งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 4000107 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ Introduction to information technology

2 Content 1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน ความสำคัญของสารสนเทศ ความหมายของข้อมูล, สารสนเทศ, และความรู้ ลักษณะของสารสนเทศที่ดี ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ ประเทศไทยกับการเตรียมการเข้าสู่สังคมสารสนเทศ บทบาทสำคัญของเศรษฐกิจใหม่ เทคโนโลยีไอซีทีกับการเรียนรู้และระบบการศึกษา 11. แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศ 12. จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

3 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการกับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นสามารถถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และสามารส่งไปยังที่ต่าง ๆ ได้ตามต้องการอย่างรวดเร็วทันใจ อีกทั้งผู้ต้องการใช้สารสนเทศยังสามารถสืบค้นหาข้อมูลและข่าวสารที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน หรือกระบวนการดําเนินการใดๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ (software) คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ (hardware)

4 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
พจนานุกรมคอมพิวเตอร์ ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ข้อมูลสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่นำมาประมวลผล แล้วเสนอออกมาในรูปที่ผู้ใช้รู้หรือเข้าใจความหมาย” ข้อมูลที่เก็บได้จากแหล่งข้อมูล ข้อมูลสารสนเทศ การประมวลผล ขั้นตอนในการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศ

5 เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคน เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น ดังเห็นได้จาก - การพิมพ์เอกสารต่างๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ - การถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอล และ ใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่างๆ เป็นต้น

6 เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
ในช่วงสองปีหลังนี้มีการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย มีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบเครือข่ายสื่อสารใหม่ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันจึงมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที – Information and Communication Technology)

7 ความสำคัญของสารสนเทศ
ปัจจุบัน IT ได้ทวีความสำคัญขึ้นอย่างมาก ทั้งในชีวิตประจำวัน ชีวิตการทำงาน และการดำเนินงานองค์การต่าง ๆ จนบางครั้งอาจเปรียบสารสนเทศได้เสมือนกับสายเลือดที่หล่อเลี้ยงการทำงานแทบทุกด้านขององค์กร และผลกระทบของสารสนเทศมีอย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม องค์กร รวมทั้งการทำงานในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ "Information Is Power!"

8 ความสำคัญของสารสนเทศ
บทบาทความสำคัญของสารสนเทศ เป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม Toffler (1980) ได้แบ่งวิวัฒนาการของสังคมโลกออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคเกษตรกรรม » ที่ดิน, แรงงาน ยุคอุตสาหกรรม » คน, เครื่องจักร ยุคสารสนเทศ » ข้อมูล, ข่าวสาร, ความรู้

9 ความสำคัญของสารสนเทศ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในปัจจุบันทำให้สารสนเทศมีความสำคัญเพิ่มขึ้น โดยเน้นประเด็นต่อไปนี้ ระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ การเปลี่ยนแปลงด้านองค์การและการบริหาร การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี

10 ความสำคัญของสารสนเทศ
ระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ มีลักษณะ 3 ประการคือ ระบบเศรษฐกิจโลก (Global Economy) ระบบเศรษฐกิจซึ่งเน้นการบริการที่อาศัยสารสนเทศ เป็นหลัก เครือข่ายความสัมพันธ์

11 ความสำคัญของสารสนเทศ
การเปลี่ยนแปลงองค์กรและการบริหาร มีลักษณะ 3 ประการคือ องค์กรแบบใหม่ การบริหารแบบใหม่ การบริหารที่เน้นความโปร่งใสและตรวจสอบได้

12 ความสำคัญของสารสนเทศ
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มากขึ้น ราคาถูกลง มีรูปแบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่หลากหลาย เทคโนโลยีมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจและการทำงานสาขาวิชาชีพต่าง ๆ เช่น การแพทย์, วิทยาศาสตร์, ประวัติศาสตร์, ปรัชญา, รัฐศาสตร์, ดนตรี ฯลฯ

13 ความหมายของข้อมูล, สารสนเทศ, ความรู้
ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการ จุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่งคือ การประมวลผลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน

14 ความหมายของข้อมูล, สารสนเทศ, ความรู้
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว

15 ความหมายของข้อมูล, สารสนเทศ, ความรู้
ความหมายของสารสนเทศ สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้

16 ความหมายของข้อมูล, สารสนเทศ, ความรู้
ความหมายของความรู้ ความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศบวกกับ Know-how คือ สารสนเทศอย่างเดียวไม่พอที่จะทำให้เกิดความรู้ เราต้องเข้าใจวิธีที่ดีที่สุดในการใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหาผลิตสินค้าหรือบริการ (Kogut & Zander, 1992) ความรู้ คือ ความรับรู้และความเข้าใจในการนำสารสนเทศไปใช้ในการแก้ปัญหาในการดำเนินงาน

17 ข้อมูล, สารสนเทศ, ความรู้
ความเข้าใจ (Know- How) ประมวลผลข้อมูล (Data Processing) ข้อมูล (Data) สารสน เทศ (Informatin) ความรู้ (Knowledge)

18 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
คุณค่าของสารสนเทศของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน(Haag et al, 2000) ในบทนี้จะกำหนดลักษณะของสารสนเทศที่ดีไว้ 4 มิติ คือ มิติด้านเวลา (Time) มิติด้านเนื้อหา (Content) มิติด้านรูปแบบ (Format) มิติด้านกระบวนการ (Process)

19 มิติด้านเวลา การทันเวลา (Timeliness) »สามารถหาได้รวดเร็วทันเวลาที่ต้องการ ความเป็นปัจจุบัน (Up-to-date)» มีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ มีระยะเวลา (Time Period) » มีข้อมูลทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและการตัดสินใจ

20 มิติด้านเนื้อหา ความถูกต้องเที่ยงตรง » สารสนเทศซึ่งไม่มีข้อผิดพลาด ความสัมพันธ์กับเรื่อง » สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการ ความสมบูรณ์ » คลอบคลุมรายละเอียดที่สำคัญทุกเรื่องที่ต้องการทราบ ความน่าเชื่อถือได้ » ขึ้นอยู่กับการเก็บรวบรวมข้อมูล และแหล่งที่มาของข้อมูล ตรวจสอบได้ » ตรวจสอบความถูกต้องและแหล่งที่มา

21 มิติด้านรูปแบบ ความชัดเจน ระดับของการนำเสนอรายละเอียด รูปแบบการนำเสนอ สื่อในการนำเสนอ ความยืดหยุ่น ความประหยัด

22 มิติด้านกระบวนการ ความสามารถในการเข้าถึง การมีส่วนร่วม การเชื่อมโยง

23 องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอร์ฟแวร์ (Software) ฐานข้อมูล (Database) เครือข่าย (Network) กระบวนการ (Procedure) คน (People)

24 แนวทางเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
การศึกษาเรื่องระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ จำเป็นต้องอาศัยความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนั้นระบบสารสนเทศจึงมีลักษณะเป็น สหวิทยาการ (multidisciplinary) ดังนั้น จึงแบ่งการศึกษาระบบสารสนเทศออกเป็น 3 แนวทางคือ (Laudon, 1999) แนวทางด้านเทคนิค (Technical Approach) แนวทางด้านพฤติกรรม (Behavioral Approach) แนวทางการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและสังคม (Sociotechnical Systems)

25 MIS แนวทางด้านพฤติกรรม Behavioral Approach แนวทางด้านเทคนิค Technical
คอมพิวเตอร์ Computer science วิจัยเชิงปฏิบัติการ Operation Research MIS วิทยาการการจัดการ Management Science องค์การ Organization จิตวิทยา Psychology สังคมวิทยา Sociology แนวทางด้านพฤติกรรม Behavioral Approach

26 แนวทางด้านเทคนิค เน้นเรื่องเทคโนโลยีด้านกายภาพ และความสามารถในด้านเทคนิคของระบบ ความรู้ที่ใช้ในแนวทางนี้ได้แก่ วิทยาการจัดการ » เน้นเรื่องการพัฒนาโมเดลในการตัดสินใจและการจัดการ Computer Science » สนใจการสร้างทฤษฎีและวิธีการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิธีเก็บรวบรวมและการเข้าถึงข้อมูล การวิจัยเชิงปฏิบัติการ » เน้นเทคนิคทางคณิตศาสตร์ เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด ในการบริหาร การทำงาน

27 แนวทางด้านพฤติกรรม เน้นที่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ พฤติกรรมการบริหาร รวมทั้งนโยบายองค์กร ความรู้ที่ใช้ในแนวทางนี้ได้แก่ วิชาองค์กรและการจัดการ » ช่วยในการพิจารณาว่ากลุ่มหรือองค์กรจะพัฒนาระบบอย่างไร และระบบนั้นจะมีผลต่อบุคคลอย่างไร วิชาจิตวิทยา » ช่วยศึกษาพฤติกรรมของคนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีในองค์การ สังคมวิทยา » เป็นเรื่องผลกระทบของระบบสารสนเทศที่มีต่อกลุ่ม องค์การ และสังคม

28 ประโยชน์ของสารสนเทศ สารสนเทศที่ดีมีประโยชน์ในด้านต่อไปนี้
ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิผล (Effectiveness) ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Working Life)

29 ประโยชน์ของสารสนเทศ ประสิทธิภาพ (Efficiency)
ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็ว ระบบสารสนเทศช่วยในการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว ระบบสารสนเทศช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุน ช่วยให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยดี

30 ประโยชน์ของสารสนเทศ ประสิทธิผล (Effectiveness)
ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/บริการที่เหมาะสม ระบบสารสนเทศช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ดีขึ้น, ทำได้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น, ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น

31 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับสังคมเศรษฐกิจใหม่
อีบิสิเนส (e-Business) อีแคช (e-Cash) อีมันนี่ (e-Money) อีเซอร์วิส (e-Service) เศรษฐกิจดิจิตอล เศรษฐกิจใหม่ (new economy) เศรษฐกิจเว็บ (web economy) เศรษฐกิจอินเทอร์เน็ต (internet economy) แสดงธุรกิจการเปิดร้านขายของแบบใหม่ที่ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยการดำเนินการ

32 บทบาทสำคัญของเศรษฐกิจใหม่ เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
สภาพความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันต้องอาศัยพึ่งพาสิ่งต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีทำให้สภาพการทำงานร่วมกันติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ง่ายประจวบกับสภาพความเป็นอยู่โดยรวมเปลี่ยนแปลงไปมาก

33 บทบาทสำคัญของเศรษฐกิจใหม่ เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
สินค้าบริการต่างๆ ทางด้านดิจิตอลเกิดขึ้นมาก สินค้าจำพวกข่าวสาร หนังสือ วารสาร โทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ วิดีโอเกม ซีดี ซอฟแวร์ ฯลฯ สินค้าเหล่านี้สามารถส่งจำหน่ายผ่านทางเครือข่ายได้รวดเร็ว สะดวก และทั่วถึงได้โดยปราศจากพรมแดนขวางกั้น

34 บทบาทสำคัญของเศรษฐกิจใหม่ เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
ผู้ใช้บริการ องค์กร ตลอดจนบริษัทห้างร้านให้บริการออนไลน์ต่างๆ ได้มาก มีการโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน การโอนย้ายตัวเลขทางการเงิน รายการต่างๆ ทำให้สภาพการทำงานแบบอิเล็กทรอนิกส์แพร่หลาย และมีแนวโน้มที่จะดำเนินธุรกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน

35 บทบาทสำคัญของเศรษฐกิจใหม่ เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
สินค้า เครื่องใช้ต่างๆ ทั้งในบ้าน ในสำนักงาน ล้วนแต่มีแนวโน้มที่จะฝังตัวไมโครโปรเซสเซอร์ (คอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว) ไว้ภายใน เพื่อให้ทำงานได้อย่างอัตโนมัติ เช่น ระบบควบคุมอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ เตาอบ เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้มีแนวโน้มที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อทำงานร่วมกัน

36 บทบาทสำคัญของเศรษฐกิจใหม่ เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
หากพิจารณาบทบาทความสำคัญของเศรษฐกิจที่พึ่งพาเทคโนโลยีไอซีทีกับชีวิตประจำวันพบว่า มีส่วนเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันและเกี่ยวข้องกับทุกคน ตลอดจนมีแนวโน้มที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก เช่น อุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปริมาณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์สื่อสารสมัยใหม่ช่วยทำให้ติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายขึ้น

37 แสดงกล้องถ่ายรูปดิจิตอลและ กล้องถ่ายวิดีโอกำลังเป็นที่นิยม

38 จากกล้องถ่ายรูปดิจิตอลเชื่อมโยงเข้าสู่สิ่งต่างๆได้อีกมากมายผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ปาล์ม พ็อกเก็ตพีซี ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เครือข่าย ห้างร้านธุรกิจ สำนักพิมพ์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ไอพีทีวี พีซี เว็บ อินเทอร์เน็ต กล้องถ่ายรูปดิจิตอล คลื่นวิทยุ ไร้สาย คลื่นวิทยุไร้สาย

39 การบริการแบบอีเซอร์วิส (e-Service)
ธนาคารทุกแห่งเปิดบริการลูกค้าผ่านอินเทอร์เน็ต

40 แสดงการดำเนินการแบบออนไลน์
ระบบเครือข่ายธนาคาร ตรวจสอบข้อมูล ที่ฐานข้อมูล

41 เทคโนโลยีไอซีทีกับ การเรียนรู้และระบบการศึกษา
ต้องการเรียนรู้ได้มาก แสวงหาจากขุมความรู้โลก (world knowledge) เช่น โฮมเพจมหาวิทยาลัยเป็นสื่อกลางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภายในมหาวิทยาลัย ต้องการให้เรียนรู้ได้รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ เปิดบริการการเรียนการสอนแบบตลอด 24x7x365 ลดระยะทาง มีความคล่องตัว โดยใช้ระบบสื่อสารไร้สาย มีรูปแบบกระจายและลดขนาด ให้บริการแบบอีเซอร์วิส (e-Service)

42 รูปแบบการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนการสอน
หลายประเทศพยายามใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในเรื่องการเรียนการสอน กระจายการเรียนการสอนไปอย่างกว้างขวาง มุ่งตรงไปสู่ผู้เรียนโดยเข้าถึงผู้เรียนได้ทุกหนทุกแห่งและทุกเวลา ระบบการเรียนการสอนจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบไปมาก โดยแบ่งการเรียนการสอนเป็น 1.แบบซิงโครนัส (Synchronous Learning) 2.แบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning

43 รูปแบบการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนการสอน
แบบซิงโครนัส (Synchronous Learning) เป็นการเรียนการสอนที่มีการนัดเวลา นัดสถานที่ นัดตัวบุคคลเพื่อให้เกิดการเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิงโครนัสได้มากมาย ตั้งแต่การนำเสนอบทเรียนของอาจารย์ มีการนำเสนอโดยใช้เครื่องมือช่วย เช่น ระบบสไลด์ ภาพประกอบ ระบบจำลองรูปภาพ ระบบการนำเครื่องมือช่วยสอน และจำลองสถานการณ์ต่างๆ มาใช้ในการทำให้นิสิตได้เรียนรู้ได้ง่าย

44 รูปแบบการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนการสอน
อะซิงโครนัส (Asynchronous Learning) หมายถึง เป็นการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนไม่ขึ้นกับเวลา หมายถึงสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนได้ยี่สิบสี่ชั่วโมงตลอดทุกวันในสัปดาห์ ระบบการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ไม่จำเป็นต้อง นัดแนะเวลาและสถานที่ แต่ให้ตัวกลางคือเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันนิยมการเรียนการสอนผ่านเว็บโดยมีบทเรียนและเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนการสอนอยู่บนเว็บ มีการสร้างโอมเพจประจำวิชา มีการให้นิสิตมีโฮมเพจของตนเองเข้ามาเรียนรู้แบบออนไลน์ เรียนรู้ตามความต้องการ ตามอัธยาศัย (on demand)

45 การเรียนการสอนแบบ E-Learning

46 ประเทศไทยกับการเตรียมการเข้าสู่สังคมสารสนเทศ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ผู้เป็นหน่วยงานที่จะวางกลยุทธ์ให้กับประเทศ ได้เสนอแนวคิด และจัดประชุมระดมสมองเรื่อง e-Thailand ไปแล้ว เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2543

47 ภายใต้ e-Thailand จึงมีงานหลักใหญ่ที่เนคเทคให้ความสำคัญหลายงาน ซึ่งประกอบด้วย
e-Society e-Government e-Commerce และ e-Business การเปิดการค้าเสรี การสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

48 e-Government คือวิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชนและการบริการด้านข้อมูล เพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง และการให้บริการของรัฐ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ประชาชน ภาคธุรกิจ และข้าราชการผลพลอยได้ที่สำคัญที่เราจะได้รับคือความโปร่งใสที่ดีขึ้น อันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูลที่หวังว่าจะนำไปสู่การลดคอรัปชั่น 

49  e-Commerce คือการดำเนินการทางเศรษฐกิจใด ๆ ที่กระทำบนเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการออกแบบ การผลิต การโฆษณาสินค้า การค้าทั้งปลีกและส่ง และการทำธุรกรรม ตลอดจนการชำระเงิน ส่วนเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์อาจรวมถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้ง เครือข่ายภายในองค์กร เครือข่ายเอกชน (Private Network) ระหว่างองค์กรหรือเครือข่ายหรือ เครือข่ายสาธารณะ (Public Network) เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น เครือข่ายโทรทัศน์และเครือข่ายโทรทัศน์ เป็นต้น

50 e-Commerce คือการดำเนินการทางเศรษฐกิจใด ๆ ที่กระทำบนเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการออกแบบ การผลิต การโฆษณาสินค้า การค้าทั้งปลีกและส่ง และการทำธุรกรรม ตลอดจนการชำระเงิน ส่วนเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์อาจรวมถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้ง เครือข่ายภายในองค์กร เครือข่ายเอกชน (Private Network) ระหว่างองค์กรหรือเครือข่ายหรือ เครือข่ายสาธารณะ (Public Network) เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น เครือข่ายโทรทัศน์และเครือข่ายโทรทัศน์ เป็นต้น e-Industry คือการสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่สำคัญ เพื่อเป้าหมายสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ที่จะนำมาซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต

51 e-Education คือการพัฒนา ต่อยอด ถ่ายทอด ใช้และประยุกต์ข้อมูล (Data) สารสนเทศทางการศึกษา (Information) และความรู้ (Knowledge) เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ครอบคลุมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ทั้งนี้เพื่อมุ่งพัฒนาและเตรียมความพร้อมทรัพยากรมนุษย์ของชาติที่มีความรู้ มีคุณภาพ และมี คุณธรรม e-Society) คือกระบวนการสร้างสรรค์ ต่อยอด ถ่ายทอด และใช้ประโยชน์จากข้อมูล สารสนเทศ และความรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม การสร้างสังคมฐานความรู้ที่ใช้ประโยชน์จากสารสนเทศและความรู้ภายใต้กระบวนคิดที่มีตรรกะเป็นเหตุเป็นผล รวมถึงการสร้างความเข้าใจอันดีของคนในสังคมให้เห็นความสำคัญของความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม

52 แนวโน้ม เทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศ ยูบิควิตัสเทคโนโลยี (Ubiquitous Technology) นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) ระบบทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศกับวิถีชีวิต

53 แนวโน้ม เทคโนโลยีสารสนเทศ
ยูบิควิตัสเทคโนโลยี (Ubiquitous Technology) เป็นแนวคิดของการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายได้ในทุกที่ ทุกเวลา มีจุดเด่น 3 ประการ คือ 1. คอมพิวเตอร์มีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่าย 2. ผู้ใช้ไม่รู้สึกว่ากำลังใช้คอมพิวเตอร์อยู่ ตัวอย่างเช่น สร้างสภาพแวดล้อมที่มีคอมพิวเตอร์ซ่อนอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆและทำงานเมื่อผู้ใช้เปล่งเสียง เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้สามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องใช้คีบอร์ด(Keyboard)หรือเมาส์(Mouse) 3. การบริการคอมพิวเตอร์ที่มีให้เลือกจะเปลี่ยนไปตามผู้ใช้, สถานการณ์ที่เกิดขึ้น และอุปกรณ์ที่มีอยู่ในที่นั้น

54 แนวโน้ม เทคโนโลยีสารสนเทศ
นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีขนาดเล็กมาก ถือเป็นเทคโนโลยีระดับโมเลกุล (Molecular Technology) กล่าวคือ เป็นเทคโนโลยีที่จัดการหรือผลิตสิ่งต่างๆโดยการนำเอาอะตอมหรือโมเลกุลมาจัดเรียงกัน ณ ตำแหน่งที่ต้องการอย่างแม่นยำและถูกต้องในระดับนาโนเมตร ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

55 แนวโน้ม เทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบบทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถส่งผ่านข้อมูลในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ได้อย่างรวดเร็วและในปริมาณมาก ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสาร ซึ่งทำให้สิ่งที่เรียกว่า การสื่อสารไร้พรมแดน หรือ โลกไร้พรมแดน เกิดเป็นจริงขึ้นมา ระบบทางด่วนข้อมูล ได้แก่ การสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) การประชุมทางไกล (Video Conference) บริการวีดีโอออนดีมานด์ (Video-On-Demand) เป็นต้น

56 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Electric) เครื่องปรับอากาศ ซึ่งสามารถสั่งปิด-เปิด ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ โทรทัศน์ ที่สามารถตั้งเวลานัดหมายรายการที่ต้องการดูเพื่อให้ส่งสัญญาณ ไปยังโทรศัพท์มือถือเมื่อถึงเวลาแพร่ภาพได้ ตู้เย็น ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้และสามารถตรวจสอบสภาพอาหารภายในตู้ได้ว่าขาดสิ่งใดบ้างพร้อมทั้งส่งสัญญาณเตือนเพื่อแจ้งให้เจ้าของทราบผ่านระบบเครือข่าย เตาไมโครเวฟ ที่สามารถดาวน์โหลดวิธีปรุงอาหารจากอินเทอร์เน็ตและปรุงอาหารให้เราอัตโนมัติ เครื่องซักผ้าที่สามารถตรวจสอบความเสียหายของตัวเองได้และส่งข้อมูลสาเหตุของการเสียไปยังบริษัทเพื่อให้มาทำการแก้ไขได้ ระบบรักษาความปลอดภัย ที่สามารถร้องเตือนเข้าสู่โทรศัพท์มือถือ หรือร้องเตือนไปยังสถานีตำรวจเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติได้ เป็นต้น

57 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
การประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conference หรือ Computer Conference) คือ การประชุมผ่านระบบเครือข่ายที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่ ต่างที่กัน แต่สามารถพูดคุยโต้ตอบกับได้ในทันที ผ่านระบบเครือข่าย ระบบปลุกอัตโนมัติ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกตั้งโปรแกรมให้เตือน หรือช่วยทำงานบางอย่างของเจ้าของระบบ เช่น ส่งเสียงปลุกให้ตื่นในตอนเช้า บันทึกกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวัน และช่วยเตือนเมื่อถึงเวลาทำงาน พร้อมทั้งตรวจสอบข้อมูลที่จำเป็นในการทำกิจกรรม พร้อมทั้งส่งรายงานมาที่เจ้าของระบบ เป็นต้น

58 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบัน
ระบบบ้านอัจฉริยะ (Smart Home) การพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ระบบการแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine) ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) ภาวะเสมือนจริง (Virtual Reality) ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) ความบันเทิง แบบ On Demand และ Interactive ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OA : Office Automation) อาคารอัตโนมัติ (BA : Building Automation) โรงงานอัตโนมัติ (FA : Factory Automation) รถยนต์คอมพิวเตอร์ (Computer Car)

59 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (User Interface) หน่วยอัจฉริยะ (Intelligent Agents) การผสมผสานระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ควอนตัม (Quantum Computer) เมกะเซิร์ฟเวอร์ (Mega Server) สังคมยูบิควิตัส (Ubiquitous Society)

60 บริการของภาครัฐ ที่ดำเนินการตอบสนอง นโยบายการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ
- เว็บไซด์ของหน่วยงานต่างๆ - การรับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต - การให้บริการแบบ One Stop Service หรือ บริการแบบ 4ท. คือ ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลา - บริการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอินเทอร์เน็ต - บริการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต - บริการเพื่อคนไทยในสังคมไทย หรือเรียกอีกอย่างว่า “Thailand Gateway For e-Service Society : TGW” ซึ่งเป็นบริการด้านงานทะเบียนและบัตรผ่านทางอินเทอร์เน็ต ของกรมการปกครอง - การให้บริการ Internet ตำบล - โครงการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ให้เป็น ICT City - โครงการเปลี่ยนระบบ ID Card เป็น Smart Card

61 ผลกระทบจาก การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ผลกระทบทางด้านศีลธรรมและจริยธรรม ตัวอย่างของปัญหาทางด้านศีลธรรมและจริยธรรม การก่ออาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต ที่พบในปัจจุบัน ได้แก่ - การจารกรรมข้อมูลทางราชการทหารและข้อมูลทางราชการลับ - การจารกรรมทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลด้านธุรกรรม - การจารกรรมเงินและการทำให้เกิดความติดขัดทางด้านพาณิชย์ - การตอบโต้เพื่อการล้างแค้น การก่อการร้าย - การก่อกวนการทำงานของระบบและเสนอข้อมูลที่ผิด - การเข้าสู่ระบบเพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถทำได้ - การแพร่ภาพอนาจารบนอินเทอร์เน็ต - การพนันบนระบบเครือข่าย

62 ผลกระทบจาก การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางด้านการศึกษา การเรียนในรูปแบบดังกล่าวจะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ทางความคิด ซึ่งต้องเน้นทักษะ 5 ประการ ดังนี้ - การรับสารสนเทศและการตอบสนองอย่างชาญฉลาด - การสร้างสรรค์สารสนเทศเพื่อให้เกิดคุณค่า - การเลือกสรรและเข้าใจสารสนเทศเพื่อสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ - การสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการและประเมินการนำมาใช้ มากกว่าการจดจำ - การเสนอแนวคิดโดยใช้กระบวนการเข้าใจ และการใช้คุณสมบัติเฉพาะของการสื่อสาร

63 กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ในชีวิตประจำวัน
พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ เอกสารผ่านการเห็น ชอบจากสภานิติบัญญัติ การลงพระปรมาภิไธย และการประกาศลงใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐ และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐

64 ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
ในฐานะบุคคลธรรมดาท่านไม่ควรทำในสิ่งต่อไปนี้ เพราะอาจจะเป็นหนทางที่ทำให้ท่าน "กระทำความผิด“ ตาม พ.ร.บ.นี้ - อย่าบอก password ของท่านแก่ผู้อื่น - อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต - อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบ ผู้ใช้และการเข้ารหัสลับ - อย่าเข้าสู่ระบบด้วย user ID และ password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง - อย่านำ user ID และ password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่ - อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย - อย่า กด "remember me" หรือ "remember password" ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และอย่า log-in - เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ ถ้าท่านไม่ใช่เซียนทาง computer security - อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล

65 ผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการ นอกจากจะหมายถึง Internet Service Provider ทั่วไปแล้ว ยังหมายถึง ผู้ดูแลเว็บ และครอบคลุมถึงหน่วยงาน ที่มีการจัดบริการออนไลน์ บริการใช้อินเทอร์เน็ต และเครือข่ายทั่วไป ในหน่วยงานของตนเองอีกด้วย เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ต เจ้าของเว็บไซต์ รวมทั้งเจ้าของเว็บบอร์ด ล้วนแล้วเข้าข่ายที่จะเป็นผู้ให้บริการทั้งสิ้น

66 หลักในการเก็บข้อมูลจราจร ทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับกฎหมายนี้
ข้อมูลที่เก็บ ต้องมีรายการที่สามารถระบุว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นใคร เข้ามาทางเครือข่าย ทางประตูใด มีหมายเลข IP อะไร ใช้โปรแกรม ประยุกต์อะไร ในห้วงเวลาใด นาฬิกาของเครื่อง คอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์สื่อสาร ต้องมีการตั้งเวลาให้ตรงกับนาฬิกาอะตอมที่ใช้อ้างอิง ข้อมูลจราจร ต้องมีการจัดเก็บอย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการถูกแก้ไข หรือสื่อข้อมูลเสื่อม คุณภาพ ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน

67 จริยธรรมในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
จริยธรรม (ethics) หมายถึง แบบแผนความประพฤติหรือความมีสามัญสำนึกต่อ สังคม ในทางที่ดี โดยไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับกลุ่มสังคม หรือการยอมรับในสังคมนั้นๆ เป็นหลัก โดยส่วนใหญ่จริยธรรม จะเกี่ยวข้องกับ การคิดและตัดสินใจว่าสิ่งไหน ควร-ไม่ควร ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด

68 ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บท แห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ 1.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น 2.       ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3.       ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น 4.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6.       ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ 7.       ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 8.       ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 9.       ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ 10.    ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ  กติกามารยาท

69 รูปแบบการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
- การลักลอบเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต - การขโมยและการทำลายอุปกรณ์ - การขโมยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ - การก่อกวนระบบด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย - การก่อกวนระบบด้วยสปายแวร์ - การก่อกวนระบบด้วยสแปมเมล์ - การหลอกลวงเหยื่อเพื่อล้วงเอาข้อมูลส่วนตัว

70 การรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์
- การติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส - การใช้ระบบไฟร์วอลล์ - การเข้ารหัสข้อมูล - การสำรองข้อมูล

71 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งได้ประกาศ และบังคับใช้แล้วนั้น ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 นี้
1.   เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป ... คุก 6 เดือน 2.   แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วบอกให้คนอื่นรู้ ... คุกไม่เกิน 2 ปี 3.   ข้อมูลของผู้อื่นเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ แล้วแอบไปล้วงของ เขา ... คุกไม่เกิน 2 ปี 4.   ส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตัว แล้วเราไปดักจับข้อมูลของเขา ... คุกไม่เกิน 3 ปี 5.   ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ แล้วเราไปแก้ไข... คุกไม่เกิน 5 ปี

72 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งได้ประกาศ และบังคับใช้แล้วนั้น ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 นี้
6.   ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นแล้วยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm หรือ เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง ... คุกไม่เกิน 5 ปี 7.   ผู้อื่นไม่อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเลย แต่เราส่งให้เขาซ้ำ ๆ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ ... ปรับไม่ เกินหนึ่งแสนบาท 8.   ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า คุกสิบปีขึ้น 9.   ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ ... คุกไม่เกินปีนึง เหมือนกัน 10. โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน, เบนโลก็โดน, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน ... คุกไม่ เกิน 5 ปี

73 Question? ๐ๆคำถามAQ๐

74 กิจกรรม ให้นักศึกษา ทำรายงานในหัวข้อ “ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ” เลือกทำทั้งหมด หัวข้อ ได้แก่ 1. ด้านการพัฒนาการเมืองการปกครอง 2. ด้านธุรกิจ 3. ด้านการคมนาคม 4. ด้านการพัฒนาสาธารณสุข 5. ด้านการศึกษา พร้อมทั้งยกตัวอย่างระบบหรือเว็บไซต์อย่างน้อย 2 เว็บไซต์ ส่ง


ดาวน์โหลด ppt เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google