งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น รหัส 3000 งานให้ความเชื่อมั่น นอกเหนือจากการ ตรวจสอบ หรือการสอบทานข้อมูลทางการเงินในอดีต.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น รหัส 3000 งานให้ความเชื่อมั่น นอกเหนือจากการ ตรวจสอบ หรือการสอบทานข้อมูลทางการเงินในอดีต."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น รหัส 3000 งานให้ความเชื่อมั่น นอกเหนือจากการ ตรวจสอบ หรือการสอบทานข้อมูลทางการเงินในอดีต

2 การตอบรับงานและการรับงานต่อเนื่อง ตอบรับงาน เฉพาะในกรณีที่เรื่องที่ให้ความเชื่อมั่นเป็นความรับผิดชอบของผู้อื่น ที่ไม่ใช่ผู้ที่คาดว่าจะใช้รายงานหรือผู้ประกอบวิชาชีพ ตอบรับงาน เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพไม่พบว่ามีสิ่งบ่งชี้จากความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับสถานการณ์ของงานว่า ข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณหรือมาตรฐานงาน ที่ให้ความเชื่อมั่นจะไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ตอบรับงาน เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพมีความพอใจว่าบุคลากร ซึ่งจะปฏิบัติงานดังกล่าวมีความสามารถทางวิชาชีพที่จำเป็นในองค์รวม ผู้ประกอบวิชาชีพต้องเห็นชอบข้อตกลงในการรับงานกับผู้ว่าจ้างงาน ผู้ประกอบวิชาชีพความเหมาะสมของคำขอให้เปลี่ยนแปลงขอบเขตของงาน ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่การปฏิบัติงานให้ความเชื่อมั่น จะแล้วเสร็จให้เป็นงานที่ไม่ให้ ความเชื่อมั่น หรือจากงานให้ความเชื่อมั่น อย่างสมเหตุสมผลเป็นงานให้ความ เชื่อมั่นอย่างจำกัดและไม่ต้องตกลงที่จะเปลี่ยนแปลงข้อตกลงโดยปราศจากเหตุผล สนับสนุน

3 การวางแผนงานและการปฏิบัติงาน วางแผนสำหรับงานเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล การวางแผนงานเกี่ยวข้องกับการกำหนดกลยุทธ์โดยรวมสำหรับขอบเขต ประเด็นที่จะให้ความสำคัญ ระยะเวลาและการดำเนินงานและแผนงานซึ่งประกอบด้วยแนวทางในรายละเอียดสำหรับลักษณะ ระยะเวลาและขอบเขตของขั้นตอนการรวบรวมหลักฐานที่จะใช้ในการปฏิบัติงานและเหตุผลสนับสนุน ตัวอย่างเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา ได้แก่  ข้อตกลงในการรับงาน  ลักษณะของเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่นและเกณฑ์ที่ระบุไว้  กระบวนการทำงานและแหล่งที่มาของหลักฐานที่เป็นไปได้  ความเข้าใจของผู้ประกอบวิชาชีพต่อกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการ รวมทั้งความเสี่ยง ที่ข้อมูลที่เป็นเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่นนั้นอาจแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ  การระบุผู้ที่คาดว่าจะใช้รายงานและความต้องการของผู้ใช้และการพิจารณาความมีสาระสำคัญ และองค์ประกอบของความเสี่ยงในงานให้ความเชื่อมั่น  ความต้องการด้านบุคลากรและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านรวมทั้งลักษณะและขอบเขตของ ความเกี่ยวข้องของผู้เชี่ยวชาญ

4 การวางแผนงานและการปฏิบัติงาน (ต่อ) วางแผนและปฏิบัติงานโดยใช้วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบ วิชาชีพโดยตระหนักว่าอาจมีสถานการณ์ที่เป็นเหตุให้ข้อมูลเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่น แสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ทำความเข้าใจต่อเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่น และสถานการณ์อื่นของงานอย่างเพียง พอที่จะระบุและประเมินความเสี่ยงที่ข้อมูลอาจขัดต่อข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสำคัญและความเพียงพอที่จะออกแบบและปฏิบัติงานตามขั้นตอนการ รวบรวมหลักฐานในขั้นต่อไป ประเมินความเหมาะสมของเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่น หากผู้ประกอบวิชาชีพสรุปว่าเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่นมีความไม่เหมาะสมภายหลังจากที่ได้ตกลง ตอบรับงานแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพต้องแสดงข้อสรุปอย่างมีเงื่อนไข หรือไม่ถูกต้อง หรือ ไม่แสดง ข้อสรุป ในบางกรณีผู้ประกอบวิชาชีพอาจพิจารณาถอนตัวจากการรับงานนั้น ประเมินความเหมาะสมของเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินหรือวัดเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่น

5 ความมีสาระสำคัญและความเสี่ยงของงานให้ความเชื่อมั่น พิจารณาความมีสาระสำคัญและความเสี่ยงของงานให้ความเชื่อมั่นในการวางแผน งานและการปฏิบัติงานสำหรับงานให้ความเชื่อมั่น ลดความเสี่ยงของงานให้ความเชื่อมั่นให้อยู่ในระดับตํ่าที่สามารถยอมรับได้ภายใต้ สถานการณ์ของงาน การใช้ผลงานของผู้เชี่ยวชาญ เมื่อผลงานของผู้เชี่ยวชาญถูกนำมาใช้ในการรวบรวมและการประเมินหลักฐาน ผู้ประกอบวิชาชีพและผู้เชี่ยวชาญต้องมีทักษะและความรู้รวมกันที่เพียงพอเกี่ยวกับ เรื่องที่ให้ความเชื่อมั่น และเกณฑ์ที่ใช้สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพในการพิจารณาว่า ได้รับหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพต้องมีส่วนร่วมในงานและเข้าใจผลงานซึ่งปฏิบัติโดยผู้เชี่ยวชาญ ในระดับที่เพียงพอที่จะทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถยอมรับความรับผิดชอบใน การให้ข้อสรุปต่อข้อมูลที่เป็นเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่นได้ ผู้ประกอบวิชาชีพต้องได้มาซึ่งหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอว่างานของ ผู้เชี่ยวชาญมีความเพียงพอสำหรับวัตถุประสงค์ของงานให้ความเชื่อมั่น

6 การได้มาซึ่งหลักฐาน ต้องได้มาซึ่งหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอสำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการ สนับสนุนข้อสรุป ก. การทำความเข้าใจเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่นและสถานการณ์อื่นของงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับเรื่อง ที่ให้ความเชื่อมั่นและการทำความเข้าใจการควบคุมภายใน ข. การประเมินความเสี่ยงจากความเข้าใจข้างต้นที่ข้อมูลที่เป็นเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่น อาจแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ค. การตอบสนองความเสี่ยงที่ได้ประเมินไว้ รวมถึงการพัฒนาวิธีการตอบสนองโดยรวม และการพิจารณาลักษณะ ระยะเวลาและขอบเขตของวิธีการขั้นต่อไป ง. การปฏิบัติงานตามวิธีการขั้นต่อไปซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่ประเมินไว้อย่างชัดเจน จ. การประเมินความเพียงพอและความเหมาะสมของหลักฐาน ต้องได้มาซึ่งคำรับรองจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตามความเหมาะสม ต้องพิจารณาผลกระทบของเหตุการณ์ต่าง ๆ จนถึงวันที่ในรายงานการให้ความ เชื่อมั่นที่มีต่อข้อมูลเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่น และรายงานการให้ความเชื่อมั่น ต้องจัดทำเอกสารหลักฐานสำหรับเรื่องที่มีสาระสำคัญที่เป็นหลักฐานประกอบการ สนับสนุนรายงานการให้ความเชื่อมั่น และเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่นแล้ว

7 การจัดทำรายงานการให้ความเชื่อมั่น รายงานการให้ความเชื่อมั่น ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้ ชื่อรายงานที่ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นรายงานการให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็ นอิสระ ผู้รับรายงาน การระบุและคำบรรยายข้อมูลที่เป็นเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่น และเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่นในกรณีที่เหมาะสม การระบุเกณฑ์ที่ใช้ คำบรรยายถึงข้อจำกัดสืบเนื่องที่มีสาระสำคัญที่เกี่ยวกับการประเมินหรือการวัดเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่นกับ เกณฑ์ที่ใช้ในกรณีที่เหมาะสม ข้อความที่ใช้ระบุถึงข้อจำกัดในการใช้รายงานการให้ความเชื่อมั่นสำหรับผู้ที่คาดว่าจะใช้รายงาน เฉพาะรายหรือเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ในกรณีที่เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินหรือวัดเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่น สามารถเข้าถึงได้โดยผู้ที่คาดว่าจะใช้รายงานเฉพาะราย หรือมีความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์เรื่องใด เรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น ข้อความที่ระบุผู้มีหน้าที่รับผิดชอบและที่บรรยายถึงความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบแล ะผู้ประกอบวิชาชีพ ข้อความที่ระบุว่างานที่ทำเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่นสรุปผลของงานที่ปฏิบัติ ข้อสรุปของผู้ประกอบวิชาชีพ งานการให้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผล ข้อสรุปต้องแสดงในรูปแบบที่เป็น การแสดงความเห็น งานการตรวจสอบเพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างจำกัด ข้อสรุปต้องแสดงในรูปแบบที่ไม่เป็น การแสดงความเห็น กรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพแสดงข้อสรุปที่แตกต่างจากข้อสรุปแบบที่ไม่มีเงื่อนไข รายงานการให้ความเชื่อมั่น ต้องมีการอธิบายถึงเหตุผลทั้งหมดอย่างชัดเจน วันที่ในรายงานการให้ความเชื่อมั่น ชื่อของสำนักงานหรือผู้ประกอบวิชาชีพและสถานที่เฉพาะซึ่งโดยปกติคือสถานที่ตั้งของสำนักงานของ ผู้ประกอบวิชาชีพที่รับผิดชอบในงานให้ความเชื่อมั่น นั้น

8 การให้ข้อสรุปอย่างมีเงื่อนไข ข้อสรุปว่าไม่ถูกต้อง และการไม่แสดงข้อสรุป สถานการณ์หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหรือผู้ว่าจ้างงานทำให้มีข้อจำกัดซึ่งทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพ ไม่สามารถได้รับหลักฐานที่ต้องการในการลดความเสี่ยงของงานให้ความเชื่อมั่นให้อยู่ในระดับ ที่เหมาะสม ต้องแสดงข้อสรุปอย่างมีเงื่อนไข หรือ ไม่แสดงข้อสรุป ในกรณีต่าง ๆ ที่ 1. ข้อสรุปของผู้ประกอบวิชาชีพเป็นการแสดงเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้ให้การรับรองไว้ และสิ่งที่ได้ให้การรับรองไว้นั้นไม่แสดงอย่างถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญ หรือ 2. ข้อสรุปของผู้ประกอบวิชาชีพเป็นการแสดงถึงเรื่องที่ให้ความเชื่อมัน่ โดยตรงและเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ และข้อมูลที่เป็นเรื่องที่ให้ความเชื่อมั่นแสดงขัดต่อข้อเท็จจริงในสาระสำคัญ ซึ่งผู้ ประกอบวิชาชีพต้องแสดงข้อสรุปอย่างมีเงื่อนไขหรือ ข้อสรุปว่าไม่ถูกต้อง หรือ ผู้ประกอบวิชาชีพพบภายหลังการตอบรับงานว่า เกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม หรือเรื่องที่ให้ ความเชื่อมั่นไม่เหมาะสมสำหรับงานให้ความเชื่อมั่น ผู้ประกอบวิชาชีพต้องแสดง 1. ข้อสรุปอย่างมีเงื่อนไข หรือ ข้อสรุปว่าไม่ถูกต้องในกรณีที่เกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสมหรือ เรื่องที่ให้ความเชื่อมั่น ที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ผู้ที่คาดว่าจะใช้รายงานเข้าใจผิด หรือ 2. ข้อสรุปอย่างมีเงื่อนไข หรือ ไม่แสดงข้อสรุปในกรณีอื่น ๆ ต้องแสดงข้อสรุปอย่างมีเงื่อนไขเมื่อผลกระทบของประเด็นที่พบไม่มีสาระสำคัญหรือไม่มี ผลกระทบอย่างกว้างขวางจนต้องแสดงข้อสรุปแบบไม่ถูกต้องหรือไม่ แสดงข้อสรุป ข้อสรุปแบบ มีเงื่อนไขจะแสดงในลักษณะ “ยกเว้น” ผลกระทบของเรื่องดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับการมีเงื่อนไข

9 มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น รหัส 3400 การตรวจสอบข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต

10 “ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต” หมายถึง ข้อมูลทางการเงินที่จัดทำขึ้นตามสถานการณ์สมมติเกี่ยวกับเหตุการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและสิ่งที่กิจการอาจกระทำ ข้อมูลเหล่านี้มีลักษณะที่ ไม่แน่นอนและต้องใช้ดุลยพินิจอย่างมากในการจัดทำ ข้อมูลทางการเงินที่ เกี่ยวกับอนาคตอาจอยู่ในรูปของ ประมาณการข้อมูล (Forecast) หรือ ข้อมูล ตามสถานการณ์สมมติ (Projection) หรือเป็นข้อมูลทั้งสองชนิดประกอบกัน เช่น ประมาณการข้อมูล 1 ปี กับข้อมูลตามสถานการณ์สมมติ 5 ปี

11 “ประมาณการข้อมูล” (Forecast) หมายถึง ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต ซึ่งได้จัดทำขึ้นตามสถานการณ์สมมติเกี่ยวกับ เหตุการณ์ซึ่งผู้บริหาร คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และ สิ่งที่ผู้บริหารคาดว่าจะทำโดยคาดการณ์ จากข้อมูลที่มีอยู่ ณ วันที่จัดทำ ประมาณการข้อมูลนั้น (ข้อสมมติเพื่อประมาณการที่ดีที่สุด) “ข้อมูลตามสถานการณ์สมมติ” (Projection) หมายถึง ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต ซึ่งจัดทำขึ้นตาม (ก) สถานการณ์สมมติเกี่ยวกับเหตุการณ์ ในอนาคต และการกระทำของผู้บริหาร ซึ่งไม่จำเป็นต้องคาดว่าจะเกิดขึ้นก็ได้ เช่น กรณีกิจการอยู่ในขั้นเริ่มดำเนินงาน หรือ อยู่ระหว่างการพิจารณาเปลี่ยนแปลงลักษณะ การดำเนินงานที่สำคัญ หรือ (ข) สถานการณ์สมมติที่เกิดจากการใช้ ประมาณการที่ดีที่สุดร่วมกับสถานการณ์ สมมติทั่วไป

12 ผู้สอบบัญชีควรได้มาซึ่งหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอว่า (ก) ข้อสมมติเพื่อประมาณการที่ดีที่สุดของผู้บริหาร ซึ่งเป็นพื้นฐานในการจัดทำข้อมูลทางการเงิน ที่เกี่ยวกับอนาคตมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ และในกรณีที่เป็นสถานการณ์สมมติทั่วไป สถานการณ์ สมมติที่ใช้นั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตหรือไม่ (ข) ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตจัดทำขึ้นอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์สมมติที่กำหนดไว้ หรือไม่ (ค) ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตแสดงไว้อย่างเหมาะสม และได้เปิดเผยสถานการณ์สมมติ ที่สำคัญอย่างเพียงพอ รวมถึงมีการระบุอย่างชัดเจนหรือไม่ว่าเป็นข้อสมมติเพื่อประมาณการที่ดีที่สุด หรือเป็นสถานการณ์สมมติทั่วไป และ (ง) ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชี ซึ่งกิจการใช้อยู่โดย สม่ำเสมอในการจัดทำงบการเงินในอดีตหรือไม่ และมีการใช้หลักการบัญชีที่เหมาะสมหรือไม่

13 การรับงานของผู้สอบบัญชี ไม่ควรรับงาน หรือในกรณีที่ได้รับงานแล้วผู้สอบบัญชีควรถอนตัวจากงานตรวจสอบ ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต เมื่อเห็นได้ชัดเจนว่า สถานการณ์สมมติที่ ผู้บริหารกำหนดไว้ไม่สามารถเป็นจริงได้ หรือผู้สอบบัญชีเชื่อว่าข้อมูลทางการเงิน ที่เกี่ยวกับอนาคตจะไม่เหมาะสมสำหรับการใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ผู้สอบบัญชีและลูกค้าควรเห็นชอบในข้อตกลงในการรับงาน ได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับธุรกิจอย่างเพียงพอเพื่อให้สามารถประเมินได้ว่าผู้บริหารได้ กำหนดสถานการณ์สมมติที่สำคัญทั้งหมดที่ต้องใช้ในการจัดทำข้อมูลทางการเงิน ที่เกี่ยวกับอนาคตแล้วหรือไม่ พิจารณาขอบเขตความน่าเชื่อถือของข้อมูลทางการเงินในอดีตด้วย

14 วิธีการตรวจสอบ การกำหนดลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตการตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีควรพิจารณาเรื่อง ดังต่อไปนี้ (ก) โอกาสที่จะเกิดการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ (ข) ความรู้ที่ได้จากการตรวจสอบหรืองานอื่น ๆ ในอดีตที่ผ่านมา (ค) ความรู้ความสามารถของผู้บริหารในการจัดทำข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต (ง) ผลกระทบจากการใช้ดุลยพินิจของผู้บริหารต่อข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต และ (จ) ความเพียงพอและความเชื่อถือได้ของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประเมินแหล่งที่มาและความเชื่อถือได้ของหลักฐานที่ใช้สนับสนุนข้อสมมติเพื่อประมาณการที่ดี ที่สุดของผู้บริหาร หลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอซึ่งสนับสนุนสถานการณ์สมมติดังกล่าวจะ ได้มาจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอก รวมถึงการพิจารณาข้อมูลในอดีต และประเมินว่า สถานการณ์สมมติอยู่บนพื้นฐานของแผนงานซึ่งกิจการสามารถทำได้หรือไม่ ได้มาซึ่งหนังสือรับรองของผู้บริหาร ที่ระบุถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ข้อมูลทางการเงินที่ เกี่ยวกับอนาคต ความครบถ้วนของสถานการณ์สมมติที่สำคัญและการยอมรับของผู้บริหารต่อ ความรับผิดชอบต่อข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต

15 การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล นอกจากผู้สอบบัญชีจะต้องพิจารณาถึงข้อกำหนดของกฎหมาย ข้อบังคับ หรือมาตรฐาน ทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้สอบบัญชีจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) การแสดงรายการในข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และ ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด (ข) การเปิดเผยนโยบายการบัญชีในหมายเหตุประกอบข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต มีความชัดเจน (ค) การเปิดเผยสถานการณ์สมมติในหมายเหตุประกอบข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต มีความเพียงพอและมีความชัดเจนว่า ใช้ข้อสมมติเพื่อประมาณการที่ดีที่สุดของผู้บริหาร หรือ ใช้สถานการณ์สมมติทั่วไป และในกรณีที่ได้ตั้งสถานการณ์สมมติในเรื่องที่มีสาระสำคัญและ มีความไม่แน่นอนสูงได้มีการเปิดเผยอย่างเพียงพอเกี่ยวกับความไม่แน่นอนและผลลัพธ์ซึ่ง อาจเปลี่ยนแปลงไป (ง) มีการเปิดเผยวันที่ในการจัดทำข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต โดยผู้บริหาร จำเป็นต้องยืนยันว่าสถานการณ์สมมติมีความเหมาะสม ณ วันที่ดังกล่าว ถึงแม้ว่าข้อมูล ที่เกี่ยวข้องอาจสะสมมาตลอดระยะเวลาหนึ่ง (จ) ในกรณีที่ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต แสดงตัวเลขเป็นช่วง ควรระบุหลักเกณฑ์ ที่ใช้ในการกำหนดช่วงตัวเลขนั้นให้ชัดเจน การกำหนดช่วงตัวเลขดังกล่าวต้องทำด้วย ความเที่ยงธรรมและไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และ (ฉ) การเปิดเผยเกี่ยวกับนโยบายการบัญชีที่เปลี่ยนแปลงไปจากนโยบายการบัญชีที่ใช้ใน งบการเงินงวดล่าสุดในอดีต รวมทั้งเหตุผลของการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่อข้อมูลทาง การเงินที่เกี่ยวกับอนาคต

16 รายงานการตรวจสอบข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต (ก) ชื่อรายงาน (ข) ชื่อผู้รับรายงาน (ค) การระบุถึงข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบ (ง) การอ้างอิงถึงมาตรฐานงานให้ความเชื่อมัน่ เกี่ยวกับการตรวจสอบข้อมูลทางการเงิน ที่เกี่ยวกับอนาคต หรือมาตรฐานและแนวปฏิบัติอื่นที่เกี่ยวข้อง (จ) ข้อความที่ระบุว่า ผู้บริหารเป็ นผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต รวมถึงสถานการณ์สมมติที่ใช้ในการจัดทำ (ฉ) การอ้างอิงถึงวัตถุประสงค์ของข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตและ/หรือ ข้อจำกัดในการเผยแพร่ข้อมูลนั้น ในกรณีที่พิจารณาแล้วเห็นว่าจำเป็ น (ช) ข้อความที่แสดงความเชื่อมัน่ ในรูปแบบที่ไม่เป็ นการแสดงความเห็นว่า พบสิ่งที่ เป็นเหตุให้เชื่อว่าสถานการณ์สมมติในการจัดทำข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับ อนาคตไม่สมเหตุสมผลหรือไม่ (ซ) ความเห็นว่า ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต จัดทำขึ้นอย่างเหมาะสมตาม สถานการณ์สมมติ และแสดงความเห็นตามแม่บทการบัญชีในการรายงานทาง การเงินที่เกี่ยวข้องหรือไม่ (ฌ) คำเตือนเกี่ยวกับความสามารถในการบรรลุผลตามที่แสดงไว้ในข้อมูลทางการเงินที่ เกี่ยวกับอนาคต (ญ) วันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชี ซึ่งควรเป็นวันที่ที่การตรวจสอบแล้วเสร็จ (ฎ) ที่ตั้งสำนักงานของผู้สอบบัญชี และ (ฏ) ลายมือชื่อของผู้สอบบัญชี

17 รายงานการตรวจสอบข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต รายงานการตรวจสอบข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตควร ระบุว่า จากการตรวจสอบหลักฐานที่สนับสนุนสถานการณ์สมมติ ผู้สอบบัญชีได้พบสิ่งที่เป็นเหตุ ให้เชื่อว่าสถานการณ์สมมติในการจัดทำข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตไม่สมเหตุสมผลหรือไม่ แสดงความเห็นว่า ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตได้จัดทำขึ้นอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ สมมติ และได้แสดงความเห็นตามแม่บทการบัญชีในการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องหรือ ระบุว่า o ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างจากที่แสดงไว้ในข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต เนื่องจาก บ่อยครั้งเหตุการณ์ที่คาดการณ์ไว้อาจไม่เกิดขึ้น และผลต่างดังกล่าวอาจมีสาระสำคัญ ในทำนอง เดียวกัน หากข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตแสดงเป็นช่วงตัวเลข รายงานของผู้สอบบัญชี ควรระบุว่า ผู้สอบบัญชีไม่สามารถให้ความเชื่อมั่นว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงจะอยู่ในช่วงตัวเลขนั้น และ o ในกรณีที่เป็นข้อมูลตามสถานการณ์สมมติ ให้ระบุว่าข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตได้จัดทำ ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด และใช้สถานการณ์สมมติซึ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและการกระทำ ของผู้บริหารซึ่งอาจไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ผู้ใช้ข้อมูลจะต้องระมัดระวังว่าไม่ได้ใช้ข้อมูลทางการเงินที่ เกี่ยวกับอนาคตเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากที่ได้ระบุไว้

18 ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีเชื่อว่า การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต ไม่เพียงพอ ผู้สอบบัญชีควรเสนอรายงานโดยแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข หรือแสดงความเห็นว่า ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตนั้นไม่ถูกต้องหรือถอนตัวจากการรับงานแล้วแต่ความเหมาะสม เช่น กรณีไม่ได้เปิดเผยอย่างเพียงพอเกี่ยวกับผลลัพธ์ของสถานการณ์สมมติในเรื่องที่แปรเปลี่ยน ได้ง่าย ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีเชื่อว่าสถานการณ์สมมติที่สำคัญข้อหนึ่งข้อใดหรือหลายข้อไม่ได้เป็นเกณฑ์ ที่เหมาะสมในการจัดทำข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตตามข้อสมมติเพื่อประมาณการที่ดีที่สุด หรือตามสถานการณ์สมมติทั่วไป ผู้สอบบัญชีควรเสนอรายงานโดยแสดงความเห็นว่าข้อมูลทาง การเงินที่เกี่ยวกับอนาคตไม่ถูกต้อง หรือถอนตัวจากการรับงาน ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบที่จำเป็นเพื่อตรวจสอบข้อมูลทางการเงิน ที่เกี่ยวกับอนาคตอันเนื่องมาจากการถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีควรถอนตัวจาก การรับงาน หรือเสนอรายงานโดยไม่แสดงความเห็นและอธิบายถึงการถูกจำกัดขอบเขตไว้ในรายงาน

19 มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น รหัส 3402 รายงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อการควบคุมขององค์กรที่ให้บริการ

20 งานที่ให้ความเชื่อมั่นอย่างมีสมเหตุสมผลที่จัดทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต่อสาธารณะ เพื่อรายงานเกี่ยวกับการควบคุมที่องค์กรอื่นแก่กิจการผู้ใช้บริการที่ให้บริการ เมื่อการควบคุมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศที่ใช้ในการจัดทำรายงานทางการเงิน ของกิจการผู้ใช้บริการ มาตรฐานนี้ทำให้มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 402 ข้อพิจารณา ในกรณีที่กิจการใช้บริการจากองค์กรอื่น มีความสมบูรณ์โดยรายงานที่จัดทำขึ้นตาม มาตรฐานที่ให้ความเชื่อมั่นนี้สามารถให้หลักฐานที่เหมาะสม รายงานที่ให้ความเชื่อมั่นต่อการควบคุมขององค์กรที่ให้บริการ

21 รายงานต่อคำอธิบายและการออกแบบการควบคุมของ องค์กรที่ให้บริการ รายงานประเภท 1 โดยรายงานนี้ประกอบด้วย (1) คำอธิบายระบบขององค์กรที่ให้บริการ และ (2) คำรับรองขององค์กรที่ให้บริการ (ก) คำอธิบายแสดงระบบขององค์กรที่ให้บริการ ซึ่งมีการออกแบบ และใช้ปฏิบัติ ณ วันที่ที่ระบุไว้ ในสาระสำคัญตามเกณฑ์ที่เหมาะสม (ข) การควบคุมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของ การควบคุมที่กำหนดไว้ในคำอธิบายมีการออกแบบ อย่างเหมาะสม ณ วันที่ที่ระบุไว้ในสาระสำคัญตาม เกณฑ์ที่เหมาะสม และ (3) รายงานที่ให้ความเชื่อมั่นของผู้สอบบัญชีของ องค์กรที่ให้บริการซึ่งให้ความเชื่อมั่นอย่าง สมเหตุสมผลเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวในข้อ (2) (ก) (ข) ข้างต้น รายงานประเภท 2 โดยรายงานนี้ประกอบด้วย (1) คำอธิบายระบบขององค์กรที่ให้บริการ และ (2) คำรับรองขององค์กรที่ให้บริการ (ก) คำอธิบายแสดงระบบขององค์กรที่ให้บริการ ซึ่งมีการออกแบบ และใช้ปฏิบัติตลอดช่วงเวลา ที่ระบุไว้ ในสาระสำคัญตามเกณฑ์ที่เหมาะสม (ข) การควบคุมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของ การควบคุมที่กำหนดไว้ในคำอธิบายมีการออกแบบ อย่างเหมาะสม ตลอดช่วงเวลาที่ระบุไว้ใน สาระสำคัญตามเกณฑ์ที่เหมาะสม และ (ค) การควบคุมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ การควบคุมที่กำหนดไว้ในคำอธิบายมีการปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิผลตลอดช่วงระยะเวลาที่ระบุไว้ ในสาระสำคัญตามเกณฑ์ที่เหมาะสม (3) รายงานที่ให้ความเชื่อมั่นของผู้สอบบัญชีของ องค์กรที่ให้บริการ (ก) ให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับ เรื่องที่กล่าวในข้อ (2) (ก) – (ค) ข้างต้น (ข) รวมถึงคำอธิบายของการทดสอบและผลของ การทดสอบของผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการ

22 การประเมินความเหมาะสมของหลักเกณฑ์ รายงานประเภท 1 ผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการต้อง ประเมินความเหมาะสมว่า องค์กรที่ให้บริการใช้ หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการจัดทำคำอธิบาย ระบบหรือไม่ ประเมินว่าการควบคุมได้รับการออกแบบ เหมาะสมหรือไม่ รายงานประเภท 2 ผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการต้อง ประเมินความเหมาะสมว่า องค์กรที่ให้บริการ ใช้หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการจัดทำ คำอธิบายระบบหรือไม่ ประเมินว่าการควบคุมได้รับการออกแบบ เหมาะสมหรือไม่ ประเมินว่าการปฏิบัติตามการควบคุมมี ประสิทธิผลหรือไม่

23 หลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการประเมินความเหมาะสมของ คำอธิบายระบบขององค์กรที่ให้บริการ (ก) คำอธิบายนำเสนอว่าระบบขององค์กรที่ให้บริการได้รับการออกแบบและนำไปใช้ได้อย่างไร รวมถึง รายการต่อไปนี้ตามความเหมาะสม (1) ประเภทของบริการที่ให้ รวมถึง ระดับชั้นของรายการที่ประมวลผลในกรณีที่เหมาะสม (2) ขั้นตอนการปฏิบัติ ทั้งจากเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบที่ทำด้วยมือซึ่งมีการให้บริการ (3) บันทึกรายการบัญชีและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง (4) วิธีที่ระบบขององค์กรที่ให้บริการกับเหตุการณ์และเงื่อนไขที่มีความสำคัญนอกเหนือจากรายการ (5) กระบวนการที่ใช้ในการจัดเตรียมรายงานนำเสนอต่อกิจการที่ใช้บริการ (6) วัตถุประสงค์การควบคุมที่กำหนดไว้ และการควบคุมที่ออกแบบเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น และ (7) การควบคุมประกอบของกิจการที่ใช้บริการที่รวมอยู่ในการออกแบบการควบคุม และ (8) ลักษณะแง่มุมอื่นของสภาพแวดล้อมของการควบคุมขององค์กรที่ให้บริการ กระบวนการประเมิน ความเสี่ยง ระบบสารสนเทศ (รวมถึง กระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง) และการติดต่อสื่อสาร กิจกรรม การควบคุม และการติดตามการควบคุมที่เกี่ยวข้องกับการบริการที่ให้ (ข) ในกรณีของรายงานประเภท 2 มีการรวมคำอธิบายรวมถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องของการ เปลี่ยนแปลงระบบขององค์กรที่ให้บริการระหว่างช่วงเวลาที่ครอบคลุมถึงในคำอธิบายหรือไม่ (ค) คำอธิบายละเว้นหรือบิดเบือนสารสนเทศอันเกี่ยวเนื่องกับขอบเขตระบบขององค์กรที่ให้บริการที่ อธิบายไว้หรือไม่ การยอมรับว่าคำอธิบายถูกจัดเตรียมตามความต้องการพื้นฐานเพื่อกิจการที่ใช้บริการ โดยกว้างและผู้สอบบัญชีของกิจการที่ใช้บริการอาจไม่รวมทุกลักษณะแง่มุมของระบบขององค์กรที่ ให้บริการซึ่งกิจการที่ใช้บริการแต่ละกิจการและผู้สอบบัญชีของกิจการที่ใช้บริการนั้นอาจจะไม่พิจารณา ว่าสำคัญในสภาพแวดล้อมของตน

24 หลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการประเมินความเหมาะสมของ การออกแบบการควบคุม ในการประเมินความเหมาะสมของที่ใช้ในการประเมินการออกแบบการควบคุม ผู้สอบบัญชี ขององค์กรที่ให้บริการต้องกำหนดหลักเกณฑ์ขั้นต่ำดังนี้ (ก) องค์กรที่ให้บริการระบุความเสี่ยงที่มีผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์การควบคุมที่กำหนดไว้ ในคำอธิบายระบบ และ (ข) การควบคุมที่ระบุถึง (ถ้ามีการปฏิบัติตามคำอธิบาย) ให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผล หลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการประเมินว่าการควบคุม ได้มีการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล การควบคุมที่ออกแบบไว้มีการใช้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาที่ระบุหรือไม่ ซึ่งรวมถึงการ ควบคุมด้วยมือที่ใช้ปฏิบัติโดยบุคคลที่มีความเหมาะสมในความรู้ความสามารถและอำนาจใน การปฏิบัติ

25 การได้มาซึ่งความเข้าใจในระบบขององค์กรที่ให้บริการ ทำความเข้าใจต่อระบบขององค์กรที่ให้บริการ รวมถึงการควบคุมที่รวมอยู่ในขอบเขตของงาน การได้มาซึ่งหลักฐานเกี่ยวกับคำอธิบาย ได้รับและอ่านคำอธิบายระบบขอองค์กรที่ให้บริการและต้องประเมินว่าลักษณะของคำอธิบายที่รวม ในขอบเขตของงานมีการแสดงอย่างถูกต้องตามควรหรือไม่ ดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติงานอื่นร่วมกับการสอบถามว่า ระบบขององค์กรที่ให้บริการได้นำไป ปฏิบัติ ขั้นตอนการปฏิบัติงานอื่นต้องรวมถึงการสังเกตการณ์ และการตรวจสอบรายการบัญชีและ เอกสารหลักฐานอื่น เพื่อดูว่าระบบและการควบคุมได้นำไปใช้ปฏิบัติ การได้มาซึ่งหลักฐานเกี่ยวกับการออกแบบควบคุม ได้ข้อสรุปว่าการควบคุมใดที่องค์กรที่ให้บริการจำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์การควบคุมที่ระบุว่า ในระบบขององค์กรผู้ให้บริการ ต้องประเมินว่าการการควบคุมเหล่านั้นมีการออกแบบอย่างเหมาะสมหรือไม่ ข้อสรุปดังกล่าว รวมถึง (ก) การระบุความเสี่ยงซึ่งส่งผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์การควบคุมที่ระบุไว้ในคำอธิบายระบบของ องค์กรที่ให้บริการ และ (ข) การประเมินความสัมพันธ์ของการควบคุมที่ระบุในคำอธิบายระบบขององค์กรที่ให้บริการและ ความเสี่ยงเหล่านั้น

26 การได้มาซึ่งหลักฐานเกี่ยวกับความมีประสิทธิผลของการควบคุม รายงานประเภท 2 ทดสอบการควบคุมที่ผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการระบุว่าจำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ การควบคุมซึ่งระบุไว้ในคำอธิบายระบบขององค์กรที่ให้บริการ ประเมินความมีประสิทธิผลของการควบคุมตลอดช่วงเวลาการออกแบบและการทดสอบการควบคุม ผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการต้อง (ก) ปฏิบัติขั้นตอนการอื่น ๆ ร่วมกับการสอบถามเพื่อได้มาซึ่งหลักฐานเกี่ยวกับ (1) การควบคุมมีการนำไปใช้ปฏิบัติอย่างไร (2) ความสม่ำเสมอของการควบคุมที่นำไปใช้ปฏิบัติ และ (3) ใครเป็นผู้นำการควบคุมไปใช้ปฏิบัติและโดยวิธีการใด (ข) กำหนดว่าการควบคุมที่ได้รับการทดสอบขึ้นกับการควบคุมอื่น (การควบคุมทางอ้อม) หรือไม่ และถ้าใช่ มีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องได้มาซึ่งหลักฐานที่สนับสนุนความมีประสิทธิผลของการควบคุม ทางอ้อมนั้น และ (ค) กำหนดวิธีเลือกรายการสำหรับการทดสอบที่มีประสิทธิผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ของ การควบคุม

27 หนังสือรับรอง ขอให้องค์กรที่ให้บริการจัดทำหนังสือรับรองให้กับผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการ (ก) เพื่อยืนยันว่าคำรับรองสอดคล้องกับคำอธิบายระบบ (ข) เพื่อว่าองค์กรที่ให้บริการจัดเตรียมสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและการเข้าถึงตามข้อตกลงให้กับผู้สอบบัญชี ขององค์กรที่ให้บริการ (ค) เพื่อว่าองค์กรที่ให้บริการเปิ ดเผยต่อผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการว่าไม่มีรายการต่อไปนี้ที่องค์กร ที่ให้บริการทราบ (1) การละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ การทุจริต หรือ ข้อผิดพลาดที่ยังไม่ได้แก้ไขของ องค์กรที่ให้บริการที่อาจส่งผลต่อกิจการที่ใช้บริการแห่งหนึ่งหรือหลายแห่ง (2) ข้อบกพร่องของการออกแบบการควบคุม (3) เหตุการณ์ที่การควบคุมไม่ได้มีการปฏิบัติตามที่อธิบายไว้ และ (4) เหตุการณ์ภายหลังช่วงเวลาที่ครอบคลุมโดยคำอธิบายระบบขององค์กรที่ให้บริการจนถึงวันที่ใน รายงานของผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการซึ่งอาจมีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อรายงานของผู้สอบบัญชี ขององค์กรที่ให้บริการ หนังสือรับรองนี้ต้องอยู่ในรูปแบบของจดหมายรับรองซึ่งส่งถึงผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการ และ ต้องลงวันที่ที่ใกล้เคียงในทางปฏิบัติที่สุด (แต่ไม่เกินกว่า) กับวันที่ของรายงานที่ให้ความเชื่อมั่นของ ผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการ องค์กรที่ให้บริการไม่ออกหนังสือรับรองหนึ่งฉบับหรือมากกว่าเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้สอบบัญชีขององค์กร ที่ให้บริการร้องขอ - เสนอรายงานที่ให้ความเชื่อมั่นโดยไม่แสดงความเห็น

28 การใช้ผลงานของหน้าที่งานตรวจสอบภายใน – ประเมินความเพียงพอของงานนั้นสำหรับ วัตถุประสงค์ของผุ้สอบบัญชีที่ให้บริการ และต้องไม่อ้างถึงงานนั้นในส่วนของการแสดงความเห็น ในรายงานที่ให้ความเชื่อมั่นของผู้สอบบัญชี อ่านข้อมูลอื่น (ถ้ามี) รวมถึงเอกสารที่ระบุถึงคำอธิบายระบบขององค์กรที่ให้บริการและรายงานที่ให้ ความเชื่อมั่นของผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการ เพื่อระบุความขัดแย้งของข้อมูลที่มีสาระสำคัญ / การแสดงข้อมูลอื่นที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญ สอบถามว่าองค์กรที่ให้บริการทราบถึงเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลาที่ครอบคลุมของคำอธิบาย ระบบขององค์กรที่ให้บริการถึงวันที่ในรายงานที่ให้ความเชื่อมั่นของผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ ให้บริการซึ่งมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อรายงานที่ให้ความเชื่อมั่นของผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ ให้บริการหรือไม่ ถ้าผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการได้รู้ถึงเหตุการณ์ภายหลังซึ่งมีผลกระทบอย่าง มีนัยสำคัญต่อรายงานที่ให้ความเชื่อมั่นของผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการ และข้อมูลเกี่ยวกับ เหตุการณ์นั้นไม่ได้ถูกเปิดเผยโดยองค์กรที่ให้บริการ ผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการต้องเปิดเผย เหตุการณ์ดังกล่าวในรายงานที่ให้ความเชื่อมั่นของผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการ

29 เอกสารหลักฐาน จัดทำเอกสารหลักฐานอย่างพอเพียงเพื่อให้ผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการที่มีประสบการณ์ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับงานเข้าใจถึง (ก) ลักษณะ เวลา และขอบเขตของวิธีการตรวจสอบตามมาตรฐานงานนี้ และตามข้อกำหนด ของกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (ข) ผลของวิธีการตรวจสอบและหลักฐานที่ได้รับ และ (ค) เรื่องที่มีนัยสำคัญที่พบระหว่างงานตรวจสอบ ข้อสรุปที่ได้ และการใช้ดุลยพินิจเยี่ยง ผู้ประกอบวิชาชีพที่สำคัญในการสรุปผล

30 รายงานที่ให้ความเชื่อมั่นของผู้สอบบัญชีของ องค์กรที่ให้บริการ องค์ประกอบพื้นฐานเนื้อหาของรายงาน ความเห็นที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการสรุปว่า (ก) คำอธิบายขององค์กรที่ให้บริการไม่แสดงอย่างถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญ (ข) การควบคุมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์การควบคุมที่ระบุไว้ในคำอธิบายไม่ได้รับ การออกแบบอย่างเหมาะสมในสาระสำคัญของเรื่องทั้งหมด (ค) ในรายงานประเภท 2 การควบคุมที่ทดสอบซึ่งเป็นการควบคุมที่จำเป็นในการให้ ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่าวัตถุประสงค์ของการควบคุมที่ระบุในคำอธิบายระบบ ขององค์กรที่ให้บริการมีการบรรลุผลไม่มีการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผลในสาระสำคัญของ เรื่องทั้งหมด หรือ (ง) ผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการไม่สามารถหาหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ ความเห็นของผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการต้องเปลี่ยนแปลง และรายงานที่ให้ ความเชื่อมั่นของผู้สอบบัญชีขององค์กรที่ให้บริการ

31 มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่นรหัส 3420 งานที่ให้ความเชื่อมั่นเพื่อรายงานต่อการรวบรวมข้อมูลเสมือน ที่รวมอยู่ในหนังสือชี้ชวน

32 ลักษณะความรับผิดชอบ กม.เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์หรือข้อบังคับของการซื้อขายหลักทรัพย์ในปท.ที่ออกหนังสือ ชี้ชวนกำหนดให้รายงาน การรายงานดังกล่าวเป็นวิธีปฏิบัติที่ยอมรับทั่วไปในประเทศนั้น การนำมาใช้ ผู้ประกอบวิชาชีพรับผิดชอบเพียงการรายงานว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้รวบรวมข้อมูลทาง การเงินเสมือนบนพื้นฐานของหลักเกณฑ์ที่ใช้ในสาระสำคัญหรือไม่ ไม่ต้องรับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูลทางการเงินเสมือนสำหรับกิจการ ไม่เกี่ยวกับงานที่ไม่ให้ความเชื่อมั่นที่ผู้ประกอบวิชาชีพรับดำเนินการรวบรวมข้อมูลในอดีต ของกิจการ เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้รวบรวมข้อมูลทางการเงิน เสมือนบนพื้นฐานของหลักเกณฑ์ที่ใช้ในสาระสำคัญหรือไม่ เพื่อรายงานสิ่งที่ตรวจพบของผู้ประกอบวิชาชีพ วัตถุประสงค์

33 ข้อมูลทางการเงินเสมือน = ข้อมูลทางการเงินที่แสดงร่วมกับรายการปรับปรุง เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของเหตุการณ์หรือรายการต่อข้อมูลทางการเงิน ที่ยังไม่ได้ปรับปรุง เสมือนว่าเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นหรือรายการได้จัดทำขึ้น ณ วันที่ก่อนหน้าที่ระบุไว้ เพื่อวัตถุประสงค์ของการแสดงเหตุการณ์และ รายการนั้น ข้อมูลทางการเงินเสมือน แสดงในรูปแบบแถวแนวตั้ง ประกอบด้วย ข้อมูลทางการเงินที่ยังไม่ได้ปรับปรุง รายการปรับปรุงเสมือน ผลของข้อมูลเสมือนหลังปรับปรุง

34 การวางแผนงานและการปฏิบัติงาน ข้อมูลทางการเงินที่ยังไม่ได้ปรับปรุง - มาจากแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม รายการปรับปรุงเสมือน  เป็นผลโดยตรงจากเหตุการณ์หรือรายการ  มีข้อเท็จจริงสนับสนุน  สอดคล้องกับแม่บทการรายงานทางการเงินและนโยบายการบัญชีภายใต้แม่บท ที่กิจการใช้  มีการแสดงรายการและเปิดเผยข้อมูลอย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจข้อมูลที่นำเสนอ ประเมินว่าหลักเกณฑ์ที่ใช้มีความสม่ำเสมอ ไม่ขัดแย้งกับกม. และไม่ส่งผลให้ข้อมูลเสมือน ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด การคำนวณภายในข้อมูลทางการเงินเสมือนถูกต้องตามหลักคณิตศาสตร์ ประเมินการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินเสมือน และ เหตุการณ์ภายหลังวันที่ของแหล่งข้อมูลที่ใช้คัดลอกเป็นข้อมูลทางการเงินที่ยังไม่ได้ ถูกปรับปรุง อ่านข้อมูลอื่นในหนังสือชี้ชวนที่มีข้อมูลทางการเงินเสมือนเป็นส่วนประกอบ ขอหนังสือรับรองจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ

35 การแสดงความเห็น ความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข – ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้รวบรวมข้อมูลทางการเงินเสมือน บนพื้นฐานของหลักเกณฑ์ที่ใช้ในสาระสำคัญ ความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไป – หารือกับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ หากไม่ปรับปรุงแก้ไข ในส่วนที่จำเป็น – ระงับการออกรายงาน/ถอนตัว/ขอคำแนะนำจากกม. วรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ – เน้นเรื่องที่ได้แสดงหรือเปิดเผยไว้ในข้อมูลทางการเงิน เสมือนหรือหมายเหตุ เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญที่เป็นพื้นฐานต่อความเข้าใจของผู้ใช้ข้อมูล เสมือน

36 มาตรฐานงานบริการเกี่ยวเนื่อง รหัส 4400 งานการปฏิบัติงานตามวิธีการที่ตกลงร่วมกัน ที่เกี่ยวกับข้อมูลทางการเงิน

37 การปฏิบัติงานตามวิธีการที่ตกลงร่วมกัน การปฏิบัติงานตามวิธีการที่ตกลงร่วมกันมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สอบบัญชี ใช้วิธีปฏิบัติงานที่มีลักษณะเดียวกับการสอบบัญชี ซึ่งผู้สอบบัญชีและกิจการ รวมทั้งบุคคลที่สามที่เกี่ยวข้องได้ตกลงร่วมกัน และนำเสนอรายงาน ข้อเท็จจริงที่พบจากการตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีเพียงแต่รายงานข้อเท็จจริงที่พบจากการปฏิบัติงานตรวจสอบตามวิธีการ ที่ตกลงร่วมกัน โดยผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเชื่อมั่นใด ๆ ผู้ใช้รายงานจะเป็น ผู้ประเมินวิธีปฏิบัติงานและสิ่งที่ตรวจพบตามที่ผู้สอบบัญชีรายงาน และสรุปผลเอง จากงานของผู้สอบบัญชี

38 การวางแผนงานและการปฏิบัติงาน การกำหนดข้อตกลงในการรับงาน – ต้องแน่ใจว่าตัวแทนของกิจการและ ฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นผู้ที่จะได้รับสำเนารายงานข้อเท็จจริงที่พบ จากการตรวจสอบ มีความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการที่ตกลงร่วมกัน และเงื่อนไขของการรับงาน ปฏิบัติงานตามวิธีการที่ตกลงร่วมกัน และใช้หลักฐานที่ได้มาเป็นเกณฑ์ใน การนำเสนอรายงานข้อเท็จจริงที่พบจากการตรวจสอบ  การสอบถามและการวิเคราะห์  การทดสอบการคำนวณ การเปรียบเทียบ และการตรวจสอบความถูกต้องอื่น ๆ  การสังเกตการณ์  การตรวจสอบเอกสารหลักฐาน  การขอคำยืนยัน

39 การรายงาน (ก) ชื่อรายงาน (ข) ผู้รับรายงาน (โดยปกติจะเป็นลูกค้าที่ว่าจ้างให้ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานตามวิธีการที่ตกลงร่วมกัน) (ค) การระบุถึงข้อมูลทางการเงินหรือข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานตามวิธีการที่ ตกลงร่วมกัน (ง) ข้อความที่ระบุว่า วิธีการปฏิบัติงานได้มีการตกลงร่วมกันระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เป็นผู้รับรายงาน (จ) ข้อความที่ระบุว่า การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานงานบริการเกี่ยวเนื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ตรวจสอบตามวิธีการที่ตกลงร่วมกัน หรือตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติอื่นที่เกี่ยวข้อง (ฉ) ข้อความที่ระบุว่า ผู้สอบบัญชีไม่มีความเป็นอิสระจากกิจการ (ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่มีความเป็นอิสระ) (ช) การระบุถึงวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานตรวจสอบตามวิธีการที่ตกลงร่วมกัน (ซ) รายละเอียดของวิธีปฏิบัติงานที่ใช้ (ฌ) รายละเอียดข้อเท็จจริงที่พบโดยผู้สอบบัญชี ซึ่งรวมถึงรายละเอียดของข้อผิดพลาด และข้อยกเว้นที่พบ (ญ) ข้อความที่ระบุว่า วิธีปฏิบัติงานที่ใช้ไม่ใช่การตรวจสอบหรือการสอบทาน ดังนั้นจึงไม่อาจให้ความเชื่อมั่นได้ (ฎ) ข้อความที่ระบุว่า หากผู้สอบบัญชีใช้วิธีปฏิบัติงานอื่นเพิ่มเติม เช่น การตรวจสอบหรือการสอบทาน อาจทำให้พบข้อเท็จจริงอื่นที่สมควรนำเสนอในรายงาน (ฏ) ข้อความที่ระบุว่า รายงานข้อเท็จจริงที่พบจากการตรวจสอบจำกัดการใช้เฉพาะกับฝ่ายต่างๆ ที่ได้ตกลง ร่วมกันเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานเท่านั้น (ฐ) ข้อความที่ระบุว่า รายงานข้อเท็จจริงที่พบจากการตรวจสอบเกี่ยวข้องกับส่วนประกอบบัญชี รายการบัญชี รายการอื่นๆ หรือข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับการเงินเท่านั้น โดยไม่ได้ครอบคลุมถึงงบการเงิน โดยรวมของกิจการ(ในกรณีการตรวจสอบไม่ได้ครอบคลุมงบการเงินโดยรวม) (ฑ) วันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชี (ฒ) ที่ตั้งสำนักงานของผู้สอบบัญชี และ (ณ) ลายมือชื่อของผู้สอบบัญชี

40 มาตรฐานงานบริการเกี่ยวเนื่อง รหัส 4410 (ปรับปรุง) งานการรวบรวมข้อมูล

41 ใช้กับงานการรวบรวมข้อมูลทางการเงินในอดีต งานการรวบรวมข้อมูล = การจัดทำและการนำเสนอในข้อมูลทางการเงินของกิจการ งานการรวบรวมข้อมูลไม่ใช่งานที่ให้ความเชื่อมั่น ไม่ได้กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพตรวจสอบ ความถูกต้องหรือความครบถ้วนของข้อมูลที่ผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูล หรือได้รับหลักฐานเพื่อแสดงความเห็นจากการตรวจสอบหรือข้อสรุปจากการสอบทานในการจัดทำ ข้อมูลทางการเงินนั้น ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบทั้งข้อมูลทางการเงิน และเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดทำและการนำเสนอ ความรับผิดชอบนี้ยังรวมถึงการใช้ดุลยพินิจของผู้บริหารในการจัดทำและการนำเสนอในข้อมูลทาง การเงิน รวมถึงการเลือกและการใช้นโยบายการบัญชีที่เหมาะสม และ (ถ้าจาเป็น) ความสมเหตุสมผล ของประมาณการทางบัญชี ต้องได้รับการยืนยันจากผู้บริหารหรือผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแล (ในกรณีที่เหมาะสม) ถึง ความรับผิดชอบของผู้บริหารหรือผู้มีหน้าที่ในการกากับดูแลต่อข้อมูลทางการเงินที่ถูกรวบรวม ฉบับสุดท้าย

42 การวางแผนงานและการปฏิบัติงาน ได้มาซึ่งความเข้าใจประเด็นดังต่อไปนี้อย่างเพียงพอเพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานการรวบรวมข้อมูล (ก) ธุรกิจและการดาเนินงานของกิจการ รวมถึงระบบบัญชีของกิจการ และการบันทึกบัญชี และ (ข) แม่บทการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการนาไปใช้ปฏิบัติในอุตสาหกรรมของกิจการ รวบรวมข้อมูลทางการเงินโดยใช้การบันทึกรายการ เอกสารหลักฐาน คาอธิบาย และข้อมูลอื่น รวมถึง ดุลยพินิจที่สำคัญซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น หารือกับผู้บริหารหรือผู้มีหน้าที่ในการกากับดูแล (ในกรณีที่เหมาะสม) ในเรื่อง ดุลยพินิจที่สำคัญ สำหรับสิ่งที่ผู้ประกอบวิชาชีพใช้ในระหว่างปฏิบัติงานรวบรวมข้อมูลทางการเงิน ก่อนที่งานการรวบรวมข้อมูลจะเสร็จสิ้น ผู้ประกอบวิชาชีพต้องอ่านข้อมูลทางการเงินที่ถูกรวบรวมขึ้น ตามความเข้าใจในธุรกิจและการดำเนินงานของกิจการ และแม่บทการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง

43 การวางแผนงานและการปฏิบัติงาน ในระหว่างปฏิบัติงานการรวบรวมข้อมูล ผู้ประกอบวิชาชีพตระหนักว่าการบันทึกรายการ เอกสาร หลักฐาน คำอธิบาย หรือข้อมูลอื่น รวมถึงดุลยพินิจที่สำคัญซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในงาน การรวบรวมข้อมูลนั้นไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง หรือ ไม่เป็นที่พอใจ ผู้ประกอบวิชาชีพต้องแจ้งต่อ ผู้บริหาร และให้ผู้บริหารจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม หรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง หากผู้ประกอบวิชาชีพรับทราบในระหว่างการปฏิบัติงานรวบรวมข้อมูลถึงเรื่อง (ก) ข้อมูลทางการเงินที่ถูกรวบรวมไม่มีการอ้างถึงหรืออธิบายไว้อย่างเพียงพอเกี่ยวกับแม่บทการ รายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง (ข) การแก้ไขข้อมูลทางการเงินที่ถูกรวบรวมมีความจาเป็นเพื่อไม่ให้ข้อมูลทางการเงินนั้นมีการแสดง ข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ (ค) ข้อมูลทางการเงินที่ถูกรวบรวมทาให้เกิดความเข้าใจผิด ผู้ประกอบวิชาชีพต้องเสนอการแก้ไขที่เหมาะสมแก่ผู้บริหาร หากผู้บริหารปฏิเสธ หรือไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพเสนอการแก้ไขต่อข้อมูลทางการเงินที่ถูก รวบรวม ผู้ประกอบวิชาชีพต้องถอนตัวจากงานการรวบรวมข้อมูล และรายงานต่อผู้บริหารและผู้มี หน้าที่ในการกำกับดูแลทราบถึงเหตุผลของการถอนตัว หากการถอนตัวจากงานการรวบรวมข้อมูลไม่สามารถกระทำได้ ผู้ประกอบวิชาชีพต้องพิจารณาถึง ความรับผิดชอบทางวิชาชีพและทางกฎหมายที่เหมาะสมภายใต้สถานการณ์นั้น ๆ

44 เอกสารหลักฐาน (ก) เรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงานการรวบรวมข้อมูล และวิธีการ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพตอบสนองต่อเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญดังกล่าว (ข) การบันทึกเกี่ยวกับวิธีการกระทบยอดข้อมูลทางการเงินที่ถูกรวบรวมกับ การบันทึกรายการ เอกสารหลักฐาน คำอธิบาย และข้อมูลอื่น ที่ผู้บริหารเป็น ผู้จัดทำขึ้นและ (ค) สำเนาของข้อมูลทางการเงินที่ถูกรวบรวมฉบับสุดท้ายที่ได้รับการยืนยัน ถึงความรับผิดชอบของผู้บริหารหรือผู้มีหน้าที่ในการกากับดูแล (ในกรณีที่เหมาะสม) และรายงานของผู้ประกอบวิชาชีพ

45 รายงานของผู้ประกอบวิชาชีพ (ก) ชื่อรายงาน (ข) ผู้รับรายงาน เป็นไปตามที่ตกลงในข้อตกลงในการตอบรับ (ค) ข้อความที่ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพได้รวบรวมข้อมูลทางการเงินโดยใช้ข้อมูลที่ผู้บริหารเป็นผู้จัดทำ (ง) คำอธิบายเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้บริหารหรือผู้มีหน้าที่ในการกากับดูแล (ในกรณีที่เหมาะสม) ในเรื่องที่เกี่ยวกับงานการรวบรวมข้อมูลและข้อมูลทางการเงิน (จ) การระบุถึงแม่บทการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง (ฉ) การระบุถึงข้อมูลทางการเงิน รวมถึงชื่อของแต่ละองค์ประกอบของข้อมูลทางการเงินถ้าข้อมูลทาง การเงินนั้นมีมากกว่าหนึ่งองค์ประกอบ และระบุวันที่ของข้อมูลทางการเงินหรือช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง (ช) คำอธิบายเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพในการรวบรวมข้อมูลทางการเงิน รวมถึง การปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการเกี่ยวเนื่องฉบับนี้ และผู้ประกอบวิชาชีพได้ปฏิบัติงานตาม ข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง (ซ) คำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่งานการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้องตามมาตรฐานงานบริการเกี่ยวเนื่องฉบับนี้

46 รายงานของผู้ประกอบวิชาชีพ (ต่อ) (ฌ) คำอธิบายที่ว่า (1) เนื่องจากงานการรวบรวมข้อมูลไม่ใช่งานที่ให้ความเชื่อมั่น ผู้ประกอบวิชาชีพจึงไม่ได้ตรวจสอบ ความถูกต้องหรือความครบถ้วนของข้อมูลที่ผู้บริหารเป็นผู้จัดทาขึ้นเพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลดังกล่าว (2) ดังนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพจึงไม่แสดงความเห็นจากการตรวจสอบหรือข้อสรุปจากการสอบทานว่า ข้อมูลทางการเงินนั้นจัดทาขึ้นตามแม่บทการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง หรือไม่ (ญ) ถ้าข้อมูลทางการเงินจัดทาขึ้นตามแม่บทการรายงานทางการเงินเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ต้องมี วรรคอธิบายเพิ่มเติม ดังนี้ (1) อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของข้อมูลทางการเงินที่จัดทาขึ้น และ(ถ้าจำเป็น) ผู้ใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หรือระบุการอ้างถึงในหมายเหตุประกอบข้อมูลทางการเงินเพื่อเปิดเผยถึงข้อมูลดังกล่าว และ (2) เน้นให้ผู้อ่านรายงานเข้าใจถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ข้อมูลทางการเงินนั้นจัดทาขึ้นตามแม่บทเพื่อ วัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวอาจไม่เหมาะสมสาหรับวัตถุประสงค์อื่น (ฎ) วันที่ในรายงานของผู้ประกอบวิชาชีพ (ฏ) ลายมือชื่อของผู้ประกอบวิชาชีพ และ (ฐ) ที่อยู่ของผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพต้องลงวันที่ในรายงานในวันที่ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติงานการรวบรวมข้อมูลตาม มาตรฐานงานบริการเกี่ยวเนื่องฉบับนี้เสร็จ

47 ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๙) เรื่อง จรรยาบรรณของผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๓

48 ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี และบริหารเกี่ยวกับการบัญชี ด้านอื่นตามที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นวิชาชีพบัญชี รวมทั้ง ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพ และให้ความหมายรวมถึง หัวหน้าคณะบุคคลหรือหัวหน้าสำนักงานหรือผู้มีอำนาจการทำการ แทนนิติบุคคล ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

49 หมวดที่ 1 บททั่วไป หมวดที่ 2 ความโปร่งใส่ ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และ ความซื่อสัตย์สุจริต หมวดที่ 3 ความรู้ ความสามารถ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน หมวดที่ 4 การรักษาความลับ หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ หมวดที่ 6 ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน บุคคลหรือนิติ บุคคลที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติหน้าที่ให้ หมวดที่ 7 ความรับผิดชอบต่อเพื่อร่วมวิชาชีพ และจรรยาบรรณทั่วไป ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ ๑๙) เรื่อง จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

50  ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ---- วิชาชีพ 6 ด้าน 1. สอบบัญชี2. บัญชีบริหาร 3. ระบบบัญชี4. บัญชีภาษีอากร 5. การศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี 6. บริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านอื่นตามที่กฎกระทรวง กำหนด รวมถึง หัวหน้าคณะบุคคลหรือหัวหน้าสำนักงานหรือผู้ มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล  ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี ---- ผู้ทำบัญชี บังคับใช้กับใคร

51 พรบ. วิชาชีพบัญชี ๒๕๔๗ มาตรา ๔๙ โทษการประพฤติผิด จรรยาบรรณมีดังต่อไปนี้ (1) ตักเตือนเป็นหนังสือ (2) ภาคทัณฑ์ (3) พักใช้ใบอนุญาต พักการขึ้นทะเบียน หรือห้ามการ ประกอบวิชาชีพบัญชีด้านที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณโดยมี กำหนดเวลา แต่ไม่เกินสามปี (4) เพิกถอนใบอนุญาต เพิกถอนการขึ้นทะเบียนหรือสั่ง ให้พันการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

52 ม. ๕๓ ว ๕ คณะกรรมการจรรยาบรรณและคณะอนุกรรมการมีอำนาจเรียก บุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็ขจริงหรือทำ คำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชี ทะเบียน เอกสารหรือหลักฐานใด เพื่อตรวจสอบหรือประกอบการพิจารณา เพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนก็ได้ มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตาม พระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคลให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ผูกพันนิติบุคคล หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้แทนนิติบุคคล หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษ ความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือ ยินยอมในการกระทำความผิดของ นิติบุคคลนั้น

53 1 ในกรณีที่มีปัญหาการแปลความเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีเป็ นผู้วินิจฉัย และถือว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีเป็นที่สุด

54 2 ความ โปร่งใส การปฏิบัติงานตามกฎ ระเบียบและมาตรฐานวิชาชีพ ที่กำหนดไว้ ไม่ปกปิดข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนความจริงอันเป็น สาระสำคัญซึ่งสามารถติดตามตรวจสอบได้ ความเป็น อิสระ ใช้ดุลยพินิจและปฏิบัติงานเป็นอิสระภายใต้กรอบ วิชาชีพบัญชี/ ไม่ตกอยู่ในอิทธิพลใคร

55 2 ความ เที่ยง ธรรม ยุติธรรม ซื่อตรงต่อวิชาชีพ ไม่มีส่วนได้เสีย/ ปราศจากอคติและลำเอียง/หลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ หรือสถานการณ์ใด ๆ ที่อาจไม่โปร่งใส ไม่อิสระและ ซื่อสัตย์สุจริต ความ ซื่อสัตย์ สุจริต ตรงไปตรงมา จริงใจ ซื่อตรงต่อวิชาชีพ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง / ปฏิบัติงานตรงตามหลักฐาน ที่เป็นจริง / ต้องไม่อ้างหรือยินยอมให้บุคคลอื่น อ้างว่าได้ปฏิบัติงานโดยที่ไม่ได้มีการปฏิบัติงานจริง

56 3 ความรู้ ความ สามารถ การใช้ความรู้ความสามารถ ความชำนาญใน การปฏิบัติ ความเอาใจใส่อย่างเต็มความสามารถ ความเพียร พยายาม และความระมัดระวังรอบคอบ เพื่อที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลและมั่นใจได้ว่ามีผลงานทางวิชาชีพ ที่อยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์มาตรฐานใน การปฏิบัติงาน และวิชาการที่เกี่ยวข้อง

57 3 มาตรฐาน ในการ ปฏิบัติงาน มาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานทางวิชาการที่ เกี่ยวข้อง ระมัดระวังรอบคอบ และด้วยความชำนาญตาม มาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานทางวิชาการที่ เกี่ยวข้อง

58 4 ต้องไม่นำข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กร ที่ตนได้มาจาก การปฏิบัติงานวิชาชีพ และความสัมพันธ์ในทางธุรกิจ รวมทั้ง ความลับขององค์กรที่ตนสังกัด ไปเปิดเผย ต่อบุคคลที่ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากองค์กร เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการเปิดเผยตามสิทธิหรือหน้าที่ ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หรือในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

59 4 ต้องไม่นำข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรที่ตนได้มาจาก การปฏิบัติงานวิชาชีพ และความสัมพันธ์ในทางธุรกิจ รวมทั้ง ความลับขององค์กรที่ตนสังกัด ไปใช้เพื่อประโยชน์ ของตน หรือบุคคลอื่นโดยมิชอบ

60 5 ผู้รับบริการ ได้แก่ (1) ผู้ว่าจ้างผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และ/หรือ (2) ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และบุคคลอื่นที่ใช้ ผลงานของผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชีด้วยความสุจริตและจำเป็น

61 5 “ผู้ที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติหน้าที่ให้” หมายความว่า ผู้ที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติหน้าที่ให้ อันได้แก่ ผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน บุคคลหรือนิติบุคคล ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องปฎิบัติงานตามหลักการมาตรฐาน และแนวปฏิบัติของวิชาชีพบัญชี เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและมีประโยชน์ต่อผู้รับบริการ

62 6 1. ต้องปฏิบัติตามจริยธรรมทางธุรกิจขององค์กรที่ตนสังกัด 2. ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อุทิศตน ทุ่มเท ดูแล ทรัพย์สินขององค์กรที่ตนสังกัด 3. ต้องใช้เวลาและทรัพย์สินขององค์กรที่ตนสังกัดให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือบุคคลที่สามทั้งทางตรง และทางอ้อม

63 6 4. ต้องเปิดเผยความสัมพันธ์กับองค์กร สถาบัน ธุรกิจภายนอกหรือ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิด ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 5. ต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง และ การดำเนินการขององค์กรที่ตนสังกัด 6. ต้องใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบ มีเหตุผลในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรที่ตนสังกัด รวมถึงนายจ้าง (ผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน เจ้าของ) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

64 7 1. ต้องไม่แย่งงานด้านเดียวกันรายอื่น 2. ต้องไม่ปฏิบัติงานทางวิชาชีพบัญชีเกินกว่าที่รับมอบหมายจาก ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีรายอื่น 3. ต้องไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานของตนเกินความเป็นจริง ไม่โอ้อวด หรือ เปรียบเทียบตนหรือองค์กรที่ตนสังกัดอยู่กับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีด้าน เดียวกันรายอื่น หรือองค์กรที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีด้านเดียวกันราย อื่นสังกัดอยู่

65 7 4. ต้องไม่ให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ เพื่อเป็น การจูงใจให้บุคคลอื่นแนะนำหรือจัดหางานวิชาชีพบัญชีมาให้ตน 5. ต้องไม่เรียกหรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์จากบุคคลใด เมื่อบุคคลนั้นได้รับงานจากการแนะนำหรือการจัดหางานของตน ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีขององค์กรนั้น

66 7 7. ต้องประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร สำนึกในหน้าที่และไม่ปฏิบัติ ตนในลักษณะที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชี 6. ต้องไม่กำหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนในการให้บริการวิชาชีพ บัญชีโดยมิได้คำนึงถึงลักษณะ ความเสี่ยง ความซับซ้อนและปริมาณ ของงานที่ตนให้บริการหรือมีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาชีพบัญชี

67  ซื่อสัตย์ – ตรงไปตรงมา  เที่ยงธรรม – อิสระ/โปร่งใส  รักษาความลับ - รักษาความลับ/ไม่หาประโยชน์จากสิ่งที่รู้  คุณภาพ – รอบรู้/เชี่ยวชาญ/งานมาตรฐาน  ความประพฤติทางวิชาชีพ –ไม่ทำเสื่อมเสีย/ทำตาม กฎหมาย  รับผิดชอบ - ผู้รับบริการ / ผู้ถือหุ้น / เพื่อนร่วมงาน


ดาวน์โหลด ppt มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น รหัส 3000 งานให้ความเชื่อมั่น นอกเหนือจากการ ตรวจสอบ หรือการสอบทานข้อมูลทางการเงินในอดีต.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google