ถาม – ตอบ แก้ปมปริศนาในใจคุณ.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
เครื่องชี้วัดคุณภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน
Advertisements

เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
การติดตามประเมินผล และรายงาน.
ตัวชี้วัด หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด (MCH)
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
โปรแกรมคำนวณคะแนน สหกรณ์ ตามเกณฑ์ดีเด่นแห่งชาติ กรมส่งเสริม สหกรณ์ กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงิน และร้านค้า วิธีการใ ช้
การพัฒนาโปรแกรมระบบ รายงาน หน่วยงานเวชสารสนเทศ หน่วยงานเวชสารสนเทศ กลุ่มพัฒนาระบบบริการ สุขภาพโรงพยาบาลสุโขทัย.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
วิธีการใ ช้ โปรแกรมคำนวณคะแนน กลุ่มเกษตรกรดีเด่น กองพัฒนาสหกรณ์ด้าน การเงินและร้านค้า กรมส่งเสริม สหกรณ์
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบบัญชี สุขภาพ (1-8) กุมภาพันธ์ 2558 สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดบุรีรัมย์
องค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติราชการ แบบฟอร์มที่ 1 การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ ของส่วนราชการ ชื่อส่วนราชการ : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.
โครงการ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิม พระเกียรติ “ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิม พระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ
กลุ่มวัยผู้สูงอายุ
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคลากร
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร12
โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
การพัฒนาข้อมูล HDC ปีงบประมาณ เมษายน 2559
ประสบการณ์การ การใช้ระบบติดตามผลการดำเนินงานในกลุ่มผู้ใช้ยา/สารเสพติด
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
“การดูแลหญิงหลังคลอด และ ครอบครัวที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี”
โครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าดินแดง
ปัญหาของข้อมูลในระบบHDC
การคาดประมาณปริมาณการใช้วัคซีน เด็กอายุ 1 ปี (เกิดตั้งแต่ 1 ม.ค. 57)
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การดำเนินงานกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ จังหวัดเชียงใหม่
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2561
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
เปิดบ้าน ชื่อโรงเรียน วันที่.
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จขององค์กรปกครอง
รพ.สต.สายใยรัก อำเภอสัตหีบ
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
60 ข้อ 46 ข้อ การใช้รายงาน HDC การใช้รายงาน HDC.
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
กำหนดการ Work shop -ชี้แจงวัตถุประสงค์ ร่วมเรียนรู้ ร่วมลด CAP ลดซ้ำซ้อน และเสริมพลัง -รับฟังการนำเสนอผลการประเมินตนเองและทำแผนปรับปรุงตนเองและสรุปปัญหาที่ต้อง.
43 แฟ้มกับงานทันตกรรม 1. Standard Data Set 43 แฟ้ม
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
สรุปผลการนิเทศงานเฉพาะกิจ งานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชาลิณี ปิยะประสิทธิ์ สปสช.เขต 10 อุบลราชธานี 21 กันยายน 2560
ทพญ.อัมพร เดชพิทักษ์ กลุ่มงานทันตสาธารณสุข
ข้อมูลการป้องกัน การถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก (PMTCT)
แนวทางการรณรงค์ พัฒนาการเด็ก 4-8 กรกฎาคม 2559
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
ประชุม คปสจ.ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙ MOTTO – กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
จังหวัดสมุทรปราการ.
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศด้านสุขภาพ
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ถาม – ตอบ แก้ปมปริศนาในใจคุณ

หมวดคำถามเกี่ยวกับวิธีนับอายุ ถาม : คิดอายุของเป้าหมาย 0-2 ปี, 3-5 ปี, 6-12 ปี คิดตามปี พ.ศ ณ วันที่ 1 ม.ค หรือตามปีงบประมาณวันที่ 1ตุลาคม ตอบ : กรณีที่เป็นรายงาน แบบความครอบคลุม ในกลุ่มตอบสนอง service plan คิดอายุ ณ.วันที่ 1 มกราคม สำหรับรายงานในกลุ่มเข้าถึงบริการ ที่เป็นกลุ่มอายุตามที่ถาม ใช้การคิดอายุ ณ วันรับบริการ

หมวดคำถามเกี่ยวกับวิธีนับอายุ ถาม : ช่วยอธิบายการแยกอายุที่นับ ณ วันรับบริการ กับ นับ ณ วันที่ 1 มกราตรงกับ hdc การเข้าถึงข้อไหนบ้าง ตรงกับ sp ข้อไหนบ้าง ตอบ : รายงานการเข้าถึงบริการ ใน ข้อ 11-25 จะคิดอายุ ณ. วันรับบริการ รายงาน OHSP (ความครอบคลุม) ในข้อ 7-10, 19- 28, 31-35 คิดอายุ ณ.วันที่ 1 มกราคม รายงาน OHSP สภาวะช่องปาก (survey) ในข้อ 36- 45 จะคิดอายุ ณ.วันรับบริการ

คิดอายุ ณ วันที่ 1 มกราคม 7.OHSP อัตรา (ร้อยละ) การใช้บริการ P&P ในกลุ่มเด็กอายุ 0-2 ปี เฉพาะเขตรับผิดชอบ (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)7,473     2,758     36.91 8.OHSP อัตรา (ร้อยละ) การใช้บริการ P&P ในกลุ่มเด็กอายุ 3-5 ปี เฉพาะเขตรับผิดชอบ (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)9,293     2,779     29.90 9.OHSP อัตรา (ร้อยละ) การใช้บริการ P&P ในกลุ่มเด็กอายุ 6-12 ปี เฉพาะเขตรับผิดชอบ (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)25,091     4,949     19.72 10.OHSP อัตรา (ร้อยละ) การใช้บริการ P&P ในกลุ่มผู้สูงอายุ เฉพาะเขตรับผิดชอบ (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)

19.OHSP ร้อยละเด็ก 0-2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก เฉพาะเขตรับผิดชอบ (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)7,473     1,861     24.90 20.OHSP ร้อยละเด็ก 0-2 ปี ผู้ปกครองได้รับการฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ หรือ ได้รับการฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ และplaque control นับรวมฝึกผู้ปกครองทำความสะอากช่องปาก เฉพาะเขต7,     1,559     20.86 21.OHSP ร้อยละเด็ก 0-2 ปี เคลือบ/ทา ฟลูออไรด์เฉพาะที่ เฉพาะเขตรับผิดชอบ (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)7,473     710     9.50 22.OHSP ร้อยละเด็ก 0-2 ปี ได้รับบริการทันตกรรม (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)7,473     2,761     36.95 23.OHSP ร้อยละเด็ก 3-5 ปี ได้รับการตรวจช่องปาก เฉพาะเขตรับผิดชอบ (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)9,293     2,386     25.68 24.OHSP ร้อยละเด็ก 3-5 ปี เคลือบ/ทา ฟลูออไรด์เฉพาะที่ เฉพาะเขตรับผิดชอบ (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)9,293     631     6.79 25.OHSP ร้อยละเด็ก 3-5 ปี ได้รับบริการทันตกรรม (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)9,293     2,850     30.67 26.OHSP ร้อยละเด็ก 6-12 ปี ได้รับการตรวจช่องปาก เฉพาะเขตรับผิดชอบ (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)25,091     3,929     15.66 27.OHSP ร้อยละเด็ก 6 ปี ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันแท้ เฉพาะเขตรับผิดชอบ (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)3,274     61     1.86 28.OHSP ร้อยละเด็ก 6-12 ปี ได้รับบริการทันตกรรม (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)25,091     5,

31.OHSP ร้อยละผู้มีอายุ 15-59 ปี ได้รับบริการทันตกรรม (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)235,995     6,989     2.96 33.OHSP ร้อยละผู้สูงอายุใส่ฟันเทียม (CD, SD, TP) เฉพาะเขตรับผิดชอบ (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)7,893     108     1.37 34.OHSP ร้อยละผู้สูงอายุ ได้รับบริการทันตกรรม (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม)84,118     8,693     10.33 35.OHSP ร้อยละผู้สูงอายุ ที่ติดบ้าน ติดเตียงได้รับบริการทันตกรรม (คน)2,684     1

หมวดคำถามเกี่ยวกับวิธีนับอายุ ถาม : ทำไมถึงใช้อายุจากวันที่ 1 มกราคม ทำไมไม่นับตามจริงในวันที่มารับบริการ ตอบ : เนื่องจากในการคิดความครอบคลุม ต้องการเป้าหมายที่ชัดเจนไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างปีงบประมาณมากนัก จึงต้องกำหนดช่วงเวลาที่ใช้คิดอายุที่แน่นอน และเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับตัวชี้วัดของหน่วยงานอื่นในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งกำหนดการนับกลุ่มอายุประชากร ณ วันที่ 1 มกราคม

หมวดคำถามเกี่ยวกับประชากร ถาม : การคิดความครอบคลุมคิดเฉพาะคนไทยหรือเปล่า ตอบ : คิดจากประชากรที่มี type 1 + 3 และมี discharge 9 ครับ ไม่ได้สนใจว่าเป็นคนไทยหรือต่างด้าว ถาม : เรื่อง จำแนกประชากร (เด็ก)ตามtype (1,3 )ซึ่งมีผลกับการเก็บข้อมูล และใช้(HDC )เก็บข้อมูลพอจะยกเลิก การจำแนกประชากรตามtype หรือมีทางอื่นที่จะให้ข้อมูลเข้าHDCไหม เพราะ(AEC)มีมากข้อมูล กับการทำงานมันสวนทาง ตอบ : ขณะนี้ไม่มีครับ ทุกงานจะใช้ข้อมูลแบบเดียวกัน หากไม่ใช่ประชากรที่อาศัยอยู่เป็นเวลานาน (ถาวร หรือ เกือบถาวร) ก็ไม่ควรใส่ type 1+3 ให้

หมวดคำถามเกี่ยวกับประชากร ถาม : เรื่องความครอบคลุม ว่าข้อมูลสามารถเด้งข้ามจังหวัดได้เปล่าครับ อย่างเช่น ANC ที่เป็นประชากร type 1 จังหวัด ก. แต่ไปฝากครรภ์ ตรวจฟัน แล้วก็คลอดเรียบร้อยที่จังหวัด ข. แบบนี้ผลงานตรวจฟัน ANC จะเด้งกลับมาขึ้นในจังหวัด ก. มั้ยครับ ตอบ : ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ครับ หากใช้บริการข้ามจังหวัด ข้อมูลก็จะปรากฎ ณ จังหวัดที่ใช้บริการเฉพาะส่วนรายงานการเข้าถึง หากเป็นรายงาน OHSP ความครอบคลุมจะไม่มีผลงาน เนื่องจากไม่ใช่ type 1 หรือ 3 ของจังหวัดนั้นๆ แต่มีแผนงานในอนาคตที่จะทำให้ข้อมูลเชื่อมต่อกันทั้งประเทศ

หมวดคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดการลงข้อมูล ถาม : เรื่องคนไข้กลุ่มเบาหวานจะใช้การดึงข้อมูลมาอย่างไร ต้องลงข้อมูลอยู่กับ visit บริการของกลุ่มเบาหวานมั้ย ตอบ : ปัจจุบันใช้ข้อมูลจากคนที่เคยมี Diagnosis_OPD Diagnosis_IPD ว่าเป็นเบาหวาน และกลุ่มคนที่ลงทะเบียนในคลินิกเบาหวาน ซึ่งจะมีชื่อในแฟ้ม Chronic แต่ในอนาคต อาจใช้เฉพาะแฟ้ม Chronic ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงจะยึดตามนิยามของ NCD ( แต่มีรายงานว่า หากใช้โปรแกรม HosXP ผู้ป่วยจะต้องเข้าคลินิกเบาหวานทุกครั้งที่มารับบริการทันตกรรม ข้อมูลการรับบริการของผู้ป่วยเบาหวานจึงจะขึ้น )

หมวดคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดการลงข้อมูล ถาม : การตรวจช่องปากในกลุ่มผู้ป่วยDMและเป็นผู้สูงอายุด้วย ผลงานจะขึ้นที่กลุ่มDM หรือกลุ่มผู้สูงอายุ หรือขึ้นทั้ง2กลุ่มครับ ตอบ : ขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม ถาม : ร้อยละของการได้รับบริการทันตกรรมในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ไม่นับ icd10tm 2330011 แต่ในกลุ่ม3-5ปีและกลุ่ม6-12ปี นับicd10 tm 2330011 ใช่หรือไม่คะ ตอบ : ถูกต้องนะขอรับ เนื่องจากผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดของหญิงมีครรภ์ ต้องการทราบผลงานการได้รับบริการทันตกรรมที่นอกเหนือจากการตรวจช่องปาก เช่น การถอนฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน ฯ ส่วนผลงานตรวจช่องปากหญิงตั้งครรภ์จะมีปรากฎในอีกข้อแล้ว อีกประการหนึ่ง จำนวนเป้าหมายของกลุ่มหญิงตั้งครรภ์นี้ไม่มาก หากเทียบกับกลุ่มอายุ ต่างๆ

หมวดคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดการลงข้อมูล ถาม : ANC ฝากครรภ์ ตรวจฟัน ให้ ทส. ฝึกแปรงฟัน. ลง dental แฟ้มเรียบร้อย. ต่อมาแท้ง HDC จะประมวลผลอย่างไร. เพราะไม่ได้คลอด ตอบ : ในรายงาน OHSP (ความครอบคลุม) จะไม่ประมวลผล เพราะ ไม่มีวันคลอด ก็ไม่ได้นำมาเป็นเป้าหมาย ถ้าอยากได้ผลงาน กรุณาดูแลให้คนของท่านคลอดอย่างเรียบร้อยก่อนนะจ๊ะ แต่อย่างไรก็ตาม ผลงานในรายงานการเข้าถึงบริการจะยังคงได้ผลงานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจฟันและการให้ทันตสุขศึกษา เพราะรายงานการเข้าถึง จะนับผลงานการตรวจฟันหญิงตั้งครรภ์เมื่อมีการลงแฟ้ม dental และ denttype =1 ณ วันรับบริการ ไม่เกี่ยวข้องกับการคลอดหรือไม่คลอด

หมวดคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดการลงข้อมูล ถาม : หญิงตั้งครรภ์นัดมาอุดฟัน ga 5 แต่ใน visit นั้นมาทำฟันอย่างเดียวจึงไม่มีการใส่ข้อมูล ga แต่ใน visit ก่อนหน้า เคยมีใส่ไว้ รับเป็น หญิงตั้งครรภ์ได้รับการอุดฟันหรือไม่ ตอบ : ปกติ ga คือ อายุครรภ์ เช่น GA 37 wk GPA เช่น g1p0a0 คือประวัติการตั้งครรภ์ แต่ที่ถามเดาว่าหมายถึงการฝากครรภ์ ถ้าไม่ใส่ผลงานเรื่องการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งอาจไม่ขึ้น แต่ไม่เกี่ยวกับผลงานด้านทันตกรรมครับ ของเรา ต้องคลอดก่อนถึงจะเริ่มนับเป็นเป้าหมาย และย้อนไปดูการรับบริการภายใน 300 วันก่อนคลอด

หมวดคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดการลงข้อมูล ถาม : ถ้าตรวจฟัน 2 ครั้งลงแฟ้ม dental ในปีเดียวกัน นับ status update ครั้งไหน ตอบ : ครั้งล่าสุดที่มีการลงแฟ้ม dental สำหรับรายงาน OHSP สภาวะช่องปาก ในข้อ 36-48 ส่วนรายงานอื่นไม่ได้ใช้ข้อมูลภายในแฟ้ม dental จึงไม่มีผลว่าจะใช้ครั้งใด ยกเว้น รายงานที่ 33 OHSP ร้อยละผู้สูงอายุใส่ฟันเทียม (CD, SD, TP) เฉพาะเขตรับผิดชอบ (คน) (ใช้แบบความครอบคลุม) ที่กำลังตรวจสอบเงื่อนไขให้เป็นครั้งใดครั้งหนึ่งที่มีการระบุว่ามีความต้องการใส่ฟันเทียม สำหรับตัวหาร (B)

หมวดคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดการลงข้อมูล ถาม : ขูดหินปูนทั้งปาก ควรลงแยกขูดหินปูนarchล่าง 2287310 1 รายการและลงขูดหินปูนarchบน2277310 อีก1 รายการหรือ ลง 1รายการขูดหินปูนทั้งปาก แล้วkey ICD10 TM 2 รายการครั้งเดียว 2277310และ2287310 ซึ่งคล้ายกับลงฟันเทียมว่าต้องแยกใส่ฟันเทียมบน 1 รายการ และใส่ฟันเทียมล่างอีก 1รายการ ใช่หรือไม่ ตอบ : การบันทึกเวชระเบียนควรบันทึกตามจริงน่ะเจ้า หากท่านได้ขูดหินน้ำลายให้ทั้งปากใน visit นั้น ก็ควรลงว่าขูดหินน้ำลายทั้งปากเจ้า ซึ่ง เมื่อ coder เห็นก็จะแปลรหัสออกมาได้เป็น 2277310 และ 2287310 ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานน่ะเจ้า # สรุป คือ หากไม่มีรหัสหัตถการทั้งปาก จะต้องลงรหัสหัตถการที่ทำในฟันบน 1 รายการและ รหัสหัตถการที่ทำในฟันล่าง 1 รายการ ภายใน visit เดียวกัน เช่น ใส่ฟันเทียมทั้งปาก และ ขูดหินปูนทั้งปาก

หมวดคำถามเกี่ยวกับ Script เรื่องชั้นเรียน ถาม : ถ้าเปลี่ยน class เป็น 1-6 แล้ว ข้อมูลเก่าๆที่บันทึกไปแล้วจะทำอย่างไรครับ ตอบ : ไม่เป็นไรครับ เรามามุ่งไปข้างหน้า ก้าวไปคนละก้าวด้วยกันใหม่ ขอแค่ให้เราเข้าใจว่าในปีที่ผ่านมาก่อนเปลี่ยน class นั้น เลข 1-3 จะหมายถึง ศพด, ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ไม่ได้หมายถึงชั้นเรียน เมื่อเราเปลี่ยน class ให้ถูกต้องแล้ว การประมวลผลไปข้างหน้าจะระบุได้ว่าอยู่ชั้นเรียนใด โดยจะส่งออกมาเป็นเลข 1,2,3,4,5,6 ถาม : script แก้ไขหน้าแฟ้ม dental เป็นชั้นเรียน script นี้สามารถใช้ทั้ง HosXP และ HosXP PCU ข้อมูลถูกส่งออกรูปแบบ 43 แฟ้มเหมือนเดิมหรือออกเป็นอันใหม่ ตอบ : สามารถใช้ได้ทั้ง HosXP และ HosXP PCU และส่งออกเป็น 43 แฟ้มแบบเดิม แต่มีตัวเลขในฟิล์ด class เป็นเลข 1,2,3,4,5,6 จากเดิมที่มีเลข 1,2,3

หมวดคำถามเกี่ยวกับ Script เรื่องชั้นเรียน ถาม : File ที่เอาไปแก้ไขเรื่องการลงชั้นเรียนของ Hosxp เอาจากที่ใด และโปรแกรม jhcis แก้ไขได้ด้วยมั้ยคะ ตอบ : ต้องขอสคริปต์จาก อ.หมอนิติโชติ ซึ่งจะนำไปลงใน QR code เอกสารการประชุม 26-27 ธค ส่วนโปรแกรม อื่นๆ หากสามารถเลือก เป็น เลข 1,2,3,4,5,6 ก็ไม่ต้องทำอะไร แต่หากไม่ได้ให้แจ้งที่ E-mail : jaru@health.moph.go.th

หมวดคำถามเกี่ยวกับเรื่องเป้าหมาย เป็น 0 ถาม : กรณีเป็นรพสต.ขนาดเล็กและในรอบปีงบประมาณไม่มีหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดเลย และมีการจัดกิจกรรมในกลุ่มเป้าหมายอื่นครบถ้วน รพสต.นี้จะนับว่าเป็นหน่วยบริการที่มีการจัดบริการครบ6กลุ่ม14กิจกรรมหรือไม่คะ ถาม : พื้นที่ที่ไม่มีANC. หรือ มีANC. แต่ไม่ได้คลอด. B. และ A. เป็น 0. จะประมวลผลยังไง. ถ้าเป็น 0. พื้นที่นี้จะขาดไป. 3. กิจกรรม. ใน 14. กิจกรรม. ซึ่งไม่ใช่ความผิดของพื้นที่ ตอบ : เป้าหมายเป็น 0 ให้ถือว่าผ่านเกณฑ์กิจกรรมในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์โดยอัตโนมัติครับผม เราไม่ใจร้ายกับท่านแบบนั้นแน่นอน

หมวดคำถามเกี่ยวกับคำอธิบาย KPI ถาม : รบกวนถามKPI ตรวจราชการ เด็ก12 ปีฟันดีไม่มีผุ ใน template ตัวหาร(B) เด็ก12 ปีทั้งหมดที่รับผิดชอบ แต่ในHDC ข้อ42 ตัวหาร(B) คือเด็กที่ได้รับการตรวจและได้ลงข้อมูลในแฟ้มdental ค่ะ สรุปว่าให้เอาตัวหารตามtemplate หรือตามHDC ค่ะ ตอบ : การแสดงผล OHSP42 จะมีจำนวน 3 ช่อง คือ ช่อง C หมายถึงเด็ก12 ปีทั้งหมดที่รับผิดชอบ ช่อง B หมายถึง เด็ก 12 ปีที่ได้รับการตรวจช่องปาก และ ช่อง A คือ เด็ก 12 ที่ตรวจแล้วพบว่าฟันดีไม่มีผุ เพื่อให้ข้อมูลตัวชี้วัดนี้น่าเชื่อถือ จำนวนเด็กที่ได้รับการตรวจช่องปาก (B) ควรมากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนเด็กทั้งหมดในเขต (C) จึงจะเอาตัวชี้วัดนี้มาใช้งานได้

หมวดคำถามเกี่ยวกับ provider ตอบ : หากทันตบุคลากร มีชื่ออยู่ 2 แห่งขึ้นไป โดยยังไม่ได้จำหน่าย(outdate is null) มีเกณฑ์การประมวลผลดังนี้  1.1.หากหน่วยงานเป็นโรงพยาบาล ซ้ำกับ รพ.สต. ให้ทันตบุคลากรเป็นของหน่วยงานโรงพยาบาล  1.2 หากหน่วยงานเป็น โรงพยาบาล ซ้ำกับ โรงพยาบาล ให้ทันตบุคลากรเป็นของ โรงพยาบาลที่ startdate น้อยกว่า  1.3 หากหน่วยงานเป็น รพ.สต. ซ้ำกับ รพ.สต. ให้ทันตบุคลากรเป็นของ รพ.สต. startdate น้อยกว่า ดังนั้นหากไม่มี outdate จะดูจากวัน startdate เป็นหลัก

หมวดคำถามเกี่ยวกับ provider ถาม : กรณีที่ทันตแพทย์ลาศึกษาต่อต้องแก้เป็น provider เป็น outdate หรือไม่ ตอบ : ใจร้ายจัง เขายังไม่ได้ย้ายหนีไปไหน ยังคงอยู่กับเราครับ # สรุป คือ ไม่ต้องลง outdate ถาม : provider ควรต้องupdateทุกปี providerที่ไปเรียนต่อช่วงเรียนต่อควร outdateไว้ก่อนใช่หรือไม่ ตอบ : ไม่ต้องครับ เขายังไม่ได้ลาออก หรือย้ายไปไหน การตัดสินใจให้ไปเรียนเท่ากับเรายอมรับภาระงานที่เพิ่มขึ้นทดแทนครับ

หมวดคำถามเกี่ยวกับ OHSP ข้อ 46 ตอบ : หากให้แสดงผลเป็น % รายข้ออาจจะส่งผลกับการแสดงผลของโปรแกรมครับ เนื่องจาก HDC ต้องแสดงรายงานจากภาพใหญ่ไปหาเล็ก ในรูปแบบเดียวกัน หากทำรายละเอียดของหน่วยย่อยมากไปจะทำให้แสดงผลที่หน่วยใหญ่ขึ้นไม่ได้ แต่จะปรับแก้ไข หมายเหตุ ให้ตรงกับเงื่อนไขใหม่แทน ถาม : HDC ข้อที่ 46 เรื่อง รพสต.คุณภาพ ตัว template 14 กิจกรรม ยังเป็นเงื่อนไขปีที่แล้วอยู่ ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นก็อยากให้มีการ update สคริปต์ให้ประมวลผลตามตัวชี้วัด รพสต คุณภาพ DHB ได้ด้วยน่ะครับ ตอบ : อยู่ในช่วงปรับปรุงระบบรายงานของ HDC ครับ ใจเย้นนนน รอหน่อยนะพ่อนะ

หมวดคำถามเกี่ยวกับ 0 ซี่ หมวดคำถามเกี่ยวกับ 0 ซี่ ถาม : เงื่อนไขปรับปรุง 0-2 ปี ในรายงานการเข้าถึบริการ dteeth 1-20 ซี่ เนื่องจากเด็ก 0-6 เดือน ฟันยังไม่ขึ้น ดังนั้น เงื่อนไขควรจะปรับเป็น 0-20 ซี่ ? ถาม : ทำไมในเด็ก 0-2 ปี จำนวนฟันถึงเป็น 0 ไม่ได้ละครับ บางทีก็ตรวจก่อนฟันจะขึ้นก็มีไม่ใช่เหรอครับ ตอบ : เนื่องจากกลุ่มอายุ 0-2 ปี ในรายงานความครอบคลุม ภายในปีงบประมาณจะเป็นเด็กอายุ 9 เดือน เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ซึ่งอาจมีบ้างที่ฟันยังไม่ขึ้น แต่น่าจะเป็นส่วนน้อยมาก และรายงานที่ได้มาจะแสดงให้เห็นถึง development ได้ด้วย จุดประสงค์อีกอย่างเราต้องการให้ตรวจฟัน ในเมื่อไม่มีฟันขึ้น จะตรวจอะไรล่ะจ้ะ

หมวดเกี่ยวกับแฟ้ม student ถาม : ทำไมงานโรงเรียนถึงใช้แบบความครอบคลุมเอามาจับ สามารถใช้ฐานข้อมูลโรงเรียนได้หรือไม่เพราะทำให้เกิดความสงสัยว่าเด็กที่ไม่อยู่ใน type 1,3 ทำไปไม่ได้ผลงาน(ที่เป็นตัวชี้วัด) ตอบ : ไม่มีตัวชี้วัดใดบอกว่าเป็นงานโรงเรียน แต่มาจากการที่เรามักเห็นว่าเด็กในโรงเรียนเข้าถึงง่าย จึงไปทำในโรงเรียน การดูแลนั้นเรามุ่งเน้นในกลุ่มอายุต่างๆ การดูแลเด็กที่ไม่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ท่านจะได้ผลงาน ในด้านการให้บริการ เป็น visit ซึ่งจะส่งผลทั้งทางด้านการสนับสนุนอัตรากำลัง รวมไปถึงตัวชี้วัดด้านต้นทุนการเงินการคลังของ CUP ด้วย ไม่ใช่ทำฟรี และยังส่งผลต่อผลงานภาพรวมของจังหวัดด้วย แน่นอนในอำเภอที่เจริญกว่า มีโรงเรียนชื่อดัง ย่อมเกิดการไหลของเด็กวัยเรียน อันนี้ต้องเป็นการบริหารจัดการระดับจังหวัดว่าจะทำอย่างไร จึงจะมีกำลังคนในการทำงานอย่างเหมาะสมครับ

หมวดคำถามเกี่ยวกับ 6 ปี หมวดคำถามเกี่ยวกับ 6 ปี ถาม : เงื่อนไข ตัวชี้วัด ร้อยละการได้รับบริการทันตกรรมในเด็ก 6 ปี นั้น จะใช้วัด เด็กในพื้นที่ที่มารับบริการหรือวัดเด็กในโรงเรียนป.1 ถ้าต้องการวัดเด็ก ใน รร. ป.1 ให้ช่วยขยายช่วง จาก 6ปี - 6ปี 11 เดือน 29 วัน เป็น ช่วง 6 ปี - 7 ปี 11 เดือน 29 วันได้มั้ย เพราะไม่งั้น ผลงานมันจะไม่ขึ้นค่ะ ตอบ : ตอนนี้เราวัดผลการทำงานตามกลุ่มอายุ แทนการวัดผลงานเด็กในโรงเรียน จึงใช้ตัวชี้วัดเด็ก 6 ปี แทนการใช้ตัวชี้วัดเด็ก ป.1 ซึ่งจะสอดคล้องกับการทำงานสร้างเสริมสุขภาพอื่นๆ ของกระทรวง

หมวดคำถามเกี่ยวกับ 6 ปี หมวดคำถามเกี่ยวกับ 6 ปี ถาม : อยากให้ปรับ kpi เรื่อง sealant เด็ก 6 ปี ให้ขยายเวลาเป็นช่วง 6-7 ปี เพราะปกติแล้วเราจะเข้าไป sealant กลุ่มเด็กประถมในโรงเรียน ซึ่งเด็ก ป.1ส่วนใหญ่ก็จะอายุค่อนไป 7 ปี ด้วยซ้ำ และเด็ก 6 ปี หลายๆคน ฟัน #6 ก็ยังไม่ขึ้น ทำให้ผลรายงาน sealant ใน HDC ขึ้นน้อยกว่าความเป็นจริง แทนที่จังหวัดจะเอาข้อมูลนี้มาใช้ประโยชน์วัดผลงานความครอบคลุม sealant ได้ ก็กลายเป็นใช้ไม่ได้ไป ตอบ : หลังจากฟังบรรยายไปแล้วน่าจะเข้าใจวิธีนับอายุ 6 ปี ว่าในปีงบประมาณ 61 นี้ คือเด็กที่เกิดตั้งแต่ 2 มกราคม 2554 จนถึง 1 มกราคม 2555 ซึ่งเมื่อขึ้นปี 2561 เด็กกลุ่มนี้ก็จะเริ่มมีอายุ 7 ปี แล้วตามที่ท่านต้องการนะครับ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขยาย เนื่องจากมันครอบคลุมให้อยู่แล้ว

หมวดคำถามเกี่ยวกับ หน่วยบริการ หมวดคำถามเกี่ยวกับ หน่วยบริการ ถาม : ตัวชี้วัดร้อยละ รพ.สต./ศสม..จัดบริการสุขภาพช่องปากที่มีคุณภาพ เรานับรวม สสช.(สถานบริการสาธารณสุขชุมชน)เป็นหน่วยในเกณฑ์นี้ด้วยหรือคะ ตอบ : ไม่นับ แต่เนื่องจากในฐานข้อมูลหน่วยงานของ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สป. มี สสช.จำนวนหนึ่งถูกกำหนดอยู่ในประเภทเดียวกับ ศสม. ทำให้การแสดงผลของ HDC มีการดึง สสช.กลุ่มนี้มาประมวลด้วย ซึ่งมีการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น (เท่าที่จัดการได้ เพราะการไปแก้ไขประเภทหน่วยงานทำให้ไม่ได้) คือเพิ่มเงื่อนไขกรณีเป็นหน่วยงานที่ไม่มีประชากรในความดูแล ให้ผ่านทั้ง ๒ เกณฑ์

หมวดคำถามเกี่ยวกับ หน่วยบริการ หมวดคำถามเกี่ยวกับ หน่วยบริการ ถาม : อยากทราบแนวทางในการ inactive สถานบริการที่ขอเลข 5 หลักไว้แต่ยังไม่ ได้เปิดให้บริการ ไม่ให้แสดงผลในHDC ตอบ : แจ้งไปที่ สสจ. ให้ inactive สถานบริการ ในระบบจังหวัดก่อน แล้วจึงแจ้งมายังกระทรวงฯ ให้ปรับปรุงฐานหน่วยงาน

หมวดคำถามเกี่ยวกับช่องทางขอเอกสาร ถาม : ไม่ทราบว่ามีคู่มือรวมรหัสหัตถการ icd10TM และการแยกประเภทหัตถการเช่น จะทราบได้อย่างไรว่าหัตถการปริทันต์ ไหน อยู่ประเภท1 2 3 หรือ 4 คะ ตอบ : แจ้งขอที่ E-mail : jaru@health.moph.go.th ได้ครับ ที่ไม่เผยแพร่แบบวงกว้างเนื่องจากเคยส่งให้ในกลุ่ม line แล้ว หากส่งออกไปใหม่ (ไม่ได้ปรับเปลี่ยน) เกรงว่าคนที่เคยเอาไปใช้จะสับสนว่ามีการปรับปรุงครับ