ที่ปรึกษาโครงการ 1. นายประวัติวิทย์ สวัสดิ์ดวง ผส.ชป.13 ประธานที่ปรึกษา 2. นายไพศาล พงศ์นรภัทร ผชช.ชป.13 ที่ปรึกษา 3. นายไพรัตน์ ทับประเสริฐ ผจบ.ชป.13 ที่ปรึกษา 4. นายนคร พริ้งเพริด ผคก.ชป.13 ที่ปรึกษา 5. นายสุภรัตน์ โกสุมาภินันท์ ผวศ.ชป.13 ที่ปรึกษา
สมาชิกทีมงาน 1. นายบุญธรรม ราชโสภา ตำแหน่ง นายช่างไฟฟ้าชำนาญงาน 1. นายบุญธรรม ราชโสภา ตำแหน่ง นายช่างไฟฟ้าชำนาญงาน 2. นายสมภพ สุภาพ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
หลักการและเหตุผล WiFi เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมที่ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุ ปัจจุบันนิยมใช้ WiFi เพื่อต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยอุปกรณ์พกพาต่างๆ เช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครื่องเล่นเกม โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เป็นต้น ให้สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point และบริเวณที่ระยะทำการของ Access Point ครอบคลุมอยู่ที่ประมาณ 20 ม. ในอาคาร แต่ระยะนี้จะไกลกว่าถ้าเป็นที่โล่งแจ้ง สำนักงานชลประทานที่ 13 จึงได้คิดค้น นำ wireless usb adapter (Wireless N 150 USB Adapter D-Link) ซึ่งภายในอุปกรณ์ของ WiFi จะมีเสาอากาศ รับ-ส่ง ข้อมูล โดยใช้ความยาวคลื่นที่ 5/8 แลมด้า เพื่อเพิ่มระยะทางการรับส่งข้อมูลให้ไกลขึ้นจึงตัดเสาสัญญาณเดิมออก และนำเอาเสาอากาศของยากิ (YaGi) ที่ออกแบบไว้ติดตั้งเข้าไปแทน ด้วยรูปทรงที่สามารถรับ – ส่งสัญญาณที่คลื่นความถี่ 2.4 Ghz เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการรับ – ส่งสัญญาณ WiFi หรืออุปกรณ์ Wireless ต่างๆ การติดตั้งง่าย สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกับ wireless usb adapter แต่ได้ระยะทางที่ไกลกว่าเดิม สามารถใช้งานได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) หรือ Note Book
เสาอากาศแบบต่างๆและทิศทางของสัญญาณ เสาก้างปลา เสาแบบไดโพล เสาอากาศแบบแส้ จานรูปโค้ง
ขั้นตอนการจัดทำผลงาน คำนวณและการออกแบบเสา ใช้น้ำยากัดลายวงจรใช้แผ่นปริ้น
ขั้นตอนการจัดทำผลงาน แต่งเสา Yagi ให้พอดีกับกล่อง นำ USB WiFi Adapter ผ่าออกเพื่อนำวงจร ไปตัดเสาเดิมออก
ขั้นตอนการจัดทำผลงาน เมื่อทำการตัดเสาเดิมออกแล้ว ทำการติดตั้งเสา Yagi แทนเสาเดิม และจัดวางอุปกรณ์ลงกล่อง
การทดสอบคุณภาพสัญญาณโดยใช้โปรแกรม Homedale คุณภาพของสัญญาณมีความแตกต่างเล็กน้อย แต่จะเห็น Wifi เพิ่มขึ้นอีก 1 จุด
ทดสอบระยะทางที่สามารถรับสัญญาณได้อย่างมีคุณภาพ วัดระยะทางที่สามารถรับสัญญาณได้ ในระยะทาง 139.79 เมตร สัญญาณ internet อยู่ที่ 2 ขีดจาก 4 ขีด
การนำมาประยุกต์ใช้กับ router ทีมงานได้พัฒนาต่อยอดการใช้เสา Yagi จากที่ใช้ประกอบกับ WiFi แบบUSB มาใช้ประกอบเข้ากับ Router โดยขั้นตอนการทำเป็นเช่นเดียวกันกับที่กล่าวมา
การทดสอบระยะทำการของ Router ที่ติดตั้งเสา Yagi Router TP-link (เสาธรรมดา) สัญญาณหาย Router Tenda (เสาYagi) ยังคงมีสัญญาณอยู่
ข้อเสนอแนะในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอดพัฒนาต่อไป สามารถนำเสาอากาศ ยากิ( YaGi) มาติดตั้งกับ router หรือ access point ที่รองรับ 2 ย่านความถี่เพื่อทำเป็น repeater wifi และใช้ทดแทน VDSL ในการส่งสัญญาณ internet ข้ามอาคาร
*** หากนับเฉพาะเสาการจัดทำเสาจะมีค่าใช้จ่ายเพียง 510 บาท *** งบประมาณ USB WiFi adapter + Yagi ชุดอุปกรณ์รับ – ส่งสัญญาณ WiFi ( Wireless N 150 USB Adapter) 380 บาท สั่งจ้างกัดลายวงจร จำนวน 1 ชุด 270 บาท กล่อง พร้อมสายเชื่อมต่อ และข้อต่อตัวผู้ ตัวเมีย 240 บาท งบประมาณที่จัดทำทั้งสิ้น 890 บาท Router WiFi + Yagi Router WiFi 1,080 บาท สั่งจ้างกัดลายวงจร จำนวน 1 ชุด 270 บาท กล่อง พร้อมสายเชื่อมต่อ และข้อต่อตัวผู้ ตัวเมีย 240 บาท งบประมาณที่จัดทำทั้งสิ้น 1,590 บาท *** หากนับเฉพาะเสาการจัดทำเสาจะมีค่าใช้จ่ายเพียง 510 บาท ***
ประโยชน์ของผลงาน 1. เพิ่มระยะในการใช้งาน WiFi 2. อุปกรณ์มีขนาดเล็กกว่าเสา Yagi ที่มีขายตามท้องตลาด 3. ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องติดตั้ง Access point เพิ่ม ทั้งการเพิ่มไม่ต้องตั้งเสา 4. สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ติดตั้งง่าย
นวัตกรรมดังกล่าว มีส่วนในการพัฒนาองค์กรได้อย่างไร นวัตกรรมดังกล่าวเป็นการพัฒนาระบบการสื่อสารขององค์กร เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความต่อเนื่อง ประหยัดเวลาและงบประมาณ
ปัญหาและอุปสรรค การคิดค้นและพัฒนาใช้งบประมาณและระยะเวลา ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะสูญเปล่า หากการคิดค้นและพัฒนานั้นไม่สำเร็จ ซึ่งผู้คิดค้นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย และใช้เวลานอกเวลาราชการ
สิ่งประดิษฐ์เพิ่มเติม ไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อไฟฟ้าดับ ติดตั้งง่าย ให้แสงสว่างยาวนาน สามารถพกพาได้
Q&A