยกเว้นค่าเครื่องบิน 3) ค่าเช่าที่พักเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ในกรณีสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานไม่ได้จัดสถานที่พักให้

5) ค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุ ฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก (ต่อ) 4) ค่าเบี้ยเลี้ยงตามที่สถานประกอบกิจการได้ทำสัญญากับผู้รับการฝึก แต่ต้องไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก 5) ค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุ

1.3 การรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาจากสถานศึกษาและ บุคคลที่ทางราชการส่งมาฝึกเข้ารับการฝึก คำว่า “ส่งมาฝึก” คือ สถาบันการศึกษาใดๆ ส่งนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา เข้ามาขอฝึกอบรมกับผู้ประกอบกิจการไม่ใช่นักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา เข้ามาขอทำงานเอง (ลูกจ้างPast time เป็นต้น) เงื่อนไข - ส่งหลักสูตรของสถานศึกษา หลักสูตรของผู้ดำเนินการฝึก หรือหลักสูตรที่สถานศึกษากับผู้ดำเนินการฝึกร่วมกันจัดทำขึ้นให้นายทะเบียนเห็นชอบก่อนเริ่มดำเนินการฝึก - ไม่ใช่ลูกจ้างของผู้ดำเนินการฝึก

การรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาฯ ฝึกงาน (ต่อ) 1. สถานที่ฝึก 1) ฝึกในสถานประกอบกิจการหรือหน่วยผลิต 2) ฝึกในสถานที่อื่น เช่น เช่าสถานที่ภายนอกเพื่อใช้ฝึกอบรม ซึ่งอาจเป็นทั้งของ ทางราชการหรือเอกชน 3) ฝึกในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน 2. ระยะเวลาการฝึกอบรม ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรตามสาขาอาชีพ ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง

3. วิธีการและมาตรฐานการวัดผลการฝึก การรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาฯ ฝึกงาน (ต่อ) 3. วิธีการและมาตรฐานการวัดผลการฝึก ต้องจัดให้มีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติหรือด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งต้อง กำหนดเกณฑ์ผ่านการฝึกโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1) ทำสัญญาการฝึกเป็นหนังสือกับผู้รับการฝึก 2) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก เช่นเดียวกับการฝึกเตรียม เข้าทำงานกรณีดำเนินการฝึกเอง เช่นการจ่ายเบี้ยเลี้ยง ผู้ดำเนินการฝึกจ่ายเบี้ยเลี้ยง แก่ผู้รับการฝึกในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุด โดยจ่าย ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง 3) ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรม หรือค่าตอบแทนในลักษณะใดๆ จากผู้รับการฝึก 4) จัดทำทะเบียนประวัติผู้รับการฝึกไว้เป็นหลักฐาน 5) ออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้รับการฝึกที่สำเร็จการฝึก

การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้ประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือธุรกิจอย่างอื่นซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปทุกท้องที่ ถ้าไม่จัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน หรือจัดฝึกอบรมแต่ไม่ครบตามสัดส่วน 50% ของลูกจ้างทั้งหมดในแต่ละปีปฏิทิน ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน เงินสมทบ คือ เงินที่ผู้ประกอบกิจการส่งสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ในกรณีที่ไม่จัดฝึกอบรมฝีมือแรงงาน หรือ จัดฝึกอบรมฝีมือแรงงานแต่ไม่ครบตามสัดส่วนที่กำหนด

กรณียกเว้นไม่ต้องส่งเงินสมทบ การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (ต่อ) กรณียกเว้นไม่ต้องส่งเงินสมทบ - ผู้ประกอบกิจการซึ่งประกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ เลี้ยงสัตว์และนาเกลือ ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี และไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย - ผู้ประกอบกิจการซึ่งประกอบธุรกิจโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เฉพาะที่เกี่ยวกับครูและผู้สอน - ผู้ประกอบกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เฉพาะที่เกี่ยวกับคณาจารย์ - ผู้ประกอบกิจการ*หยุดหรือเลิกกิจการ ซึ่งไม่มีสถานภาพเป็น ผู้ประกอบกิจการที่ดำเนินกิจการแล้ว - ถ้าในปีปฏิทินใดคำนวณจำนวนลูกจ้างทั้งหมด*เฉลี่ยแล้วมีลูกจ้างไม่ถึง 100 คน ไม่ต้องส่งเงินสมทบในปีนั้น

การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (ต่อ) การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ เมื่อมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป โดยเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 (กรณีมีสาขาให้นับรวมจำนวนลูกจ้างของทุกสาขามารวมกันและขึ้นทะเบียน ณ หน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่) ใช้แบบ สท.1 และแบบ สท.4 สถานที่ยื่นคำขอ ให้ยื่น ณ หน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ - กรุงเทพฯ ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือ แรงงาน ถ.มิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพฯ หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

การยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบ กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในแต่ละปี (สท 2) การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (ต่อ) การยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบ กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในแต่ละปี (สท 2) ให้ยื่นแบบแสดงการจ่ายเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานประจำปี (แบบ สท. 2) ภายในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป เอกสารที่ใช้ที่ยื่นประเมินเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานแต่ละปี มีดังนี้ 1. แบบแสดงการจ่ายเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (สท. 2) 2. แบบรายงานการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ประจำปี .......... (สท.2-2) 3. สำเนาหนังสือรับรองการฝึกอบรมฝีมือแรงงานประจำปีนั้นๆ 4. สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ สปส.1-10 (ส่วนที่1) และใบเสร็จรับเงิน

การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (ต่อ) สถานที่ยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานประจำปี (แบบ สท. 2) ให้ยื่น ณ หน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กองส่งเสริม การพัฒนาฝีมือแรงงาน ถ.มิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพฯ หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

การคำนวณสัดส่วนจำนวนลูกจ้าง ที่ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (ต่อ) การคำนวณสัดส่วนจำนวนลูกจ้าง ที่ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน “ลูกจ้าง” ตามคำจำกัดความของ พ.ร.บ. ส่งเสริมฯ 2545 นั้น คือ ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน สัดส่วน ที่ต้องฝึก อบรม = จำนวนรวมลูกจ้าง ณ วันสิ้นเดือนของทุกเดือน (ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน) นับตั้งแต่เดือนที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ถึงเดือนธันวาคม X 50 % จำนวนเดือนนับตั้งแต่เดือนที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ถึง เดือนธันวาคม สูตรการคำนวณสัดส่วนที่ต้องฝึกอบรม

start start จำนวนลูกจ้าง ณ วันสิ้นเดือน จำนวน (คน) มกราคม 105 กุมภาพันธ์ 116 มีนาคม 109 เมษายน 128 พฤษภาคม 115 มิถุนายน 113 กรกฎาคม 96 สิงหาคม 98 กันยายน 114 ตุลาคม พฤศจิกายน 112 ธันวาคม จำนวนลูกจ้าง ณ วันสิ้นเดือน จำนวน (คน) มกราคม 98 กุมภาพันธ์ 89 มีนาคม 99 เมษายน 95 พฤษภาคม 87 มิถุนายน 88 กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม 101 พฤศจิกายน 105 ธันวาคม 120 start start 1. จำนวนลูกจ้างทั้งหมด 1,333 2. จำนวนลูกจ้างเฉลี่ย 1,333 / 12 = 111.08 3. สัดส่วนที่ต้องฝึกอบรม 111.08 X 50% = 55 1. จำนวนลูกจ้างทั้งหมด 326 2. จำนวนลูกจ้างเฉลี่ย 326 / 3 = 108.67 3. สัดส่วนที่ต้องฝึกอบรม 108.67 X 50% = 54

ไม่ต้องส่งเงินสมทบ หากไม่ได้จัดฝึกอบรม หรือฝึกอบรมไม่ครบ 50 %

การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (ต่อ) หลักเกณฑ์การนับจำนวนผู้รับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่ผ่านการรับรองหลักสูตรจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อประเมินเงินสมทบ 1. ห้ามนับซ้ำคน ในปีเดียวกันถ้าผู้รับการฝึกคนเดียวกันได้รับ การฝึกอบรมมากกว่า 1 หลักสูตร ให้นับ 1 คน 1 หลักสูตร 2. สามารถนับจำนวนผู้รับการฝึก ซึ่งเป็นลูกจ้างที่ได้ลาออกไปแล้ว ในระหว่างปีด้วย 3. สามารถนับรวมจำนวนผู้รับการฝึก ของทุกสาขาที่ได้ขึ้น ทะเบียนรวมกันที่สำนักงานใหญ่ด้วย

หลักเกณฑ์ในการประเมินเงินสมทบ การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (ต่อ) หลักเกณฑ์ในการประเมินเงินสมทบ การเปรียบเทียบจำนวนผู้รับการฝึก กับ สัดส่วนจำนวนลูกจ้างที่ต้องฝึกอบรมฝีมือแรงงานประจำปี กรณี 1 จำนวนผู้รับการฝึก > สัดส่วนจำนวนลูกจ้างที่ต้องฝึกอบรมฝีมือ แรงงาน แสดงว่าจัดฝึกครบตามสัดส่วนที่กำหนด ไม่ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน กรณี 2 จำนวนผู้รับการฝึก < สัดส่วนจำนวนลูกจ้างที่ต้องฝึกอบรมฝีมือ แรงงาน แสดงว่าจัดฝึกไม่ครบตามสัดส่วนที่กำหนด ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างที่ไม่ได้รับการฝึก

- ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ - เงินสมทบ คือ เงินที่ผู้ประกอบกิจการส่งสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ในกรณีที่ไม่จัดฝึกอบรมฝีมือแรงงาน หรือจัดฝึกอบรมฝีมือแรงงานแต่ไม่ครบตามสัดส่วนที่กำหนด - อัตราเงินสมทบ ร้อยละ 1 ของค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ - ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน = อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสุดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในปีสุดท้ายก่อนปีที่ส่งเงินสมทบ x 30

*ดังนั้น ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบประจำปี 2557 การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสุดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานปี 2557 คือ 300 บาท ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ *ดังนั้น ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบประจำปี 2557 *คือ 300 x 30 = 9,000 บาท*

การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ การคำนวณเงินสมทบ

การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ การคำนวณเงินเพิ่ม กรณีผู้ประกอบกิจการไม่จ่ายเงินสมทบภายในเวลาที่กำหนด หรือจ่ายไม่ครบ วิธีการคำนวณเงินเพิ่ม 1. เริ่มนับระยะเวลาเงินเพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นวันแรก สำหรับเศษของเดือนถ้าถึง 15 วันหรือกว่านั้นให้นับเป็น 1 เดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง 2. อัตราเงินเพิ่ม ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน 3. เงินเพิ่มคิดจาก “เงินสมทบที่ยังไม่ได้นำส่ง”

การชำระเงินสมทบ วิธีชำระเงิน การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ การชำระเงินสมทบ วิธีชำระเงิน 1. ชำระเป็นเงินสด ณ ศุนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร ภายในบริเวณวัดธาตุทอง ถนนสุขุมวิท เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 2. ชำระเป็นเช็ค 2.1 เช็คธนาคาร(แคชเชียร์เช็ค) และต้องไม่เป็นเช็คโอนสลักหลัง และเป็นเช็คที่ออกในวันที่นำเช็คนั้นมาชำระ หรือเป็นเช็คที่ลงวันที่ก่อนวันชำระไม่เกิน 7 วัน 2.2 เป็นเช็คขีดคร่อม สั่งจ่ายชื่อบัญชี เงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร บัญชีที่ 2 และขีดคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก Metropolitan Bangkok Skill Development Fund Account 2

การชำระเงินสมทบ วิธีชำระเงิน(ต่อ) 3. ชำระทางธนาคาร การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ การชำระเงินสมทบ วิธีชำระเงิน(ต่อ) 3. ชำระทางธนาคาร 3.1 ชำระผ่านธนาคารกรุงไทย โดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากกระแส รายวัน ชื่อบัญชี เงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกรุงเทพมหานคร บัญชีเลขที่ 2 เลขบัญชี 161-6-00933-0 3.2 ให้ถ่ายเอกสารสำเนาใบนำฝากธนาคาร (pay in) ที่ธนาคารประทับตราแสดงการรับเงินเข้าบัญชี ส่งให้ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการชำระเงินสมทบ และ สถานประกอบกิจการต้องเก็บสำเนาใบนำฝากธนาคารไว้เป็นหลักฐาน การตรวจสอบด้วย

การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ผู้ประกอบกิจการที่ประสงค์จะจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานและดำเนินการฝึกเพื่อขอรับสิทธิและประโยชน์ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อนายทะเบียน โดยต้องมีความพร้อมและความเหมาะสม ดังนี้ 1) ศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานต้องมีลักษณะเหมาะสมสำหรับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามสาขาอาชีพที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด 2) สถานที่ต้องมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานและแยกเป็นสัดส่วนออกจากหน่วยประกอบกิจการ

การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ต่อ 3) เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต้องมีจำนวนตามความจำเป็นเหมาะสม อยู่ในสภาพที่ดีและปลอดภัย 4) ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรมหรือค่าตอบแทนในลักษณะใด ๆ อันเกี่ยวกับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานจากผู้รับการฝึก เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ยื่นคำขอมีความพร้อมและ ความเหมาะสมนายทะเบียนจะออกใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่ให้ความเห็นชอบ ให้แจ้งเป็นหนังสือพร้อม เหตุผล สิทธิและระยะเวลาในการอุทธรณ์ให้ผู้ยืนคำขอทราบ

การขออนุญาตรายการเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำเข้ามา ในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เงื่อนไขการขออนุญาต ต้องยื่นขออนุญาตต่อคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน หาก พิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานก็จะให้ นายทะเบียนออกหนังสืออนุญาต  แต่ถ้าในกรณีที่นายทะเบียนไม่ให้ความเห็นชอบให้ แจ้งเป็นหนังสือพร้อมเหตุผล สิทธิ และระยะเวลา ในการอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นคำขอทราบ การพิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสม - เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ต้องนำเข้ามาเพื่อใช้ในการฝึกอบรมใน ศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน และมีจำนวนเหมาะสมสอดคล้องกับสาขาอาชีพที่ดำเนินการฝึก - รายการเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ จะต้องเป็นของที่ไม่มีการผลิตภายในประเทศ หรือหากมีการผลิตภายในประเทศ แต่ผู้ดำเนินการฝึกมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

สิทธิประโยชน์เพิ่มจากการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน 1) สิทธิได้รับการหักค่าไฟฟ้าและค่าประปาเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนเงินที่ผู้ดำเนินการฝึกได้เสียไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีเงินได้ 2) สิทธิที่จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรม ฝีมือแรงงาน

- กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน แบบฟอร์มการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน 1. คำขอรับอนุญาตจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (แบบ ศร.1) 2. คำขออนุญาตรายการเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำเข้ามาใน ราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (แบบ ศร.2) สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด