ความรู้พื้นฐานโปรแกรม Adobe Photoshop
ประเด็นความรู้ ความรู้เกี่ยวกับกราฟิกที่ใช้งานบนคอมพิวเตอร์ ทฤษฎีสี ทำความรู้จักกับโปรแกรม Adobe Photoshop ส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Photoshop
กราฟิกที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ 1. กราฟิกแบบ Bitmap Bitmap เป็นภาพแบบ Resolution Dependent ประกอบขึ้นด้วยจุดสีต่างๆ ที่มีจำนวนคงที่ตายตัวตามการสร้างภาพที่มี Resolution หรือความละเอียดของภาพต่างกันไป หากขยายภาพ Bitmap จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นตารางเล็กๆ ซึ่งแต่ละบิตคือ ส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์
กราฟิกที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ 2. กราฟิกแบบ Bitmap (ต่อ) ภาพแบบ Bitmap จึงเหมาะสำหรับงานกราฟิกในแบบที่ต้องการให้แสงเงาในรายละเอียด เป็นไฟล์ที่เหมาะกับการทำงานกับภาพเหมือนจริงประเภทภาพถ่าย เช่น ภาพที่นำมาใช้กับ PhotoShop จะเป็นภาพเหมือน ภาพถ่าย เพราะไฟล์ที่ได้จาก Photoshop เป็น Bitmap ไฟล์ภาพแบบ Bitmap ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .BMP, .PCX. , .TIF, .GIF, .JPG, .MSP, .PCD เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่ใช้สร้างกราฟิกแบบนี้คือ โปรแกรม Paint ต่างๆ เช่น Paintbrush, PhotoShop, Photostyler เป็นต้น
กราฟิกที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ 3. กราฟิกแบบ Vector Vector เป็นภาพประเภท Resolution-Independent มีลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรงหรือส่วนโค้ง โดยอ้างอิงตามความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์หรือการคำนวณเป็นตัวสร้างภาพ เป็นการรวมเอา Object (เช่น วงกลม เส้นตรง ทรงกลม ลูกบาศก์และอื่นๆ เรียกว่ารูปทรงพื้นฐาน) ต่างชนิดมาผสมกัน มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกันโดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพประเภทนี้ว่า Vector Graphic หรือ Object Oriented
กราฟิกที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ 3. กราฟิกแบบ Vector (ต่อ) ลักษณะเด่นของ Vector คือ สามารถยืดหรือหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง คงคุณภาพของภาพไว้ได้เหมือนเดิม และยังสามารถขยายเฉพาะความกว้างหรือความสูง เพื่อให้มองเห็นเป็นภาพผอมหรืออ้วนกว่าภาพเดิมได้ด้วย และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ Bitmap ภาพแบบ Vector จึงเหมาะสำหรับงานแบบวาง Layout งานพิมพ์ตัวอักษร Line Art หรือ Illustration ไฟล์รูปภาพแบบ Vector ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .EPD, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น โดยมีโปรแกรมประเภทวาดรูป (Drawing Program) เช่น CorelDraw หรือ AutoCAD เป็นโปรแกรมสร้าง ขณะที่บนแมคอินทอชใช้ Illustrator และ Freehand
วงล้อสี (colour wheel) ทฤษฎีสี วงล้อสี (colour wheel)
ทฤษฎีสี จากสี 12 สี ในวงล้อจะแบ่งออกเป็น 2 วรรณะ คือ - วรรณะสีอุ่น (warm tone) ได้แก่ สีเหลือง (ครึ่งหนึ่ง) ส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง ม่วงแดง และม่วง (ครึ่งหนึ่ง) - วรรณะสีเย็น (cool tone) ได้แก่สีเหลือง (อีกครึ่งหนึ่ง) เขียวเหลือง เขียว เขียวน้ำเงินน้ำเงิน ม่วงน้ำเงินและม่วง (อีกครึ่งหนึ่ง) สำหรับสีเหลืองและสีม่วงนั้น เป็นสีที่อยู่ในวรรณะกลาง ๆ หากอยู่ในกลุ่มสีอุ่นก็จะอุ่นด้วย แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มสีเย็นก็จะเย็นด้วย
คู่สี (complementary colours) ทฤษฎีสี คู่สี (complementary colours)
ทฤษฎีสี คู่สี (complementary colours) สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสีจะเป็นคู่สีกัน ถ้านำมาวางเรียงกันจะให้ความสดใส ให้พลังความจัดของสีซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการตัดกันหรือขัดแย้งกันอย่างมาก คู่สีนี้จะเป็นสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง (true contrast) การใช้สีที่ตัดกันจะต้องพิจารณาดังนี้ - ปริมาณของสีที่เกิดจากการตัดกันจะต้องไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมดในภาพ - การใช้สีตัดกันต้องมีสีใดสีหนึ่ง 80% และอีกสีหนึ่ง 20% โดยประมาณ - ถ้าหากต้องใช้สีคู่ตัดกัน โดยมีเนื้อที่เท่า ๆ กัน จะต้องลดความเข้มของสี (intensity)ของสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสีลง
สีข้างเคียง (analogous colours) ทฤษฎีสี สีข้างเคียง (analogous colours)
ทฤษฎีสี สีข้างเคียง (analogous colours) เป็นสีที่อยู่เคียงกันในวงล้อสี เช่น สีเหลืองกับส้มเหลือง สีทั้ง 2 จะดูกลมกลืนกัน (harmony) สีที่อยู่ห่างกันออกไป ความกลกลืนก็จะค่อย ๆ ลดลง ความขัดแย้ง หรือความตัดกันก็จะเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นคู่สี หรือ สีตัดกันอย่างแท้จริงเมื่อห่างกันจนถึงจุดตรงข้ามกัน
ทฤษฎีสี การใช้สี การใช้สีมีอยู่ 2 วิธี คือ การใช้สี การใช้สีมีอยู่ 2 วิธี คือ การใช้สีให้กลมกลืน (harmony) การใช้ตัดกัน(contrast) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการใช้งาน แต่ละลักษณะ การใช้สีให้ดู กลมกลืนมากเกินไปก็จะจืดชืด น่าเบื่อ แต่ถ้าใช้สีตัดกันมากเกินไปก็จะเกิดการขัดแย้งสับสนได้
ทำความรู้จักกับโปรแกรม Adobe Photoshop โปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟิก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย สามารถใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพ การใส่ Effect ต่าง ๆให้กับภาพ และตัวหนังสือ การทำภาพขาวดำ การทำภาพถ่ายเป็นภาพเขียน การนำภาพมารวมกัน การ Retouch ตกแต่งภาพต่างๆ
ทำความรู้จักกับโปรแกรม Adobe Photoshop Photoshop ถูกสร้างโดยสองพี่น้องนักศึกษาปริญญาเอก กับพนักงานของ ILM พี่น้องคู่นี้คือ Thomas Knoll นักศึกษาปริญญาเอกที่ University of Michigan ในขณะนั้น เขาทำโปรแกรมแสดงผลกราฟิกบน Mac Plus โดยใช้ชื่อว่า Display เมื่อน้องชายของเขา คือ John ซึ่งเป็นนักถ่ายภาพสมัครเล่น และทำงานที่ ILM มาเห็นโปรแกรมเข้า ก็บอกว่ามันเหมือนกับโปรแกรม Pixar Image Computers สองคนจึงมองเห็นโอกาสธุรกิจ Display เพิ่มความสามารถในการแปลงภาพเข้ามาตามที่ John เห็นสมควรก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น ImagePro และไปเร่ขายตามบริษัทซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ สุดท้ายมาเจอกับ Adobe และก็กลายเป็น Photoshop ที่เรารู้จักกันจนทุกวันนี้ Tomas Kholl John Kholl
ส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Photoshop 1 3 2 4 6 5
ส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Photoshop หน้าจอของโปรแกรม Photoshop ประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. สัญลักษณ์ของโปรแกรม Photoshop 2. แถบเมนู ( Manu Bar ) 3. ปุ่มควบคุมการทำงาน 4. แถบกำหนดรูปแบบของเครื่องมือที่ใช้งาน ( Tool Option Bar ) 5. กล่องเครื่องมือ ( Tool Box ) 6. Palette ที่รวบรวมคุณสมบัติของการทำงานต่างๆ เช่น Navigator , Color , Layer , History เป็นต้น
กิจกรรมวันนี้ อธิบายความแตกต่างระหว่างกราฟิกแบบ Bitmap และ Vector โดยเขียนเป็นตารางเปรียบเทียบ หาภาพจากนิตยาสาร หนังสือพิมพ์ หรือจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำมาตัดแปะ หรือปริ้นแปะ ลงในกระดาษเขียนตอบของโรงเรียน แล้วเขียนวิเคราะห์อธิบายสีของภาพ มีลักษณะอย่างไร ตามหลักของทฤษฎีสี จงค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเวอร์ชั่นของโปรแกรม Adobe Photoshop มีมาแล้วกี่เวอร์ชั่น อะไรบ้าง พร้อมบอกแหล่งที่มาของข้อมูล