ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลยา ธเนศพงศ์ธรรม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Orientation for graduate students in Food Engineering
Advertisements

Work Shop การพัฒนาหลักสูตรสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
Educational Policies.
แผนการขับเคลื่อน กรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ
Orientation for undergraduate students in Food Engineering Food Engineering Program Department of Food Science and Technology Food Engineering – a hot.
หลักสูตรใหม่.... Knowledge กลุ่มความรู้ Knowledge Cluster 1. ภาษาและวัฒนธรรม Language and Culture 2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและคณิตศาสตร์ Science, Technology,
ผศ.ดร.อังสนา บุญธรรม ภาควิชาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล
ดร. สมบัติ สุวรรณพิทักษ์ กระทรวงศึกษาธิการ
1 การวิเคราะห์ งาน Job Analysis. INDM0419 Industrial HRM2 ความหมายของการวิเคราะห์งาน การวิเคราะห์งาน คือ กระบวนการที่มีระบบใน การกำหนดทักษะ หน้าที่ และความรู้ที่
1 ทบทวน แผนกลยุทธ์สำนักงาน เขต พื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 9.
ศาสตราจารย์ ดร. ชุติมา สัจจานันท์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เข้าสู่ วิชา การงานอาชีพ จัดทำโดย ด. ญ. สุชัญญา เขียวสมอ ม.1/14 เลขที่ 38 ด. ญ. พรรณวษา ยาวะระ ม.1/14 เลขที่ 32 นำเสนอ อาจารย์ ฐิตาพร ดวงเกตุ โรงเรียนวินิตศึกษา.
2nd SHARE Workshopon the Impact of Qualifications Frameworks and Learning Outcomes on Higher Education In ASEAN Curriculum Design Using the Outcome-based.
Professional qualifications in the United Kingdom
Report การแข่งขัน.
องค์ประกอบที่ 1 หลักสูตร องค์ประกอบที่ 1 หลักสูตร “หลักสูตรผลิตครู 5 ปี ให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง เป็นหลักสูตรที่ได้ มาตรฐานวิชาการ และมาตรฐานวิชาชีพครู
การพัฒนาการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐
การจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบและการวิเคราะห์ระบบ
ประสบการณ์และเทคนิคทำวิจัยสถาบัน
รูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
การบรรยายพิเศษ สหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น อุปนายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย โครงการเตรียมความพร้อมสู่สหกิจศึกษานานาชาติ
รายวิชา คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข
สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
แนวปฏิบัติสำหรับการศึกษานานาชาติ
จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบาย
หมวด ๒ กลยุทธ์.
learning theory ทฤษฎีการเรียนรู้
Thailand Standards TMC.WFME.BME. Standards (2017)
การประเมินคุณภาพหลักสูตรรายวิชา “
เส้นทางสู่ วิชาชีพนักกฎหมาย
นวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ INNOTECH
จรรยาบรรณ จรรยาบรรณ คือ จริยธรรมวิชาชีพ วิชาชีพ มีองค์ประกอบ 4 ประการ
การวัดผลและประเมินผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของ TQF
โดย โอฬาริก สุรินต๊ะ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ความต้องการสารสนเทศ (Information need)
ระบบการประกันคุณภาพอาชีวศึกษา
Yeunyong Kantanet School of Information and Communication Technology
ความหมายและความสำคัญ ของการประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment)
การแนะแนวอาชีพในศตวรรษที่ 21
รายละเอียดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร
โดย ดร.ปราณี คงพิกุล ผอ.กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา
ครูกับการออกแบบการเรียนรู้ สู่คุณภาพเด็กไทย
ดร.ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ ครูเชี่ยวชาญ (คศ.4)
กลุ่มควบคุมโรงฆ่าสัตว์ภายในประเทศ
PRE 103 Production Technology
โดยสำนักอนามัย สิ่งแวดล้อมกรมอนามัย
EDT2303 การออกแบบเว็บไซต์เพื่อการศึกษา 3 (2-2-5)
การเปลี่ยนจากระบบ ซี สู่ระบบ แท่ง
การศึกษา ในฐานะเป็นปัจจัย กำลังอำนาจแห่งชาติ
การบูรณาการ สมรรถนะที่ ก.พ. กำหนด สมรรถนะ M.O.P.H.
สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ.
การประเมินประสิทธิภาพสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา ๒๕๖๒
มโนทัศน์การจัดการศึกษา แห่งอนาคตใหม่
การดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2554
By ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พีระ พันลูกท้าว
รหัสวิชา ศิลปกรรมกับการสื่อสาร Fine and Applied Arts and Communication
Skills of 21st century learning ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3Rs X 7Cs (เรียนรู้ตลอดชีวิต) Reading ’Riting (Writing) ’Rithmetic (Arithmetic) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร
นักวิชาการกับงานวิชาการเพื่อสังคม (และตำแหน่งทางวิชาการ)
องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร
คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
เทคนิคการนำเสนองาน Research Methodology.
เนื้อหาที่สำคัญของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 พ.ศ มีดังนี้ มาตรา 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลยา ธเนศพงศ์ธรรม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education; TQF:HEd) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลยา ธเนศพงศ์ธรรม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ 9 พฤษภาคม 2560

ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2552

ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2552

วัตถุประสงค์ของการจัดทำกรอบ มคอ. 1. เพื่อเป็นกลไกหรือเครื่องมือในการนำแนวนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และมาตรฐานการอุดมศึกษาไปสู่การปฏิบัติได้อย่าง เป็นรูปธรรม ด้วยการนำไปเป็นหลักในการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียน การสอน และการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามที่กำหนด 2. เพื่อกำหนดเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตให้ชัดเจนโดยกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตที่คาดหวัง (Learning Outcomes) ในแต่ละคุณวุฒิ/ปริญญาของสาขา/สาขาวิชาต่างๆ และเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญในสาขา/สาขาวิชาได้ใช้เป็นหลัก และเป็นแนวทางในการวางแผน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและพัฒนาการจัดการศึกษา เช่น การพัฒนาหลักสูตร การปรับเปลี่ยนกลวิธีการสอน วิธีการเรียนรู้ ตลอดจนกระบวนการวัดและการประเมินผลนักศึกษา

วัตถุประสงค์ของการจัดทำกรอบ มคอ. 3. เพื่อเชื่อมโยงคุณวุฒิระดับต่างๆ ในระดับอุดมศึกษาให้เป็นระบบ เพื่อบุคคลจะได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ได้อย่างต่อเนื่องและหลากหลายตามหลักการศึกษาตลอดชีวิต มีความชัดเจนและโปร่งใส สามารถเทียบเคียงกับมาตรฐานคุณวุฒิในระดับต่างๆ กับนานาประเทศได้ 4. เพื่อช่วยให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพในสถาบันอุดมศึกษาและเป็นกลไกในการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง และใช้เป็นกรอบอ้างอิงสำหรับผู้ประเมินของการประกันคุณภาพภายนอกเกี่ยวกับคุณภาพบัณฑิต และการจัดการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์ของการจัดทำกรอบ มคอ. 5. เพื่อเป็นกรอบของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและความมั่นใจในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและสถาบันอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับความหมายของคุณวุฒิ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะในการทำงาน รวมทั้งคุณลักษณะอื่นๆ ที่คาดว่าบัณฑิตจะพึงมี 6. เพื่อประโยชน์ในการเทียบเคียงมาตรฐานคุณวุฒิระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ ในการย้ายโอนนักศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษา การลงทะเบียนข้ามสถาบัน และการรับรองคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

วัตถุประสงค์ของการจัดทำกรอบ มคอ. 7. เพื่อให้มีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเองของแต่ละสาขา/สาขาวิชา 8. เพื่อนำไปสู่การลดขั้นตอน/ระเบียบ (Deregulation) การดำเนินการให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเข้มแข็ง

คุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ระดับที่ 1 อนุปริญญา (3 ปี) ระดับที่ 2 ปริญญาตรี ระดับที่ 3 ประกาศนียบัตรบัณฑิต ระดับที่ 4 ปริญญาโท ระดับที่ 5 ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ระดับที่ 6 ปริญญาเอก

ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจาก ระดับคุณวุฒิหนึ่งไปสู่อีกระดับ คุณวุฒิที่สูงขึ้น

ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) สิ่งที่พัฒนาขึ้นในตัวนักศึกษา ทั้งจาก การเรียนในห้องเรียน กิจกรรมในและนอกหลักสูตร ปฎิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่น กับอาจารย์ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย ผลการเรียนรู้ ต้องวัดได้ และครอบคลุมถึง สาระความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา ทักษะหรือความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ พฤติกรรม ทัศนคติ แนวคิด ความเชื่อ อุปนิสัย

ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) สกอ.กำหนดให้ครอบคลุมอย่างน้อย 5 ด้าน (domains) 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย (สำหรับสาขา/สาขาวิชาที่เน้นทักษะทางปฏิบัติ)

ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral) หมายถึง การพัฒนานิสัยในการประพฤฒิอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และด้วยความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวม ความสามารถในการปรับวิถีชีวิตในความขัดแย้งทางค่านิยม การพัฒนานิสัยและการปฎิบัติตนตามศีลธรรม ทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม

ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ (Knowledge) หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ การนึกคิด และการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฏี ตลอดจนกระบวนการต่างๆ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้

ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skill) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และใช้ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฏี และกระบวนการต่างๆ ในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน

ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility ) หมายถึง ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงถึงภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม ความสามารถในการวางแผนและความรับผิดชอบในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology skills ) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ความสามารถในการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ ความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ: มคอ. มคอ.1 มาตรฐานคุณวุฒิสาขา มคอ.2 รายละเอียดหลักสูตร มคอ.3 รายละเอียดรายวิชา มคอ.4 รายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม มคอ.5 รายงานผลการดำเนินงานรายวิชา มคอ.6 รายงานผลการดำเนินงานประสบการณ์ภาคสนาม มคอ.7 รายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร

ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง มคอ. ผู้ดำเนินการ ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง มคอ.1 ผู้เชี่ยวชาญสาขาจากแต่ละสถาบันร่วมกันจัดทำ เสนอสกอ.เห็นชอบและจัดทำเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ มคอ.2 คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรของหน่วยงาน อนุมัติโดยสภามหาวิทยาลัยและเสนอ สกอ.รับทราบก่อนเปิดสอน มคอ.3/4 อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา จัดทำให้เสร็จก่อนเปิดสอนของแต่ละภาคการศึกษา มคอ.5/6 จัดทำให้เสร็จภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอน มคอ.7 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จัดทำให้เสร็จภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา

มคอ.2 มาตรฐานคุณวุฒิกับรายละเอียดของหลักสูตร จัดทำโดยหลักสูตร ประกอบด้วย 8 หมวด 1 ข้อมูลทั่วไป 2 ข้อมูลเฉพาะหลักสูตร 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างหลักสูตร 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล 5 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนิสิต 6 การพัฒนาคณาจารย์ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร 8 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของหลักสูตร

หมวดที่4: ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนิสิต การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (curriculum mapping)

หมวดที่4: ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนิสิต คุณลักษณะพิเศษ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล มีศักยภาพในการสื่อสาร จัดรายวิชาสัมมนาเป็นวิชาบังคับไว้ในหลักสูตร เพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสพูดสื่อสารให้อาจารย์ และนิสิตด้วยกันเองเข้าใจ และประเมินผลโดยผู้เข้าฟัง

หมวดที่4: ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรม กลยุทธ์การสอน กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบในการเรียน (ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา ถูกกาลเทศะ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เข้ากับผู้อื่นได้) มีจริยธรรมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้) มีจริยธรรมในการวิจัย

หมวดที่4: ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรม กลยุทธ์การสอน กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบในการเรียน (ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา ถูกกาลเทศะ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เข้ากับผู้อื่นได้) มีจริยธรรมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้) มีจริยธรรมในการวิจัย มีการสอนสอดแทรกในรายวิชาต่างๆ รวมทั้งรายวิชาสัมมนา ที่ปลูกฝังหลักคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นิสิต มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม และเสริมประสบการณ์จากการทำวิจัยในกลุ่มวิจัยเดียวกัน มีการสอนจริยธรรมในการวิจัยในรายวิชา bioethics, research and methodology และเรียนรู้จากกรณีศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ สังเกตจากพฤติกรรมการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หรือสอบถามจากเพื่อนร่วมงาน การแสดงความคิดเห็นในการตอบคำถาม พฤติกรรมการแสดงออกขณะทำงานวิจัย

แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและผู้รับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี 1 2 3 4 หมวดวิชาแกน กำหนดให้เรียน 12 หน่วยกิต   พศก 501 ชีววิทยาของเซลล์และโมเลกุล ● ○ พศก 511 เครื่องมือและเทคนิคในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ พศก 502 วิธีวิทยาวิจัยและชีวสถิติ ชวพ 501 ชีวภาพการแพทย์ 1 ชวพ 502 ชีวภาพการแพทย์ 2 ชวพ 671 สัมมนาทางชีวภาพการแพทย์ 1 ชวพ 672 สัมมนาทางชีวภาพการแพทย์ 2

มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการ บริหารจัดการของแต่ละรายวิชาเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องและเป็นไปตามที่วางแผนไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร รายวิชาจะกําหนดเกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ รายละเอียดของเนื้อหาความรู้ในรายวิชา ไว้อย่างชัดเจน แนวทางการปลูกฝังทักษะต่าง ๆ ตลอดจนคุณลักษณะอื่น ๆ ที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาให้ประสบความสําเร็จตามจุดมุ่งหมายของรายวิชา มีการกําหนด รายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน วิธีการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลในรายวิชา ตลอดจนหนังสือหรือสื่อทางวิชาการอื่น ๆ ที่จําเป็นสําหรับการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังกําหนด ยุทธศาสตร์ในการประเมินรายวิชาและกระบวนการปรับปรุง

มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ หมวดที่ 3 ลักษณะและการดําเนินการ หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของรายวิชา

มคอ. 4 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification) ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการในรายวิชาหรือกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้องออกฝึกงาน ออกฝึกภาคสนาม หรือสหกิจศึกษา ซึ่งจะต้องวางแผนให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร กำหนด วัตถุประสงค์ รายละเอียดของการดำเนินการ ของกิจกรรมนั้นๆ ไว้อย่างชัดเจน ความรู้ ความเข้าใจที่นักศึกษาจะได้รับจากการออกฝึก มีการกำหนดกระบวนการหรือวิธีการในการปลูกฝังทักษะต่างๆ ตลอดจนคุณลักษณะอื่นๆ ที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย เกณฑ์การวัดและประเมินผลนักศึกษา และการประเมินการดำเนินการตามรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม

มคอ. 4 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ หมวดที่ 3 ลักษณะและการดําเนินการ หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หมวดที่ 5 การวางแผนและการเตรียมการ หมวดที่ 6 การประเมินนิสิต หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของการฝึก ประสบการณ์ภาคสนาม

มคอ. 5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report) รายงานผล  การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาเมื่อสิ้นภาคเรียนเกี่ยวกับภาพรวมของการจัดการเรียนการสอนในวิชานั้นๆ รายงานการดำเนินการสอนว่าครอบคลุมและเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในรายละเอียดของรายวิชาหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ต้องให้เหตุผลและข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาดังกล่าวในครั้งต่อไป รายงานผลการเรียนของนักศึกษา จำนวนนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนจนสิ้นสุด ปัญหาในด้านการบริหารจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวก วิเคราะห์ผลการประเมินรายวิชาของนักศึกษา/หัวหน้าภาค/หรือผู้ประเมินภายนอก สำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต การวางแผนและให้ข้อเสนอแนะ ต่อผู้ประสานงานหลักสูตรเพื่อปรับปรุงและพัฒนารายวิชา

มคอ. 5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report) หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 การจัดการเรียนการสอนเปรียบเทียบกับแผนการสอน หมวดที่ 3 สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา หมวดที่ 4 ปัญหาและผลกระทบต่อการดำเนินการ หมวดที่ 5 การประเมินรายวิชา หมวดที่ 6 แผนการปรับปรุง

มคอ. 6  รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Report) รายงานผลการฝึกงาน ออกฝึกภาคสนาม หรือ สหกิจศึกษา ว่าได้บรรลุผลการเรียนตามแผนที่วางไว้ในรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนามหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผนต้องให้เหตุผลและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการฝึกงาน ออกฝึกภาคสนาม หรือ สหกิจศึกษา ในครั้งต่อไป รายงานนี้ครอบคลุมถึงการฝึกประสบการณ์ภาคสนามตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุด ปัญหาด้านการบริหาร จัดการ และสิ่งอำนวยความสะดวก การวิเคราะห์ผลการประเมินการฝึกของนักศึกษา/อาจารย์ผู้รับผิดชอบ/พนักงานพี่เลี้ยง

มคอ. 6 รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ มคอ. 6  รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 การดำเนินการที่ต่างไปจากแผนการฝึกประสบการณ์ ภาคสนาม หมวดที่ 3 ผลการดำเนินการ หมวดที่ 4 ปัญหา และผลกระทบด้านการบริหาร หมวดที่ 5 การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม หมวดที่ 6 แผนการปรับปรุง

มคอ. 7 รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (Programme Report) การรายงานผลประจำปีโดยผู้ประสานงานหลักสูตรหรือผู้รับผิดชอบหลักสูตรเกี่ยวกับผลการบริหารจัดการหลักสูตร เช่น ข้อมูลทางสถิติของนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตร สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถาบันที่มีผลกระทบต่อหลักสูตร สรุปภาพรวมของรายงานผลของรายวิชาในหลักสูตร ประสิทธิภาพของการสอนในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้าน การเทียบเคียงผลการดำเนินการกับมาตรฐานอื่นๆที่มี สรุปผลการประเมินหลักสูตรจากความเห็นของผู้สำเร็จการศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต ตลอดจนข้อเสนอในการวางแผนและพัฒนา รวมทั้งแผนปฏิบัติการในการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การรายงานผลนี้จะส่งไปยังหัวหน้าภาควิชา/คณบดี และใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาด้วยตนเองเพื่อปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรเป็นระยะๆ และเป็นข้อมูลในการรับรองหลักสูตรจากผู้ประเมินภายนอกได้ด้วย

มคอ. 7 รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 ข้อมูลเชิงสถิติ หมวดที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อหลักสูตร หมวดที่ 4 ข้อมูลสรุปรายวิชาของหลักสูตร หมวดที่ 5 การบริหารหลักสูตร หมวดที่ 6 สรุปประเมินหลักสูตร หมวดที่ 7 คุณภาพของการสอน หมวดที่ 8 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพของหลักสูตรจาก ผู้ประเมินอิสระ หมวดที่ 9 แผนการดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตร

ในบรรดา มคอ ทั้ง 7 มคอ.3/4/5/6 ที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาทุกคนต้องจัดทำ และจัดทำหลายรอบ เพราะต้องมีทุกวิชาในทุกภาคเรียน และต้องประเมินแล้วปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ถ้าอาจารย์สอน 3 วิชา ก็ต้องทำ มคอ.3 จำนวน 3 วิชา โดยถ้าปีการศึกษาหนึ่งสอนสองครั้งก็ต้องมี 6 ชุด

ทำไมต้องทำ มคอ. ไม่ทำได้ไหม ทำไมต้องทำ มคอ. ไม่ทำได้ไหม ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หลักสูตรทุกระดับคุณวุฒิต้องมีผลการดำเนินการที่บรรลุเป้าหมาย ตัวบ่งชี้ทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ดี จึงจะได้รับการเผยแพร่หลักสูตรที่ได้มาตรฐานตามกรอบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานของหลักสูตร (Key Performance Indicators) 255.. (1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร (2) มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี) (3) มีรายละเอียดของรายวิชาและรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และมคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา (4) จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชาและรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และมคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา (5) จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา (6) มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดในมคอ.3 และมคอ.4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา

ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานของหลักสูตร (Key Performance Indicators) 255.. (7) มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอนหรือการประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมินการดำเนินการที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว (8) อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน (9) อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (10) จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ50ต่อปี (11) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตรเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0 (12) ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่เฉลี่ยไม่น้อยกว่า3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0

มคอ. เพื่อ มศว คุณภาพของนิสิต