ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ บทที่ 2 การพยาบาลผู้ที่ได้รับ การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า (ECT ; Electro convulsive therapy) ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ เพื่อมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า ๒. เพื่อมีความรู้ เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า ๓.เพื่อนำไปใช้และวิเคราะห์บทบาทพยาบาล : ๔.การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า บทที่ 2 แนวคิดในการบำบัดรักษาทางจิตเวช ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ บทที่ 3 แนวคิดในการบำบัดรักษาทางจิตเวช การบำบัดทางจิต รายบุคคล p 66-70 ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ บทที่ 2 แนวคิดในการบำบัดรักษาทางจิตเวช กลุ่มบำบัดจิต p 67- 70 1. ขั้นเริ่มต้นสร้างสัมพันธภาพ( Initiating phase ) 2. ขั้นดำเนินการแก้ไข ( Working phase ) 3. ระยะสิ้นสุดสัมพันธภาพ ( Terminating phase ) ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ บทที่ 2การพยาบาลผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า 1.ข้อบ่งชี้ที่พบบ่อย ในการทำ ECTคืออะไร 2. การเตรียมผู้ป่วยก่อนทำ ECT. มีอะไรบ้าง 3. เทคนิคการสนทนาที่ควรใช้ในผู้เริ่มทำ ECT. ครั้งแรก มีอะไรบ้าง 4. ระยะของการชักมีอะไรบ้าง 5. การพยาบาลควรทำอย่างไร ขณะทำ ECT และ หลังจากผู้ป่วยหลังทำ ECT ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ บทที่ 2 ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ บทที่ 2 ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ บทที่ 2 ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ บทที่ 2 ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ดร. ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า ดร. ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
วัตถุประสงค์การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า เพื่อมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า ๒. เพื่อมีความรู้ เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า ๓. เพื่อนำไปใช้และวิเคราะห์บทบาทพยาบาล : ๔. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า วัตถุประสงค์การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า
ค.ศ 1934 ใช้ Camphor 20% ฉีดเข้ากล้ามเนื้อผู้ป่วย แล้วพบว่า10 รายใน 24 รายมีอาการทางจิตดีขึ้น ค.ศ 1935 ได้มีการทดลองใช้ Metrazole (synthetic ของ Camphor) 10% ฉีดเข้าทางหลอดเลือด ทำให้เกิดอาการชักแล้ว พบว่า 41 รายใน 101 รายมีอาการทางจิตสงบลง
ค.ศ 1938 ได้มีการทดลองใช้กระแสไฟฟ้าในสุนัขและสุกรที่ดุ และวุ่นวาย แต่ไม่สำเร็จใช้กระแสไฟมากเกินไป ทำให้ตาย Lucio Cerletti (1938) ได้นำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการก้าวร้าว โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 70 โวลต์ ภายในเวลา 1/10 วินาที พบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการชักไม่เต็มที่ จึงทดลองเพิ่มแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้น เป็นผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการชักแบบเต็มที่ทั้งตัว ปรากฏว่าอาการ ก้าวร้าวของผู้ป่วยลดลง แต่เนื่องจากปัญหาเรื่อง Fracture and dislocation ค.ศ1940จึงได้มีการนำยาคลายกล้ามเนื้อ (Cucrare) เข้ามาใช้ แต่หลังจากที่มี การนำ antipsychotic มาใช้ ทำให้การทำ ECT. ลดลงไป จนกระทั่งระยะหลังได้มีการนำมาใช้เพิ่มขึ้นอีก
แนวคิด 1. เมื่อสมองได้รับกระแสไฟฟ้าเข้าไป ในจำนวน พอเหมาะจะทำให้ช็อกและหมดสติ อาการชักเกร็ง จะทำให้สมองมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีเนื่องจาก สารที่เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้า ในสมอง (Serotonin และ Amines) มีการปรับตัวทำให้เกิดสมดุล
2. ขณะชักทำให้สมองขาด O2 ชั่วคราว เนื่องจากผู้ป่วยหยุดหายใจ (Transient cerebral anoxia) เมื่อมีการสูดหายใจเต็มที่ จะมีอากาศเข้าปอด และโลหิตที่ไหลจากส่วนต่างๆ จะนำเอา O2 และอาหารไปเลี้ยงสมองและร่างกาย ทำให้การทำงานดีขึ้น
เชื่อว่าการทำให้ผู้ป่วยที่มีความ รู้สึกผิดบาปสูงและซึมเศร้า 3. แนวความคิดทางจิตวิทยา เชื่อว่าการทำให้ผู้ป่วยที่มีความ รู้สึกผิดบาปสูงและซึมเศร้า เมื่อได้รับโทษทรมานด้วยการช็อกไฟฟ้า จะเป็นการไถ่โทษให้ความรู้สึกผิดบาปลดลงได้ ผู้ป่วยจะหายเศร้าหลังจากได้รับโทษแล้ว
4. การผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปทางสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นศูนย์ความคุมความคิดและความจำ ทำให้ผู้ป่วยซึ่งจำความทุกข์ เจ็บปวด ที่ฝังใจอยู่ ได้ลืมความเจ็บปวดลงได้ (Amnesia) อาการทางจิตจึงดีขึ้น 5. ECT ทำให้ปริมาณของ “Antidepression” ในร่างกาย เพิ่มขึ้นซึ่งทำให้อาการของโรคซึมเศร้าหายไป
6. *ECT. มีการออกฤทธิ์บางอย่างเหมือน Anticonvulsant เช่น Carbamazepine ซึ่งมีฤทธิ์ Antidepressant และ Antimania การใช้ กระแสไฟฟ้าทำให้ชัก มีผลให้เกิด Anticonvulsant activity ตามมา การทำ ECT จึงมีประสิทธิภาพแบบยากันชัก
วัตถุประสงค์ ECT เป็น ทางเลือกในการรักษาซึ่งเข้าใจว่ากระแสไฟฟ้า จะไปกระตุ้นเซลล์สมองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รุนแรงและรวดเร็วทำให้สมองทำงานได้ปกติ โดยเฉพาะด้านความรู้สึกนึกคิดและด้าน พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางที่เหมาะสม
รูปแบบของการรักษา แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ต่อไปนี้ แบ่งตามการใช้ยาสลบ แบ่งตามลักษณะคลื่นไฟฟ้า แบ่งตามการวาง electrode แบ่งตามจำนวนการชักในแต่ละครั้ง
แบ่งตามการใช้ยาสลบ 1. Unmodified ECT. ไม่ทำให้หลับ 2. Modified ECT. ได้รับ Premedication ก่อน
แบ่งตามลักษณะคลื่นไฟฟ้า 1. Sine wave เป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ใช้ Sine wave เพื่อให้ผู้ป่วยชัก 2. Brief pulse wave เป็นเครื่องรุ่นใหม่ที่ให้ไฟช่วงสั้นๆ ทำให้ได้ผลดีกว่าแบบแรก เพราะ - ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า - การสูญเสียความจำน้อยกว่า - ผู้ป่วยสามารถฟื้นจากการชักเร็วกว่า
แบ่งตามการวาง electrode 1. Bilateral เป็นการวาง electrode บน Temporal area มีข้อดี คือ - เชื่อว่าผลการรักษาดีกว่า - ไม่พบ missed seizure 2. Unilateral nondominant โดยวาง electrode บนศีรษะข้างเดียว กับมือที่ถนัด มีข้อดี คือ - การสูญเสียความทรงจำมีน้อยกว่า - ฟื้นจากการทำ ECT. เร็วกว่า
แบ่งตามจำนวนการชักในแต่ละครั้ง 1. Simple conventional ECT. เป็นการชักเพียงครั้งเดียว 2. Multiple monitored ECT. เป็นการชักมากกว่า 1 ครั้ง ภายใต้ การดมยาสลบครั้งเดียวกัน ซึ่งพบว่าลดอาการ ลดระยะเวลา การอยู่โรงพยาบาลให้สั้นลง แต่ไม่สามารถบอกผลเสียของ Cognitive functions ได้
Indication 1. Major depression with psychotic episode and severe depression 2. Aggressive and Violence 3. Acute mania 4. Schizophrenia 5. ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาทางยา 6. ผู้ป่วยที่ทนต่อผลข้างเคียงของยาไม่ได้
Contraindication 1. โรคทางสมองทุกชนิด 2. โรคหัวใจทุกชนิด 3. โรคกระดูกทุกชนิด 4. ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 5. ผู้สูงอายุที่ร่างกายไม่แข็งแรง 6. หญิงตั้งครรภ์ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
ข้อห้าม จริงๆ แทบจะไม่มี Absolute contraindication เลยทีเดียว ยกเว้นว่าไม่ยินยอมหรือภาวะทางกายอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูงมาก ผู้ป่วยจิตเวชที่มีเนื้องอกในสมอง เมื่อรักษาด้วย ECT. แล้ว พบว่าไม่มีอาการแย่ลงหรือแพร่กระจายมากขึ้น
ข้อห้าม ผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบหัวใจ ในช่วงนำสลบอาจเสี่ยงที่เกิด Cardiac arrythmia จึงมักรอให้ผ่านระยะนี้ไปก่อน (3 เดือน) บางรายที่มี Contraindication อย่างอื่น ถ้าจำเป็นต้องทำ จะต้องได้รับการควบคุมดูแล เป็นอย่างดี
ข้อควรระวังในการรักษาด้วยไฟฟ้า 1. ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลียมากๆ 2. ผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 70 ปีขึ้นไป 3. หญิงมีครรภ์ 4. ผู้ป่วยโรคปอดที่มีแนวโน้มทำให้เกิดการหายใจไม่สะดวก 5. ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง
อาการข้างเคียง Reversible adverse effects 1. Headache พบ 54% หายเองได้ใน 2 – 8 ชม. 2. Amnesia มักจะกลับมาใน 24 ชม. 3. Delirium พบมากหลังจากรักษาครั้งแรกแล้ว จะหายเองอาจเป็น วันหรือสัปดาห์ 4. Memory loss มักไม่พบในครั้งแรก หายภายใน 1 – 6 เดือน
อาการข้างเคียง (ต่อ) 5. Cardiovascular system พบ BP. สูง, Pulse เร็วมาก เกิดชั่วคราว แต่หลังชักจะค่อยๆ ลดลงมาปกติ 6. Musculoskeleton system อาจพบ fracture and dislocate และพบ การปวดเมื่อย อาการจะหายใน 24 ชม. 7. Gastrointestinal system อาจพบ N/V และหายใน 12-24 ชม.
อาการข้างเคียง (ต่อ) 8. Prolong seizure คือ ชักนานเกินกว่า 3 นาที ถ้ามี hypoxia นานจะ ยิ่งทำให้ confusion และ amnesia มากขึ้น 9. ผู้ป่วยหญิงบางรายอาจไม่มีประจำเดือน แต่จะหายไปได้เอง 10. Adverse subjective reaction เกิดความรู้สึกไม่ดีหรือกลัวต่อการ ทำ ECT
อาการข้างเคียง Irreversible adverse effects 1. Brain damage อาจเกิดจาก Brain anoxia 2. Musculaskeletal injury อาจมีกระดูกหัก หรือฟันหักได้ 3. Mortality พบการตาย 0.002% มักเกิดจาก Cardiovascular system พบได้ทั้งในระหว่างการทำและช่วงพักฟื้นใน 4-8 ชม. 4. Psychological reaction อาจเกิด emotional trauma ได้
ระยะเวลาการรักษา การรักษาแต่ละครั้งที่เกิดอาการชักและหมดสติอย่างสมบูรณ์ เรียกว่า “1 dose” การกำหนดขึ้นกับอาการทางจิตของผู้ป่วย - อาการทางจิตไม่มาก 1 ครั้ง/สัปดาห์ รวมประมาณ 10 ครั้ง - อาการทางจิตมาก 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ รวมประมาณ 20-30 ครั้ง - อาการเรื้อรัง มักจะรักษาแบบ maintenance dose คือ เดือนละ 1 ครั้ง
ความผิดปกติ จำนวนครั้ง Affective disorder 6 - 8 Mania 8 - 10 Schizophrenia 10 -12
วิธีการรักษา แบบ Unmodified ECT. 1. ประเมินและรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินสภาวะก่อนทำ ECT. 2. นอนหงายในท่าที่สบาย แขนชิดลำตัว ใช้หมอนหนุนลำคอและ บั้นเอว 3. ตรวจฟันปลอมและเครื่องประดับ 4. Record V/S, O2 saturation
แบบ Unmodified ECT. (ต่อ) 5. เตรียมเครื่อง Resuscitation 6. เตรียมเครื่อง ECT. ให้พร้อม 7. วาง electrode บริเวณ temporal lobe โดยเช็ด alcohol ก่อน แล้ว ทาด้วย K-Y jelly ใช้สายยางรัดรอบศีรษะเพื่อตรึง electrode แล้ว จึงต่อสายเข้ากับเครื่อง ECT. ที่ปรับระดับกระแสไฟฟ้าแล้ว
แบบ Unmodified ECT. (ต่อ) 9. ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ตัวผู้ป่วย โดยจับประคองส่วนต่างๆ ของ ร่างกายไว้ 10. ดูแลให้ O2 ในรายที่จำเป็นและดูแลทางเดินหายใจ ดูดเสมหะ 11. ดูแล Record V/S ทุก 15 นาที
แบบ Unmodified ECT. (ต่อ) 12. หลังจากชักผู้ป่วยจะหลับ ควรดูแลจับผู้ป่วยตะแคงหน้า และ ดูแลความสุขสบายทั่วไป 13. เมื่อตื่นขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการสับสนมึนงง ควรดูแลความปลอดภัย
ระยะการชัก Unconscious stage ประมาณ 1 วินาที Tonic stage ประมาณ 10 วินาที Clonic stage ประมาณ 30 วินาที (Grandmal seizure) Apnea stage ประมาณ 1 – 2 วินาที จนหายใจ Sleep stage ประมาณ 5 นาที Confusion stage ประมาณ 15 – 20 นาที หรือ อาจถึง 30 นาที
แบบ Modified ECT. 1. เตรียมผู้ป่วยเหมือนวิธีแรก แต่ผู้ป่วยจะได้รับ Premedication คือ Atropine ก่อนทำ 30 นาที เพื่อลดเสมหะ 2. ให้ยา Sodium thiopental 3-5 mg./kg. เพื่อให้ผู้ป่วยหลับ 3. ให้ยา Succinyl choline 0.1-0.3 mg./kg. เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว 4. ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ตัวผู้ป่วย 5. มีการชักแต่ไม่รุนแรงเท่าวิธีแรก แต่มีช่วง Apnea stage นานกว่า
Dosage of ECT - ผู้ป่วยไทยใช้ประมาณ 20 joules - ผู้ป่วยต่างประเทศใช้ประมาณ 30 – 50 joules การหาปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ คือ - การวาง Electrode แนบสนิทกับผิวหนังหรือไม่ - เพศหญิงใช้กระแสไฟฟ้าสูงกว่าเพศชาย - อายุที่สูงขึ้นจะมี Seizure threshold มากขึ้น - Subcutaneous fat มาก จะใช้กระแสไฟฟ้ามากขึ้น - ผู้ที่เคยทำ ECT มาแล้วจะใช้กระแสไฟฟ้ามากขึ้น
บทบาทของพยาบาล การเตรียมผู้ป่วยก่อนการทำ ECT ด้านร่ายกาย ตรวจสอบเอกสารยินยอมรับการรักษา ตรวจสอบรายงานการตรวจร่างกายและการตรวจทาง Lab งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4 ชม.หรือหลังเที่ยงคืนก่อนทำ ทำความสะอาดร่างกาย ไม่ใส่น้ำมันผล ไม่ทาเล็บ ก่อนทำ ECT ต้องประเมิน V/S ถอดฟันปลอม เครื่องประดับ และให้ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะให้เรียบร้อย
ด้านจิตใจ อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจและยอมรับการรักษา ใช้คำว่า “รักษาด้วยไฟฟ้า” บอกวัน เวลา สถานที่ ที่จะรักษาให้ผู้ป่วยทราบล่วงหน้า ให้ความมั่นใจ กำลังใจแก่ผู้ป่วย ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดในการรักษาด้วย ECT ใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อลดความกลัว ความกังวลของผู้ป่วย เช่น reassure การเข้าร่วมกลุ่มกับผู้ป่วยที่เคยทำรักษา การดูเทป บันทึกภาพ เป็นต้น
ด้านการเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ 1. เครื่อง ECT ขนาด 70 – 130 โวลต์ 2. แผ่น electrode ขั้วบวกและขั้วลบ 3. สายยางรัด electrode 4. สื่อไฟฟ้า (Sodium bicarbonate หรือ K-Y jelly) 5. Alcohol ทำความสะอาด
6. หมอนบรรจุทรายเล็กสำหรับหนุนต้นคอ 7. เครื่อง Suction พร้อมอุปกรณ์ 8. O2 พร้อมอุปกรณ์ 9. ไม้กดลิ้นพัน gauze หรือแผ่นฟันยาง 10. Resuscitation set 11. ในกรณีที่ทำแบบ Modified ECT ต้องมีการเตรียมยาเพิ่ม เช่น Succinyl choline, Diazepam, Atropine sulphate
การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น - CBC - UA - Electrolyte (K) - EKG - X-ray - CT, MRI
การพยาบาลผู้ป่วยขณะทำ ECT ให้ผู้ป่วยนอนราบบนเตียง ไม่หนุนหมอน ใช้ผ้าห่มหรือหมอน รองใต้เอวผู้ป่วย ให้ออกซิเจนทางจมูก พยาบาล 1 คนยืนด้านศีรษะ ทาสื่อไฟฟ้าที่ขมับทั้ง 2 ข้าง แล้ว วาง Electrode 5. ใส่แผ่นฟันยางในปากระหว่างฟันบนและล่าง
6. จับคางผู้ป่วยหงายขึ้น จับให้มั่นคง ป้องกันขากรรไกรเคลื่อน 7. พยาบาล 2 คนจับไหล่และแขนผู้ป่วยแนบลำตัว คนละข้าง 8. พยาบาล 2 คนจับต้นขาและเข้าผู้ป่วยราบกับเตียง 9. แพทย์ปล่อยกระแสไฟฟ้า ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการชัก พยาบาลควร จับผู้ป่วยให้แน่น ผ่อนมือตามแรงกระตุก ไม่กดน้ำหนัก 10. เมื่อผู้ป่วยหยุดชัก จับผู้ป่วยตะแคงหน้า เอาหมอนหนุนใต้เอว ผู้ป่วยออก
การพยาบาลผู้ป่วยหลังทำ ECT จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ พักประมาณ 30 – 60 นาที Record V/S สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้ามี Confusion อาจต้องผูกมัด เช็ดหน้าผู้ป่วยด้วยผ้าขนหนูเปียก ทดสอบความรู้สึกตัว ก่อนส่งกลับไปพักผ่อนต่อที่หอผู้ป่วย ลงบันทึกในประวัติผู้ป่วย เกี่ยวกับอาการก่อน ขณะ และหลังทำ Reorientation แก่ผู้ป่วย
Drug interaction TCA (Tricyclic antidepressants) อาจเกิด Hypertensive crisis จึง ควรหยุดยาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถ้าผู้ป่วยได้รับยานี้มานาน อาจเกิดปัญหานี้ลดน้อยลง แต่ใน กรณีที่ได้รับยามาไม่ถึง 1 เดือน ควรต้องหยุดยานี้ไปก่อน
Drug interaction MAOI (Monoamine oxidase inhibitors) อาจเกิดความดันผิดปกติ มี ไข้สูง, reflex ไว, ชัก และหัวใจอาจหยุดเต้นได้ จึงควรหยุดยาอย่าง น้อย 2 สัปดาห์ก่อนทำ ถ้าทำร่วมกับการให้ยาสลบ (Barbiturate) MAOI จะเสริม ฤทธิ์ทำให้หลับนานขึ้น จึงควรลด Barbiturate ลง
Drug interaction Lithium จะเสริมฤทธิ์ Barbiturate ให้หลับนานขึ้น และเสริมฤทธิ์ยา หย่อนกล้ามเนื้อต่างๆ แต่ไม่ค่อยมีผลกับการทำ ECT. โดยตรง
Drug interaction Clozapine หลังจากทำ ECT. แล้วพบว่าจะทำให้มีโอกาสชักมากขึ้น Benzodiazepine, Carbamazepine, Valproic acid จะเพิ่ม Seizure Threshold กับผู้ป่วย
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 1. วิตกกังวลเรื่องจากได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า 2. ขาดความรู้และความเข้าใจในวิธีการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า 3. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการรักษา เช่น การสำลัก หรือหยุดหายใจ 4. มีความบกพร่องในเรื่องความจำหลังการรักษา 5. เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม ตกเตียง 6. การดูแลตนองบกพร่องเนื่องจากมีการสูญเสียความจำ ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ บทที่ 2 แนวคิดในการบำบัดรักษาทางจิตเวช Quiz ECT. หมายถึงอะไร ECT. มีแนวคิดและความเชื่อทางการรักษาอย่างไร วิธีการทำ ECT. ที่นิยมในปัจจุบันคือวิธีการใด ผู้ป่วย Schizophrenia มี Suicidal idea ควรทำ ECT. หรือไม่ Contraindication ในการทำ ECT. มีอะไรบ้าง ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ บทที่ 3 แนวคิดในการบำบัดรักษาทางจิตเวช Quiz 6. Reversible adverse effects ที่พบบ่อยจากการทำ ECT. คืออะไร 7. การเตรียมผู้ป่วยก่อนทำ ECT. มีอะไรบ้าง 8. เทคนิคการสนทนาที่ควรใช้ในผู้เริ่มทำ ECT. ครั้งแรก มีอะไรบ้าง 9. ระยะของการชักมีอะไรบ้าง 10. หลังจากผู้ป่วยเข้าสู่ระยะชัก ควรดูแลอย่างไรต่อไปบ้าง ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ บทที่ 3 แนวคิดในการบำบัดรักษาทางจิตเวช 11. พยาบาลควรจับประคองผู้ป่วยขณะชักในบริเวณใดบ้าง 12. ถ้าผู้ป่วยได้รับยา TCA, MAOI ควรหยุดยานานเท่าไรก่อน ECT 13. ผู้ป่วยได้รับ Lithium ควรระมัดระวังเรื่องใดถ้าต้องทำ ECT. 14. พยาบาลควรให้คำแนะนำผู้ป่วยเรื่อง ECT. อย่างไรบ้าง ก่อน ขณะ หลังทำ ECT 15. จิตบำบัด ครอบครัวบำบัด และพฤติกรรมบำบัด ต่างกันอย่างไร 16.การพยาบาลต้องทำอย่างไร ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์