Chapter 7 Nursing Care of the Child with Respiratory System Supawadee Lerdsamran MNS.(Pediatric Nursing) Ramathibodi school of nursing, Mahidol University. February 25,2016
โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน Upper respiratory infection (URI) หมายถึง โรคติดเชื้อ เฉียบพลันของระบบหายใจส่วนต้น เริ่มตั้งแต่ช่องจมูก จนถึงเหนือกล่องเสียง โรคที่จัดอยู่ในกลุ่มของ acute URI ที่พบบ่อยได้แก่ โรคหวัด (common cold หรือ acute nasopharyngitis) ช่องหูส่วนกลางอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis media) โพรงจมูกอักเสบเฉียบพลัน (acute sinusitis) คออักเสบเฉียบพลัน (acute pharyngitis) ต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน (acute tonsillitis)
หัวข้อการเรียนรู้ตาม test blueprint สภาการพยาบาล การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบหายใจ การพยาบาลเด็กทีมีปัญหาระบบหายใจ ส่วนบน: Asthma Croup Bronchitis
โรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง Lower respiratory infection (LRI) หมายถึง โรคติดเชื้อ เฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่างเริ่มตั้งแต่ส่วนบนของ หลอดลมไปจนถึงถุงลมในปอด โรคที่จัดอยู่ในกลุ่มของ LRI ที่พบบ่อย ได้แก่ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (acute bronchitis) หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน (acute bronchiolitis) โรคปอดบวมเฉียบพลัน (acute pneumonia)
หัวข้อการเรียนรู้ตาม test blueprint สภาการพยาบาล การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบหายใจ ส่วนล่าง Pneumonia Bronchiolitis
หัวข้อการเรียนรู้ตาม test blueprint สภาการพยาบาล การดูแลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจด้วย กายภาพบำบัดทรวงอก และออกซิเจน การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันและการดูแลเด็กที่มี ปัญหาระบบทางเดินหายใจที่บ้าน
Anatomy of Lung
การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาทางระบบหายใจ ปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณา ได้แก่ พยาธิสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นในโรค หรือกลุ่มอาการ ต่าง ๆ ของระบบหายใจในเด็ก ความร่วมมือจากเด็ก และครอบครัว
การซักประวัติและการตรวจร่างกายอย่างละเอียด การสำลักสิ่งแปลกปลอม อาจมีผลต่อการทำงานของระบบหายใจ ประวัติเกี่ยวกับการใช้ยา
โรคหืดเป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของผนังหลอดลม Asthma (หอบหืด) ทำให้หลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ โรคหืดเป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของผนังหลอดลม ไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงWheeze หรือหอบเหนื่อย
การดูแลผู้ป่วยเด็ก 1. ยาบรรเทาอาการ (reliever) เป็นยาที่มีฤทธิ์ ป้องกันและรักษาอาการหดเกร็งของหลอดลมที่ เกิดขึ้น 2. ยาที่ใช้ในการควบคุมอาการ (controller) เป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบลดการอักเสบการ บวมของผนังหลอดลม
การรักษาประกอบด้วย การให้ออกซิเจน เพื่อให้ระดับออกซิเจนในร่างกาย >95%
การรักษาประกอบด้วย ให้สารน้ำ ตามภาวะ การขาดน้ำ ของผู้ป่วยแต่ละราย และระวังภาวะน้ำเกิน และ การเกิด SIADH (syndrome of inappropriate anti-diuretic hormone)
ผ่านทาง MDI with spacer 2-4 puff/ครั้ง ห่างกัน 20-30 นาที การรักษาประกอบด้วย การให้ยาขยายหลอดลม β2-agonist ในกรณีที่อาการหอบรุนแรง ผ่านทาง MDI with spacer 2-4 puff/ครั้ง ห่างกัน 20-30 นาที โดยผสมกับ NSS ให้ได้ปริมาตร 2.5 - 4 มล. โดยเปิด oxygen flow 6 – 8 ลิตร/นาที
การพยาบาล 1.ดูแลติดตามสัญญาณชีพ ตามความรุนแรง 2. วัด SO2 3.ดูแลให้ได้รับยาครบตามแผนการรักษาพร้อมทั้งสังเกตอาการ ข้างเคียงของการได้รับยา 4.ดูแลให้พักผ่อน 5.ดูแลให้รับประทานอาหารและน้ำดื่มเพียงพอในกรณีไม่มีข้อห้าม 6.ดูแลสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ป้องกันการติดเชื้อ 7.สังเกตอาการและอาการแสดง
Croup syndrome (กลุ่มอาการครูพ) เป็นกลุ่มโรคที่มีทางเดินหายใจส่วนต้นอุดกั้นเฉียบพลันจาก การติดเชื้อ จัดอยู่ในกลุ่มของ LRI ได้แก่ Acute laryngotracheobronchitis (viral croup) Acute epiglottits Bacterial tracheitis Retropharyngeal abscess
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบบ่อย ได้แก่ เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบบ่อย ได้แก่ parainfluenza virus type 1, 2, 3 และ influenza virus A, B, respiratory syncytial virus และ measles กรณีเป็นแบคทีเรีย เกิดจากเชื้อคอตีบ
อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยมักมีอาการหวัดนำมาก่อน หลังจากนั้น 1-3 วัน การอักเสบจะลุกลามลงไปยังส่วนของกล่อง เสียง และบริเวณ subglottic ทำให้เกิดการบวม และการอุดกั้นทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก หายใจเสียงดัง (stridor) เสียง stridor จะได้ยินชัดเจนเวลาหายใจเข้า ไอเสียงก้อง (barking cough) เสียงแหบแห้ง
ตารางที่ 2 แสดงการใช้อาการและอาการแสดงในการประเมินความรุนแรงของภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น
http://www.rch.org.au/clinicalguide/guideline_index/Croup_Laryngotracheobronchitis/
การรักษา การรักษาตามอาการและ supportive care เป็นหัวใจสำคัญ ของการรักษา ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง (croup score < 4) ไม่จำเป็นต้อง รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ควรให้การรักษาตามอาการ แนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ อาจให้ยาแก้ไอขับเสมหะหรือยาขยาย หลอดลม (ถ้ามีอาการเกร็งตัวของหลอดลมร่วมด้วย)
ให้ออกซิเจนเมื่อจำเป็น รบกวนผู้ป่วยให้น้อยที่สุด การรักษา ในรายที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง (croup score 4-7) ควรต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังอาการอย่าง ใกล้ชิด ให้ออกซิเจนเมื่อจำเป็น รบกวนผู้ป่วยให้น้อยที่สุด ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การรักษา ถ้ามีการอุดกั้นทางเดินหายใจมากให้ฉีด Dexamethasone 0.6 มก./กก. เข้ากล้าม ร่วมกับการพ่น epinephrine (1 : 1000) 0.05 - 0.5 มล./กก. ขนาดสูงสุดในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี = 2.5 มล./ครั้ง ผสมใน NSS เป็น 3 มล. จะได้ผลในครึ่งชั่วโมง อาจให้ยาซ้ำได้ทุก 2 ชม. หรือถี่กว่า นั้นถ้าจำเป็น ถ้าการหายใจยังไม่ดีขึ้น (croup score 7) หรืออาการรุนแรงมาก ขึ้นควรพิจารณาใส่ท่อหลอดลมคอหรือบางรายอาจต้องเจาะคอ
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (acute bronchitis)
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (acute bronchitis) อาการและอาการแสดง ไข้ ไอบ่อย คันคอ ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
โรคหลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจในหลอดลมฝอยที่มี ขนาดเล็กมาก อุบัติการณ์เกิดจากเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุสำคัญ เชื้อที่เป็นสาเหตุพบได้บ่อยคือไวรัส RSV (respiratory syncytial virus: RSV)
ในทารก อาการแสดงในช่วงแรกของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน คือ น้ำมูกไหล (rhinorrhea), คัดจมูก (sneezing), cough ต่อมามีไข้ หายใจเร็ว มี chest retractions ฟังเสียงปอดได้ bronchovesicular breath sound, wheezing
การวินิจฉัย 1.ซักประวัติ ( Hx )และตรวจร่างกาย (PE ) 2. CBC 3. Chest x-ray 4. Nasopharyngeal specimen collection for viral Ag 4.1 Nasopharyngeal aspirate: Most sensitive 4.2 Nasopharyngeal swab 4.3 Nasopharyngeal wash
การพยาบาล 1.ดูแลให้ได้รับออกซิเจนผ่านความชื้นเพียงพอ (Humidified oxygen therapy) 2.ดูแลให้ได้รับสารน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ 3.ดูดเสมหะเท่าที่จำเป็นด้วยความนุ่มนวล 4.ดูแลติดตามสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด
ปอดบวม (Pneumonia) ปอดบวมเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอด พบในเด็กบ่อยกว่าผู้ใหญ่ เป็นโรคที่พบได้ประมาณร้อยละ 8-10 ของผู้ป่วยที่มีการ ติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจ เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของโรคติดเชื้อในเด็กอายุ ต่ำกว่า 5 ปี
สาเหตุ เชื้อที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม อาจเกิดได้ทั้งจาก ไวรัส แบคทีเรีย ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุ
อาการและอาการแสดง ไข้ ไอ อัตราการหายใจเร็วกว่าปกติ อายุ 1-5 ปี อัตราการหายใจตั้งแต่ 60 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป อายุ < 2 เดือน อัตราการหายใจตั้งแต่ 50 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป อายุ 2 - 12 เดือน มีอาการหายใจลำบาก มี chest wall retraction ฟังเสียงปอดมักจะได้ยินเสียง fine หรือ medium crepitation อัตราการหายใจตั้งแต่ 40 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป อายุ 1-5 ปี
การจำแนกกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดบวม โรคปอดบวมไม่รุนแรง ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยโรคปอดบวมที่มีอัตราการหายใจเร็วตั้งแต่ 50 ครั้ง/นาทีขึ้นไป (เด็กอายุ 2 เดือน ถึง 1 ปี) และ 40 ครั้ง/นาทีขึ้นไป (เด็กอายุ 1 ปี ถึง 5 ปี) โรคปอดบวมรุนแรง รับไว้รักษาในโรงพยาบาล เด็กอายุ 2 เดือน อัตราการหายใจตั้งแต่ 60 ครั้ง/นาทีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคปอดบวมที่มี chest wall retraction ที่บริเวณส่วนล่างของทรวงอก โรคปอดบวมรุนแรงมาก รีบรับไว้รักษาในโรงพยาบาลโดยด่วน อาการและอาการแสดงของ hypoxemia หอบ ชายโครงบุ๋ม เขียว หยุดหายใจ ซึม ไม่สามารถดื่มน้ำหรือนมได้ มีอาการแสดงของภาวะช็อก
ปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรีย การดูแลรักษา ปอดบวมจากไวรัส ไม่มียาจำเพาะ บำบัดรักษาทางระบบหายใจ การรักษาแบบจำเพาะ พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะที่จำเพาะต่อเชื้อควรให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อ H.influenzae และ S.pneumoniae เกิดจากเชื้อกรัมลบ ควรให้ยาปฏิชีวนะนาน 14-21 วัน ปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรีย
การรักษาทั่วไป (General supportive care) ให้สารน้ำให้เพียงพอ แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ ในรายที่หอบ มาก ท้องอืด กินอาหารไม่ได้ พิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือด ดำ และงดอาหารทางปาก ให้ออกซิเจน พิจารณาให้ในรายที่มีอาการเขียว หายใจเร็ว (อัตราการหายใจตั้งแต่ 70 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป) หอบชายโครง บุ๋ม กระวนกระวาย หรือซึม ให้ยาขยายหลอดลมในรายที่ได้ยินเสียง Wheeze หรือ Rhonchi และมีการตอบสนองดีต่อยาขยายหลอดลม พิจารณาให้ยาขับเสมหะหรือยาละลายเสมหะ ในกรณีที่ให้สารน้ำ เต็มที่แล้วแต่เสมหะยังเหนียวอยู่
การรักษาทั่วไป (General supportive care) ทำกายภาพบำบัดทรวงอก (chest physical therapy) ได้แก่ การจัดท่าระบายเสมหะและเคาะปอดให้กับเด็กที่มีเสมหะ คั่งค้างในหลอดลม เพื่อช่วยให้เสมหะถูกขับออกจากปอดและ หลอดลมได้ดีขึ้น ในผู้ป่วยที่อาการหนักอาจให้เพียงการ สั่นสะเทือนบริเวณทรวงอก (vibration) และช่วยดูดเสมหะ ก็จะช่วยระบายเสมหะที่คั่งค้างในหลอดลมออกมาได้ การรักษาอื่น ๆ ตามอาการ ได้แก่ ยาลดไข้ ในผู้ป่วยที่มีภาวะ การหายใจล้มเหลวหรือหยุดหายใจพิจารณาใส่ ท่อหลอดลมคอและเครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดบวม ประเมินการหายใจ วัดระดับออกซิเจนในเลือด ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา สังเกตอาการแสดงของเด็กเพื่อประเมินอาการและอาการแสดง ของออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอ ได้แก่ อาการเขียว หายใจเร็ว (อัตราการหายใจตั้งแต่ 70 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป) หอบชายโครง บุ๋ม กระวนกระวาย หรือซึม
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดบวม ดูแลพ่นยาขยายหลอดลมตามแผนการรักษา สังเกตอาการและอาการแสดงของผลข้างเคียงยาขยายหลอดลมใน เด็กร่วมด้วยทุกครั้ง ทำกายภาพบำบัดทรวงอก (chest physical therapy) ได้แก่ การจัดท่าระบายเสมหะและเคาะปอดให้กับเด็กที่มีเสมหะคั่งค้างใน ในผู้ป่วยที่อาการหนักอาจให้เพียงการสั่นสะเทือนบริเวณทรวงอก (vibration) และช่วยดูดเสมหะก็จะช่วยระบายเสมหะที่คั่งค้างใน หลอดลมออกมาได้
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดบวม ดูแลเช็ดตัวหากมีไข้ และให้ยาลดไข้ตามแผนการรักษา กรณีติดเชื้อแบคทีเรียดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการ รักษา ดูแลให้เด็กได้รับสารน้ำเพียงพอ แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ มาก ๆ ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดบวม ดูแลให้ได้รับสารอาหารเพียงพอ ยกเว้นในรายที่รุนแรง อาจงด อาหารทางปากในกรณีพิจารณาอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ดูแลตวงน้ำดื่มและตวงปัสสาวะ และลงบันทึกเพื่อประเมินการ ได้รับน้ำในร่างกายเพียงพอ กรณีในผู้ป่วยที่มีภาวะ การหายใจล้มเหลวหรือหยุดหายใจและ ใส่ท่อหลอดลมคอเครื่องช่วยหายใจ ให้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต (Intensive care unit)
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ต้องได้รับการกายภาพบำบัดทรวงอก วิธีการจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ (postural drainage), การเคาะทรวงอก (percussion), การสั่นทรวงอก (vibration) และ การกำจัดเสมหะ (secretion removal)
วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.ป้องกันการคั่งค้างของเสมหะในท่อหลอดลมฝอย 2.ช่วยขับเสมหะออกจากหลอดลม 3.เพื่อฟื้นฟูสภาพและประสิทธิภาพการทำงานของ ปอดในการแลกเปลี่ยนก๊าซในการหายใจ
ท่าต่าง ๆ ที่ใช้ในการระบายเสมหะออกจากปอดและหลอดลม ปอดส่วนบนด้านยอด (Apical segment) นั่งตัวตรงเอนไปด้านหลังประมาณ 30องศา เคาะบริเวณหัวไหล่ ระหว่างกระดูกต้นคอ และกระดูกสะบัก ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
ท่าต่าง ๆ ที่ใช้ในการระบายเสมหะออกจากปอดและหลอดลม การจัดท่าระบายเสมหะและเคาะปอดของ posterior segment ของ left upper lobe นั่งค้อมตัวมาด้านหน้าประมาณ 30 องศา โดยใช้หมอน กอดรองสอดไว้ใต้ท้อง เคาะ บริเวณด้านหลังส่วนบนทั้ง 2 ข้าง ประมาณกลางกระดูกสะบักขึ้นไปจนถึงซอกคอทั้งสอง ข้าง ยกเว้นแนวกระดูกสันหลัง ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
ท่าต่าง ๆ ที่ใช้ในการระบายเสมหะออกจากปอดและหลอดลม ปอดส่วนบนด้านหน้า (Anterior segment) ให้ผู้ป่วยนอนหงายราบใช้หมอนสอดใต้เข่าเพื่อให้ ผู้ป่วยอยู่ในท่าสบาย เคาะ บริเวณหน้าอกด้านหน้า ช่วงบนทั้ง 2 ข้าง ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
ท่าต่าง ๆ ที่ใช้ในการระบายเสมหะออกจากปอดและหลอดลม ปอดส่วนบนด้านซ้าย (Lingular segment) จัดเตียงผู้ป่วยให้ยกส่วนปลายสูง 14 นิ้วหรือ 15 องศาให้ผู้ป่วยนอนตะแคงทับ ด้านขวา โดยเอนไปด้านหลัง ใช้หมอนรองส่วนหลังบริเวณหัวไหล่จนถึงสะโพก งอเข่าเล็กน้อย เคาะบริเวณราวนมด้านซ้าย ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
ท่าต่าง ๆ ที่ใช้ในการระบายเสมหะออกจากปอดและหลอดลม ปอดส่วนกลางด้านขวา (Right middle lobes) จัดเตียงผู้ป่วยให้ยกส่วนปลายสูงจากพื้น14 นิ้ว หรือ 15 องศาให้ผู้ป่วยนอน ตะแคงหันด้านหน้าและเอาหน้าอกด้านขวาขึ้น เอนไปด้านหลัง ใช้หมอนสอด บริเวณหัวไหล่ถึงบริเวณสะโพก งอเข่าทั้ง 2 ข้างเล็กน้อย เคาะบริเวณราวนม ด้านขวา ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
ท่าต่าง ๆ ที่ใช้ในการระบายเสมหะออกจากปอดและหลอดลม ปอดส่วนล่างด้านหน้า (Anterior basal segment) จัดเตียงผู้ป่วยให้ส่วนปลายสูงจากพื้น 18 นิ้ว หรือ 30 องศาโดยให้ผู้ป่วยตะแคง ศีรษะต่ำ มีหมอนหนุนบริเวณเข่า (ในรูปเป็นการระบายเสมหะจากปอดข้างซ้าย ถ้า ต้องการระบายจากปอดด้านขวาให้นอนทับซ้าย และเอาหน้าอกด้านขวาขึ้น) เคาะ หน้าอกด้านซ้ายบริเวณซี่โครงด้านล่าง ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
ท่าต่าง ๆ ที่ใช้ในการระบายเสมหะออกจากปอดและหลอดลม ปอดส่วนล่างด้านข้าง (Lateral basal segment) จัดเตียงผู้ป่วยให้ส่วนปลายสูงจากพื้น 18 นิ้ว หรือ 30 องศา จัดให้ผู้ป่วยนอน คว่ำ ศีรษะต่ำ จากนั้นเอนขึ้นมา ให้หมอนรองสอดบริเวณต้นขาโดยให้ขางอ เล็กน้อย เคาะบริเวณชายโครงส่วนล่างค่อนมาทางด้านข้าง ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
ท่าต่าง ๆ ที่ใช้ในการระบายเสมหะออกจากปอดและหลอดลม ปอดส่วนล่างด้านหลัง (Posterior basal segment) จัดเตียงให้ส่วนปลายสูงจากพื้น 18 นิ้ว หรือ 30 องศาให้ผู้ป่วยนอนคว่ำศีรษะต่ำ ให้หมอนรองบริเวณสะโพก เคาะบริเวณ ซี่โครงซี่สุดท้ายใกล้กับกระดูกสันหลัง ทั้ง 2 ข้าง ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
ท่าต่าง ๆ ที่ใช้ในการระบายเสมหะออกจากปอดและหลอดลม ปอดส่วนล่างด้านบน (Superior segment) ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำใช้หมอน 2 ใบ รองบริเวณสะโพก เคาะ และสั่นสะเทือน บริเวณกลางหลังตรงส่วนต้นของกระดูกสะบักทั้ง 2 ข้าง ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
การจัดท่าระบายเสมหะในเด็กเล็ก หลักการโดยทั่วไป การจัดท่า เพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้เสมหะ ไหลออกจากหลอดลมเล็กส่วนปลายเข้าสู่หลอดลมใหญ่ ตรงกลาง เมื่อเด็กไอเสมหะจะถูกขับออกมาได้มากขึ้น ในภาพเป็นการแสดงท่าระบายเสมหะจากปอดด้านซ้าย สำหรับการ ระบายเสมหะจากปอดด้านขวาให้จัดท่าแบบเดียวกันแต่สลับข้าง จากซ้ายเป็นขวาถ้าทราบว่า พยาธิสภาพอยู่ที่ปอดส่วนไหนให้เน้น เคาะที่ตำแหน่งนั้นเป็นพิเศษ ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
การจัดท่าระบายเสมหะในเด็กเล็ก ท่าที่ 1 ปอดกลีบซ้ายบนส่วนยอด จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งเอนตัวมาข้างหลังประมาณ 30°เคาะบริเวณด้านบน เหนือทรวงอกด้านซ้ายระหว่างกระดูกไหปลาร้าและกระดูกสะบัก ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
การจัดท่าระบายเสมหะในเด็กเล็ก ท่าที่ 2 ปอดกลีบซ้ายบนด้านหลัง จัดท่าให้เด็กนั่งคร่อมตัวมาทางด้านหน้าเล็กน้อย (30°) บนแขนของผู้ให้การ บำบัด เคาะบริเวณด้านหลังตอนบนเหนือกระดูกสะบัก ระหว่างกระดูกต้นคอ และหัวไหล่ ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
การจัดท่าระบายเสมหะในเด็กเล็ก ท่าที่ 3 ปอดกลีบซ้ายบนด้านหน้า จัดท่านอนหงายราบเคาะบริเวณเหนือราวนมต่ำจากกระดูกไหปลาร้าเล็กน้อย ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
การจัดท่าระบายเสมหะในเด็กเล็ก ท่าที่ 4 ปอดกลีบซ้ายส่วนกลาง จัดท่าให้ศีรษะต่ำลงประมาณ 15° และตะแคงด้านซ้ายขึ้นมาจาก แนวราบ และเคาะบริเวณราวนมด้านซ้าย ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
การจัดท่าระบายเสมหะในเด็กเล็ก ท่าที่ 5 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านหน้า จัดให้เด็กนอนตะแคงกึ่งคว่ำหน้า ศีรษะต่ำ 30°ประคองทรวงอก บริเวณชายโครงด้านซ้ายหงายขึ้นมาเล็กน้อยเคาะบริเวณเหนือชาย โครงด้านข้างตอนหน้าต่ำจากราวนมลงมาเล็กน้อย ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
การจัดท่าระบายเสมหะในเด็กเล็ก ท่าที่ 6 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านข้าง จัดท่าศีรษะต่ำ 30° นอนตะแคงเกือบคว่ำเคาะบริเวณด้านข้าง เหนือชายโครงระดับเดียวกับท่าที่ 5 ใต้ต่อรักแร้ของเด็ก ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
การจัดท่าระบายเสมหะในเด็กเล็ก ท่าที่ 7 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนหลัง จัดท่าศีรษะต่ำ 30° นอนคว่ำเคาะบริเวณด้านหลังต่ำจากกระดูก สะบักลงมาในระดับเดียวกับชายโครงด้านหน้า ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
การเคาะ ใช้อุ้งมือ (ดังรูป) ไม่ควรใช้ฝ่ามือ ควรทำมือให้เป็นลักษณะคุ้ม นิ้วชิดกัน ที่ เรียกว่า cupped hand เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ต้องการระบายเสมหะ ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะ ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar08032007.php
การเคาะ การเคาะแต่ละท่าควรใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 1-3 นาที หรือนานกว่านั้นถ้ายังมีเสียงเสมหะมากอยู่ ขณะเคาะหากเด็กไอ ควรใช้ การสั่นสะเทือนช่วย โดยใช้ มือวางราบ พร้อมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและ หัวไหล่ทำให้มือสั่น ในระหว่างที่กำลังไอหรือช่วงที่เด็ก หายใจออก
ฝึกการไอ ให้มีประสิทธิภาพ (ทำได้เฉพาะเด็กที่ รู้เรื่อง สามารถ เข้าใจและทำตามคำอธิบายได้) ฝึกได้โดยให้เด็กหายใจ เข้าเต็มที่ช้า ๆ กลั้นไว้สักครู่ และไอออกมาโดยเร็วและ แรง ควรทำการระบายเสมหะ ก่อนมื้อนมหรืออาหาร หรือ ขณะท้องว่าง หรืออย่างน้อย 2 ชั่วโมง หลังอาหาร เพื่อ ป้องกันการสำลักและอาเจียน
การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันและการดูแลเด็ก ที่มีปัญหาระบบหายใจที่บ้าน การวางแผนก่อนจำหน่าย ผู้ดูแลผู้ป่วยควรได้รับการฝึกฝนทักษะการใช้และดูแลเครื่องผลิตออกซิเจนและถัง ออกซิเจน
การปรับ flow meter และความเข้มข้นออกซิเจนที่ได้รับ http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/Oxygen.pdf
การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันและการดูแลเด็ก ที่มีปัญหาระบบหายใจที่บ้าน การทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ สายต่อและ nasal cannula นอกจากนี้ ผู้ดูแลต้องฝึกทักษะการสังเกตเมื่ออุปกรณ์เกิดขัดข้องใน กรณีต่างๆที่สำคัญก่อนกลับบ้าน เช่น สาย nasal cannula หลุด หรืออุดตัน ถังออกซิเจนหมด หรือวาล์วปิด ผู้ดูแลจำเป็นจะต้องมีความสามารถในการประเมินอาการของผู้ป่วย โดยเฉพาะการสังเกตลักษณะสีผิวที่แสดงถึงภาวะการขาดออกซิเจน และสามารถปรับออกซิเจนตามความเหมาะสมกับสภาวะที่เด็ก ต้องการได้
การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันและการดูแลเด็ก ที่มีปัญหาระบบหายใจที่บ้าน การเยี่ยมบ้าน/การติดตามผู้ป่วย ภายหลังจากจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว ทีมบุคลากรทาง การแพทย์ควรมีการติดตามประเมินผลหลังกลับบ้านโดย การเยี่ยมบ้านและการติดต่อทางโทรศัพท์ แพทย์ควรนัดผู้ป่วยกลับมาตรวจที่โรงพยาบาลตามความ จำเป็น