เรื่อง หลักการเขียนโปรแกรม เบื้องต้น จัดทำโดย นางสาวชาดา ศักดิ์บุญญารัตน์
การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องมีการวางแผนและออกแบบ โปรแกรม โดยกำหนดขั้นตอนวิธีการทำงาน ให้ชัดเจน ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบโปรแกรม (Program Design) ขั้นตอนที่ 3 การเขียนโปรแกรม (Program Coding) ขั้นตอนที่ 4 การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing & Verification) ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำเอกสารและคู่มือการใช้งาน (Program Documentation) ขั้นตอนที่ 6 การใช้งานจริง (Program Implement) ขั้นตอนที่ 7 การปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรม (Program Maintenance)
ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาสามารถจำแนก ได้ดังนี้ 1. กำหนดขอบเขตของปัญหา - กำหนดจุดประสงค์การทำงาน - กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน - ศึกษาวิธีการแก้ปัญหา - กำหนดข้อจำกัด 2. กำหนดผลลัพธ์ 3. กำหนดข้อมูลนำเข้า 4. วิธีการประมวลผล
1. การออกแบบโปรแกรมโดยใช้ อัลกอริธึม (Algorithm) เป็นการอธิบาย ถึงลำดับขั้นตอนการทำงานของการแก้ปัญหา 2. การออกแบบโปรแกรมโดยใช้ รหัสจำลอง (Pseudo Code) เป็นการออกแบบขั้นตอน การทำงาน ของโปรแกรมโดยการใช้ข้อความ ภาษาอังกฤษที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ 3. การออกแบบโปรแกรมโดยใช้ ผังงาน (Flowchart) การใช้สัญลักษณ์รูปภาพ หรือ กล่องข้อความบรรยายรายละเอียดการทำงาน และใช้ลูกศรบอกทิศทางลำดับของการทำงาน
โดยการนำแนวคิดจาก อัลกอริธึม หรือผัง งานมาแปลงให้อยู่ในรูป คำสั่งคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยความรู้และทักษะ การเขียนโปรแกรมและใช้ ภาษาคอมพิวเตอร์รวมทั้งเครื่องมือช่วยในการ เขียนโปรแกรมต่างๆ - เลือกภาษาที่เหมาะสม - ลงมือเขียนโปรแกรม
การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม เป็น ขั้นตอนการตรวจสอบ โปรแกรมที่เขียนได้ ว่าทำงานถูกต้องตรงตาม ความต้องการ ความผิดพลาด (Errors) ที่สามารถ เกิดขึ้นได้ มีดังนี้ - Syntax Error ความผิดพลาดที่เกิด จากการใช้คำสั่งผิดรูปแบบ การเขียนคำสั่งผิด เช่น คำสั่ง while( ) เป็น WHILE( ) - Logic Error ความผิดพลาดที่เกิดจากการ ที่โปรแกรมทำงาน ผิดไปจากขั้นตอนที่ควรจะเป็น
การจัดทำเอกสารและคู่มือการใช้งาน จัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับระบบหรือการเขียนโปรแกรม ได้แก่ - คู่มือสำหรับผู้ใช้โปรแกรม - คู่มือสำหรับผู้เขียนโปรแกรม
การใช้งานจริง เป็นขั้นตอนสำคัญ หลังจากทำการทดสอบและ แก้ไขโปรแกรมให้มีความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โดยการนำโปรแกรมไปใช้ งานจริงด้วยการป้อนข้อมูลต่างๆ สภาวะแวดล้อม และสถานการณ์ต่างๆ โดยผู้ใช้งานโปรแกรมสามารถทำงานตามฟังก์ชั่น และทำตามจุดประสงค์ ของโปรแกรมที่เขียนไว้ ขั้นตอนการใช้งานจริง ของโปรแกรม หากพบ ข้อผิดพลาดก็สามารถปรับปรุง แก้ไข โปรแกรม ให้ถูกต้องได้
การเขียนโปรแกรมที่ดีต้องมีขั้นตอน การปรับปรุงและพัฒนา โปรแกรมให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และตรงกับ ความต้องการของผู้ใช้ มากที่สุด โดยทั่วไปโปรแกรมที่ใช้งานจะ ประกอบด้วยหลายๆรุ่น เช่นรุ่น ทดสอบ (Beta Version) และ รุ่นที่ใช้งานจริง (Release Version) และต้องมี การปรับเปลี่ยนโปรแกรมให้ดีขึ้น ดังตัวอย่างเช่น โปรแกรมเวอร์ชัน 1 มี การเพิ่มเติม ปรับปรุง แก้ไขโปรแกรมเป็นเวอร์ชัน 1.2 เป็นต้น
ปัญหาที่ 1 จงคำนวณหาพื้นที่ของรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีด้านกว้าง 3 นิ้ว ด้านยาว 5 นิ้ว 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เพื่อคำนวณหาพื้นที่รูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วออกเป็นรายงาน 2. พิจารณาข้อมูลนำออก ให้มีการแสดงผลทางจอภาพดังนี้ การคำนวณพื้นที่รูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านกว้าง = 3 ด้านยาว = 5 พื้นที่ (C)
3. พิจารณาข้อมูลนำเข้า 3.1 ตัวเลขขนาดความยาวของด้านกว้าง = ตัวเลขขนาดความยาวของด้านยาว = 5 4. พิจารณาวิธีการประมวลผล 4.1 เริ่มต้นทำงาน 4.2 กำหนดค่า A = กำหนดค่า B = กำหนดค่า C = คำนวณ C = AxB 4.6 แสดงผลการคำนวณ 4.7 หยุดการทำงาน
Start A= 3,B=5,C= 0 C= AxB C Stop
ปัญหาที่ 2 จงคำนวณค่าแรงของพนักงานคน หนึ่งในโรงงานแห่งหนึ่ง โดย ค่าแรงได้จากอัตราค่าแรงคูณด้วยชั่วโมง และหัก ภาษี 10% ได้ค่าแรงสุทธิ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เพื่อคำนวณค่าแรงของพนักงาน แล้ว ออกเป็นรายงาน 2. พิจารณาข้อมูลนำออก ให้มีการรายงานดังนี้
3. พิจารณาข้อมูลนำเข้า
4. พิจารณาวิธีการประมวลผล 4.1 เริ่มต้นทำงาน 4.2 อ่านเลขประจำตัว ชื่อ ชั่วโมงทำงาน อัตราค่าแรง 4.3 ค่าแรง = ชั่วโมงทำงาน คูณ อัตรา ค่าแรง 4.4 ภาษี = ค่าแรง คูณ 10% 4.5 ค่าแรงสุทธิ = ค่าแรง - ภาษี 4.6 พิมพ์หัวข้อรายงาน 4.7 พิมพ์ เลขประจำตัว ชื่อ ค่าแรง ภาษี ค่าแรงสุทธิ 4.8 หยุดการทำงาน
ปัญหาที่ 3 จงคำนวณหาพื้นที่ของรูป สามเหลี่ยม (Area) ที่มีด้านกว้าง (width) 8 เมตร ด้านยาว (Length) 3 เมตร 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน 2. พิจารณาข้อมูลนำออก 3. พิจารณาข้อมูลนำเข้า 4. พิจารณาวิธีการประมวลผล