ทฤษฎีการเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรม ดร.มุจลินทร์ ผลกล้า วันที่ 26 มีนาคม 2561 ณ ห้องปฏิบัติการทางภาษา 3-204 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
บรรณ (หนังสือ) + อนุกรม (การเรียงลำดับ) บรรณานุกรมคืออะไร……. บรรณ (หนังสือ) + อนุกรม (การเรียงลำดับ) การเรียงลําดับทรัพยากรสารสนเทศ (หนังสือ วารสาร วิทยานิพนธ์ บทสัมภาษณ์) ในรายการบรรณานุกรม โดยเรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของรายการนั้น ๆ ตามแบบพจนานุกรม
บรรณานุกรม หมายถึง การรวบรวมรายชื่อของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น หนังสือวารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ เว็บไซต์และฐานข้อมูล ตลอดจนการสัมภาษณ์ต่างๆ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงแหล่งที่มาของข้อมูลหรือแนวคิดที่ไม่ใช่ของผู้เขียนหรือผู้ทำรายงาน จึงต้องให้เกียรติแก่บุคคลหรือองค์กรซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลเดิมที่นำมาอ้างอิงด้วย (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555.)
รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม แบบ APA (American Psychological Association) APA Style ของ American Psychological Association เป็นรูปแบบการเขียนอ้างอิงสําหรับสาขาวิชาจิตวิทยา และเป็นที่นิยมแพร่หลายในสาขา ศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์ ที่มา : http://www.apa.org/pubs/books/4210512.aspx
รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม APA (American Psychological Association) แปลเป็นภาษาไทยโดย นันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์ สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2558 ที่มา :http://library.stou.ac.th/sites/default/files/editor/APA6th.pdf
ทำไม…ต้องเขียนบรรณานุกรม 1). แสดงถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำเสนอ 2). แสดงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล 3). แสดงถึงจริยธรรมของผู้เขียนผลงานหรือรายงาน 4). แสดงถึงภูมิรู้ของผู้ทำรายงาน 5). ให้เกียรติเจ้าของผลงานที่ผู้เขียนได้นำข้อมูลมาประกอบการเขียนรายงาน
1. การเขียนอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหารายงาน (Citation) การเขียนบรรณานุกรมมี 2 ลักษณะ 1. การเขียนอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหารายงาน (Citation) 2. การเขียนบรรณานุกรมท้ายเล่มรายงาน (Bibliography)
หลักการเขียนรายการอ้างอิง (แบบแทรกในเนื้อหา) (Citation)
การเขียนอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหารายงาน รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา 1.อ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnote Citation) รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา 2.อ้างอิงแบบท้ายบท (Endnote Citation) 3.อ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (Citation in Text)
1.อ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnote Citation) 1. อ้างอิงแบบเชิงอรรถอ้างอิง คือ การอ้างอิงโดยใส่หมายเลขกำกับไว้ที่ท้ายข้อความในเนื้อหาที่คัดลอก หรือนำแนวความคิดมาใช้ ดังตัวอย่าง การยิ้มมีผลดีคือ 1 ทำให้สบายใจ คลายเครียดและเป็นสร้างมนุษยสัมพันธ์ แต่การยิ้มก็มีหลายชนิด ได้แก่ 2 ยิ้มเรี่ยราด ยิ้มหวาน ยิ้มร่า ยิ้มเยาะ ยิ้มยั่ว ยิ้มเย็น ยิ้มเผล่ ยิ้มกริ่ม เป็นต้น การยิ้มเป็นการลงทุนน้อยที่สุด 3 แต่ก็ควรรู้จักเลือกยิ้มให้เหมาะสมกับสถานการณ์จึงจะได้ผล 4 ดังคำกล่าวที่ว่า “โลกจะเป็นของเรา เมื่อเรายิ้ม” 5 -------------------------------------------- 1 แจ่มใส รักความสุข. ยิ้มวันละนิด. 2547. หน้า 2. 2 Bill Clinton. Let’s Smile. 2004. p.4. 3 แจ่มใส รักความสุข. เล่มเดิม. 2547. หน้า 2. 4 แหล่งเดิม. หน้า 7. 5 Bill Clinton. Loc.cit.
ตัวอย่างการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ
2. เป็นการยกการอ้างอิงทั้งหมดไปอยู่รวมกันหน้าสุดท้ายของแต่ละบทในรายงาน 2.อ้างอิงแบบท้ายบท (Endnote Citation) 1. มีลักษณะเดียวกับการอ้างอิงเชิงอรรถ แต่เป็นวิธีที่สะดวกกว่า เนื่องจากไม่ต้องพะวงกับการกะระยะ เนื้อที่ของแต่ละหน้าของรายงาน 2. เป็นการยกการอ้างอิงทั้งหมดไปอยู่รวมกันหน้าสุดท้ายของแต่ละบทในรายงาน
3.อ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (Citation in Text) เป็นที่นิยมมากที่สุด เรียกอีกอย่างว่าการอ้างอิงแบบ นาม-ปี รูปแบบการอ้างอิงจะกะทัดรัด เพราะสามารถเขียนชื่อผู้แต่งให้กลมกลืนไปกับเนื้อหา หรือจะแยกใส่ไว้ในวงเล็บก็ได้ แบบที่ 1 ผู้แต่งไม่เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา (ชื่อ สกุล,/ ปีที่พิมพ์) หรือ (ชื่อ สกุล,/ปีที่พิมพ์:/หน้า _ _) แบบที่ 2 ผู้แต่งเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา ชื่อ สกุล/ (ปีที่พิมพ์) *เครื่องหมาย / หมายถึงการเว้นระยะหนึ่งตัวอักษร
ตัวอย่างการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา กรณีผู้แต่งสามารถเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา ดังตัวอย่าง กรณีที่ผู้แต่งไม่เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา ดังตัวอย่าง โทรศัพท์นับวันจะมีความสำคัญสำหรับชีวิตคนเรามากขึ้นทุกที อะไรจะเกิดขึ้น หาก เราต้องพึ่งพาโทรศัพท์มากเกินไป เกษม ตันติผลาชีวะ (2556:หน้า 127) กล่าวว่า เพื่อ สุขภาพจิต เราควรจัดระเบียบในชีวิตของเราเสียใหม่ อย่าให้ต้องพึ่งพาอะไรมากจน ถึงกับติด โทรศัพท์นับวันจะมีความสำคัญสำหรับชีวิตคนเรามากขึ้นทุกที อะไรจะเกิดขึ้นหาก เราต้องพึ่งพาโทรศัพท์มากเกินไป เราควรจัดระเบียบในชีวิตของเราเสียใหม่ อย่าให้ ต้องพึ่งพาอะไรมากจนถึงกับติด (เกษม ตันติผลาชีวะ, 2556: หน้า 127)
ตัวอย่างการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาคาดหวังที่จะให้ผู้ปกครองของนักเรียนได้มีส่วนร่วมใน กิจกรรม หรืองานวางแผนของโรงเรียน เพราะการอบรมสั่งสอนเด็กจะได้ผลดีก็ต่อเมื่อ ผู้ปกครองร่วมเป็นแบบอย่างที่ดี ด้วย (ภารกิจ บุญมี, 2557 ) สามารถ พัฒนะกาญจน์. (2558) ได้วิจัยเรื่องบทบาทของคณะกรรมการศึกษาของ คณะกรรมการศึกษาการวางแผนและพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัยในรัฐมิชิแกน ผลการวิจัยปรากฏว่า สมาชิกของคณะกรรมการศึกษาต้องการแสดงความคิดเห็นเรื่องการ พัฒนาบทบาทการศึกษาโดยให้มีกรรมการเพื่อเสนอแนวคิดร่วมกันในประเทศสมาชิก
หลักการเขียนบรรณานุกรม (ท้ายเล่ม) หลักการเขียนบรรณานุกรม (ท้ายเล่ม) (Bibliography)
หลักทั่วไปในการเขียนบรรณานุกรม 1. ให้เขียนหรือพิมพ์คำว่า “บรรณานุกรม” ไว้กลางหน้ากระดาษ สำหรับภาษาอังกฤษให้ใช้คำว่า “Bibliography”
หลักทั่วไปในการเขียนบรรณานุกรม 2. การจัดเรียงรายการในบรรณานุกรมให้จัดเรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง
หลักทั่วไปในการเขียนบรรณานุกรม 3. รายการบรรณานุกรมให้เริ่มพิมพ์ห่างจากขอบกระดาษกั้นหน้า 1.50 นิ้ว หากข้อความบรรทัดแรกไม่พอ ให้พิมพ์ต่อบรรทัดถัดไป ย่อหน้า 7 ระยะตัวอักษรเริ่มตัวที่ 8 ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. /////// (เว้น 7 ระยะตัวอักษร เริ่มเขียนตัวแรก บรรทัดที่2 ในระยะที่ 8)
การเว้นระยะเครื่องหมายวรรคตอน 1. เครื่องหมายมหัพภาค (.) (Period) = เว้น 2 ระยะ 2. เครื่องหมายจุลภาค (,) (Comma) = เว้น 1 ระยะ 3. เครื่องหมายทวิภาค (:) (Colon) = เว้น 1 ระยะ 4. เครื่องหมายอัฒภาค (;) (Semi-Colon) = เว้น 1 ระยะ 5. ก่อนและหลังเครื่องหมายอัญประกาศ (“....”) (Quotation marks) = เว้น 1 ระยะ
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ตัวอย่างรายการทางบรรณานุกรม ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. /////// (เว้น 7 ระยะตัวอักษร เริ่มเขียนตัวแรก บรรทัดที่2 ในระยะที่ 8)
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ในแต่ละรายการ ผู้แต่ง…ชาวไทย กฎของผู้แต่งชาวไทย 1) ตัดคำนำหน้านามทิ้ง - คำนำหน้าชื่อ เช่น นาย นาง นางสาว Mr. Mrs. - ตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ดร. ผศ. รศ. ศ. Dr. - คำระบุบอกอาชีพ ยศ เช่น อาจารย์ นายแพทย์ แพทย์หญิง ทันตแพทย์ นายสัตวแพทย์
การลงรายชื่อผู้แต่งชาวไทย หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม การลงรายชื่อผู้แต่งชาวไทย ตัดคำนำหน้าทิ้ง คำนำหน้าชื่อ เช่น นาย นาง นางสาว Mr. Mrs. คำนำหน้าชื่อตามปกติ ตำแหน่งทางวิชาการ คำระบุบอกอาชีพ ยศ คุณวุฒิ เช่น ดร. ผศ. รศ. ศ. Dr. คำระบุบอกอาชีพ ยศ เช่น นายแพทย์ แพทย์หญิง อาจารย์ ทันตแพทย์ ทนายความ สิบตรี สิบตำรวจตรี ศาสตราจารย์ ดร. วิษณุ เครืองาม ลงรายการ วิษณุ เครืองาม รศ.ดร.สมบูรณ์ ชิตพงศ์ ลงรายการ สมบูรณ์ ชิตพงศ์ นางรุ่งรัตน์ สุนทรานนท์ ลงรายการ รุ่งรัตน์ สุนทรานนท์ นายแพทย์ประเวศ วะสี ลงรายการ ประเวศ วะสี
ชื่อผู้แต่งชาวไทยที่มีฐานันดรศักดิ์ ย้ายสลับไว้หลังชื่อ ฐานันดรศักดิ์ เช่น หม่อมหลวง (ม.ล.) หม่อมราชวงค์ (ม.ร.ว.) หม่อมเจ้า (ม.จ.) เจ้าฟ้า กษัตริย์ - ฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ ยศทางตำรวจและทหาร ที่เป็นยศสูงสุด บรรดาศักดิ์ เช่น ขุน หลวง พระ พระยา เจ้าพระยา คุณหญิง Sir, Baron, Lord, Lady ยศทางตำรวจ ทหาร ที่เป็นยศสูงสุด เช่น นายพล จอมพล พลเอก พลตรีหลวง พลตำรวจเอก ขุนวิจิตรมาตรา ลงรายการ วิจิตรมาตรา, ขุน เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ลงรายการ ธรรมศักดิ์มนตรี, เจ้าพระยา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงรายการ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา จอมพลถนอม กิตติขจร ลงรายการ ถนอม กิตติขจร, จอมพล
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ผู้แต่ง…ชาวต่างประเทศ ให้ลงรายการนามสกุลแล้วตามด้วย อักษรย่อของชื่อต้นและชื่อกลาง (ถ้ามี) ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) ระหว่างนามสกุลกับชื่อต้น ดังรายการต่อไปนี้ Magaret H. Browns ลงรายการ Browns, M. H. Mary E. Bush ลงรายการ Bush, M. E. จอห์น ดิวอี้ ลงรายการ ดิวอี้, จอห์น.
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ผู้แต่งที่เป็นบรรณาธิการ (Editor) ให้ใส่คำว่า (บรรณาธิการ) สำหรับเอกสารภาษาไทย และคำว่า (ed) Editor หรือ (eds.) สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ ดังตัวอย่าง วันเพ็ญ บุญประกอบ (บรรณาธิการ) กาญจนา แก้วเทพ (บรรณาธิการ) Hernon, S.M. (ed.)
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ผู้แต่ง…ที่เป็นนิติบุคคล (หน่วยงาน) ให้ใส่ชื่อนิติบุคคลตามที่ปรากฏในหนังสือ โดยเริ่มจากหน่วยงานย่อยไปหาหน่วยงานใหญ่ตามลำดับ ดังรายการต่อไปนี้ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม จำนวนผู้แต่ง… 2-5 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งทั้ง 5 คน โดยใส่ชื่อผู้แต่งคนที่ 1 คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และก่อนหน้าชื่อผู้แต่งคนสุดท้ายให้ใส่คำว่า และ ดังตัวอย่าง ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, สุชาติ สวัสดิศรี, อาจอง ชุมสาย, วศิน ทัพวงศ์ และสดใส รักธรรม สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ ใช้หลักการเดียวกัน แต่ใช้คำว่า and ก่อนหน้าชื่อผู้แต่งชาวต่างชาติคนสุดท้าย ดังตัวอย่าง Fukutake, T.M., Monika, K.P., Gorman, G.E., Parker, T.A. and Smith,B.F.
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม จำนวนผู้แต่ง… 6 คนหรือมากกว่า ให้ใส่ชื่อผู้แต่ง 6 คนแรก และตามด้วยคำว่า และคณะ หรือ et al ในภาษาอังกฤษ ดังตัวอย่าง ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, สุชาติ สวัสดิศรี, อาจอง ชุมสาย, วศิน ทัพวงศ์ , สดใส รักธรรม และคณะ Fukutake, T.M., Monika, K.P., Gorman, G.E., Parker, T.A. and Smith,B.F. et al
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ผู้แต่ง…ที่ใช้นามแฝง ใส่ผู้แต่งที่นามแฝงที่มีเฉพาะชื่อหรือมีทั้งชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องระบุคำว่านามแฝงในวงเล็บต่อท้าย ดังรายการต่อไปนี้ นิ้วกลม ดังตฤณ ว.วินิจฉัยกุล ดอกไม้สด ทมยันตี
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ตัวอย่างรายการทางบรรณานุกรม ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. /////// (เว้น 7 ระยะตัวอักษร เริ่มเขียนตัวแรก บรรทัดที่2 ในระยะที่ 8)
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ปีที่พิมพ์ ระบุเฉพาะเลขของปีที่พิมพ์งานนั้น ในวงเล็บ (_____) ถ้าไม่ปรากฏปีพิมพ์ให้ใช้คำย่อว่า (ม.ป.ป.) (ไม่ปรากฏปีที่พิพม์) หรือ (n.d.) (no date of publication )
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ปีที่พิมพ์ ในกรณีของบทความวารสาร ที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์ แต่ยังไม่ทราบปี ฉบับที่ลง ให้ระบุในช่อง พ.ศ. ว่า (In Press) หรือ (อยู่ในกระบวนการจัดพิมพ์) และระบุในส่วนของปีที่ ฉบับที่ว่า (Manuscript submitted for publication) เช่นจาก Packard,E.R. (2017). “Enhancing worker well-being”. Monitor on Psychology, 39 (5), 26-29. เป็น…Packard,E.R. (In Press). “Enhancing worker well-being”. Monitor on Psychology, Manuscript submitted for publication.
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ตัวอย่างรายการทางบรรณานุกรม ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. /////// (เว้น 7 ระยะตัวอักษร เริ่มเขียนตัวแรก บรรทัดที่2 ในระยะที่ 8)
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ชื่อหนังสือ ชื่อหนังสือ ชื่อวารสาร ชื่องานวิจัย ชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อหนังสือพิมพ์ หรือเอกสารใดๆ ให้ใช้พิมพ์เป็นตัวเอียง ดังตัวอย่าง กิติกร มีทรัพย์. (2554). จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธุรกิจการพิมพ์.
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ตัวอย่างรายการทางบรรณานุกรม ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. /////// (เว้น 7 ระยะตัวอักษร เริ่มเขียนตัวแรก บรรทัดที่2 ในระยะที่ 8)
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ครั้งที่พิมพ์ 1) หนังสือที่มีการพิมพ์ครั้งที่ 1 ไม่ต้องระบุในรายการบรรณานุกรม 2) ให้ระบุครั้งที่พิมพ์ตั้งแต่การพิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป 3) ลงรายการบรรณานุกรม ให้ใช้คำว่า (พิมพ์ครั้งที่…) 4) หากมีข้อความระบุการปรับปรุงแก้ไข (revised) หรือการแก้ไขเพิ่มเติม (enlarged) ให้ใส่ต่อท้ายด้วยดังตัวอย่าง พิมพ์ครั้งที่ 2 2 nd. ed พิมพ์ครั้งที่ 6 6 th. ed พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุงแก้ไข 3 rd. rev.ed พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม 2 nd.rev & enl. ed
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ตัวอย่างรายการทางบรรณานุกรม ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. /////// (เว้น 7 ระยะตัวอักษร เริ่มเขียนตัวแรก บรรทัดที่2 ในระยะที่ 8)
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม สถานที่พิมพ์ สำหรับหนังสือภาษาไทย ให้ระบุชื่อจังหวัดที่พิมพ์หนังสือนั้นๆลงไป กรุงเทพมหานคร: สงขลา: ขอนแก่น: สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ ให้ระบุชื่อเมืองที่พิมพ์ ที่สำนักพิมพ์นั้นตั้งอยู่ ดังรายการต่อไปนี้ New York: ระบุเป็น NY: ดูตัวย่อรัฐจากเล่ม APA ชมพู หน้า 34-35 California: ระบุเป็น CA: Massachuentts: ระบุเป็น MA: ใส่เครื่องหมาย : Colon ไม่เว้นระยะหน้า
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม หากไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ ให้ใช้อักษรย่อแทน ดังนี้ (ม.ป.ท.) หมายถึง ไม่ปรากฎสถานที่พิมพ์ (N.P.) หมายถึง No place of publication การเขียนสถานที่พิมพ์ ให้พิมพ์เครื่องหมายทวิภาค (Colon) (:) ต่อจากชื่อสถานที่พิมพ์โดย ไม่ต้องเว้นระยะ
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม ตัวอย่างรายการทางบรรณานุกรม ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. /////// (เว้น 7 ระยะตัวอักษร เริ่มเขียนตัวแรก บรรทัดที่2 ในระยะที่ 8)
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม สำนักพิมพ์ ให้ใช้ตามที่ปรากฏในหน้าปกในของหนังสือ ในกรณีที่มีสำนักพิมพ์ให้ใช้ชื่อ สำนักพิมพ์ แต่…ตัดคำว่า สำนักพิมพ์ออก ดังรายการต่อไปนี้ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ ลงรายการ โอเดียนสโตร์. สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น ลงรายการ ซีเอ็ดยูเคชั่น. สำนักพิมพ์เคล็ดไทย ลงรายการ เคล็ดไทย. McGraw–Hill Company ลงรายการ McGraw–Hill. Little Brown and Company ลงรายการ Little Brown.
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม สำนักพิมพ์ ยกเว้นสำนักพิมพ์ที่เป็นของสมาคม มหาวิทยาลัยให้ระบุชื่อเต็ม ดังตัวอย่าง สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถ้าในตัวเล่มไม่ปรากฏสำนักพิมพ์หรือสถาบันที่ผู้เขียนสังกัดให้ลงชื่อโรงพิมพ์ที่พิมพ์ โดยพิมพ์คำว่า โรงพิมพ์ นำหน้าชื่อทุกครั้ง แม้ในชื่อที่ปรากฏจะไม่มีคำว่าโรงพิมพ์ก็ตาม ดังรายการต่อไปนี้ โรงพิมพ์การศาสนา ลงรายการ โรงพิมพ์การศาสนา โรงพิมพ์รุ่งธนเกียรติการพิมพ์ ลงรายการ โรงพิมพ์รุ่นธนเกียรติการพิมพ์
หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรม หากตัวเล่มไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ หรือสถาบันการศึกษาที่พิมพ์ ให้ใช้อักษรย่อแทน ดังนี้ (ม.ป.พ.) หมายถึง ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ (N.P.) หมายถึง No publisher การเขียนสำนักพิมพ์พิมพ์ หรือโรงพิมพ์ ให้ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) ต่อจากชื่อสำนักพิมพ์ด้วย
หลักเกณฑ์การเขียนบรรณานุกรมของ ทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท หนังสือ..ผู้แต่ง 1 คน พิมพ์ครั้งแรก ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. ประเวศ วะสี. (2547). กระบวนการนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท หนังสือ…ผู้แต่ง 1 คน พิมพ์ครั้งที่สองขึ้นไป ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. กิติกร มีทรัพย์. (2554). จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธุรกิจการพิมพ์.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท หนังสือ…ผู้แต่ง 2-5 คน ผู้แต่ง และ ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/ ///////สำนักพิมพ์. ศิริกานต์ โกสุม และจิตติมา มณี. (2554). สอนเด็กให้คิดเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์. ศิริกานต์ โกสุม, จิตติมา มณี, มนัส ยรรยง และอาจอง ชุมสาย. (2554). เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท หนังสือ…ผู้แต่งมากกว่า 6 คน ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. ศิริกานต์ โกสุม, จิตติมา มณี, อัครพงศ์ อั้นทอง, มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด, มนัส ยรรยง, ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ และคณะ (2554). การเมืองสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท ผู้แต่ง…เป็นบรรณาธิการ ชื่อผู้แต่ง.//(บรรณาธิการ).//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/ สำนักพิมพ์. อรทัย อาจอ่ำ. (บรรณาธิการ). (2556). เศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่. ขอนแก่น: มิตรไมตรี.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท ผู้แต่ง…เป็นนิติบุคคล ชื่อนิติบุคคล.// (ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). การสร้างกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้นำชื่อหนังสือมาไว้ส่วนหน้าสุด ชื่อหนังสือ.//(ปีที่พิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. ภูมิปัญญาชาวอีสาน. (2557). ขอนแก่น: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท หนังสือที่ใช้นามแฝง หรือนามปากกา นามแฝง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. นิ้วกลม. (2557). โตเกียวไม่มีขา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มติชน.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท หนังสือแปล ผู้แต่งเดิมที่เป็นต่างชาติ.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือฉบับแปล.//(ชื่อผู้แปล, ผู้แปล).// ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. เคอร์, อิลิเนอร์. (2539). ซาดาโกะกับนกกระเรียนพันตัว. (ถิรนันท์ อนวัช, ผู้แปล). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. *ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ หนังสือออนไลน์ รูปแบบต่างๆอีก หลายรูปแบบอย่างละเอียด ได้จากเล่ม APA ชมพู หน้า 42-45
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท บทความในวารสารวิชาการตัวเล่ม ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//“ชื่อบทความ”.//ชื่อวารสาร.//ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2548). “ข้อสังเกตเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทย”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 11(3), 35-40.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท บทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ (Conference papers) ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่องบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)// ชื่อหัวข้อหรือเรื่องการประชุม. ชื่อการประชุม. (หน้า__-__).//สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์. วิภา โกยสุโข. (2548). ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ. ใน สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะอนุกรรมการ พัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย. ห้องสมุดอัตโนมัติ : แนวทางการพัฒนา การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 13. (20-34). พิษณุโลก: งานส่งเสริมการผลิตตำรากองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท วิทยานิพนธ์ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ระดับวิทยานิพนธ์.//ชื่อสาขาวิชา.// /////// หรือภาควิชาคณะ.//ชื่อสถาบัน. บุญเรือง เนียมหอม. (2540). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เนตในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท งานวิจัย (ที่ไม่ใช่วิทยานิพนธ์) ชื่อผู้เขียนงานวิจัย.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง(รายงานผลการวิจัย)//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. พินิจ ทิพย์มณี. (2553). การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตายของ ประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิต.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท บทความในหนังสือพิมพ์ ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปีพิมพ์,/วัน/เดือน).//ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์,/หน้า. สายใจ ดวงมาลี. (2558, อังคาร 7, มกราคม). สุขภาพใจ: การดูแลร่างกายเมื่อเกิดความเครียด. มติชนรายวัน, 20.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท การสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์.//(วันเดือนปีที่สัมภาษณ์)//สัมภาษณ์.//ตำแหน่ง(ถ้ามี).//หน่วยงานที่สังกัด. อัจฉรา ภาณุรัตน์. (1 สิงหาคม 2557). สัมภาษณ์. อธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท ข้อมูล สารสนเทศทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต (Web Site) ผู้แต่ง หรือ ชื่อหน่วยงาน.//(ปีที่พิมพ์).//”ชื่อเรื่อง”//[ออนไลน์].//เข้าถึงได้จาก:/ ///////http://www.xxxxxxxxxxxxxxxxx. สืบค้น วัน เดือน ปีที่สืบค้น กรมเศรษฐกิจการพานิชย์. (2556). “อนาคตพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.moc.go.th/thai/drg/ecoco/e.com.ht. สืบค้น 3 กรกฏาคม 2558.
หลักเกณฑ์การเขียนการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท วารสารอิเล็กทรอนิค /ฐานข้อมูล (Database) : บทความวารสารจากอินเทอร์เน็ต ผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,ปีที่ (ฉบับที่),/เลขหน้า /////// สืบค้น วัน เดือน ปีที่สืบค้น,/เข้าถึงได้จาก/http://www.xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx /////// DOI:………………………………………………………………. * (DOI = Digital Object Identifier) สุปรานี ฉัตรรังสีพล. (2553). จริยธรรมในการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม. อุตสาหกรรมสาร. 51(2), 7-10. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2556, เข้าถึงได้จาก http://www.smethai.net/ejournal/journal_View.asp?876544567. Doi: 10.1037/0278-6133.24.2.225 *ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ บทความในนิตยสารออนไลน์ บทความในจดหมายข่าว บทความในวารสารฉบับพิเศษ บทความจากหนังสือพิมพิออนไลน์ ได้จากเล่ม APA ชมพู หน้า 37-41
วิธีเรียงรายการบรรณานุกรม
ไม่คัดลอกผลงานโดยไม่อ้างอิง
กรณีศึกษาการรับจ้างทำผลงานวิชาการ
กรณีการเพิกถอนปริญญาเอก จากการคัดลอกผลงานโดยไม่อ้างอิง
โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงาน
โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงาน
สงสัยอะไรบ้างไหมครับ/ค่ะ ถาม - ตอบ