การสร้างวิสัยทัศน์และการจัดการเชิงกลยุทธ์ SIM2112

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
Advertisements

การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
บทที่ 1 ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับระบบคุณภาพ
ระบบประเมินผลผู้บริหาร
Chapter I พฤติกรรมผู้บริโภค.
LOGO การคำนวณต้นทุนผลผลิต ของปีงบประมาณ 2553 โดย นายธีรชาติ พันธุ์หอม หัวหน้าฝ่ายแผนงานและ งบประมาณด้านก่อสร้าง คณะทำงานต้นทุนผลผลิตสำนัก ชลประทานที่ 11.
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับทีม
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
การกำหนดตำแหน่งการพัฒนาของอำเภอ (Positioning)
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน ระดับสถานศึกษา ประจำปี 2559.
โครงการพัฒนา ศักยภาพบุคลากร เพื่อยกระดับการ บริหารจัดการเชิงกล ยุทธ์และพัฒนาอัต ลักษณ์ผู้เรียนภาค บังคับ สู่ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ๒๐ - ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๘.
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
หลักสูตรการอบรมวิทยากรตัวคูณ ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 ภาคกลางตอนบน ( วันที่สอง ) ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 9 – 11 มีนาคม 2558.
แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฝ่ายวิชาการและวางแผนสำนักงานสถิติจังหวัดระยอง 1.
ข้อที่เกณฑ์การประเมินการดำเนินงาน ข้อ 1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน.
เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการ ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เครื่องมือตรวจสุขภาพและปรับปรุง องค์การ กรอบการประเมินองค์การด้วยตนเอง ตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
องค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติราชการ แบบฟอร์มที่ 1 การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ ของส่วนราชการ ชื่อส่วนราชการ : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.
โดย ปณิต มีแสง. ส่วนที่ 1 ลักษณะสำคัญขององค์กร ส่วนที่ 2 เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการ ภาครัฐ - การนำองค์กร - การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ - การให้ความสำคัญกับผู้รับบริหารและ.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
ลำดับชั้นของกลยุทธ์ 3 ระดับ ขององค์กรธุรกิจ
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร12
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
หน่วยที่1 แนวคิดการจัดการและองค์การ
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
การจัดลำดับความสำคัญของโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
การประเมินคุณภาพการศึกษา สำนักงานอธิการบดี
Strategic Line of Sight
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
ข้อสังเกตโดยรวมของผลงานที่ได้คะแนน ระดับดีมาก - ดี
การปฐมนิเทศและการบรรจุ
บทบาทหน้าของฝ่าย HR ในงานพัฒนาบุคคลและฝึกอบรม
โดย นายแพทย์ประดิษฐ์ วินิจจะกูล รองอธิบดีกรมอนามัย
บทที่ 4 หลักทฤษฎีและปฏิบัติการธุรกิจ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ
เราคือ ‘One PPG’ We protect and beautify the world วัตถุประสงค์ของเรา
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สรุปบทเรียน และแนวทางการนำไปใช้
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
การวางแผนกำลังการผลิต
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
8/26/2019 ชื่อบริษัท แผนธุรกิจ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
อ. อรนพัฒน์ เหมือนเผ่าพงษ์ สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
การวิเคราะห์ศักยภาพองค์กรกองแผนงาน โดย SWOT Analysis
แบบฟอร์มที่ 2ลักษณะสำคัญขององค์การ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การสร้างวิสัยทัศน์และการจัดการเชิงกลยุทธ์ SIM2112 อาจารย์ ดร.วาสนา สุรีย์เดชะกุล สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วิสัยทัศน์/Vision ความหมายของวิสัยทัศน์ * วิสัยทัศน์ หมายถึง สภาพขององค์กรในอนาคตที่เราอยากเห็นองค์กรหรือ ผลงานของเราเป็นอย่างไร และอยากให้คนอื่น พูดถึงหน่วยงาน ผลงานของเราในอนาคตอย่างไร ดังนั้น วิสัยทัศน์จึงเป็นเรื่องของอนาคต เป็นภาพจินตนาการหรือความฝันที่พึงปรารถนาของคนในหน่วยงานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต (สุวิทย์ มูลคำ. 2544 : 23)

วิสัยทัศน์ /Vision * วิสัยทัศน์ หมายถึง การมองไปข้างหน้าในส่วนที่ดี ในส่วนที่เราคาด ในส่วนซึ่งเรามองจะใช้คำว่า Visual Thinking ว่าเป็นความคาดหวังที่อยากจะเห็นให้เป็น Expectation ซึ่งหมายความว่าพยายามจะมองไปในทางที่ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ (สายสุรี จุติกุล. 2549 : ออนไลน์)

วิสัยทัศน์ /Vision * โดยสรุป วิสัยทัศน์ หมายถึง การสร้างภาพในอนาคต หรือการมองไปยังอนาคตซึ่งเป็นเป้าหมายในการดำเนินงานไปสู่อนาคต โดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนงานมาใช้ หรืออาจหมายความรวมถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม วิสัยทัศน์ จึงเกิดจากการรู้จักคิดโดยใช้ปัญญา และความมุ่งมั่นตั้งใจให้เกิดขึ้นจริง

วิสัยทัศน์ที่ดีมีคุณสมบัติเฉพาะ 8 ประการ วิสัยทัศน์ /Vision 1. มุ่งเน้นอนาคต (Future Oriented) 2. เต็มไปด้วยความสุข (Utopian) 3. ความเหมาะสม (Appropriate) 4. สะท้อนความฝันสูงสุด (Reflect High Ideals) วิสัยทัศน์ที่ดีมีคุณสมบัติเฉพาะ 8 ประการ 5. อธิบายจุดมุ่งหมาย (Clarify Purpose) 6. ดลบันดาลความกระตือรือร้น (Inspire Ethusiansm) 7. สะท้อนความเป็นหนึ่งเดียว (Reflect the Uniqueness) 8. ความมักใหญ่ใฝ่สูง (Ambition)

สร้างวิสัยทัศน์ได้อย่างไร? วิสัยทัศน์ /Vision -มองย้อนอดีต โดยทบทวนภารกิจหน่วยงานทั้งหมด แล้วเขียนภาพหรือข้อความ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่ผ่านมาในด้านปัญหา อุปสรรค หรือความสำเร็จ -มองปัจจุบัน วิเคราะห์บทบาทของหน่วยงานในปัจจุบันและคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง แล้วเขียนเป็นภาพหรือข้อความ -มองภาพวาดฝันในอนาคต สร้างจินตนาการ หรือ ภาพฝันของหน่วยงานในอนาคต โดยพิจารณาภารกิจในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น -กำหนดวิสัยทัศน์ เป็นการนำข้อความของแต่ละคนมาเขียนเป็นวิสัยทัศน์ ซึ่ง ข้อความวิสัยทัศน์ที่ดีควรเขียนให้เป็นข้อความที่มีความกระชับ สามารถจดจำง่าย และมีความเร้าใจ กระตุ้นให้อยากนำไปปฏิบัติ

องค์ประกอบในการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน กระตุ้นให้แต่ละคนสร้างวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลโดยการสร้างบรรยากาศที่สร้างสรรค์ ปรับปรุงและพัฒนาวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลให้เป็นวิสัยทัศน์ร่วมกันขององค์กร สร้างทัศนคติที่ดีต่อวิสัยทัศน์ขององค์กรเพื่อให้เกิดความผูกพันและก่อให้เกิดพฤติกรรมที่สนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์กรโดยอิสระ สนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์กรในเชิงบวก

วิสัยทัศน์ /Vision ลักษณะของวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์ขององค์กรในปัจจุบันมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไปตาม เป้าหมาย บริบท ขนาดและความความซับซ้อนของหน่วยงาน กล่าวคือ ถ้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ก็จะมีวิสัยทัศน์ที่เน้นการแข่งขันสูงมีความต้องการเป็น ผู้นำ ข้อความของวิสัยทัศน์ก็จะแสดงถึงความมุ่งหวัง ตามเป้าหมายนั้นๆ

พันธกิจ/Mission พันธกิจ (Mission) หรือ ภารกิจ หรือ ปณิธาน พันธกิจ คือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุและผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงก่อตั้งขึ้นมาหรือทำไมองค์กรจึงยังดำรงอยู่เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และแผนยุทธศาสตร์

พันธกิจ/Mission พันธกิจ (Mission) * เป็นคำอธิบายถึงธุรกรรมที่องค์กรดำเนินการ สอดคล้องกับค่านิยมขององค์กร * ความคาดหวังหรือเป้าหมายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)

พันธกิจ/Mission พันธกิจ (Mission) หมายถึง จุดประสงค์หลักที่บุคคล หรือทีมงานหรือองค์กรได้สร้างขึ้นมา โดยมีการระบุไว้อย่างชัดเจน กะทัดรัดและสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรในองค์กรได้ ซึ่งเน้นไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างชัดเจน โดยมีการกำหนดเป้าประสงค์ส่วนบุคคล ส่วนของกลุ่ม หรือขององค์กรไว้อย่างชัดเจน

พันธกิจ/Mission ความหมายของพันธกิจ (Mission) พันธกิจ คือ ข้อความที่มีความชัดเจนของจุดมุ่งหมายหลักขององค์กรส่วนราชการในปัจจุบัน และในอนาคต พันธกิจ คือ ภารกิจหลัก เป้าหมายระยะยาวหรือทิศทางที่องค์กรต้องดำเนินไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะบรรลุผลในอนาคต

พันธกิจ/Mission พันธกิจ (Mission) คือ ข้อความที่ชัดเจนของจุดมุ่งหมายหลัก (Purpose) ของส่วนราชการในปัจจุบันและในอนาคต พันธกิจต้องระบุจุดมุ่งหมายสาธารณะที่ส่วนราชการนั้นพยายามจะดำเนินการให้บรรลุ นอกจากนี้องค์กรส่วนราชการจำเป็นต้องระบุบริการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนที่จะได้รับประโยชน์จากบริการนั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของการให้บริการ

พันธกิจ/Mission หลักการในการกำหนดพันธกิจ - องค์กรอยู่ในธุรกิจประเภทใด ? - จุดประสงค์หรือเป้าประสงค์ที่แท้จริงขององค์กรคืออะไร ? นอกจากการทำกำไร แล้ว องค์การของเรายังมีจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์อะไรอีก ? - เอกลักษณ์หรือจุดเด่นเฉพาะขององค์กรของเราคืออะไร ? - กลุ่มลูกค้าหลักหรือผู้ใช้สินค้า/ผู้ใช้บริการกลุ่มสำคัญคือใครบ้าง ? - ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สำคัญของเราในปัจจุบันคืออะไร ? และในอนาคตควรเป็นอะไร ? - ส่วนแบ่งการตลาดที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคตคือส่วนไหนบ้าง ? - ขอบข่ายพื้นที่ในการจัดจำหน่ายสินค้า/บริการ และ/หรืออาณาเขตของตลาดกว้างและครอบคลุมแค่ไหนในปัจจุบัน และในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?

ความสำคัญของการกำหนดพันธกิจขององค์กรให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถระบุจุดมุ่งหมายภายในองค์กรได้ เพื่อช่วยถ่ายทอดความคิดของผู้บริหารออกมาเป็นทิศทางที่ชัดเจน เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานในการจัดสรรทรัพยากรขององค์กร เพื่อเป็นหลักสำคัญในการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร เพื่อความสะดวกในการแปลงความหมายวัตถุประสงค์ในโครงสร้างการทำงาน การออกแบบระบบงาน และการกำหนดความรับผิดชอบภายในองค์กร เพื่อช่วยในการตัดสินใจและดำเนินการของพนักงานระดับล่างให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

เป้าประสงค์/Objective ความหมายของเป้าประสงค์ เป้าประสงค์ คือ สภาพความสำเร็จในการดำเนินงานในขั้นตอนสุดท้ายของแต่ละยุทธศาสตร์ อาจมีการกำหนดเป้าประสงค์ในระยะยาว (Long term objective) หรืออาจกำหนดเป็นเป้าประสงค์ในลักษณะที่เป็นเป้าหมาย (Target) ก็ได้

เป้าประสงค์/Objective ความหมายของเป้าประสงค์ (ต่อ) เป้าประสงค์ หมายถึง การกำหนดสิ่งที่องค์กรต้องการในอนาคตซึ่งองค์กรจะต้องพยายามให้เกิดเป้าประสงค์ หรือผลลัพธ์/ผลสำเร็จตามที่องค์กรต้องการจะบรรลุ โดยจะต้องสอดคล้องกับพันธกิจที่กำหนดไว้ ทั้งนี้หน่วยงานย่อยภายในองค์กรควรมีเป้าประสงค์ของตนเองที่ชัดเจนและสนับสนุนเป้าประสงค์ซึ่งกันและกัน

ลักษณะของเป้าประสงค์ที่ดี 1. มีการขยายสาระสำคัญที่ระบุไว้ในวิสัยทัศน์ / พันธกิจ ให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น 2. ระบุรวมถึงกลุ่มเป้าหมายที่องค์กรต้องการจะมอบสิ่งที่มีคุณค่า(เป้าประสงค์)ให้ 3. ระบุคุณค่า ผลประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อกลุ่มเป้าหมาย 4. ต้องมีความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน กล่าวคือสามารถดัดแปลงให้เป็นกิจกรรมที่ง่ายต่อการมอบหมายและการกระจายงาน 5. ต้องมีความเป็นไปได้ในการใช้ทรัพยากรและกำลังคนที่มีอยู่จริง ต้องสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ได้หลาย ๆ เรื่องพร้อม ๆ กันในคราวเดียว ต้องมีความเกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ขององค์กร

เป้าประสงค์แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ เป้าประสงค์ด้านการเงิน (Financial Perspective) เป้าประสงค์ด้านลูกค้า (Customer Perspective) เป้าประสงค์ด้านกระบวนการธุรกิจภายใน (Internal Process Perspective) เป้าประสงค์ด้านองค์กรและการเรียนรู้ (Learning and Growth Perspective)

เป้าประสงค์/Objective วิธีการกำหนดหรือเลือกเป้าประสงค์ขององค์กร พิจารณาถึงปัจจัยทางกลยุทธ์ทั้งหลาย ที่จะมีผลกระทบหรือเกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กับการพิจารณาเป้าประสงค์ในระยะยาว ทั้งนี้โดยพยายามคัดเลือกโดยจัดลำดับปัจจัยทางกลยุทธ์ที่มีความสำคัญมากเป็นพิเศษและสำคัญรองลงมาตามลำดับ

เป้าประสงค์/Objective หลักการทั่วไปของเป้าประสงค์ -จะต้องมีความเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ ที่กำหนดไว้ -เป้าประสงค์ ต้องเขียนในลักษณะสิ่งที่องค์กรต้องการที่จะบรรลุ -ในการกำหนดเป้าประสงค์นั้น อาจประยุกต์ใช้กับตัวแบบต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น กรอบการประเมินผลทั้งสี่มิติ ซึ่งประกอบด้วย มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ (Run the Business) มิติด้านคุณภาพการให้บริการ (Serve the Customer) มิติด้านประสิทธิภาพการจัดการ (Manage Resources) มิติด้านพัฒนาองค์กร (Capacity Building)

เป้าประสงค์/Objective ประโยชน์ของเป้าประสงค์ ทำให้เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการมีความชัดเจนขึ้นเพื่อใช้วัดความสำเร็จ สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่มด้วยการมุ่งเน้นเป้าหมายร่วมกัน สนับสนุนให้มีแนวความคิดนอกกรอบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ท้าทายได้ดียิ่งขึ้น เป็นพื้นฐานสำหรับการใช้เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าและเร่งให้บรรลุผลร่วมกัน

กลยุทธ์/Strategy Certo and Peter กลยุทธ์ หมายถึง วิธีดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร Wright และคณะ กลยุทธ์ หมายถึง แผนของผู้บริหารระดับสูงที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ต่างๆ ที่สอดคล้องกับภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร

กลยุทธ์/Strategy Samuel Paul กลยุทธ์ หมายถึง ชุดของทางเลือกระยะยาวเกี่ยวกับเป้าประสงค์เชิงปฏิบัติการและนโยบายรวมทั้งแผนปฏิบัติการของแผนงานของรัฐบาล ซึ่งองค์กรภาครัฐบาลกำหนดโดยคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญสองประการ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของแผนงานที่รัฐบาลกำหนดไว้ และสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของแผนงาน

“ การจัดการเชิงกลยุทธ์/Strategy Management การจัดการเชิงกลยุทธ์ หมายถึง กระบวนการที่ต่อเนื่องและมีการทบทวนกระบวนการเวียนไปมาตลอดเวลา เพื่อให้องค์กรโดยรวมสามารถดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

การจัดการเชิงกลยุทธ์ หมายถึง กระบวนการต่อเนื่องในการกำหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กรภายใต้บริบทของสิ่งแวดล้อมภายนอกขององค์กร การกำหนดกลวิธีที่เหมาะสม การปฏิบัติงานตามกลวิธีที่กำหนดไว้ การใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมกลยุทธ์ เพื่อทำให้มั่นใจว่ากลวิธีขององค์กรที่นำมาใช้สามารถนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้

ลำดับชั้นของกลยุทธ์มี 3 ระดับ (องค์กรภาคเอกชน) กลยุทธ์ระดับองค์กร (Organizational-Level Strategy) กลยุทธ์ระดับกิจการ (Business-Level Strategy) กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional-Level Strategy)

ลำดับชั้นกลยุทธ์มี 3 ระดับ (องค์กรภาครัฐ) กลยุทธ์ระดับนโยบาย (Policy-Level Strategy) กลยุทธ์ระดับโครงการ (Project Purpose) กลยุทธ์ระดับกิจกรรม (Activity)

Organizational Strategy ลำดับชั้นของกลยุทธ์ ในภาคธุรกิจเอกชน ในภาครัฐบาล Organizational Strategy Program Business Strategy Project Functional Strategy Activity

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ 1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environmental Analysis) 2. การจัดวางทิศทางขององค์กร (Establishing Organizational Direction) 3. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation) 4. การปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ (Strategy Implementation) 5. การควบคุมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Control)

(1.) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม Environmental Analysis การวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์ SWOT หมายถึง การวิเคราะห์ Strengths-Weaknesses -Opportunities-Threats โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างผลการประเมินสถานภาพของสภาพแวดล้อมภายในระหว่างจุดแข็งและจุดอ่อนและผลการประเมินสถานภาพของสภาพแวดล้อมภายนอก ระหว่างโอกาสและอุปสรรค ซึ่งทำให้เกิดกรณีโน้มเอียง 4 กรณี

Strengths จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ SWOT Analysis Strengths จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ “Strengths are internal competencies possessed by the organization in comparison with its competitors if the organization excels in comparison with its competitors, this represents a strength.”

Weaknesses จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ “Weaknesses are attributes of the organizaion which tend to decrease its competence in comparison with its competitors.”

Opportunities โอกาสที่จะดำเนินการ “An opportunity is a combination of circumstances, time and place which, if accompanied by a certain course of action on the part of the organization, is likely to produce significant benefits.”

Threats อุปสรรคหรือข้อจำกัด “A threat is a reasonably probable event which if it were to occur, would produce significant damage to the organization.”

สภาพแวดล้อมภายใน + (4 M + 2 S) * Man * Money * Material * Management * Structure * Support

P = Political & Law E = Economical S = Social and Value T = Technology สภาพแวดล้อมภายนอก (PEST) P = Political & Law E = Economical S = Social and Value T = Technology

1. SWOT จำเป็นต้องทำในทุกหน่วยงาน 6. SWOT หน่วยงานนำไปสู่การ SWOT บุคคล

ประเด็นของกลยุทธ์จาก SWOT กลยุทธ์เพิ่มศักยภาพ ( Strategy to increase potential ) = S+O กลยุทธ์สร้างภูมิคุ้มกัน ( Strategy to build security ) = S+T

3. กลยุทธ์เร่งพัฒนา ( Strategy to accelerate development ) = W+O 4. กลยุทธ์แก้วิกฤติ ( Strategy to solve the crisis ) = W+T

(2.) การจัดวางทิศทางขององค์กรสำหรับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน Establishing Organizational Direction การจัดวางทิศทางขององค์กร โดยเป็นการระบุหรือกำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่องค์กรต้องการก้าวไปให้ถึง การจัดวางทิศทางขององค์กรมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะสำหรับองค์กรภาคเอกชนที่ต้องดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวการณ์การแข่งขันที่รุนแรง หากองค์กรไม่สามารถกำหนดทิศทางที่ชัดเจนได้แล้ว กลยุทธ์ขององค์กรที่จะจัดทำขึ้นก็จะไม่สามารถผลักดันให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันที่เพียงพอจะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้หรือมีความแตกต่างเมื่อเทียบกับคู่แข่งในสายตาของลูกค้า

องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการจัดวางทิศทางขององค์การ. วิสัยทัศน์ องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการจัดวางทิศทางขององค์การ * วิสัยทัศน์ * พันธกิจ * เป้าประสงค์ * เป้าหมาย * ผู้มีส่วนได้เสีย

วิสัยทัศน์ขององค์กร (Organizational Vision) คืออะไร ? มโนภาพภาพหรือตำแหน่งในการแข่งขันขององค์กรในอีก 3-5 ปีข้างหน้า จินตนาการหรือมโนทัศน์เกี่ยวกับอนาคตขององค์กรที่เกิดจากทัศนคติและมุมมองตลอดจนแนวคิดของผู้บริหาร ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวการณ์ในอนาคตของสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงาน ความปรารถนาหรือความทะเยอทะยานในอนาคต สิ่งที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการดำเนินงานขององค์กร

พันธกิจขององค์กร (Organizational Mission) คืออะไร? พันธกิจขององค์กรจะบ่งบอกถึงกิจกรรมที่องค์กรจะต้องทำ เพื่อสนับสนุนให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ ซึ่งจะช่วยสร้างคุณค่าให้กับองค์กรและสร้างความแตกต่างให้กับองค์กรเมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆ

เป้าประสงค์ขององค์กร (Organizational Objective) คืออะไร ? เป้าประสงค์ คือ การกำหนดพันธกิจของธุรกิจให้อยู่บนรูปของผลลัพธ์สำคัญที่ต้องการหรือเป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการในอนาคต ซึ่งองค์กรจะต้องพยายามทำให้เกิดขึ้นหลังจากการกำหนดวัตถุประสงค์แล้วจะช่วยทำให้ผู้บริหารทราบถึงผลที่ธุรกิจต้องการจะบรรลุ

เป้าหมายขององค์กร (Organizational Goal) คืออะไร ? เป้าหมาย คือ การระบุเป้าประสงค์ให้มีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง สามารถวัดได้ เป้าหมายจะมีลักษณะที่สามารถวัดได้หรือเขียนไว้ในรูปแบบที่ระบุปริมาณไว้อย่างชัดเจน มีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการบรรลุถึงสิ่งที่ต้องการ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์กร (Internal Stakeholders) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงในการซื้อขายสินค้า/บริการ (Marketplace Stakeholders) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมแต่อยู่นอกองค์กร (External Stakeholders)

(3.) การกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร Strategy Formulation 3.1 กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy) 3.2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) 3.3 กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy)

3.1 กลยุทธ์ระดับองค์กร(Corporate Strategy) ต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ คือ ทิศทางองค์กร (Directional Strategy) การวิเคราะห์กลุ่มของการลงทุน (Portfolio Strategy)

* ทิศทางขององค์กร (Directional Strategy) 1. กลยุทธ์การขยายตัว (Growth Strategy) 1.1 กลยุทธ์การขยายตัวที่มุ่งเน้นความเชี่ยวชาญ (Concentration Growth Strategy) 1.2 กลยุทธ์การขยายตัวที่มุ่งเน้นการขยายธุรกิจ (Diversification Growth Strategy)

2. กลยุทธ์การคงตัว (Stability Strategy) 2.1 กลยุทธ์การยับยั้ง หรือการดำเนินการด้วยความระมัดระวัง (Pause/Proceed with Caution Strategy) 2.2 กลยุทธ์การไม่เปลี่ยนแปลง (No Change Strategy) 2.3 กลยุทธ์การทำกำไร (Profit Strategy)

3. กลยุทธ์การหดตัว (Retrenchment Strategy) 3.1 กลยุทธ์การฟื้นฟู (Turnaround Strategy) 3.2 กลยุทธ์บริษัทเชลย (Captive Company Strategy) 3.3 กลยุทธ์การขายทิ้งหรือการถอนทุนการลงทุน (Sell-Out/ Divestment Strategy) 3.4 กลยุทธ์การล้มละลายหรือการเลิกกิจการ (Bankruptcy/ Liquidation Strategy)

* การวิเคราะห์กลุ่มการลงทุน (Portfolio Strategy) 1. การวิเคราะห์การเติบโตและส่วนแบ่งในตลาด 1.1 กรณี “เติบโตสูง-ส่วนแบ่งตลาดต่ำ” เรียกว่า “Question Marks” หรือ “เครื่องหมายคำถาม” 1.2 กรณี “เติบโตสูง-ส่วนแบ่งตลาดสูง” เรียกว่า “Stars” หรือ “ดาวเด่น” 1.3 กรณี “เติบโตต่ำ-ส่วนแบ่งตลาดสูง” เรียกว่า “Cash Cows” หรือ “แม่วัวเงิน” 1.4 กรณี “เติบโตต่ำ-ส่วนแบ่งต่ำ” เรียกว่า “Dogs” หรือ “สุนัข”

2. การวิเคราะห์ความน่าสนใจของตลาดและความแข็งแกร่งขององค์กร 2.1 กรณี “ความน่าสนใจสูง+ความแข็งแกร่งสูง” “ความน่าสนใจพอใช้+ความแข็งแกร่งสูง” และ “ความน่าสนใจสูง+ความแข็งแกร่งพอใช้” เป็นลักษณะที่ควรลงทุนและสร้างความเติบโต 2.2 กรณี “ความน่าสนใจต่ำ+ความแข็งแกร่งต่ำ” “ความน่าสนใจพอใช้-ความแข็งแกร่งต่ำ” และ “ความน่าสนใจต่ำ+ความแข็งแกร่งพอใช้” เป็นลักษณะที่ควรเก็บเกี่ยวและถอนตัว 2.3 กรณี “ความน่าสนใจต่ำ+ความแข็งแกร่งสูง” “ความน่าสนใจพอใช้+ความแข็งแกร่งพอใช้” และ “ความน่าสนใจสูง+ความแข็งแกร่งต่ำ” เป็นลักษณะที่ควรลงทุนที่มีการเลือกสรรวิธีการอย่างรัดกุม

3.2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) 1. กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ (Lower Cost Strategy) 2. กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation Steategy) 2.1 การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership) 2.2 การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) 2.3 มุ่งต้นทุนต่ำ (Cost Focus) 2.4 มุ่งที่ความแตกต่าง (Focused Differentiation)

3.3 กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) 1. กลยุทธ์ด้านวิจัยและพัฒนา (Research and Development Strategy) 2. กลยุทธ์ด้านปฏิบัติการ (Operations Strategy) 3. กลยุทธ์ด้านการเงิน (Financial Strategy) 4. กลยุทธ์ด้านการตลาด (Marketing Strategy) 5. กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Strategy)

หลักการพัฒนากลยุทธ์ระดับหน้าที่ 1. การวิเคราะห์สมรรถนะ (Capability Analysis) 2. การชั่งน้ำหนักจุดแข็งและจุดอ่อน (Trade-offs) 3. การเชื่อมโยงกลยุทธ์ในระดับของกิจกรรมระหว่างหน่วยงานย่อยต่างๆ เพื่อให้บุคลากรในแต่ละหน่วยงานเข้าใจถึงบทบาทในหน่วยงานย่อยต่างๆ ขององค์กร 4. การมีส่วนร่วมของบุคลากรในกระบวนการรับรู้เรื่องต่างๆ (Participation) ซึ่งจะช่วยในการลดความขัดแย้งภายในองค์กร 5. การเสริมสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับงานด้านต่างๆ ขององค์กร (Multifunctional Experience) 6. การประสานแผน (Coordination) โดยการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ของทุกงานภายใต้แผนงานเดียวกัน และเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ของทุกแผนงานในองค์กร

(4.) การปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ Strategy Implementation การทบทวนและเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ สิ่งที่ต้องพิจารณา *โครงสร้างองค์กร + สมรรถนะขององค์กร *วัฒนธรรมองค์กร

ขอขอบพระคุณภาพประกอบจากwww.uih.co.th

เปรียบเทียบ โครงสร้างองค์กรปัจจุบันและอนาคต TCP T TCP C TCP TCP TCP P ปัจจุบัน อนาคต T=การคิด C= การควบคุม P=การดำเนินงาน

* เป็นการเคลื่อนย้ายจากแนวคิดเดิม “ Command and Control”หรือระบบเจ้าขุนมูลนาย ที่มีลำดับชั้นการบังคับบัญชาที่ซับซ้อนไปสู่ระบบ” Facilitate and Empower” * ไม่เน้นการออกคำสั่ง แต่มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวก การสนับสนุน และมีการกระจายอำนาจสู่ผู้ปฏิบัติมากขึ้น ตัดสินใจ เร็วขึ้น (Empowerment, not Power)

* โดยมีความเชื่อว่าการบริหารแบบเดิมๆไม่สามารถนำองค์กรให้ประสบผลสำเร็จเหมือนในอดีต เนื่องจากความสลับซับซ้อนของสภาพแวดล้อมในการบริหาร ( Complexity of the management environment) * องค์กรจำเป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการแบบใหม่ซึ่งออกแบบเพื่อการบริหารกลยุทธ์(Strategy)แต่ไม่ใช่เพื่อการบริหารยุทธวิธี(Tactics) * นอกจากจะวัดผลโดยตัวชี้วัดตาม( Lag Indicators)เช่น ด้านการเงิน จะต้องเสริมด้วยการวัดผลตัวผลักดัน(Drivers)หรือเรียกว่า ตัวชี้วัดนำ(Lead Indicators) เช่น ด้านความรู้และการเติบโต

สาเหตุที่ระบบการบริหารในปัจจุบันไม่มีประสิทธิภาพ ด้านวิสัยทัศน์ 5% ของกำลังคนเข้าใจกลยุทธ์ ด้านคน 25% ของผู้บริหารไม่มีการ เชื่อมโยงระบบจูงใจกับกลยุทธ์ ด้านการเรียนรู้ 85% ของทีมบริหารใช้เวลา ไม่ถึง 1 ชั่วโมง/เดือน ในการพูดคุยเรื่องกลยุทธ 90% ของหน่วยงาน ล้มเหลวในการนำกลยุทธ์ ไปดำเนินการให้เกิดผล ด้านการดำเนินงาน 60% ขององค์การไม่มีการ เชื่อมระบบงบประมาณกับกลยุทธ์

ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร สิ่งต่าง ๆ อันประกอบด้วยสิ่งประดิษฐ์ แบบแผนพฤติกรรม บรรทัดฐาน ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ ความเข้าใจ และข้อสมมติพื้นฐานของคนจำนวนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ภายในองค์การ แนวทางที่ได้ยึดถือปฏิบัติกันในองค์กรซึ่งวัฒนธรรมองค์กรจะมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิกในองค์กร

บทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมองค์กร มีหน้าที่ในการจำแนกองค์กร สร้างความรู้สึกนึกคิดที่เป็นเอกลักษณ์ให้แก่องค์กร ทำให้การพัฒนาข้อผูกพันของกลุ่มมีความสะดวกขึ้น ยกระดับความมั่นคงในสังคมที่เป็นระบบให้สูงขึ้น เป็นกาวของสังคมที่ผูกมัดบุคคลในองค์กรให้แสดงพฤติกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานและมีความเหมาะสม

องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กร สภาพแวดล้อมขององค์กร เป็นตัวกำหนดว่า จะต้องทำอะไร เพื่อให้ประสบความสำเร็จ มีอิทธิพลมากที่สุดในการหล่อหลอมวัฒนธรรมองค์กร องค์กรที่ประกอบธุรกิจเหมือนกันจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อสามารถสร้างวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไปจากองค์กรอื่น

คุณลักษณะที่สำคัญของวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง ค่านิยมร่วมและความรู้สึกร่วมกันเป็นเอกฉันท์ หัวหน้าองค์กรจะต้องเป็นบุคลากรหลักที่แสดงออกถึงค่านิยมหลักขององค์กร พิธีกรรมต่าง ๆ ต้องแสดงออกถึงความเชื่อร่วมกันอย่างกว้างขวาง บุคลากรทุกคนคือบุคคลสำคัญขององค์กร การแสดงออกจะบ่งบอกถึงการประสานกันของวัฒนธรรมและการเริ่มต้นวัฒนธรรมใหม่ การแสดงออกที่สำคัญ ๆ จะบ่งบอกถึงพิธีการและการเปลี่ยนแปลงค่านิยมหลัก การสร้างความสมดุลระหว่างวัฒนธรรมใหม่กับวัฒนธรรมดั้งเดิมและความสมดุลระหว่างความเป็นอิสระและการควบคุม

ประโยชน์ของวัฒนธรรมองค์กร 1. ช่วยในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำงานให้ บรรลุผลสำเร็จ 2. ช่วยในการประสมประสานภายใน จะเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ การรวมกลุ่ม โดย การค้นหาวิธีการปรับตัวในการทำงานและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน 3. วัฒนธรรมองค์กรคือ สิ่งที่หล่อหลอมให้คนในองค์กรมีและเข้ากฎกติกาในการอยู่ ร่วมกัน ทำหน้าที่หลอมให้คนในองค์กรมีความเชื่อและมีพฤติกรรมไปในทิศทางเดียวกัน วัฒนธรรมจะทำให้คนในองค์กรอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 4. วัฒนธรรมองค์กรช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้โดยง่าย เพราะทุกคนในองค์กรจะร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่องค์กร 5. วัฒนธรรมองค์กรเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งขององค์กรซึ่งจะทำให้เป็นที่จดจำได้

(5.) การควบคุมเชิงกลยุทธ์ (5.) การควบคุมเชิงกลยุทธ์ Strategic Control *การประเมินผลกระบวนการที่ใช้ในการดำเนินงาน ขององค์การ *การประเมินผลความสำเร็จขององค์กร *การนำผลการศึกษาไปใช้ปรับปรุงการดำเนินงานใน ปัจจุบัน และในอนาคต

ขอขอบพระคุณภาพประกอบจากwww.cgpcenter.com

Total Quality Management (TQM) ขอขอบพระคุณภาพประกอบจากwww.kalyan-city.blogspot.com

Balanced Scorecard Financial Customer Internal Business Process Vision “To succeed financially, how should we appear to our shareholders?” Objectives Measures Targets Initiatives Customer Internal Business Process “To achieve our vision,how should we appear to our customers?” “To satisfy our shareholders and customers, what business processes must we excel at?” Objectives Measures Targets Initiatives Objectives Vision and Strategy Measures Targets Initiatives Learning and Growth “To achieve our vision,how will we sustain our ability to change and improve?” Objectives Measures Targets Initiatives ขอขอบพระคุณภาพประกอบจากwww.mba.sorrawut.com *Adapted from Kaplan&Norton 1996

ขอขอบพระคุณภาพประกอบจากwww.opdc.go.th