งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
Biology (ว.30241) คัดลอกและแก้ไขเพิ่มเติมจากMiss Onusa Pathumchai

2 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ผลการเรียนรู้ : สืบค้นข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับลักษณะที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต สาระการเรียนรู้ 1. สิ่งมีชีวิตคืออะไร 2. ชีววิทยาคืออะไร 3. ชีววิทยากับการดำรงชีวิต 4. ชีวจริยธรรม

3 จากภาพนี้ นักเรียนคิดว่า ครูจะสื่อความหมายในเรื่องใด

4 ให้นักเรียนแต่ละคนยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตมาคนละ 1 ชนิด ที่ไม่ซ้ำกัน
ให้นักเรียนแต่ละคนยกตัวอย่างสิ่งไม่มีชีวิตมาคนละ 1 ชนิด ที่ไม่ซ้ำกัน

5 นักชีววิทยาใช้เกณฑ์อะไรในการจำแนกสิ่งที่พบเห็นว่าเป็นสิ่งมีชีวิต?
1. สิ่งมีชีวิตคืออะไร นักชีววิทยาใช้เกณฑ์อะไรในการจำแนกสิ่งที่พบเห็นว่าเป็นสิ่งมีชีวิต?

6 เกณฑ์ที่นักชีววิทยาใช้ในการจำแนกสิ่งที่พบเห็นว่าเป็นสิ่งมีชีวิต
1) สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์ 2) สิ่งมีชีวิตต้องการสารอาหารและพลังงาน 3) สิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโต มีอายุขัยและขนาดจำกัด 4) สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม 5) สิ่งมีชีวิตมีลักษณะจำเพาะ 6) สิ่งมีชีวิตมีการรักษาดุลยภาพของร่างกาย 7) สิ่งมีชีวิตมีการจัดระบบภายในเซลล์และร่างกาย

7 กิจกรรมเพื่อพัฒนาความพอประมาณ ความมีเหตุผลและคุณธรรม
กิจกรรมเพื่อพัฒนาความพอประมาณ ความมีเหตุผลและคุณธรรม นักเรียนนับเลข 1- 5 จนครบทุกคนแล้วจำหมายเลขที่ตนเองนับเอาไว้ นักเรียนที่นับหมายเลขเดียวกันมาอยู่ด้วยกัน เมื่อได้กลุ่มแล้ว ให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนนับ 1-5 อีกครั้งแล้วจำหมายเลขที่ตนเองนับเอาไว้ พร้อมทั้งเลือกหัวหน้ากลุ่ม รองหัวหน้ากลุ่ม เลขานุการ (ให้เวลา 5 นาที) หมายเลขประจำตัวของแต่ละคน (ที่ได้มาจากการนับ) จะเป็นหมายเลขหัวข้อที่นักเรียนจะต้องศึกษารายละเอียด แล้วบันทึกข้อมูลไว้ (ให้เวลาในการศึกษา 30 นาที) นักเรียนที่นับหมายเลข 1 อธิบายเนื้อหาในหัวข้อที่รับผิดชอบให้เพื่อนสมาชิกฟัง จนครบทุกคน(สมาชิกสามารถซักถามข้อสงสัยได้) (ให้เวลาในการศึกษา 30 นาที) สรุปเนื้อหาที่ได้จากการศึกษา (ผังมโนทัศน์) (ให้เวลาในการสรุป 20 นาที) ทุกกลุ่มนำผลงานออกมาติดที่มุมต่าง ๆ ภายในห้อง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม

8 คำถามสู่ความพอเพียง จากการทำกิจกรรมนี้นักเรียนได้พัฒนาตนเองในเรื่องใด เวลาในการศึกษาเนื้อหาสาระพอเพียงหรือไม่ เวลาในการสรุปเนื้อหาสาระภายในกลุ่ม (ผังมโนทัศน์) พอเพียงหรือไม่ มีปัญหาหรืออุปสรรคใดบ้างในการทำกิจกรรมนี้ หลังจากนำชิ้นงาน (ผังมโนทัศน์) มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม ได้ความรู้อะไรเพิ่มเติม

9 สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์ (Reproduction)

10

11 ใช่การสืบพันธุ์หรือไม่ ?

12

13 Asexual Reproduction

14 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
1. Binary fission แบ่งจาก พบใน Protis และสัตว์เซลล์เดียว 1.1 แบ่งแบบไม่มีทิศทางที่แน่นอน (Nondirectional binary fission) เช่น อะมีบา 1.2 การแบ่งตามขวางของลำตัว (Transverse binary fission) เช่น พารามีเซียม 1.3 การแบ่งเซลล์ตามยาวของลำตัว (Longitudinal binary fission) เช่น ยูกลีนา

15

16 2. การสร้างสปอร์ (Sporulation) หรือพวกเชื้อไข้จับสั่น (Malaria)
Protozoa พวก Sporozoa คือ พวกพลาสโมเดียม หรือพวกเชื้อไข้จับสั่น (Malaria) พวกเห็ดรา สร้างสปอร์ในสปอแรงเจียม (Sporamgium)

17 3. การแตกหน่อ (Budding) ไฮดราหรือยีสต์ - บริเวณที่จะแตกหน่อมีการแบ่งเซลล์แบบ Mitosis - ไฮดราตัวเล็กๆ จะหลุดจากแม่หรือติดอยู่กับแม่ก็ได้ ฟองน้ำ มีการสร้างเจมมูล (Gemmule) พืชไบรโอไฟต์พวกลิเวอร์เวิร์ต สร้างเจมมา(Gemma) คล้ายเจมมูล

18 4. การงอกใหม่ (Regeneration)
เป็นการสืบพันธุ์ หรือไม่ก็ได้ ดอกไม้ทะเล พลานาเรีย ดาวทะเล เป็นการสืบพันธุ์ การงอกของหางจิ้งจก ไม่เป็นการสืบพันธุ์

19 5. การหักสาย (Fragmentation)
พบในสาหร่ายที่เป็นสายยาว

20 6. การสืบพันธุ์ของไวรัส (Reproduction of virus)
อาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นช่วยในการเพิ่มจำนวน ศึกษาจากไวรัสที่ทำลาย Bact.(Bacteriophage)

21 Sexual Reproduction conjugation

22 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual Reproduction )
เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ + เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย(Fertilization) ได้ Zygote 2 เพศในตัวเดียวกัน เรียกว่า กระเทย (Hermaphrodite) เช่น ไฮดรา พยาธิตัวแบน พลานาเรีย ไส้เดือนดิน แยกเพศ เช่น พยาธิตัวกลม อาร์โทรพอด สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ในพืชชั้นสูงมักมี 2 เพศในตัวเดียวกัน

23 ทำไมต้อง Reproduction
ผลิตลูกหลานเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ - เพิ่มปริมาณ

24 สิ่งมีชีวิตต้องการสารอาหารและพลังงาน
เมแทบอลิซึม (Metabolism) เป็นกระบวนการชีวเคมีของสารต่างๆ ภายใน สิ่งมีชีวิต มีเอนไซม์เป็นตัวเร่ง เพื่อสังเคราะห์สารใหม่ทดแทนสารที่สูญเสียไป และผลิตพลังงานมาใช้ในกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย

25 แคแทบอลิซึม (catabolism) การสลายสารเพื่อให้ได้พลังงาน และความร้อนถูกปลดปล่อยออกมา เช่น การหายใจ
แอแนบอลิซึม (anabolism) การสังเคราะห์สารเพื่อการเจริญเติบโต อาศัยพลังงานจาก Catabolism เปลี่ยนสารโมเลกุลเล็ก เป็นสารโมเลกุลใหญ่ มีการเก็บพลังงานไว้ในสารโมเลกุลใหญ่ เช่น การสังเคราะห์แสง การสังเคราะห์โปรตีน กรดอะมิโน ทำให้มีการเพิ่มปริมาตรของโพรโทพลาสซึม ทำให้เกิดการเจริญเติบโต

26

27 สิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโต มีอายุขัยและขนาดจำกัด
- เป็นผลจากกระบวนการแอแนบอลิซึม เพิ่มจำนวนโพรโทพลาสซึม และเซลล์ - การเจริญเติบโตจากไซโกตเป็นตัวเต็มวัย เซลล์มีการเปลี่ยนแปลง คือ การเพิ่มจำนวน (cell division) การเพิ่มขนาดของเซลล์ และขนาดของร่างกาย (growth) การเปลี่ยนแปลงเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง (cell differentiation) การเกิดรูปร่างที่แน่นอน (morphogenesis)

28

29 Metamorphosis

30

31

32 life cycle of a frog

33

34

35 สิ่งมีชีวิตมีอายุขัย
ชนิดของสิ่งมีชีวิต อายุขัยสูงสุด / ปี คน เต่ากาลาปากอส ช้างอินเดีย จระเข้ เหยี่ยว กอลิล่า คางคก สัตว์ตระกูลแมว สุนัข ค้างคาว นกพิราบ หนู หนูผี แมลงวัน   3 1 6 สัปดาห์ สิ่งมีชีวิตมีอายุขัย

36 สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม
- มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งทางบวก และทางลบ ทิศทางการเจริญของรากและยอดของหัวหอม

37 สิ่งเร้า (Stimulus)  คือสิ่งที่มากระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองเกิดเป็นพฤติกรรมขึ้น
หรือ หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ตัวอย่างเช่น เห็นคนกำลังทานอาหารที่เราชอบ แล้วเราเกิดน้ำลายสอขึ้นมา อาหารที่เราชอบนั้น ถือเป็นสิ่งเร้าที่กระตุ้นเรา

38 สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการตอบสนอง ของพืชแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1
สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการตอบสนอง ของพืชแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ          1. สิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ แสงสว่าง อุณหภูมิ แรงโน้มถ่วงของโลก สัมผัส ความชื้น ลมฯลฯ          2. สิ่งเร้าภายใน ได้แก่ ระยะการเจริญเติบโตซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ ฮอร์โมน น้ำในเลือด ความหิว ความเครียด เป็นต้น

39 กาบหอยแครง ไมยราพ

40

41

42 คุณนายตื่นสาย ทานตะวัน ดอกบัว รากเคลื่อนที่เข้าหาความชื้น

43 แมงเม่าบินเข้าหาแสงไฟ

44 สิ่งมีชีวิตมีลักษณะจำเพาะ

45 สังเกตจากลักษณะภายนอก เช่น รูปร่าง ขนาด ความสูง สีผิว ลักษณะเส้นขน จำนวนขา ลักษณะพื้นผิวที่เรียบ หรือขรุขระ เป็นต้น

46 ลักษณะบางอย่างต้องตรวจสอบด้วยการทดลอง เช่น การชิมรส การดมกลิ่น เป็นต้น
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ตามชนิดของตนแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์มากมาย ซึ่งทำให้นักชีววิทยาสามารถจำแนกชนิดพันธุ์และตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตไว้ประมาณ 1.5 ล้านชนิดพันธุ์

47 สิ่งมีชีวิตมีการรักษาดุลยภาพของร่างกาย
Homeostasis

48

49

50 ปลาน้ำจืดจะมีความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายสูงกว่าในน้ำ ทำให้เกิดการออสโมซิส (osmosis) ของน้ำจากภายนอกเข้าสู่ตัวปลาตลอดเวลา ปลาน้ำจืดจึงมีการปรับตัวโดยมีผิวหนังและเกล็ดเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้ซึมผ่านเข้าตัวปลา ขณะที่ปลากินอาหารจะมีน้ำปะปนเข้าไปด้วยปลาน้ำจืดจึงไม่ดื่มน้ำและมีโกลเมอรูลัสใหญ่เจริญดีมาก ทำให้ปลาน้ำจืดมีไตใหญ่กว่าปลาทะเลและขับน้ำได้มาก ในขณะเดียวกันจะมีการสูญเสียแร่ธาตุไปกับปัสสาวะด้วย เพราะท่อไตดูดซึมกลับได้ไม่หมด แต่ปัสสาวะจะมีความเข้มข้นน้อยกว่าของเหลวในร่างกาย (hypotonic urine) เพราะมีน้ำมาก ปลาจะมีการทดแทนแร่ธาตุที่สูญเสียไปกับปัสสาวะและทางการแพร่ โดยการกินอาหารและดูดซึมแร่ธาตุทางผิวหนังและเหงือกได้ด้วยกระบวนการแอกทีฟทรานสปอร์ต

51 ปลาน้ำเค็มจะมีความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายต่ำกว่าในน้ำทะเล ปลาน้ำเค็มจึงมีการดื่มน้ำและพยายามสงวนน้ำไว้ในร่างกายให้มากโดยมีไตที่มีขนาดเล็กหรือไม่มีโกลเมอรูลัส จึงปัสสาวะน้อยและเข้มข้น ส่วนการควบคุมแร่ธาตุโดยมีผิวหนังและเกล็ด ที่สามารถป้องกันแร่ธาตุจากน้ำทะเลซึมเข้าตัว และมีวิธีขับแร่ธาตุที่มากเกินความต้องการที่บริเวณเหงือกด้วยวิธีการแอกทีฟทรานสปอร์ต แร่ธาตุที่ผ่านทางเดินอาหารจะไม่มีการดูดซึมเข้าเซลล์

52 เพราะเหตุใดเราจึงไม่สามารถนำปลาน้ำจืดไปเลี้ยงในน้ำทะเลหรือนำปลาทะเลมาเลี้ยงในน้ำจืดได้
เพราะการดูดซึมที่เหงือกของปลาน้ำจืดและปลาทะเลต่างกัน คือ เหงือก ปลาน้ำจืด ทำหน้าที่ดูดแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ได้รับแร่ธาตุมากเกินความจำเป็น โกลเมอรูลัสจะขับน้ำออกมามาก ส่วนเหงือก ปลาทะเล ทำหน้าที่ขับแร่ธาตุออก ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุ โกลเมอรูลัส ขับน้ำออกมาได้น้อยทำให้มีน้ำในตัวปลามากเกินความต้องการ

53

54

55

56 การรักษาสมดุลน้ำในร่างกาย โดยไต
ADH ปัสสาวะเข้มข้นสูง

57 การรักษาสมดุลของกรด- เบสในมนุษย์
การรักษาสมดุลของกรด- เบสในมนุษย์ การควบคุมกรด เบส ในร่างกายทั่วไปนั้น หมายถึง การควบคุมความเข้มข้นของ ไฮโดรเจนอิออนของน้ำในร่างกายหรือเลือดให้มีค่าคงที่ เพื่อให้เหมาะกับการทำงานของเอนไซม์และปฏิกิริยาต่างๆในร่างกาย การที่ของเหลวในร่างกายหรือในเซลล์ จะมีโฮโดรเจน อิออนมากหรือน้อยนั้นเกิดจากการแตกตัวของโฮโดรเจนอิออน จากกรดชนิดต่างๆ ถ้ามีโฮโดรเจนอิออนเข้มข้นมากค่า PH จะต่ำแสดงสภาพเป็นกรด แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าของเหลวนั้นมีโฮโดรเจน- อิออน เข้มข้นน้อยค่า PH จะสูงแสดงสภาพเป็นเบส

58 กลไกการควบคุมกรด เบสในร่างกาย 1
กลไกการควบคุมกรด เบสในร่างกาย 1. โดยการเปลี่ยนแปลงอัตราการหายใจเพื่อลดหรือเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์    oโดยศูนย์ควบคุมการหายใจที่สมองส่วนเมดัลลาออบลองกาตา    o ซึ่งการหายใจจะช่วยแก้ปัญหาความเป็น กรด เบส ในเลือดได้ 50-70% 2. ระบบบัฟเฟอร์     คือระบบที่ช่วยให้สารละลายใดๆที่ทำให้มีค่าความเป็น กรด เบส เกือบคงที่บัฟเฟอร์ที่สำคัญในเลือดได้แก่     3. การขับ H+(ที่เพิ่มขึ้น)ทางไต     กรดในร่างกายมากขับออกไปพร้อมกับปัสสาวะ ถ้าเป็นเบสในร่างกายมากก็ขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ

59 ปากใบของพืช

60 สิ่งมีชีวิตมีการจัดระบบภายในเซลล์และร่างกาย
การจัดระบบในระดับเซลล์ การจัดระบบในระดับร่างกาย การจัดระบบในระดับประชากร การจัดระบบในระดับกลุ่มสิ่งมีชีวิต

61

62

63 ทำแบบฝึกหัด

64 1. การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตคือวิชาวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียกว่าอะไร
ก.Chemistry ข.Physics ค.Biology ง.Earth Science

65 2.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต
ก. มีการรักษาดุลยภาพ ข. ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ค. มีลักษณะจำเพาะ ง. สร้างอาหารได้

66 3. ภาพด้านล่างนี้บ่งบอกถึงคุณลักษณะใดตามลำดับ
ก.Growth ---> Reproduction ข.Cell organization ---> Growth ค.Reproduction ----> Growth ง.Responsiveness--- > Growth

67 4. ข้อใดกล่าวถึง Metabolism ได้ถูกต้อง
ก. เป็นการสลายสารอาหารเพื่อได้พลังงาน ข. เป็นทั้งกระบวนการสร้างและสลาย ค. เป็นการสร้างสารขนาดใหญ่จากสารขนาดเล็ก ง. เป็นกระบวนการที่เกิดเฉพาะในสัตว์

68 5. สิ่งที่ช่วยพารามีเซียมในการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายคือโครงสร้างใด
ก.Nasal gland ข.Contractile vacuole ค.nucleus ง.Cell membrane

69 6. เซลล์พิเศษของปลาที่ช่วยขับเกลือออกในปลาน้ำเค็ม และช่วยดึงเกลือเข้าในปลาน้ำจืด อยู่ที่ ใด
ก. เกล็ดปลา ข. เหงือก ค. เส้นข้างลำตัว ง. กระเพาะปลา

70 7.พืชชนิดใดที่ ในหลวง ทรงให้มีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแล้วพระราชทานแก่ราษฎร
ก. ขนุนไพศาลทักษิณ ข. กล้วยไม้เอื้องศรีเชียงดาว ค. หญ้าแฝก ง. ฝรั่งกิมจู

71 เฉลย 1. ค.Biology 2. ง. สร้างอาหารได้
3. ค.Reproduction ----> Growth 4. ข. เป็นทั้งกระบวนการสร้างและสลาย 5. ข.Contractile vacuole 6. ข. เหงือก 7. ก. ขนุนไพศาลทักษิณ

72 8. สิ่งมีชีวิตคืออะไร……………………………………………
9. การสืบพันธุ์คืออะไร………..……………………………… 10. การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตแบ่งออกเป็น………ประเภทอะไรบ้าง 11. จงยกตัวอย่างการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ………………… 12. พลังงานสำคัญต่อชีวิตอย่างไร……………………………… 13. พลังงานที่อยู่ในสารอาหารได้มาจากไหน……………………

73 14. กระบวนการเมแทบอลิซึม คืออะไร…………………………
15. แหล่งกำเนิดของพลังงานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตบนโลกคือ… 16. การเจริญเติบโต ของสิ่งมีชีวิตวัดได้จากสิ่งใดได้บ้าง………… 17. ปัจจัยใดบ้างมีผลต่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้า………………… 18. คอนแทร็กไทล์แวคิวโอลของพารามีเซียมทำหน้าที่ใด……… 19. นักเรียนคิดว่าปลาน้ำจืดจำเป็นต้องได้รับน้ำเข้าสู่ร่างกายบ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด………

74 20. เหตุใดจึงต้องพยายามรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่อยู่
เสมอ…… 21. ร่างกายมีวิธีการรักษาอุณหภูมิให้คงที่ได้อย่างไร………………… 22. สัตว์เลือดอุ่นและสัตว์เลือดเย็นแตกต่างกันอย่างไร……………… 23. เมื่ออุณหภูมิสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร่างกายคน แมว และ กิ้งก่า เปลี่ยนแปลงอย่างไร 24. สัตว์เขตร้อนและสัตว์เขตหนาวมีการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย อย่างไรบ้าง……

75 25. ยกตัวอย่างกระระบายความร้อน และป้องกันการสูญเสีย
ความร้อนออกจากร่างกาย สัก 3 – 4 ตัวอย่าง……… 26. ร่างกายจะรักษาระดับกรด-เบส ให้เหมาะสมได้อย่างไร...... 27. เหตุใดจึงต้องรักษาสมดุลของความเป็นกรด-เบสของ เลือด……………………………… 28. ปัจจัยใดบ้างที่อาจมีผลต่อการคายน้ำของพืช……….. 29. จงบอกคุณสมบัติ และองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต……..

76 2. ชีววิทยาคืออะไร Bi

77 ชีววิทยา (Biology) มาจากคำภาษากรีก
ชีว (bios แปลว่า ชีวิต สิ่งมีชีวิต) วิทยา (logos แปลว่า วิชา ศึกษา ความคิด การมีเหตุผล) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต

78 องค์ประกอบของชีววิทยา
ส่วนที่เป็นความรู้ ส่วนที่เป็นกระบวนการค้นหาความรู้

79 สาขาของชีววิทยา 1.ศึกษาสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่มของสิ่งมีชีวิต 1.1) สัตววิทยา (Zoology) เป็นการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ของสัตว์ แบ่งออกเป็นสาขาย่อยๆ เช่น - สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (invertebrate) - สัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) - มีนวิทยา (Icthyology) ศึกษาเกี่ยวกับปลาชนิดต่างๆ - สังขวิทยา (Malacology) ศึกษาเกี่ยวกับหอยชนิดต่างๆ - ปักษินวิทยา (Ornithology) ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับนก - วิทยาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammalogy) - กีฎวิทยา (Entomology) ศึกษาเกี่ยวกับแมลง - วิทยาเห็บไร (Acarology) ศึกษาเกี่ยวกับเห็บและไร

80 1.2) พฤกษศาสตร์ (Botany) ศึกษาเรื่องราวต่างๆ ของพืช เช่น - พืชชั้นต่ำ (Lower plant) ศึกษาพวกสาหร่าย มอส - พืชมีท่อลำเลียง (Vascular plants) ศึกษาพวกเฟิร์น สน ปรง จนถึงพืชมีดอก - พืชมีดอก (Angiosperm) ศึกษาพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

81 1.3) จุลชีววิทยา (Microbiology) ศึกษาเรื่องราวต่างๆ ของจุลินทรีย์ เช่น
- วิทยาแบคทีเรีย (Bacteriology) ศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรีย - วิทยาไวรัส (Virology) ศึกษาเกี่ยวกับไวรัส - วิทยาสัตว์เซลล์เดียว (Protozoology) ศึกษาเกี่ยวกับโพรโทซัว

82 2.ศึกษาจากโครงสร้างหน้าที่และการทำงานของสิ่งมีชีวิต - กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) ศึกษาโครงสร้างต่างๆ โดยการตัดผ่า - สัณฐานวิทยา (Morphology) ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต - สรีรวิทยา (Physiology) ศึกษาหน้าที่การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต - พันธุศาสตร์ (Genetics) ศึกษาลักษณะต่างๆ ทางกรรมพันธุ์และการถ่ายทอดลักษณะต่างๆจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน

83 - นิเวศวิทยา (Ecology)
ศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม - มิญชวิทยาหรือเนื้อเยื่อวิทยา (Histology) ศึกษาลักษณะของเนื้อเยื่อทั้งทางด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน วิทยาเอ็มบริโอ (Embryology) ศึกษาการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ปรสิตวิทยา (Parasitology) ศึกษาเกี่ยวกับการเป็นปรสิตของสิ่งมีชีวิต วิทยาเซลล์ (Cytology) ศึกษาโครงสร้างหน้าที่ของเซลล์สิ่งมีชีวิต

84 3.ศึกษาเรื่องราวของสิ่งมีชีวิต
อนุกรมวิธาน (Taxonomy) ศึกษาเกี่ยวกับการแบ่งหมวดหมู่ การตั้งชื่อ สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ วิวัฒนาการ (Evolution) ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) ศึกษาเกี่ยวกับซากโบราณของสิ่งมีชีวิต

85 3. ชีววิทยา กับการดำรงชีวิต

86 ชีววิทยาสำคัญต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างไร
การดูแลรักษาสุขภาพ - การเลือกบริโภคอาหาร

87

88

89 - การออกกำลังกาย - การดูแล รักษาระบบต่างๆของร่างกาย

90 ถ้าไม่ออกกำลังกาย จะเป็นเช่นนี้

91 2. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
- การตัดไม้ทำลายป่า - การปลูกพืชคลุมดิน

92

93 3. การพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการกินดีอยู่ดีของมนุษยชาติ
-Cloning คือ การสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิมทุกประการ

94 - GMOs (genetically modified organisms) คือ สิ่งมีชีวิตที่มีการตัดและต่อยีนด้วยเทคนิคพันธุวิศวกรรม(genetic engineering) ทำให้มีลักษณะพันธุกรรมตามต้องการ

95 - การผสมเทียมในหลอดแก้ว แล้วถ่ายฝากตัวอ่อน (In Vitro Fertilization Embryo Transfer หรือ IVF& ET )
เป็นวิธีการเก็บเซลล์สืบพันธุ์ทั้งไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกาย จนแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อน  และทำการเลี้ยงตัวอ่อนภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการ จะถึงระยะ  เซลล์  หรือเป็น Blastocyst หรือเมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตได้  3-5 วัน จากนั้นจะทำการย้าย  ตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกของผู้หญิง

96

97 การทำอิ๊กซี่ ( Intra Cytoplasmic Sperm Injection หรือ ICSI) คัดเชื้ออสุจิที่สมบูรณ์เพียงตัวเดียว ฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง  จะต้องเลี้ยงต่อในตู้อบอุณหภูมิ 37 องศาเซ็นติเกรดเป็นเวลา ชม. ดูว่ามีการปฏิสนธิเป็น "ตัวอ่อน“ นำกลับเข้าสู่ร่างกายสตรีทางปากมดลูก(42-44ชม.)หรือปีกมดลูก ใช้ในกรณีที่เด็กหลอดแก้วธรรมดาไม่ประสบความสำเร็จ

98 - การทำกิฟท์ ( Gamete IntraFollopain Transfer หรือ GIF) นำเซลล์สืบพันธุ์ไข่และอสุจิมาผสมกัน แล้วใส่กลับเข้าสู่ท่อนำไข่ทันทีอาศัยให้อสุจิและไข่ปฏิสนธิกันเองตามธรรมชาติ

99 การทำซิฟท์ ( Zygote IntraFollopain Transfer หรือ ZIFT) เซลล์สืบพันธุ์ไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกายก่อน  แล้วจึงนำตัวอ่อนในระยะ Zygote ใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ 

100

101 - การพัฒนาเทคนิคทางด้าน DNA ตรวจหาความสัมพันธ์ทางสายเลือด
- การผลิตสาหร่ายสไปรูไลนาซึ่งให้โปรตีนสูง - การศึกษาทางด้านพืชสมุนไพรนำมาผลิตเป็นยารักษาโรค การผลิตฮอร์โมนอินซูลินจากยีสต์เพื่อรักษาโรคเบาหวานในคน การทำแท้ง ขัดต่อศาสนาและกฎหมาย การใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต การใช้สารพิษ เช่น ฟอร์มาลิน บอร์แรกซ์ สีย้อมผ้า

102 ทำแบบฝึกหัด

103 1. วิชาชีววิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งใด……………………
2. แขนงวิชาในสาขาชีววิทยามีอะไรบ้าง…………………..…… 3. การศึกษาวิชาชีววิทยามีความสำคัญอย่างไรบ้าง…………….. 4. ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำชีววิทยาไปประยุกต์ใช้ 5 อย่าง 5. บอกข้อแตกต่างระหว่างการทำ กิ๊ฟ ซิ๊ฟ และอิ๊กซี่

104 6. จงจับคู่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีววิทยาต่อไปนี้
……… 1. Anatomy  a. พฤษศาศาสตร์ ……… 2. Botany b. สรีระวิทยา ……… 3. Ecology c. เกี่ยวกับจุลินทรีย์ ……… 4. Genetics d. กายวิภาคศาสตร์ ……… 5. Microbiology e. เกี่ยวกับเซลล์ ……… 6. Taxonomy f. นิเวศวิทยา ……… 7. Cytology g. โภชนาการ ……… 8. Nutrition h. พันธุศาสตร์ ……… 9. Physiology I. เทคโนโลยีชีวภาพ ……… 10. Biotechnology j. อนุกรมวิธาน ……… 11. Acarology k. บรรพชีวินวิทยา ……… 12. Malacology l. สัญฐานวิทยา ……… 13. Mammalogy m. วิทยาเอ็มบริโอ ……… 14. Morphology n. สังขวิทยา ……… 15. Entomology o. วิทยาเห็บไร ……… 16. Virology p. วิวัฒนาการ ……… 17. Embryology q. กีฎวิทยา ……… 18. Ornithology r. วิทยาสัตว์เลี้ยงลกด้วยน้ำนม ……… 19 Evolution s. ปักษินวิทยา ……… 20 Paleontology t. วิทยาไวรัส

105 4. ชีวจริยธรรม

106 ชีวจริยธรรม (Bioethics)    การปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมีคุณธรรม ไม่ทำร้ายหรือทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

107 การทรมานสัตว์ นักเรียนจะต้องหลีกเลี่ยงการทรมานสัตว์ตามข้อกำหนดในจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง โดยผู้ใช้สัตว์ทดลองจะต้องตระหนักถึงคุณค่าของสัตว์และตระหนักว่า สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ ต้องใช้สัตว์จำนวนน้อยที่สุด และการใช้สัตว์ป่าต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย

108 การโคลนมนุษย์ การโคลนมนุษย์ อาจจะโคลนในระดับเอ็มบริโอเพื่อจะนำอวัยวะของเอ็มบริโอมาปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยหรือเพื่อการวิจัย การโคลนมนุษย์ทั้งตัวเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณากันอย่างมาก เพราะว่าเอ็มบริโอก็คือเอ็มบริโอของมนุษย์ และถ้ามีมนุษย์ที่ได้จากการโคลนจะมีปัญหาต่อสถาบันครอบครัวอย่างไร และสิ่งที่จะต้องพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือ มีความเสี่ยงเพียงใดที่จะเกิดมนุษย์ที่มียีนผิดปกติจากกระบวนการโคลนที่ขาดประสิทธิภาพ

109 การทำแท้ง ในวงการแพทย์มีปัญหาที่อาจขัดต่อศาสนาและกฎหมาย คือการทำแท้ง กรณีพบว่าทารกในครรภ์มีข้อบกพร่องทางพันธุกรรมควรหรือไม่ที่จะอนุญาตให้มีการวิจัยทารกในครรภ์มารดาและการบำบัดทางพันธุกรรม หลายประเทศมีกฎหมายห้ามการทำแท้งเพราะขัดต่อศาสนา ซึ่งถือว่าทารกในครรภ์มีจิตวิญญาณและเป็นสิ่งมีชีวิต

110 การใช้ฮอร์โมน การใช้สารเคมีที่เป็นสารพิษ
การใช้ฮอร์โมน การใช้สารเคมีที่เป็นสารพิษ การใช้ฮอร์โมนฉีดให้แก่สัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ สุกร เพื่อเร่งการเจริญ ทำให้มีสารพวกฮอร์โมนตกค้างในเนื้อสัตว์ที่นำมาเป็นอาหาร เมื่อคนบริโภคเข้าไปก็อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ซึ่งเป็นผลร้ายต่อร่างกาย นอกจากนี้การใช้สารเคมีที่เป็นสารพิษ เช่น ฟอร์มาลินเพื่อรักษาพืชผัก และเนื้อสัตว์ให้มีความสด รวมทั้งการใช้สารบอแรกซ์ทำให้อาหารกรอบ การใช้สีย้อมผ้ามาผสมอาหาร

111 อาวุธชีวภาพ (Biological Weapons)
Anthrax เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นรูปแท่ง ทำให้เกิดโรคในสัตว์ส่วนใหญ่เป็นสัตว์กินหญ้า เช่น โค กระบือ และติดต่อมาถึงคน Smallpox หรือ ไข้ทรพิษ เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในสภาพแห้งได้นาน Anthrax Bacillus anthracis Smallpox

112 อาวุธชีวภาพ (Biological Weapons)
Botulism เป็นแบคทีเรียรูปแท่ง สามารถสร้างสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาททำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ ติดต่อกันได้ทางการกินและบาดแผล เช่น กินอาหารกระป๋องที่มีพิษของแบคทีเรียนี้เข้าไปอาจทำให้ตายได้ พบว่าเพียง 1 กรัม ทำให้คนตายได้ถึง 1.5 ล้านคน อาวุธชีวภาพมีฤทธิ์และพิษภัยร้ายแรงมากกว่าสารเคมีหลายเท่า เรามองไม่เห็น ไม่รู้รส และไม่ได้กลิ่น รับเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว การป้องกันจึงทำได้ยาก

113 จรรยาบรรณในการใช้สัตว์ทดลอง
หลักเกณฑ์ที่ผู้ใช้สัตว์และผู้เลี้ยงสัตว์ เพื่องานวิจัย งานทดสอบ งานสอนและงานผลิตชีววัตถุในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขา ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดการดำเนินการตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม คุณธรรม มนุษยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนเป็นมาตรฐานการดำเนินงานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน

114 สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ กำหนดจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานวิจัย งานสอน งานทดสอบ และงานผลิตชีววัตถุไว้ดังนี้ 1. ผู้ใช้สัตว์ทดลองต้องตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตสัตว์ 2. ผู้ใช้สัตว์ทดลองต้องตระหนักถึงความแม่นยำของผลงานโดยใช้สัตว์จำนวนน้อยที่สุด

115 3. การใช้สัตว์ป่าต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและนโยบายการอนุรักษ์สัตว์ป่า
4. ผู้ใช้สัตว์ทดลองต้องตระหนักว่าสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ 5. ผู้ใช้สัตว์ทดลองต้องบันทึกการปฏิบัติต่อสัตว์ไว้เป็นหลักฐานอย่างครบถ้วน

116

117 ส่ง mind map ทาง jngamsom@saard.ac.th ภายในวันที่ 18 พ.ย. 58
ให้นักเรียนสรุปเนื้อหา บทที่ 1 ตั้งแต่ ในรูปแบบ mind map ส่ง mind map ทาง ภายในวันที่ 18 พ.ย. 58

118 ตัวอย่าง mind map

119

120

121

122 ทำแบบฝึกหัด

123 1. จรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง หมายถึง...............................................................
2. ในวงการแพทย์มีปัญหาที่อาจขัดต่อศาสนาและกฏหมาย คือ 3. การใช้สิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดโรคต่อมนุษย์ สัตว์ และพืช หรือสารพิษที่ได้จากสิ่งมีชีวิตมาทำลายล้างสิ่งมีชีวิต ซึ่งเรียกว่า 4. จรรยาบรรณในการใช้สัตว์ทดลอง สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ได้กำหนดจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานวิจัย งานสอน งานทดสอบ และงานผลิต ชีววัตถุกำหนดไว้กี่ข้อ อะไรบ้าง……………………………………………………… 5. ชีวจริยธรรม คือ…………………………………………………………………… 6.ประโยชน์ของการโคลน คือ…………………………………………………………

124 Reference www.pharm.su.ac.th/thai/Research/page3.htm - 51k
- 52k - 4k - 10k

125 Thank you Miss Onusa Pathumchai Department of Biology St. Louis Collage Chachoengsao


ดาวน์โหลด ppt ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google