งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Dr.kasemsun wanawanakorn General surgery

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Dr.kasemsun wanawanakorn General surgery"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Dr.kasemsun wanawanakorn General surgery
COLON CANCER Dr.kasemsun wanawanakorn General surgery

2 COLON CANCER ลำไส้ส่วนปลายเป็นท่อกลวงยาวประมาณ 5-6 ฟุต ท่อความยาว 5 ฟุตแรกคือส่วนของลำไส้ใหญ่และต่อกับลำไส้ตรงที่ยาวประมาณ 6 นิ้ว ส่วนต่อจากลำไส้ตรงคือทวารหนัก หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือแปรของเสียเหลวให้เป็นอุจจาระแข็ง อาหารจะใช้เวลาเดินทางมาสู่ลำไส้ใหญ่ประมาณ 3-8 ชั่วโมงหลังจากถูกรับประทาน ช่วงเวลานี้สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมจะเป็นของเสียเหลว

3 COLON CANCER มะเร็งชนิดนี้ ถูกจัดเป็นมะเร็งที่พบมากลำดับที่ 3 ทั้งในชายและหญิง ในประเทศตะวันตก พบ105,000 ราย เป็นผู้ได้รับการวินิจฉัยใหม่ทุกปีในประเทศสหรัฐอเมริกา โอกาสเสี่ยงต่อ มะเร็งลำไส้ใหญ่ พบมากขึ้นเมื่ออายุ50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อผนังลำไส้ใหญ่เริ่มสร้างติ่งเนื้องอกที่เรียกว่าอะอีโนมาตัส (มะเร็งขั้นเริ่ม) ส่วนในประเทศไทยเป็นมะเร็งที่พบมากขึ้นทั้งในผู้ชายและผู้หญิง

4 มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่เซลล์ปกติในลำไส้ใหญ่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างไม่หยุดยั้งจนควบคุมไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจใช้เวลาเป็นปี ในระยะแรกๆ เซลล์อาจเป็นเพียงแค่เนื้องอกธรรมดา แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาหรือตัดทิ้ง เนื้องอกนี้อาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งได้ Normal => metaplasia=> dysplasia =>carsinoma in situ => cancer

5 •ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่
•อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ •การตรวจประเมินเบื้องต้น •การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ •การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

6 ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่
•มีประวัติเนื้องอก ซึ่งปกติจะพบที่ผนังลำไส้ใหญ่และไม่ใช่เนื้อร้าย แต่หากเวลาผ่านไป เนื้องอกบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ •อายุ โดยส่วนใหญ่พบว่ากว่า 90% มักเกิดกับคนที่อายุมากกว่า 50 ขึ้นไป แต่ก็อาจพบได้ในวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่น •มีประวัติของโรค IBD (inflammatory bowel disease) คือ โรค ulcerative colitis และ Crohn’s disease ซึ่งอาจกลายเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังและเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น •มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปีมีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น •การไม่ออกกำลังกายและความอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น •การสูบบุหรี่ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

7 อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่
ในบางครั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจไม่มีอาการผิดปกติบ่งชี้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือบางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคอื่น ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ •ท้องเสีย ท้องผูก หรือรู้สึกท้องอืด •อุจจาระปนเลือดสดๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก •ลักษณะอุจจาระเรียวยาวกว่าปกติ •ไม่สบายท้อง รวมทั้งปวดแสบร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง •น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ •อ่อนเพลียหรืออ่อนแรง •โลหิตจาง

8 การตรวจประเมินเบื้องต้น
การตรวจประเมินเบื้องต้น เป็นวิธีการที่สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และสามารถแยกเนื้องอกที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็งได้ แนะนำให้เริ่มตรวจประเมินเบื้องต้นทั้งผู้ชายและผู้หญิงเมื่ออายุ 50 ปี โดยวิธีการตรวจประเมินเบื้องต้นทำได้ดังนี้ •การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (fecal occult blood test: FOBT) สามารถตรวจได้ว่ามีเนื้องอกหรือเป็นมะเร็งหรือไม่ การตรวจด้วยวิธีนี้เป็นประจำทุกปีจะช่วยลดการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ และลดลงได้ 18% ในกรณีที่ตรวจปีเว้นปี •การตรวจโดยใช้เครื่องมือซิกมอยด์โดสโคป (sigmoidoscope) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อสอดผ่านเข้าไปทางปลายทวารหนักสู่ลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง เพื่อตรวจเนื้องอก มะเร็ง และสิ่งผิดปกติต่างๆ วิธีนี้แพทย์สามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติไปตรวจสอบได้ •การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) วิธีนี้จะช่วยให้เห็นภาพภายในลำไส้ใหญ่ทั้งหมดและสามารถเก็บชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ •การใช้สารทึบแสงแบเรียมร่วมกับการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซเรย์ CT scan (double contrast barium enema: DCBE) จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทนการตรวจด้วยวิธีส่องกล้องได้

9 การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่
•การตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) เป็นวิธีการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แม่นยำที่สุด และเพื่อการตรวจทางชีวโมเลกุลของมะเร็ง •การตรวจเลือด โดยการตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง หรือวัดระดับโปรตีน CEA (carcinoembryonic antigen) •การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) สามารถใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งของโรคและการกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ •การตรวจอัลตราซาวนด์ เป็นการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง วิธีนี้จะบอกได้ว่ามะเร็งได้แพร่กระจายสู่ตับหรืออวัยวะอื่นๆ หรือไม่ •การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจดูว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังปอดหรือไม่ •PET scan เป็นการตรวจโดยการฉีดสารรังสีให้ถูกดูดซึมในอวัยวะและเนื้อเยื่อ และทำการถ่ายภาพ ทำให้สามารถตรวจได้ทั้งร่างกาย

10 การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่จะอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น •ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง •ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง •สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

11 ทางเลือกในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
•การผ่าตัด •รังสีรักษา •เคมีบำบัด •การใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy) •การรักษาโดยการยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ (angiogenesis)

12 Bowel preparation before colonoscopy
-Liquid diet -swiff

13 เคมีบำบัด การรักษาด้วยเคมีบำบัด (chemotherapy) หมายถึง การให้ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง มีวัตถุประสงค์เพื่อ •รักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคมะเร็งและไม่กลับมาเป็นซ้ำ •ควบคุมโรคให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงหรือไม่โตขึ้น และไม่ แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น •บรรเทาอาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

14 อย่างไรก็ดี เนื่องจากยาเคมีบำบัดไม่ได้ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงที่เซลล์มะเร็งเท่านั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติทั่วไปและการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ ท้องเสีย ผมร่วง ซึ่งอาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นกับชนิดของยา ความแข็งแรงของร่างกาย และความพร้อมด้านจิตใจของผู้ป่วย

15 การเตรียมตัวก่อนเข้ารับเคมีบำบัด
•รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ •พักผ่อนให้เพียงพอและเพิ่มการนอนพักในช่วงกลางวันอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อวัน •หากมีโรคประจำตัว เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบ •ควรทำอารมณ์และจิตใจให้พร้อมรับการรักษา โดยลดความกลัวและความวิตกกังวลลง

16 การดูแลตนเองขณะรับเคมีบำบัด
•สังเกตผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา ถ้ารู้สึกปวด บวม แดง หรือสงสัยมียารั่วซึมออกนอกหลอดเลือด ต้องแจ้งพยาบาลทันที •ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับสารเคมีที่อาจตกค้างในร่างกายออกทางปัสสาวะ •ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้แจ้งพยาบาลทันที

17 Thank you


ดาวน์โหลด ppt Dr.kasemsun wanawanakorn General surgery

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google