สื่อการสอน
ความหมาย สื่อการสอน คือ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์ จะส่ง หรือถ่ายทอด ไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า
สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไป โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียน หรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
สิ่งที่เห็นด้วยความคิด การจำแนกสื่อการสอน รูปธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูปเสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย นามธรรม คือ ความคิด ความเห็น หรือข้อความที่อ้างถึงปรากฏการณ์ ที่ก่อให้เกิด เหตุการณ์หนึ่งหนึ่ง การใช้อารมณ์ในการสร้างเกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ ดังนั้นความแตกต่าง รูปธรรม คือ นามธรรม คือ สิ่งที่เป็นรูปร่าง สิ่งที่เห็นด้วยความคิด
การจำแนกสื่อการสอน สิ่งที่เห็นด้วยความคิด สิ่งที่เป็นรูปร่าง
การจำแนกสื่อการสอน 1.ประสบการณ์ตรง 2.ประสบการณ์รอง 3.ประสบการณ์การแสดง 4.การสาธิต 5.การศึกษานอกสถานที่ 6.นิทรรศการ 7.โทรทัศน์ และโทรทัศน์การศึกษา 8.ภาพยนตร์ 9.การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง 10.ทัศนสัญลักษณ์ 11.วัจนสัญลักษณ์
การจำแนกสื่อการสอน 1.ประสบการณ์ตรง เป็นรูปธรรมมากที่สุด โดยผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง สถานการณ์จริง หรือด้วยการกระทำของตนเอง
การจำแนกสื่อการสอน 2.ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียน ได้เรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียง ความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งอาจให้เรียนจากของจำลอง หรือสถานการณ์จริง เป็นการจำลองการสอนขับเครื่องบินในห้องจำลอง ของบ.การบินไทย
3.ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เพื่อเป็นการจัด ประสบการณ์ให้ผู้เรียน ในเนื้อหาที่มีข้อจำกัด หรือเรื่องราวที่เป็น นามธรรมเป็นต้น
การจำแนกสื่อการสอน 4.การสาธิต เป็นการแสดงประกอบอธิบาย เพื่อให้เห็นลำดับขั้นของการกระทำนั้น ๆ
การจำแนกสื่อการสอน 5.การศึกษานอกสถานที่ เป็นการให้ผู้เรียนได้รับและเรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ
การจำแนกสื่อการสอน 7. โทรทัศน์ และโทรทัศน์การศึกษา 7. โทรทัศน์ และโทรทัศน์การศึกษา เพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนทั้งที่อยู่ในห้องเรียนและที่อยู่ทางบ้าน การสอนนี้อาจเป็นการสอนสดหรือเป็นการบันทึกเทปไว้ก็ได้
การจำแนกสื่อการสอน 6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ จัดป้ายนิเทศ เพื่อให้สารประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม เป็นการให้ประสบการณ์แก่ผู้ที่ได้ชม ที่หลากหลาย
การจำแนกสื่อการสอน 8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนแผ่นฟิล์ม เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ ทั้งภาพและเสียง
การจำแนกสื่อการสอน 9.การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจจะเป็นในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียงหรือวิทยุ ซึ่งจะใช้เสียงเพียง อย่างเดียว ส่วนของภาพนิ่งอาจจะเป็นภาพสไลด์ ภาพวาด ข้อมูลในสื่อ ประเภทนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้
การจำแนกสื่อการสอน 10.ทัศนสัญลักษณ์ ได้แก่ แผนภูมิ แผนที่ เป็นต้น ซึ่งเป้นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความจริง ของสิ่งต่างๆ แผนภูมิวงกลม แผนที่โลก
การจำแนกสื่อการสอน 11.วัจนสัญลักษณ์ เป็นประสบการณ์ขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ ภาษาเขียน และเสียงพูดในภาษาพูด
จากกรวย สื่อการสอน จะเห็นได้ว่า จากกรวย สื่อการสอน จะเห็นได้ว่า จากฐานของกรวย... ขั้นที่1-6 จะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ขั้นที่7-9 จะเป็นการถ่ายทอดด้วยสื่อประเภทภาพและเสียง ขั้นที่ 10-11 จะเป็นการเรียนรู้จากสัญลักษณ์ ทั้งตัวอักษร เป็นนามธรรมมากที่สุด
ขั้นที่10-11 ขั้นที่7 - 9 ขั้นที่1- 6 (สิ่งที่เป็นรูปร่าง) เรียนรู้จากสัญลักษณ์ ทั้งตัวอักษร (สิ่งที่เห็นด้วยความคิด) ขั้นที่10-11 เป็นการถ่าย ทอดด้วยสื่อประเภทภาพและเสียง ขั้นที่7 - 9 ขั้นที่1- 6 เป็นการเรียน รู้ด้วยตนเอง
จากกรวย จึงมีการจำแนกสื่อ ออกเป็น 3 ประเภท 1. สื่อประเภทวัสดุ (Software) สื่อที่มีขนาดเล็ก สามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น หนังสือเรียน ตำรา ของจริง ลูกโลก รูปภาพ ป้ายนิเทศ เป็นต้น บางครั้งก็อาศัยสื่อใหญ่พวก Hardware สำหรับนำเสนอ เช่น แผ่นสไดล์ ฟิล์มภาพยนตร์ ม้วนเทปบันทึกเสียง 2. สื่อประเภทอุปกรณ์ (Hardware ) สื่อที่ประกอบด้วยกลไกไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์ เช่น เครื่องฉายทั้งหลาย เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพโปร่งใส เครื่องรับ โทรทัศน์และวิทยุ เครื่องเล่นจานเสียง และเครื่องบันทึกเสียง ตลอดจน เครื่องสอนและคอมพิวเตอร์
จากกรวย จึงมีการจำแนกสื่อ ออกเป็น 3 ประเภท 3. สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ (Technique or Method) การสื่อสาร การถ่ายทอดประสบการณ์ บางครั้งไม่อาจทำได้ด้วยการใช้เพียงวัสดุ หรือเครื่องมือ แต่จะต้องใช้ขบวนการ หรือการแสดงกรรมวิธี คือใช้ ทั้งวัสดุ เครื่องมือ และวิธีการไปด้วยกัน แต่เน้นและย้ำที่ เทคนิคหรือวิธีการเป็นสำคัญ เช่น ครูที่ต้องการสอนวิธีการตอนต้นไม้ ครูต้องอาศัยสื่อ ไม่แค่เพียง ต้นไม้ มีด แผนภูมิขั้นตอนในการทำ แต่ ครูจะต้องใช้ เทคนิคของการสาธิตให้เห็นวิธีการที่ถูกต้องในการตอน ตั้งแต่ต้นจนจบ
สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบ (Multimedia) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถผสมผสานระหว่างข้อความ ข้อมูล ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ มาผสมผสานเข้ด้วยกัน สื่อประสมหรือมัลติมีเดีย หมายถึงการนำเอาสื่อหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน ความหมายของสื่อประสมในสมัยใหม่ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้มากขึ้น สามารถใช้งานได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง ข้อความและภาพเคลื่อนไหว การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์หลาย ๆ อย่าง จะต้องอาศัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) และอุปกรณ์ (Hardware) ต่าง ๆ ประกอบกัน บางครั้ง จึงเรียกว่าสถานีปฏิบัติการมัลติมีเดีย
สถานีปฏิบัติการสื่อประสม ในแต่ละสถานีปฏิบัติการจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลายชนิดต่อเชื่อมกันเพื่อ เสนอข้อมูลโดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางสั่งการทำงาน หมายถึง การรวบรวมอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งในระบบอะนาล็อก (analog) และระบบดิจิตอล (digital) เข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
สถานีปฏิบัติการสื่อประสม
คุณค่า ของสื่อการสอน 1. เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน 3. การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันและเกิดประสบการณ์ร่วมกัน 4. ช่วยผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น 5. ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ 6. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
สื่อกับผู้สอน 1. สื่อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการ สอนน่าสนใจยิ่งขึ้น มีความสนุกสนานในการสอน และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย 2. สื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา 3. เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อการสอน
หลักการเลือกสื่อการสอน 1. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน 2. จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ประกอบ หรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อใช้นำบทเรียน ใช้ในการประกอบคำอธิบาย 3. ต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของสื่อชนิดต่างๆ แต่ละชนิดว่า เช่น ของจริงและของจำลองใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรง สไลด์และฟิล์มสตริป ใช้เพื่อเสนอภาพนิ่งขนาดใหญ่ให้ผู้เรียนเห็นได้ทั้งชั้น 4. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายใน และภายนอกสถาบันการศึกษา
การเลือกสื่อการสอนให้สัมพันธ์กับ ขนาดของกลุ่มผู้เรียนและกิจกรรม การที่ครูผู้สอนจะใช้สื่อการสอนประเภทใด หรือขนาดใดนั้น ย่อมจะต้อง เลือกให้มีความเหมาะสมกับขนาดของกลุ่มผู้เรียนและมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมอันก่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนด้วย โดยควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 1.พิจารณาขนาดของกลุ่มผู้เรียนว่ามีขนาดใด 2. ประสบการณ์การเรียนรู้ 3. ลักษณะสื่อการสอน
ขั้นตอนการใช้สื่อการสอนกับผู้เรียน 1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังเรียนสื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ เป็นสื่อที่เป็นแนวปัญหาหรือเพื่อให้ผู้เรียนคิดและควรเป็นสื่อที่ง่าย ต่อการนำเสนอในเวลาอันสั้น เช่น ภาพ บัตรคำ หรือบัตรปัญหา เป็นต้น 2. ขั้นดำเนินการสอน เป็นขั้นสำคัญในการเรียนเพราะเป็นจุดเริ่มที่จะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนต้องมีการจัดลำดับขั้น ตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนการใช้สื่อ เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ แผ่นโปร่งใส วิดีทัศน์ เทปเสียงหรือชุดการเรียน เป็นต้น
ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน กับผู้เรียน 3. ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ เป็นประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองนำความรู้ด้านทฤษฎีหรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในการฝึกหัด โดยการลงมือฝึกปฏิบัติเอง โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด 4. ขั้นสรุปบทเรียน เป็นขั้นตอนการย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจถูกต้อง ขั้นสรุปนี้ควรใช้ระยะเวลาเพียงสั้นๆ สื่อที่ใช้สรุปควรให้ครอบคลุมเช่น แผนภูมิ แผ่นโปร่งใส เป็นต้น 5. ขั้นประเมินผลผู้เรียน เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปได้ถูกต้องเพียงใด สื่อในขั้นการประเมินผลนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียน หรืออาจเป็นการสอบโดยการปฏิบัติจากสื่อ หรือการกระทำของผู้เรียนเพื่อทดสอบดูว่าผู้เรียนสามารถมีทักษะการฝึกปฏิบัติอย่างถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
หลักการใช้สื่อการสอน ผู้สอนจำเป็นต้องมีหลักการในการใช้สื่อการสอนตามลำดับ ดังนี้ 1. เตรียมตัวผู้สอน เป็นการเตรียมตัวในการอ่าน ฟัง หรือ ดูเนื้อหาที่อยู่ในสื่อ 2. จัดเตรียมสภาพแวดล้อม จัดเตรียมวัสดุเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้พร้อม 3. เตรียมพร้อมผู้เรียน เป็นการเตรียมตัวผู้เรียนโดยมีการแนะนำ หรือให้ความคิดรวบยอด 4. การใช้สื่อ ผู้สอนจะต้องใช้สื่อให้เหมาะสมกับขั้นตอนที่เตรียมไว้ 5. การติดตามผล หลังจากมีการเสนอสื่อแล้ว ควรมีการติดตามผล โดยให้ผู้เรียนตอบคำถาม หรือทำแบบฝึกหัด หลังชั่วโมง
การประเมินผลสื่อการสอน ผู้สอนจะต้องมีการวิเคราะห์เช่นกันว่ามีการ ใช้สื่ออย่างเหมาะสม และเป็น ไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ดังนั้นจึงควรจะต้องมีการประเมินผล การใช้สื่อการสอนตามขั้นต่างๆ ดังนี้ 1.ประเมินการวางแผนการใช้สื่อ เพื่อดูว่าสิ่งต่างๆ ที่วางไว้สามารถดำเนินไปตามแผนหรือไม่ 2.ประเมินกระบวนการการใช้สื่อ เพื่อดูว่าการใช้สื่อในแต่ละขั้นตอนประสบปัญหาหรือ อุปสรรคอย่างไรบ้าง 3.ประเมินผลที่ได้จากการใช้สื่อ เป็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดย ตรงว่า เมื่อเรียนแล้วผู้เรียนสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่
การวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อการสอน ผู้สอนจะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ได้ตั้งไว้ รูปแบบจำลองมีลำดับขั้นตอนดังนี้ 1. การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน : Analyze Learner Characteristics 2. การกำหนดวัตถุประสงค์ : State Objectives 3. การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบ : Select , Modify , or Design Materials สื่อใหม่ 4.การใช้สื่อ : Utilize Materials 5.การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน : Require Learner Response 6. การประเมินผล : Evaluation
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน การที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะของผู้เรียน ในเรื่องนี้ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน ลักษณะทั่วไปได้แก่ อายุ ระดับความรู้ สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของผู้เรียน สิ่งที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ 1. ทักษะที่มีมาก่อน ( prerequisite skills ) จะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐาน 2. ทักษะเป้าหมาย ( target skills ) จะดูว่าผู้เรียนมีความชำนาญในทักษะที่จะเรียนนั้น มาก่อนหรือไม่ 3. ทักษะในการเรียน ( study skills ) จะตรวจสอบดูว่า ผู้เรียนมีความสามารถขั้นต้นทาง การเรียน 4. ทัศนคติ ( attitudes ) เพื่อดูว่าผู้เรียนมีทัศนคติอย่างไรต่อวิชาที่จะเรียนนั้น
ประเภทของสื่อการสอน สื่อการสอนแต่ประเภทย่อมมีข้อดีและข้อจำกัดในตัวของมัน ดังนั้น ก่อนที่จะนำไปใช้ จึงควรศึกษาถึงข้อดีและและจำกัดของสื่อการสอนประเภทนั้นๆ ให้เข้าใจเสียก่อน เพื่อให้การใช้สื่อการสอนเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด เช่น 1.สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ 7.กระดานแม่เหล็ก 13.วิทยุเพื่อการศึกษา 2.ของจริงหรือของตัวอย่าง 8. แผ่นโปร่งใส 1.4 บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน 3.ของจำลอง 9.สไลด์ 15.อินเทอร์เน็ต 4.วัสดุกราฟิก 10.ภาพยนต์ 5.กระดานดำหรือกระดานขาว 11.โทรทัศน์วงจรเปิด 6.กระดานผ้าสำลี 12.วีดิทัศน์
ประเภทของสื่อการสอน 1.สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ 3.ของจำลอง 2.ของจริงหรือของตัวอย่าง
ประเภทของสื่อการสอน 4.วัสดุกราฟิก 5.กระดานดำหรือกระดานขาว 6.กระดานผ้าสำลี
ประเภทของสื่อการสอน 7.กระดานแม่เหล็ก 9.สไลด์ 8. เครื่องแผ่นโปร่งใส
ประเภทของสื่อการสอน 11.โทรทัศน์วงจรเปิด 10.เครื่องทำภาพยนต์ 12.วีดิทัศน์เพื่อการศึกษา
ประเภทของสื่อการสอน 13.วิทยุเพื่อการศึกษา 1.4 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) 15.อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
16.กระดานชอล์ค 17.กระเป๋าผนัง 18.แผ่นป้ายไฟฟ้า
19.การผนึกภาพ 20เครื่องฉายฟิล์มสตริป 21เครื่องฉายวิชัวลไลเซอร์
22.ระบบวิดีโอปฏิสัมพันธ์ 23.สื่อหลายมิติ
หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน 1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่ 2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่ 3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน 4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน 5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่
หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน 6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่ 7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี 8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่ 9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่ 10. ช่วยกระตุ้นความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
ทำแบบฝึกหัด...