งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบสารสนเทศ อ.วรพจน์ พรหมจักร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบสารสนเทศ อ.วรพจน์ พรหมจักร."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบสารสนเทศ อ.วรพจน์ พรหมจักร

2 ระบบสารสนเทศ (Information system)
ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยี สารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง

3 ระบบสารสนเทศ (Information system)

4 องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 2. ซอล์ฟแวร์ (Software) 3. ข้อมูล (Data) 4. บุคลากร (Peopleware) 5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure)

5 องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด (keyboard) เมาส์ (mouse) จอภาพ (monitor) จอภาพสัมผัส (touch screen) ปากกาแสง (light pen) เครื่องอ่านรหัสแท่ง (barcode reader) เครื่องพิมพ์ (printer) ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) รวมทั้งอุปกรณ์ สื่อสารสำหรับเสื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น โมเด็ม (modem) และสายสัญญาณ

6 องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์
2. ซอล์ฟแวร์ (Software) ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง (instruction) ที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เพื่อให้ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ โดยทั่วไป โปรแกรม หรือชุดคำสั่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

7 องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ ( system software ) หมายถึง ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และทำหน้าที่ เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ - ระบบปฏิบัติการ (OS: Operation System) เช่น Window, Mac OS and Linux. - โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities program) เช่น File Manager, Back and Restore, Disk Defragmenter etc.

8 องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์
2.2 ซอร์ฟแวร์ประยุกต์ (Application software) หมายถึง ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตาม วัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ซอร์ฟแวร์ประยุกต์อาจเขียนขึ้นโดยใช้ โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น เบสิก (Basic) ปาสคาล (Pascal) โคบอล (Cobol) ซี (C) ซีพลัสพลัส (C ++) และวาจา (Java)

9 องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์
3. ข้อมูล (Data) ข้อมูลจะถูกรวบรวมและป้อน ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์ ของหน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด และ สแกนเนอร์ (Scanner) ข้อมูลต้องมีโครงสร้าง ในการจัดเก็บที่เป็นระบบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ใน หน่วยความจำ (Memory unit) ก่อนที่จะถูก ย้ายไปเก็บที่หน่วยเก็บข้อมูล (Storage  unit) เช่น ฮาร์ดดิสก์ และแผ่นซีดี (Compact Disc : CD)

10 องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์
4. บุคลากร (People) บุคลากรเป็นองค์ประกอบ ที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ในที่นี้หมายถึง บุคคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ บุคคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศจะต้องมี ความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพให้สามารถทำงานได้ตามความ ต้องการของผู้ใช้ ง่ายและสะดวก ส่วนผู้ใช้ต้องมี ความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการ ใช้งานระบบ สารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ ได้ อย่างถูกต้องจึงเกิดสารสนเทศที่เป็นประโยชน์

11 องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure) ระบบสารสนเทศ ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้ สามารถเข้าใจได้ง่าย และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอน การบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลขั้นตอนการ ปฏิบัติเมื่อข้อมูลได้รับความเสียหาย หรือเมื่อเครื่อง คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ เกิดการชำรุดเสียหาย ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ควรได้รับการรวบรวมและจัดทำให้เป็น รูปเล่ม ของคู่มือการใช้งาน

12 องค์ประกอบระบบสารสนเทศ

13 ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
ที่มา :

14 ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
1.  ระดับสูง (Top Level Management) กลุ่มของผู้ใช้ ระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับ ผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่ กำหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อนำไปสู่ เป้าหมาย โดยมีทั้งสารสนเทศภายใน และสารสนเทศ ภายนอก เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โดยรวม ซึ่งระบบสารสนเทศในระดับนี้ต้องออกแบบให้ง่ายและ สะดวกต่อการใช้งาน ไม่มีความซับซ้อนหรือยุ่งยาก แสดงผลทางด้านกราฟฟิกบ้าง ต้องตอบสนองที่รวดเร็ว และทันท่วงทีด้วยเช่นกัน

15 ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
2. ระดับกลาง (Middle Level Management) เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้งานระดับการบริหารและจัดการ องค์กร ซึ่งมีหน้าที่รับนโยบายมาจากผู้บริหารระดับสูง นำมาสานต่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยการ ใช้หลักบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบ สารสนเทศที่ใช้มักได้มาจากแหล่งข้อมูลภายใน ระบบ สารสนเทศจึงต้องมีการจัดอันดับทางเลือกแบบต่างๆไว้ โดยเลือกใช้ค่าทางสถิติช่วยพยากรณ์หรือทำนายทิศทาง ไว้ด้วย หากระดับของการตัดสินใจนั้นมีความซับซ้อน หรือยุ่งยากมากเกินไป

16 ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
3. ระดับปฏิบัติการ (Operation Level Management) ผู้ใช้กลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการปฏิบัติงานหลัก ขององค์กร เช่น การผลิตหรือประกอบสินค้า งานทั่วไป ที่ไม่จำเป็นต้องใช้การวางแผนหรือระดับการตัดสินใจมาก นัก ข้อมูลหรือสารสนเทศในระดับนี้ จะถูกนำไป ประมวลผลในระดับกลางและระดับสูงต่อไป 

17 ประเภทระบบสารสนเทศ  สุชาดา กีระนันทน์ (2541) และ Laudon & Laudon (2001) ได้แบ่งประเภทของระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงาน ของผู้ปฏิบัติงาน/ผู้บริหารระดับต่างๆไว้  ดังนี้

18 ประเภทระบบสารสนเทศ

19 ประเภทระบบสารสนเทศ  1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS)  เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำ การบันทึกจัดเก็บ  ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน  โดยใช้ ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ  ทั้งนี้เพื่อที่จะทำ การสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ  ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน  ระบบการฝากถอนเงิน อัตโนมัติ เป็นต้น  ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น  ระบบนี้มัก จัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด  รายงานผลเบื้องต้น

20 ประเภทระบบสารสนเทศ  2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS)  เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของ หน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับ บุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการ จัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์  การติดต่อ ผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มัก อยู่ในรูปของเอกสาร  กำหนดการ  สิ่งพิมพ์

21 ประเภทระบบสารสนเทศ: OAS
ตัวอย่าง ของระบบงาน OAS ที่เห็นชัดที่สุด ได้แก่ Microsoft Office ประกอบด้วย - Microsoft Word ทำหน้าที่ในการช่วยทำเอกสารต่างๆ (พิมพ์) - Microsoft Excel ทำหน้าที่ในการสร้างเอกสารในเชิงบัญชี ที่มีการคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้อง - Microsoft PowerPoint ทำหน้าที่ในการ สร้าง Presentation (เสนองาน) - Microsoft Project ทำหน้าที่ช่วยในการทำแผนงาน - หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

22 ประเภทระบบสารสนเทศ 3. ระบบงานสร้างความรู้  (Knowledge Work Systems - KWS)  เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้าง ความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน  หน่วยงานต้องนำ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้ โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และ ราคา  ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลอง การผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงใน ธุรกิจ  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์  ตัว แบบ  รูปแบบ เป็นต้น 

23 ประเภทระบบสารสนเทศ  4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management Information Systems- MIS)  เป็นระบบสารสนเทศสำหรับ ผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง  ใช้ในการวางแผน  การบริหารจัดการ และการควบคุม  ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผล รายการเข้าด้วยกัน  เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสม และจำเป็นต่อการบริหารงาน  ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงาน บุคลากร  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงาน สรุป  รายงานของสิ่งผิดปกติ

24 ประเภทระบบสารสนเทศ  5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  (Decision Support Systems – DSS)  เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคำตอบที่แน่นอนเพียง บางส่วน  ข้อมูลที่ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอก กิจการประกอบกัน  ระบบยังต้องสามารถเสนอทางเลือกให้ผู้บริหาร พิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์ นั้น  หลักการของระบบ สร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้ คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการ พิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของ ผู้บริหารเอง  ผู้บริหารอาจกำหนดเงื่อนไขและทำการเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้ เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ  รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูป ของ รายงานเฉพาะกิจ  รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ  การ ทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์

25 ประเภทระบบสารสนเทศ 6. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง  (Executive Information System - EIS)  เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกล ยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาว และเป้าหมายของกิจการ สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก   ยิ่งในยุค ปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization  ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับ สากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ ผลลัพธ์ของ ระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์ 

26 ระบบสารสนเทศ สุชาดา  กีระนันทน์ (2541) สรุปไว้ว่า การพัฒนา ระบบสารสนเทศในองค์กรนั้นเป็นสิ่งท้าทายผู้บริหารเป็น อย่างมาก  การที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใน หน่วยงานเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบการพัฒนา ระบบ ต้องร่วมกันตัดสินใจอย่างรอบคอบ  เพราะการนำ ระบบสารสนเทศมาใช้อาจจะกระทบต่อกระบวนการ ดำเนินงานและการบริหารที่เป็นอยู่  หรืออาจจะมีผล ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

27 ระบบสารสนเทศเพื่อการประชาสัมพันธ์ (Information Systems for Public Relations)
ระบบสารสนเทศเพื่อการประชาสัมพันธ์ หมายถึง การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ อันได้แก่คอมพิวเตอร์ มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการสืบค้น ฐานข้อมูลให้สามารถจัดหาได้ง่าย คล่องตัวในการ ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ และเป็นข้อมูลเพื่อการ ตัดสินใจในการประชาสัมพันธ์ เช่นระบบสารสนเทศ ของการดำเนินการประชาสัมพันธ์ ระบบสารสนเทศ ในการส่งเอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

28 แบบฝึกหัด ให้นักศึกษา ค้นคว้าและศึกษา ลักษณะของข้อมูลที่ดี มีลักษณะอย่างไร พร้อมอธิบาย ให้นักศึกษา ค้นคว้าและศึกษา เรื่อง บิต (Bit), ไบต์ (Byte), ฟิลด์/เขตของข้อมูล (Field), เรคคอร์ด (Record), ไฟล์/แฟ้มข้อมูล (File) และ ฐานข้อมูล (Database) และอธิบายว่ามันคืออะไร ให้นักศึกษา ค้นคว้าและศึกษา เรื่อง อินเตอร์เน็ต (Internet) และอธิบายว่ามันคืออะไร


ดาวน์โหลด ppt ระบบสารสนเทศ อ.วรพจน์ พรหมจักร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google