พลังงานทดแทน Alternative Energy

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 14 เครื่องมือและเครื่องทุ่นแรงในงานบัญชี
Advertisements

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในญี่ปุ่น Nuclear Power Plants in Japan
บทที่ 7 Aldehydes and Ketones
(Internal energy of system)
การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
รูปแบบของการจัดเก็บข้อมูล. รูปแบบการจัดเก็บข้อมูล แบบ Sector Sampling.
หน้าที่ของสื่อใหม่. ให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อ เผ้าระวัง สภาพแวดล้อม เช่น เสนอข้อมูล เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ผู้รับสาร พัฒนาตามความก้าวหน้า ระวังภัย เกิดจากเทคโนโลยี
Facilitator: Pawin Puapornpong
คุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้นของบุคลากรกรมเจ้าท่า
“ศึกษาการประยุกต์ใช้ พลังงานรังสีอาทิตย์ร่วมกับ พลังงานไฟฟ้าช่วยในการ กลั่นเอทานอล” พรประสิทธิ์ คงบุญ และคณะ, 2549, การกลั่นเอทานอลโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
งานฝึกอบรมและพัฒนาสื่อสารสนเทศ
แหล่งน้ำธรรมชาติของโลก แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง และสถานะของแข็ง ได้แก่
วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 และ 20 มิถุนายน 2560
หลักการผลิต ระบบส่งจ่าย และ ระบบจำหน่าย
การออกแบบสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชั่น
มโนทัศน์เกี่ยวกับการพยาบาลผู้สูงอายุ หากพูดถึงผู้สูงอายุเรานึกถึงอะไร.
การเตรียมความพร้อมรับการประเมิน จาก สมศ.
ด้านการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์
เพื่อพัฒนาพลังงานรองรับวิกฤตการณ์พลังงานของประเทศ
หนองบัวลำภู นายทรงเดช ทิพย์โยธา -ว่าง- นายเฉลิมชัย เรืองนนท์
หลักการออกแบบ.
ความหมายของพลังงาน และความสำคัญของการประหยัดพลังงาน
แผนงานป้องกันและลดการตายจากบาดเจ็บทางถนน ในทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ปีงบประมาณ 2560 กระทรวงสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค วันที่ พ.ย.
การย่อยสลายสีย้อมเมทิลีนบลูด้วยกระบวนการพลาสมาวัฏภาคของเหลว
วัชพืชถั่วเขียว และการป้องกันกำจัด
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ. ศ เวลา น
แนวทางการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่ม และน้ำแข็งบริโภค ในสถานประกอบการ
งานวันข้าวโพดเทียนบ้านเกาะ
เพื่อเข้าถึงแหล่งงบประมาณ
การใช้คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา เด็กอายุ 2-15 ปี
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรกรรมยั่งยืน ปี 2560
Database ฐานข้อมูล.
การดำเนินงานของคลัสเตอร์พลังงานResearch University Network – Energy
บทบาทของ สถ. ในการสนับสนุน การดำเนินงานถ่ายโอนภารกิจ
“ เผชิญความตายอย่างสงบ ”
ผู้อำนวยการกองกฎหมาย
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การกำหนดประเด็นปัญหา
สิทธิรับรู้ของประชาชน
ลำพูน นายพงษ์ธาดา แก้วกมล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการโยธาธิการ
การบริหารโครงการ ด้วยระบบปฏิทินกิจกรรมแบบเบ็ดเสร็จ Project management with integrated calendar system โดย ... ธนาภรณ์ ฉิมแพ / ประจักษ์ สุขอร่าม / จารุวรรณ.
สงขลา นายไมตรี สรรพสิน นางฐาปณี รสสุคนธ์ นายพิชัย อุทัยเชฏฐ์
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง
ความรู้เรื่องเครื่องปรับอากาศในอาคาร
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
พลังงานทดแทนของประเทศไทย
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( )
เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เรื่อง การทอผ้าห่มสี่เขา/ตะกอ
Life’s easier with the Lyric family at the heart of your home
การวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้
อุบลราชธานี นายนิวัตร ชูสมุทร นายชัยศักดิ์ ปิยะประสิทธิ์
By T’Sumana Hanlamyuang
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวทางปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560
เรื่อง ทฤษฎีการค้นหาในการฝึกสุนัข
การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ
แนวทางและแผนการดำเนินงานฯ
กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย
[ บทที่ 3 ] ระบบสารสนเทศ.
โดย จันทิมา อ่องประกฤษ ֆ คณะทำงานKPI
หมวด 2 : การให้ความสำคัญกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วีระโชติ รัตนกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ.
หลักและศิลปะ ในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
สรุปผลการตรวจสอบ รายงานการจัดการพลังงาน ประจำปี 2554มี ความครบถ้วนและถูกต้องตามที่กฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ กำหนดทุกประการ.
ฉบับที่ ๑๕/๒๕๖๐ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายปริญญา เพ็งสมบัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

พลังงานทดแทน Alternative Energy โดย นาวาเอก ประพนธ์ อู่ศิริจันทร์ ประจำกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ

พลังงานทดแทน หมายถึงพลังงานใดๆที่จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทดแทนแหล่งพลังงาน ซึ่งมีการสะสมตามธรรมชาติและใช้หมดไป เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ยูเรเนียม ฯ

พลังงานทดแทน พลังงานทดแทนมีมากมายหลายอย่าง เช่น พลังงานลม, พลังงานน้ำ, พลังงานชีวมวล, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานไฮโดรเจน ฯลฯ

พลังงานลม คือการแปลงพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมให้เป็นพลังงานกล และนำพลังงานกลมาใช้เพื่อสูบน้ำโดยตรงหรือผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า

ศักยภาพพลังงานลม ในประเทศไทย แผนที่แสดงพลังงานลม ในประเทศไทย (หน่วย : วัตต์/ตารางเมตร)

สถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2526 กฟผ.ได้จัดตั้งสถานีทดลองการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม ที่บริเวณแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีความเร็วลมเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 5 เมตรต่อวินาทีโดยติดตั้งกังหันลมขนาดเล็กเพื่อทดสอบการใช้งานจำนวน 6 ชุด

สถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต(ต่อ) ในปี พ.ศ. 2535 ได้ติดตั้งกังหันลมขนาดกำลังผลิต 10 กิโลวัตต์ เพิ่มอีก 2 ชุด ทำให้มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 42 กิโลวัตต์ ในปี พ.ศ. 2539 ติดตั้งกังหันลม ขนาดกำลังผลิต 150 กิโลวัตต์ พ้อมกับยกเลิกการใช้งานกังหันลมขนาดเล็กที่ต้องซ่อมบำรุงบ่อยและชำรุดเสียหาย ทำให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมรวม 170 กิโลวัตต์ ในปี พ.ศ. 2541 ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มเติม ทำให้มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 180.124 กิโลวัตต์

พลังงานน้ำ พลังงานจากทะเลและมหาสมุทรมี หลายประเภทได้แก่ พลังงานจากน้ำขึ้น-น้ำลง พลังงานจากคลื่น พลังงานจากอุณหภูมิของน้ำทะเล เป็นต้น   ประเทศไทยมีแหล่งน้ำที่มีศักยภาพสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทั้งสิ้นประมาณ 25,500 เมกะวัตต์

เขื่อนผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เขื่อนวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ เขื่อนท่าทุ่งนา จังหวัดกาญจนบุรี เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เขื่อนน้ำพุง จังหวัดสกลนคร เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา เขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัด กาญจนบุรี เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ้

พลังงานความร้อนใต้พิภพ กฟผ. ได้สร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพฝาง ขนาดกำลังผลิต 300 กิโลวัตต์ ตั้งอยู่ที่ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีหลักการ ทำงาน คือนำน้ำร้อนไปถ่ายเทความร้อนให้กับของเหลวหรือสารทำงาน (Working fluid) ที่มีจุดเดือดต่ำจนกระทั่ง เดือดเป็นไอแล้ว นำไอนี้ไปหมุนกังหัน เพื่อขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าออกมา

พลังงานแสงอาทิตย์ มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในหลายรูปแบบเช่น การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์

การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ  เซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand alone system) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแบบอิสระ

การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์(ต่อ) 2. เซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid connected system) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับผลิตไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าโดยตรง ใช้ผลิตไฟฟ้าในเขตเมือง หรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิดต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า  

การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์(ต่อ) 3. เซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid system) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และเครื่องยนต์ดีเซล ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นต้น โดยรูปแบบระบบจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตามวัตถุประสงค์โครงการเป็นกรณีเฉพาะ

การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ  การผลิตน้ำร้อนชนิดไหลเวียนตามธรรมชาติ เป็นการผลิตน้ำร้อนชนิดที่มีถังเก็บอยู่สูงกว่าแผงรับแสงอาทิตย์ ใช้หลักการหมุนเวียนตามธรรมชาติ

การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์(ต่อ) 2. การผลิตน้ำร้อนชนิดใช้ปั๊มน้ำหมุนเวียน เหมาะสำหรับการใช้ผลิตน้ำร้อนจำนวนมาก และมีการใช้อย่างต่อเนื่อง 3. การผลิตน้ำร้อนชนิดผสมผสาน เป็นการนำเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์มาผสมผสานกับความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของเครื่องทำความเย็น หรือเครื่องปรับอากาศโดยผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน

การผลิตพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ มีการใช้งาน 3 ลักษณะ คือ  การอบแห้งระบบ Passive เป็นระบบที่เครื่องอบแห้งทำงานโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และกระแสลมที่พัดผ่าน 2. การอบแห้งระบบ Active เป็นระบบอบแห้งที่มีเครื่องช่วยให้อากาศไหลเวียนในทิศทางที่ต้องการ เช่น มีพัดลมติดตั้งในระบบเพื่อบังคับให้มีการไหลของอากาศผ่านระบบ

การผลิตพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์(ต่อ) 3. การอบแห้งระบบ Hybrid เป็นระบบอบแห้งที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และยังต้องอาศัยพลังงานในรูปแบบอื่นๆ ช่วยในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ไม่สม่ำเสมอ หรือต้องการให้ผลิตผลทางการเกษตรแห้งเร็วขึ้น

ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย กรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดทำแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2542 พบว่า14.3% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ได้รับรังสีดวงอาทิตย์เลี่ยนทั้งปี 19 - 20 MJ/m2 -day และ 50.2% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ได้รับรังสีดวงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปี ในช่วง 18-19 MJ/m2 -day จากการคำนวณรังสีรวมของดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อปีของพื้นที่ทั่วประเทศพบว่ามีค่าเท่ากับ 18.2MJ/m2 -day จากผลที่ได้นี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง

การใช้ประโยชน์เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย ปัจจุบันมีการติดตั้งการใช้งานระบบไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ประมาณ 5,000 กิโลวัตต์ ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้งานในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง กิจกรรมที่นำเซลล์แสงอาทิตย์ไปใช้งานมากที่สุด ได้แก่ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม รองลงมาเป็นระบบประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบสูบน้ำ

พลังงานนิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เป็นทางเลือกของประเทศไทย ที่จะแก้ปัญหาด้านพลังงานในระยะยาวได้ ซึ่งในปี 2548 ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ดำเนินการผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ถึง 439 โรง มีกำลังผลิต 336,331 GW(e) และอยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างอีก 25 โรง ในประเทศอินเดีย  ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้ สวีเดน เยอรมันและปากีสถาน

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่เด่น ๆ มีอยู่ 3 แบบใหญ่ ๆ คือ  โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบความดันสูง (Pressurized Water Reactor PWR) โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor BWR) โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบใช้ Heavy Water (Canadian Uranium Deuterium : CANDU)

เซลล์เชื้อเพลิง คือ อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี-ไฟฟ้า ระหว่างออกซิเจนกับไฮโดรเจนซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานของเชื้อเพลิง ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ไม่ต้องผ่านการเผาไหม้ ทำให้เครื่องยนต์ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงนี้ไม่ก่อมลภาวะทางอากาศ ทั้งยังมีประสิทธิภาพสูงกว่า เครื่องยนต์เผาไหม้ 1-3 เท่า ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์เชื้อเพลิง และชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้  

เซลล์เชื้อเพลิง(ต่อ) เซลล์เชื้อเพลิงมีลักษณะคล้ายกับแบตเตอรี่มากในด้านที่สามารถอัดประจุใหม่ได้เรื่อยๆ เซลล์เชื้อเพลิงยังไม่เป็นที่นิยมใช้ทั่ว เพราะต้นทุนการผลิตอุปกรณ์สูงและยังมีอันตรายที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะ ควบคุมหลายประการ แต่ในปัจจุบันได้นำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิดเช่น โทรศัพท์มือถือ ปาล์ม notebook

แก๊สโซฮอล์ แก๊สโซฮอล์คือส่วนผสมของน้ำมันเบนซินกับเอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เราสามารถผลิตเอทานอลได้จากพืชที่ปลูกในประเทศ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง รวมทั้งธัญพืช เช่นข้าวฟ่าง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น ได้

เอทานอล เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการหมักพืช เพื่อเปลี่ยนแป้งจากพืชเป็นน้ำตาลแล้วเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ เมื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95%     โดยการกลั่น จะเรียกว่า เอทานอล (Ethanol) เอทานอลที่นำไปผสมในน้ำมันเพื่อใช้เติมเครื่องยนต์เป็นแอลกอฮอล์ที่มีความบริสุทธิ์ตั้งแต่ 99.5% โดยปริมาตร ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้

ความเป็นมาของการใช้แก๊สโซฮอล์ในประเทศไทย การผลิตแก๊สโซฮอล์ ในประเทศไทยนั้นเกิดจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2528 โดยโครงการส่วนพระองค์ ได้ศึกษาการผลิตแก๊สโซฮอล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยผลิตเอทานอลจากอ้อย หลังจากนั้นก็เกิดความตื่นตัวทั้งจากภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาและนำไปทดสอบกับเครื่องยนต์          

ความเป็นมาของการใช้แก๊สโซฮอล์ในประเทศไทย(ต่อ)           ในปี 2543 ปตท.ดำเนินการทดสอบการใช้แก๊สโซฮอล์ในรถยนต์ พบว่า ช่วยลดมลพิษ ประหยัดน้ำมัน และไม่มีผลต่อสมรรถนะ และได้มีการผลิตแอลกอฮอล์จากหัวมันสด โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ซึ่งจะส่งให้โรงกลั่นของบางจากผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์ ซึ่งได้ทดลองจำหน่ายเมื่อปี 2544 ในสถานีบริการน้ำมันของบางจาก 5 แห่งในเขตกรุงเทพฯ โดยมีราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 เล็กน้อย ซึ่งก็ได้ผลตอบรับที่น่าพอใจ

ศักยภาพพลังงานแก๊สโซฮอล์ในประเทศไทย ปัจจุบันมีโรงงานผลิตเอทานอลที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติให้ผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งสิ้น 24 โรง มีกำลังการผลิตรวม 4,210,000 ลิตร/วัน ปัจจุบันมีโรงงานเดินระบบแล้ว 3 โรง คือ บริษัท พรวิไลอินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป เทรดดิ้ง จำกัด กำลังการ ผลิต 25,000 ลิตร/วัน บริษัท ไทยแอลกอฮอล์ จำกัด (มหาชน) กำลังการผลิต 100,000 ลิตร/วัน และบริษัทไทยอะโกรเอนเนอร์จี จำกัด กำลังการผลิต 150,000 ลิตร/วัน 

ข้อดีของการใช้แก๊สโซฮอล์ ผลดีต่อเครื่องยนต์ ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ไม่มีผลกระทบต่อสมรรถนะการใช้งานและอัตราการเร่งดีกว่าหรือไม่แตกต่าง จากน้ำมันเบนซิน 95 ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปรับแต่งเครื่องยนต์ สามารถเติมผสมกับน้ำมันที่เหลืออยู่ในถังได้เลย โดยไม่ต้องรอให้น้ำมันในถังหมด

ข้อดีของการใช้แก๊สโซฮอล์ ผลดีต่อประเทศ ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ลดการขาดดุลทางการค้า ใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการเกษตรสูงสุดและยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร เครื่องยนต์มีการเผาไหม้ที่ดีขึ้นทำให้ช่วยลดมลพิษไอเสียทางอากาศและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยสามารถลดปริมาณไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอนมอนอกไซด์ลง 20-25%ทำให้ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนในประเทศ ทำให้เกิดการลงทุนที่หลากหลายทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม

ไบโอดีเซล คือน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตมาจากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ โดยผ่านขบวนการที่ทำให้โมเลกุลเล็กลง ให้อยู่ในรูปของ เอทิลเอสเตอร์ (Ethyl esters) หรือ เมทิลเอสเตอร์ (Methyl esters) ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมาก สามารถใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลได้โดยตรง      

ดีเซลปาล์มบริสุทธิ์ เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทยอาจประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมันในภาวะราคาน้ำมันแพง จึงทรงดำริให้โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ร่วมดำเนินการวิจัยกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และเอกชน ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจดสิทธิบัตรการใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ผสมกับน้ำมันดีเซล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว

ข้อดีของการใช้ดีเซลปาล์มบริสุทธิ์ สามารถช่วยลดปริมาณมลพิษจากท่อไอเสีย โดยสามารถลดปริมาณควันดำลงได้อย่างมี นัยสำคัญ น้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงสะอาด มีปริมาณกำมะถันน้อยมาก เมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซล เมื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงในเมืองใหญ่และพื้นที่ที่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จะช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมได้ ผู้ที่ใช้ดีเซลปาล์มบริสุทธิ์ เติมในรถยนต์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับแต่งเครื่องยนต์

10 บัญญัติ ประหยัดน้ำมัน 1. ขับรถไม่เกิน 90 ก.ม./ชม. ความเร็วสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ ทางธรรมดา 90 กม./ชม. ทางด่วน 110 กม./ชม. มอเตอร์เวย์ 120 กม./ชม. 2. จอดรถไว้บ้านโดยสารสาธารณะ ถ้าผู้ใช้รถยนต์ร้อยละ 1 จากจำนวน 5 ล้านคัน หันมาใช้บริการรถสาธารณะด้วยระยะทาง 48 กม./วัน ใน 1 ปี (260 วันทำงาน) จะประหยัดน้ำมัน 52 ล้านลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 780 ล้านบาท

4. ทางเดียวกันไปด้วยกัน 3. ไม่ขับก็ดับเครื่อง 4. ทางเดียวกันไปด้วยกัน ถ้าขับรถยนต์ 5 คัน ไปทางเดียวกัน ที่หมายใกล้กัน ระยะทาง 48 กม./คัน (ไป-กลับ) ใน 1 ปี (260 วันทำงาน) จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 5,200 ลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 78,000 บาท ถ้าร้อยละ 1 ของรถยนต์ 5 ล้านคัน ใช้ Car Pool สลับขับ 5 คน ต่อรถ 1 คัน ใน 1 ปี จะประหยัดน้ำมันได้ 41.6 ล้านลิตร คิดเป็นเงิน 624 ล้านบาท การติดเครื่องยนต์จอดอยู่เฉยๆ เป็นเวลา 5 นาที สิ้นเปลืองน้ำมันโดยเปล่าประโยชน์ 500 ซีซี

5. หลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วน ถ้ารถติดเพียงร้อยละ 1 ของ จำนวนรถยนต์ 5 ล้านคัน ในวันทำงานทุกวันและในบางเสาร์-อาทิตย์ ใน 1 ปี (330 วัน/ปี) จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 12.4 ล้านลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 186 ล้านบาท 6. ใช้โทรศัพท์-โทรสารเลี่ยงรถติด ใช้อุปกรณ์สื่อสารแทนการเดินทาง เช่น ส่งหนังสือระหว่างหน่วยงาน หากเร่งด่วนก็ใช้วิธีส่งทางโทรสาร หากเป็นเอกสารสำคัญก็ใช้วิธีรวบรวมเอกสารแล้วส่งพร้อมกัน หนังสือเวียนที่ไม่สำคัญก็ใช้วิธีส่ง E-Mail หรือส่งไปรษณีย์

8. ลมยางต้องพอดีไส้กรองต้องสะอาด 7. วางแผนก่อนเดินทาง ความดันลมยางอ่อนกว่ามาตรฐาน 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ถ้าขับทุกวันเฉลี่ยวันละ 48 กม. ใน 1 เดือน รถยนต์ สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 2.4 ลิตร รถจักรยานยนต์ สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 1.2 ลิตร รถบรรทุก สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 4.2 ลิตร ถ้าร้อยละ 30 ของรถแต่ละประเภท ละเลยเช่นนี้บ่อยๆ รวมเป็น 30 วัน/ปี จะสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 5.8 ล้านลิตร คิดเป็นเงิน 87 ล้านบาท ถ้าไส้กรองสะอาด จะช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำมันวันละ 65 ซีซี ควรทำความสะอาดทุก 2,500 กม. ควรเปลี่ยนทุก 20,000 กม. ถ้าไม่ศึกษาเส้นทางก่อนเดินทาง และขับรถหลงทาง 10 นาที จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 500 ซีซี คิดเป็นค่าน้ำมัน 7.50 บาท ถ้ารถยนต์ 5 ล้านคัน ขับหลงทาง เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ใน 1 ปี จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 30 ล้านลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 450 ล้านบาท

9. ไม่บรรทุกของเกินจำเป็น 10. ตรวจเช็คเครื่องยนต์เป็นประจำ หากขับรถโดยบรรทุกของที่ไม่จำเป็น ประมาณ 10 ก.ก. เป็นระยะทาง 25 ก.ม. สิ้นเปลืองน้ำมัน 40 ซีซี ถ้าร้อยละ 10 ของรถยนต์ทั่วประเทศ 5 ล้านคัน ขับรถโดยบรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็น ใน 1 ปี จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 7.3 ล้านลิตร คิดเป็นเงิน 10.95 ล้านบาท เปลี่ยนไส้กรองตามกำหนด เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นทุก 5,000 กม. ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง และน้ำในแบตเตอรี่ ตรวจสอบระดับน้ำป้อนหม้อน้ำ ปรับปรุงสมรรถนะรถยนต์ให้ดีตลอดเวลา ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ร้อยละ 3- 9

ช่วยกันประหยัดพลังงานก่อนที่จะไม่มีหลังงานให้ประหยัด สวัสดีครับ