สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ หรรษา เวียนเป๊ะ
หัวข้อการบรรยาย พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการ เบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลของทางราชการ
แนวคิดสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (Civil Servant Medical Benefit Scheme: CSMBS) เป็นระบบสวัสดิการระบบแรกที่รัฐบาลได้จัดให้มีขึ้น โดยมีเจตนารมณ์สำคัญเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้มีสิทธิ และบุคคลในครอบครัว เมื่อยามเจ็บป่วย เพื่อมิให้เกิดความกังวลใจในระหว่างการปฏิบัติงานให้กับทางราชการ ซึ่งระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรค การตรวจวินิจฉัย การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ซึ่งรวมถึงการตรวจสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุขด้วย เหตุผลในการประใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพื่อให้สอดคล้องกับการให้บริการทางการแพทย์และระบบประกันสุขภาพอื่น และเพื่อพัฒนาระบบสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของรัฐ โดยขยายสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในการเข้ารับการักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนให้กว้างขวางขึ้นและกำหนดให้การเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคเป็นการรักษาพยาบาลด้วย รวมทั้งกำหนดให้มีการนำระบบเบิกจ่ายตรงมาใช้กับการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อันเป็นการลดขั้นตอนการดำเนินการ เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายของรัฐ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลมากยิ่งขึ้น
สวัสดิการรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัย การฟื้นฟูสมรรถภาพ การบำบัดรักษาโรค การตรวจสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค หมายถึง การให้บริการ ด้านการแพทย์ และสาธารณสุขโดยตรง แก่ผู้มีสิทธิและบุคคล ในครอบครัวของผู้มีสิทธิ
ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรือสารอาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซมอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ดังกล่าว ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการพยาบาล ค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าวิเคราะห์โรค ค่าตรวจครรภ์ ค่าคลอดบุตรและการดูแลหลังคลอดบุตร ค่าห้องและค่าอาหาร ตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มาตรา 4 ได้กำหนดนิยาม “ค่ารักษาพยาบาล” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล ดังต่อไปนี้ - ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรือสารอาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค - ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซมอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ดังกล่าว - ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการพยาบาล ค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมค่าธรรมเนียมแพทย์พิเศษ ค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ - ค่าตรวจครรภ์ ค่าคลอดบุตรและการดูแลหลังคลอดบุตร - ค่าห้องและค่าอาหาร ตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล - ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ - ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 2. กรมบัญชีกลางกำหนดให้ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวสามารถเบิกค่าทำหมันได้ทั้งชายและหญิง แต่ไม่สามารถเบิกค่าแก้หมันได้ (ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0502/ว 6538 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2519) 3. ยารักษาฝ้า แชมพูรักษารังแค และสบู่รักษาโรคผิวหนัง กรมบัญชีกลางได้มีการหารือกับกรมการแพทย์แล้ว ซึ่งทั้ง 3 รายการ ใช้ในลักษณะเป็นเครื่องสำอางมากกว่าการรักษาโรค จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะนำมาเบิกจ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้ (หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0502/6686 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2526) 4. ค่ายารักษาโรคผมร่วง อาจถือได้ว่าเป็นยาเพื่อเสริมความงามเท่านั้น ซึ่งไม่เข้าข่ายที่จะนำมาเบิกเป็นค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ (หนังสือกรมบัญชีกลาง ที กค 0514/552 ลงวันที่ 28 มกราคม 2530)
ผู้มีสิทธิ และบุคคลในครอบครัว
ผู้มีสิทธิ/บุคคลในครอบครัว ลูกจ้างชาวต่างประเทศ เจ้าของสิทธิ/ผู้ทรงสิทธิ สิทธิที่เกิดจากบุคคลดังกล่าว เข้ารับราชการ/ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ผู้อาศัยสิทธิ ชอบด้วยกฎหมาย (มีหลักฐานของทางราชการรับรอง) ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชาวต่างประเทศ คู่สมรส บุตร 3 คน 1. มาตรา 4 กำหนดนิยาม “ผู้มีสิทธิ” หมายความว่า - ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่จะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ จะต้องเป็นผู้ซึ่งได้รับเงินเดือนค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่ายงบบุคลากรของกระทรวง ทบวง กรม เว้นแต่ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างการรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ (หรือได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ) - ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายและสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้ - ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด 2. มาตรา 4 กำหนดนิยาม “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า - บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีสิทธิ แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น - คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิ - บิดาหรือมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิ 3. หลักฐานทางราชการที่ใช้ยืนยันความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว 2.1 มารดา เป็นเจ้าของสิทธิ ให้ใช้สูติบัตร หรือ ทะเบียนบ้าน (บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิโดยสายเลือด) 2.2 บิดา เป็นเจ้าของสิทธิ ให้ใช้สูติบัตร หรือ ทะเบียนบ้าน + ทะเบียนสมรสระหว่างบิดากับมารดา/ทะเบียนรับรองบุตร (คร.11)/ คำสั่งศาลแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว 2.3 คู่สมรส ให้ใช้ทะเบียนสมรส (คู่สมรสชอบด้วยกฎหมายโดยจดทะเบียนสมรส) ยกเว้น ผู้มีสิทธิชายที่นับถือศาสนาอิสลาม และมีภูมิลำเนาใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล) ที่จดทะเบียนสมรสตามหลักศาสนาอิสลาม ณ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามใน 4 จังหวัดชายแดนใต้) หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวผู้มีสิทธิสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลให้กับคู่สมรสได้ 4 คน (หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0502/7075 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2525๗ นอกจากนี้ กรณีที่คู่สมรสของข้าราชการเป็นชาวต่างประเทศแล้ว จะมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือด้านสวัสดิการรักษาพยาบาลก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และหากเป็นการสมรสในต่างประเทศ จะถือว่าชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายประเทศนั้น โดยหากประสงค์ที่จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทยรับรอง (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1459) แต่ถ้าเป็นการจดทะเบียนในต่างประเทศ จะต้องให้สถานทูตของประเทศที่จดรับรอง 2.4 บุตร (ทั้ง 3 คน) ใช้หลักฐานเช่นเดียวกับบิดาและมารดา ทั้งนี้ กรณีผู้มีสิทธิชายที่นับถือศาสนาอิสลาม และมีภูมิลำเนาใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้ว่าจะเบิกค่ารักษาพยาบาลให้กับคู่สมรสได้จำนวน 4 คน แต่บุตรที่เบิกค่ารักษาพยาบาลได้จะต้องไม่เกินจำนวน 3 คน ตามหลักเกณฑ์เดิม นอกจากนี้ การร้องขอเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย กรณีบิดาเสียชีวิตต้องดำเนินการภายใน 1 ปี นับแต่วันที่บุตรบรรลุนิติภาวะ (อายุไม่เกิน 21 ปีบริบูรณ์) 4. การจดทะเบียนรับรองบุตร เด็กและมารดาต้องมาให้ความยินยอมด้วยตนเอง/มีคำพิพากษาของศาลแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว โดยมีพยานรับรองจำนวน 2 คนรับรองด้วย 5. ขั้นตอนการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีที่มารดาเสียชีวิต 5.1 ผู้ร้อง (บิดา) ต้องมากรอกข้อมูลในคำร้องด้วยตนเองพร้อมแนบหลักฐานตัวจริง ดังนี้ - บัตรประจำตัวประชาชน+ทะเบียนบ้าน+หลักฐานการเปลี่ยนชื่อสกุลของผู้ร้อง - สูติบัตร+บัตรประจำตัวประชาชน+ทะเบียนบ้าน+หลักฐานการเปลี่ยนชื่อสกุลของบุตร - ใบมรณบัตร+ทะเบียนบ้านซึ่งระบุเลขที่ในมรณบัตรของมารดา 5.2 ผู้ร้องต้องชำระค่าธรรมเนียม 700 บาท ดังนี้ - ค่าคำร้อง 200 บาท - ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท 5.3 กรณีบุตรเป็นผู้เยาว์ ผู้ร้องต้องให้ถ้อยคำเกี่ยวกับบุตรที่สถานพินิจภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลรับคำร้อง 6. ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด พ.ศ. 2495 - เบี้ยหวัด หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่รับราชการมา ซึ่งจ่ายให้ทหารชายเท่านั้น ซึ่งได้แก่ นายทหารชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนที่ออกจากราชการเป็นทหารกองหนุน โดยจ่ายเป็นรายเดือนตั้งแต่ออกจากราชการจนถึงก่อวันย้ายประเภทหรือปลดเป็นทหารกองหนุนชั้นที่ 2 ทั้งนี้ นายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งมีเวลาราชการไม่น้อยกว่า 1 ปี/ประทวนต้องไม่พ้นกองหนุนชั้นที่ 2 7. ข้าราชการที่มีสิทธิได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาล 7.1 ข้าราชการพลเรือน 7.2 ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 7.3 ข้าราชการฝ่ายอัยการ 7.4 ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย 7.5 ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา 7.6 ข้าราชการตำรวจ 7.7 ข้าราชการทหาร 7.8 ข้าราชการครู 7.9 ข้าราชการการเมือง 8. ผู้เยาว์ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ตามมาตรา 19 และ 20 หมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ข้าราชการ บิดา/มารดา ผู้รับเบี้ยหวัด ผู้รับบำนาญ
การมีสิทธิ เสียชีวิต รับบำนาญ เกษียณ พักราชการ/ไล่ออก/ลาออก/เสียชีวิต รับราชการ พักราชการ/ไล่ออก/ลาออก/เสียชีวิต เกษียณ รับบำนาญ เสียชีวิต 1. - มาตรา 5 วรรค 1 ระบุ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ - มาตรา 5 วรรค 2 ระบุ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้ผู้มีสิทธิมีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดพร้อมทั้งรับรองความถูกต้องของข้อมูล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
การรายงานข้อมูล ให้ผู้มีสิทธิมีหน้าที่รายงานข้อมูล ของตนเอง และบุคคลในครอบครัว ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด พร้อมรับรองความถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กระทรวงการคลังกำหนด (มาตรา 5 วรรค 2) หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 376 ลงวันที่ 30 กย. 53 ได้แนบเอกสารเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ซึ่งตามหนังสือฉบับดังกล่าวกำหนดให้ผู้มีสิทธิมีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและบุคคลในครอบครัวต่อส่วนราชการต้นสังกัดภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่บรรจุเข้ารับราชการ หรือวันที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง ตามแบบ 7127 โดยนายทะเบียนบุคลากรภาครัฐของส่วนราชการต่าง ๆ จะดำเนินการบันทึกข้อมูลให้ (ตามมาตรา 5 วรรค 2) 2. กรณีที่ผู้มีสิทธิไม่อาจลงลายมือชื่อในแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนดได้ (หลักเกณฑ์ฯ ข้อ 15) 2.1 กรณียังมีสติสัมปชัญญะ ให้พิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อพร้อมพยาน 2 คนลงลายมือชื่อในแบบ 7127 และให้บุคคลในครอบครัว ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณีเป็นผู้ยื่นแบบแทน 2.2 กรณีไม่มีสติสัมปชัญญะ ให้บุคคลในครอบครัว ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณีเป็นผู้ลงลายมือชื่อในแบบ 7127 แทน โดยต้องมีหนังสือรับรองของแพทย์ผู้รักษาระบุว่า ผู้มีสิทธิดังกล่าวไม่รู้สึกตัว/ไม่มีสติสัมปชัญญะเพียงพอที่จะพิมพ์ลายนิ้วมือเองได้ และให้ดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา หรือผู้เบิกเงินบำนาญ/เบี้ยหวัดพิจารณาให้บุคคลตามที่เห็นสมควรลงลายมือชื่อแทนผู้มีสิทธิ 3. หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 - ข้อ 8 ให้ผู้มีสิทธิเป็นผู้รับรองการมีสิทธิของตนเองและของบุคคลในครอบครัวซึ่งอาศัยสิทธิของตน ทั้งนี้ สถานะความเป็นผู้มีสิทธิและผู้อาศัยสิทธิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดทำฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 376 ลงวันที่ 30 ก.ย. 53
บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย อายุ (ครบ 20 ปีบริบูรณ์) จดทะเบียนสมรส การบรรลุนิติภาวะ เกิดสิทธิ "คลอด" หมดสิทธิ "บรรลุนิติภาวะ" 1. การบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส (มาตรา 20 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) 1.1 เมื่อผู้จะสมรสกันมีอายุได้สิบเจ็ดปีบริบูรณ์ และบิดาและมารดาทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีที่อีกฝ่ายหาตัวไม่แล้วก็ดี หรือผู้ปกครองในกรณีที่บิดาและมารดาไม่มีอำนาจปกครองบุตรแล้วก็ดี หรือผู้รับบุตรบุญธรรมก็ดี ได้ให้ความยินยอมแล้ว ทั้งนี้ หากผู้เยาว์เมื่ออายุครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์สมรสกัน แม้มิได้รับความยินยอมจากบุคคลดังกล่าวก็ตาม ก็จะบรรลุนิติภาวะโดยอัตโนมัติ (ถ้าได้รับความยินยอมเพียงฝ่ายเดียวจะไม่สามารถจดทะเบียนได้) 1.2 เมื่อศาลอนุญาตให้สมรสกันได้เพราะมีเหตุควรสมรส แม้คู่สมรสจะมีอายุยังไม่ถึงสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ก็ตาม เหตุควรสมรส เช่น ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์เมื่ออายุสิบหกปี เป็นต้น อย่างไรก็ดี ศาลจะไม่อนุญาตให้มีการสมรสกับผู้มีอายุต่ำกว่าสิบห้าปี เพราะโดยนิตินัยแล้วขัดกับ ม.279 ป.อ. ผู้เยาว์ที่บรรลุนิติภาวะเพราะได้ทำการสมรสตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมาการสมรสสิ้นสุดลงในระหว่างที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์บรรลุนิติภาวะก็ไม่ต้องกลับไปเป็นผู้เยาว์อีก 2. การเกิดสิทธิและการหมดสิทธิของบุตรเป็นไปตาม พรฎ. มาตรา 4 โดยเกิดสิทธิของบิดา/มารดา และคู่สมรสจะเกิดสิทธิและหมดสิทธิพร้อมกับตัวผู้มีสิทธิ 3. มาตรา 279 ป.อ. การทำอนาจารเด้กอายุต่ำกว่า 15 ปี จะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
เงื่อนไขบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เรียงลำดับ การเกิด แทนที่เฉพาะตาย ก่อนบรรลุนิติภาวะ ไม่รวมบุตร บุญธรรม บุตรไร้/เสมือนไร้ความสามารถ บุตรบุญธรรม - กรณีบุตรบุญธรรมเป็นเจ้าของสิทธิ ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล แต่บิดามารดาที่แท้จริง (ชอบด้วยกฎหมาย) ได้รับสิทธิ - กรณีผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นเจ้าของสิทธิ บุตรบุญธรรมก็ไม่ได้รับสิทธิในฐานะบุคคลในครอบครัว - กรณีบิดามารดาชอบด้วยกฎหมายเป็นเจ้าของสิทธิ บุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมผู้อื่นแล้วก็ไม่สามารถใช้สิทธิได้ 2. ข้อยกเว้นการเบิกค่ารักษาบุตร - เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ และ - อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ ทั้งนี้ หากยกให้เป็นบุตรบุญธรรมคนอื่นแล้วจะไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลให้บุตรคนดังกล่าวได้ 3. คนไร้ความสามารถ หมายถึง คนวิกลจริต และศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28) 4. คนเสมือนไร้ความสามารถ หมายถึง บุคคลที่ไม่สามารถจัดทำงานของตนเองได้ เพราะกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือพฤติกรรมสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณหรือเพราะเป็นคนติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 32)
ฝาแฝด กรณีบุตรแฝด นางนุ่น นายต๊อด ด.ช. เอ (บุตรคนที่ 1) ด.ช. บี (บุตรคนที่ 2) ด.ช. ซี (บุตรคนที่ 3) ด.ช. ดี (บุตรคนที่ 4) ฝาแฝด
ฝาแฝด กรณีบุตรแฝด นางนุ่น นายต๊อด ด.ช. เอ (บุตรคนที่ 1) ด.ช. บี (บุตรคนที่ 2) ด.ช. ซี (บุตรคนที่ 3) ด.ช. ดี (บุตรคนที่ 4) ฝาแฝด
ฝาแฝด กรณีบุตรแฝด นายต๊อด นางนุ่น ด.ช. แดง (บุตรคนที่ 1) ด.ญ. ส้ม (บุตรคนที่ 2) ด.ช. เขียว (บุตรคนที่ 3) ด.ญ. เอ (บุตรคนที่ 1) ด.ช. บี (บุตรคนที่ 2) ด.ช. ซี (บุตรคนที่ 3) ด.ช. หนึ่ง (บุตรคนที่ 4) ด.ญ. สอง (บุตรคนที่ 5) ฝาแฝด
ฝาแฝด กรณีบุตรแฝด นายต๊อด นางนุ่น ด.ช. แดง (บุตรคนที่ 1) ด.ช. เขียว (บุตรคนที่ 2) ด.ญ. เอ (บุตรคนที่ 1) ด.ช. ซี (บุตรคนที่ 2) ด.ช. หนึ่ง (บุตรแฝดคนที่ 1) ด.ญ. สอง (บุตรแฝดคนที่ 2) ฝาแฝด
กรณีบุตรแฝด นายต๊อด นางนุ่น ด.ช. แดง (บุตรคนที่ 1) ด.ช. เขียว (บุตรคนที่ 2) ด.ญ. เอ (บุตรคนที่ 1) ด.ช. ซี (บุตรคนที่ 2) ด.ช. หนึ่ง (บุตรคนที่ 3) ด.ญ. สอง (บุตรคนที่ 4)
กรณีสิทธิซ้ำซ้อน (มาตรา 10) ผู้มีสิทธิมีสิทธิจากหน่วยงานอื่น ต้องเลือกใช้สิทธิ บุคคลในครอบครัวมีสิทธิของตนเอง ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการฯ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับต่ำกว่า บุคคลในครอบครัวเป็นผู้อาศัยสิทธิของผู้อื่นซึ่งมีสิทธิ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการฯ สิทธิ 1.1 สิทธิหลัก หมายถึง สิทธิค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจากบุคคลดังกล่าวเอง ซึ่งเกิดจากการทำงานของตน (เป็นผู้ทรงสิทธิ) 1.2 สิทธิรอง หมายถึง สิทธิค่ารักษาพยาบาลที่มิได้เกิดจากตนเอง หรือจากการที่ตนทำงาน เป็นการอาศัยสิทธิจากบุคคลอื่น (ตัวเองไม่มีสิทธิจากตนเอง) 2. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ระบุว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นให้ผู้มีสิทธิเลือกว่าจะใช้สิทธิรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ หรือใช้สิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่น และหากเลือกใช้สิทธิจากหน่วยงานอื่นผู้นั้นไม่มีสิทธิตามตามพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ การเลือกและการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด (ตาม ว 377) มาตรา 10 วรรคสอง ระบุว่า ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิของตนเองจากหน่วยงานอื่น ผู้มีสิทธิไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ มาตรา 10 วรรคสาม ระบุว่า ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวเป็นผู้อาศัยสิทธิของผู้อื่นซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวจากหน่วยงานอื่นในขณะเดียวกัน ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวตามพระราชกฤษฎีกานี้ 3. หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 - ข้อ 4 การใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่น ให้ผู้มีสิทธิเลือกว่าใช้สิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ หรือจากหน่วยงานอื่น หากเลือกใช้สิทธิตามพระราชกฤษฎีกาข้างต้น การขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์นี้ ทั้งนี้ การเลือกหรือการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยการเลือกหรือเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล การใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้มีสิทธิมีบุคคลในครอบครัวเป็นผู้มีสิทธิเช่นเดียวกัน ให้ต่างฝ่ายต่างใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลของตนเอง (ตาม ว 377) ตรงกับข้อความตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง (ตาม ว 377 และ ว 378) - ข้อ 5 การใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรในกรณีผู้มีสิทธิมีคู่สมรสเป็นผู้มีสิทธิเช่นเดียวกัน ให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรทุกคนแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยผู้ใช้สิทธิต้องรับรองตนเองในใบเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลว่าตนเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวแต่เพียงฝ่ายเดียว ถ้าคู่สมรสตามวรรคหนึ่งอยู่ต่างส่วนราชการผู้เบิก หรือต่างส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือมีการเปลี่ยนส่วนราชการภายหลังจากที่มีการใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลไปแล้ว คู่สมรสฝ่ายที่เป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลต้องขอให้ส่วนราชการของตน แจ้งการใช้สิทธิให้ส่วนราชการของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งทราบแล้วแต่กรณี และให้ส่วนราชการที่ได้รับแจ้งดำเนินการตอบรับตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด (ใช้แบบ 7132 และ 7133) ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับแก่กรณีอย่าโดยอนุโลม ทั้งนี้ ไม่ว่าการอย่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากที่มีการใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลไปแล้ว - ข้อ 6 การใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวกรณีผู้มีสิทธิมีหลายราย ผู้มีสิทธิคนหนึ่งคนใดอาจเป็นผู้ขอใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลให้กับบุคคลดังกล่าวแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ได้ โดยให้นำความในข้อ 5 วรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับแก่กรณีโดยอนุโลม - ข้อ 7 การใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลให้กับบุคคลในครอบครัวซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิของตนเองจากหน่วยงานอื่น ผู้มีสิทธิมีสิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวเฉพาะกรณีที่บุคคลในครอบครัวได้รับค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นต่ำกว่าสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น (มาตรา 10 วรรคสอง) การใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลให้กับบุคคลในครอบครัวซึ่งเป็นผู้อาศัยสิทธิของผู้อื่นซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุคคลในครอบครัวจากหน่วยงานอื่นในขณะเดียวกัน ผู้มีสิทธิอาจขอใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์นี้ได้ 3. สำหรับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จัดขึ้นสำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าข่ายการมีสิทธิหลัก/สิทธิรองในกองทุนหลักประกันสุขภาพอื่น (ตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) 4. กรณีที่เป็นข้าราชการ และไปทำอาชีพเสริม ซึ่งมีการส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคม (มาตรา 10) 4.1 กรณีดังกล่าว ผู้มีสิทธิสามารถเลือกใช้สิทธิใดสิทธิหนึ่งได้ (ไม่ตัดการใช้สิทธิประกันสังคม) 4.2 เมื่อเลือกสิทธิอื่นแล้ว (เช่น สิทธิประกันสังคม) จะใช้สิทธิของกรมบัญชีกลางได้เฉพาะกรณีค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินสิทธิเท่านั้น 4.3 เมื่อเลือกใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ จะใช้สิทธิได้ทั้งสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและสิทธิประกันสังคม (ไม่ได้ตัดสิทธิประกันสังคม) 4.4 กรมบัญชีกลางเปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิสามารถเลือกสิทธิทุก ๆ ต้นปีงบประมาณ (เดือนตุลาคม ของทุกปี) ทั้งนี้ หากผู้มีสิทธิไม่ยื่นเอกสารแสดงความประสงค์ในการขอเปลี่ยนแปลงแล้ว แสดงว่าผู้มีสิทธิประสงค์ที่จะใช้สิทธิตามเดิมที่ได้ยื่นต่อส่วนราชการต้นสังกัด (ตามแบบ 7128 แบบแจ้งการเลือกสิทธิและเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล) (โดยถือปฏิบัติตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 377 ลงวันที่ 30 กันยายน 2553 เรื่องหลักเกณฑ์การเลือกหรือเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล) 5. กรณีข้าราชการบรรจุใหม่ ซึ่งแต่เดิมมีสิทธิประกันสังคมนั้น จะมีสิทธิตั้งแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้งให้บรรจุเข้ารับราชการ โดยไม่จำเป็นต้องรอระยะเวลาหลังการหมดสิทธิประกันสังคมแล้ว 6 เดือน เช่นกรณีของบุคคลในครอบครัว 6. กรณีที่ตนเองมีสิทธิประกันสังคม และมีคู่สมรสเป็นข้าราชการ กรณีที่มีส่วนเกินค่ารักษาพยาบาลจากสิทธิของตนเองแล้ว สามารถนำส่วนเกินค่ารักษาพยาบาลมาเบิกจากสิทธิของคู่สมรสเพิ่มเติมได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด อาทิเช่น กรณีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่จำเป็นต้องมีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยสำนักงานประกันสังคมกำหนดอัตราเบิกจ่ายที่ 1,500 บาท ส่วนกระทรวงการคลังกำหนดอัตราเบิกจ่ายที่ 2,000 บาท ดังนั้น ส่วนต่าง 500 บาทจึงสามารถนำมาเบิกเพิ่มเติมกับส่วนราชการต้นสังกัดของคู่สมรสได้ (ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 277 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2552) (ส่วนเกินสิทธิเบิกได้กรณีค่าทำฟัน (ประกันสังคมเบิกได้ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 300 บาท), ฟอกไต (ครั้งละ 1,500 บาท) และคลอดบุตร (เบิกได้ 2 ท้อง ท้องละ 13,000 บาท)) 7. กรณีการคลอดบุตร สำนักงานประกันสังคมกำหนดสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาท/ครั้ง โดยผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคมมีสิทธิเบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง (ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร) ดังนั้น กรณีท้องที่ 3 จึงสามารถนำค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นมายื่นเบิกจากสิทธิข้าราชการของคู่สมรสได้ โดยไม่ต้องขอทำความตกลงกับกรมบัญชีกลางอย่างใด (ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 277 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2552 และหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0417/ว 402 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550) (ถ้าเป็นการคลอดบุตรกรณีอื่น ยังต้องขอทำความตกลงกับกรมบัญชีกลาง ยกเว้นส่วนขาดค่าคลอดบุตรไม่ต้องขอทำความตกลง) 8. กรณีค่าห้องพิเศษจะไม่สามารถนำมาเบิกเพิ่มเติมจากสิทธิข้าราชการได้ เนื่องจากสิทธิประกันสังคมไม่ได้กำหนดอัตราค่าห้องไว้ ดังนั้น จึงไม่มีส่วนต่างสิทธิค่าห้อง (โดยทั่วไปสถานพยาบาลมักกำหนดแจ้งว่าได้กำหนดอัตราค่าเตียงสามัญ 300 บาท แต่อัตราดังกล่าวเป็นอัตราที่สถานพยาบาลเป็นผู้กำหนดเองไม่ใช่ประกันสังคม) (สามารถนำค่าห้องพิเศษมาคำนวณได้เฉพาะกรณีคลอดบุตรเท่านั้น) 9. กรณีบิดาที่มีบุตรเป็นข้าราชการพลเรือนกับข้าราชการสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีดังกล่าวตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 มาตรา 9 ระบุในกรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นมีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ด้วยเหตุนี้เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำกฎหมายดังกล่าวไปบังคับใช้โดยอนุโลม ทำให้บุคคลในครอบครัวไม่สามารถใช้สิทธิใครได้เลย เนื่องจากต่างผลักให้ไปใช้สิทธิของอีกคน ดังนั้น พระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2553 จึงแก้ไขให้สามารถใช้สิทธิของกรมบัญชีกลางได้ทันทีโดยไม่ต้องคำนึงถึงการมีสิทธิจากหน่วยงานอื่น 10. กรณีคู่สมรสคนใดคนหนึ่งเป็นข้าราชการ อีกคนเป็นสิทธิอื่น (เช่น สิทธิรัฐวิสาหกิจ, สิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ให้ถือปฏิบัติตาม พรฎ. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 มาตรา 10 วรรค 3 และหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ข้อ 7 วรรค 2 (รายละเอียดตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 379 ลงวันที่ 30 กันยายน 2553) โดยเบิกได้เฉพาะส่วนที่ขาดสิทธิ 11. กรณีที่ผู้มีสิทธิมีคู่สมรสเป็นผู้มีสิทธิเช่นเดียวกัน หากผู้ที่ประสงค์จะขอเบิกอยู่ต่างส่วนราชการ หรือต่างส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือมีการเปลี่ยนแปลงส่วนราชการภายหลังจากที่มีการใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลไปแล้ว คู่สมรสฝ่ายที่เป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลให้กับบุตรต้องขอให้ส่วนราชการของตนเอง แจ้งการใช้สิทธิให้ส่วนราชการของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งทราบแล้วแต่กรณี (แบบ 7132) และให้ส่วนราชการที่ได้รับแจ้งดำเนินการตอบรับตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด (แบบ7133) อาทิเช่น บิดาที่มีลูกเป็นข้าราชการ 2 คน เดิมเคยเบิกจากลูกคนโต และภายหลังจะเปลี่ยนมาใช้สิทธิของลูกคนเล็กซึ่งอยู่ต่างส่วนราชการกันแล้ว ส่วนราชการของลูกคนเล็กจะต้องแจ้งไปยังส่วนราชการของลูกชายคนโตเพื่อเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลแต่เพียงฝ่ายเดียว (แบบ 7132) ซึ่งส่วนราชการของลูกคนโตจะต้องทำเรื่องแจ้งไปยังส่วนราชการของลูกชายคนเล็ก (แบบ 7133) เพื่อแจ้งตอบรับการแจ้งการใช้สิทธิ (ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังฯ ข้อ 5 – 6)
การเข้ารับบริการ ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน สถานพยาบาลของทางราชการ การนัดผ่าตัดล่วงหน้า การเข้ารับการรักษาในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน การส่งตัวเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นครั้งคราว สถานพยาบาลของเอกชน มาตรา 8 ระบุว่า ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตน ในกรณีดังต่อไปนี้ 1.1 การเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก 1.2 การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด ประเภทผู้ป่วยใน (ตามหนังสือ ว 212 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2554 กรณีนัดผ่าตัดล่วงหน้า) 1.3 การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนที่มิใช่สถานพยาบาลตาม (2) ประเภทผู้ป่วยใน เฉพาะกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต (ตามหนังสือ ว 95 ลงวันที่ 25 เมษายน 2557) 1.4 การเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของเอกชนตามที่กระทรวงการคลังกำหนดประเภทผู้ป่วยนอกเป็นครั้งคราว เพราะเหตุที่สถานพยาบาลของทางราชการมีความจำเป็นต้องส่งตัวให้แก่สถานพยาบาลของเอกชนนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลของเอกชนตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือไม่ก็ตาม (ตามหนังสือ ว 442 กรณีผู้ป่วยมะเร็งที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับบริการรังสีรักษา) การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ประเภท และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด 2. การรักษาผู้ป่วยกรณีพักรอจำหน่าย หมายถึง การรับผู้ป่วยไว้นอนค้างคืนในสถานพยาบาลภายหลังจากการรักษาโรคกรณีเฉียบพลันและฟื้นฟูสภาพได้สิ้นสุดลง ผู้ป่วยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่จะต้องรับไว้รักษาในสถานพยาบาลเป็นผู้ป่วยในแบบกรณีปกติ แต่สถานพยาบาลยังไม่อาจจำหน่ายผู้ป่วยได้ด้วยเหตุผลอื่น เช่น รอรับกลับไปพยาบาลที่บ้าน ทั้งนี้ การเป็นผู้ป่วยพักรอจำหน่ายจะต้องเป็นกรณีที่การรักษาพยาบาลกรณีเฉียบพลันและฟื้นฟูสภาพมีช่วงระยะเวลาของการรักษาพยาบาลไม่ต่ำกว่า 60 วัน โดยเบิกได้เฉพาะค่าใช้จ่ายหมวด 1 เท่านั้น ส่วนหมวดอื่น ๆ ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น 3. ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0417/ว 54 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2550 ระบุว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นสถานพยาบาลตามโครงสร้างของกระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2554 ดังนั้น ผู้ที่มารับบริการที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจึงไม่สามารถเบิกจากทางราชการได้
อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ
อัตราค่าบริการสาธารณสุข หมวดที่ 1 ค่าห้องและค่าอาหาร หมวดที่ 2 ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค หมวดที่ 3 ค่ายาและสารอาหารทางเส้นเลือด หมวดที่ 4 ค่ายากลับบ้าน หมวดที่ 5 ค่าเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา หมวดที่ 6 ค่าบริการโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต หมวดที่ 7 ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา หมวดที่ 8 ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีรักษา
อัตราค่าบริการสาธารณสุข หมวดที่ 9 ค่าตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่น ๆ หมวดที่ 10 ค่าอุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือทางการแพทย์ หมวดที่ 11 ค่าทำหัตถการและวิสัญญี หมวดที่ 12 ค่าบริการทางการพยาบาล หมวดที่ 13 ค่าบริการทางทันตกรรม หมวดที่ 14 ค่าบริการทางกายภาพบำบัดและทางเวชกรรมฟื้นฟู หมวดที่ 15 ค่าบริการฝังเข็มและค่าบริการการให้การบำบัดของผู้ประกอบโรคศิลปะอื่น หมวดที่ 16 ค่าบริการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยตรง
ค่าห้องและค่าอาหาร เดิม 300 บาท ใหม่ 400 บาท เตียงสามัญ (21101) เดิม 600 บาท ใหม่ 1,000 บาท ห้องพิเศษ (21201) 1. ถือปฏิบัติตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/พิเศษ ว 2 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2556 เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล ได้ยกเลิกอัตราค่าเตียงสามัญและค่าห้องพิเศษตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0417/ว 177 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 เป็น ดังนี้ - รหัสรายการ 21101 เตียงสามัญ ปรับอัตราจาก 300 บาท เป็น 400 บาท - รหัสรายการ 21201 ห้องพิเศษ ปรับอัตราจาก 600 บาท เป็น 1,000 บาท 2. ค่าเตียงสังเกตอาการ เบิกได้เฉพาะผู้ป่วยนอกที่มาให้ยาเคมีบำบัด/หัตถการที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ต้องสังเกตอาการตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งไม่รวมถึงการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ทั้งนี้เบิกได้ครั้ง/วันละ 100 บาท 3. การนับเวลาในการคิดจำนวนวันนอนเพื่อเบิกค่าเตียงสามัญและห้องพิเศษ ให้นับตั้งแต่รับเป็นผู้ป่วยในจนถึงเวลาที่จำหน่ายออกจากสถานพยาบาล 3.1) 24 ชั่วโมง เท่ากับ 1 วัน 3.2) เศษที่ไม่ถึง 24 ชั่วโมง แต่เกิน 6 ชั่วโมง ให้ถือเป็น 1 วัน ทั้งนี้ กรณีสถานพยาบาลรับตัวไว้เป็นผู้ป่วยภายในแล้วปรากฏว่าผู้ป่วยเสียชีวิต หรือมีความจำเป็นทางการแพทย์ต้องส่งต่อไปรับการรักษาพยาบาล ณ สถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าในวันแรกนั้น ให้นับระยะเวลาตั้งแต่รับเข้าเป็นผู้ป่วยในจนถึงเวลาที่เสียชีวิตหรือจำหน่ายออกจากสถานพยาบาล ถ้าไม่ถึง 24 ชั่วโมงและส่วนที่ไม่ถึงนับได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง ให้เบิกค่าห้องและค่าอาหาร ดังนี้ 3.3) ค่าเตียงสามัญ เบิกได้ไม่เกิน 100 บาท 3.4) ค่าห้องพิเศษ เบิกได้ไม่เกิน 200 บาท 4. ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 112 ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554 เรื่อง การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในตามเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DEGs) กำหนดให้การเบิกค่าห้องพิเศษในกรณีที่ระยะเวลาเกินกว่า 13 วัน สถานพยาบาลไม่ต้องออกหนังสือรับรองความจำเป็นต้องรักษาเกินกว่า 13 วัน เพื่อประกอบการเบิกจ่ายค่าห้องพิเศษ
ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ ในการบำบัดรักษาโรค หมวด 1 ระบบประสาท หมวด 2 ตา หู คอ จมูก หมวด 3 ระบบทางเดินหายใจ หมวด 4 หัวใจและหลอดเลือด หมวด 5 ทางเดินอาหาร หมวด 6 ทางเดินปัสสาวะ และสืบพันธุ์ หมวด 7 กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หมวด 8 วัสดุ/อุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู หมวด 9 อื่น ๆ หนังสือเวียนที่ใช้ในปัจจุบัน - หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุดที่ กค 0422.2/พิเศษ ว 1 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2556 - หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุดที่ กค 0422.2/474 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2556 - หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุดที่ กค 0422.2/232 ลงวันที่ 4 กันยายน 2557 - หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุดที่ กค 0422.2/222 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2558 - หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุดที่ กค 0431.4/ว 246 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2559
ค่ายาและสารอาหารทางเส้นเลือด ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ (Essential Drugs) ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ (Non – Essential Drugs) สารอาหาร ทางเส้นเลือด กลูโคส น้ำเกลือ กรดอะมิโน ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 111 ลงวันที่ 24 กันยายน 2555 เรื่อง การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ประกอบด้วย A หมายถึง เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาหรือแพ้ยาที่สามารถใช้ได้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ B หมายถึง ผลการรักษาไม่บรรลุเป้าหมายแม้ว่าได้ใช้ในบัญชียาหลักแห่งชาติครบตามมาตรฐานการรักษาแล้ว C หมายถึง ไม่มีกลุ่มยาในบัญชียาหลักแห่งชาติให้ใช้ แต่ผู้ป่วยมีความจำเป็นในการใช้ยานี้ ตามข้อบ่งใช้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ อย. D หมายถึง ผู้ป่วยมีภาวะหรือโรคที่ห้ามใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างสัมบูรณ์ (Absolute contraindication) หรือมีข้อห้ามการใช้ยาในบัญชีร่วมกับยาอื่น (Contraindicated/serious/major drug interaction) ที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ E หมายถึง ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติมีราคาแพงกว่า (ในเชิงความคุ้มค่า) F หมายถึง ผู้ป่วยแสดงความจำนงต้องการ (เบิกไม่ได้) หมวด 4 ยากลับบ้าน การเบิกจ่ายรวมอยู่ใน DRGs การเบิกค่าสารอาหารทางเส้นเลือด ให้เบิกได้เฉพาะกรณีการใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้น เนื่องจากการให้สารอาหารทางเส้นเลือดจะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะ ซึ่งในกรณีที่มีความจำเป็นต้องนำกลับมาใช้ต่อที่บ้าน จะต้องขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางก่อน ทั้งนี้ ถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0422.2/ว 45 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2552 เรื่อง แนวทางการปฏิบัติและซ้อมความเข้าใจในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
การเบิกจ่ายยาแบบมีเงื่อนไข ยามะเร็ง ยากลุ่มโรค รูมาติก และสะเก็ดเงิน ยาสมุนไพร และยาแผนไทย วิตามิน และแร่ธาตุ กลูโคซามีน ซัลเฟต
ยามะเร็ง 6 ชนิด Imatinib Rituximab Trastuzumab Bivacizumab Erlotinib มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง และมะเร็งลำไส้ชนิด gastrointestinal stromal tumor (GIST) Imatinib มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Rituximab มะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย Trastuzumab มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่กระจาย Bivacizumab มะเร็งปอดระยะแพร่กระจายที่ไม่ตอบสนองต่อยากลุ่ม Platinum และ Docetaxel แล้ว Erlotinib มะเร็งปอดระยะแพร่กระจายที่ไม่ตอบสนองต่อยากลุ่ม Platinum และ Docetaxel แล้ว Gefitinib กรณีที่ผู้มีสิทธิจำเป็นต้องใช้ยามะเร็ง 6 ชนิด ได้แก่ Bivacizumab (Avastin), Gefitinib (Iressa), Erlotinib (Tarceva), Imatinib (Glivec), Rituximab (Mabthera) และ Trastuzumab (Herceptin) เพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง มะเร็งลำไส้ชนิด Gastrointestinal stromal tumor มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งเต้านม ตามลำดับ ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะต้องลงทะเบียนในระบบจ่ายตรงผู้ป่วยนอก (CSCD) ซึ่งสถานพยาบาลจะต้องลงทะเบียนผู้ป่วยและแพทย์ผู้รักษา รวมทั้งข้อมูลการใช้ยาเพื่อเบิกจ่ายโดยตรงกับกรมบัญชีกลาง โดยเพิ่มข้อมูลกลุ่มโรคเฉพาะในโปรแกรมระบบปรับปรุง โดยระบุเป็นรหัส OCPA ในช่องที่กำหนด ทั้งนี้ สกส. จะแจ้งผลการอนุมัติการใช้ยาผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E – mail address) ให้สถานพยาบาลทราบ (ถือปฏิบัติตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด กค 0422.2/ว 37 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2550) จะต้องมีการติดตามประเมินผลและขออนุมัติเบิกยาทุก ๆ 3 เดือน ยกเว้นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะได้รับการอนุมัติใช้ยาเป็นเวลา 4 เดือน (ถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0417/ว 69 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2549) การสั่งใช้ยามะเร็งนอกเหนือจาก 6 รายการข้างต้น ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือ กค 0422.2/ว 111 ลงวันที่ 24 กันยายน 2555
ยารักษากลุ่มโรครูมาติก และสะเก็ดเงิน ยารักษากลุ่มโรครูมาติก และสะเก็ดเงิน ห้ามเบิกใบเสร็จรับเงิน เงื่อนไข Rituximab Etanercept Infliximab เบิกจ่ายตรง ห้ามเบิกยา “ชีววัตถุอื่น” กรณีผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบติดยึดที่จำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีค่าใช้จ่ายสูง ได้แก่ Rituximab Etanercept และ Infliximab และผู้ป่วยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน และผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินชนิดรุนแรงปานกลางและรุนแรงมาก ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยา Etanercept และ Infliximab จะต้องลงทะเบียนในระบบ Rheumatic Disease Prior Authorization: RDPA และ Dermatology Disease Prior Authorization: DDPA ทั้งนี้ กรณีที่สถานพยาบาลออกใบเสร็จรับเงินค่ายาข้างต้นเพื่อใช้ในการรักษาโรคดังกล่าวแล้ว ผู้มีสิทธิไม่สามารถนำมายื่นเบิกกับส่วนราชการต้นสังกัดได้ (หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 124 ลงวันที่ 2 เมษายน 2553 เรื่อง ระบบการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรครูมาติกและสะเก็ดเงินชนิดรุนแรงปานกลางและรุนแรงมาก โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 12 เมษายน 2553) กรณีที่สถานพยาบาลส่งโปรโตคอลล่าช้ากว่ากำหนด กรมบัญชีกลางจะชะลอการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยรายดังกล่าวไว้ (ติดรหัส C54)
ยาสมุนไพรและยาแผนไทย ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณตามประกาศ สธ. เภสัชตำรับโรงพยาบาล (รพ.ผลิตเอง) ยาที่ปรุงสำหรับผู้ป่วย เฉพาะราย หมายเหตุ : การสั่งใช้ยา ให้เป็น ไปตามการสั่งใช้ของ 1. แพทย์แผนปัจจุบัน 2. แพทย์แผนไทย (มีใบประกอบโรคศิลปะ สาขาแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมแผนไทย หรือ สาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์) กรณีที่ผู้มีสิทธิจำเป็นต้องใช้ยาแผนไทย ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 รายการยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ประเภทที่ 2 รายการที่เป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ส่วนที่ไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ประเภทที่ 3 รายการยาที่อยู่ในเภสัชตำรับโรงพยาบาล (ยาสมุนไพรที่สถานพยาบาลแต่ละแห่งผลิตเอง ในส่วนที่ไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ) ประเภทที่ 4 รายการยาที่ปรุงสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามการสั่งใช้ยาของแพทย์แผนปัจจุบันที่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ว.) หรือแพทย์แผนไทยผู้มีใบประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย (พท.) (ประเภทเวชกรรมแผนไทย) หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (พทป.) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป (ถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0422.2/ว 33 ลงวันที่ 11 เมษายน 2554 เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก) 2. ห้ามมิให้มีการเบิกยาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และ/หรือเพื่อการนวดบรรเทาอาการ เช่นน้ำมันไพล เจลพริก สมุนไพรประเภทเครื่องสำอาง หรือมีลักษณะเป็นอาหาร 3. หนังสือฉบับนี้รวมถึงอัตราค่าบริการสาธารณสุข หมวด 15 ค่าบริการฝังเข็มและค่าบริการการให้การบำบัดของผู้ประกอบโรคศิลปะอื่น ค่าฝังเข็ม (58001) ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง และเบิกได้ไม่เกินครั้งละ 100 บาท ค่านวดเพื่อการบำบัดรักษาโรคและค่านวดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ (58005 และ 58006) ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง ไม่เกิน 3 ครั้ง/สัปดาห์ และเบิกได้ไม่เกินครั้งละ 200 บาท ค่านวดพร้อมประคบเพื่อการบำบัดรักษาโรคและค่านวดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ (58002 และ 58003) ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง ไม่เกิน 3 ครั้ง/สัปดาห์ และเบิกได้ไม่เกินครั้งละ 250 บาท ค่าอบไอน้ำสมุนไพรเพื่อการบำบัดรักษาโรคและค่านวดเพื่อการฟื้นฟูโรค (58004) ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง ไม่เกิน 3 ครั้ง/สัปดาห์ และเบิกได้ไม่เกินครั้งละ 100 บาท ค่าประคบสมุนไพรเพื่อการบำบัดรักษาโรค (58007) ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง ไม่เกิน 3 ครั้ง/สัปดาห์ และเบิกได้ไม่เกินครั้งละ 100 บาท 4. การเบิกค่าบริการฝังเข็ม ให้เบิกได้เฉพาะกรณีการฝังเข็มเพื่อการรักษาผู้ป่วยโดยแพทย์แผนปัจจุบันที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและได้รับการอบรมฝังเข็มเพิ่มเติม และการเบิกนั้น ต้องมีใบรับรองซึ่งออกโดยแพทย์ข้างต้นว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องฝังเข็มเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย 5. การเบิกค่านวดแผนไทย ต้องเป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และต้องมีใบรับรองที่แสดงถึงความจำเป็นในการรักษาหรือฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งออกโดยแพทย์แผนปัจจุบันที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดไทย หรือประเภทเวชกรรมไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย โดยใบรับรองนั้นต้องระบุระยะเวลาในการเริ่มต้นและสิ้นสุดการรักษาในแต่ละครั้งอย่างชัดเจน
เงื่อนไขการให้บริการ แพทย์บันทึกข้อมูล การรักษาในเวชระเบียนเพื่อใช้ประกอบ การตรวจสอบ สถานพยาบาลออกใบเสร็จค่ายาแผนไทยตามประเภท ที่ กค. กำหนด (ประเภทที่ 1-4) ห้ามแพทย์ หรือ คกก. แพทย์ออกหนังสือรับรองยาสมุนไพรนอกเหนือจาก ที่ กค. กำหนด
ขึ้นทะเบียนเป็นยากับ สำนักงาน อย. มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรค วิตามินและแร่ธาตุ ขึ้นทะเบียนเป็นยากับ สำนักงาน อย. มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรค บัญชียาหลักแห่งชาติ ค่ายาวิตามิน เบิกจ่ายได้เฉพาะวิตามินที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และมีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรค โดยให้เบิกจ่ายตามรายการและเงื่อนไขที่กำหนดในบัญชียาหลักแห่งชาติเท่านั้น (ถือปฏิบัติตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0422.2/ว 72 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555) หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0422.2/ว 45 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2552 เรื่อง แนวทางการปฏิบัติและซ้อมความเข้าใจในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 57 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 เรื่อง การปรับปรุงแก้ไขแนวทางการปฏิบัติและซ้อมความเข้าใจในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0422.2/ว 72 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจกรณีการเบิกค่ายาประเภทวิตามิน ว 72
ยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม เฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมจากความชรา และมีพยาธิสภาพข้อเข่าเสื่อมระยะปานกลาง ผ่านการรักษาอย่างอนุรักษ์นิยมอย่างเต็มที่ แต่ไม่ได้ผล มีอายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไป สั่งใช้ได้เฉพาะแพทย์สาขาอายุรแพทย์โรคข้อ สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือสาขาออร์โธปิดิกส์ ครั้งละไม่เกิน 6 สัปดาห์ + หยุดใช้ยาในเดือนที่ 6 + ประเมินประสิทธิผลของยาอย่างน้อย 3 เดือน ค่ายากลูโคซามีนซัลเฟตสามารถเบิกจ่ายได้จากทางราชการได้ จะต้องเป็นการสั่งใช้ยาตามแนวทางกำกับการสั่งใช้ยาของราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แพทย์แห่งประเทศไทย โดยห้ามเบิกในระบบเบิกจ่ายตรง ทั้งนี้ ให้สถานพยาบาลออกใบเสร็จรับเงินค่ายาให้กับผู้มีสิทธิ พร้อมทั้งหนังสือรับรองโดยแพทย์ผู้รักษาตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด ซึ่งส่วนราชการต้นสังกัดจะต้องตรวจสอบคำขอเบิกและจัดทำรายงานการเบิกจ่ายเงินค่ายากลูโคซามีนซัลเฟตส่งให้กรมบัญชีกลางพร้อมทั้งสำเนาใบเสร็จรับเงินและสำเนาหนังสือรับรองการใช้ยา ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (ถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 62 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2554) หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 127 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 เรื่อง การกำหนดรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 62 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2554 เรื่องการเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 116 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2555 เรื่อง การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 149 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2555 เรื่อง การเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต 3. เงื่อนไขการเบิกยาข้อเข่าเสื่อม - เฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมจากความชรา และมีพยาธิสภาพข้อเข่าเสื่อมระยะปานกลาง - ผ่านการรักษาอย่างอนุรักษ์นิยมอย่างเต็มที่แต่ ไม่ได้ผล - มีอายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไป - สั่งใช้ได้เฉพาะแพทย์สาขาอายุรแพทย์โรคข้อสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือสาขาออร์โธปิดิกส์ ครั้งละไม่เกิน 6 สัปดาห์ + หยุดใช้ยาในเดือนที่ 6 + ประเมินประสิทธิผลของยาอย่างน้อย 3 เดือน 4. ปัจจุบันการเบิกจ่ายค่ายาบรรเทาอาการข้อเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้า (Symptomatic slow acting drugs for oeteoarthritis: SYSADOA) ประกอบด้วย กลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟต และไดอะเซอเรน และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม ()ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) ให้เบิกจ่ายในระบบเบิกจ่ายตรงทั้งกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 83 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2558
ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา เบิกเหมารวมใน DRG เบิกได้ตามที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ ยกเว้น รายการและอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนด ผู้ป่วยนอก 1. อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ หมวด 5 เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 118 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2554 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2554 ซึ่งการเบิกค่าเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากรณีผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยนอก 1.1 ใช้ในสถานพยาบาล เบิกได้ตามที่สถานพยาบาลเรียกเก็บเว้นแต่รายการที่กรมบัญชีกลางกำหนด 1.2 ใช้นอกสถานพยาบาล เบิกได้เฉพาะ 4 รายการ 1.2.1 Nasogastric tube 1.2.2 Colostomy bag 1.2.3 Urine bag 1.2.4 สายสวนปัสสาวะ 2. ผู้ป่วยใน รวมอยู่ใน DRGs สำหรับค่าวัสดุสิ้นเปลืองที่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการทำหัตถการผ่าตัดจนครบกระบวนการผ่าตัด ซึ่งได้มีการคิดรวมอยู่ในค่าผ่าตัดแล้ว เช่น ใบมีด ค่าไหมเย็บแผลที่ใช้ในการผ่าตัด ไซริงค์ เข็มฉีดยา สายให้ออกซิเจน พลาสเตอร์ สำลี วัสดุที่ใช้ในการปิดแผล ถุงมือ เป็นต้น ห้ามนำมาเบิกในหมวดนี้อีก
นำกลับไปใช้ที่บ้านได้ สายให้อาหารผ่านรูจมูก ถุงเก็บสิ่งขับถ่ายจากลำไส้ เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา นำกลับไปใช้ที่บ้านได้ สายให้อาหารผ่านรูจมูก ถุงเก็บสิ่งขับถ่ายจากลำไส้ สายสวนปัสสาวะ ถุงเก็บปัสสาวะ
ค่าตรวจวินิจฉัย 2,929 รายการ 29 รายการ 1 รายการ 28 รายการ ด่วนที่สุด ที่ กค. 0417/ ว. 177 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 2,929 รายการ ด่วนที่สุดที่ กค. 0417/ ว. 309 ลงวันที่ 17 กันยายน 2550 29 รายการ ด่วนที่สุดที่ กค. 0417/ ว. 414 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 1 รายการ ด่วนที่สุดที่ กค. 0422.2/ ว. 297 ลงวันที่ 5 กันยายน 2551 28 รายการ ใบเสร็จ ค่ารักษา พยาบาล อาจระบุ “รหัส” หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0417/ว 309 ลงวันที่ 17 กันยายน 2550 ประกาศรายการหมวด 8 ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา และปรับแก้ไข หมวด 11 รายการหัตถการนอกห้องผ่าตัด โดยแก้ไขค่าบริการเข้าเฝือกปูนกึ่งสำเร็จรูปด้านเดียว รหัส 71771 เป็น 500 บาท/ครั้ง และรหัส 71772 เป็น 750 บาท/ครั้ง หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0417/ว 414 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 ปรับแก้ไขรายการค่าตรวจวินิจฉัย PET Scan โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422./ว 297 ลงวันที่ 5 กันยายน 2551 แก้ไขค่าบริการรังสีรักษา หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0417/ว 42 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นการประกาศอัตราค่าบริการหมวด 15 ค่าบริการฝังเข็มและค่าบริการการให้การบำบัดของผู้ประกอบโรคศิลปะอื่น (ถูกยกเลิกโดยหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 33 ลงวันที่ 11 เมษายน 2554)
ค่าหัตถการและกายภาพบำบัด ยกเว้น หมวด 11 : หัตถการในห้องผ่าตัด หมวด 14 : กายภาพ เวชกรรมฟื้นฟู เบิกตามโรงพยาบาลเรียกเก็บ ค่าเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา (หมวด 5) ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 118 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2554 การเบิกจ่าย ผู้ป่วยนอก 1.1 ใช้ในสถานพยาบาล เบิกได้ตามที่สถานพยาบาลเรียกเก็บเว้นแต่รายการที่กรมบัญชีกลางกำหนด 1.2 ใช้นอกสถานพยาบาล เบิกได้เฉพาะ 4 รายการ 1.2.1 Nasogastric tube 1.2.2 Colostomy bag 1.2.3 Urine bag 1.2.4 สายสวนปัสสาวะ 2. ผู้ป่วยใน รวมอยู่ใน DRGs ค่าบริการ ค่าตรวจวิเคราะห์ (16 หมวด) ต้องลง “รหัส” เบิกตามอัตราที่กำหนด
ค่าบริการฝังเข็มและค่าบริการ การให้การบำบัดของผู้ประกอบ โรคศิลปะอื่น ค่าฝังเข็ม (58001) ค่าฝังเข็มพร้อมการกระตุ้นจุดฝังเข็ม (58020) ค่าบริการบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย ค่าประคบสมุนไพร (58201) ค่านวด (58101 และ 58102) ค่าอบไอน้ำสมุนไพร (58301) ค่านวดพร้อมประคบสมุนไพร (58130 และ 58131) ค่าทับหม้อเกลือเพื่อการฟื้นฟูมารดาหลังคลอด (58220) 1. ค่าฝังเข็ม ค่านวด ค่าอบไอน้ำ ค่าประคบสมุนไพร ได้รวมค่าบริการทางการแพทย์แล้ว
กรณีไม่มียา/อวัยวะเทียมฯ จำหน่ายในสถานพยาบาล เบิกได้ตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนด ยา/สารอาหารทางเส้นเลือด เลือดและส่วนประกอบของเลือด การตรวจทางห้องทดลอง อวัยวะเทียมฯ 1. มาตรา 13 ในกรณีที่สถานพยาบาลไม่มียา เลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทนน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคจำหน่าย หรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลองหรือวิธีการเอกซเรย์แก่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวได้ เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงลายมือชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ให้ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวซื้อหรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือโดยวิธีการเอกซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยและนำมาเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ระบบเบิกจ่ายตรง จัดทำฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ หนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล (แบบ 7130) ผู้ป่วยใน ลงทะเบียน ณ สถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ ระบบใบเสร็จรับเงิน ยื่นเบิกกับส่วนราชการต้นสังกัด (แบบ 7131) ผู้ป่วยนอก มาตรา 9 ระบุว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลและก่อนที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจะสิ้นสุดลง ผู้มีสิทธิได้พ้นสภาพความเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชาวต่างประเทศ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ หรือถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรือบุคคลในครอบครัวพ้นสภาพความเป็นบุคคลในครอบครัวตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาลในคราวนั้น การเบิกค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน กรณีที่ผู้มีสิทธิได้ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐและระบบมีการประมวลผลข้อมูลสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ผู้มีสิทธิสามารถเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลของทางราชการได้ทุกแห่ง โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน ณ สถานพยาบาลเพื่อเข้าร่วมโครงการเช่นเดียวกับระบบเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยนอก มาตรา 14 ระบุว่า ในการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล ผู้มีสิทธิอาจนำหลักฐานการรับเงินที่สถานพยาบาลซึ่งตนเองหรือบุคคลในครอบครัวเข้ารับการรักษาพยาบาลออกให้มายื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด หรืออาจให้สถานพยาบาลนั้นเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลแทนโดยระบบการเบิกจ่ายตรงก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด การลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยนอก เมื่อผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวดำเนินการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ณ สถานพยาบาลเรียบร้อยแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 15 วัน จึงจะใช้ระบบดังกล่าวได้ หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 - ข้อ 9 ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัด (1) ส่วนราชการในการราชการบริหารส่วนกลาง ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบหมาย ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน หรือตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 6 หรือเทียบเท่า หรือผู้ที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท หรือพันตำรวจโทขึ้นไป การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือผู้ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ส่วนราชการระดับกรมแห่งนั้นเป็นผู้อนุมัติค่ารักษาพยาบาลของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ทั้งนี้ การมอบหมายต้องมิใช่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในภูมิภาคหรือแยกต่างหากจากกระทรวง กรม หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมจะมอบหมายให้หัวหน้าสำนักงานเป็นผู้อนุมัติสำหรับหน่วยงานนั้นก็ได้ เว้นแต่การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลของหัวหน้าสำนักงาน ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบหมาย ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานแห่งนั้นเป็นผู้อนุมัติค่ารักษาพยาบาลของหัวหน้าสำนักงาน ทั้งนี้ การมอบหมายต้องมิใช่หัวหน้าสำนักงาน (2) ส่วนราชการในราชการส่วนภูมิภาค ให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกเป็นผู้อนุมัติ เว้นแต่การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลของหัวหน้าส่วนราชการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นผู้อนุมัติค่ารักษาพยาบาลของหัวหน้าส่วนราชการ ทั้งนี้ การมอบหมายต้องมิใช่หัวหน้าส่วนราชการ - ข้อ 11 การอนุมัติการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิตามข้อ 12 (1) ให้บุคคลตามข้อ 9 ณ สถานที่ที่ไปช่วยราชการปฏิบัติราชการเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกเงินดังกล่าว - ข้อ 10 ให้หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหรือเบี้ยหวัด หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการผู้เบิกมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลของผู้ได้รับบำนาญหรือเบี้ยหวัด - ข้อ 12 ใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลให้ยื่นใบเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนดต่อผู้มีอำนาจอนุมัติตามข้อ 9 หรือข้อ 10 ณ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือส่วนราชการผู้เบิก แล้วแต่กรณี เว้นแต่ กรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีผู้มีสิทธิได้รับคำสั่งให้ไปช่วยปฏิบัติราชการหรือไปปฏิบัติราชการซึ่งอยู่ต่างส่วนราชการ ผู้เบิกให้ยื่นใบเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล ณ ส่วนราชการที่ไปช่วยปฏิบัติราชการหรือไปปฏิบัติราชการ (2) กรณีผู้มีสิทธิพ้นสภาพความเป็นผู้มีสิทธิก่อนที่จะใช้สิทธิ ให้ยื่นเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล ณ สำนักงานที่รับราชการครั้งสุดท้าย - ข้อ 13 ก่อนการใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล ผู้มีสิทธิตามข้อ 12 (1) ต้องมีหนังสือแสดงเจตนาขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนดแจ้งต่อส่วนราชการที่ไปช่วยปฏิบัติราชการหรือไปปฏิบัติราชการ และเมื่อส่วนราชการที่ไปช่วยราชการได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ให้ส่งคู่ฉบับหรือภาพถ่ายหนังสือซึ่งมีการรับรอองความถูกต้องให้ส่วนราชการผู้เบิกของผู้มีสิทธิทราบด้วย - ข้อ 14 การขอหนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยในสถานพยาบาล ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนดต่อผู้มีอำนาจอนุมัติตามข้อ 9 ข้อ 10 หรือข้อ 11 แล้วแต่กรณี และให้ส่วนราชการผู้ออกหนังสือจัดทำหนังสอรับรอง 2 ฉบับ ตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด โดยมอบต้นฉบับให้ผู้ยื่นคำขอเพื่อนำไปมอบให้แก่สถานพยาบาล และให้ส่วนราชการผู้ออกหนังสือเก็บสำเนาคู่ฉบับไว้ 1 ฉบับ - ข้อ 15 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิไม่สามารถลงลายมือชื่อในใบเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลหรือไม่สามารถยื่นคำขอหนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเอง ให้ดำเนินการดังนี้ (2) กรณีผู้มีสิทธิมีสติสัมปชัญญะแต่ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้พิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อพร้อมทั้งให้มีพยานสองคนลงลายมือชื่อรับรอง และให้บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ยื่นใบเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลหรือยื่นคำขอหนังสือรับรอง (1) กรณีที่ผู้มีสิทธิถึงแก่กรรม ให้ทายาทตามกฎหมายหรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นใบเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลหรือคำขอหนังสือรับรอง (3) กรณีผู้มีสิทธิไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีสติสัมปชัญญะ แต่ยังไม่มีคำสั่งศาลให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ให้บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ยื่นเบิกเงินสวัสดิการพร้อมกับหนังสือรับรองของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่าผู้มีสิทธิไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีสติสัมปชัญญะเพียงพอที่จะดำเนินการได้ หากไม่มีบุคคลดังกล่าวให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาเห็นสมควรให้ผู้ใดดำเนินการแทน - ข้อ 16 การขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกสถานพยาบาลของทางราชการ หรือกรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของเอกชนประเภทผู้ป่วยในกรณีประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย เหตุจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งหากมิได้รับการรักษาทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หรือกรณีใช้สิทธิเบิกเพิ่มเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่ หรือกรณีอื่นตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ให้ยื่นใบเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลพร้อมด้วยหลักฐานการรับเงินของสถานพยาบาลต่อผู้มีอำนาจอนุมัติตามข้อ 9 ข้อ 10 หรือข้อ 11 แล้วแต่กรณีภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับถัดจากวันที่ปรากฏในหลักฐานการรับเงิน หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้มีสิทธิไม่ประสงค์เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลในครั้งนั้น หลักฐานการรับเงินของสถานพยาบาลเอกชนอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด - ข้อ 17 กำหนดเวลาการยื่นใบเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 16 ไม่ใช้บังคับแก่กรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้มีสิทธิถูกสั่งพักราชการหรือให้ออกราชการไว้ก่อน และปรากฏในภายหลังว่าได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักหรือในระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้มีสิทธิยื่นใบเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่กรณีถึงที่สุด หรือวันที่มีคำสั่งจ่ายเงินบำนาญหรือเบี้ยหวัด แล้วแต่กรณี (2) ผู้มีสิทธิออกจากราชการ และอยู่ในระหว่างการพิจารณาสั่งจ่ายเงินบำนาญหรือเบี้ยหวัด - ข้อ 18 ในกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกและสถานพยาบาลของทางราชการออกหนังสือรับรองตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนดให้ซื้อยา เลือดและส่วนประกอบของเลือด หรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค หรือเข้ารับการตรวจทางห้องทดลองหรือเอกซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยให้ผู้มีสิทธินำหนังสือรับรองดังกล่าวพร้อมทั้งหลักฐานการเงินยื่นขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 16 - ข้อ 19 การขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการ หรือกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในสถานพยาบาลของเอกชนตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด หรือกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชนเป็นครั้งคราวเพราะเหตุสถานพยาบาลของทางราชการมีความจำเป็นต้องส่งตัวให้แก่สถานพยาบาลของเอกชน หรือกรณีอื่นตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ให้สถานพยาบาลเป็นผู้เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลแทนผู้มีสิทธิ แล้วแต่กรณี เว้นแต่กรณีตามข้อ 17 (1) (2) ผู้มีสิทธิต้องทดรองจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลและนำหลักฐานการรับเงินยื่นขอเบิกตามข้อ 16 หรือข้อ 17 แล้วแต่กรณี การขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกสถานพยาบาลของทางราชการ ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัว ซึ่งเข้าสู่ระบบเบิกจ่ายตรงแล้ว อาจขอให้สถานพยาบาลเป็นผู้เบิกแทนก็ได้ แนวปฏิบัติ วิธีการ การระงับสิทธิ และการคืนสิทธิเบิกจ่ายตรง ให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด - ข้อ 20 การขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการ ผู้มีสิทธิอาจยื่นคำขอหนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 14 หรืออาจให้สถานพยาบาลขอเลขอนุมัติผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกับหน่วยงานที่กรมบัญชีกลางมอบหมาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลก็ได้ กรณีผู้มีสิทธิใช้หนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาลเป็นหลักฐานการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลให้สถานพยาบาลดำเนินการ ดังนี้ (1) เมื่อสถานพยาบาลได้รับหนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาลแล้ว ให้ตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชนผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลให้ถูกต้องตรงกับหนังสือรับรองดังกล่าวโดยเคร่งครัด เว้นแต่ ผู้ที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนให้ตรวจสอบเอกสารทางราชการอื่น ๆ ที่ปรากฏเลขประจำตัวประชาชน และให้สถานพยาบาลเก็บต้นฉบับไว้ใช้ประกอบการเบิกเงินและเพื่อการตรวจสอบตามข้อ 28 (2) หนังสือรับรองที่ได้จัดทำคำขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลแล้วให้เขียนหรือประทับตราว่า “เบิกตามคำขอเบิกที่......../........”ให้กับผู้เบิกหรือผู้ที่ผู้เบิกมอบหมายลงลายมือชื่อกำกับ - ข้อ 22 การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลตามข้อ 19 ให้สถานพยาบาลเป็นผู้เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลโดยตรงกับกรมบัญชีกลาง โดยให้ปฏิบัติ ดังนี้ - ข้อ 21 การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลตามข้อ 16 ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการผู้เบิกของผู้มีสิทธิเป็นผู้เบิกเงินกับกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วแต่กรณี (1) ให้สถานพยาบาลเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ เพื่อใช้ในการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกับกรมบัญชีกลาง (2) กรณีสถานพยาบาลของทางราชการ ให้ผู้เบิกจำทำคำขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลทางอิเล็กทรอนิกส์มายังกรมบัญชีกลางหรือหน่วยงานที่กรมบัญชีกลางมอบหมาย โดยกรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ที่สถานพยาบาลแจ้งไว้ ตามบันทึกข้อตกลงที่ได้ลงนามไว้กับกระทรวงการคลัง - ข้อ 23 การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลในระบบเบิกจ่ายตรงให้สถานพยาบาลจัดทำรายละเอียดผู้ป่วยเป็นรายบุคคล ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่กรมบัญชีกลางกำหนดเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย โดยจัดส่งให้กรมบัญชีกลางหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย การส่งคำขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 22 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กรมบัญชีกลางกำหนด - ข้อ 24 การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกับสำนักงานคลังจังหวัด ให้เบิกได้โดยไม่ต้องขอโอนเงินจัดสรร - ข้อ 25 เมื่อส่วนราชการได้อนุมัติจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิตามข้อ 21 แล้ว ให้เจ้าหน้าที่การเงินประทับตราข้อความว่า “จ่ายเงินแล้ว” โดยลงลายมือชื่อรับรองการจ่ายเงินและระบุชื่อผู้จ่ายเงินด้วยตัวบรรจง พร้อมวันเดือนปีที่จ่ายกำกับไว้ในหลักฐานการรับเงินทุกฉบับเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ - ข้อ 26 การอนุมัติจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลในระบบเบิกจ่ายตรง กรมบัญชีกลางจะเป็นผู้อนุมัติการจ่ายให้กับสถานพยาบาลแทนส่วนราชการ และจัดทำรายงานการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลหรือเอกสารทางการเงินรูปแบบอื่น ๆ เพื่อจัดส่งให้กับสถานพยาบาลหรือส่วนราชการแล้วแต่กรณี ซึ่งถือเป็นเอกสารทางการเงินเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น การตรวจสอบบัญชี ภาษี เป็นต้น - ข้อ 27 บรรดาแบบพิมพ์เอกสารที่ใช้ในการเบิกจ่ายเงิน ให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด - ข้อ 28 หลักฐานการรับเงินหรือเอกสารแบบพิมพ์ที่ใช้ในการเบิกจ่ายเงิน ให้ส่วนราชการ สถานพยาบาลของทางราชการเก็บไว้ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กรมบัญชีกลางหรือหน่วยงานที่กรมบัญชีกลางมอบหมายตรวจสอบ กรณีสถานพยาบาลของเอกชนการตรวจสอบให้ถือปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงที่ได้ลงนามไว้กับกระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลางหรือหน่วยงานที่กรมบัญชีกลางมอบหมายสามารถเรียกเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวในสถานพยาบาลของทางราชการเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบควบคุมดูแลการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล - ข้อ 29 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือสถานพยาบาลเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลไม่เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 หรือเกินสิทธิที่จะได้รับตามพระราชกฤษฎีกาข้างต้น ให้ดำเนินการส่งเงินคืนกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ แนวปฏิบัติการตรวจสอบ การอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด สำหรับการส่งเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยการส่งเงินคืนคลัง - ข้อ 30 ในกรณีที่ส่วนราชการหรือสถานพยาบาลของทางราชการไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ได้ หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดหลักเกณฑ์นี้ ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง - ข้อ 31 ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางรักษาการตามหลักเกณฑ์นี้ - ข้อ 32 การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่หลักเกณฑ์นี้ใช้บังคับ แต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบเดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จ - ข้อ 34 การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลบูรฉัตรไชยากร (โรงพยาบาลรถไฟ) โรงพยาบาลประสานมิตร โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง ให้นำระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงินประเภทผู้ป่วยในมาใช้บังคับจนกว่าโรงพยาบาลดังกล่าวจะเข้าระบบเบิกจ่ายตรง - ข้อ 33 การเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ของสถานพยาบาล ก่อนที่หลักเกณฑ์นี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นการเปิดบัญชีตามข้อ 22 ของหลักเกณฑ์นี้ และให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นี้ต่อไปได้ 6. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2545 - ข้อ 13 วรรคสอง สำหรับโรงพยาบาลรถไฟ โรงพยาบาลโรงงานยาสูบ โรงพยาบาลโรคปอดกรุงเทพ หรือสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดของผู้มีสิทธิเป็นผู้เบิกเงินชำระหนี้ให้ - ข้อ 20 การขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในของโรงพยาบาลรถไฟ โรงพยาบาลโรงงานยาสูบ โรงพยาบาลโรคปอดกรุงเทพและสถานพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งส่วนราชการเจ้าสังกัดของผู้มีสิทธิเป็นผู้เบิกเงินชำระหนี้ให้ ให้ส่วนราชการเบิกเงินชำระหนี้ให้แก่สถานพยาบาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบแสดงรายการค่ารักษาพยาบาล โดยให้จ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมหรือตั๋วแลกเงินชำระหนี้ให้แก่สถานพยาบาลโดยตรง ดังนี้ - ข้อ 16 การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 13 วรรคสอง และข้อ 14 ให้ส่วนราชการผู้เบิกใช้ฎีกาเงินงบประมาณ เบิกเงินงบกลางตามรายการที่สำนักงบประมาณกำหนดโดยใช้รหัสหน่วยงานของผู้เบิก เพื่อจ่ายชำระหนี้ให้สถานพยาบาลหรือผู้มีสิทธิรับเงินต่อไป - โรงพยาบาลรถไฟ สั่งจ่ายในนามสำนักงานแพทย์ การรถไฟแห่งประเทศไทย - โรงพยาบาลโรงงานยาสูบ สั่งจ่ายในนามโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง - โรงพยาบาลปอดกรุงเทพ สั่งจ่ายในนามโรงพยาบาลโรคปอดกรุงเทพ
การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ผู้ป่วยฉุกเฉิน ไม่รุนแรง ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ผู้ป่วยฉุกเฉิน หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหันซึ่งเป็นภยันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการ และการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรืออาการป่วย นั้น ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต ซึ่งหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือดหรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้บาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันมากหรือเจ็บปวดรุนแรงอันจำเป็นต้องได้รับปฏิบัติการแพทย์อย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตหรือพิการในระยะต่อมาได้ ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะฉับพลันไม่รุนแรง อาจรอรับปฏิบัติการแพทย์ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือเดินทางไปรับบริการสาธารณสุขด้วยตนเองได้ แต่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรและหากปล่อยไว้เกินเวลาอันสมควรแล้วจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้
ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน เงื่อนไขการเบิกจ่าย เบิกเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราแนบท้าย รายการนอกเหนือจากอัตราแนบท้าย เบิกได้เต็มจำนวนเท่าที่จ่ายไปจริงแต่ “ไม่เกินหนึ่งพันบาท” ค่าพาหนะส่งต่อ ผู้ป่วยนอก ค่ารักษาพยาบาล (ตาม DRGs) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ผู้ป่วยใน 1. กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตและฉุกเฉินเร่งด่วนที่จำเป็นต้องใช้รายการอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค และค่ายาที่มีค่าใช้จ่ายสูง จะต้องเป็นไปตามรายการและอัตราที่แนบท้ายประกาศของหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว 95 ลงวันที่ 25 เมษายน 2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินในสถานพยาบาลของเอกชน
เบิกไม่ได้ ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก เงื่อนไขการเบิกจ่าย ค่ารักษาพยาบาลครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่ได้จ่ายไปจริงแต่ “ไม่เกินแปดพันบาท” ค่าห้องและค่าอาหาร/ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ผู้ป่วยใน เบิกไม่ได้ ผู้ป่วยนอก
แนวปฏิบัติของผู้มีสิทธิ ยื่นเบิก ณ ส่วนราชการต้นสังกัด พร้อมทั้งแนบใบรับรองแพทย์และหลักฐานการไม่อนุมัติการจ่ายเงินจาก สปสช. (ถ้ามี) ผู้มีสิทธิรับรองตนเองในใบเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (แบบ 7131) พร้อมทั้งระบุว่า “โรงพยาบาล.......มิได้เบิกค่ารักษาพยาบาลในระบบ” (EMCO)
แนวปฏิบัติของส่วนราชการ ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 พิจารณาอนุมัติ การเบิกจ่าย กรณีผู้มีสิทธิได้ทำสัญญาประกันภัยไว้ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาด จากสัญญาประกันภัย
อัตราเบิกจ่าย ก่อนวันที่ 1 ม.ค. 57 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 57 เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดเท่าที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินสี่พันบาท ค่าห้องและค่าอาหาร และค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ใช้อัตราเดิม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 57 เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมด เท่าที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินแปดพันบาท ค่าห้องและค่าอาหาร และค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ใช้อัตราใหม่
การเบิกจ่ายที่ผิดระเบียบ นวดสุขภาพ/ผ่อนคลาย อาหารเสริม ยาลดความอ้วน เสริมสวย ค่าวัคซีนที่สามารถเบิกได้ คือ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก เซรุ่มแก้พิษงู กรณีไปเที่ยวและเจ็บป่วย ค่ารักษาพยาบาลไม่สามารถนำมาเบิกจากทางราชการได้ ตรวจคัดกรอง การมีบุตรยาก
การตรวจสุขภาพประจำปี
ค่าตรวจสุขภาพประจำปี ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เฉพาะผู้มีสิทธิ ตรวจได้ 7 รายการ อายุต่ำกว่า 35 ปี ตรวจได้ 16 รายการ อายุมากกว่า 35 ปี ตามปีงบประมาณ ปีละ 1 ครั้ง
สำนักงานคลังจังหวัดอุดรธานี 0-4224-6580 0 4222 2561 1. ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0422.2/ว 128 ลงวันที่ 3 เมษายน 2556 เรื่องการบูรณาการการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ตามนโยบายรัฐบาล ได้กำหนดชุดสิทธิประโยชน์ด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด พร้อมทั้งขอความร่วมมือสถานพยาบาลบันทึกข้อมูลการให้บริการในโปรแกรม NAP Plus (National Aids Program Plus) ของ สปสช.