งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ศันสนีย์ รุ่งรัตน์ธวัชชัย วท.ม.(สรีรวิทยา)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ศันสนีย์ รุ่งรัตน์ธวัชชัย วท.ม.(สรีรวิทยา)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ศันสนีย์ รุ่งรัตน์ธวัชชัย วท.ม.(สรีรวิทยา)
การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ การพยาบาลผู้ป่วยโรคเขตร้อน การพยาบาลผู้ป่วยโรคผิวหนัง ศันสนีย์ รุ่งรัตน์ธวัชชัย วท.ม.(สรีรวิทยา)

2 โรคติดต่อ ( communicable disease)
โรคติดต่อ (Communicable disease) หมายถึง โรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนในร่างกาย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเป็นผลจากตัวเชื้อโรคเอง หรือพิษที่ เชื้อโรคนั้นปล่อยออกมา สามารถติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วย/ แหล่งโรคโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ บางครั้งเรียกว่า โรคติดเชื้อ( Infectious disease) แทนคำว่า โรคติดต่อ

3 การจำแนกการติดเชื้อ จำแนกการติดเชื้อโดยใช้ช่องทางการติดต่อของเชื้อโรค
ทางการหายใจหรือสูดดม นับว่าเป็นทางที่สำคัญที่สุด ผู้ป่วยจะปล่อยเชื้อโรคออกมากับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ โดยการไอหรือจาม เกิดเป็นละอองฝอยกระจายอยู่ในอากาศ ถ่ายทอดให้ผู้อื่นโดยการสูดดมละอองเชื้อโรคเข้าไป ทำให้ติดเชื้อป่วยเป็นโรค ตัวอย่างเช่น วัณโรค ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ไข้คอตีบ ไอกรน และหัด เป็นต้น ทางปาก/การกิน โดยการกินอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน เชื้อโรคจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในลำไส้ ออกมากับอุจจาระแล้วปนเปื้อนกับอาหารหรือเครื่องดื่ม ติดต่อสู่ผู้อื่นต่อไป ตัวอย่างเช่น อหิวาตกโรค บิด ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย โปลิโอตับอักเสบ พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตืดหมู พยาธิตืดวัว พยาธิใบไม้ในปอด และพยาธิตัวจี๊ด เป็นต้น

4 การจำแนกการติดเชื้อ จำแนกการติดเชื้อโดยใช้ช่องทางการติดต่อของเชื้อโรค
ทางผิวหนัง ทางบาดแผล รอยถลอกหรือฉีดยา โดยทั่วไปผิวหนังและเยื่อบุของคนปกติจะสามารถป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้าเกิดบาดแผลหรือรอยถลอก หรือแทงเข็มผ่านไปก็จะทำให้เชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนได้ ตัวอย่างเช่นโรคพิษสุนัขบ้า บาดทะยัก และหนองฝี เป็นต้น ทางเพศสัมพันธ์ โรคที่ติดต่อทางเพศเดิมเคยเรียกว่า กามโรค ปัจจุบันเรียกว่า โรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีมากมายหลายโรค เช่น หนองในซิฟิลิส หูดหงอนไก่ เริม และแผลริมอ่อน ทางรกและช่องคลอด ถ้ามารดามีการติดเชื้อโรคบางอย่างขณะตั้งครรภ์ ทำให้ทารกติดเชื้อ เกิดความพิการแต่กำเนิด แท้ง หรือตายตั้งแต่แรกคลอดเชื้อที่สำคัญได้แก่ ซิฟิลิส หัดเยอรมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ถ้ามารดามีการติดเชื้อบริเวณช่องคลอด ทารกจะได้รับเชื้อโดยการกลืนกิน สูดดมหรือสัมผัสขณะคลอด ทำให้เกิดโรคอาการรุนแรง ตัวอย่างเช่น ตาอักเสบจากหนองใน หนองในเทียม และโรคเริม

5 การจำแนกการติดเชื้อ จำแนกการติดเชิ้อโดยใช้อาการ
การติดเชื้อที่ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้ (fulminant infection) เช่า กาฬโรคที่ปอด โลหิตเป็นพิษจากพวกแบคทีเรียแกรมลบ การติดเชื้อที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแสดงใดๆ แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปให้ผู้อื่นได้ (in apparent หรือ subclinical infection) เช่น การติดเชื้อหนองในของผู้หญิง การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ การติดเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการเมื่อเวลาผ่านไปเป็นเวลายาวนาน อาจเป็นปีภายหลังการได้รับเชื้อนั้นๆ (latent infection) เช่น varicella-zoster virus ซึ่งก่อโรคงูสวัด

6 การจำแนกการติดเชื้อ จำแนกการติดเชื้อโดยแบ่งกลุ่มตามชนิดของเชื้อโรค
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น โปลิโอ หัด พิษสุนัขบ้า เอดส์ เป็นต้น โรคที่เกิดจากเชื้อคลามีเดีย เช่น โรคริดสีดวงตา โรคซิตาโคสิส (psittacosis) เป็นต้น โรคที่เกิดจากเชื้อริคเกตเซีย (rickettsia) เช่น สครับ ไทฟัส มิวรีน ไทฟัส เป็นต้น โรคที่เกิดจากเชื้อมัยโคพลาสมา (mycoplasma) เช่น โรคปอดอักเสบจากเชื้อ mycoplasma เป็นต้น โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (bacteria) เช่น อหิวาตกโรค โรคบิดแบซิลลารี โรคคอตีบ โรคไอกรน โรคบาดทะยัก โรคปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น

7 การจำแนกการติดเชื้อ จำแนกการติดเชื้อโดยแบ่งกลุ่มตามชนิดของเชื้อ โรค
โรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว เช่น โรคบิดอะมีบิค ไข้มาลาเรีย เป็นต้น โรคที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อที่ผิวหนัง โรคที่เกิดจากพยาธิ เช่น โรคพยาธิลำไส้ชนิดต่างๆ พยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิใบไม้ในเลือด โรคเท้าช้าง เป็นต้น โรคที่เกิดจากปรสิตประเภทสัตว์ขาข้อ เช่น หิด เหา โลน โรคที่เกิดจากพิษของสาหร่าย เช่น โรคอาหารเป็นพิษ

8 การจำแนกการติดเชื้อ จำแนกตามกลวิธีหลักในการป้องกันและควบคุมโรค
โดยการสัมผัส สัมผัสโดยตรง จากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งโดยไม่มีวัตถุเป็นสื่อ (person to person) เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ หรือโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ หวัด ไข้หวัดใหญ่ สัมผัสทางอ้อม โดยผ่านทางของใช้ วัตถุสิ่งของ เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ช้อนส้อม ผ้าเช็ดตัว ของเล่น เมื่อคนใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ป่วยก็อาจได้รับเชื้อไปด้วย ทางละอองอากาศ ที่เรียกว่า droplet nuclei ซึ่งเกิดจากการไอ จาม พูดเสียงดัง ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของละอองน้ำลายที่มีเชื้อในระบบทางเดินหายใจออกไปสู่ภายนอก การติดต่อโดยวิธีนี้ หากเกิดภายในรัศมี 1 เมตร จากผู้ไอหรือจาม จัดเป็นการติดต่อโดยการสัมผัส

9 การจำแนกการติดเชื้อ จำแนกตามกลวิธีหลักในการป้องกันและควบคุมโรค
โดยมีตัวกลางเป็นสื่อนำพา อากาศ ส่วนใหญ่โรคทางระบบทางเดินหายใจจะเกิดการแพร่กระจายทางอากาศ การไอ จามที่มีละอองอากาศขนาดเล็กมากๆ ที่เคลื่อนที่ไปไกลจากแหล่งกำเนิดเกินกว่า 1 เมตร จัดเป็นการแพร่ทางอากาศ เช่น การติดต่อของวัณโรค หัด หรือพวกแบคทีเรียหรือราที่มีสปอร์ ก็อาจฟุ้งกระจายในอากาศได้ เช่น สปอร์ของเชื้อบาดทะยัก และเชื้อราที่ก่อโรค histoplasmosis และ coccidioidomycosis น้ำและอาหาร เป็นตัวกลางสำคัญสำหรับโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร น้ำดื่มและน้ำใช้อาจปนเปื้อนหากการเก็บน้ำ หรือแหล่งน้ำบริโภคไม่สะอาดเพียงพอ รวมทั้ง สระว่ายน้ำ และธารน้ำตก แหล่งน้ำทางธรรมชาติ โรคติดต่อทางน้ำได้แก่ อหิวาตกโรค โรคบิดไม่มีตัว ตาแดง หูอักเสบ อาหารที่สุกๆดิบๆ หรือเก็บไว้อย่างไม่ถูกสุขลักษณะก็เป็นแหล่งเพาะเชื้อได้อย่างดี ปลาและเนื้อสัตว์ก็อาจมีพยาธิบางชนิดอยู่ เช่น พยาธิตัวแบน หรือมีที่มาจากสัตว์ที่เป็นโรคตาย(โรคแอนแทรกซ์) เช่นเดียวกับพืชผักบางอย่างโดยเฉพาะพืชน้ำก็เป็นแหล่งอาศัยที่ดีของพยาธิ การรู้จักปรุงอาหารให้ถูกสุขลักษณะจึงมีความสำคัญต่อการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร สิ่งอื่นๆ เช่น เลือด ตัวอย่างส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

10 การจำแนกการติดเชื้อ จำแนกตามกลวิธีหลักในการป้องกันและควบคุมโรค
โดยมีแมลงหรือสัตว์เป็นพาหะ แมลงนำโรคมาสู่คนได้ 2 วิธี คือ Mechanical transmission แมลงเป็นเพียงตัวนำพาจุลชีพซึ่งเกาะอยู่ตามส่วนต่างๆของตัวแมลงมายังอาหารที่จะรับประทาน ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อในอาหาร เมื่อคนรับประทานอาหารก็ได้รับเชื้อไปด้วย Biological transmission วิธีนี้ จุลชีพมีวงชีวิตการเจริญเติบโตภายในตัวแมลง เช่น ยุงดูดเลือดผู้ป่วยโรคมาลาเรีย เชื้อจะเข้าไปเจริญและเพิ่มจำนวนขึ้นภายในตัวยุง เมื่อยุงไปกัดคนอื่น ก็ปล่อยเชื้อมาลาเรียไปยังคนที่ถูกกัดต่อไป

11 พยาธิกำเนิดของโรคติดต่อ
องค์ประกอบที่ทำให้คนเกิดโรค การที่คนจะเกิดโรค ได้ ต้องมีกระบวนการรับเชื้อโรคเข้ามาสู่ร่างกายผ่าน ช่องทางที่เหมาะสม นอกจากนั้น ยังต้องขึ้นกับ ปัจจัยอื่นๆ คือ จำนวนเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจะต้องมีจำนวนมากพอ ความรุนแรงของเชื้อโรค ความต้านทานของร่างกายต่อเชื้อโรค

12 แนวป้องกันและความต้านทานโรคของร่างกาย
แนวป้องกันภายนอก/ภูมิคุ้มกันแบบไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผิวหนังและเยื่อบุผิว กลไกในการขัดขวางไม่ให้เชื้อโรคผ่านแนวต้านทานภายนอกได้ง่าย เช่น การไอและจาม ช่วยผลักดันสิ่งแปลกปลอมจากระบบทางเดินหายใจ การอาเจียน ช่วยขับสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการออกจากระบบทางเดินอาหาร ขนในโพรงจมูก ช่วยกรองอากาศ ไม่ให้ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กจะเล็ดลอดเข้าไปได้ สารคัดหลั่ง (secretion) จากเยื่อบุผิวหรือกรดไขมันและเหงื่อจากผิวหนังมีฤทธิ์ทำลายแบคทีเรียได้บางส่วน น้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ สามารถทำลายเชื้อโรคได้เป็นส่วนมาก น้ำลาย มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อบางชนิด น้ำตา ช่วยทำลายแบคทีเรีย และชะล้างสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในลูกตา และหล่อเลี้ยงไม่ให้เยื่อบุตาแห้ง เชื้อจุลลินทรีย์หลายชนิดที่อาศัยในร่างกาย เช่น Escherichia coli,E. coli ในลำไส้ และ Lacto bacillus ในช่องคลอด เลือด ช่วยชะล้างแผลได้ส่วนหนึ่ง ต่อมาประมาณ 4-8 นาที จะช่วยการแข็งตัวของเลือดเป็นลิ่มอุดบาดแผลไม่ให้เชื้อโรคเข้าได้

13 แนวป้องกันและความต้านทานโรคของร่างกาย
แนวป้องกันภายใน/ภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจง หากเชื้อโรคผ่านแนวป้องกัน ภายนอกเข้าไปได้ เชื้อโรคก็จะถูกต้านทานไว้โดยเซลเม็ดเลือด น้ำเหลือง และต่อม น้ำเหลือง โดยที่เซลเหล่านี้จะทำหน้าที่กินเชื้อโรคโดยระหว่างนี้ก็มีปฏิกิริยาโต้ตอบ ระหว่างเชื้อโรคและเซล ภูมิต้านทานชนิดผ่านแอนติบอดี (humoral immunity) เกิดขึ้นโดยเซลประเภทพลาสมาเซล สร้างสารประเภทโปรตีนที่เรียกว่า อิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin) หรือ antibody ขึ้นมาเป็นองค์ประกอบอยู่ในกระแสเลือด มี 5 ชนิด คือ IgG,IgA,IgM,IgE และ IgD โดย IgGและ IgM ภูมิต้านทานชนิดผ่านเซล (cell-mediated immunity) ทำงานโดยอาศัยเซลเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า T-lymphocytes ซึ่งเมื่อสัมผัสกับเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วจะมีความจดจำ สามารถที่จะค้นหาและเข้าทำลายสิ่งแปลกปลอมชนิดนั้นๆได้

14 กลไกการเกิดโรค ตัวเชื้อลุกลาม (Invasion) เข้าไปในเนื้อเยื่อ เช่น เชื้อ staphylococcus ทำให้เกิดการอักเสบเป็นฝี เนื่องจากเชื้อมีเอนไซม์ ช่วยให้ลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่อ พิษของเชื้อทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อ เช่น เชื้อโรคคอตีบมักจะเจริญอยู่ใน ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น แต่เชื้อปล่อยพิษผ่านไปตามกระแสเลือด ทำให้ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น เกิดปฏิกิริยาการแพ้ (hypersensitivity) ปฏิกิริยาการแพ้ต่อเชื้อโรค จะมีลักษณะเดียวกับการแพ้ยา/แพ้สารต่างๆ

15 ระยะฟักตัว (incubation period)

16 อาการของโรค อาการเจ็บปวด (pain) เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษจากเชื้อทำอันตรายต่อ เนื้อเยื่อหรืออวัยวะ กระตุ้นปลายประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวดในบริเวณนั้น จึงเกิดอาการเจ็บปวด อาการไข้ (fever) เป็นสภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าอุณหภูมิปกติ เป็นผลจากสารพิษ หรือสารเคมีจากเซลหรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย สารเคมที่เกิดขึ้น จะกระตุ้นให้มีเลือดไหลเวียนบริเวณนั้นมากขึ้นส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกาย ส่วนนั้นสูงขึ้น และยังมีผลต่อศูนย์ประสาทที่ควบคุมสมดุลด้านอุณหภูมิของ ร่างกายทำให้เกิดเสียสมดุล และอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น ในโรคติดต่อหลาย ชนิดจะมีลักษณะจำเพาะต่างกันไปซึ่งช่วยในการวินิจฉัยโรคจากอาการได้

17 ผลลัพธ์ของการเกิดโรค
ถ้าร่างกายสามารถกำจัดเชื้อโรคได้หมด หรือควบคุมเอาไว้ได้โดย สิ้นเชิง อันเป็นผลจากภูมิคุ้มกันของร่างกายหรือการรักษา บางคนอาจเกิดความพิการ หรือสูญเสียความสามารถของร่างกาย ส่วนใดส่วนหนึ่ง หากโรคที่เกิดขึ้นทำอันตรายต่ออวัยวะบางส่วน อย่างถาวร บางคนอาจเสียชีวิต ถ้าภูมิต้านทานของร่างกายกำจัดเชื้อไม่สำเร็จ หรือรักษาไม่เป็นผล

18 การป้องกันโรคติดต่อ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันเฉพาะโรค
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยทั่วไป เป็นการส่งเสริม สุขภาพเพื่อให้ร่างกายมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ การลดพฤติกรรมเสี่ยง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง ของการป้องกันโรค และน่าจะได้รับการส่งเสริมมากที่สุด

19 Pulmonary Tuberculosis : วัณโรคปอด

20 สาเหตุของโรค Mycobacterium tuberculosis ซึ่งจะมีลักษณะของผนัง เซลเป็นชั้นไขมันหนาจึงทนความเป็นกรดหรือด่างใน สภาพแวดล้อมได้ดี จึงใช้คุณสมบัตินี้ในการพิสูจน์เชื้อ โดยย้อมสี carbol fuchisin สีจะติดผนังเซลและไม่สามารถ ล้างออกได้ด้วยกรด จึงเรียกแบคทีเรียพวกนี้ว่า แบคทีเรีย ทนกรด (Acid-fast bacilli,AFB)

21 การติดต่อ การติดต่อแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคปอดทางการหายใจ เอาละอองเชื้อเข้าไปนี้ นับเป็นทางติดต่อที่สำคัญที่สุด ส่วน ทางอื่นๆ เช่น ทางผิวหนังจากแผลที่เกิดจากเชื้อวัณโรค การ สัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย หรือทางอาหารก็เกิดได้ เช่นกันแต่มีโอกาสเพียงเล็กน้อย

22 พยาธิกำเนิด บริเวณที่พบเชื้อ M. tuberculosis เข้าไปก่อพยาธิสภาพมักเป็น บริเวณส่วนกลางๆของปอดข้างขวา ได้แก่ ส่วนล่างของปอดกลีบบน (lower part of upper lobe) หรือ ส่วนบนของปอดกลีบล่าง (upper part of lower lobe) หรือปอดกลีบกลาง (middle lobe) เพราะมี อากาศไหลเวียนถ่ายเทมากกว่าบริเวณอื่นๆ ถ้าปริมาณเชื้อมากจะมี lymphocytes และ monocytes เข้ามาเพิ่มทำ ให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบเกิดเป็นลักษณะของ “tubercle” หรือ “granulomatous lesion”

23 การเกิดโรคแบ่งได้ 2 ลักษณะ
วัณโรคปฐมภูมิ primary TB เป็นการเกิดโรคภายหลังจากการติด เชื้อครั้งแรก มักพบในเด็กเล็กและผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง วัณโรคในผู้ใหญ่ post primary TB เป็นวัณโรคที่พบในผู้ที่เคยติด เชื้อมาแล้ว 2.1 endogeneous reactivation เกิดโรคจากเชื้อเดิมที่มีอยู่ใน ร่างกาย มักเกิดในประเทศที่กำลังพัฒนา 2.2 exogeneous reinfection เกิดโรคจากการติดเชื้อซ้ำจาก ภายนอกจำนวนมาก ทำให้เกิดเป็นโรคจากเชื้อที่มาเข้ามาใหม่ มัก เกิดในประเทศที่พัฒนาแล้ว

24 อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยวัณโรค
อาการเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีอาการเด่นชัดในระยะแรก มักมีไอเรื้อรัง ลักษณะแบบไอแห้งๆ ต่อมาจะไอเป็นเสมหะเมื่อเป็น มากขึ้น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีไข้ตอนเย็น เหงื่อออก เมื่ออาการมากจะมีไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอกหรือบริเวณหลัง หายใจ ขัด ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโต ในผู้หญิงอาจมีภาวะประจำเดือนขาดหายไป ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยวัณโรคจะพบรอยโรคที่อวัยวะอื่นด้วย

25 อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยวัณโรค(ต่อ)
ระยะฟักตัว หลังจากได้รับเชื้อ สัปดาห์ จะมีผลการทดสอบทุ เบอร์คุลินบวก และมีความเสี่ยงที่จะเป็นวัณโรคสูงในช่วง 6 เดือนถึง 2 ปี ระยะติดต่อ การแพร่เชื้อมักเกิดขึ้นในช่วงก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับยา รักษาวัณโรค หลังจากรักษาไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ อาการไอของผู้ป่วย จะลดลง และจำนวนเชื้อลดลง ทำให้การแพร่เชื้อลดลงด้วย จึงควร แยกผู้ป่วยวัณโรคในระยะแพร่เชื้อไว้ในห้องแยกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แรกของการรักษา

26 การวินิจฉัยโรค การซักประวัติของการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคและประวัติการ เจ็บป่วย เช่น อาการไอเรื้อรัง เป็นต้น การตรวจร่างกาย อาจพบต่อมน้ำเหลืองโต บางรายอาจพบการอักเสบของ ปอด การทดสอบทูเบอร์คูลิน(tuberculin test) : เป็นการทดสอบเพื่อดูว่า ผู้ป่วย เคยได้รับเชื้อวัณโรค หรือวัคซีนบีซีจี โดยการฉีดน้ำยา tuberculin 5 IU เข้าใต้ผิวหนังบริเวณท้อง ท้องแขน หรือข้อพับ แล้วอ่านผลภายใน ชั่วโมงหลังฉีด ถ้ามีผื่นขึ้นแล้วเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10 mm. แสดง ว่า เคยได้รับเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกายแล้ว ถ้าผื่นขึ้นอยู่ระหว่าง 6-9 mm. แสดงว่า เคยได้รับวัคซีนมาแล้ว ถ้ามีผื่นขึ้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 mm. แสดงว่า ยังไม่เคยได้รับเชื้อวัณโรคเลย

27 การวินิจฉัยโรค(ต่อ) การประเมินสภาพของโรคทางคลินิก เพื่อวิเคราะห์ว่า โรคกำลังกำเริบหรือ โรคสงบอยู่ อาการแสดงที่ชัดเจนของโรคที่กำลังกำเริบทางคลินิก คือ อาการไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด หรือน้ำหนักไม่ขึ้น การเปลี่ยนแปลงของ ภาพถ่ายรังสีทรวงอกเห็นเป็นเงาเปรอะเปื้อน หรือโพรงบริเวณปอดกลีบ บน (upper lobe) การย้อมสีทนกรด (AFB) พบเชื้อ Acid Fast Bacilli การเพาะเชื้อจากเสมหะ ของเหลวจากช่องเยื่อหุ้มปอด น้ำล้างกระเพาะ อาหารที่เก็บในช่วงเช้า (gastric washing) น้ำไขสันหลัง ปัสสาวะ อุจจาระ เลือด

28 การรักษาวัณโรค หลักการรักษาวัณโรค คือ การให้ยาในในระยะแรกต้องให้ยามากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป ระยะแรกจะให้ยา 3 หรือ 4 ชนิด เพื่อป้องกันการดื้อ เพื่อขจัดเชื้อให้หมดจากร่างกายโดยเร็ว เพื่อยับยั้งการลุกลามของโรคและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น ระยะที่สอง จะลดยาให้เหลือ 2 ชนิด แต่ให้เป็นระยะเวลายาวนานกว่า ระยะแรก เพื่อกำจัดเชื้อที่แอบแฝงอยู่

29 ยารักษาวัณโรค ยาหลัก (First-line Therapy) มี 5 ชนิด คือ INH,rifampin,ethambutol,pyrazinamide และ streptomycin โดยมากจะให้ 4-6 เดือน ยาสำรอง (Second-line Therapy) คือ ethinamide,PAS(para- aminosalicylic acid),kanamycin,D-cycloserine และ capreomycin ระยะเวลาในการให้มักจะเป็น 10 เดือนขึ้นไป ยาใหม่ เช่น ciprofloxacin,ofloxacin,rifapentin,rifabutin,clofazimine เป็นต้น

30 การรักษาวัณโรคในผู้ป่วยเอดส์
คงใช้ระบบยาเช่นเดียวกับผู้ป่วยทั่วไป การรักษา ควรให้ยาติดต่อกันนาน 9 เดือน หรือให้ต่อไปอีก 6 เดือนภายหลังเมื่อตรวจไม่พบเชื้อแล้ว

31 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด
ในผู้ป่วยใหม่ ต้องสอนเรื่องการปฏิบัติตัวในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ได้แก่ ต้องใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก (mask) ไว้เสมอ กระดาษหรือบ้วนเสมหะ ต้องทิ้งในภาชนะที่มีน้ำยาฆ่าเชื้อ แยกห้องนอน หรือแยกเตียงจากผู้อื่น อยู่ในที่ ที่อากาศถ่ายเทสะดวก แยกของใช้ต่างๆ เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ชาม ช้อน ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังได้รับการรักษาด้วยยารักษาวัณโรคโดยใช้ เสร็จแล้วให้ล้างทำความสะอาดแล้วผึ่งแดด และควรแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติ เช่นเดียวกันที่บ้าน อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโรค การรักษาซึ่งสามารถรักษาให้ หายขาดได้ เพียงแต่ต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6-9 เดือน หาก อยู่บ้านก็สามารถไปรับยาที่สถานพยาบาลใกล้บ้านได้

32 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด(ต่อ)
ติดตามและประเมินผลความรู้จากการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ดูแลการได้รับยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง และให้สังเกตอาการ ข้างเคียงของยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปากแห้ง นอนไม่หลับ ตัว เหลือง เสียการทรงตัวหรือหูหนวก หากพบอาการข้างเคียงดังกล่าว ให้รีบ รายงานแพทย์ทันทีเพื่อปรับยาหรือเฝ้าระวัง ติดตามผลการตรวจเสมหะและการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X- ray)

33 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด(ต่อ)
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในเรื่องการปฏิบัติตัว ดังต่อไปนี้ การรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และควรมาพบแพทย์ตามนัด แนะนำวิธีรับประทานยา ขนาดของยาที่รับประทน อาการแพ้ยา อาการข้างเคียงของการได้รับยา อาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา เช่น อาการของโรคทุเลาลงหรือหมดไป ไม่ได้หมายความว่า โรคหายแล้ว ต้องรับประทานยาต่อไปจนกว่าแพทย์จะสั่งหยุดยา

34 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด(ต่อ)
แนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น ควรบ้วนเสมหะลงในภาชนะที่บรรจุน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือหากไม่สะดวกให้บ้วนใส่กระดาษแล้วใส่ถุงกระดาษนำไปเผา ห้องพักควรมีแสงสว่างเพียงพอ มีลมระบายเข้าออก ทำความสะอาดด้วยผ้าชุบน้ำผสมผงซักฟอกหรือสบู่ ที่นอนหมอนมุ้งควรนำออกไปผึ่งแดดสม่ำเสมอ ถ้าเปื้อน สกปรกควรพิจารณาต้ม ซัก ถ้วยชาม แก้วน้ำ ช้อนส้อม ภาชนะ ควรแยก เมื่อใช้แล้วล้างด้วยน้ำผสมน้ำยาล้างจาน นำไปผึ่งแดด หรือต้มก็ได้ หญิงในระยะให้นมบุตรที่เป็นวัณโรคในระยะแพร่เชื้อ ควรงดการให้นมบุตรไว้ก่อนและแยกบุตรชั่วคราวจนกว่าจะพ้นระยะแพร่เชื้อ

35 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด(ต่อ)
แนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น ควรบ้วนเสมหะลงในภาชนะที่บรรจุน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือหากไม่สะดวกให้บ้วนใส่กระดาษแล้วใส่ถุงกระดาษนำไปเผา ห้องพักควรมีแสงสว่างเพียงพอ มีลมระบายเข้าออก ทำความสะอาดด้วยผ้าชุบน้ำผสมผงซักฟอกหรือสบู่ ที่นอนหมอนมุ้งควรนำออกไปผึ่งแดดสม่ำเสมอ ถ้าเปื้อน สกปรกควรพิจารณาต้ม ซัก ถ้วยชาม แก้วน้ำ ช้อนส้อม ภาชนะ ควรแยก เมื่อใช้แล้วล้างด้วยน้ำผสมน้ำยาล้างจาน นำไปผึ่งแดด หรือต้มก็ได้ หญิงในระยะให้นมบุตรที่เป็นวัณโรคในระยะแพร่เชื้อ ควรงดการให้นมบุตรไว้ก่อนและแยกบุตรชั่วคราวจนกว่าจะพ้นระยะแพร่เชื้อ

36 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด(ต่อ)
แนะนำการปฏิบัติตัวอื่นๆ พยายามอยู่ในที่โล่งแจ้ง อากาศโปร่ง บริสุทธิ์ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายในตอนเช้าหรือเย็น ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส ให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้น อาหารโปรตีนสูง งดดื่มสุรา สูบบุหรี่ รักษาความสะอาดของร่างกาย แนะนำให้พาคนในครอบครัว/บุคคลใกล้ชิดไปตรวจร่างกายเพื่อค้นหาเพื่อ สัมผัสโรค

37 Typhoid fever ไข้ไทฟอยด์

38 สาเหตุของโรค เชื้อสาเหตุ Salmonellae typhi

39 การติดต่อ ติดต่อทางอุจจาระและปัสสาวะ โดยปกติตั้งแต่สัปดาห์แรกจนกระทั่ง หายเป็นปกติ ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาประมาณร้อยละ 10 จะยังคงมีเชื้ออยู่ใน อุจจาระเป็นเวลานาน 3 เดือน หลังจากเริ่มป่วย ร้อยละ 2-5 จะ กลายเป็นพาหะเรื้อรัง

40 พยาธิกำเนิด เมื่อแบคทีเรียสามารถผ่านกรดเกลือในกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็ก ตอนปลาย (ileum) และส่วนต้นของลำไส้ใหญ่ (cecum) แบคทีเรียจะ เพิ่มจำนวนและอยู่บนผิวเซลเยื่อบุลำไส้ (colonize) จากนั้นแบคทีเรีย จะบุกรุกเข้าสู่เนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวเซลเยื่อบุก่อให้เกิดการอักเสบ อาจเกิด แผลได้ แม้จะถูกจับกินด้วย macrophage แต่เชื้อก็เจริญภายในเซลนี้ ได้ เชื้อจะแพร่กระจายทางน้ำเหลืองเข้าสู่กระแสโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ถุง น้ำดี ม้าม กระดูกและลำไส้ ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตและ เกิดการอักเสบของอวัยวะนั้น

41 อาการและอาการแสดง อาการทางคลินิก : ไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ปวดศีรษะ ท้องผูก แต่เมื่อถ่ายจะมีอุจจาระลักษณะเหลว บางรายอาจพบจุดแดงเล็กๆที่ผิวหนัง (pathechiae) บริเวณหน้าอกและท้อง เรียกว่า rose spot

42 อาการและอาการแสดง(ต่อ)
บางรายอาจมีอาการรุนแรง โดยถ่ายเป็นเลือด ช็อคเนื่องจากภาวะที่มีเลือดแข็งตัวกระจายไปทั่วร่างกาย (Disseminated Intravascular Coagulopathy Shock) อาจพบตับ ม้ามโตเล็กน้อย ระยะฟักตัวขึ้นกับปริมาณเชื้อที่ได้รับ ส่วนใหญ่ 3 วัน- 1 เดือน โดยทั่วไป 1-3 สัปดาห์ ร้อยละ 3 ของผู้ป่วยพบว่า เป็นพาหะเรื้อรัง คือ มีเชื้ออยู่ใน อุจจาระนานเป็นปี

43 การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
ทั่วไป ตรวจเลือด CBC พบ WBC ต่ำกวา 7,000 /ลบ.มม Widal test ให้ผลบวก (ควรตรวจหลังจากเริ่มมีอาการ 10 วัน) แต่การตรวจ widal อย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัย จำเพาะ เพาะเชื้อจากอุจจาระ ปัสสาวะ หรือเลือด พบเชื้อ Sallmonella typhi

44 การรักษา ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย อาการต่างๆจะหายไปได้เอง
ยาต้านจุลชีพที่ได้ ได้แก่ amoxicillin,tri-methoprim- sulfamethoxazole (bactrim) ,ciprofloxacin,ampicillin ส่วนคนที่เป็นพาหะของโรคนั้น ควรใช้ยาต้านจุลชีพ หรือ ใช้ยาร่วมกับยากลุ่ม sulfonamide ในการรักษา

45 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์
วัดและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง หากมีไข้ให้เช็ดตัวลดไข้ ถ้าไข้ไม่ลดให้ พิจารณาให้ยาลดไข้ตามแผนการรักษา สังเกตความเปลี่ยนแปลงของความดัน โลหิต ชีพจร อัตราและลักษณะการหายใจ เพราะผู้ป่วยอาจมีภาวะเลือดออกที่ อวัยวะภายใน (internal bleeding) จากการเป็นแผลที่ลำไส้ หรือ ลำไส้ทะลุทำให้เกิดภาวะช็อค รวมทั้งสังเกตอาการทางหน้าท้อง เช่น ท้องอืด bowel sound ลดลง ปวดท้องจากเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ดูแลเรื่องการขับถ่ายอุจจาระ ถ้าท้องผูกห้ามสวนอุจจาระ และให้ยาระบายเพราะ จะทำให้ลำไส้ถูกกระตุ้นให้เคลื่อนไหวมากขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกหรือ ลำไส้ทะลุเพราะเป็นแผลอยู่แล้ว และให้สังเกตลักษณะเลือดออกในอุจจาระ ทำ ความสะอาดทุกครั้งหลังถ่ายและซับให้แห้ง

46 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์(ต่อ)
ให้ยาต้านจุลชีพตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงของยา ช่น ผื่นคัน ไข้ และมีภาวะซีดจากการกดไขกระดูก ติดตามผลการเพาะเชื้อในเลือด อุจจาระ ปัสสาวะ อธิบายการดำเนินโรค อาการและอาการแสดง การรักษาพยาบาล การป้องกัน โรคและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้ป่วยและญาติทราบโดยต้องแยกผู้ป่วย และแยกของใช้ส่วนตัว เน้นการล้างมือบ่อยๆ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยและญาติ และประเมินความรู้ที่ได้รับ ด้วยการซักถามเป็นระยะๆ พยาบาลที่จะเข้าไปให้การพยาบาลต้องสวมเสื้อคลุม ใส่ถุงมือ ล้างมือก่อนและ หลังการทำหัตถการ

47 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์(ต่อ)
ทำความสะอาดสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยทุกวัน ทำความสะอาดปากและฟัน ให้ผู้ป่วยหลังรับประทานอาหาร หลังอาเจียนเพื่อ กระตุ้นความอยากอาหาร จัดอาหารอ่อนย่อยง่าย มีคุณค่าสูง ลดการทำงานของลำไส้ ดูแลให้ได้รับน้ำและเกลือแร่ตามแผนการรักษา กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆอย่างน้อย 3,000 ml/d เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไปจากการมีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน บันทึกปริมาณน้ำเข้าออกจากร่างกาย ติดตามผลการตรวจโปรตีนและอิเลคโตรลัยท์

48 Cholera อหิวาตกโรค

49 สาเหตุของโรค Vibrio cholerae O1

50 การติดต่อ เกิดจากการรับประทานอาหารโดยเฉพาะ อาหารทะเล หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้ออหิวาต์

51 พยาธิกำเนิด เมื่อเชื้อ V. cholerae เข้าสู่กระเพาะอาหาร ถ้าภาวะกรดใน กระเพาะอาหารเป็นปกติ เชื้อจะทนต่อกรดได้ไม่นาน จำนวนเชื้อ ตัวจะทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงแบบอ่อนได้เพราะเชื้อจะ ถูกกรดทำลายจนเกือบหมด หากเกิดความเป็นกลางในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะกรณีที่มี อาหารประเภทโปรตีนสูง คนที่ถูกตัดกระเพาะอาหารออกไป บางส่วน หรือคนที่มีกรดน้อยเชื้อจะผ่านเลยไปลำไส้เล็กได้ง่าย ซึ่งพบว่า เชื้อ 106 ตัว ก็สามารถทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงได้

52 พยาธิกำเนิด(ต่อ) เมื่อเชื้อ V. cholerae เข้าสู่ลำไส้เล็ก จะ พยายามแทรกตัวผ่านชั้นเมือกที่ปกคลุม (mucous) บนผิวของลำไส้เล็ก จากนั้นจะ แบ่งตัวเพิ่มจำนวน และสร้าง Toxin หลายชนิด

53 อาการและอาการแสดง อาจไม่มีอาการ มีอาการเล็กน้อย จนถึงมีอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง ระยะฟักตัวประมาณ 1-5 วัน อาการที่เห็นได้ชัด คือ อุจจาระร่วง ลักษณะอุจจาระในระยะแรกมักมี เศษอาหารปนอยู่ ต่อมาจึงถ่ายเป็นน้ำคล้ายน้ำซาวข้าว (rice water stool) มีกลิ่นคาว ถ้าถ่ายนานๆ อาจมีน้ำดีปนออกมาด้วย (cholera แปลว่า flow of bile) อุจจาระไม่มีมูกเลือด อาจมีอาเจียนร่วมด้วย บางครั้งเกิดก่อนอุจจาระร่วง ส่วนอาการปวดท้องและไข้ไม่ค่อยพบ ในเด็กเล็ก มักพบมีไข้และอาการผิดปกติทางระบบประสาท ซึ่งอาจจะ เกิดจากการขาดน้ำอย่างรุนแรง

54 การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
ทั่วไป ตรวจง่ายและรวดเร็ว (screening test) พบการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของเชื้อ Vibrio cholerae แบบผีพุ่งไต้ (shooting star) ที่เป็นลักษณะของเชื้อนี้ จากการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบอุจจาระมีความเป็นด่างมากขึ้น (stool pH > 6) จำเพาะ Stool culture หรือ rectal swab culture พบเชื้อ Vibrio cholerae O1

55 การรักษา ผู้ป่วยที่มีลักษณะอาการเข้าได้ตามการวินิจฉัยเบื้องต้น รักษาตาม อาการโดยให้ดื่มสาระละลายเกลือแร่ (ORS) หรือให้สารน้ำทดแทน ทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยที่มีลักษณะเข้าได้ตามการวินิจฉัยสุดท้าย ให้การรักษาตาม คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ดังนี้ เด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี ให้ norfloxacin 20 มก./กก./ วัน นาน 3 วัน เด็กอายุมากกว่า 8 ปี ให้ Tetracycline 30 มก./กก./วัน นาน 3 วัน ในผู้ใหญ่ ให้ Tetracycline ครั้งละ 500 มก. วันละ 4 ครั้ง นาน 3 วัน หรือ Doxycycline ครั้งละ 100 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน หรือ Norfloxacin ครั้งละ 400 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน (กรณีเชื้อดื้อต่อ Tetracycline)

56 การพยาบาลผู้ป่วยอหิวาตกโรค
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ ตามอาการของผู้ป่วย ในระยะวิกฤตให้วัดทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการและอาการแสดงของการขาดน้ำ/ปริมาณน้ำ ในร่างกายลดลง และสามารถให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที โดยให้อัตราสาร น้ำตามค่าความดันโลหิต ถ้าผู้ป่วยถ่ายอุจจาระน้อยลง /สัญญาณชีพ สม่ำเสมอจะวัดทุก 4 ชั่วโมง ดูแลให้ได้รับสารน้ำและเกลือแร่ตามแผนการรักษา โดยในรายที่เป็นรุนแรง จะต้องรีบให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะให้ได้ ประมาณ ร้อยละ ของปริมาณสารน้ำทั้งหมด ที่เหลือให้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง ต่อมาจะให้ตามอาการโดยพิจารณาจากจำนวนการถ่ายอุจจาระ และ ค่าความดันภายในหัวใจห้องบนขวา (central venous pressure; CVP) ค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 5-15 cmH2O

57 การพยาบาลผู้ป่วยอหิวาตกโรค(ต่อ)
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย หากมีอาการรุนแรงจะบันทึกทุก 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะจำนวนปัสสาวะไม่ควรน้อยกว่า 30 ml/hr หากน้อยกว่า ต้องรายงาน ให้แพทย์ทราบ งดน้ำงดอาหารตามแผนการรักษาหากยังมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แต่ถ้าไม่อาเจียน ควรกระตุ้นให้จิบน้ำเกลือแร่บ่อยๆ สังเกตภาวะช็อค (shock) คือ ความดันโลหิตต่ำกว่าปกติ ชีพจรเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก ตัวเย็น กระสับกระส่าย สังเกตและบันทึกจำนวน ลักษณะของอุจจาระและอาเจียนอย่างละเอียด ติดตามอาการแสดงของภาวะขาดโปแตสเซียม คือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัตราการเต้น ของหัวใจช้า ท้องอืด ภาวะขาด HCO3- จะมีอาการหายใจหอบ ลึก

58 การพยาบาลผู้ป่วยอหิวาตกโรค(ต่อ)
ติตดามผลการตรวจ electrolyte จากห้องปฏิบัติการ อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงสาเหตุ การติดต่อ อาการและแผนการรักษาของ แพทย์ เหตุผลในการแยกผู้ป่วย ตลอดจนการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ประเมินความรู้ ความเข้าใจของผู้ป่วยและญาติเป็นระยะๆทั้งจากการตอบคำถามและ การปฏิบัติตัว เมื่อญาติเข้าเยี่ยมแนะนำไม่ให้สัมผัสกับเตียงผู้ป่วย หลังจากเยี่ยมแล้วให้ล้างมือทุก ครั้ง พยาบาลที่จะเข้าไปปฏิบัติการพยาบาลควรสวมถุงมือ และล้างมือก่อนและหลังการให้ การพยาบาลทุกครั้ง

59 การพยาบาลผู้ป่วยอหิวาตกโรค(ต่อ)
ทำลายเชื้อโรคในอุจจาระและอาเจียนด้วยการใส่น้ำยาฆ่าเชื้อในภาชนะที่ใส่ อุจจาระและอาเจียน เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนต้องต้ม หรือทำลายเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ก่อนนำไปซัก ทำความสะอาดสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยด้วยผ้าชุบน้ำผสมผงซักฟอก ให้ยาต้านจุลชีพตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นคัน ติดตามผลการเพาะเชื้อจากอุจจาระ 3 วัน ติดต่อกัน

60 เลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)

61 สาเหตุ leptospira interogans

62 การติดต่อ ติดต่อโดยการสัมผัส โรคนี้มักติดต่อโดยการสัมผัสกับเชื้อในปัสสสาวะ สัตว์โดยตรง หรือโดยการสัมผัสกับสภาวะแวดล้อมที่ปนเปื้อนปัสสาวะที่มี เชื้อนี้ โดยเชื้อจะไชเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังตามรอยแผล รอยขีดข่วนทาง เยื่อบุของปาก ตา จมูก นอกจากนี้ยังสามารถไชเข้าทางผิวหนังปกติที่เปียก ชุ่ม เนื่องจากการแช่น้ำเป็นเวลานานๆ เช่น น้ำท่วม ว่ายน้ำ หรือย่ำดิน โคลน ติดต่อโดยการกินอาหารหรือน้ำ เชื้ออาจจะเข้าโดยการกินอาหาร หรือน้ำ หรือการหายใจเอาละอองนิวเคลียสจากของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป แต่ พบได้น้อย ส่วนการติดต่อจากคนถึงคนยังไม่พบรายงาน

63 อาการและอาการแสดง ระยะฟักตัวของโรคเฉลี่ย 10 วัน
มีไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะ หนาวสั่น ซึม อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ รุนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่อง ตาแดง อักเสบ มีอาการระบบ ทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียหรือท้องผูก โลหิต จาง มีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุ เป็นต้น โดยทั่วไป อัตรา เสียชีวิตต่ำ แต่จะเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุและสูงมากในผู้ป่วยที่มีอาการ ดีซ่าน ตับและไตอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือสมองและเยื่อ หุ้มสมองอักเสบ

64 การตรวจวินิจฉัย การซักประวัติ
การวินิจฉัยทางคลินิก อาศัยอาการสำคัญของโรค การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ การเพาะแยกเชื้อ การตรวจทางซีโรโลยี(serology) โดยการเจาะเลือดครั้งแรก 6-7 วันหลังเริ่มป่วย และครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 2 สัปดาห์

65 การรักษา การให้ยาต้านจุลชีพภายใน 4-5 วัน หลังเริ่มป่วยจะให้ผลใน การรักษาดีที่สุด การรักษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ การรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ ยาที่ดีที่สุด คือ เพนนิซิลิน รองลงไปได้แก่ เตตราไซคลิน หรืออิริโทรมัยซิน การรักษาแบบประคับประคองอาการ ได้แก่ การให้ยาแก้ปวด ลดไข้ (บางครั้งอาจต้องใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มเสพติด) ยากล่อมประสาท ยาควบคุมการชัก การให้สารละลายเกลือแร่ ให้เลือด ถ้ามีตับหรือไตวายต้องรักษาอย่างใกล้ชิด

66 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเลปโตสไปโรซีส
วัดและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เช็ดตัวลดไข้ หากไข้สูง/ไม่ลงให้ดูแลการได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษา ดูแลการได้รับน้ำทดแทนตามแผนการรักษาเนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกจากร่างกายเพื่อประเมินภาวะสมดุลของน้ำและอิเลคโตร ลัยท์ จัดให้นอนพักในท่าที่สุขสบาย และถูกต้องเนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อและปริมาณตัวนำออกซิเจนต่ำ ดูแลการได้รับยาแก้ปวดกล้ามเนื้อหรือยาแก้ปวดในกลุ่มเสพติดตามแผนการรักษา

67 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเลปโตสไปโรซีส(ต่อ)
ในรายที่อาการรุนแรง ควรรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยากล่อมประสาท ยาควบคุม อาการชัก ดูแลช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และกระตุ้นให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ด้วยตนเองตามศักยภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล ปรับกิจกรรมและการออกกำลังกายให้สมดุลกับ การพักผ่อนและเหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย ดูแลได้รับยาต้านจุลชีพตามแผนการรักษา แนะนำให้ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย การเบี่ยงเบนความสนใจ แนะนำให้หลีกเลี่ยงบริเวณที่น้ำเฉอะแฉะ หรือสวมรองเท้าบู๊ตสูงกันน้ำเพื่อป้องกันการ ติดเชื้อซ้ำ

68 Melioidosis

69 สาเหตุ B. pseudomallei เป็นแบคทีเรีย ชนิด Gram negative bacilli มีลักษณะจำเพาะ คือ เซลจะติดสีเข้มหัวท้าย เมื่อย้อมด้วยสี Gram Stain หรือ Wayson Stain ทำให้มีลักษณะคล้ายเข็ม กลัดซ่อนปลาย

70 อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ไม่ปรากฏอาการแต่ตรวจ พบแอนติบอดี จนกระทั่งอาการรุนแรง โลหิตเป็นพิษเฉียบพลัน มี อาการ 2 รูปแบบคือ การติดเชื้อเฉพาะที่ การติดเชื้อแบบแพร่กระจายไปทั่ว มักพบมีอาการปอดบวม ติดเชื้อในกระแสโลหิตและฝีในอวัยวะ ภายใน พบมีอาการของโรคกลับซ้ำได้บ่อยในกรณีที่ให้ยาปฏิชีวนะ ไม่นานพอ

71 การติดต่อ การหายใจและการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อที่ ปนเปื้อนในดินและน้ำในขณะที่มีบาดแผล การติดต่อจากคนสู่คนมีรายงานน้อยมาก ระยะฟักตัวไม่แน่นอน ที่พบบ่อย 2-20 วัน หรืออาจนานเป็นปี

72 การวินิจฉัย การเพาะเชื้อแบคทีเรียเป็นวิธีมาตรฐาน สามารถเพาะแยก เชื้อได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อปกติ เช่น blood agar, Mac Conkey agar ใช้เวลาประมาณ 2-5 วัน การตรวจแอนติบอดีจำเพาะต่อ B. pseudomallei ในซีรัมผู้ป่วย

73 การรักษา ในรายที่มีอาการรุนแรงจำเป็นต้องให้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมก่อนทราบผลการ เพาะเชื้อ เนื่องจากผู้ป่วยอาจเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว การรักษาแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรก (acute phase) ใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์ มักใช้ ceftazidime, imipenem หรือ meropenem โดยให้ทางหลอดเลือด ระยะที่สอง (maintenance phase) เป็นยารับประทานมักให้ร่วมกัน 2-3 ชนิดได้แก่ trimethiprim-salfamethoxazole, chloramphenicol, amoxicillin-clavulinate ใช้เวลา สัปดาห์ เพื่อลดการกลับเป็นซ้ำอีก

74 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเมลิออยโดซิส
วัดและบันทึกสัญญาชีพทุก 4 ชั่วโมง หากในระยะวิกฤต ควรวัดทุก 1-2 ชั่วโมง โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกาย และความดันโลหิต เนื่องจากผู้ป่วยมีไข้จากการติดเชื้อ และ ความดันโลหิตลดต่ำลงจากหลอดเลือดส่วนปลายขยายตัว/มีเลือดออกนอกเส้นเลือดฝอย (capillaries) บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออก และดูแลการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา ช่วยเหลือการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบเพื่อให้พักผ่อนอย่าง เพียงพอ ดูแลการได้รับยาต้านจุลชีพตามแผนการรักษา การป้องกันโรคเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหรือสำหรับผู้ติดเชื้อใหม่ โดยผู้ที่ต้องสัมผัสดิน น้ำ ผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเรื้อรัง หรือ มีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสดิน โดยสวมรองเท้าบู๊ทขณะทำงานลุยน้ำ ลุยโคลน

75 Malaria

76 สาเหตุ Plasmodium falciparum (P.falciparum) พบได้ทั่ว โลก โดยทั่วไปจะพบในเขตร้อน อาจจะทำให้เป็นมาลาเรียขึ้นสมอง รักษายาก และถ้ามีไข้อาการอาจจะรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ Plasmodium vivax (P.vivax) พบได้ทั่วโลก โดยมักพบในเขต ร้อนและอบอุ่น Plasmodium malariae (P.malariae) พบได้ทั่วโลก อาการปรากฎให้เห็นน้อย ระดับที่เข้าไปในเม็ดเลือดแดงต่ำ แต่ก็ปรากฎโรคได้ เป็นปี Plasmodium ovale (P.ovlae) พบได้ในแอฟริกาและอเมริกา ใต้

77 การติดต่อ วงจรชีวิตของเชื้อมาลาเรียซึ่งมียุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนั้นจะมีเชื้อมาลาเรียซึ่งอยู่ใน ระยะที่เป็นตัวอ่อนอยู่ในต่อมน้ำลาย เมื่อมากัดคนก็จะปล่อยสปอโรซอยต์เข้าสู่กระแสโลหิต และเข้าสู่เซลตับภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะเพิ่มขนาดสร้างออร์กาเนล ต่าง ๆ และแบ่งนิวเคลียสหลายครั้ง ได้เป็นเมอร์โรซอยต์ (merozoite) สปอโรซอยต์ของ P.vivax และ P.ovale บางส่วน เมื่อเข้าสู่เซลตับแล้วจะ หยุดพักการเจริญชั่วขณะ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการไข้กลับ (relapse) ใน ผู้ป่วยเรียกระยะการหยุดพักนี้ว่า ฮิปโนซอยต์ (hypnoaoite) เมอร์โรซอยต์จะออกจากเซลตับเข้าสู่เม็ดเลือดแดง และกินฮีโมโกลบินในเม็ดเลือด แดงเป็นอาหาร โดยใช้กระบวนการ pinocytosis

78 อาการและอาการแสดง มีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว และกล้ามเนื้อ อาจมี อาการคลื่นไส้เบื่ออาหารได้ อาการนี้จะเป็นเพียงระยะสั้น เป็นวัน หรือหลายวันได้ ขึ้นอยู่กับระยะฟักตัวของเชื้อ ชนิด ของเชื้อจำนวนของสปอโรซอยต์ที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไป ภาวะ ภูมิต้านทานต่อเชื้อมาลาเรียของผู้ป่วย ภาวะที่ ผู้ป่วยได้รับ ยาป้องกันมาลาเรียมาก่อน หรือได้รับยารักษามาลาเรียมา บ้างแล้ว

79 อาการและอาการแสดง(ต่อ)
1.ระยะสั่น ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น ปากและตัวสั่น ซีด ผิวหนังแห้งหยาบ อาจจะเกิดขึ้นนาน ประมาณ 15 – 60 นาที ระยะนี้ตรงกับการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรีย ถ้าเม็ด เลือดแดงแตกมากๆ ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะเป็นสีโค้ก 2.ระยะร้อน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วม ด้วย หน้าแดง ระยะนี้ใช้เวลา 2 – 6 ชั่วโมง 3. ระยะเหงื่อออก ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออกจนชุ่มที่นอน หลังจากนั้น จะอ่อนเพลีย ไข้ลด

80 อาการและอาการแสดง(ต่อ)
ปัจจุบันนี้จะพบลักษณะทั้ง 3 ระยะได้น้อยมาก ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอยตลอดเวลา โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นมาลาเรียครั้งแรก ผู้ป่วยมาลาเรียในระยะแรกอาจมีไข้สูงลอยตลอดเวลาเนื่องจากเชื้อแก่ไม่พร้อมกัน แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งแล้ว การแตกของเม็ดเลือดแดงเกิดขึ้นพร้อมกัน อาการจับไข้หนาวสั่นจึงเกิดเป็นเวลา และแยกได้ชัดเจนตามชนิดของเชื้อมาลาเรีย เชื้อไวแวกซ์ ฟัสซิพารัม และโอวัลเล่ ใช้เวลาในการแบ่งตัว 48 ชั่วโมง จึงทำให้เกิด ไข้ทุกวันที่ 3 เชื้อมาลาริอี ใช้เวลา 72 ชั่วโมง อาการไข้จึงเกิดทุกวันที่ 4 ภายหลังที่เป็นมาลาเรีย ได้ระยะหนึ่ง จะตรวจพบว่าผู้ป่วยซีด บางคนมีตัวเหลือง ตาเหลือง ตับและม้ามโต บางรายกดเจ็บ

81 การดำเนินของโรคมาลาเรีย
ฟัลซิพารัมมาลาเรีย (P.Falciparum)เป็นมาลาเรียชนิดที่รุนแรงและเป็นอันตราย มากที่สุด จึงมีชื่อว่า “malignant malaria” ผู้ที่ได้รับเชื้อนี้เข้าไปและไม่ได้รับ การรักษาจะมีอาการรุนแรงเกิดเป็นมาลาเรียขึ้นสมองได้ แต่ถ้าได้รับการรักษาและหายจาก โรคแล้วมักจะหายเป็นปกติ ภาวะแทรกซ้อนของมาลาเรียชนิดนี้ที่พบได้บ่อย เช่น เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดภาวะ ความเป็นกรดเกิน (metabolc acidosis) และเสียชีวิตจากปอดบวมน้ำหรือไต วายได้ผู้ป่วยฟัลซิพารัมมาลาเรีย ในระยะแรกของโรคจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องหรือท้องเดิน บางคนอาจมีไอหรือลักษณะคล้ายไข้หวัดได้ใน 4 – 5 วันแรกของโรค ไข้จะสูงลอย ตลอดเวลา เนื่องจากการแตกของเม็ดเลือดแดงแต่ละชุดไม่พร้อมกัน แต่หลังจากเชื้อ มาลาเรียเจริญอยู่ในระยะเดียวกันแล้ว เม็ดเลือดแดงจะแตกพร้อมกันทุก 48 ชั่วโมง จึงให้ ชื่อว่า tertain malaria ผู้ป่วยอาจซีดและเหลือง ตับม้ามโต

82 การดำเนินของโรคมาลาเรีย
ไวแวกซ์มาลาเรีย (P.Vivax) ผู้ป่วยที่เป็นไวแวกซ์มาลาเรียมักจะไม่ เสียชีวิต จึงมีชื่อว่า “benign tertain malaria” แต่ผู้ป่วยจะเป็น โรคซ้ำอีก อาการของผู้ป่วยไวแวกซ์มาลาเรีย จะมีลักษณะคล้ายกับฟัลซิพารัม มาลาเรีย แต่จะพบหนาวสั่นได้บ่อยกว่า และขณะเกิดหนาวสั่น มักมีอาการปวด หัว ปวดกล้ามเนื้อมาก ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอาการไข้จะค่อย ๆ ทุเลาและ หายได้ แต่จะเป็นซ้ำได้อีกภายใน 2 ปี นานที่สุด 8 ปี โอวัลเล่มาลาเรีย (P.Ovale) อาการทางคลินิกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อชนิด โอวัลเล่ จะมีลักษณะคล้ายกับไวแวกซ์มาลาเรีย แต่จะมีอาการน้อยกว่า และมี เชื้อกลับเป็นซ้ำน้อยกว่า ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการไข้จะทุเลาและหายไปได้เอง แต่เป็นซ้ำได้อีกภายใน 1 ปีนานที่สุด 5 ปี

83 การดำเนินของโรคมาลาเรีย
มาลาริอีมาลาเรีย (P.Malariae) เชื้อมาลาริอีมาลาเรีย จะ ทำให้เกิดมีไข้หนาวสั่นวันเว้น 3 วัน คือมีไข้วันที่ 1 แล้วสบายอยู่ 3 วัน วันที่ 4 จึงมีไข้อีก จึงเรียกว่า “quartan malaria” ผู้ป่วยมักไม่มีอาการรุนแรง และกว่าจะเกิดอาการ ไข้ อาจใช้เวลานานเป็นปี เชื้อมาลาริอีอยู่ในคนได้เป็นเวลานาน หลายปี มีรายงานนานถึง 53 ปี เชื้อนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิด nephrotic syndrome ได้

84 การวินิจฉัยมาลาเรีย อาศัยการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อประกอบการวินิจฉัยทาง คลินิก วิธีที่ดีที่สุดและนิยมใช้ในปัจจุบัน คือ การตรวจหาเชื้อ มาลาเรียในฟิล์มโลหิตด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งมีทั้งฟิล์มหนา (thick film) และฟิล์มบาง (thin film) เป็นวิธีที่ตรวจ ได้ง่ายใช้เวลาประมาณ 30 นาที สามารถจำแนกชนิดของเชื้อ มาลาเรียได้

85 การรักษา 1. การรักษาจำเพาะ (Specific treatment)
2. การบำบัดอาการและภาวะแทรกซ้อน (Supportive treatment) 3. การป้องกันการแพร่กระจายโรคโดยให้ยาฆ่าแกมมีโต ซัยท์ (Gametocytocide)

86 การรักษาจำเพาะ(Specific treatment)
การกำจัดเชื้ออันเป็นต้นเหตุของโรคที่ทำให้เกิดอาการป่วยไข้ คือ ระยะ ไร้เพศในเม็ดเลือดแดง ฉะนั้นจึงต้องให้ยาฆ่าเชื้อระยะไร้เพศ (blood schizontocide) การบริหารยาโดยวิธีกินเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในผู้ป่วยที่ไม่มี ภาวะแทรกซ้อน แต่อาจไม่เหมาะในผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มาก ควรพิจารณาการบริหารยาด้วยวิธีฉีด การเลือกยาสำหรับผู้ป่วยที่ต้องนำยาไปบริหารเองที่บ้าน ควรเน้นวิธีที่ ง่าย สะดวก เช่น รับประทานวันละครั้ง และช่วงเวลาที่ควรรับประทาน ยาควรสั้น เช่น รับประทานครั้งเดียว (single dose) หรือถ้า ต้องให้หลายวันก็ไม่ควรเกิน 3 วัน เป็นต้น

87 การบำบัดอาการและภาวะแทรกซ้อน (Supportive treatment)
การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดสำคัญมากโดยเฉพาะในผู้ป่วย มาลาเรียขึ้นสมอง จะต้องมีการควบคุมสมดุลย์ของของเหลว (Fluids) และเกลือแร่ (Electrolytes) ในร่างกาย การให้ยารักษาภาวะแทรกซ้อนจะต้องคำนึงถึงภาวะเสี่ยงและ ผลประโยชน์ที่จะได้รับเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น การใช้ยา cortricosteroid ในผู้ป่วยมาลาเรียขึ้นสมอง ไม่ทำให้ การรักษาดีขึ้นแต่ผลข้างเคียงมีมาก จึงไม่ควรใช้ ส่วนการให้ยา กันชักช่วยป้องกันการชักของผู้ป่วยได้ดี จึงควรใช้ยากันชักใน ผู้ป่วยมาลาเรียขึ้นสมอง

88 การป้องกันการแพร่กระจายโรคโดยให้ยาฆ่าแกมมีโตซัยท์ (Gametocytocide)
มาลาเรียฟัลซิพารัม ถ้าผู้ป่วยอยู่ในท้องที่ที่มียุงซึ่งเป็นพาหะ ต้องให้ยาฆ่าแกมีโตซัยต์ คือ ไพรมาควิน ขนาด 30 – 45 mg. รับประทานครั้งเดียวร่วมด้วย เพราะยาฆ่าเชื้อระยะไร้ เพศ (blood schizontocide) ฆ่าแกมมีโตซัยต์ (เชื้อระยะมีเพศ) ของเชื้อฟัลซิพารัมไม่ได้ มาลาเรียไวแวกซ์ โอวัลเล่ และมาลาริอี ไม่ต้องให้ไพรมาควิน เพื่อฆ่าแกมมีโตซัยม์เพราะ blood schizontocide ออกฤทธิ์ฆ่าแกมมีโตซัยต์ของเชื้อเหล่านี้ได้ด้วย

89 ข้อควรระวังในการรักษามาลาเรียโดยการให้ยา
ระวังในผู้ป่วยโรคตับ ผู้ที่มีความผิดปกติรุนแรงในระบบทางเดินอาหาร ระบบ ประสาท ระบบเลือด ยาทำให้เม็ดเลือดแดงแตกในผู้ป่วยที่ขาดเอ็นไซม์ glucose - 6 – phosphate dehydrogenase (G6PD) การใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเรื้อนกวางและ porphyria อาจเพิ่มความรุนแรงของโรค ควรรับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที เพื่อลดการระคายเคืองทางเดิน อาหาร ยาอาจทำให้ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หูอื้อ หรือมีเสียงดังในหู ยาอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน มึนงง ตาพร่า สับสน อ่อนเพลีย จึงควรระมัดระวังใน การขับขี่ยานพาหนะ หรือใช้เครื่องจักร

90 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยมาลาเรีย
วัดและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และหลังเช็ดตัวลดไข้ 20 นาที โดยเฉพาะ อุณหภูมิเพื่อประเมินความผิดปกติจะได้ให้การช่วยเหลือได้ถูกต้องและต่อเนื่อง สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยโดยเฉพาะระดับความรู้สึกตัว อาการชัก ถ้า พบว่า ผู้ป่วยมีอาการชัก/ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงต้องรีบรายงานแพทย์และ จัดให้นอนตะแคงกึ่งคว่ำ ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งโดยการดูดเสมหะ หรือให้ ออกซิเจนตามแผนการรักษา เช็ดตัวบ่อยๆหากมีอาการไข้ ไม่มีอาการหนาวสั่น โดยเฉพาะบริเวณข้อพับต่างๆ แต่ ถ้ามีอาการหนาวสั่นให้ห่มผ้า ถ้าไข้สูงมากให้ยาลดไข้ตามแผนการรักษา เพราะไข้สูง จะทำให้เกิดอาการชัก และหากไข้สูงเกิน 41 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานๆจะทำให้ เซลสมองตาย

91 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยมาลาเรีย(ต่อ)
ดูแลการได้รับสารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา และกระตุ้น ให้ดื่มน้ำมากๆ 2,000-3,000 ml/d บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย และลักษณะของปัสสาวะที่ผิดปกติ เช่น ปริมาณน้อยกว่าปกติ สีผิดปกติ เป็นต้น ในระยะเหงื่อออกให้ดูแลเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ใหม่เพื่อความสุขสบาย ดูแลให้ได้รับยารักษามาลาเรียตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงของ ยา เช่น หูอื้อ มีเสียดังในหู คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นคัน ลมพิษ ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนโดยจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ดูแลทำความสะอาดปากและฟันเพื่อให้ช่องปากชุ่มชื้นและระบายความร้อน

92 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยมาลาเรีย(ต่อ)
จัดให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย น่ารับประทานเพื่อกระตุ้นความอยาก อาหาร ชั่งน้ำหนักตัวอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วันเพื่อประเมินภาวะขาดสารอาหาร ประเมินภาวะซีดจากเปลือกตาล่างด้านใน เล็บมือเล็บเท้า ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง สังเกตและจดบันทึกปริมาณและลักษณะของอาเจียน ติดตามผลการตรวจหาเชื้อมาลาเรียในเลือด ติดตามผลการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (complete blood count)

93 Tetanus (บาดทะยัก)

94 สาเหตุ Clostridium tetani

95 การติดต่อ เชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะในรูปแบบของสปอร์ พบได้ในดินตามพื้นหญ้าทั่วไปได้ นานเป็นเดือนๆ หรืออาจเป็นปี เชื้อจะพบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์ ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยมูลสัตว์ เชื้อ จะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล โดยจะแบ่งตัวและขับ exotoxin ออกมา เชื้อจะเจริญแบ่งตัวได้ดีในแผลลึก อากาศเข้าไม่ได้ดี เช่น บาดแผลตะปูตำ แผล ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ผิวหนังถลอกบริเวณกว้าง บาดแผลในปาก ฟันผุ หรือเข้า ทางหูที่อักเสบ โดยการใช้เศษไม้หรือต้นหญ้าที่มีเชื้อโรคนี้ติดอยู่แคะฟันหรือ แยงหู บางครั้งอาจเข้าทางลำไส้ได้

96 อาการและอาการแสดง ระยะจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอาการเริ่มแรก คือ มีอาการขากรรไกรแข็ง ที่ เรียกว่าระยะฟักตัวของโรคประมาณ 3-21 วัน เฉลี่ย 8 วัน บางรายอาจนานถึง 1 เดือน หรือนานกว่านั้นก็ได้ อาการเริ่มแรกที่จะสังเกตพบคือ ขากรรไกรแข็ง (Lock jaw) อ้าปากไม่ได้ มีคอ แข็ง หลังจากนี้ 1-2 วัน ก็จะเริ่มมีอาการเกร็งแข็งในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย คือ หลัง แขน ขา เด็กจะยืนและเดินหลังแข็ง แขนเหยียดเกร็ง ให้ก้มหลังจะทำไม่ได้ หน้าจะมี ลักษณะเฉพาะคล้ายยิ้มแสยะ ระยะต่อไปก็อาจจะมีอาการกระตุกเช่นเดียวกับในทารกแรกคลอด ถ้ามีเสียงดังหรือ จับต้องตัวจะเกร็งและกระตุกมากขึ้น มีหลังแอ่น และหน้าเขียว บางครั้งมีอาการ รุนแรงมาก อาจทำให้มีการหายใจลำบากถึงตายได้เรียกอาการนี้ว่า Spasmodic convulsion

97 การวินิจฉัย การวินิจฉัยส่วนใหญ่อาศัยอาการทางคลินิก

98 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยบาดทะยัก
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ลดการกระตุ้นทั้งแสง สี เสียง เนื่องจากจะกระตุ้นผู้ป่วยให้เกิดอาการชัก ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา แต่หากผู้ป่วยไม่ สามารถหายใจได้เองอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วย หายใจ ประเมินและบันทึกการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทและ สัญญาณชีพทุก 1-2 ชั่วโมง ห้ามผูกมัดผู้ป่วยเนื่องจากหากเกิดอาการชักผู้ป่วยจะกระตุกจน ทำให้เกิดอันตรายเช่น กระดูกหักได้

99 โรคติดเชื้ออุบัติใหม่/โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ (Emerging / Reemerging Infectious Diseases, EID)
1. จุลลินทรีย์ที่มีการค้นพบใหม่เร็วๆ นี้ หรือ จุลินทรีย์สาย พันธุ์ใหม่ที่ระบุได้แล้ว ตัวอย่างเช่น โรคซาร์ โรคเอดส์ 2. เชื้อโรคเดิมที่มีการปรับตัว & วิวัฒนาการ มีผลให้เกิดโรค ขึ้นมาอีก เช่น ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) 3. เชื้อโรคที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป มีการแพร่กระจายไปยังภูมิ ประเทศใหม่หรือกลุ่มประชากรใหม่ เช่น West Nile Virus

100 โรคติดเชื้ออุบัติใหม่/โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ (Emerging / Reemerging Infectious Diseases, EID) (ต่อ)
4. การติดโรคที่เป็นที่รู้จักดีในพื้นที่เคยประสบมาแล้ว ซึ่งมี ระบบนิเวศน์ที่มีเปลี่ยนรูป เช่น Lyme Disease 5. โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำขึ้นมาใหม่ (โรคที่เคยเกิดขึ้นในอดีต แล้ว กลับมาเกิดขึ้นอีก) เนื่องจากการดื้อยาของเชื้อโรค เช่น วัณโรค Tuberculosis

101 Avian flu ไข้หวัดนก

102 สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (Avian Influenza  Type A) แบ่งออกได้เป็นไข้หวัดนกชนิดรุนแรง  และชนิดไม่รุนแรง สายพันธุ์ที่ มักจะทำให้เกิดโรคในนกและมีความรุนแรงได้แก่ สายพันธุ์ H5 และ H7 ระยะการฟักตัวเฉลี่ย วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน หากเชื้อโรคติดต่อสู่ คนจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1-3 วัน โดยทั่วไปเชื้อไข้หวัดนกนี้มัก ระบาดในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การ เจริญเติบโตของเชื้อไวรัส

103 ลักษณะอาการทางคลินิก
ไข้สูงมากกว่า 38 องศา หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามข้อ ไอแห้ง ตาแดง มักพบอาการปอดบวมในผู้ป่วยทุกคน ขณะที่ผู้ที่มีโรค ประจำตัวอาจมีอาการรุนแรง หายใจลำบาก หอบ และอาจมี อาการระบบหายใจล้มเหลวอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเสียชีวิตได้ ส่วนมากมีระยะเวลาป่วย 5-13 วัน และหากติดเชื้อไข้หวัด นกแล้วมีโอกาสเสียชีวิตถึงร้อยละ ส่วนมากจะ เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวในวันที่ 9-10 หลังมีอาการ ป่วย

104 บุคคลที่เสี่ยงจะติดเชื้อไข้หวัดนก นั่นคือ
ผู้ที่มีหน้าที่โดยตรงกับสัตว์ปีก ไม่ว่าจะเป็นผู้เลี้ยงสัตว์ ผู้ทำงานใย ฟาร์ม ผู้ชำแหละสัตว์ หรือทำลายซากสัตว์ รวมทั้งเด็กๆ ที่อยู่ใน พื้นที่ระบาด เป็นต้น ผู้ที่มีประวัติสัมผัสกับนก ไก่ สัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย ผู้ที่ไปท่องเที่ยวหรืออยู่บริเวณที่มีการระบาดของไข้หวัดนก ผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดนกหรือผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจรุนแรง

105 เกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษา
การวินิจฉัยโรคในคน การวินิจฉัยอาการทางคลินิก ได้แก่ ไข้ ไอแห้งๆ และปอดอักเสบ ร่วมกับประวัติการสัมผัสกับสัตว์ปีกในพื้นที่เกิดโรคระบาด การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทำโดยใช้ชุดทดสอบหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (ทราบผลภายใน นาที) และตรวจยืนยันโดยวิธีการแยกเชื้อไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยง (ทราบผลภายใน 2-10 วัน) และการตรวจหาแอนติเจนโดย PCR (Polymerase chain reaction) ทราบผลภายใน 24 ชั่วโมง และการตรวจหาแอนติบอดีเฉพาะต่อเชื้อไวรัส H5 โดยวิธี Microneutralization assay

106 การรักษา การให้ยาต้านไวรัส (Olseltamivir : ชื่อการค้า Tamiflu) ภายใน 48 ชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการป่วย รับประทานตาม น้ำหนักตัว (น้ำหนัก 15 ก.ก. ให้ 30 ม.ก., น้ำหนัก ก.ก. ให้ 45 ม.ก., และ น้ำหนัก ก.ก. ให้ 75 ม.ก.) เช้า-เย็น ติดต่อกันนาน 5 วัน ร่วมกับการรักษาตาม อาการ รวมทั้งการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดความถี่สูง จะ ให้ผลการรักษาดี

107 ไข้หวัดมรณะ SARs

108 สาเหตุ เชื้อไวรัสที่เรียกว่า SARS-associated coronavirus (SARS-CoV)

109 ลักษณะอาการทางคลินิก
อาการที่พบได้บ่อยคืออาการไข้สูงโดยมากมักจะเกิน 38 องศานอกจากนั้น จะมีอาการปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดตามตัว บางคนอาจจะมีอาการน้อย เมื่อเริ่มเป็นโรค จะเห็นได้ว่าอาการที่ปรากฏไม่แตกต่างจากไข้หวัด หลังจากมีอาการ 2-7 วันผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้งๆ เจ็บหน้าอก หายใจตื้น หรือหายใจหอบ ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกว่าโรคได้ดำเนินในทางที่แย่ลง มี ผู้ป่วยปราณ10-20%ที่อาการเป็นมากจนต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และมี อัตราการตายร้อยละ4% จะเกิดอาการเมื่อไรหลังได้รับเชื้อ ระยะฟักตัวของโรคหมายถึงระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อโรคจนกระทั่งเกิด อาการของโรค โดยประมาณใช้เวลา 2-7 วันโดยเกิดอาการไข้ก่อน แต่มี บางรายงานพบว่าอาจจะใช้เวลา 10 วันสำหรับประเทศไทยให้ระยะเวลา 14 วันในการสังเกตอาการว่าจะเป็นโรคหรือไม่

110 เกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษา
ตรวจพบไวรัส ตรวจพบเชื้อไวรัสจากเซลล์ที่เลี้ยงในขวดทดลอง (virus isolation) ตรวจพบ RNA ของไวรัส ตรวจพบแอนติเจนของไวรัส ตรวจพบการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อ SARS CoV ตรวจพบภูมิคุ้มกัน (antibody) ต่อไวรัส

111 การรักษา ยังไม่มีแผนการรักษาที่ได้ผลดี การรักษาส่วนใหญ่รักษา แบบปอดบวมที่ไม่ทราบชนิดของเชื้อ ประกอบด้วยการ รักษาแบบประคับประคอง บางคนให้ยาปฏิชีวนะ ยาต้าน ไวรัสเช่น oseltamivir ,ribavirin บางคนก็ให้ Steroids

112 Flu 2009; H1N1

113 สาเหตุ Pandemic H1N1/09 virus

114 ลักษณะอาการทางคลินิก
อาการป่วยของผู้ที่ได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะไม่ แตกต่างจากผู้ที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจมีอาการไข้ขึ้นสูง ไอ ปวดศีรษะ เจ็บตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ หนาวสั่น ปวดเมื่อย และคัด จมูก ส่วนอาการท้องร่วง อาเจียนและอาการทางประสาท ผู้ซึ่งมีความเสี่ยงสูงจากโรคแทรกซ้อนที่มีอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้ซึ่งมีอายุ 65 ปีขึ้นไป เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ สตรีมีครรภ์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามเดือนก่อนคลอด) [และผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างเช่น โรคหืด โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง

115 อาการในผู้ป่วยรุนแรง
สัญญาณเตือนฉุกเฉินในเด็กและทารก หายใจถี่หรือหายใจลำบาก ตัวเขียว ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ปลุกไม่ตื่นหรือไม่มีปฏิกิริยาตอบสนอง รู้สึกหงุดหงิดจนเด็กไม่อยากถูกอุ้ม มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการดีขึ้นแล้ว ครั้งหนึ่งแต่กลับเป็นอีกโดยมีไข้และไออย่าง รุนแรง มีไข้และมีผื่น ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ร้องไห้ไม่มีน้ำตาไหล สัญญาณเตือนฉุกเฉินในผู้ใหญ่ หายใจลำบากหรือหายใจกระชั้น เจ็บ ปวด หรือรู้สึกอึดอัดบริเวณอก หรือท้องน้อย อาการเวียนศีรษะเฉียบพลัน มีอาการสับสน อาเจียนอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำ

116 ภาวะแทรกซ้อนของ Flu 2009 กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบขั้นรุนแรง (fulminant myocarditis) ใน ผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ผู้ป่วย 3 จาก 4 ราย ซึ่งมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอช 1 เอ็น 1 มีอาการ ถึงขั้นรุนแรง และหนึ่งในผู้ป่วยได้เสียชีวิต ภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดปอด (pulmonary embolism) ใน รายงานฉบับหนึ่ง มีการรับผู้ป่วย 5 ราย จาก 14 ราย เข้าสู่ หน่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยขั้นวิกฤต (ICU) ด้วยอาการติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 อย่างรุนแรง และมีภาวะสิ่ง หลุดอุดหลอดเลือดปอด

117 เกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษา
มีผลบวกต่อการตรวจห้องปฏิบัติการว่ามีการติดเชื้ออินฟูเอนซาทัยป์เอ (Influenza A) แต่ผลลบต่อ H1 และ H3 เมื่อตรวจในระดับโปรตีน ของเชื้อไวรัสอินฟูเอนซา (influenza RT-PCR) หรือ มีผลบวกต่อการตรวจห้องปฏิบัติการว่ามีการติดเชื้ออินฟูเอนซาทัยป์เอ (Influenza A)หรือการตรวจหาเชื้ออินฟูเอนซาด้วยกล้องฟลูออเรสเซน (influenza immunofluorescence assay (IFA)) ร่วมกับมีประวัติที่เข้าได้กับผู้ที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ (Suspected case) การตรวจระดับโปรตีน (real-time RT-PCR) การเพาะเชื้อไวรัส (viral culture)

118 รักษาตามอาการและอาการแสดง
การรักษา รักษาตามอาการและอาการแสดง การให้ยาต้านไวรัสที่ใช้คือ Oseltamivir (Tamiflu) หรือ ยา Zanamivir (Relenza) ซึ่ง การให้ยาต้านไวรัสดังกล่าวจะมีประสิทธิผล มากเมื่อให้ภายใน 2 วันหลังจากที่ผู้ป่วยแสดง อาการ

119 การพยาบาลสำหรับไข้หวัดนก/SARs/Flu
วัดและบันทึกสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกาย หากมีไข้ให้เช็ดตัวถ้าไข้ไม่ ลงให้ยาลดไข้ตามแผนการรักษา ดูแลการได้รับสารน้ำทดแทนตามแผนการรักษา บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและ ออกจากร่างกาย โดยเฉพาะปริมาณปัสสาวะต่อชั่วโมง หากน้อยกว่า 30 ml/hr ให้รายงานแพทย์ ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อน ช่วยเหลือการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและจัดสิ่งแวดล้อม ให้เงียบสงบ ดูแลการได้รับยาต้านไวรัสตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ งดเว้นการเดินทางไปในที่ชุมชนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และป้องกัน การรับเชื้อในระยะที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อในคนปกติ

120 โรคผิวหนัง

121 Psoriasis สะเก็ดเงิน/เรื้อนกวาง

122 สาเหตุ พบประมาณร้อยละ 1-2 ของประชากรทั่วโลก
ยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงแต่มีหลักฐานสนับสนุนว่า น่าจะเกิดจาก ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันร่วมกับความผิดปกติของสาร พันธุกรรม กระตุ้นในเซลผิวหนังเจริญเร็วกว่าปกติ ที่ใช้เวลา วัน และหลุดออกไป แต่ในผู้ป่วยสะเก็ดเงิน วงจรนี้จะใช้เวลาเพียง 2- 3 วัน ทำให้ผิวหนังมีการหนาตัวขึ้นและมีสะเก็ดจำนวนมาก

123 ลักษณะอาการทางคลินิก
มากกว่า 80% ของผู้ป่วยมีลักษณะเป็นผื่นแดงกลม หนา และมีสะเก็ดจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบ ผื่นผิวหนังได้ อีกหลายลักษณะ ผื่นขนาดเล็กๆ เป็นตุ่มนูนแดง มีขุยกระจายทั่วไป บริเวณลำตัวและแขนขา ผื่นเป็นตุ่มหนองตื้นบนรอยโรคสีแดง ผื่นแดงอักเสบบริเวณซอกรักแร้ ซอกขา ผื่นแดงลอกทั้งตัว

124 เกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษา
แพทย์จะวินิจฉัยโรคสะเก็ดเงินจากการตรวจรอยโรคของผู้ป่วย กรณีที่รอยโรคต่างไป อาจมีการตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) ไปทำการตรวจ ทางพยาธิวิทยา

125 การรักษา รักษาไม่หายขาด ทำได้เพียงให้อาการทุเลาเท่านั้น
ใช้ยาทาเป็นหลัก ซึ่งเป็นยากลุ่มน้ำมันดิน ยากลุ่ม steroid ใช้ยารับประทานที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลผิวหนัง คือ Methotrexate ซึ่งมีพิษต่อตับ การกำเริบของสะเก็ดเงินขึ้นอยู่กับอารมณ์ของผู้ป่วยเป็น หลัก เมื่อไหร่ผู้ป่วยเกิดความเครียด/วิตกกังวลจะเกิดโรค สะเก็ดเงินขึ้นมาทันที

126 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยสะเก็ดเงิน/เรื้อนกวาง
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบเกี่ยวกับการเกิดโรค การดำเนินโรค การรักษาและดูแล ตนเอง แนะนำให้ญาติให้กำลังใจ สนับสนุนผู้ป่วย ให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการกำเริบของโรค ให้ทายาตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทาสเตียรอยด์บางๆลูบเบาๆจนกระทั่งครีมซึมเข้าไปในผิวจนหมด ส่วนน้ำมันดินให้ลูบลงทางเดียว ห้ามถูไปมา แนะนำให้รับประทานยาตามแพทย์สั่งจนหมด ให้ใช้สบู่อ่อนทำความสะอาดผิวหนัง ห้ามใช้น้ำอุ่นจัด หากมีอาการมากอาจแนะนำให้ผู้ป่วยอาบแดด หรือบางรายอาจใช้การฉายรังสี UVB เมื่อสะเก็ดอ่อนลงให้ผู้ป่วยใช้แปรงขนอ่อนนุ่มปัดเอาสะเก็ดออก แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อม บุคคลที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์เครียด เนื่องจากความเครียดจะกระตุ้นให้อาการกำเริบ

127 Cellulitis

128 สาเหตุ การอักเสบที่เกิดจากเชื้อ Staphylococcus และ Streptococcus เข้าสู่ บาดแผล สาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรีย แมลงสัตว์ กัดต่อย หรือมนุษย์กัด บาดแผลเกิดที่ผิวหนัง เบาหวาน หรือแผลเบาหวาน หนังแตก รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน

129 ลักษณะอาการทางคลินิก
ผิวหนังบริเวณนั้นมีอาการปวด บวม แดง ร้อน ผิวหนังบริเวณนั้นดูตึงๆ ไข้ หนาว สั่น ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย

130 ภาวะแทรกซ้อน Gangrene Septicemia Meningitis หากเกิดที่ใบหน้า

131 เกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษา
ซักประวัติ ตรวจร่างกาย เพื่อหาตำแหน่งที่มีการอักเสบ เจาะเลือด เพื่อตรวจปริมาณเม็ดเลือดขาว (WBC) ถ้าเม็ดเลือดขาวมี มากแสดงว่า มีการติดเชื้อ เจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อหาสาเหตุของการติดเชื้อ

132 การรักษา รับไว้นอนโรงพยาบาล
ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ และ/หรือร่วมกับการ รับประทานยาปฏิชีวนะ ให้ยาแก้ปวด ลดไข้ เช่น paracetamol

133 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วย cellulitis
วัดและบันทึกสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิของร่างกาย ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล หากมีบาดแผลให้ทำความสะอาดบาดแผลด้วยวิธี wet dressing โดยใช้ aseptic tecniuqe ดูแลการได้รับยาต้านจุลชีพและยาแก้ปวดตามแผนการรักษา

134 Steven-Johnson Syndrome

135 สาเหตุ เชื่อว่า อาการของโรคเป็นผลมาจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ ตอบสนองต่อยา การติดเชื้อ หรือการเจ็บป่วยต่างๆ ทำให้เกิดการอักเสบ ของเซลผิวหนังและเยื่อบุผิวทั่วร่างกาย สาเหตุจากยา ที่พบบ่อย ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ กลุ่มsulfa,pennicillin,cephalosporin,rifampicin, ciprofloxacin,ethambutal ยากันชัก ; barbiturate,phenyltoinre,carbamaciphine ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ steroid ; ASA,phenylbutazole,priroxicam,ibruprophen,diclofenac,valdecoxin ยาลดกรดยูริกในเลือด; allopurinol ยาต้านไวรัสเอดส์; naviraphine,indinavior

136 สาเหตุ(ต่อ) เชื้อไวรัส ; Herpes simplex,HIV,Hepatitis virus,mumps,flu
สาเหตุจากการติดเชื้อ เชื้อไวรัส ; Herpes simplex,HIV,Hepatitis virus,mumps,flu เชื้อแบคทีเรีย; streptococcus group A,Typhoid,mycoplasma,dipteria เชื้อราและโปรโตซัวบางชนิด โรคมะเร็ง พบว่า มะเร็งหลายชนิด รวมทั้งมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่ชัก น้ำให้เกิดกลุ่มอาการ steven-johnson ผู้ป่วยเด็กมักเกิดจากโรคติดเชื้อมากกว่าการแพ้ยาและมะเร็ง ส่วนใน ผู้ใหญ่และคนสูงอายุ มักเกิดจากการแพ้ยาและมะเร็งมากกว่าโรคติด เชื้อ

137 ลักษณะอาการทางคลินิก
ก่อนผื่นขึ้น 1-14 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวด เมื่อยตามตัว เจ็บคอ เป็นหวัด ไอ ปวดข้อ อาเจียน ถ่าย เหลว อาการสำคัญ พบผื่นตุ่มขึ้นที่ผิวหนังและเยื่อบุผิว ผื่นที่ ผิวหนังเริ่มที่หน้า คอ คาง ลำตัวแล้วลามไปทั่วร่างกาย เริ่มแรกมีลักษณะเป็นผื่นแดง/จุดแดง ต่อมากลายเป็นตุ่ม น้ำพุพองและลอก ผื่นมักจะไม่คัน เป็นอยู่นาน 2-6 สัปดาห์ เมื่อหายจะให้เห็นเป็นรอยคล้ำ

138 ลักษณะอาการทางคลินิก(ต่อ)
ลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า target lesion ไม่จำเป็นต้องพบใน ผู้ป่วยทุกราย ลักษณะเหมือนเบ้าตาวัว ผื่นที่เยื่อบุอาจเกิด พร้อมกับผื่นที่ผิวหรือเกิดตามมาทีหลังก็ได้ พบได้ทั้งที่เยื่อบุตา จมูก ปาก บริเวณอวัยวะเพศและบริเวณทวารหนัก เยื่อบุปากจะขึ้นตุ่มน้ำแล้วแตกออกเป็นสะเก็ดสีม่วงแดง ผู้ป่วย อาจมีอาการเจ็บปากจนกินอาหาร ดื่มน้ำได้น้อยหรือไม่ได้เลย ผื่นที่เยื่อบุตาทำให้เจ็บตา น้ำตาไหล ตาแดง ตาแฉะ อาจทำให้ ลืมตาไม่ได้ ตาบวม ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ ผื่นที่อวัยวะเพศและทวารหนัก ทำให้ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ลำบาก แสบขัด ท้องผูก

139 เกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษา
วินิจฉัยจากอาการและอาการแสดงของโรค ตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) เซลอักเสบในชั้นหนังแท้ และการตายในเซลชั้นหนังกำพร้า (พบได้ในผู้ป่วย steven-johnson ทุกราย) CD4+, T-lymphocyte จำนวนมากในชั้นหนังกำพร้า CD8+,T-lymphocyte จำนวนมากในชั้นหนังแท้ ตรวจภูมิวิทยา พบ tumor necrosis factor-alpha ,soluble interleukin 2-receptor,interleukin 6

140 ภาวะแทรกซ้อน แผลที่กระจกตา ม่านตาอักเสบ กระจกตาอักเสบ หนังตาติดกัน ตาแห้ง แพ้แสงในรายที่เป็นรุนแรงจะทำให้ตาบอด พบได้ 8-15 % ระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดภาวะปอดอักเสบ การหายใจล้มเหลว อาการ หอบหืดหรือทางเดินหายใจถูกอุดกั้น หลอดอาหารตีบ ไตวายเฉียบพลัน อวัยวะเพศ ช่องคลอดตีบ หนังหุ้มปลายองคชาตติดกัน ผิวหนังเกิดแผลเป็นที่ดูน่าเกลียด ข้ออักเสบ ภาวะติดเชื้อร้ายแรง อาจรุนแรงถึงขึ้นภาวะโลหิตเป็นพิษ (Septicemia)

141 การรักษา รับไว้รักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก(ICU) เนื่องจากแผลมี ลักษณะคล้ายแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (Burn) ในรายที่ไม่รุนแรงโรคมักหายได้ใน 1-2 สัปดาห์ ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน ผื่นตุ่มจะหายช้า 2-6 สัปดาห์ อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 5-12

142 การรักษา(ต่อ) ในรายที่ทราบสาเหตุให้รักษาตามสาเหตุ
ให้การดูแลรักษาตามอาการ หรือภาวะที่พบร่วม เช่น การให้ สารน้ำเกลือแร่ และสารอาหารบำรุงร่างกาย ยาบรรเทาปวด ลดไข้ หากมีอาการทางตา ให้จักษุแพทย์ดูแลรักษาเพื่อป้องกันและ แก้ไขภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการตาบอด หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตาม แผนการรักษา

143 การรักษา(ต่อ) การใช้ยา steroid เพื่อลดการอักเสบและการแพ้ แพทย์จะ พิจารณาให้เป็นรายๆ เมื่อพบลักษณะอาการที่เข้ากันได้กับโรคนี้ ให้ปรึกษา แพทย์โดยเร็ว

144 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วย SJS
ผู้ป่วยจะมีอาการทำลายของเนื้อเยื่อบุช่องปาก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันสูญเสียหน้าที่ จากปฏิกิริยาการแพ้ยา ดังนั้น เมื่อพบว่า ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้ให้ รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาใส่ NG tube ดูแลการได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์ หากมีการติดเชื้อแทรกซ้อนให้ดูแลการได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา ดูแลการทำความสะอาดผิวหนังด้วยสบู่อ่อน หากอาการแสดงทางผิวหนังดีขึ้น แพทย์ อาจพิจารณาให้ 0.1%TA cream ทาบางๆเพื่อบรรเทาอาการคัน ระมัดระวังการติดเชื้อซ้ำเติมโดยเฉพาะทางผิวหนังที่แตกทำลาย ควรล้างมือก่อนและ หลังให้การพยาบาลผู้ป่วยทุกครั้งและแนะนำให้ผู้ป่วยและญาติล้างมือบ่อยๆ

145 Herpes Zoster ไข้สุกใส chickenpox งูสวัด herpes zoster/shingles
เป็นโรคติดต่อไม่รุนแรง พบมากในเด็ก อาจมีอาการไข้หรือไม่มีก็ได้ แล้วตามมาด้วยผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังและอาการคัน ซึ่งผื่นนี้ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส แล้วตกสะเก็ดหลุดออกมาโดยไม่มีแผลเป็น โดยทั่วไปหากเกิดในเด็กมักจะไม่รุนแรงและไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่หากเกิดกับผู้ใหญ่จะมีความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อน งูสวัด herpes zoster/shingles การติดเชื้อซ้ำของ VZV ในผู้ใหญ่ เช่น เคยเป็นไข้สุกใสแล้วมีการติดเชื้อซ้ำจะทำให้เกิดโรคงูสวัดได้

146 สาเหตุ ไข้สุกใส งูสวัด varicella-zoster virus/human herpesvirus3

147 ลักษณะอาการทางคลินิกไข้สุกใส
ระยะฟักตัว วัน ในเด็กจะมีอาการนำ เช่น มีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไอ และเจ็บคอพร้อมๆกับมีผื่นบริเวณผิวหนังและเยื่อบุในปาก ผื่นจะมีอาการคัน และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะเร็วมากใน ระยะต่างๆ จาก macule,papule,vesicle,pustule และ crust โดยจะขึ้นที่บริเวณลำตัวมาก จากนั้นจะกระจายไปตามแขนขา และมีจำนวนน้อยบริเวณใบหน้า ปลายมือปลายเท้าแทบไม่พบ เลย

148 ลักษณะของผื่นสุกใส

149 ลักษณะอาการทางคลินิกไข้สุกใส
ลักษณะของตุ่มน้ำใสคล้ายหยดน้ำเกาะอยู่ตามผิวหนัง รอบๆตุ่มน้ำใสจะอักเสบ แดง จากนั้นตุ่มจะยุบ เป็นหนอง ตรงกลางจะมีรอยบุ๋มและเริ่มแห้ง ตกสะเก็ดลอกหลุดออก หมดภายในระยะเวลา 5-20 วัน

150 ลักษณะอาการทางคลินิกงูสวัด
ระยะฟักตัวไม่แน่นอน ขึ้นกับภาวะการถูกกระตุ้นของเชื้อไวรัส หรือภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดต่ำลง มีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย เจ็บหรือเสียวแปลบๆที่ผิวหนัง บริเวณที่ผื่นจะขึ้น 2-3 วันก่อนจะมีผื่นแดงและตุ่มน้ำขึ้นอย่าง รวดเร็ว วันที่ 3-5 จะมีผื่นแดง ตุ่มน้ำใสๆคล้ายสุกใสแต่มีขนาดใหญ่กว่า มักจะอยู่เป็นกลุ่มตามแนวทางเดินของเส้นประสาทที่มาเลี้ยง ผิวหนังหรือบริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) แขนงใดแขนงหนึ่ง

151 ลักษณะอาการทางคลินิกงูสวัด(ต่อ)
ส่วนใหญ่มักพบบริเวณทรวงอก ตั้งแต่ใต้ราวนมด้านใด ด้านหนึ่ง และใบหน้าส่วนที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทสมองคู่ ที่ 5 (trigerminal nerve) ถ้าเป็นที่ตา อาจทำให้กระจกตาเป็นแผลและตาบอดได้ สามารถพบได้ที่ ไหล่ ปาก คอ บั้นเอว แขนและขา ตุ่มน้ำใสนี้จะยุบ แห้ง และตกสะเก็ดในระยะเวลาต่อมา และหายเองภายใน 2-3 สัปดาห์

152 ภาวะแทรกซ้อนของงูสวัด
ในผู้สูงอายุจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนมากในบริเวณที่มีผื่น หรือ แม้ว่า ผื่นยุบหายไปแล้วก็ตาม แต่ถ้าในรายที่มีตุ่มน้ำใสขึ้นบริเวณใบ หู และหูชั้นนอก ผู้ป่วยจะมีอาการของ Bell’s palsy ได้ เช่น ปาก เบี้ยว หลับตาไม่สนิท ยักคิ้วไม่ได้ ในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำจะมีตุ่มน้ำใสขึ้นทั้งตัว และอาจติดเชื้อ แบคทีเรียซ้ำทำให้กลายเป็นตุ่มหนอง แผลหายช้าและกลายเป็น แผลเป็นได้

153 เกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษา
การขูดเอาเซลจากตุ่มน้ำใสมาป้ายบน slide แล้วย้อมสี การตรวจดูเชื้อไวรัสด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนจะพบ อนุภาค ไวรัส การแยกเชื้อและพิสูจน์เชื้อ โดยการใช้น้ำของตุ่มที่ขึ้นในระยะแรกๆมา เพาะเชื้อ การตรวจภูมิวิทยา หาภูมิคุ้มกันใน serum โดยเริ่มเจาะเลือดครั้งแรก หลังผื่นขึ้นเร็วที่สุด หลังจากนั้นเจาะอีกครั้งหลังจากป่วยแล้ว 2-6 สัปดาห์

154 การรักษา ยาที่ใช้ยับยั้งความรุนแรงของโรค คือ acyclovir โดยให้ในระยะ ต้นๆของอาการที่ผื่นเริ่มขึ้น แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกัน บกพร่อง นอกจากนี้ให้รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาบรรเทาปวด และให้รับประทานยา antihistamine หรือ ทาผิวหนังด้วย calamine lotion แก้อาการคัน ดูแลผิวหนังให้สะอาด รายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำให้ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตาม แผนการรักษา

155 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยไข้สุกใส (Chickenpox /Herpes zoster
ดูแลการได้รับยาบรรเทาปวดตามแผนการรักษา ดูแลการได้รับยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังให้การ พยาบาล แนะนำให้ผู้ป่วยและญาติล้างมือบ่อยๆ รักษาความสะอาดปากและฟัน ใช้แปรงขนอ่อนนุ่ม งดการใช้น้ำยาบ้วนปาก แรงๆ อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายตามปกติโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะ สืบพันธุ์ ห้ามแคะแกะเกาแผล เพราะจะทำให้ลุกลามไปติดบริเวณอื่น งดเว้นการใช้ภาชนะร่วมกัน

156 Herpes Simplex

157 สาเหตุ โรคเริมเกิดจากเชื้อ Herpes Simplex Virus (HSV) : มี 2 serotypes

158 ลักษณะอาการทางคลินิก
ระยะฟักตัว 2-12 วัน หรือเฉลี่ยประมาณ 4-6 วัน การติดเชื้อครั้งแรกหรือการติดเชื้อซ้ำมักจะไม่เกิดอาการ แต่ถ้าติดเชื้อ HSV-1ครั้งแรกแล้วเกิดอาการมักพบในเด็ก มากว่าผู้ใหญ่ การติดเชื้อ HSV-2 มักเกิดอาการในวัยหนุ่มสาว ซึ่ง อาการและอาการแสดงมักเฉียบพลัน อาการของเริมที่เกิดจากการติดเชื้อซ้ำมักรุนแรงน้อยกว่า การติดเชื้อครั้งแรก

159 Genital herpes เริมที่อวัยวะเพศ
สาเหตุ 70-90% เกิดจากการติดเชื้อ HSV-2 ในผู้หญิงจะเป็นที่ช่องคลอด ปากมดลูก อวัยวะเพศภายนอกและก้น ในผู้ชายพบที่อวัยวะเพศหรือหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ทั้ง HSV-1 และ HSV-2 ก่อโรคที่อวัยวะเพศได้ไม่แตกต่างกัน ระยะฟักตัว 2-7 วันภายหลังสัมผัสเชื้อ การติดเชื้อครั้งแรกมักมีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว เบื่ออาหาร ต่อม น้ำเหลืองที่ขาหนีบอักเสบ บวมโตและเจ็บ มีตุ่มน้ำใสขึ้นที่บริเวณ อวัยวะเพศ หายภายใน 3 สัปดาห์แต่อาจเป็นซ้ำๆได้

160 Neonatal herpes เริมในทารกแรกเกิด
เกิดจากเชื้อ HSV-2 โดยเกิดขณะผ่านช่องทางคลอดจากมารดาที่เป็น โรคเริม หรือติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ อาการแสดงที่พบได้ตั้งแต่ไม่รุนแรงจนถึงเสียชีวิต เช่น แท้ง คลอด ก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย ความผิดปกติทางพัฒนาการและสมอง

161 เริมในผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การติดเชื้อเริมในผู้ที่มีความบกพร่องของภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รักษาด้วยเคมีบำบัด ผู้ติดเชื้อ HIV เมื่อติดเชื้อ HSV จะมีอาการรุนแรง และ ระยะเวลาในการหายช้ากว่ากระบวนการปกติ นอกจากอาการทางผิวหนังเรื้อรังแล้ว อาจมีอาการ ปอดบวม หลอดอาหารอักเสบ ตับอักเสบและลำไส้ ใหญ่อักเสบร่วมด้วย

162 เกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษา
การวินิจฉัยทางคลินิก อาการและอาการแสดง มักเริ่มต้นด้วยอาการแสบๆคันๆที่บริเวณก่อนจะเกิดตุ่มน้ำใส ขนาดเล็ก 2-3 mm. เป็นกระจุก การเจ็บแสบนี้จะเป็นมากใน 24 ชั่วโมงแรก เมื่อแตกออกจะเป็นแผลตื้นๆ ส่วนใหญ่พบบริเวณริมฝีปากล่างและอวัยวะเพศ

163 เกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษา(ต่อ)
การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ Tzanck test การขูดเซลชั้นผิวหนัง/เยื่อบุจากฐานของตุ่มน้ำใสมาย้อมสี การเพาะเชื้อแยกไวรัส การตรวจหา antibody ต่อเชื้อ HSV

164 การรักษา ยารักษาเริมที่ได้ผล คือ acyclovir (Zorivax) ซึ่งมีทั้งชนิด รับประทานและขี้ผึ้งสำหรับทา การรักษาตามอาการ เช่น ยาบรรเทาปวด รักษาอาการ คันด้วย calamine lotion

165 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วย Herpes simplex
ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาปวดตามแผนการรักษา ดูแลการได้รับยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา รักษาความสะอาด ระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ อาบน้ำทำความสะอาด ร่างกาย ล้างมือบ่อยๆ ให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค เช่น งดเว้น การใช้ภาชนะร่วมกัน ไม่แคะแกะเกาเพราะจะลามไปบริเวณอื่น

166 Fungal Infection

167 Pityriasis versicolor เกลื้อน

168 สาเหตุ เชื้อ Malassezia furfur หรือ Pityrosporum orbiculare ซึ่งเป็นจุลชีพ ประจำถิ่นบนผิวหนังของคนปกติ การเกิดโรคจึงขึ้นกับสภาวะของ Host มักพบในคนที่ขาดอาหาร ผู้ป่วย cushing’s syndrome ผู้ที่ได้รับยา steroid หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

169 ลักษณะอาการทางคลินิก
ลักษณะของผิวหนังโรคเกลื้อนจะเป็นรอยด่างสีขาว น้ำตาล หรือแดง แล้วแต่สีผิวของบุคคลนั้นๆ จะไม่มี อาการอักเสบหรือบวมแดง แต่มีอาการคัน โดยเฉพาะ เวลามีเหงื่อออกมากๆ มักพบรอยโรคตามใบหน้า หน้าอก คอ หลัง ไหล่ และตาม แขนขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางรายพบได้ที่หนังศีรษะ อวัยวะ เพศ ข้อพับต่างๆ

170 เกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษา
ใช้ Wood’s lamp ส่องบริเวณที่มีรอยด่าง จะพบ มีสี เหลืองทอง หรือเหลืองส้ม ขูดผิวหนังบริเวณที่มีรอยด่างมาวางบนแผ่นกระจก แล้ว หยดด้วย 10% KOH ปิดด้วย cover slip นำไปดูด้วย กล้องจุลทรรศน์จะพบยีสต์และสายราแท่งสั้นๆ การเพาะเชื้อ

171 การรักษา รักษาผิวหนังให้สะอาด ขัดขี้ไคลก็จะสามารถกำจัดเชื้อรา ออกไปได้
ยาทาภายนอก เช่น salicylic acid,sodium thiosulfate,clotrimazole หรือ ketoconazole ยารับประทาน เช่น ketoconazole,itraconazole เป็นเวลา 2-4 สัปดาห์

172 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเกลื้อน
กรณีที่ต้องประกอบอาชีพที่มีเหงื่อออกมาก หรือเล่นกีฬาเป็นประจำ ควรรีบทำความ สะอาดร่างกายด้วยการอาบน้ำฟอกสบู่ภายหลังเหงื่อออกทุกครั้ง(ภายใน 1-2 ชั่วโมง) หากไม่สะดวกต้องหาเสื้อผ้าใหม่มาเปลี่ยนเพื่อป้องกันความชื้นบริเวณผิวหนัง ควรฟอกสบู่บริเวณที่เป็นเกลื้อนสัก 2 ครั้ง และควรหมั่นขัดขี้ไคลเสมอเนื่องจากเชื้อ เกลื้อนชอบอยู่ในชั้นผิวหนังที่หลุดลอกออกมาเป็นขี้ไคล ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำมาจากฝ้ายเนื่องจากจะช่วยซับเหงื่อและระบายความร้อนได้ดี หลังจากอาบน้ำเสร็จควรซับผิวหนังให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณซอกอับ หรือข้อพับ ควรซักผ้าเช็ดตัวทุกวัน ผู้ป่วยเกลื้อน ควรต้มเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน โดยต้มในน้ำเดือด 100 องศาเซลเซียสและแยกเสื้อผ้าไม่ใช่ปะปนกับผู้อื่น

173 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเกลื้อน(ต่อ)
ในผู้ป่วยที่มีระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เช่น เบาหวาน การได้รับยาเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา หรือผู้ป่วยที่ได้รับยาในกลุ่ม steroid เป็น ระยะเวลานาน เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรค เกลื้อน

174 Cutaneous mycoses กลาก

175 เกิดจากเชื้อราที่ก่อให้เกิดอาการกับส่วนที่ มีเคอราติน
สาเหตุ เกิดจากเชื้อราที่ก่อให้เกิดอาการกับส่วนที่ มีเคอราติน โรคที่เกิดจากรากลุ่มนี้ เรียกว่า “กลาก (tinea หรือ ring worm)”

176 ลักษณะอาการทางคลินิก
โรคกลากที่หนวดและเครา Tinea barbae มีการอักเสบที่ ต่อมขุมขนของหนวดหรือเคราบริเวณใบหน้า สาเหตุเกิด จาก Trichophyton rubrum และ T. verrucosum โรคกลากลำตัว Tinea corposis เป็นบริเวณลำตัวและต้น แขน มีลักษณะเป็นผื่นวงกลม ที่ขอบของผื่นมีตุ่มน้ำใส บริเวณตรงกลางผื่นเกลี้ยงเหมือนผิวธรรมดา มีอาการคัน มาก สาเหตุจาก Trichrophyton และ Microsporum

177 ลักษณะอาการทางคลินิก(ต่อ)
โรคกลากที่เท้า (Tinea pedis/HongKong foot) มัก เป็นเรื้อรัง บริเวณง่ามนิ้วเท้า ฝ่าเท้า มีสีแดง แฉะ มีกลิ่นเหม็นอับ แผ่นหนังบริเวณซอกนิ้วเท้าลอก ออกได้

178 เกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษา
วินิจฉัยได้จากอาการและลักษณะของรอยโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะช่วยยืนยันการ วินิจฉัยโรคและพิสูจน์ชนิดของเชื้อราที่เป็นสาเหตุ ของโรค ; การขูดบริเวณขอบของรอยโรค/จาก บริเวณที่ผิดปกติ

179 การรักษา ใช้ยาทาภายนอก เช่น imidazole,tonaftate
ใช้ยารับประทาน เช่น griseofulvin 500-1,000 mg/day หรือ ketoconazole 200 mg/day เป็นเวลา 6-12 สัปดาห์ กลากที่เท้านอกจากรับประทานยาร่วมกับใช้ยาทา ภายนอกแล้ว ควรแนะนำให้ใส่รองเท้าที่สามารถระบาย อากาศได้ดี หรือรองเท้าเปิด ส่วนรองเท้าคู่ที่ใช้อยู่ควรฆ่า เชื้อราด้วยการอบด้วย formalin ประมาณ 1 สัปดาห์

180 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วย เชื้อราที่ผิวหนัง/กลาก
ให้คำแนะนำในการใช้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ ให้คำแนะนำเรื่องการรักษาความสะอาดของร่างกาย ในผู้ป่วยที่เป็นกลากที่เท้า(ฮ่องกงฟุต) ควรรักษาความ สะอาดที่พื้นห้องน้ำ และควรสวมรองเท้าที่สามารถ ระบายอากาศได้ดี

181 Candidiasis

182 สาเหตุ เชื้อ Candida เป็นโรคเชื้อราที่เกิดกับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆของร่างกาย Candida albicans เป็นยีสต์ที่พบในคนปกติ บริเวณเยื่อบุในช่องปาก ลำคอ ลำไส้ และอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง เมื่อร่างกายอ่อนแอเชื้อ นี้จะก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ทันที โดยเฉพาะคนที่เป็นเบาหวาน ผู้ที่ รับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน

183 ลักษณะอาการทางคลินิก
แบ่งตามอวัยวะที่ก่อพยาธิสภาพ การติดเชื้อที่ผิวหนัง รอยโรคจะคล้ายกับรอยโรคที่เกิด จากพวก dermatophyte บริเวณที่พบรอยโรคมาก คือ ผิวหนังบริเวณที่มีความชื้น ผิวหนังที่ซ้อนติดกัน เสืยดสี กัน เช่น ผื่นผ้าอ้อมของเด็ก ง่ามนิ้ว รักแร้ ขาหนีบ ใต้ หน้าอกขนาดใหญ่ เป็นต้น

184 ลักษณะอาการทางคลินิก(ต่อ)
2. การติดเชื้อที่เยื่อบุ ทำให้เกิดรอยโรคมีลักษณะเป็นแผ่นฝ้า ขาวเทา (thrush) มีขอบแดงรอบๆแผ่นฝ้า ในช่องปาก เพดานปากและลิ้น เมื่อเขี่ยแผ่นฝ้าขาวนี้หลุดออกได้ง่าย พบใน คนที่อนามัยช่องปากไม่ดี ใส่ฟัน หรือสูบบุหรี่จัด รายที่เป็นมากอาจพบได้ทั้งปาก ในเยื่อบุทางเดินปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะขัด ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะเป็นเลือด ในช่องคลอด ทำให้เกิดการอักเสบของช่องคลอด มีตกขาวและคันบริเวณช่องคลอด

185 ลักษณะอาการทางคลินิก(ต่อ)
3. การติดเชื้อที่อวัยวะภายใน ทำให้เกิดการแพร่กระจายของ เชื้อไปทางกระแสโลหิต พบในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันต่ำมาก เช่น มะเร็งระยะสุดท้าย, Hodgkin’s disease หรือคนที่ ได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ

186 เกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษา
การตรวจรูปพรรณ ลักษณะของเชื้อรา การสืบพันธุ์ คุณสมบัติการ ย่อยน้ำตาลชนิดต่างๆ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีลักษณะต่างกัน Candida albicans จะพบคุณสมบัติพิเศษ คือ germ tube ให้ผลบวก (การนำ colony ที่สงสัยมาผสมกับ Serum ของสัตว์ เพาะเชื้อที่ อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง นำมาตรวจดู germ tube ด้วยกล้องจุลทรรศน์)

187 การติดเชื้อที่ผิวหนังและเยื่อบุ
การรักษา การติดเชื้อที่ผิวหนังและเยื่อบุ ยาทาภายนอก เช่น nystatin,clotrimazole และ ketoconazole การติดเชื้อที่อวัยวะภายใน Amphotericin B

188 การพยาบาลสำหรับผู้ป่วย Candidiasis
ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษา ดูแลรักษาสุขอนามัยของร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณช่องปากและอวัยวะสืบพันธุ์


ดาวน์โหลด ppt ศันสนีย์ รุ่งรัตน์ธวัชชัย วท.ม.(สรีรวิทยา)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google