งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความหมายและข้อแตกต่างระหว่าง e-Government, e-Procurement และ e-Auction

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหมายและข้อแตกต่างระหว่าง e-Government, e-Procurement และ e-Auction"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความหมายและข้อแตกต่างระหว่าง e-Government, e-Procurement และ e-Auction
หน่วยที่ 2 ความหมายและข้อแตกต่างระหว่าง e-Government, e-Procurement และ e-Auction

2 e-Goverment คืออะไร รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า e-Government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ และประชาชนอุ่นใจในการรับบริการ

3 e-Commerce คืออะไร คือบริการทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C และ B2B เป็นหลัก ส่วน e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C

4 เงื่อนไขการพัฒนา e-Government
e-Governnent จะต้องมีการพัฒนา ใช้ประโยชน์ และบังคับใช้นโยบาย กฎหมาย และกฎระเบียบอื่นใดที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการทำงานของสังคมและเศรษฐกิจใหม่ ที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สังคมดิจิตอล) เป็นกลไกในการขับเคลื่อน

5 เงื่อนไขการพัฒนา e-Government (ต่อ)
Digital Society สังคมดิจิตอล เป็นสังคมและชุมชนที่ก้าวหน้าทางวิทยาการ ที่ประชาคมในกลุ่มสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับชีวิตประจำวัน ในการทำงาน และความบันเทิง ตลอดจนมีความสามารถในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

6 เงื่อนไขการพัฒนา e-Government (ต่อ)
Digital Divide เป็นผลจากสังคมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีประชาชนกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ทำให้ประชาชนกลุ่มนี้ด้อยโอกาสและไม่สามารถเข้าถึงบริการ และข้อมูลข่าวสารที่รัฐพึงจัดหาให้ ซึ่งคนกลุ่มนี้รวมถึง คนที่อยู่ในชนบท คนพิการ คนที่มีปัญหาทางภาษา และคนที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมข้อมูลข่าวสารได้

7 จากเงื่อนไข e-Government จะต้องพัฒนาสิ่งต่อไปนี้
1. เพิ่มขีดความสามารถของประชาชนจำนวนมาก ให้เข้าถึงบริการของรัฐ 2. เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและหน่วยราชการ 3. เพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการทำงานราชการ และปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ของระบบราชการต่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4. เพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนในการรับบริการอย่างปลอดภัย และเป็นส่วนตัว

8 สิ่งที่ e-Government ไม่ได้เป็น

9 สิ่งที่ e-Government ไม่ได้เป็น (ต่อ)

10 ลักษณะการให้บริการของ e-Government
สู่ประชาชน โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อในการให้บริการ โดย หลักการของ ที่เดียว    ทันใด    ทั่วไทย   ทุกเวลา   ทั่วถึงและเท่าเทียม   โปร่งใสและเป็นธรรมภิบาล

11 ที่เดียว การพัฒนา e-Government ทำให้สามารถสร้างเว็บท่า (Web Portal) ที่ สามารถบูรณาการบริการต่าง ๆ ที่เคยอยู่กระจัดกระจาย มารวมอยู่ที่ เดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อประชาชนในการติดต่อที่จอเดียว หรือ หน้าต่างเดียวเพื่อบริการเบ็ดเสร็จ

12 ทันใด รายการทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้และมีการตอบรับแบบทันที
ไม่ต้องเสียเวลารอคอยการตอบกลับทางเอกสาร ทำให้งานต่างๆ ที่ ต้องรอคำตอบนาน ๆ สามารถได้รับคำตอบในทันทีทันใด

13 ทั่วไทย การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้การเชื่อมโยงประชาชนชาวไทย
ไม่ว่าอยู่ไหนในโลกใช้บริการ e-Government ที่รัฐบาลได้จัดทำ

14 ทุกเวลา เนื่องจากคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และ ระบบอินเทอร์เน็ต สามารถเปิดไว้
ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน (24 x 7) แบบเดียวกับตู้ ATM ทำให้การ บริการต่าง ๆ ที่เคยต้องทำในเวลาราชการสามารถทำได้ตามที่ ประชาชนสะดวก และพร้อม

15 ทั่วถึง และ เท่าเทียม การให้บริการ e-Government ทำให้ประชาชน และผู้ด้อยโอกาสจะ ได้มีโอกาสในการรับบริการ โดยไม่ต้องเดินทาง และประชาชนที่ ด้อยโอกาสสามารถรับบริการที่สะดวกสบายเช่นเดียวกับประชาชน ในเมืองได้อย่างเท่าเทียมกันอีกด้วย

16 โปร่งใสและเป็นธรรมภิบาล
การบริการ e-Government ทำให้บริการของรัฐในหลาย ๆ เรื่องที่เคย ทึบแสง หรือ ไม่โปร่งใส เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น สามารถ ดำเนินการแบบเปิดเผยผ่านระบบออนไลน์ที่มีผู้เข้าร่วม และรู้เห็น จำนวนมากได้ มีการคาดการณ์ว่าการทำให้โปร่งใสและเป็นธรรมจะ ช่วยให้รัฐประหยัดงบประมาณได้ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ

17 โครงการที่ส่งเสริมการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
1. โครงการพัฒนาบัตรประจำตัวอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย (Multi-application smart ID card) 2. โครงการพัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement) 3. โครงการพัฒนาและจัดทำมาตรฐานซอฟต์แวร์กลางเพื่อการบริหารของภาครัฐ (ระบบ Back Office) 4. โครงการจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Government Data Exchange : GDX) 5. โครงการจัดทำโครงการพื้นฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (National Spatial Data Infrastructure) 6. โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

18 ประชาชนจะได้อะไร สร้างโอกาสให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต ประชาชนได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้มากขึ้น ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน

19 ตัวอย่างหน่วยงานให้บริการออนไลน์
เกรมสรรพากร ที่เปิดระบบ e-Revenue ให้ผู้เสียภาษีสามารถเสียภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ กรมทะเบียนการค้า ที่รับจดทะเบียนผ่านระบบ On-line Registration มหาวิทยาลัย ที่เปิดให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

20 ข้อดีของระบบข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกันได้
ตัวอย่างเช่น การแจ้งเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ สามารถทำเพียงครั้งเดียว ที่ระบบของสำนักทะเบียนราษฎร์กรมการปกครอง หลังจากนั้นระบบจะส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เราต้องแจ้งได้เองโดยอัตโนมัติ อาทิ กรมการขนส่งทางบก เพื่อเปลี่ยนข้อมูลในใบขับขี่ ที่การไฟฟ้า ฯ การประปาฯ เพื่อเปลี่ยนชื่อที่อยู่ในใบแจ้งค่าไฟ ค่าน้ำ หรือที่สำนักงานประกันสังคม เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบัตรประกันสังคม เป็นต้น

21 ปัจจัย 5 ประการ ที่ทำให้เกิด e-Government
1. โครงข่ายโทรคมนาคมสาธารณะ 2. การประยุกต์ใช้ไอทีทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์เครือข่าย 3. สารสนเทศ 4. การอบรมให้แก่ประชาชนสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศ 5. ปัจจัยอื่น อาทิ กฎ ระเบียบที่คล่องตัวขึ้น ทัศนคติที่ดีในการที่จะเผื่อแผ่ข้อมูลข่าวสาร

22 ประเภทของบริการ e-government
1. เผยแพร่ข้อมูล 2. บริการพื้นฐาน อาทิ ทำบัตรประชาชน จดทะเบียน ขอใบอนุญาต เสียภาษี ฯลฯ 3. ติดต่อสื่อสารกับผู้รับบริการทางอีเมล์ เครื่องมือสื่อสารไร้สาย ฯลฯ 4. รับเรื่องราวร้องทุกข์ 5. ประมวลผลข้อมูลระหว่างหน่วยงาน 6. บริการรับชำระเงิน 7. สำรวจความคิดเห็น

23 องค์ประกอบของ e-Government
1. ความพร้อมของผู้นำ e-Government เป็นการทำงานที่จะต้องใช้การตัดสินใจของผู้บริหารประเทศในลักษณะของ Top down ในระดับสูง เนื่องจากต้องอาศัยการตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลง (Transformation) จำนวนมาก ทั้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อแปลงงานจำนวนมากที่เคยทำด้วยมือ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ และผ่านระบบอินเทอร์เน็ต นอกจากนั้น ยังต้องการสนับสนุน คน เงิน งบประมาณ จำนวนเพียงพอ และต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน        

24 องค์ประกอบของ e-Government (ต่อ)
2. ความพร้อมในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน แยกเป็นความพร้อมของเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 2.1 โครงข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม ที่พร้อมใช้เพื่อการสื่อสาร และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทั่วถึง และเท่าเทียม 2.2 ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ (Hardware and Software) ต้องมี อย่างพอเพียงเพื่อให้ทั้งภาครัฐ และประชาชนสามารถใช้ เครื่องมือในการให้บริการของภาครัฐ

25 องค์ประกอบของ e-Government (ต่อ)
2.3 ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) ข้าราชการ และ ประชาชนจะต้องมีการพัฒนาทักษะ และเรียนรู้ที่จะยอมรับ การเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานและการให้และการรับ บริการ 3. ความพร้อมของภาครัฐบาล หากได้รับการสนับสนุนจากผู้นำประเทศ จะมีความเป็นไปได้สูงในการพัฒนาระบบ

26 องค์ประกอบของ e-Government (ต่อ)
4. ความพร้อมของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ความสำเร็จของ e-Government ที่แท้จริงจะต้องมีเป้าหมายคือ ทำเพื่อประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ดังนั้น "ความสำเร็จของการออกแบบ e-Government คือ การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง" เนื่องจากประชาชนในประเทศมีความแตกต่างกันมาก ทั้งในด้านของโอกาส และพื้นฐานการศึกษา ความหลากหลายดังกล่าวทำให้การบริการ เหมือน ๆ กัน ไม่สามารถกระจายสู่ประชาชนทุกกลุ่มได้เท่าเทียมกัน

27 e-Procurement คืออะไร
คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เช่น การตกลงราคา การสอบราคา การประกวดราคา และการจัดซื้อรวมแบบออนไลน์ รวมถึงการลงทะเบียนบริษัทผู้ค้า การทำ e-Catalog และการทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อที่ เป็น Web Based Application เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

28 ขั้นตอนของระบบ e-Procurement
1. ค้นหาสินค้า/บริการที่จะซื้อผ่าน e-Catalog 2. เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการจะซื้อผ่าน e-Shopping List 3. จัดประกาศเชิญชวนผ่าน Web-Site 4. ผู้ขายเสนอคุณสมบัติของสินค้าทางอินเตอร์เน็ต (e-RFP) 5. ผู้ซื้อตรวจสอบราคากลาง (e-RFQ) และ Track Record ของ ผู้ขาย 6. ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) 7. ประกาศผล ผู้ชนะและส่งมอบ/ตรวจรับพัสดุ 8. จ่ายเงินตรงด้วยระบบ e-Payment

29 องค์ประกอบของระบบ e-Procurement
1. ระบบ e-Catalog เป็นมาตรฐาน ระบบ Catalog ที่รวบรวมรายละเอียดของสินค้าและบริการ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ค้า/ผู้รับจ้าง (Suppliers) ที่มีคุณสมบัติในการทำธุรกรรมสามารถเข้ามาทำการแจ้งและปรับปรุงรายการสินค้า/บริการของตนเองได้

30 2. ระบบ e-RFP ระบบ e-RFP (Request for Proposal)/ e-RFQ (Request for Quotation) เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีสอบราคาหรือวิธีตกลงราคา

31 3. ระบบ e-Auction แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ 3.1 Reverse Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้าน การประมูลซื้อให้ได้ราคาต่ำสุด 3.2 Forward Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้าน การประมูลขาย ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการจำหน่ายพัสดุที่ หมดความจำเป็นของหน่วยงานภาครัฐโดยวิธีขายทอดตลาด ซึ่งเป็นการประมูลขายแบบผู้ชนะ คือ ผู้ที่เสนอราคาสูงสุด

32 E-Auction คืออะไร e-Auction คือ การประมูลจัดซื้อจัดจ้างแบบ on-line ผ่านทางระบบ internet ผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นผู้จัดการประมูลและแนะนำผู้ซื้อในการจัดซื้อของ

33 ระบบ e- Auction แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 Reverse Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลซื้อให้ได้ในราคาต่ำสุด ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในกรณีที่สินค้า /บริการที่ต้องการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ต้องใช้วิธีการประมูล ระบบนี้จะรับข้อมูลของผู้ค้าที่ได้รับการคัดเลือกจากระบบ e-RFP / e-RFQ มาดำเนินการประมูลผ่านทาง Internet แบบ Real-time ตามวันและเวลาที่กำหนด โดยการประมูลจะมี 2 แบบ คือ

34 ระบบ e- Auction แบ่งออกเป็น 2 ส่วน (ต่อ)
- English Reverse Auction เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะทราบสถานะของการประมูลว่าผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด เสนอราคาเท่าไร แต่ผู้เข้าประมูลจะไม่ทราบชื่อของผู้เข้าประมูลรายอื่น ๆ - Sealed Bid เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะไม่ทราบสถานะของการประมูลและราคาต่ำสุดของผู้ยื่นประมูล การยื่นข้อเสนอราคาแบบ Sealed Bid แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบยื่นข้อเสนอได้เพียงครั้งเดียว และยื่นข้อเสนอได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่กำหนด

35 ระบบ e- Auction แบ่งออกเป็น 2 ส่วน (ต่อ)
ส่วนที่ 2 Forward Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลขาย ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการจำหน่ายพัสดุที่หมดความจำเป็นของหน่วยงานภาครัฐโดยวิธีขายทอดตลาดซึ่งเป็นการประมูลขายแบบผู้ชนะ คือ ผู้ที่เสนอราคาสูงสุด

36 ความเป็นมาของโครงการ e-Auction...

37 G-Procurement หรือ e-Procurement
ของภาครัฐเป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุน การให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เช่น การตกลงราคา การสอบถามราคา การประกวดราคา และการจัดซื้อรวมแบบออนไลน์ รวมถึงการลงทะเบียนบริษัทผู้ค้า

38 E-Auction หรือประมูลออนไลน์เป็นระบบหนึ่งใน e-Procurement แต่ e-Auction จะเป็นระบบที่มีขั้นตอน การทำงานที่ง่ายกว่า e-Catalog ทำให้หน่วยงานภาครัฐเลือกใช้ e-Auction ทดลองเพื่อก้าวไปสู่ e-Procurement ที่สมบูรณ์แบบ

39 E-Auction (ต่อ) หน่วยงานราชการไม่สามารถประมูลผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องให้ผู้บริการ"ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (e-marketplace Service Provider)" โดยตลาดกลางดังกล่าวจะเป็นเสมือนตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายให้ได้พบและตกลงการซื้อขายสินค้าหรือบริการกันผ่านเว็บไซต์ ในปัจจุบันมีผู้ดำเนินการธุรกิจดังกล่าว คือ บริษัท พันธวณิช จำกัด ซึ่งเคยดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างออนไลน์ให้กับบริษัทต่างๆ เช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และ บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น หรือ ทีเอ เป็นต้น


ดาวน์โหลด ppt ความหมายและข้อแตกต่างระหว่าง e-Government, e-Procurement และ e-Auction

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google