งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความหมายของกระดูกหัก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหมายของกระดูกหัก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 ความหมายของกระดูกหัก
กระดูกหัก (fracture) หมายความถึงกระดูกแยกออกจากกันอาจ เป็นการแตกแยกโดยสิ้นเชิง หรืออาจมีบางส่วนติดกันอยู่บ้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับ ความรุนแรงของแรงที่มากระแทกต่อกระดูก ทำให้แนวการหักของกระดูก แตกต่างกัน ก่อให้เกิดความเจ็บปวด บวม เคลื่อนไหวไม่ได้หรือ เคลื่อนไหวผิดปกติ เนื่องจากอุบัติเหตุ เช่น ถูกรถชน หกล้ม ตกจากที่สูง หรือกระดูกเป็นโรคไม่แข็งแรงอยู่แล้ว กระดูกเปราะเมื่อถูกแรง กระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อยก็อาจหักได้

3 ประเภทของกระดูกหัก             1. กระดูกหักแบบสามัญ (simple fracture) หมายถึง  กระดูกหักแล้วไม่ปรากฏแผลให้เห็นบนผิวหนัง 2. กระดูกหักแผลเปิด (compound fracture) หมายถึง  กระดูกที่หักทิ่มแทงผิวหนังออกมาภายนอก 3. กระดูกหักแตกย่อย (comminuted fracture) หมายถึง  ชิ้นส่วนของกระดูกที่หักปรากฏออกมามากกว่า 2 ชิ้นขึ้นไป

4 ชนิดของกระดูกหัก โดยทั่วไปแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ กระดูกหักชนิดปิด (closed fracture) และกระดูกหักชนิดเปิด (opened fracture) ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้จากการสังเกต 1. กระดูกหักชนิดปิด คือกระดูกหักแล้วไม่ทะลุผิวหนังและไม่มี บาดแผลบนผิวหนังตรงบริเวณที่หัก 2. กระดูกหักชนิดเปิด คือกระดูกหักแล้วทิ่มแทงทะลุผิวหนัง ทำให้มีแผลตรงบริเวณที่กระดูกหัก โดยอาจไม่มีกระดูกโผล่ออกมานอก ผิวหนังก็ได้ แต่มีแผลเห็นได้ชัดเจน

5 หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาลผู้ที่กระดูกหัก
 หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาลผู้ที่กระดูกหัก       การปฐมพยาบาลที่ดีที่สุด คือ ให้ผู้ป่วยนอนอยู่กับที่ห้ามเคลื่อนย้าย โดยไม่จำเป็น เพราะหากทำผิดวิธีอาจบาดเจ็บมากขึ้น ถ้าผู้ป่วยมีเลือดออก ให้ห้ามเลือดไว้ก่อน หากมีอาการช็อกให้รักษาช็อกไปก่อน ถ้าจำเป็นต้อง เคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้เข้าเฝือกชั่วคราว ณ ที่ผู้ป่วยนอนอยู่ ถ้าบาดแผลเปิด ให้ห้ามเลือดและปิดแผลไว้ชั่วคราวก่อนเข้าเฝือก สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือ กระดูกสันหลังหักหรือกระดูกต้นคอหัก ถ้าเคลื่อนย้ายผิดวิธี อาจทำให้ ผู้ป่วยพิการตลอดชีวิต หรือถึงแก่ชีวิตได้ทันทีขณะเคลื่อนย้าย

6   1. การซักประวัติ จะต้องซักประวัติเกี่ยวกับการได้รับอุบัติเหตุ เพื่อให้ทราบว่า เกิดได้อย่างไร ในท่าใด ระยะเวลาที่เกิด เพื่อประเมินความรุนแรงของแรงที่มา กระทำ และตำแหน่งของกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ   

7    2. ตรวจร่างกาย โดยตรวจทั้งตัว และสนใจต่อส่วนที่ได้รับอันตรายมาก ก่อน โดยถอดเสื้อผ้าออก การถอดเสื้อผ้าผู้บาดเจ็บ ควรใช้วิธีตัดตาม ตะเข็บ อย่าพยายามให้ผู้บาดเจ็บถอดเอง เพราะจะทำให้เจ็บปวดเพิ่มขึ้น แล้วสังเกตอาการและอาการแสดงว่ามีการบวม รอยฟกช้ำ หรือ จ้ำเลือด บาดแผล ความพิการผิดรูป และคลำอย่างนุ่มนวล ถ้ามีการบวมและชามาก ให้จับชีพจรเปรียบเทียบกับแขนหรือขาทั้งสองข้าง ตรวจระดับความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงสีผิว การตรวจบริเวณที่หัก ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้ปลายกระดูกที่หักเคลื่อนมาเกยกัน หรือทะลุออกมานอก ผิวหนัง

8 ขณะตรวจร่างกาย ต้องดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ประเมินการหายใจและการ ไหลเวียนของเลือด สังเกตการตกเลือด ถ้ามีต้องห้ามเลือด หลีกเลี่ยงวิธีการ ห้ามเลือดแบบขันชะเนาะ เพราะถ้ารัดแน่นเกินไป อาจจะทำให้เลือดแดงไป เลี้ยงส่วนปลายไม่พอ ถ้ามีบาดแผลต้องตกแต่งแผลและพันแผล ในรายที่มี กระดูกหักแบบเปิดให้ใช้ผ้าสะอาดคลุมปิดไว้ แล้วพันทับ ห้ามดึงกระดูกให้ เข้าที่    

9   3. การเข้าเฝือกชั่วคราว การดามบริเวณที่หักด้วยเฝือกชั่วคราวให้ ถูกต้องและรวดเร็ว จะช่วยให้บริเวณที่หักอยู่นิ่ง ลดความเจ็บปวด และไม่ ก่อให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่าย เช่น ไม้ หรือกระดาษ หนังสือพิมพ์พับให้หนา หมอน ร่ม ไม้กดลิ้น กระดาน เสา ฯลฯ รวมทั้ง ผ้าและเชือกสำหรับพันรัดด้วยไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจนกว่าจะเข้าเฝือก ชั่วคราวให้เรียบร้อยก่อน ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย ให้ใช้แขนหรือขาข้างที่ไม่ หักหรือลำตัวเป็นเฝือกชั่วคราว โดยผูกยึดให้ดีก่อนที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย    

10   4. การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ เพื่อเคลื่อนย้ายออกจากสถานที่มี อันตรายไปสู่ที่ปลอดภัยหรือโรงพยาบาล การเคลื่อนย้ายอย่างถูกวิธี จะช่วยลดความพิการและอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

11 อาการของกระดูกหัก มีดังนี้
อาการของกระดูกหัก มีดังนี้        1. มีความเจ็บปวดบริเวณที่มีกระดูกหัก      2. มีอาการบวมรอบๆ บริเวณที่กระดูกหัก      3. รูปร่างของแขนขาหรือหัวไหล่อาจเปลี่ยนแปลงไปจากรูปร่างปกติ      4. บริเวณนั้นเคลื่อนไหวไม่ได้ หรือเคลื่อนไหวแล้วจะเจ็บปวดมาก      5. อาจได้ยินเสียงกระดูกหักเมื่อประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บ      6. หากกดเบาๆ ลงบนกระดูกบริเวณที่หัก อาจได้ยินเสียงกรอบแกรบ

12 หลักการเข้าเฝือกชั่วคราว
   หลักการเข้าเฝือกชั่วคราว      การเข้าเฝือกชั่วคราว เป็นวิธีการบังคับให้กระดูกส่วนที่หัก ได้อยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหว เพื่อลดความเจ็บปวดและป้องกันมิให้ เกิดความพิการเพิ่มขึ้น มีหลักอยู่ว่าหากหาสิ่งที่ใกล้มือเพื่อ เข้าเฝือกไม่ได้ ให้มัดส่วนที่กระดูกหักไว้ ไม่ให้เคลื่อนไหว เช่น กระดูกขาข้างหนึ่งหัก ก็ให้มัดขาข้างที่หักให้ชิดแน่นกับขาข้างดี หากกระดูกแขนหัก  หรือกระดูกไหปลาร้าหักก็มัดแขนข้างนั้น ให้อยู่แน่นติดกับลำตัว เรียกว่า "เข้าเฝือกธรรมชาติ"    

13 หลักการเข้าเฝือกชั่วคราว
   หลักการเข้าเฝือกชั่วคราว สิ่งที่อยู่ใกล้มือพอให้เป็นเฝือกได้คือ แผ่นกระดานท่อนไม้กิ่งไม้ ไม้บรรทัด หมอน ผ้าห่ม ผ้าขาวม้า ด้ามร่ม ม้วนกระดาษหนังสือพิมพ์ ใช้ได้ดีคือแผ่น ไม้ ที่เหมาะควรยาวเกินกว่าข้อต่อ  (joints) ซึ่งอยู่ส่วนบนและส่วนล่าง ของกระดูกที่หักและควรมีสิ่งนุ่มๆ รองรับผิวหนังของอวัยวะส่วนนั้นอยู่ เสมอควรใช้ไม้ 2 แผ่นขนาบสองข้างของส่วนที่หักแล้วมัดด้วยผ้าหรือเชือก ให้แน่นพอควร   

14    1.วัสดุที่ใช้ดามต้องยาวกว่าอวัยวะส่วนที่หัก โดยเฉพาะจะต้องยาวพอที่จะ บังคับข้อต่อที่อยู่เหนือและใต้ บริเวณที่สงสัยว่ากระดูกหัก เช่น ขาท่อนล่าง หัก ข้อเข่าและข้อเท้าจะต้องถูกบังคับไว้ด้วยเฝือก เป็นต้น      2. ไม่วางเฝือกลงบนบริเวณที่กระดูกหักโดยตรง ควรมีสิ่งอื่นรอง เช่น ผ้า หรือ สำลีวางไว้ตลอดแนวเฝือก เพื่อไม่ให้เฝือกกดลงบนบริเวณผิวหนัง โดยตรง ซึ่งทำให้เจ็บปวดและเกิดเป็นแผลจากเฝือกกดได้     

15  3.มัดเฝือกกับอวัยวะที่หักให้แน่นพอควร ถ้ารัดแน่นจนเกินไปจะกด ผิวหนังทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวกเป็นอันตรายได้ โดยระวัง อย่าให้ปมเชือกกดแผล จะเพิ่มความเจ็บปวดและเนื้อเยื่อได้รับอันตราย และคอยตรวจบริเวณที่หักเป็นระยะๆ เพราะอาจจะมีการบวม ซึ่งจะต้อง คลายเชือกที่ผูกให้แน่นน้อยลง      4.บริเวณที่เข้าเฝือกจะต้องจัดให้อยู่ในท่าที่สุขสบายที่สุด อย่าจัด กระดูกให้เข้ารูปเดิม ไม่ว่ากระดูกที่หักจะโค้ง โก่ง หรือ คด ก็ควรเข้าเฝือก ในท่าที่เป็นอยู่

16 รายชื่อสมาชิกกลุ่ม นายนพรัตน์ ฉิมพสุทธิ์ รหัสนักศึกษา 57051402018
นายอภิวัฒน์ ศรีประสิทธิ์ รหัสนักศึกษา นายพงศกร ดวงมรกต รหัสศึกษา น.ส.ประภัสสรนงนุช รหัสศึกษา น.ส.สุพรรณี พึ่งมา รหัสศึกษา น.ส.วัชรียา แก้วกุลณะ รหัสศึกษา นายปิยะพล อินมะณี รหัสศึกษา น.ส.นฤมล กลิ่มสุมาลี รหัสนักศึกษา นายศุภชัย อุบลแย้ม รหัสนักศึกษา น.ส.ตวงจรินทร์ ดำรงสันติธรรม


ดาวน์โหลด ppt ความหมายของกระดูกหัก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google