การจัดการความปลอดภัยการขนส่งทางท่อและวัตถุอันตราย เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการ กอสส. การจัดการความปลอดภัยการขนส่งทางท่อและวัตถุอันตราย ( Pipeline and Hazardous Materials Safety Administration ) นำพูดคุยโดย รศ.ดร.เริงชัย ตันสกุล และนางสาวอรวรรณ แก้วโพธิ์คา วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 10.00 - 11.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงาน กอสส. ชั้น 10 อาคารสาธารณสุขวิศิษฏ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นิยามศัพท์ Pipeline ท่อ หมายความว่า ท่อรูปทรงกระบอก เป็นเส้นทางไหลผ่านของเหลวอันตราย หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง อ้างอิง : ELECTRONIC CODE OF FEDERAL REGULATIONS หัวข้อ 49 การขนส่ง : ส่วนที่ 195 การขนส่งของเหลวอันตรายทางท่อ Hazardous Materials การกำหนดวัตถุอันตราย โดยเลขาธิการจะต้องกำหนดวัตถุ (รวมถึง วัตถุระเบิด สารกัมมันตภาพรังสี สารติดเชื้อ ของเหลว ของแข็ง หรือก๊าซ ความเป็นพิษ สารออกซิไดซ์ หรือมีฤทธิ์กัดกร่อน และก๊าซความดัน) หรือกลุ่มหรือชั้นของวัตถุที่เป็นอันตราย ซึ่งการขนส่งวัตถุอันตรายอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ และความปลอดภัยต่อทรัพย์สิน อ้างอิง : US code หัวข้อ 49 การขนส่ง : หมวดที่ 51 การขนส่งวัตถุอันตราย 1
ประเทศสหรัฐอเมริกา Pipeline and Hazardous Materials Safety Administration : PHMSA PHMSA เป็นหน่วยงานจัดการความปลอดภัยการขนส่งทางท่อและวัตถุอันตราย ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหน้าที่พัฒนาและบังคับใช้กฎระเบียบเพื่อความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีระบบการขนส่งทางท่อระยะทางกว่า 2.3 ล้านไมล์ และการจัดส่งวัตถุอันตรายต่างๆ ทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ 2
เป้าหมาย - ความปลอดภัย : เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อผู้คน - การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม : เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม - ความน่าเชื่อถือ : เพื่อช่วยรักษาและปรับปรุงให้มีความน่าเชื่อถือของระบบการ ขนส่งพลังงานและวัตถุอันตรายอื่น ๆ - การเชื่อมต่อทั่วโลก : เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและ ปลอดภัย - การเตรียมพร้อมและการตอบสนอง : เพื่อลดผลกระทบ (เป็นอันตรายต่อคน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ) 3
แผนที่ท่อในประเทศสหรัฐอเมริกา แผนที่ท่อในประเทศสหรัฐอเมริกา ณ เดือนกันยายนปี 2015 สีแดงเป็นของเหลวที่เป็นของเหลวซึ่งรวมถึงน้ำมันดิบ ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Pipeline_and_Hazardous_Materials_Safety_Administration#/media/File:NPMS_Gas_Transmission_and_Hazardous_Liquid_Pipelines_in_the_United_States.jpg 4
สำนักงานความปลอดภัยการขนส่งทางท่อ ( Office of Pipeline Safety ) เป็นการดูแลระบบท่อขนส่งถึง 2.3 ล้านไมล์ (3,701,491 กิโลเมตร) ซึ่งเป็นการขนส่งก๊าซธรรมชาติ และของเหลวอันตราย ที่มา : https://www.phmsa.dot.gov/about/org สำนักงานความปลอดภัยวัตถุอันตราย( Office of Hazardous Materials Safety) เป็นการดูแลการขนส่งวัตถุอันตรายทางอากาศ ทางรถไฟ ทางหลวง และทางน้ำ 5
สำนักงานความปลอดภัยการขนส่งทางท่อ ( Office of Pipeline Safety ) ดูแลระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัยของท่อ ดูแลการดำเนินงานของระบบท่อในการจัดการความเสี่ยง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับการศึกษาความปลอดภัยของท่อ และรายงานผล พัฒนาและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาลกลางและท้องถิ่น เพื่อแก้ไขปัญหา ให้มีความน่าเชื่อถือ และความรับผิดชอบต่อระบบท่อขนส่ง ให้มีความปลอดภัย ที่มา : https://primis.phmsa.dot.gov/comm/PipelineBasics.htm?nocache=3866 6
สำนักงานความปลอดภัยวัตถุอันตราย ( Office of Hazardous Materials Safety) พัฒนากระบวนการและระเบียบเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายโดยทางรถไฟ ทางหลวง เครื่องบิน หรือเรือ ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค และการสนับสนุนเกี่ยวกับความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตรายแก่รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น พัฒนานโยบายด้านกฎระเบียบ การวางแผน วิจัย วิเคราะห์ และข้อมูลด้านสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ข้อบังคับ กฎหมาย หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งวัตถุอันตราย รวบรวมและประมวลผลข้อมูลเหตุการณ์ ที่มา : https://www.phmsa.dot.gov/careers/careers-in-hazmat-safety 7
อ้างอิง : Code of federal regulations กฎระเบียบ PHMSA มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุม และสร้างความมั่นใจในการเคลื่อนย้ายวัตถุอันตรายไปยังอุตสาหกรรม และผู้บริโภคโดยการขนส่งทุกรูปแบบรวมทั้งท่อ สำนักงานเพื่อความปลอดภัยของวัตถุอันตราย กฎระเบียบของรัฐบาลกลาง (หัวข้อ 49 การขนส่ง ส่วนที่ 100-185) ข้อกำหนด การตอบสนองเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน การฝึกอบรมและแผนการรักษาความปลอดภัย สำนักงานความปลอดภัยการขนส่งทางท่อ กฎระเบียบของรัฐบาลกลาง (หัวข้อ 49 การขนส่ง ส่วนที่ 190-199) การบังคับใช้และขั้นตอนการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย มาตรฐานความปลอดภัย อ้างอิง : Code of federal regulations 8
องค์ประกอบ ใบอนุญาตพิเศษและการอนุมัติ ความปลอดภัย การเตรียมความพร้อมและตอบสนอง การรายงานเหตุการณ์ โครงการของรัฐและเงินทุน องค์ประกอบ 9
ที่มา : https://www.phmsa.dot.gov/special-permits-approvals ใบอนุญาตพิเศษและการอนุมัติ PHMSA มีหน้าที่หลักในการออกใบอนุญาตและการ อนุมัติ สำหรับท่อส่งก๊าซธรรมชาติและของเหลวที่เป็นอันตราย เช่น การอนุมัติ/อนุญาตการขนส่งวัตถุอันตราย (วัตถุระเบิด) ที่มา : https://www.phmsa.dot.gov/special-permits-approvals 10
ความปลอดภัย PHMSA มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ความปลอดภัย และมีคู่มือการรักษาความปลอดภัยโดยใช้เพื่อประเมินความเสี่ยง การกำหนดระดับความเสี่ยงและการ จัดการความเสี่ยง เป็นต้น ที่มา : https://www.phmsa.dot.gov/staticfiles/PHMSA/DownloadableFiles/Hazmat/Hazmat%20Training/Enhanced%20Security%20Brochure.pdf 11
การเตรียมความพร้อมและการตอบสนอง สิ่งสำคัญที่จะต้องตระหนักถึง คือ การเตรียมตัวให้พร้อม การวางแผน การฝึกอบรมความปลอดภัย การเพิ่มขีดความสามารถของคน การช่วยเหลือในเหตุฉุกเฉิน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งทางท่อ เพื่อให้มั่นใจว่ามีการเตรียมพร้อม และการตอบสนองเพื่อรับมือกับวัตถุอันตรายหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับท่อขนส่ง เจ้าหน้าที่ฉุกเฉินในพื้นที่ มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผน ประสานงาน และดำเนินการเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน และการตอบสนองต่อเหตุการณ์ ที่มา : https://www.phmsa.dot.gov/preparerespond 12
การรายงานเหตุการณ์ PHMSA จะรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง รวมทั้งตำแหน่ง สาเหตุ และผลกระทบ เพื่อประเมินแนวโน้มด้านความปลอดภัยและนำมาพัฒนาโครงการใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในระบบการขนส่ง ที่มา : https://www.phmsa.dot.gov/incident-report 13
โครงการของรัฐและเงินทุน โครงการเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉินเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ( HMEP) ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และทางเทคนิค คำแนะนำ การวางแผน แผนฉุกเฉิน และการฝึกอบรมในเรื่องเหตุฉุกเฉิน โครงการทุนสนับสนุนก๊าซธรรมชาติและของเหลวอันตราย ได้แก่ การมอบทุนสนับสนุนแก่หน่วยงานของรัฐที่ได้รับการรับรองในโครงการความปลอดภัยในท่อขนส่งก๊าซ ที่มา : https://www.phmsa.dot.gov /grants-state-programs 14
Our vision is to make PHMSA the most innovative transportation safety organization in the world 15
ประเทศไทย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎกระทรวง เรื่อง ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การขนส่งวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติ เรื่องวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติ เรื่อง ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการติดตั้งป้ายหรือเครื่องหมายเตือนแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง ถังเก็บน้ำมัน ระบบท่อน้ำมัน และอุปกรณ์ของคลังน้ำมัน พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กําหนด วิธีการและเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ๒๕๕๕ 16
การขนส่งทางท่อ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเชื้อเพลิง กระทรวงพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน วัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา http://www.marinerthai.net/forum/ index.php?topic=7696.0 17
Administration. Retrieved July 3, 2017, from https://www.phmsa.dot.gov เอกสารอ้างอิง U.S. Department of Transportation. (2014). Pipeline and Hazardous Materials Safety Administration. Retrieved July 3, 2017, from https://www.phmsa.dot.gov U.S. Government publishing office. (2017). ELECTRONIC CODE OF FEDERAL REGULATIONS. Retrieved July 24, 2017, from https://www.ecfr.gov/cgi- bin/textidx?SID=1d49a3b137cb1b6fc45251074e634b44&c=ecfr&tpl =/ecfrbrowse/Title49/49cfrv3_02.tpl Wikipedia. (2017). Pipeline and Hazardous Materials Safety Administration. Retrieved July 3, 2017, from https://en.wikipedia.org/wiki/Pipeline_and_ Hazardous_Materials_Safety_ Administration 18
Thank you!