ฝึกปฏิบัติการจัดการความรู้ นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
SECI-Knowledge Conversion Process Model Tacit Externalization Socialization Internalization Combination Explicit
TUNA Model ส่วนกลางลำตัว ส่วนที่เป็น “หัวใจ” Knowledge Sharing (KS) ส่วนกลางลำตัว ส่วนที่เป็น “หัวใจ” ให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน (Share & Learn) Knowledge Vision (KV) Knowledge Assets (KA) ส่วนหาง สร้างคลังความรู้ เชื่อมโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้ ICT “สะบัดหาง” สร้างพลังจาก CoPs ส่วนหัว ส่วนตา มองว่ากำลังจะไปทางไหน ต้องตอบได้ว่า “ทำ KM ไปเพื่ออะไร” ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
สรุปหลักการจัดเวทีการจัดการความรู้ พูดเรื่องเก่า เล่าความหลัง พูดความสุขสำเร็จชื่นชม ใช้ดีจึงบอกเพื่อน น้ำท่วมทุ่ง คอยเก็บผักบุ้งโหรงเหรง พร้อมให้และใฝ่รู้ เปิดใจ ยอมรับคนอื่น จัดการความรัก Learn-care-share-shine มีแม่สื่อแม่ชัก รักการสนทนา พากันทบทวน
สรุปลักษณะสำคัญของเวทีการจัดการความรู้ เน้นลักษณะสำคัญ 4 ประการคือพูดอย่างจริงใจ ฟังอย่างตั้งใจ ถามอย่างซาบซึ้งใจและจดอย่างเข้าใจใส่ใจ เป็นกิจกรรมกลุ่มที่ทำเพื่อระดมปัญญา (Wisdom storming) คือช่วยกันระดมเอาความรู้ภาคปฏิบัติหรือสิ่งที่ทำแล้วได้ผลดีออกมาให้กลุ่มได้รับทราบเพื่อหยิบจับเอากลับไปประยุกต์หรือปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง พูดอดีต ไม่พูดอนาคต พูดสิ่งที่ตนทำ ไม่ใช่สิ่งที่ตนเห็น/ฟังมา เล่าถึงความสำเร็จว่าคืออะไร สำเร็จอย่างไร สำเร็จด้วยวิธีใด
จุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. การค้นหาสิ่งดีรอบๆตัว (Appreciative Inquiry) โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค้นหาสิ่งดีๆในงานของตนเองแล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น 2. การเปรียบเทียบมาตรฐานการปฏิบัติ (Benchmarking) เป็นการนำเอาผลงานของแต่ละคนมาเปรียบเทียบกันด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่าย มีการตกลงกฎเกณฑ์ของการเปรียบเทียบกันด้วยความเข้าใจกัน เปรียบเทียบกันเพื่อนำเอาสิ่งดีๆของแต่ละฝ่ายมายกระดับผลงานหรือพัฒนางานของตนเอง
บทบาท Knowledge Facilitators หรือวิทยากรกลุ่ม สร้างความเข้าใจให้สมาชิกกลุ่มในกิจกรรมที่จะทำร่วมกัน สร้างความรู้สึกเป็นกันเอง ผ่อนคลายให้กับสมาชิกกลุ่ม ทำให้สมาชิกกลุ่มได้รู้จักกัน สนิทสนม ไว้ใจกัน รักกัน เข้าใจกัน กระตุ้นให้สมาชิกกลุ่ม ขุดเอาสิ่งดีๆที่ซ่อนอยู่ในตัว ออกมาเล่า มีความอดทนและความมุ่งมั่นสูง ไม่ขี้บ่น ไม่ต้องเก่งเนื้อหา แต่ต้องชำนาญกระบวนการ/หลักการ จับประเด็นเก่ง วิเคราะห์บรรยากาศทีมและองค์กรได้
หน้าที่ของKM Facilitators : ช่วยให้เกิด 4 เอื้อ Learn เอื้อโอกาสให้เกิดเรียนรู้/อยากเรียนรู้/ใฝ่รู้(เวลา/เวที) Care เอื้ออาทรให้เกิดความห่วงใยใส่ใจกัน/ช่วยเหลือกัน Share เอื้ออารีให้เกิดการแบ่งปันความรู้/เล่าสู่กันฟัง Shine เอื้อเอ็นดูให้เกิดความภาคภูมิใจ/ยกย่อง/กำลังใจ/มีไฟ Knowledge is not power ,but Knowledge sharing is power. Human is important , but Human relationship is more important
ทักษะสำคัญของผู้เข้าร่วมเวทีการจัดการความรู้ ทักษะการพูด (SPEAK) S = Success story พูดเรื่องดี เล่าเรื่องความสำเร็จ P= Practice by yourself พูดในสิ่งที่ตนเองทำเองกับมือ E= Enjoy telling พูดอย่างสนุก สุขกับการเล่า A= Agility กระตือรือร้น กระฉับกระเฉง อยากเล่า เร้าใจ K= Knowledge asset บอกเทคนิคที่ทำให้งานสำเร็จ
ทักษะสำคัญของผู้เข้าร่วมเวทีการจัดการความรู้ ทักษะการฟัง (LISTEN) L= Look& look interest มองด้วยความสนใจใส่ใจ I= Identify the issues จับประเด็น S= Suspend judgment อย่าด่วนสรุป T= Test your understanding ทดสอบความเข้าใจ E= Exclude your emotion อย่าใช้อารมณ์ทางลบ N= Note, noise, non-verbal จดบันทึก ส่งเสียงตอบรับ สื่อสารด้วยภาษาท่าทาง เรียกว่า Deep Listening (Hear is art, Heart is ear)
ทักษะสำคัญของผู้เข้าร่วมเวทีการจัดการความรู้ ทักษะการถาม (ASKING) A= Appreciate ชื่นชมยกย่องความสำเร็จของเพื่อนร่วมทีม S= Smile ยิ้มแย้มแจ่มใส K= Kindness มีเมตตา ปราณี เป็นมิตร อ่อนโยน เอื้ออาทร I= Inspire กระตุ้นแรงบันดาลใจให้อยากบอกเล่าเรื่องราวดีๆ N= Norm ยึดมั่นในหลักการ เป้าหมาย กติการ่วมกัน G=Get พร้อมเปิดรับนำสิ่งดีๆไปปรับใช้
ทักษะสำคัญของผู้เข้าร่วมเวทีการจัดการความรู้ ทักษะการจดบันทึก (Take note) จดประเด็นสำคัญ(Issue) จดแรงบันดาลใจ(Inspiration) จดให้เห็นสิ่งปฏิบัติ(Practice) จดอย่างเข้าใจใส่ใจ(Understanding)
คุณลิขิต : จดอะไรบ้าง เรื่องเล่าย่อๆ ไม่ต้องจดทุกคำพูด แต่ก็ไม่ย่อจนสั้นเกินไป ชื่อ เบอร์โทร เจ้าของเรื่องเล่า ชื่อคน ที่มีการกล่าวถึงในเรื่องเล่า เคล็ดลับ/เทคนิค/ประเด็นสำคัญจากเรื่องเล่า ฯลฯ
การบันทึกขุมทรัพย์ความรู้(Knowledge Assets) ที่มา ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด ประเด็น/หลักการ “ เรื่องเล่า &คำพูด “เราทดลองวิธีการใหม่ …” แหล่งข้อมูล/บุคคล โทร. ... ..... เป็นขุมความรู้ (Knowledge Assets) ที่มีบริบท และรายละเอียด ตามกาละและเทศะที่ต้องการความรู้นั้น ที่มา ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด
BAR (Before Action Review) มาร่วมกิจกรรมวันนี้ หวังว่าจะได้อะไร
DAR (During Action Review) ขณะนี้ กลุ่มกำลังไปทางไหน เป็นไปในทิศทางที่กลุ่มต้องการหรือไม่ กฎกติกากลุ่มได้รับการปฏิบัติตามเพียงใด บรรยากาศกลุ่มเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้นหรือไม่ เราควรจะปรับปรุงอะไรก่อนจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไป
AAR (After Action Review) ได้ตามความคาดหวังหรือไม่ เพราะอะไร ยังไม่ได้ตามความคาดหวังคืออะไร เทคนิค เคล็ดลับดีๆ ของเพื่อนที่เราจะเอาไปใช้ในพื้นที่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งต่อไป ควรจะมีรูปแบบอย่างไร ผู้เข้าร่วมควรเป็นใคร เรื่องอะไร
ขั้นตอนการทำกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ รู้จักรู้ใจ 2. การทำ BAR (Before action review) 3. เลือกผู้ทำหน้าที่คุณอำนวย คุณกิจ คุณลิขิต 4. กำหนดข้อตกลง/กติกาKM ของกลุ่ม 5. กำหนด KV (Knowledge vision) 6. การทำสุนทรียสนทนาด้วยกิจกรรม AI (Appreciative inquiring) 7. การทำ DAR (During action review) 8. การใช้เครื่องมือชุดธารปัญญา : เพื่อเตรียมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งต่อไป 9. กิจกรรม AAR (After action review) 10. สรุปขุมความรู้ บทบาทคุณกิจ อำนวย ลิขิตและกิจกรรมKM
สรุปผลการทำกิจกรรมกลุ่ม KM ประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือวิสัยทัศน์ความรู้ (KV) ขุมความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทบาท/คุณลักษณะของคุณอำนวย บทบาท/คุณลักษณะของคุณกิจ บทบาท/คุณลักษณะของคุณลิขิต รูปแบบ ขั้นตอนของการทำกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การจัดการความรู้แบบบูรณาการ “ True success exists not in learning, but in its application to the benefit of mankind” สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย “ความสำเร็จที่แท้จริงมิได้อยู่ที่การเรียนรู้ หากแต่อยู่ที่การนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติ” Tel. 0818889011 e-mail : tingbanyati@yahoo.com , www.practicallykm.gotoknow.org