งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สื่อประเภทเครื่องฉาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สื่อประเภทเครื่องฉาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สื่อประเภทเครื่องฉาย
Projected media

2 สาระสำคัญ 1. การใช้วัสดุฉายกับเครื่องฉายแต่ละชนิด มีลักษณะการใช้แตกต่างกัน ตามระบบของ การฉาย และขนาดของวัสดุฉาย 2. เครื่องฉายสไลด์ และเครื่องฉายฟิล์มสตริป สามารถใช้เครื่องฉายเดียวกันได้ และ ทำจากวัสดุประเภทเดียวกัน แต่กระบวนการผลิตและการใช้ต่างกัน 3. เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป สามารถนำมาใช้ประกอบการสอน โดยใช้นำเข้าสู่ บทเรียนสอน สรุปบทเรียน การสร้างสถานการณ์การเรียนการสอน ตลอดจนให้ผู้เรียนศึกษาเป็นรายบุคคลด้วยตนเองได้ 4. การใส่วัสดุฉายกับเครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริปให้ถูกต้อง นั้นผู้ใช้ควรศึกษาจาก ลักษณะของวัสดุฉาย กับระบบการฉาย เพื่อให้ภาพปรากฏบนจอภาพได้ถูกต้อง 5. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เป็นเครื่องฉายระบบอ้อม ที่มีส่วนประกอบไม่ซับซ้อน สามารถใช้ประกอบการอธิบายหน้าชั้นเรียนได้สะดวก และง่ายกว่าเครื่องฉายประเภทอื่น 6. การใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ โดยใช้แผ่นโปร่งใส มีวิธีการทำให้การนำเสนอข้อความ และเนื้อหา น่าสนใจยิ่งขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคนิคการนำเสนอและเทคนิคในการผลิตแผ่นโปร่งใส 7. การใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณ ภาพของเครื่องมือ และวัสดุฉาย แต่ยังต้องใช้เทคนิคของผู้ใช้และการบำรุงรักษาเครื่องฉายที่ถูกต้องด้วย 8. เครื่องฉายภาพทึบแสง เป็นเครื่องฉายระบบฉายสะท้อน ที่ใช้ได้ดีกับวัสดุทึบแสง โดยต้องใช้กำลังส่องสว่างของหลอดฉายมากกว่าเครื่องฉายประเภทอื่น รวมทั้งสถานที่ใช้ต้องเป็นห้องฉายเฉพาะ โดยมีองค์ประกอบเครื่องฉาย วิธีการใช้ และการบำรุงรักษาใกล้เคียงกันกับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

3 จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
1. อธิบายลักษณะของเครื่องฉาย และขนาดวัสดุฉาย ที่ใช้กับเครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริปได้ 2. อธิบายวิธีการผลิตสไลด์ และฟิล์มสตริปได้ 3. เปรียบเทียบความแตกต่างของการใช้สไลด์และฟิล์มสตริปได้ 4. บอกวิธีการใส่วัสดุฉายลงในเครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริปได้ 5. อธิบายส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ 6. อธิบายเทคนิคการใช้เครื่องฉาย การผลิตแผ่นใสวิธีง่าย ๆ และการนำเสนอแผ่นใสที่ น่าสนใจได้ 7. บอกข้อเสนอแนะในการใช้เครื่องฉายข้ามศีรษะได้ 8. อธิบายลักษณะการทำงานเครื่องฉายภาพทึบแสง บอกส่วนประกอบ และวิธีการใช้ได้ถูกต้อง 9. บอกส่วนประกอบสำคัญของเครื่องฉายได้

4 ระบบฉาย (Projection System)
ระบบฉาย คือ ระบบการส่งผ่านของแสงจากหลอดฉายผ่านภาพหรือฟิล์มที่นำ มาฉาย ผ่านเลนส์ฉาย แล้วไปปรากฏชัดบนจอฉาย ระบบการฉายของเครื่องฉายทั้งหลายแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ ระบบการฉายตรง (Direct Projection system) ระบบการฉายสะท้อนแสง (Indirect or Reflected Projection system)

5 ระบบการฉายตรง (Direct Projection system)

6 ระบบการฉายตรง (Direct Projection system)

7 ระบบการฉายตรง (Direct Projection system)
แสงสว่างจากหลอดฉายจะส่องผ่านวัสดุฉายและเลนส์ ไปยังจอ ในแนวเส้นตรง เวลาใส่วัสดุฉาย ให้วางกลับหัว โดยหันด้านหน้าหรือด้านที่ถูกต้องของภาพนั้นไปทางหลอดฉาย เหตุที่ต้องกลับหัวภาพก่อนก็เพราะว่า เลนส์ฉายเป็นเลนส์นูน ซึ่งให้ภาพจริงหัวกลับ ดังนั้นจึงต้อง กลับหัวของภาพเสียก่อนใส่เข้าไปในเครื่อง ตัวอย่างเครื่องฉายที่ใช้ระบบการฉายตรง ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์ (Slide Projection) เครื่องฉายฟิล์มสตริป (Filmstrip Projection) เครื่องฉายภาพยนตร์ (Film Projection) เป็นต้น

8 ระบบการฉายสะท้อนแสง (Indirect or Reflected Projection system)

9 ระบบการฉายสะท้อนแสง (Indirect or Reflected Projection system)
ลำ แสงจากหลอดฉายจะหักเหเป็นมุมฉาก ระหว่างวัสดุฉายและจอฉาย การหักเหกระทำ โดยกระจกเงา ซึ่งอยู่ระหว่างวัสดุที่นำ มาฉายกับจอ การใส่วัสดุฉายให้วางในแนวราบ โดยหันขอบล่างของภาพไปยังจอ โดยไม่ต้องกลับภาพ เครื่องฉายในระบบนี้ มักจะฉายภาพใกล้ๆ กับจอ ได้แก่ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector) และเครื่องฉายวัสดุทึบแสง (Opaque Projector)

10 ระบบการฉายสะท้อนแสง (Indirect or Reflected Projection system)

11 ประเภทของเครื่องฉาย แบ่งตามลักษณะภาพที่ปรากฏบนจอ
เครื่องฉายภาพนิ่ง จะให้ภาพนิ่งปรากฏบนจอ ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพทึบแสง และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (เครื่องฉายภาพโปร่งใส) เป็นต้น เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนจอจะทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวเหมือนภาพที่เป็นจริง ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มลู๊ป เครื่องฉายภาพดิจิตอล

12 ประเภทของเครื่องฉาย แบ่งตามลักษณะของวัสดุฉาย
เครื่องฉายภาพโปร่งใส (Transparency Projector) ซึ่งวัสดุฉายจะเป็นวัสดุโปร่งใสหรือโปร่งแสง (Transparency Materials) เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนตร์ และเครื่องฉายไมโครฟิล์ม เป็นต้น

13 ประเภทของเครื่องฉาย แบ่งตามลักษณะของวัสดุฉาย
เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projector) เป็นเครื่องฉายที่ฉายวัสดุทึบแสงซึ่งแสงจะไม่สามารถผ่านวัสดุฉายได้ แต่จะใช้หลักการสะท้อนของภาพแทน

14 ประเภทของเครื่องฉาย แบ่งตามลักษณะของวัสดุฉาย
เครื่องฉายภาพดิจิตอล(Digital Projector) เป็นเครื่องฉายที่ใช้วัสดุจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกับวัดสุฉายที่เป็นลักษณะโปร่งแสงหรือทึบแสง

15 เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ (Projector)
เป็นเครื่องถ่ายทอดสัญญาณที่มีบทบาทใช้งานเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดสัญญาณจากอุปกรณ์หลายประเภท เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นซีวีดี และเครื่องเล่นดีวีดี ให้ปรากฏภาพขนาดใหญ่บนจอภาพ มี 4 ประเภทดังนี้

16 เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ (Projector)
CRT PROJECTOR ให้มีหลอดฉายภาพแบบ CRT (CATHADE-RAY TUBE) เป็นต้นกำเนิดของภาพโดยใช้หลอด 3 หลอด ซึ่งให้ความสว่างไม่สูงมาก ANSI LUMENS เพื่อแยกการกำเนิดภาพในแต่ละสีคือ สีแดง , สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแสงจากหลอดทั้ง 3 สี จะถูกปรับให้จุดตกกระทบของทั้ง 3 ลำแสง ให้ซ้อนทับ (CONVERGENCE) บนฉากรับภาพจนได้รับภาพที่ไร้ซึ่งการเหลื่อมของสี เกิดเป็นภาพที่คมชัด การที่ CRT PROJECTOR ต้องใช้ "หลอดภาพ" ถึง 3 หลอดทำให้มีตัวเครื่องขนาดใหญ่อีกทั้งไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย เพราะต้องปรับแต่ง (SETUP) ให้ถูกต้องคมชัด

17 เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ (Projector)
LCD PROJECTOR   หลักการทำงาน               ใช้หลอดไฟ กำลังไฟส่องสว่างสูงประเภท เมทัล-ไฮไลท์ หรือหลอด UHP (ULTRA HIGH POWER) เป็นต้นกำลังส่องสว่างกำเนิดแสงโดยแสงจะวิ่งผ่าน DICHROIC MIRROR (กระจกสะท้อนกรองแสง) ทำหน้าที่แยกแสงออกเป็น 3 แม่สี คือแดง -RED (R) , เขียว - GREEN (G) และน้ำเงิน -BLUE (B) เพื่อให้แสงแต่ละสีผ่านไปสู่ LCD PANEL ของแต่ละสีซึ่งแต่ละจุดจะประกอบไปด้วยจำนวนแผงพิกเซล (PIXELS) เล็กๆ มากมาย แต่ละ PIXEL จะถูกควบคุมด้วยสัญญาณไฟฟ้าในการเปิด หรือปิดให้แสงแต่ละสีผ่านไปที่จอภาพได้ โดยแสงที่ผ่าน PIXEL จะผ่านเลนส์รวมแสงเพื่อผสมแม่สี ทำให้เกิดภาพ              ปัจจุบัน LCD PROJECTOR จะให้ความสว่างสูงได้ถึง 3, ,000 ANSI LUMENS และมีราคาถูกลงมาก โดยมีอายุการใช้งานของหลอดไฟได้ 1, ,000 ชั่วโมง ให้ภาพจากสัญญาณ COMPUTOR ที่ดี และสัญญาณวิดีโอที่คมชัดสดใส

18 เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ (Projector)

19 เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ (Projector)
โปรเจคเตอร์ 3LCD เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโปรเจคเตอร์ LCD โปรเจคเตอร์ 3LCD จะฉายลำแสงผ่านแผง LCD จำนวน 3 แผงที่มีขนาดเท่ากับสแตมป์จากนั้น ใช้เลนส์ของโปรเจคเตอร์ทำการขยายรายละเอียดขนาดเล็ก ๆ ที่อยู่ในภาพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้นโปรเจคเตอร์จึงสามารถสร้างสีต่าง ๆ จำนวนมากมายเพื่อจะฉายภาพที่สวยงาม ชัดเจน เต็มไปด้วยรายละเอียด ด้วยความนุ่มนวลบนจอภาพ

20

21 เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ (Projector)
DLP PROJECTOR   หลักการทำงาน            DLP ย่อมาจาก (Digital Light Processing) เป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท Texas Inctrumente ซึ่งพัฒนา DMD SHIP (DIGITAL MICRO MIRRORS DEVICE) ซึ่งเป็นแนววงจรขนาดเล็กประกอบด้วย แผ่นกระจกสะท้อนแสงขนาดจิ๋วจำนวนมากโดยแต่ละชิ้นของกระจกขนาดจิ๋ว จะแทนจุดแสงในแต่ละ PIXEL ถ้ารายละเอียดขนาด XVGA จะมีแผ่นกระจกตามแนวนอน 1024 ชิ้น ตามแนวตั้ง 768 ชิ้น กระจกแต่ละชิ้นจะถูกวงจรไฟฟ้าควบคุมให้เอียงไปมา เพื่อสะท้อนแสงได้ที่มุม +/- 10 องศา เพื่อหันเหแสงไปที่จอภาพ หรือให้ตกระทบในตัวเครื่อง การทำงานของกระจกจิ๋วนี้เทียบได้กับหลักการทำงานของดิจิตอล คือ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าเปรียบได้กับสภาวะ "ON" กระจกจิ๋วของ PIXEL นั้นๆ จะเอียงเพื่อรับแสง และสะท้อนแสงไปตกกระทบจอภาพผ่านเลนส์ แต่ถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้า เปรียบได้สภาวะ "OFF" กระจกจิ๋วจะหันคืนกลับมาในอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งจะสะท้อนแสงที่ไม่ต้องการ ไปตกกระทบกับผิวของวัสดุดูดซึมแสง (ABSORBER) ภายในเครื่องก่อให้เกิดส่วนมืดจอภาพ ณ ตำแหน่ง PIXEL นั้นๆ

22 เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ (Projector)

23 เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ (Projector)
D-ILA หรือ LCoS มาจากคำว่า Liquid Crystal on Silicon ซึ่งก็หมายถึงการใช้ คริสตัลเหลว มาวางบน พื้นที่เป็นซิลิกอน ภาพจำลองการทำงาน ของเครื่องฉายระบบ D-ILA จากรูปจำลองจะเห็นว่า เมื่อแสงจากต้นกำเนิดแสง ผ่านคอนเดนเซอร์เลนส์แล้ว ก็จะใช้ กระบวนการทาง Optical เพื่อให้แสงสามารถ ตกกระทบและสะท้อนกลับในทิศทางเดียวกัน แล้วขยายภาพด้วยเลนส์ฉาย  

24 เครื่องวิชวลไลเซอร์ (Visualizer)
เครื่องวิชวลไลเซอร์ (Visualizer) เป็นเครื่องแปลงสัญญาณที่เสนอได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยต้องต่อเครื่องวิชวลไลเซอร์ (Visualizer) กับจอมอนิเตอร์เพื่อเสนอภาพ หรืออาจต่อร่วมกับเครื่องแอลซีดีเพื่อถ่ายทอดสัญญาณเป็นภาพขนาดใหญ่บนจอภาพ         หลักการทำงานของเครื่องวิชวลไลเซอร์ (Visualizer) จะเป็นการใช้กล้องถ่ายภาพของวัตถุเพื่อแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าก่อนที่จะแปลงกลับมาเป็นสัญญาณภาพอีกครั้งหนึ่ง         การเสนอภาพนิ่งจะเป็นการวางวัสดุฉายลงบนแท่นฉายเพื่อให้กล้องที่อยู่เหนือแท่นฉายจับภาพวัสดุ โดยสามารถใช้ฉายได้ดังนี้            วัสดุทึบแสง เช่น ภาพและข้อความบนสิ่งพิมพ์ วัสดุ 3 มิติ            วัสดุกึ่งโปร่งใสและโปร่งแสง เช่น ฟิล์มสไลด์และแผ่นโปร่งใส            ใช้เป็นกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

25 เครื่องวิชวลไลเซอร์ (Visualizer)
การเชื่อมต่อเข้ามอนิเตอร์           1 การเชื่อมต่อเข้ามอนิเตอร์ โดยใช้สาย RCA Video/Audio หรือสาย BNC ต่อจากช่อง Video Output ทั้งสองช่องของเครื่องวิชวลไลเซอร์           2 การเชื่อมต่อเข้ามอนิเตอร์ โดยใช้สาย S - Video ต่อจากช่อง S - Video Out ของเครื่องวิชวลไลเซอร์ไปยัง S - Video in ของจอมอนิเตอร์           3 การเชื่อมต่อเข้าเครื่องแอลซีดี โดยให้ต่อสาย BNC จากช่อง RGB Output ของเครื่องวิชวลไลเซอร์ไปยัง RGB input ของเครื่องแอลซีดี

26 หน้าที่ของส่วนประกอบสำคัญของเครื่องฉาย
หลอดฉาย (projection lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างเพื่อใช้ในการฉายมีชนิด ขนาด และกำลังต่างๆ กันตามความเหมาะสมของเครื่องฉายแต่ละเครื่อง ที่มีใช้เครื่องฉายทางวงการศึกษา หลอดจะมีกำลังตั้งแต่ วัตต์ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ หลอดอินแคนเดสเซนต์ (Incandescent) ลักษณะหลอดใหญ่ ใส้หลอดทำ ด้วยโลหะทังสเตน ภายในบรรจุก๊าซไนโตรเจน หรือก๊าซอาร์กอน กินไฟมาก มีความร้อนสูง กำ ลังส่องสว่างประมาณ วัตต์ มีอายุการใช้งานประมาณ 1000 ชั่วโมง ใช้กับเครื่องฉายทึบแสงและเครื่องฉายภาพยนตร์รุ่นเก่าๆ

27 หน้าที่ของส่วนประกอบสำคัญของเครื่องฉาย
หลอดแฮโลเจน (Halogen Lamp) พัฒนามาจากหลอดอินแคนเดสเซนต์ แต่มีขนาดเล็กกว่า ไส้หลอดทำ ด้วยโลหะทังสเตน ภายในบรรจุก๊าซฮาโลเจน หรือก๊าซไอโอดีนทำ ให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น ทนความร้อนได้สูง ทำ ให้ความสว่างขาวนวล ทั้งๆ ที่มีกำ ลังส่องสว่างน้อยกว่าหลอดแบบเก่า คือประมาณ วัตต์ ใช้กับเครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะเครื่องฉายภาพยนตร์ และหลอดไฟสำ หรับให้แสงสว่างในการถ่ายภาพ ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ หลอดคว๊อต (Quartz) พัฒนามาจากหลอดแฮโลเจนขนาดเล็กทัดเทียมกัน ไส้หลอดทำ ด้วยโลหะทังสเตน ภายในหลอดบรรจุก๊าซฮาโลเจน หรือก๊าซไอโอดีนแต่มีปริมาณต่างกันทำ ให้มีแสงสว่างขาวนวลและมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดชนิดอื่นๆ สามารถทนความร้อนได้สูงใช้กับเครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพยนตร์ มีขนาด วัตต์

28 หน้าที่ของส่วนประกอบสำคัญของเครื่องฉาย
แผ่นสะท้อนแสง (reflector) โดยทั่วไปทำด้วยแผ่นโลหะมีลักษณะเป็นกระจกเว้า ฉาบด้วยเงินเพื่อให้สะท้อนแสงได้ดีส่วนนี้ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากด้านหลัง ของหลอดฉายให้ไปรวมกับแสงด้านหน้าหลอดฉาย เพื่อให้ทำรวมในหลอดฉาย ดังภาพ การระวังรักษาแผ่นสะท้อนแสงก็คือ อย่าใช้มือจับต้องผิวสะท้อนแสงโดยเด็ดขาดจะทำให้สกปรก และเป็นฝ้า ถ้าสกปรกหรือมีฝุ่นจับจะทำให้การสะท้อนแสงน้อยลง ควรใช้ผ้านุ่มสะอาดเช็ด แต่ระวังอย่าให้มีรอยขีดส่วน

29 หน้าที่ของส่วนประกอบสำคัญของเครื่องฉาย
เลนซ์รวมแสง (condenser lens) มีลักษณะเป็นเลนซ์นูน ประอบกันมาเป็นชุด อาจมีเลนซ์มากกว่าหนึ่งอันก็ได้ ทำหน้าที่รวมแสงจากหลอดฉายให้ไปตกพอดีวัตถุที่ฉาย และทำหน้าที่เกลี่ยแสงให้กระจายทั่วบริเวณวัสดุที่ฉาย ทั้งแผ่นสะท้อนแสง หลอดฉาย และเลนซ์รวมแสง เครื่องฉายบางเครื่อง ทำรวมไว้อยู่ในหน่วยเดียวกัน ดังภาพ

30 หน้าที่ของส่วนประกอบสำคัญของเครื่องฉาย
แผ่นกรองความร้อน (Heat Filter/Heat absorbing glass) ป้องกันความร้อนจากหลอดฉายไม่ให้ตกกระทบเลนซ์ และวัสดุฉายมากเกินไป

31 หน้าที่ของส่วนประกอบสำคัญของเครื่องฉาย
พัดลม (Electric fan) เป็นชิ้นส่วนที่ประกอบด้วยใบพัด และมอเตอร์ไฟฟ้า อยู่ด้านหลังของเครื่องฉาย ใช้ยืดอายุของหลอดฉายและวัสดุฉาย โดยจะทำ งานในขณะที่ใช้เครื่องฉาย และอาจเปิดทิ้งไว้สักครู่เมื่อทำ การฉายเสร็จแล้วเพื่อช่วยให้เครื่องเย็นลงเร็วขึ้น

32 หน้าที่ของส่วนประกอบสำคัญของเครื่องฉาย
เลนซ์ภาพ (Objective lens) มีลักษณะเป็นเลนซ์นูน ประกอบกันเป็นชุดมีเลนซ์หลายอันซ้อนปะกอบติดกันอยู่ในกระบอกเลนซ์ เลนซ์ภาพมีหน้าที่ทำให้เกิดภาพจริงของวัตถุบนจอ มีขนาดขยายและหัวกับวัตถุที่ฉาย ดังนั้นเวลาในวัตถุเข้าเครื่องฉายต้องใส่ให้หัวกลับเสมอ (เครื่องฉายระบบตรงให้หัวกลับลงในแนวดิ่ง ส่วนเครื่องฉาย ระบบอ้อมและระบบสะท้อน ให้หัววัตถุหันไปทางด้านหลังของเครื่องฉาย)          การปรับปรุง (focus) บนจดให้ชัด ปรับได้โดนการเลื่อนเลนซ์ภาพนี้เข้าหาหรือออกจากวัตถุ          การระวังรักษาเลนซ์ (ทั้งเลนซ์ภาพและเลนซ์รวมแสง) อย่าใช้มือเปล่าจับต้องเลนซ์ เพราะสิ่งสกปรกและไขมันบนมือจะทำให้เลนซ์สกปรกและทำความสะอาดได้ยาก          เมื่อใช้งานไปนาน ๆ อาจทำให้เลนซ์สกปรก อันอาจมีผลทำให้ความชัดของภาพลดลงจึงต้องทำความสะอาด การทำความสะอาดเลนซ์นั้นจะต้องทำอย่างระมัดระวังควรใช้ผ้าสะอาดและอ่อนนุ่มหรือกระดาษทำความสะอาดเลนซ์ (Lens cleaning paper) เช็ดเบา ๆ ถ้าเลนซ์สกปรกมากควรชุบน้ำยาทำความสะอาดเลนซ์ (Lens cleaning solution) เช็ด

33

34 ส่วนประกอบสำคัญของระบบฉาย

35 ส่วนประกอบสำคัญของระบบฉาย
จอฉาย จอแบบตั้งอยู่ด้านหน้าเครื่องฉาย (Font Projection) ได้แก่ จอแบบพื้นทรายแก้ว (Beaded screen) ผิวจอถูกฉาบไว้ด้วยเม็ดแก้วชิ้นเล็ก จำ นวนมาก เมื่อรับแสงจะสะท้อนออกมาเป็นมุมแคบแต่สว่างมาก จอแบบนี้เหมาะที่สุดสำ หรับ ห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างยาว จอแบบพื้นเรียบ (Matte screen) มีผิวจอเรียบ สีขาวทึมให้แสงสะท้อนออกมาเป็นมุมกว้างทุกทิศทาง แม้ผู้ที่นั่งอยู่ตรงมุมห้องก็สามารถมองเห็น แต่ความคมชัดของภาพจะลดลง เหมาะสำ หรับห้องสี่เหลี่ยมจตุรัสซึ่งที่นั่งเป็นแถวกว้าง

36 ส่วนประกอบสำคัญของระบบฉาย
จอฉาย จอแบบตั้งอยู่ด้านหน้าเครื่องฉาย (Font Projection) ได้แก่ จอสีเงิน (Lenticular screen) ทำ ด้วยพลาสติกชนิดเนื้อหนา มีลักษณะเป็นสันนูนและร่องสลับกันละเอียดมาก การสะท้อนแสงของจอแบบนี้ดีมาก และให้ภาพที่ชัดเจน แม้ในห้องที่ไม่ค่อยมืดก็ตาม จอแสงอาทิตย์ (Sun screen) จอแสงอาทิตย์เป็นจอที่สร้างขึ้นมาพิเศษเพื่อใช้งานตามห้องเรียนเล็กๆ ทั่วไป เพราะจอแบบนี้ไม่ต้องกังวลเรื่องการควบคุมแสงสว่าง เป็นจอที่ทำขึ้นจากแผ่นอลูมิเนียม มีลักษณะโค้งเว้าเล็กน้อย มีอำนาจการสะท้อนแสงสูงมาก สามารถสะท้อนแสงมากกว่าจอพื้นเรียบถึง 12 เท่า แต่มุมแคบมาก ดังนั้นจึงเหมาะสำ หรับการฉายที่มีผู้ดูไม่มาก จอแบบฉายจากด้านหลัง (Rear Projection)จอแบบนี้ทำ จากวัสดุโปร่งแสง เช่น กระดาษชุบเทียน หรือเนื้อเยื่อกระดาษชุบนํ้ามัน ซึ่งมีลักษณะเหมือนกระจกฝ้า บางทีเรียก Translucent screen เครื่องฉายจะอยู่หลังจอ เช่น จอที่ใช้ฉายสไลด์มัลติวิชั่น

37 ส่วนประกอบสำคัญของระบบฉาย
เครื่องฉาย

38 ส่วนประกอบสำคัญของระบบฉาย
วัสดุฉาย (Material) วัสดุฉาย คือ วัสดุที่นำมาใช้กับเครื่องฉาย ซึ่งต้องมีลักษณะขนาดและคุณสมบัติเหมาะสมกับความเข้มของแสง และเครื่องฉายแต่ละประเภทวัสดุฉายอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ วัสดุโปร่งใส (Transparent) คือวัสดุฉายที่ยอมให้แสงผ่านทะลุได้โดยตลอด ได้แก่ แผ่นภาพโปร่งใส เป็นต้น วัสดุโปร่งแสง (Translucent) คือวัสดุฉายที่ยอมให้แสงผ่านทะลุได้บ้าง ตามความหนาบางของสี หรือสารที่เคลือบอยู่บนวัสดุที่นำมาฉายนั้น ได้แก่ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป และฟิล์ม ภาพยนตร์ เป็นต้น วัสดุทึบแสง (Opaque) คือวัสดุฉายที่ไม่ยอมให้แสงผ่านทะลุไปได้เลย ได้แก่ วัสดุที่เป็นของจริง หรือวัสดุ 3 มิติ ต่าง ๆ และรูปภาพทุกประเภท         

39 หลักการฉาย

40 การจัดสภาพการฉาย (Projection Condition)
การควบคุมแสง (Light control) ให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องฉาย และไม่ควรให้แสงกระทบจอ ซึ่งทำ ให้ภาพบนจอไม่ชัดเจน การระบายอากาศ (Ventilation) เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ระบบเสียง (Acoustic control) ในแง่ของระบบเสียงและการใช้วัสดุที่ทำ ให้คุณภาพเสียงดีขึ้น และการออกแบบโครงสร้างของอาคาร

41 สภาพของการฉายที่ดี การจัดที่นั่งดู เพื่อให้การดูภาพชัดเจน จะต้องพิจารณาว่าได้ที่นั่งดูที่ดีหรือยัง ซึ่งที่นั่งที่เหมาะสมคือ แถวหน้าอยู่ห่างจากจอประมาณ 2 เท่าของความกว้างขอจอ ส่วนแถวหลังคือ 6 เท่าของความกว้างของจอ ความชัดเจนของภาพ ทุกจุด ไม่เกิดภาพผิดเพี้ยนหรือ

42 สภาพของการฉายที่ดี การปรับขนาดของภาพบนจอฉาย

43 สภาพของการฉายที่ดี การปรับขนาดของภาพบนจอฉาย

44 สภาพของการฉายที่ไม่ดี
keystone or distortion

45 สภาพของการฉายที่ไม่ดี
keystone or distortion

46 การแก้ไข keystone or distortion

47 สภาพของการฉายที่ไม่ดี
สภาพแสงมากเกินไป

48 สภาพของการฉายที่ไม่ดี
ห้องเรียน/ห้องประชุมมีขาดใหญ่เกินไป

49 ประวัติและวิวัฒนาการระบบฉาย
คุณสมบัติเครื่องฉายที่ดี การบำรุงรักษาเครื่องฉาย การเลือกซื้อเครื่องฉาย อนาคตของระบบฉาย


ดาวน์โหลด ppt สื่อประเภทเครื่องฉาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google