บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ ในเวทีการเงินโลกที่มีผลกับประเทศไทย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
Advertisements

กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์
การคัดเลือกพื้นที่เพื่อการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุข ในชายแดนชนบท
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
ความรู้เรื่องประชาคมอาเซียน
การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 10 “ ความร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ ” อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข.
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
พันธกรณีการเจรจาต่อภายใต้ความตกลง TAFTA TNZCEP และ JTEPA:
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับทีม
ประชาคมอาเซียน.
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน. 2 ผลการดำเนินงานที่สำคัญสู่ AEC 2015 การลดภาษีศุลกากรขาเข้าลดเหลือ 0% เกือบทุกรายการ การอำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น - การจัดทำระบบศุลกากรหน้าต่าง.
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก จากต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
แนวทางการจัดตั้งและพัฒนา สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
ประชาคมอาเซียน ( AEC ) สวัสดีอาเซียน.
การสัมมนาวิชาการ สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดหอมแห่งประเทศไทย เรื่อง เห็ดไทย ... กับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต.
FTA.
การรวมกลุ่มประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อาจารย์สอง TAWEESAK GUNYOCHAI : Satit UP
การรวมกลุ่มประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Design by Agri - Map สำนักงานชลประทานที่ ๘.
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
ธงชาติประเทศในอาเซียน
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
แนวทางการปฏิบัติงานตามข้อสั่งการ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ระบบเศรษฐกิจ.
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
การจัดลำดับความสำคัญของโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แนวทางปฏิบัติ กรมป่าไม้
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
กลุ่มเกษตรกร.
อดีต ปัจจุบัน อนาคต ของเอชไอวี ในประเทศไทย
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จขององค์กรปกครอง
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ข้อเสนอต่อการพัฒนา ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ของประเทศไทย
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
ข้อสังเกตโดยรวมของผลงานที่ได้คะแนน ระดับดีมาก - ดี
การประชุมคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนของอาเซียน (CCI) ครั้งที่ ๖๔
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
บทบาทขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
การวิเคราะห์ข้อมูล การท่องเที่ยว เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
การจัดการความรู้ Knowledge Management
การเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียน
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
การขับเคลื่อน การจัดทำแผนการพัฒนากำลังคน รายจังหวัด
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
การประชุมผู้บริหารระดับสูง
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ ในเวทีการเงินโลกที่มีผลกับประเทศไทย

หัวข้อการบรรยาย ประวัติศาสตร์ของความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ 2 หัวข้อการบรรยาย ประวัติศาสตร์ของความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ ความสำคัญของความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ ความร่วมมือระดับโลก ความร่วมมือระดับภูมิภาคและ อนุภูมิภาค

1. ประวัติศาสตร์ของความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ 3 1. ประวัติศาสตร์ของความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ เหตุการณ์สำคัญ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (2473): ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (2487): กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และ ธนาคารโลก (World Bank) วิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย (2540): ความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย

2. ความสำคัญของความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ 4 2. ความสำคัญของความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์: เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งมี 2 ระดับ คือ ความร่วมมือระดับโลก อาทิ IMF World Bank และ BIS ความร่วมมือระดับภูมิภาค หรือ อนุภูมิภาค อาทิ อาเซียน+3 และธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (EMEAP) GMS ACMEC BIMSTEC

2. ความสำคัญของความร่วมมือทางการเงิน 5 2. ความสำคัญของความร่วมมือทางการเงิน รูปแบบความร่วมมือทางการเงิน ความร่วมมือที่ไม่ได้มีความช่วยเหลือทางการเงิน - ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ (Surveillance eg.OECD) - ความร่วมมือในการจัดทำมาตรฐานสากล (Basle Core Principles) ความร่วมมือเพื่อแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ (Crisis resolution) - ความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน (Financial assistance eg IMF WB ADB) 3. ความร่วมมือที่เน้นการพัฒนา เช่น GMS ACMEC BIMS-TEC

3. ความร่วมมือระดับโลก: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 6 3. ความร่วมมือระดับโลก: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ความเป็นมา จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2485 มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจการเงินของโลก ผ่านระบบเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods) ในช่วงแรก บทบาทปัจจุบัน: ป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์ ผ่านการสอดส่องดูแล ภาวะเศรษฐกิจ และโดยให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 185 ประเทศ

3. ความร่วมมือระดับโลก: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 7 3. ความร่วมมือระดับโลก: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กลไกการป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจ การสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ: จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ แบบทวิภาคี (Bilateral surveillance): Article IV Consultation แบบพหุภาคี (Multilateral surveillance): - รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Report) - รายงานเสถียรภาพการเงินโลก (Global Financial Stability Report)

3. ความร่วมมือระดับโลก: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 8 3. ความร่วมมือระดับโลก: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กลไกการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน: ผ่านโครงการเงินกู้ (facility) ต่างๆ แก่ประเทศสมาชิกที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ - ประเทศที่กู้ยืมเงินภายใต้โครงการเงินกู้ ของ IMF จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข (Program) ที่กำหนดโดย IMF - การกู้จากกองทุนการเงินฯ มีลักษณะเป็นพันธะสัญญาที่ประเทศสมาชิกผู้กู้แสดงเจตจำนงต่อ IMF ว่าจะดำเนินนโยบายหรือมาตรการใด (conditionality) ในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent)

3. ความร่วมมือระดับโลก: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 9 3. ความร่วมมือระดับโลก: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ร้อยละของโควตา

3. ความร่วมมือระดับโลก: ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) 10 3. ความร่วมมือระดับโลก: ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ความเป็นมา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2473 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายชำระค่าปฏิกรณ์สงครามของประเทศเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 บทบาทปัจจุบัน: - ประสานงานระหว่างธนาคารกลางในการกำกับดูแลเพื่อส่งเสริม เสถียรภาพการเงินระหว่างประเทศ - หน้าที่เป็นธนาคารสำหรับธนาคารกลางและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 55 ประเทศ

3. ความร่วมมือระดับโลก: ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) 11 3. ความร่วมมือระดับโลก: ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) กลไกการป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจ การสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ: - Committee on the Global Financial System และ Markets Committee การจัดทำมาตรฐานสากล: - Basel Committee on Banking Supervision อาทิ Basel Capital Accord (ปี 2531) Basel Core Principle (ปี 2540) และ New Basel Capital Accord หรือ Basel II (ปี 2549) - Committee on Payment and Settlement Systems อาทิ Core Principles for Systemically Important Payment Systems (ปี 2544)

3. ความร่วมมือระดับโลก: จุดอ่อนของ IMF 12 3. ความร่วมมือระดับโลก: จุดอ่อนของ IMF การดำเนินงานถูกชี้นำโดยประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้องค์การระหว่างประเทศเพื่อผลักดันผลประโยชน์ภายใน เน้นการสอดส่องดูแลประเทศเล็ก ไม่ได้เข้มงวดจนเกิดวิกฤตในประเทศมหาอำนาจ ยึดหลักกรอบแนวคิดเสรีนิยม ขาดประสบการณ์การผสมผสานการพัฒนาที่สมดุลระหว่างการเปิดเสรีแบบไม่มีข้อจำกัด และการกำกับดูแลให้เป็นไปตามกติกา เมื่อสมาชิกต้องการกู้ยืมเงิน กำหนดเงื่อนไขปฏิบัติที่ยึดหลักแนวคิดตะวันตก

4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: ความสำคัญของความร่วมมือระดับภูมิภาค 13 4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: ความสำคัญของความร่วมมือระดับภูมิภาค จุดอ่อนของความร่วมมือระดับโลก แนวทางการแก้ไขโดยความร่วมมือระดับภูมิภาค ถูกควบคุมโดยประเทศ อุตสาหกรรมใหญ่ กระบวนการสอดส่องดูแลไม่มีประสิทธิภาพ มาตรฐานสากลที่ไม่เหมาะสม เงื่อนไขเข้มงวดเกินไป วงเงินช่วยเหลือไม่เพียงพอ เพิ่มบทบาทของเอเชีย พัฒนากระบวนการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจในภูมิภาค มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานสากล ใช้กระบวนการสอดส่องแทน จัดตั้งความช่วยเหลือทางการเงินในภูมิภาค

4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: อาเซียน+3 14 4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: อาเซียน+3 ความเป็นมา อาเซียน+3 หรือการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2542 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในภูมิภาค มีสมาชิกจำนวน 13 ประเทศ

4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: อาเซียน+3 15 4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: อาเซียน+3 กลไกการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน: ผ่านแนวคิดริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative - CMI) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 เพื่อสนับสนุนความช่วยเหลือทางการเงินจากองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้ง IMF สำหรับประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน - ปัจจุบัน CMI มีวงเงินรวมจำนวน 120 พันล้านดอลลาร์ สรอ. - สามารถกู้ได้ 20 % แรกของวงเงินกู้รวมโดยไม่มีเงื่อนไขเหมือน IMF

4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: อาเซียน+3 16 4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: อาเซียน+3

4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: BIMSTEC 17 4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: BIMSTEC กลไกการทำงานและการประชุม การประชุมระดับผู้นำเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่จะผลักดันให้ กรอบความร่วมมือมีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุนตามกระบวนการ Top-down เพื่อผลักดันกรอบความร่วมมือ BIMSTEC ในระดับนโยบาย การประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) : เดิมมีการประชุมที่จัดขึ้นเป็นประจำ 2 การประชุมด้วยกันต่อมาในการประชุมผู้นำครั้งที่ 1 ได้มีการเสนอจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีในสาขาอื่นๆ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials’ Meeting) : ด้านการค้าและเศรษฐกิจ และด้านต่างประเทศ การประชุมคณะทำงาน BIMSTEC (BIMSTEC Working Group) : เป็นการประชุมร่วมระหว่างอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกประจำประเทศไทย และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญ (Expert Group Meeting) : จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ การประชุม Business Forum และ Economic Forum : เป็นการประชุมภายใต้สาขาการค้าและการลงทุน ซึ่งเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามีส่วนร่วม

18 4. ความร่วมมือระดับภูมิภาค: BIMSTEC ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation) ความเป็นมา BIMSTEC เริ่มก่อตั้งครั้งแรกจากสมาชิก 4 ประเทศ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ภายใต้ชื่อ BIST-EC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) ภายใต้การริเริ่มและผลักดันของไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น BIMST-EC (Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperationเมื่อพม่า เนปาลและภูฏานได้เข้าร่วมประชุมในฐานะสมาชิกใหม่BIMSTEC ได้เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันโดยใช้ตัวย่อเดิม วัตถุประสงค์ ช่วยประสานนโยบาย Look West ของไทย เข้ากับนโยบาย Look East ของอินเดีย ช่วยเน้นจุดยืนนโยบายต่างประเทศแบบ Forward Engagement ของรัฐบาลที่มุ่งเน้นกระชับความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรเดิม และบุกเบิกความสัมพันธ์กับพันธมิตรใหม่ๆ ความร่วมมือที่ประสานจุดแข็งของแต่ละประเทศเข้าด้วยกันใน BIMSTEC ความร่วมมือ 13 สาขา การค้าและการลงทุน การคมนาคมและการสื่อสาร พลังงาน การท่องเที่ยว เทคโนโลยี ประมง เกษตร สาธารณสุข การลดความยากจน การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ การจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ วัฒนธรรม ปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 7 ประเทศ (บังคลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย เนปาล และภูฏาน)

4. ความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค 19 4. ความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ( Greater Mekong Subregion : GMS) ADB ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิก ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือ 9 สาขา ปัจจุบันสามารถเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันอย่างชัดเจน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย (Ayeyawady-Chao Phraya- Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS หรือ ECS) - ดำเนินการระหว่างไทยและประเทศที่มีชายแดนติดกันเพื่อแก้ปัญหาอันเกิดจากความ แตกต่างระดับการพัฒนา โดยดำเนินความร่วมมือ 5 สาขา การอำนวยความสะดวกด้าน การค้าการลงทุน ความร่วมมือด้านเกษตร-อุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ Sister City เป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม การค้า การ ท่องเที่ยวระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน สนับสนุนการย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรม ที่ใช้แรงงานและใช้วัตถุดิบจากไทยไปสู่เพื่อนบ้าน

20 4. ความเป็นมา GMS เริ่มก่อตั้ง ตั้งแต่ปี 2535 โดยธนาคารพัฒนาเอเชีย(ADB) สนับสนุนทางวิชาการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขง มีพื้นที่รวมกันประมาณ 2.3 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณพื้นที่ของยุโรปตะวันตก มีประชากรรวมกันประมาณ 250 ล้านคน อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างภูมิภาค เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

4. โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง Greater Mekong Sub-regional Economic Cooperation (GMS-EC) 21 Yunnan Area 394 thou sq km Pop 44.5 Million GDP per Capita US$957 Laos Area 237 thou sq km Pop 6.4 Million GDP per Capita US$410 YUNNAN Vietnam Area 330 thou sq km Pop 84.4 Million GDP per Capita US$480 Myanmar Area 679 thou sq km Pop 47.4 Million GDP per Capita US$320 Thailand Area 514 thou sq km Pop 65 Million GDP per Capita US$2,240 Cambodia Area 181 thou sq km Pop 13.9 Million GDP per Capita US$320 โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือเรียกโดยย่อว่า GMS เริ่มจัดตั้งในปี 2535 โดยการสนับสนุนของธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 6 ประเทศ คือ สปป.ลาว กัมพูชา พม่า ไทย เวียดนาม และมณฑลยูนนานของจีน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 2.3 ล้านตารางกิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับยุโรปตะวันตก) และมีประชากรมากถึง 260 ล้านคน วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. ส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และยกระดับการครองชีพ 2. ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพิ่มขีดความสามารถและโอกาสการแข่งขันในเวทีโลก 4. ให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน โดยการดำเนินโครงการของ GMS มีจุดมุ่งหมายให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิกมากที่สุด ทั้งในรูปแบบ Hard Cooperation เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ Soft Cooperation เช่น ข้อตกลงการอำนวยความสะดวกสินค้าและผู้โดยสารผ่านแดน โครงการดังกล่าวครอบคลุม 9 สาขา ได้แก่ คมนาคมขนส่ง พลังงาน สื่อสารโทรคมนาคม ทรัพยากรมนุษย์ ท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม การเกษตร การค้า และการลงทุน กลไกความร่วมมือ ประกอบด้วย 1. การประชุมระดับรัฐมนตรี 2. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส 3. การประชุมคณะทำงานในแต่ละสาขา และ 4. การประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือในประเทศลุ่มน้ำโขง (GMS summit) All GMS Countries Area 2.3 mil sq km Pop 261.6 Million Note : Area, Pop = 2006 data GDP per Capita = 2003 data Yunnan data = 2005 data Source : CIA, ADB, CEIC

สมาชิก - ประกอบด้วย 6 ประเทศ : ไทย สหภาพพม่า สปป.ลาว กัมพูชา 4. โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง Greater Mekong Sub-regional Economic Cooperation (GMS-EC) 22 Source : ADB สมาชิก - ประกอบด้วย 6 ประเทศ : ไทย สหภาพพม่า สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม มณฑลยูนนาน - เมื่อเดือนธันวาคม 2547 เขต ปกครองตนเองกวางสีได้เข้ามา เป็นสมาชิกใหม่ จีนพยายามผลักดันให้เขตกวางสีเป็นหนึ่งในสมาชิก GMS เนื่องจาก จีนได้กำหนดให้เขตกวางสีเป็นประตูเชื่อมโยงกับประเทศในอาเซียนระยะต่อไป

4. ACMECS สมาชิก : กัมพูชา สปป.ลาว สหภาพพม่า ไทยและ เวียดนาม Thailand Lao PDR Cambodia Vietnam Myanmar Andaman sea Siam Gulf South China Sea สมาชิก : กัมพูชา สปป.ลาว สหภาพพม่า ไทยและ เวียดนาม ประชากร : 213 ล้านคน พื้นที่ : 1.94 ล้านตร.กม เริ่มก่อตั้ง : 2546 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เสนอแนวความคิดดังกล่าวต่อผู้นำของพม่า ลาว และกัมพูชา เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2546 และได้รับการสนับสนุนในหลักการจนนำมาสู่การประชุมระดับผู้นำที่เมืองพุกาม ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งผู้นำทั้ง 4 ประเทศได้ร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) ที่จะร่วมมือกันภายใต้กรอบ ACMECS ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ 1) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน 2) ความร่วมมือด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม 3) การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม 4) การท่องเที่ยว และ 5) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต่อมา เวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 และที่ประชุมระดับรัฐมนตรี ACMECS ที่เสียมราฐ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2548 เห็นชอบให้จัดตั้งความร่วมมือด้านสาธารณสุขเป็นความร่วมมือสาขาที่ 6

Existing Forum --- GMS/BIMSTEC/IMT-GT/JDS 4. ทำไมต้องมี ACMECS? 24 Korea Afghanistan China Japan Pakistan Bangladesh India Myanmar Laos Thailand Vietnam Philippines Cambodia ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS: Ayeyawaddy-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy) เป็นความริเริ่มของประเทศไทยเพื่อแก้ไขปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจที่ห่างกันมากระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของภูมิภาคและของกลุ่มประเทศ ASEAN โดยมุ่งแก้ปัญหาบนพื้นฐานของการช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยอาศัยจุดแข็งที่แตกต่างและหลากหลายของประเทศสมาชิก มุ่งเน้นการสร้างงานสร้างรายได้ การพัฒนาขีดความสามารถ และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการค้าและการลงทุน นอกจากนี้ยังถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างกำแพงที่แข็งแกร่งสำหรับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ตลอดจนสร้างฐาน (building blocks) ช่วยส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจของภูมิภาคโดยรวม รวมทั้งส่งเสริมให้นานาประเทศได้มีส่วนร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา (development partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย Sri Lanka Malaysia Brunei Singapore Indonesia Existing Forum --- GMS/BIMSTEC/IMT-GT/JDS

4. ความร่วมมือภายใต้กรอบ ACMECS ประกอบด้วย 5 สาขาสำคัญ 25 4. ความร่วมมือภายใต้กรอบ ACMECS ประกอบด้วย 5 สาขาสำคัญ การอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุน การพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยว การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความร่วมมือระหว่างไทยกับเพื่อบ้านภายใต้กรอบ ACMECS ที่ได้ประกาศไว้ในปฏิญญาพุกาม เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ประกอบไปด้วย 5 สาขาสำคัญ ดังนี้ 1. การอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุน ไทยได้ดำเนินการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีนำเข้าเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องต่างตอบแทนให้แก่สินค้าเกษตร 9 รายการที่นำเข้าจากกัมพูชา ลาว และพม่า มาแปรรูปภายในประเทศ ได้แก่ มันฝรั่ง ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดละหุ่ง ยูคาลิปตัส เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ และลูกเดือย ซึ่งเป็นการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้กรอบของอาเซียน โดยไม่ขัดกับหลักการขององค์การการค้าโลก 2. การพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รัฐบาลได้ประสานกับประเทศเพื่อนบ้านในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนไทยเข้าไปทำการเกษตรและปศุสัตว์ในประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะของสัญญาจ้างผลิตและรับซื้อผลผลิต (contact farming) โดยผลผลิตที่รับซื้อไว้จะนำเข้ามาใช้บริโภคภายในประเทศไทย และนำไปแปรรูปเพื่อการส่งออกไปยังประเทศที่สามต่อไป นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยดำเนินการร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านดำเนินงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อนบ้าน รองรับการย้ายฐานการผลิตของภาคเอกชนไทยในอนาคต 3. การส่งเสริมการท่องเที่ยว รัฐบาลส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือเพื่อการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน โดยเน้นในลักษณะของการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวของทั้ง 5 ประเทศสมาชิก ACMECS มารวมกันเป็นหนึ่งจุดหมายปลายทาง (Five Countries One Destination) เมื่อนักท่องเที่ยวจากนอกภูมิภาคเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยแล้ว ก็สามารถเดินทางต่อไปยังสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศอื่นได้ เป็นการขยายสินค้าการท่องเที่ยวของไทยให้น่าสนใจและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวใน 5 ประเทศเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยจะช่วยดำเนินการประชาสัมพันธ์รวมทั้งช่วยเหลือในด้านการฝึกอบรมบุคลากรและการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน 4. การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมที่สำคัญต่อการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวเพื่อนสนับสนุนการพัฒนาในอนุภูมิภาคตลอดแนวเขตเศรษกิจตะวันออก-ตะวันตก (East – West Economic Corridor) และการพัฒนาเส้นทางคมนาคมในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเชื่อมโยงไทยสู่จีนตอนใต้และอินเดีย 5. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รับาลได้เจรจายกฐานะของสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขงที่จัดตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ขึ้นมาเป็นสถาบันระดับภูมิภาค เพื่อแสวหาความร่วมมือจากนานาประเทศในการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญและงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาและฝึกอบรมด้านต่างๆ ให้แก่บุคลากรของประเทศสมาชิก ACMECS

26 4. ความร่วมมือระหว่างประเทศที่กำลังเป็นที่จับตามอง กลุ่มประเทศอุตสาหรรม G7 และประเทศกำลังพัฒนา ขนาดใหญ่ หรือกลุ่ม G 20 สมาชิก อาร์เจนติน่า ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมณี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป การก่อตั้ง เริ่มก่อตั้งในปี 2542 (ปี 1999) ในการประชุมที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศ เยอรมัน

4. G 20 industrial nations การประชุม 1999: Berlin, Germany 27 4. G 20 industrial nations การประชุม 1999: Berlin,  Germany 2000: Montreal,  Canada 2001: Ottawa,  Canada 2002: Delhi,  India 2003: Morelia,  Mexico 2004: Berlin,  Germany 2005: Beijing,  China 2006: Melbourne,  Australia 2007: Cape Town,  South Africa 2008: São Paulo,  Brazil 2008: Washington, D.C.,  United States 2009: London,  United Kingdom

สรุป ความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ 28 สรุป ความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ การดำเนินงาน: เนื่องจากเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย หลายประเทศ การดำเนินงานและการประสานงานอาจจะไม่ได้รวดเร็วนัก ประโยชน์: - เป็นเวทีปรึกษาหารือเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ประสานนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของกันและกัน ในการช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ - มีกลไกช่วยเหลือที่ดีขึ้นในกรณีที่ประเทศประสบปัญหา มีทางเลือกในการกู้ยืมเงิน นอกจากตลาดทุนเอกชนที่อาจจะประสบปัญหา credit crunch เช่นในปัจจุบัน