งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเขียนเอกสารประจำภาค/เอกสารวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเขียนเอกสารประจำภาค/เอกสารวิจัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเขียนเอกสารประจำภาค/เอกสารวิจัย
หัวข้อวิชา การเขียนเอกสารประจำภาค/เอกสารวิจัย (หลักสูตร วทร.ยศ.ทร. / หลักสูตร รร.สธ.ทร.) น.อ.รศ.นเรศ เพ็ชรนิน

2 Selecting a Topic Individual Study Report Writing
Selecting a Topic

3 Selecting a Topic A few things that you will need to do :
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ Selecting a Topic A few things that you will need to do : • brainstorm for ideas • choose a topic that will enable you to read and understand the literature • ensure that the topic is manageable and that material is available • make a list of key words • be flexible • define your topic as a focused research question • research and read more about your topic • formulate a thesis statement

4 Selecting a Topic กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
Step 1: Brainstorm for ideas Choose a topic that interests you. Use the following questions to help generate topic ideas. Do you have a strong opinion on a current social or political controversy Did you read or see a news story recently that has piqued your interest or made you angry or anxious? Do you have a personal issue, problem or interest that you would like to know more about? Do you have a research paper due for a class this semester? Is there an aspect of a class that you are interested in learning more about? Look at some topically oriented Web sites and research sites for ideas. Example : current events, government, politics or the social sciences, health or medicine, etc.

5 Selecting a Topic กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
Step 2: Read General Background Information • Read a general encyclopedia article on the top two or three topics you are considering. Reading a broad summary enables you to get an overview of the topic and see how your idea relates to broader, narrower, and related issues. • Use periodical indexes to scan current magazine, journal or newspaper articles on your topic. Ask a librarian if they can help you to browse articles on your topics of interest. • Use Web search engines. Google and Bing are currently considered to be two of the best search engines to find web sites on the topic.

6 Selecting a Topic กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
Step 3: Focus on Your Topic Keep it manageable. A topic will be very difficult to research if it is too broad or narrow. One way to narrow a broad topic such as "the environment" is to limit your topic. Some common ways to limit a topic are: • by geographical area • by culture • by time frame: • by discipline • by population group If you have any difficulties or questions with focusing your topic,discuss the topic with your instructor, or with a librarian

7 Selecting a Topic กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
Step 4: Make a List of Useful Keywords Keep track of the words that are used to describe your topic. • Look for words that best describe your topic • Look for them in when reading encyclopedia articles and background and general information • Find broader and narrower terms, synonyms, key concepts for key words to widen your search capabilities • Make note of these words and use them later when searching databases and catalogs

8 Selecting a Topic กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
Step 5: Be Flexible It is common to modify your topic during the research process. You can never be sure of what you may find. You may find too much and need to narrow your focus, or too little and need to broaden your focus. This is a normal part of the research process. When researching, you may not wish to change your topic, but you may decide that some other aspect of the topic is more interesting or manageable. Step 6: Define Your Topic as a Focused Research Question You will often begin with a word, develop a more focused interest in an aspect of something relating to that word, then begin to have questions about the topic.

9 Selecting a Topic กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
Step 7: Research and Read More About Your Topic Use the key words you have gathered to research in the catalog, article databases, and Internet search engines. Find more information to help you answer your research question. You will need to do some research and reading before you select your final topic. Can you find enough information to answer your research question? Remember, selecting a topic is an important and complex part of the research process. Step 8: Formulate a Thesis Statement Write your topic as a thesis statement. This may be the answer to your research question and/or a way to clearly state the purpose of your research. Your thesis statement will usually be one or two sentences that states precisely what is to be answered, proven, or what you will inform about your topic.

10 การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะเขียนเอกสารวิจัย (Selecting a Topics)
การเขียนเอกสารประจำภาค/เอกสารวิจัย การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะเขียนเอกสารวิจัย (Selecting a Topics)

11 การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะเขียนเอกสารวิจัย
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะเขียนเอกสารวิจัย แหล่งที่มาของหัวข้อปัญหางานวิจัย ประสบการณ์ของผู้วิจัย ได้แก่การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องมีปรากฏกาการณ์บางอย่างชวนให้สงสัยต้องการคำตอบที่ชัดเจน หรือจากการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบเกิดปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานไม่บรรลุเป้า หมาย หรือขาดประสิทธิภาพ หรือต้องการพัฒนางานให้ดีขึ้น ทฤษฎี จากการศึกษาทฤษฎีต่างๆ อย่างลึกซึ้งผู้วิจัยอาจจะเห็นความไม่สอดคล้องกันภายในทฤษฎี ระหว่างทฤษฎี หรือระหว่างทฤษฎีกับข้อเท็จจริง อยากจะตรวจสอบทฤษฎีนั้นให้ประจักษ์ชัด หรืออาจจะตรวจสอบว่าทฤษฎีนั้น ๆ จะทำนายปรากฏการณ์ได้สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ ผลงานวิจัยที่ได้มีผู้ทำไว้แล้ว การศึกษาผลงานวิจัยที่คนอื่นทำไว้แล้วอย่างละเอียดถี่ถ้วน จะช่วยให้ผู้วิจัยได้มองเห็นว่าความรู้ที่เป็นผลการวิจัยเหล่านั้นมีความ ชัดเจนมากน้อยเพียงใด ยังมีประเด็นใดที่ยังคลุมเครือจะต้องศึกษาเพื่อทำความเข้าใจให้กระจ่าง หรือมีความขัดแย้งกันระหว่างงานวิจัยในเรื่องเดียวกันหรือไม่

12 การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะเขียนเอกสารวิจัย
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะเขียนเอกสารวิจัย แหล่งที่มาของหัวข้อปัญหางานวิจัย (ต่อ) ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ปกติผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ มักจะศึกษาติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการในศาสตร์สาขานั้นอย่างต่อเนื่องสม่ำ เสมอ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะมองเห็นภาพองค์ความรู้ของศาสตร์นั้นได้ค่อนข้างจะ ชัดเจน รู้ว่าจุดใดประเด็นใดที่นักวิชาการในศาสตร์นั้นได้หาความรู้ไว้แล้วอย่าง ชัดเจน ประเด็นใดที่ยังเป็นปัญหาเป็นช่องโหว่ที่จะต้องแสวงหาความรู้มาเติมให้เต็ม หน่วยงานของผู้วิจัย หน่วยงานบางหน่วยงานมีหน้าที่ที่จะต้องทำงานวิจัยมักจะมีแผนงานกำหนดไว้ อย่างชัดเจนว่าในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ จะทำวิจัยในหัวข้อใดบ้าง หรือหน่วยงานที่ไม่ได้มีหน้าที่ในการทำวิจัยโดยตรงก็อาจจะมีความจำเป็นที่จะ ต้องศึกษาวิจัยหาความรู้ในบางเรื่อง ประเด็นที่สังคมสนใจ เช่น ข่าวในสื่อมวลชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่คนกำลังสนใจอยู่ ปัญหาและเหตุการณ์เหล่านั้นยังไม่มีคำตอบหรือไม่มีข้อยุติแน่นอน และถึงมีข้อมูลแต่ยังไม่ครอบคลุมหรือถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ตามหลักวิชาการ

13 การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะเขียนเอกสารวิจัย
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะเขียนเอกสารวิจัย เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาในการเลือกหัวข้อปัญหาวิจัย มีความสำคัญ มีคุณค่า มีประโยชน์แก่องค์กร สังคม ประเทศชาติ เป็นปัญหาที่จะค้นหาคำตอบได้ด้วยวิธีการวิจัย เป็นปัญหาที่น่าสนใจ นักวิชาการหรือผู้ปฏิบัติงานในสาขานั้นๆ ใคร่ทราบคำตอบด้วย เป็นปัญหาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับปัญหาที่ผู้อื่นได้เคยวิจัยหาคำตอบไว้แล้ว ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือภัยพิบัติต่อผู้วิจัยหรือผู้ให้ข้อมูล เป็นปัญหาที่สามารถจะดำเนินการวิจัยให้สำเร็จลุล่วงไปได้ โดยพิจารณาจาก ขอบเขตของปัญหา พื้นฐานความรู้ของผู้วิจัย ข้อมูลที่จะนำมาใช้ เทคนิค/เครื่องมือ/ความรู้ที่จะนำมาใช้ ระยะเวลาในการทำวิจัย

14 การเขียนเอกสารประจำภาค/เอกสารวิจัย การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย
(Full Proposal)

15 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal) โครงเรื่องวิจัย/โครงร่างวิจัย(Full Proposal)คืออะไร..? เอกสารโครงเรื่องวิจัยมีเนื้อหาใกล้เคียงกันกับเอกสารแนวคิดในการวิจัย แต่จะให้รายละเอียดที่ละเอียดและชัดเจนกว่า และมีหัวข้อเพิ่มเติมที่จะต้องเขียนไว้ในเอกสารด้วย โครงเรื่องวิจัยนี้มีความสำคัญต่อการทำวิจัยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจะใช้เป็นเอกสารที่แสดงที่มาและความสำคัญของการวิจัยแล้ว ยังเป็นสิ่งบ่งบอกวิธีวิจัย ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้ ขอบเขตหรือเงื่อนไขในการวิจัย ฯลฯ องค์ประกอบของเอกสารโครงเรื่องวิจัย เป็นการเรียบเรียง เชื่อมโยง ความคิดอย่างเป็นระเบียบ ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง วางแผนการทำวิจัยให้ชัดเจนและสามารถควบคุมการวิจัยให้บรรลุเป้าหมายของการวิจัย เป็นการยืนยันว่าผู้เสนอเค้าโครง มีศักยภาพ ได้ศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมากพอที่จะดำเนินการวิจัยในหัวข้อที่เสนอนั้นให้สำเร็จตามเป้าหมายได้ 15

16 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal) องค์ประกอบของเอกสารโครงเรื่องวิจัย ชื่อเรื่องวิจัย (Title) ที่มาและความสำคัญของปัญหา (Background & Significance of the study) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives) สมมติฐานของการวิจัย (Hypothesis) --- กรณี Conceptual Paper ไม่ต้องเขียน ขอบเขตของการวิจัย (Scope or Assumption) --- กรณี Conceptual Paper ไม่ต้องเขียน วิธีดำเนินการวิจัย (Methodology) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Benefits) ข้อมูลประกอบอื่นๆ (Definition of Terms) 16

17 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal) ชื่อเรื่อง (Title) ควรตั้งตามประเด็นตามข้อสงสัยหรือคำถามในการวิจัยหรือเรื่องที่ต้องการทำการศึกษา การตั้งชื่อเรื่องการวิจัยนั้น ไม่ต้องรีบร้อนตั้งก็ได้ ควรศึกษาข้อมูล ประเด็นปัญหา สิ่งที่มุ่งหวังให้เกิดขึ้น ฯลฯ แล้วค่อยมากำหนดเป็นชื่อเรื่องก็ได้ และบางครั้งอาจจะต้องปรับเปลี่ยนชื่อเรื่องให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในภายหลังก็ได้ #Points ผู้เรียนควรทำเรื่องทีศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่เหมาะสมกับระดับการศึกษาของตนเอง เช่น นศ.วทร. ควรศึกษาวิเคราะห์ปัญหายุทธศาสตร์ระดับประเทศ นทน.รร.สธ.ทร. ควรศึกษาวิเคราะห์ปัญหาระดับหน่วยขนาดใหญ่ที่มีภารกิจตามนโยบายหรือยุทธศาสตร์ กำหนดชื่อเรื่องให้บ่งบอกประเด็นปัญหาและวิธีการวิจัยได้ในระดับหนึ่ง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาองค์กร (ชื่อเรื่องยังคลุมเครือ ไม่ได้บอกทิศทาง) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาองค์กร (ดีขึ้นบ้างในระดับหนึ่ง) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาองค์กรโดยใช้ทฤษฎี Contengency 17

18 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal) ที่มาและความสำคัญของปัญหา (Background & Significance of the study) กล่าวถึงความเป็นมาของเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจว่ามีข้อมูลพื้นฐานอย่างไร และสิ่งนั้นมีปัญหาหรือข้อสงสัยใดที่ต้องหาคำตอบหรือต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้น รวมทั้งการศึกษาและทบทวนวรรณกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยอย่างน้อยควรประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานของเรื่อง ประเด็นปัญหาที่ให้ความสนใจ และคำถามวิจัย #Points บ่งบอกข้อมูลพื้นฐานของเรื่องพอสังเขป(ไม่ควรใส่เนื้อหาที่ไกลตัวมากนัก) ประเด็นปัญหาที่น่าสนใจหรือเป็นเหตุจูงใจ โดยอ้างอิงข้อมูลเชิงประจักษ์ พยายามอ้างผลงานวิจัยหรือวรรณกรรมอื่นๆ มาใช้ประกอบประเด็นปัญหา บอกให้ชัดว่าตนเองจะศึกษาวิจัยในประเด็นใด มีคำถามวิจัยอย่างไร 18

19 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal) อธิบายเพิ่มเติม : การทบทวนวรรณกรรม(Literature Review) วรรณกรรม(Literature) หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบ เป็นประโยชน์ในการศึกษาโดยสิ่งพิมพ์นั้นต้องเป็นที่น่าเชื่อถือได้ เช่น หนังสือ วารสาร จดหมายเหตุ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ Encyclopedia เอกสารที่เกี่ยวกับทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย เป็นต้น การทบทวนวรรณกรรม จึงเป็นการศึกษาทฤษฎี แนวคิด งานวิจัย ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่ตนสนใจ ช่วยให้สามารถกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยของตนได้ชัดเจนขึ้น และช่วยในการศึกษาวิเคราะห์ รวมทั้งการเสนอแนวคิดใหม่ๆ ในงานวิจัยของตนได้ #Points อย่าเกียจคร้านในการค้นคว้าหาความรู้จากวรรณกรรมชนิดต่างๆ โดยเลือกเฉพาะวรรณกรรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องวิจัยของตนเอง จดบันทึก/รวบรวมแหล่งที่มาและประเด็นสำคัญของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 19

20 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal) อธิบายเพิ่มเติม : คำถามวิจัย (Research questions) หรือประเด็นสำคัญในการวิจัยนั้น ผู้เขียนควรระบุให้ชัดเจนไว้ด้วยว่า คำถามหรือข้อสงสัยใดที่จะต้องศึกษาวิเคราะห์เพื่อให้บรรลุสู่คำตอบที่ต้องการ ประเด็นวิจัยใดที่ต้องสร้างความชัดเจน ซึ่งคำถามวิจัยนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้สามารถ งานวิจัยได้อย่างมีแบบแผนและบรรลุผลสำเร็จได้ #Points คำถามวิจัยที่กำหนดต้องสอดคล้องกับเรื่องที่ทำการวิจัย และต้องสามารถหาคำตอบมาได้ด้วยการวิเคราะห์วิจัย สร้างคำถามที่จะช่วยชี้นำให้เกิดความคิดหรือเกิดการค้นคว้าไปสู่เป้าหมาย องค์กรในปัจจุบันมีปัญหาอะไร ปัจจัยใดที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาและปัจจัยใดที่เป็นสิ่งที่เอื้อให้เกิดการพัฒนา รูปแบบองค์กรที่เหมาะสมและสามารถขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายของงานเป็นอย่างไร 20

21 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research objectives) หมายถึง ข้อความที่แสดงถึงจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่ต้องการศึกษาค้นคว้า เพื่อให้ได้คำตอบในประเด็นที่สนใจหรือสงสัย วัตถุประสงค์ของการวิจัยมักเป็นคำตอบสุดท้ายในภาพรวมของการทำงานวิจัย ข้อควรระวังในการเขียนวัตถุประสงค์คือ ต้องไม่เขียนในสิ่งที่เป็นกิจกรรมที่จะต้องทำในระห่างการวิจัยเพื่อให้ได้คำตอบสุดท้าย และไม่นำเอาประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยมาใช้ในการเขียน #Points เขียนให้บ่งบอกผลลัพธ์/เป้าหมายของการวิจัยด้วยประโยคที่กระชับ/ชัดเจน ส่วนใหญ่มักขั้นต้นด้วย เพื่อค้นหา..., เพื่อหาความสัมพันธ์..., เพื่อเปรียบเทียบ..., เพื่อพัฒนา..., เพื่อทำนาย...., ฯลฯ หลีกเลี่ยงการเขียนวัตถุประสงค์ด้วยกิจกรรมย่อยที่เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย 21

22 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal) สมมุติฐานของการวิจัย (Research Hypothesis) สมมุติฐานการวิจัยเป็นข้อความที่คาดคะเนคำตอบของปัญหาการวิจัยไว้ล่วงหน้า โดยคำตอบนั้นเป็นการคาดคะเนอย่างมีเหตุผลบนพื้นฐานของทฤษฎี ประสบการณ์ หรือความเชื่อต่างๆของผู้วิจัย สมมติฐานการวิจัยที่ดีต้องประกอบด้วยเกณฑ์ 2 ประการ คือ เป็นข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและมีความชัดเจนที่สามารถทดสอบความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ และต้องสามารถพิสูจน์หาคำตอบนั้นได้ #Points ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นประโยคบอกเล่าที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป และตอบปัญหาการวิจัยได้ สมมุติฐานจำเป็น หากมีการระบุความสัมพันธ์ที่คาดหวังไว้(เน้นการพิสูจน์) สมมุติฐานไม่จำเป็น หากไม่ได้ระบุความสัมพันธ์ที่คาดหวังไว้(เน้นการค้นหา) 22

23 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal) ขอบเขตของการวิจัย (Scope of Research) เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหา จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง เช่น สาขาวิชา กลุ่มประชากร สถานที่วิจัย ช่วงเวลาที่ศึกษา ระยะเวลา ฯลฯ เงื่อนไขหรือข้อตกลงเบื้องต้น(Assumption) #Points การกำหนดขอบเขตของการวิจัย ช่วยทำให้รู้กรอบเนื้อหาที่จะศึกษาค้นคว้า ปริมาณของข้อมูลที่จะนำมาศึกษาวิเคราะห์ ทฤษฎี/หลักการที่จะใช้ ฯลฯ ช่วยชี้นำให้ผู้อ่านหรือกรรมการผู้ตรวจ มีความเข้าใจเบื้องต้นถึงกรอบเนื้อหาในการวิจัยได้ล่วงหน้า และลดการหลงประเด็นของทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน 23

24 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal) วิธีดำเนินการวิจัย (Research methodology) เป็นเสมือนลายแทงที่จะทำให้เชื่อได้ว่าการวิจัยจะดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องและบรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้จริง โดยมากมักระบุว่าจะดำเนินงานวิจัยในรูปแบบใด จะศึกษาหาข้อมูลด้วยวิธีการใดบ้าง จะประยุกต์ใช้เครื่องมือหรือทฤษฎีใดบ้าง จะวิเคราะห์หรือทดลองอย่างไรบ้าง มีขอบเขตการทำวิจัยและกลุ่มประชากรใด มีแบบแผนในการดำเนินงานอย่างไร ฯลฯ #Points เขียนให้เห็นชัดเจนว่าจะทำอะไร ด้วยวิธีการใด(เครื่องมือ/ทฤษฎี/หลักการ) ควรระบุลักษณะของข้อมูลที่ต้องการใช้วิจัย แหล่งข้อมูล วิธีการได้ข้อมูล ควรระบุวิธีปฏิบัติต่อข้อมูลที่ได้มา และวิธีนำทฤษฎี/หลักการไปประยุกต์ใช้ เขียนให้เป็นลำดับตามขั้นตอนที่จะทำการศึกษาวิจัยตั้งแต่ต้นจนปลาย หากเป็นไปได้ ควรเขียนแผนงานในการวิจัยและการเขียนรายงานวิจัยด้วย 24

25 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal Paper)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal Paper) กรอบแนวคิดในการวิจัย(conceptual framework) เมื่อผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูล/ข้อเท็จจริงและทฤษฎี/หลักการที่เกี่ยวข้องมาระดับหนึ่งแล้ว ย่อมสามารถประมวลแนวคิดในการทำงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ระบุความเกี่ยวข้องของทฤษฎี/หลักการและข้อมูล/ข้อเท็จจริงได้ กำหนดความสำพันธ์ของตัวแปรต่างๆได้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย การเขียนบรรยาย/เขียนแผนภาพ/เขียนแบบจำลองแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรหรือปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นปัจจัยและกระบวนการต่างๆในการวิจัยนั้น ก็คือการเขียน "กรอบแนวคิดในการวิจัย" นั่นเอง #Points ให้เขียนกรอบแนวคิดในการวิจัยใส่ไว้ท้ายหน้าของเอกสารโครงเรื่องวิจัย และเขียนไว้ในท้ายบทที่ 1 ของเอกสารประจำภาค/เอกสารวิจัยด้วย กรอบแนวคิดเปลี่ยนแปลงได้เมื่อทำการวิจัยไประดับหนึ่ง(แก้ไขภายหลังได้) 25

26 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal Paper)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal Paper) ตัวอย่าง กรอบแนวคิดในการวิจัย งานวิจัยเรื่อง แนวทางปรับปรุงคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหาร กรอบแนวคิดในการวิจัย แบบอธิบายความ : องค์ประกอบของมาตรฐานการประเมินคุณภาพของ สมศ. มีความแตกต่างกันกับปัจจัยทางการศึกษาของโรงเรียนทหาร ควรมีแนวปฏิบัติที่การให้ความสำคัญกับนโยบายการผลิตกำลังพลและความคาดหวังของหน่วยผู้ใช้ แบบเขียนผังภาพ : (ควรเขียนทั้งอธิบายความและผังภาพ) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการศึกษา นโยบาย ทร. ระดับของผลกระทบต่อคุณภาพผู้เรียน ความต้องการ ความคาดหวังของหน่วย ผู้เรียน หลักสูตร อาจารย์ หลักสูตร การบริหาร ผลสำรวจ ผลประเมิน ผู้เรียน หลักสูตร อาจารย์ หลักสูตร การบริหาร สัมภาษณ์ มาตรฐานการศึกษาและเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา แนวทางการปรับปรุงคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา 26

27 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการคาดหมายว่าเมื่อทำเสร็จแล้ว ผลการวิจัยจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร (ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการนำผลการวิจัยที่ทำเสร็จแล้วไปใช้) เช่น การนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบาย ใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงาน ใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจ ใช้ในการแก้ปัญหาหรือทำวิจัยต่อไป เป็นต้น #Points อย่าเขียนว่า “ทำให้ทราบถึง...(ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาวิจัยของตน)... แสดงให้เห็นว่าผลการวิจัยของตน สามารถนำไปให้ใครใช้ประโยชน์ได้อย่างไร แสดงให้เห็นว่าผลการวิจัยของตนได้ความรู้ใหม่ๆหรือแนวปฏิบัติใหม่ๆ ที่จะช่วยพัฒนาวิชาการในสาขาใดๆ หรือพัฒนานวัตกรรมแก่หน่วยงานใดได้ 27

28 การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal)
กองเอกสารวิจัย ฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ การเขียนเอกสารโครงเรื่องวิจัย(Full Proposal) โครงสร้างเนื้อหาเอกสารประจำภาค/เอกสารวิจัย ท้ายเอกสารโครงเรื่องวิจัยนั้น ให้เขียนโครงสร้างเนื้อหาแต่ละบทในเอกสารประจำภาค/เอกสารวิจัยไว้ด้วย เพื่อให้กรรมการได้ทราบในเบื้องต้นว่าจะมีเนื้อหาอะไรบ้างที่ผู้เขียนกำหนดไว้เบื้องต้น และอาจให้คำแนะนำเพิ่มเติมให้ปรับแต่งเนื้อหาในแต่ละบทให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โครงสร้างเนื้อหาของเอกสารประจำภาค/เอกสารวิจัย บทที่ 1 เนื้อหาเหมือนกับเอกสารโครงเรื่องวิจัย และข้อมูลอื่นๆ(เช่น นิยามศัพท์) บทที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานของเรื่อง ข้อเท็จจริงของปัญหา วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประเด็นปัญหาที่สนใจ คำถามวิจัย กรอบแนวความคิดในการวิจัย บทที่ 3 ทฤษฎี หลักการ แนวปฏิบัติที่ดี กรณีศึกษา กฎเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ บทที่ 4 การวิเคราะห์/สำรวจต้นเหตุของปัญหา การเปรียบเทียบเพื่อหาความแตกต่างหรือทำนายแนวโน้มอนาคต การเสนอแนวทาง/ความรู้ใหม่ ฯลฯ บทที่ 5 บทสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 28


ดาวน์โหลด ppt การเขียนเอกสารประจำภาค/เอกสารวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google