ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี คำแนะนำก่อนเข้าปฏิบัติการ 1. ระเบียบการใช้ห้องปฏิบัติการเคมี 2. ความปลอดภัยในการทำปฏิบัติการเคมี 3. อุปกรณ์เครื่องแก้ว 4. เทคนิคในห้องปฏิบัติการ โครงสร้างอะตอม หรือ Atomic structure 1
ระเบียบการใช้ห้องปฏิบัติการเคมี รักษาความสะอาดเรียบร้อยในห้องปฏิบัติการ เมื่อทำการทดลองเสร็จสิ้นแล้ว ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดโต๊ะ ให้สะอาด ถ้าทำสารเคมีหกบนโต๊ะหรือบนพื้น ให้ทำความสะอาดทันที ก่อนใช้สารเคมีชนิดใดก็ตาม ให้อ่านฉลากชื่อสารให้แน่ใจเสียก่อน ห้ามยกขวดหรือภาชนะใส่สารเคมีส่วนกลางไปใช้ที่โต๊ะ ไม่เติมสารเคมีมากเกินความจำเป็น สารเคมีที่ใช้ไม่หมด ไม่ควรใส่กลับลงในขวดเก็บสารนั้นอีก ไม่ใช้ปิเปตหรือหลอดหยดที่ใช้แล้วดูดสารละลายจากขวดที่ต้องใช้ร่วมกันกับผู้อื่นหรือจากขวดที่มีหลอดหยดอยู่แล้ว ไม่ทิ้งก้านไม้ขีดไฟ กระดาษลิตมัสหรือของแข็งใดๆ ที่ไม่ละลายน้ำลงในอ่างล้างมือ ห้ามเผาเครื่องแก้วชนิดเนื้อแก้วหนา เช่น กระบอกตวง บิวเรต หรือขวดใส่สารด้วยเปลวไฟจากตะเกียงโดยตรงเพราะอาจแตกได้ง่าย ส่วนถ้วยกระเบื้องอาจเผาในเปลวไฟโดยตรงได้ แต่ไม่ควรเผาให้ร้อนเร็วเกินไป
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี เพื่อให้การทดลองในห้องปฏิบัติการเคมีดำเนินไปอย่างเรียบร้อย และเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการทุกคน ทุกคนปฏิบัติตามกฎและระเบียบต่อไปนี้ ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการและแว่นนิรภัยตลอดเวลาที่อยู่ในห้องปฏิบัติการเคมี ผู้ที่สวมแว่นสายตาอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องใช้แว่นนิรภัย ห้ามเล่นและห้ามรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม หรือสูบบุหรี่ในห้องปฏิบัติการเคมี ห้ามทำการทดลองใดๆ นอกเหนือจากที่ได้มอบหมาย ห้ามทำการทดลองโดยไม่มีผู้ควบคุม เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ให้รายงานผู้ควบคุมทราบทันที ห้ามชิมสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อใช้ปิเปตดูดสารละลาย ห้ามใช้ปากดูด ใช้เครื่องแก้วด้วยความระมัดระวัง เมื่อทำเครื่องแก้วแตกต้องเก็บกวาดให้เรียบร้อย
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย (ต่อ) สำหรับปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นหรือผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สพิษ กรดเข้มข้น หรือแอมโมเนียให้ทำการทดลองในตู้ดูดควันเสมอ ห้ามทิ้งสารเคมีใดๆ ลงในถังขยะ สารเคมีที่ละลายในน้ำได้ให้ละลายในน้ำแล้วเทลงอ่างน้ำทิ้ง สารที่ไม่ละลายในน้ำ ให้เทรวมกันในภาชนะที่เตรียมไว้
อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเคมี Measuring cylinder Beaker Burette Calibrated pipette Volumetric pipette Volumetric flask
อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเคมี (ต่อ) Test tube and test tube rack Burette clamp Test tube holder Clamp Bunsen burner Ring stand with ring Clamp holder Crucible tongs
อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเคมี (ต่อ) Mortar and pestle Triple beam balance Buchner funnel Filtering flask Separatory funnel Glass funnel Conicle flask
อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเคมี (ต่อ) Wash bottle Dropper Crucible and lid Thermometer Rubber stopper Test tube brush Pipette bulb
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี การวัดปริมาตรของเหลว อุปกรณ์สำหรับวัดปริมาตรของของเหลวมีหลายชนิดเราจะเลือกใช้ชนิดใดขึ้นอยู่กับว่าต้องการวัดปริมาตรให้ได้แม่นยำเพียงใด และต้องการใช้อุปกรณ์นั้นในการบรรจุ (contain) หรือในการถ่าย (deliver) ของเหลวที่มีปริมาตรแน่นอน เราทราบแล้วว่าตามปรกติระดับของของเหลวในภาชนะใดๆ มักไม่เป็นระนาบตรงในแนวราบ แต่จะมีลักษณะเป็นพื้นผิวโค้งลง หรือ โค้งขึ้น เรียกว่า เมนิสคัส (meniscus) ในการอ่านระดับของของเหลวนั้น วิธีที่ถูกต้องคือ อ่านระดับของส่วนที่ต่ำสุดของเมนิสคัสที่โค้งลง หรือส่วนสูงของเมนิสคัสที่โค้งขึ้น โดยให้เมนิสคัสอยู่ตรงระดับตาพอดี และในบางกรณีก็อาจเพิ่มความถูกต้องในการอ่าน ปริมาตรได้โดยขีดเส้นตรงสีเข้มบนแผ่นกระดาษสีขาว นำไปทาบไว้ หลังเมนิสคัสพร้อมกับเลื่อนขึ้นลงจนเส้นตรง (ในแนวระดับ) นี้แตะกับเมนิสคัสพอดีแล้วจึงอ่านปริมาตรจากตำแหน่งของเส้นตรง
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี การวัดปริมาตรของเหลว
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี การวัดปริมาตรของเหลว สำหรับการวัดปริมาตรที่ไม่ต้องการความแม่นยำสูงกว่า 1–2 cm3 อาจใช้กระบอกตวง (measuring cylinder) ขนาดใดขนาดหนึ่ง และในงานที่ต้องการทราบปริมาตรโดยประมาณเท่านั้นก็อาจใช้บิกเกอร์หรือขวดรูปกรวยที่มีขีดบอกปริมาตรได้ ในกรณีที่ต้องการความแม่นยำค่อนข้างสูง ( 0.01 cm3 ) อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้บรรจุของเหลวที่มีปริมาตรแน่นอนได้แก่ขวดวัดปริมาตร (volumetric flask) ขนาดต่างๆ ซึ่งมีขีดบอกปริมาตรไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามถ้ารินของเหลวในขวดนี้ลงในภาชนะอื่นจะได้ของเหลวน้อยกว่าปริมาตรที่บรรจุเสมอเพราะจะมีของเหลวบางส่วนตกค้างอยู่ภายในขวด การถ่ายของเหลวที่มีปริมาตรแน่นอนทำได้โดยใช้บิวเรต (burette) หรือ ปิเปต (pipette) บิวเรตที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมีทั่วไป มีความจุ 25 cm3 หรือ 50 cm3 มีขีดแบ่งปริมาตรเป็นช่วงๆ ละ 0.1 cm3 แต่อ่านได้ถูกต้องประมาณ 0.02 cm3 ปิเปตก็มีหลายขนาดเช่นกันแต่ที่ใช้สำหรับปฏิบัติการเคมีทั่วไปมักมีความจุ 10 cm3 หรือ 25 cm3 และวัดปริมาตรได้ถูกต้องประมาณ 0.05 cm3
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี วิธีใช้บิวเรต มีดังนี้ 1. นำบิวเรตที่สะอาดและแห้งมายึดติดกับขาตั้งด้วยที่ยึดดังแสดง ปิดก๊อกที่ปลายล่างของบิวเรตแล้วรินของเหลวที่ต้องการใช้ผ่านกรวยแก้วลงในบิวเรตจนเกือบเต็ม (ถ้าบิวเรตสะอาดแต่ไม่แห้ง ให้ใช้ของเหลว ปริมาณเล็กน้อยกลั้วภายในบิวเรต 1-2 ครั้ง แล้วไขทิ้งทางปลายล่าง ก่อนจะบรรจุของเหลวลงไป
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี วิธีใช้บิวเรต มีดังนี้ 2. ใช้มือซ้ายเปิดก๊อกโดยจับคร่อมบิวเรตดังแสดงในรูปปล่อยให้ของเหลวส่วนหนึ่งไหลออกเพื่อไล่ฟองอากาศจากปลายล่างของบิวเรตปิดก๊อกประมาณ 10 วินาที แล้วบันทึกระดับของเหลวในบิวเรตให้ได้ ทศนิยม 2 ตำแหน่ง (หรืออาจปรับระดับของเหลวให้ตรงกับขีด 0 หรือขีดอื่นก็ได้) 3. เมื่อต้องการถ่ายของเหลวในบิวเรตลงทำปฏิกิริยากับของเหลว หรือ สารละลายอีกชนิดหนึ่งในขวดรูปกรวย (ในการไตเตรต) ให้ใช้มือขวาจับคอขวดรองรับตรงปลายล่างของบิวเรต และใช้มือซ้ายเปิดก๊อกในลักษณะเดียวกับที่กล่าวมาแล้วเพื่อให้ของเหลวทั้งสองชนิดผสมเข้ากันดีจะต้องแกว่งหรือเขย่าขวดเบาๆอยู่ตลอดเวลาขณะถ่ายของเหลวจากบิวเรตลงสู่ขวด 4. เมื่อได้ของเหลวตามปริมาณที่ต้องการแล้วให้ปิดก๊อกแล้วรอ 15 วินาที ก่อนอ่านและบันทึกระดับของเหลวที่เหลือในบิวเรตปริมาตรของของเหลวที่ถูกถ่ายออกจากบิวเรตจะหาได้จากผลต่างระหว่างระดับของเหลวที่อ่านได้ทั้งสองครั้ง
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี วิธีใช้ปิเปต มีดังนี้
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี วิธีใช้ปิเปต มีดังนี้ 1. ใช้มือบีบอากาศออกจากลูกยาง (pipette bulb) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วนำลูกยางไปสวมที่ปลายบนของปิเปตที่สะอาดและแห้ง (ถ้าปิเปตไม่แห้งต้องกลั้วด้วยของเหลวที่ต้องการวัดปริมาตร เช่นเดียวกับในการใช้บิวเรต) 2. จุ่มปลายล่างของปิเปตลงในของเหลวที่ต้องการวัดปริมาตร คลายมือที่บีบลูกยางออกให้ของเหลวถูกดูดขึ้นไปในปิเปตจนเลขขีดบอกปริมาตรบนก้านปิเปตประมาณ 3 cm 3. ดึงลูกยางออก และรีบใช้นิ้วชี้ขวาปิดปลายบนของปิเปตทันที ค่อยๆขยับนิ้วชี้ขวาไปมา ปล่อยอากาศเข้าในปิเปตทีละน้อยให้ระดับของของเหลวลดลงมาจนเมนิสคัสแตะกับขีดบอกปริมาตรพอดี แล้วกดนิ้วปิดปลายบนให้แน่น ไม่ให้อากาศเข้าได้อีก
เทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี วิธีใช้ปิเปต มีดังนี้ 4. ยกปิเปตขึ้นให้พ้นจากของเหลว ใช้กระดาษเช็ดมือซับหยดของเหลวที่เกาะอยู่ภายนอกปิเปตให้แห้ง 5. (ขณะนี้นิ้วชี้ขวายังปิดอยู่ที่ปลายบนของปิเปต) จุ่มปลายปิเปตลงในภาชนะที่จะใช้ใส่ของเหลวยกนิ้วชี้ขวาขึ้น ปล่อยให้ของเหลวในปิเปตลงจนหมดแตะปลายปิเปตกับข้างภาชนะเพื่อให้ของเหลวหยดสุดท้ายไหลลงด้วย ห้ามเขย่า เป่า หรือเคาะปิเปตกับข้างภาชนะที่รองรับเป็นอันขาด ถึงแม้จะเห็นว่ายังมีของเหลวติดค้างอยู่ปลายปิเปตเล็กน้อยก็ตาม มิฉะนั้นปริมาตรของเหลวที่ถ่ายออกจาก ปิเปต อาจผิดพลาดได้
Thank You