การเขียน Concept Paper & Full Proposal เป้าหมาย : ต้องการทราบเจตนารมณ์ของผู้ทำวิจัยว่า.... What do you want to do? ท่านจะวิจัยในเรื่องใด มีจุดมุ่งหมายอะไรในการวิจัย Why do you have to do? มีมูลเหตุจูงใจอะไร ประเด็นปัญหาสำคัญของเรื่องที่จะวิจัย ผลกระทบของประเด็นปัญหานั้นๆเป็นอย่างไร ทำวิจัยนั้นแล้ว จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง How do you do? มีแนวคิดที่จะทำการวิจัยอย่างไร รูปแบบของการวิจัยเป็น อย่างไร มีวิธีการรวบรวมหรือสำรวจข้อมูลอย่างไร นำทฤษฎี และหลักการใดมาประยุกต์ใช้บ้าง
การเขียน Concept Paper & Full Proposal ขั้นตอนและกระบวนการเสนอ.... เขียนเอกสารให้มีเนื้อหาประมาณ 2 หน้ากระดาษ โดยใช้ แบบฟอร์มที่ กอวจ.ฯ กำหนดในปี58 ใบปะหน้าแบบฟอร์มจะไม่เหมือนเดิม ให้ผู้ทำวิจัยลงนาม เท่านั้น(ยังไม่ต้องเสนอ อ.ที่ปรึกษา) ส่งเอกสารที่ กศษ.ฯ เพื่อ กศษ.ฯ จะได้ตรวจสอบและส่งให้ กรรมการฯ(DS)ประจำกลุ่ม กศษ.ฯ จะตรวจสอบการส่งเอกสารว่าครบถ้วนหรือไม่ / ส่งได้ ตามเวลาที่กำหนดหรือไม่ คณะกรรมการฯ(DS)ประจำกลุ่มร่วมกันพิจารณาและให้ ความเห็น/ให้ข้อเสนอแนะ ความเห็นของคณะกรรมการฯ จะมีเพียงความเห็นเดียว ผู้ทำวิจัยไม่จำเป็นต้องรอความเห็นจากกรรมการแต่ละคน ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงจนกว่า จะเห็นชอบ
การเขียน Concept Paper & Full Proposal ชื่อเรื่อง(title) : กำหนดให้กระชับแต่บ่งชี้สิ่งที่จะวิจัยได้ชัดเจน (อาจระบุเป้าหมายและวิธีการได้) ตัวอย่างของชื่อเรื่อง - การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของกำลังพลใน ยศ.ทร. - การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของกำลังพลใน ยศ.ทร. โดย ประยุกต์ใช้หลักการ ISO9001 - การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของกำลังพลใน ยศ.ทร. เพื่อรองรับ วิสัยทัศน์ของกองทัพเรือ
การเขียน Concept Paper & Full Proposal ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา(background & problem statement) : สถานการณ์ ข้อมูล ผลกระทบที่บ่ง ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัยในเรื่องนั้น - สถานการณ์หรือข้อมูลที่นำมากล่าวนั้น จะต้องอ้างถึงความเป็นมา ในอดีตและปัจจุบัน ความจำเป็นที่ต้องนำประเด็นเหล่านั้นมา วิเคราะห์วิจัย ปัญหาหรือผลกระทบที่เกี่ยวข้องและเห็นว่าควรหยิบยก มาวิจัย - ทิศทางหรือแนวคิดเบื้องต้นที่ผู้วิจัยเห็นว่าควรจะศึกษาวิเคราะห์ ปรับปรุงและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาหรือเพิ่มพูนประสิทธิภาพ/ ประสิทธิผล เมื่อทำแล้วจะเกิดผลดีอย่างไรต่อประเด็นปัญหาที่กำลัง ศึกษาวิจัยนั้น - คำถามในการวิจัยที่จะนำไปสู่คำตอบ/ผลลัพธ์ที่ต้องการ/ กระบวนการดำเนินงานวิจัย
การเขียน Concept Paper & Full Proposal วัตถุประสงค์ของการวิจัย(research objective) : บอกให้ชัดเจน ว่าจะทำอะไร จะศึกษาสิ่งใด จะเปรียบเทียบปัจจัยอะไร จะ ค้นหาความจริงหรือสาเหตุของปัญหาใดๆ - วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกันกับชื่อเรื่องงานวิจัย และสามารถบ่งชี้ ภาพความสำเร็จที่พึงประสงค์จากการวิจัยนี้ได้ รวมทั้งสอดคล้องกับ คำถามวิจัยที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ - วัตถุประสงค์มักเริ่มต้นด้วยคำว่า เพื่อศึกษา... เพื่อสำรวจ... เพื่อ วิเคราะห์.... เพื่อค้นหา... เพื่อเปรียบเทียบ.... เพื่อพัฒนา... ฯลฯ โดยจะ เขียนเป็นประโยคเดียวหรือแบ่งเป็นข้อก็ได้(ไม่ควรเกิน 3 ข้อ) - วัตถุประสงค์ไม่ควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ‘กิจกรรมหรือวิธีการดำเนิน งานวิจัย’ - วัตถุประสงค์เป็นสิ่งที่บ่งชี้เป้าหมายหรือผลผลิตจากงานวิจัยนั้นๆ ไม่ใช่ประโยชน์ของการวิจัย(ประโยชน์ของงานวิจัยคือการนำผลผลิต ของการวิจัยนี้ไปประยุกต์หรือขยายผล)
การเขียน Concept Paper & Full Proposal สมติฐานของการวิจัย(research hypothesis) : การคาดคะเน คำตอบหรือผลลัพธ์ที่น่าจะได้เมื่อทำการวิจัยสำเร็จ(มโนอย่าง มีเหตุผล) โดยต้องแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป - การกำหนดสมติฐานเหมาะสำหรับงานวิจัยประเภทศึกษาวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่นำมาศึกษาวิจัย ส่วนใหญ่จะแสดงให้เห็น การคาดหมายหรือความเชื่อของผู้วิจัยในลักษณะว่า หากมีปัจจัยใด เกิดขึ้น(ตัวแปรต้น) ก็จะมีอีกปัจจัยหนี่งตามมา(ตัวแปรตาม) หรือ ปัจจัยหนึ่งจะส่งผลอย่างไรต่ออีกปัจจัยหนึ่ง - งานวิจัยที่ยังคาดเดาผลลัพธ์ไม่ได้(การวิเคราะห์สาเหตุ การหา แนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ฯลฯ) มักยากที่จะกำหนดสมติ ฐานไว้ล่วงหน้า ในกรณีนี้ ผู้วิจัยอาจละไว้ไม่กำหนดสมติฐานก็ได้
การเขียน Concept Paper & Full Proposal ขอบเขตหรือข้อตกลงในการวิจัย(scope / assumption) : เป็น การกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็นในการทำงานวิจัยให้ชัดเจน ซึ่ง เป็นปัจจัยกำหนดทิศทางหรือวิธีดำเนินการวิจัย - กลุ่มประชากรหรือกลุ่มเป้าหมายที่จะศึกษาวิจัย (ส่วนใหญ่ใช้ในการ วิจัยเชิงสำรวจ) - สถานที่ พื้นที่ ชุมชน องค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย - ขนาดของงานหรือภารกิจ แขนงหรือสาขาของศาสตร์ต่าง ช่วงเวลา ที่กำหนดในการวิจัย - เงื่อนไขที่จำเป็นต้องกำหนดไว้เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงาน ศึกษาวิจัย
การเขียน Concept Paper & Full Proposal ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย(expected benefit and application) แสดงให้เห็นว่าเมื่องานวิจัยสำเร็จได้ผลลัพธ์ที่ คาดหวังแล้ว จะนำผลงาน/ผลลัพธ์นั้นไปใช้ประโยชน์ใดได้ บ้าง - อย่างใช้คำว่า “ทำให้ทราบ.....” เพราะผู้วิจัยทำการวิจัยแล้วย่อมต้อง ทราบในเรื่องนั้นๆเป็นธรรมดา - พยายามแสดงให้ผู้อื่นเห็นได้ว่า จะนำ ‘ผลงาน/ผลผลิต’ จากงานวิจัย นั้น ไปใช้ทำอะไรได้บ้าง นำเสนอให้หน่วยงานใดนำไปขยายผลได้ บ้าง สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้หรือไม่ สามารถ ช่วยประหยัดทรัพยากรได้หรือไม่ ลดความเสียหายหรือความสูญเสีย ใดๆ ฯลฯ - สามารถเขียนในรูปแบบพรรณนาหรือรูปแบบรายข้อก็ได้
การเขียน Concept Paper & Full Proposal วิธีดำเนินการวิจัย(research methodology) : เป็นการบ่งชี้ รูปแบบของการทำวิจัย ขั้นตอนในการดำเนินงาน วิธีการเก็บ หรือสำรวจข้อมูล ทฤษฎีหรือหลักการที่นำมาใช้ วิธีการ วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ - ระบุว่าจะทำการวิจัยในรูปแบบใด (เชิงคุณภาพ/เชิงปริมาณ เชิง สำรวจ/เชิงทดลอง/เชิงพรรณนา ฯลฯ) - ระบุขั้นตอนในการดำเนินงานตลอดกระบวนการวิจัย เช่น ศึกษา สภาพปัจจุบัน ศึกษาหลักการ วิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สร้างรูปแบบหรือแนวทางการพัฒนา ฯลฯ - ระบุวิธีการหาข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หลักการหรือทฤษฎีที่ นำมาประยุกต์ใช้ในแต่ละขั้นตอน - หากจะให้ดี ผู้วิจัยควรเขียนผังภาพ ‘กรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework)’ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆใน การวิจัยไว้ด้วย(แต่ไม่ใช่การแสดงขั้นตอนการวิจัย)
การเขียน Concept Paper & Full Proposal วิธีดำเนินการวิจัย(research methodology) : เป็นการบ่งชี้ รูปแบบของการทำวิจัย ขั้นตอนในการดำเนินงาน วิธีการเก็บ หรือสำรวจข้อมูล ทฤษฎีหรือหลักการที่นำมาใช้ วิธีการ วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ ขั้นตอนและกระบวนการเสนอ.... - ใช้รูปแบบเอกสารที่ ยศ.ทร. กำหนด (ยกเว้น ขอบเขตการวิจัยกับ วิธีดำเนินการวิจัย ให้สลับลำดับกัน) - จัดทำเอกสารและส่งที่ กศษ.ฯ เพื่อ กศษ.ฯ จะได้ตรวจสอบการส่ง และนำส่งคณะกรรมการต่อไป - เตรียมนำเสนองานวิจัยต่อคณะกรรมการฯ พร้อมทั้งรับความเห็น/ คำแนะนำมาปรับปรุงจนกว่าจะปรับปรุงสาระของเอกสารให้ เหมาะสมและได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ - เอกสารต้องได้มีการลงนามเห็นชอบโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและ กรรมการฯทั้งสาม ก่อนเสนอ หน.ฝวก.ฯ