งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

2

3 เทคโนโลยี การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีการปฏิบัติมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงระบบงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

4 ลักษณะของเทคโนโลยี 1) เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (process) เป็นการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆ ที่รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาในทางปฏิบัติอย่างเป็นระบบ 2) เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี 3) เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม (Heinich and other 1989 อ้างใน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543)

5

6 เทคโนโลยีการศึกษา กระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคล วิธีการ ความคิด เครื่องมือและองค์กร กระบวนการนี้มีขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนการนำมาใช้ การประเมินและจัดการหาทางแก้ปัญหาทุกๆ อย่าง ที่เกิดขึ้นอันเกี่ยวพันกับการเรียนรู้ของมนุษย์

7 ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
การมุ่งนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน และประสิทธิผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน จึงแบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาออกเป็น 5 ขอบเขต (Domains) ได้แก่ การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การใช้ (Utilization) การจัดการ (Management) และการประเมิน (Evaluation) โดยแต่ละขอบเขตจะโยงเข้าสู่ศูนย์กลางของทฤษฎีและการปฏิบัติ

8 ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design) เป็นวิธีการจัดการที่รวมขั้นตอนของการสอนประกอบด้วย การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implementation) การประเมิน (Evaluation) Design ADDIE model

9 ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
1.2 ออกแบบสาร (message design) คือ การวางแผน เปลี่ยนแปลงสาร เน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสาร มีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน message design What’s the message What’s the expected What’s the miss concept What’s the message อะไรคือสาร What’s the expected อะไรคือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น What’s the miss concept แนวคิดผิดพลาด

10 ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน 1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) คือลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียน การสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน

11 ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ Development 2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) คือ การผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่นหนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่น ๆ

12 ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) คือ วิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารต่าง ๆ อาจด้วยเสียง และภาพ เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับกับผู้เรียน 2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer-based technologies) คือ วิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพเซสเชอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย 2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) คือ วิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์

13 ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
คือ การใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน Utilization 3.1 การใช้สื่อ (media utilization) คือ ระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียน 3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) การแพร่กระจาย คือ กระบวนการ ซึ่งนวัตกรรมถูกสื่อสารผ่านช่องทางในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างสมาชิกต่างๆ ที่อยู่ในระบบสังคม เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม ส่วนประกอบของการแพร่กระจายนวัตกรรม

14 ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
3.3 วิธีการนำไปใช้และการจัดการ (implementation and institutionalization) คือการใช้สื่อการสอนในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ 3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations) คือกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจายและการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

15 ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
คือ การควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ Management 4.1 การจัดการโครงการ (project management) คือ การวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการสอน 4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) คือ การวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร 4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) คือ การวางแผน ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนไปยังผู้เรียน 4.4 การจัดการสารสนเทศ (information management) คือ การวางแผน ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน

16 ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน Evaluation 5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis) คือ การทำให้ปัญหาสิ้นสุดโดยการใช้ข้อมูลต่าง ๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ 5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion-referenced measurement) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป 5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป

17 ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
2.ให้เขียนอธิบายเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของขอบข่ายเทคโนโลยีว่ามีความสำคัญและสัมพันธ์กันอย่างไร instructional strategies Design Development Utilization Management Evaluation instructional systems design learner characteristics message design problem analysis print technologies audiovisual tech. criterion-referenced measurement computer-based tech. formative evaluation integrated tech summative evaluation media utilization project management diffusion of innovations resource management policies and regulations delivery system management implementation and institutionalization information management

18 พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

19

20 นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษาของประเทศไทย
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษาของประเทศไทย ในปี พ.ศ.2550 ได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและคุณธรรมนำความรู้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและเป็นไปตามนโยบาย การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย หรือ IT 2010 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ มีรายละเอียดดังนี้

21 1. นโยบายส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
1. นโยบายส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา จัดให้มีระบบสารสนเทศข้อมูลข่าวสารและระบบป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การบริหารจัดการ พัฒนาผู้สอนให้สามารถใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อช่วยสอนและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน การสอนและการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ และปลอดภัย

22 1. นโยบายส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (ต่อ)
การปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรม ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

23 2. มาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
2.1 ด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา มีแผนพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะกลาง (3-5 ปี) พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่อยู่ในแผนปฏิบัติการประจำปี มีบุคลากรรับผิดชอบระบบงานข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ

24 2. มาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
2.2 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีระบบเครือข่ายอินทราเน็ตภายในพื้นที่ในสถานศึกษา มีซอฟต์แวร์ที่จำเป็นสำหรับใช้ในสถานศึกษาที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ มีการจัดห้องเรียนที่หลากหลาย เช่น ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีระบบการบำรุงรักษาและความมั่นคงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

25 คำนึงถึงกฎหมาย คุณธรรมและจริยธรรม
2. มาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ 2.3 ด้านการเรียนการสอน มีหลักสูตรและแผนจัดการเรียนการสอนแต่ละสาระการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือ มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้สอนสามารถใช้เทคโนโลยี ในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คำนึงถึงกฎหมาย คุณธรรมและจริยธรรม

26 2. มาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
2.4 ด้านกระบวนการเรียนรู้ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เครื่องมือในรูปแบบที่หลากหลาย ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และได้ทำกิจกรรมต่างๆ เกิดทักษะในการสร้างสรรค์และนำเสนอผลงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

27 2. มาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
2.5 ด้านทรัพยากรการเรียนรู้ มีระบบจัดการแหล่งการเรียนรู้ คลังแหล่งเรียนรู้ ศูนย์สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในลักษณะของเว็บไซต์ รวบรวมสื่อ นวัตกรรม การเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

28 เทคโนโลยีการศึกษาและระบบการสอน
วิธีระบบ วิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการจัดระบบการสอน เป็นการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน มีการวางแผน โดยรวบรวม เอาสิ่งต่างๆ มาทำงานร่วมกันอย่างเป็นระเบียบเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาตามความต้องการ หากมีปัญหาเกิดขึ้นก็สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการนำเอาวิธีระบบมาใช้ในการออกแบบ การสอนจะทำให้การสอนดำเนินไปอย่างมีระบบ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน

29 องค์ประกอบของวิธีระบบ
ข้อมูล : เป็นการตั้งปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาการตั้งวัตถุประสงค์หรือเป็นการป้อนวัตถุดิบตลอดจนข้อมูลต่างๆ เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น กระบวนการ : เป็นการรวบรวม วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลที่ป้อนเข้ามา เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลผลิต : เป็นสิ่งที่ได้ออกมาภายหลังจากการดำเนินงานในชั้นของกระบวนการเมื่อสิ้นสุดลง ทั้งนี้รวมถึงการประเมินผลอีกด้วย

30 องค์ประกอบของวิธีระบบ
การควบคุม ข้อมูล (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) ข้อมูลป้อนกลับ (Feed Back)

31 ตัวอย่างวิธีระบบ ข้อมูล : ปัญหาการอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก เขียนไม่ได้ของผู้เรียน โดยตั้งวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและเขียนหนังสือได้ เมื่อสำเร็จการศึกษาไปสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารและก้าวสู่โลกอาเซียนได้ กระบวนการ : การออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมในรายวิชาภาษาอังกฤษและให้ผู้เรียนได้รับการอบรมและสอบภาษาอังกฤษให้ผ่านได้คะแนนเฉลี่ยถึงเกณฑ์มาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด

32 ตัวอย่างวิธีระบบ การควบคุม : การจัดการเรียนการสอนตามแผนการสอนและการเข้าอบรม ภาษาอังกฤษของนักศึกษา ผลผลิต : บัณฑิตอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้ ข้อมูลป้อนกลับ : การใช้ภาษาสื่อสารกับกลุ่มอาเซียน ภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต การประกอบอาชีพ คุณภาพบัณฑิตของสังคม

33 นวัตกรรมการศึกษา (educational innovation)
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่ทางด้านการศึกษาที่ช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง มีประสิทธิผล

34 ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
การเป็นสิ่งใหม่ที่ทำขึ้น ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด การกระทำหรือสิ่งประดิษฐ์ รวมถึง แนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อและเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ซึ่งได้รับการคิดค้นและจัดทำขึ้นใหม่ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆทางการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการจัดการศึกษาของชาติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่า

35 หลักการพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
ทิศนา แขมมณี (2548) 1. เป็นสิ่งใหม่ ซึ่งมีความหมายในหลายลักษณะด้วยกัน ได้แก่ 2.1.1 เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน 2.1.2 เป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีการนำมาใช้ในที่นั้น คือ เป็นสิ่งใหม่ในบริบทหนึ่ง แต่อาจเป็นของเก่าในอีกบริบทหนึ่ง ได้แก่ การนำสิ่งที่ใช้หรือปฏิบัติกันในสังคมหนึ่งมาปรับใช้ในอีกสังคมหนึ่ง นับเป็นนวัตกรรมในสังคมนั้น

36 หลักการพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
2.1.3 เป็นสิ่งใหม่ในช่วงเวลาหนึ่งแต่อาจเป็นของเก่าในอีกช่วงเวลาหนึ่ง เช่น อาจเป็นสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้ว แต่ไม่ได้ผลเนื่องจากขาดปัจจัยสนับสนุน ต่อมาเมื่อปัจจัยและสถานการณ์อำนวยจึงนำมาเผยแพร่และทดลองใช้ใหม่ ถือว่าเป็นนวัตกรรมได้

37 หลักการพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
2.2 เป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบว่าจะใช้ได้ผลมากน้อยเพียงใดในบริบทนั้น 2.3 เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับนำไปใช้แต่ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปกติ หากการยอมรับการนำไปใช้นั้น ได้กลายเป็นการใช้อย่างปกติในระบบงานของที่นั่นแล้ว ก็ไม่ถือเป็นนวัตกรรมอีกต่อไป 2.4 เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับนำไปใช้บ้างแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลาย คือยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง

38 ลักษณะของนวัตกรรมการศึกษา
3.1 เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อนและยากจนเกินไป หากนวัตกรรมนั้นมีลักษณะที่ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย ใช้ได้ง่าย ใช้ได้สะดวก การยอมรับนำไปใช้ก็มักเกิดขึ้นได้ง่าย ไม่ต้องใช้เวลาในการเผยแพร่มากนัก 3.2 เป็นนวัตกรรมที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายแพงจนเกินไป นวัตกรรมที่จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์และการบำรุงรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงย่อมได้รับการยอมรับและนำไปใช้น้อยกว่านวัตกรรมที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า เนื่องจากผู้ใช้จำนวนมากมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ แม้จะมีความต้องการใช้ แต่ขาดงบประมาณ ก็ไม่สามารถใช้ได้

39 ลักษณะของนวัตกรรมการศึกษา
3.3 เป็นนวัตกรรมที่สำเร็จรูป 3.4 เป็นนวัตกรรมที่ไม่กระทบกระเทือนต่อบริบทเดิมมากนัก 3.5 เป็นนวัตกรรมที่ให้ผลชัดเจน นวัตกรรมที่ส่งผลเป็นรูปธรรมเห็นได้ชัดเจน มักได้รับการยอมรับสูงกว่านวัตกรรมที่ให้ผล ไม่ชัดเจน

40 ระดับการยอมรับนวัตกรรม
4.1 ระดับการรับรู้ เป็นการยอมรับในระดับต้น คือ ยอมรับรู้อย่างคร่าวๆหรืออย่างผิวเผินในนวัตกรรมนั้น 4.2 ระดับการสนใจ เป็นการยอมรับในระดับที่มากขึ้นกว่าระดับแรก คือ รับรู้และเริ่มให้ความสนใจในนวัตกรรมนั้น ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากนวัตกรรมนั้นสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของตน หรือได้เห็นคุณค่าของนวัตกรรมนั้น ผู้ที่มีการยอมรับในระดับนี้ จะแสดงความสนใจ ซักถามถึงรายละเอียดต่างๆของนวัตกรรมนั้น

41 ระดับการยอมรับนวัตกรรม
4.3 ระดับการชั่งใจ เป็นการยอมรับในระดับที่สูงขึ้นกว่าการให้ความสนในใจ ผู้ที่มีการยอมรับในระดับนี้จะมีการคิดไตร่ตรองถึงผลดี ผลเสีย และความเป็นไปได้ในการนำนวัตกรรมนั้นไปใช้ 4.4 ระดับการทดลองใช้ เป็นการตัดสินใจที่จะนำนวัตกรรมนั้นไปใช้โดยการทดลองใช้ในขอบเขตจำกัดเพื่อดูการใช้งานดีหรือไม่ 4.5 ระดับการใช้นวัตกรรม เป็นการยอมรับในระดับสูงสุด กล่าวคือหลังจากการทดลองใช้แล้วพบว่านวัตกรรมนั้นเกิดประโยชน์เป็นที่น่าพอใจ และเห็นว่านวัตกรรมนั้นมีคุณค่ามากพอที่จะนำไปใช้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง

42 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
1. หลักสูตร - หลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน - หน่วยการเรียนรู้มาตรฐาน - หลักสูตรท้องถิ่น - รายวิชาเพิ่มเติม - โปรแกรมทางการศึกษา ฯลฯ

43 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
2. วัสดุหลักสูตร - คู่มือ - ประมวลการสอน - แผนรายหน่วย - แผนการจัดการเรียนรู้ - หนังสือ - ตำรา - แบบเรียน - เอกสารประกอบการสอน - เอกสารคำสอน - หนังสืออ่านส่งเสริมการอ่านนอกเวลา ฯลฯ

44 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
3. รูปแบบ วิธีการสอนและเทคนิคการสอน รวมทั้งแนวการสอน 3.1 รูปแบบการเรียนการสอน - การสอนที่เน้นพุทธิพิสัย (มโนทัศน์,กานเย) - การสอนที่เน้นจิตพิสัย (บลูม,บทบาทสมมุติ) - การสอนที่เน้นทักษะพิสัย (ซิมพ์ซัน, เดวีส์,แฮโรว์) - การสอนที่เน้นพัฒนาทักษะกระบวนการ(แก้ปัญหา,คิดสร้างสรรค์) - การสอนที่เน้นการบูรณาการ

45 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
3.2 วิธีการสอน - แบบสืบสอบ แบบไปทัศนศึกษา - แบบอุปนัย แบบนิรนัย - แบบโครงงาน แบบอภิปรายกลุ่มย่อย - แบบกรณีตัวอย่าง บทบาทสมมุติ - Inquiry webquest แบบเกม - แบบสถานการณ์จำลอง - แบบศูนย์การเรียน ฯลฯ

46 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
3.3 เทคนิคการสอน - การใช้คำถาม - การสร้างแรงจูงใจ - การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน - การใช้ผังกราฟิก - การใช้ Information cooperative learning - การเสริมแรง

47 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
3.3 เทคนิคการสอน (ต่อ) - เทคนิคการพัฒนาพหุปัญญา - เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน - เทคนิคการควบคุมชั้นเรียน - เทคนิคการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ - การบริหารกายสู่การบริหารสมอง - หมวกเพื่อการคิด 6 ใบ

48 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
3.4 แนวการสอน - การสอนตามแนวคอนสตรั๊คติวิสม์ - การสอนแบบสตอรี่ไลน์ - การสอนแบบโครงการ - การสอนโดยใช้แนวคิดเป็นฐาน เช่น ใช้โครงงาน การสืบสอบ การเรียนแบบกระฉับกระเฉง การทดลอง แหล่งเรียนรู้ เว็บ และ ไอซีที ฯลฯ

49 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
4. ชุดกิจกรรม - ชุดกิจกรรมการสอน - ชุดกิจกรรมการเรียน - ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ - แบบเรียน - แบบโปรแกรม - ชุดแบบฝึก ฯลฯ 5. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน - การสอน/การทบทวน - การฝึกหัด - การจำลองสถานการณ์ - เกมเพื่อการสอน - การค้นพบ - การแก้ปัญหา - การทดสอบ

50 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
6. แบบสอบ แบบประเมิน แบบวัด - แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน - แบบสอบความถนัด - แบบวัดมโนทัศน์ - แบบวัดทักษะการคิด - แบบวัดการปฏิบัติ - แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ - แบบวัดการตัดสินใจ - แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบวัดการอ่านเชิงวิเคราะห์ - แบบวัดการอ่านเชิงวิพากษ์ แบบวัดการคิดอย่างวิจารณญาณ - แบบวัดการวิเคราะห์ / สังเคราะห์

51 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
- แบบวัดพฤติกรรมการเรียน - แบบวัดบุคลิกภาพ - แบบวัดสมรรถภาพการสอน - แบบวัดการแก้ปัญหา - แบบประเมิน - แบบสำรวจ

52 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
7. การเขียนเชิงสร้างสรรค์ 1. ประเภทความเรียง - บทความ - เรียงความ - เรื่องเล่า 2. ประเภทบันเทิงคดี - เรื่องสั้น นิทาน - นิทานประกอบภาพ - นิทานคุณธรรม - นวนิยาย

53 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
3. ประเภทสารคดี - สารคดีประวัติศาสตร์ - สารคดีเกี่ยวกับภูมิปัญญาบุคคล/ภูมิปัญญาท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาติ สารคดีท่องเที่ยว - สารคดีพืชและสัตว์

54 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
8. สื่อการเรียนรู้ 8.1 ประเภทซอฟต์แวร์ - วีดิทัศน์ - ภาพยนตร์ - สไลด์ - เทปเพลง - เทปบรรยาย 8.2 ประเภทฮาร์ดแวร์ - กล้องจุลทรรศน์ - อุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์

55 นวัตกรรมการศึกษาไทย

56 นวัตกรรมการศึกษาไทย คิดเป็น (KHIT-PEN) นวัตกรรมเชิงทฤษฎี ซึ่ง โกวิท วรพิพัฒน์ ได้คิดและนำเสนอในการประชุมที่ นิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ.2513 แนวคิดการคิดเป็นเน้นที่กระบวนการคิดที่บุคคลจะทำให้ตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อมประสมกลมกลืนกันอย่างราบรื่น เพื่อให้เกิดความสุขที่เป็นยอดปรารถนาของมนุษย์ การคิดเป็นการแก้ปัญหาจากข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลด้านชุมชนสังคม สิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ เป็นการพิจารณาข้อมูลและคิดไตร่ตรองอย่างรอมคอบก่อนตัดสินใจแก้ปัญหา

57 นวัตกรรมการศึกษาไทย เพลิน เป็นนวัตกรรมที่ ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้นำเสนอไว้ PLEARN มาจากคำว่า Play + Learn คือ เรียน+เล่น หรือ เรียนเล่น PLEARN เป็นแนวคิดทั้งทางด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเล่นในสิ่งที่กำลังเรียน ได้เพลิดเพลินในการเรียน ซึ่งเจ้าของแนวคิดใช้คำว่า เรียนเล่นๆ แต่เล่นจริงๆ

58 นวัตกรรมการศึกษาไทย ทั้งนี้ผู้สอนต้องยึดหลักส่วนกลาง ระหว่างการเรียนกับการเล่น การเรียนอย่างเดียว ผู้เรียนอาจเกิดความทุกข์ ความเบื่อ เล่นอย่างเดียว ไม่เรียนรู้อะไรเลย ก็เป็นเรื่องไร้สาระจนเกินไป เพลินเป็นกระบวนการ (learning Process) สายกลางที่ผู้สอนต้องเข้าใจและต้องคิดอย่างสร้างสรรค์ ผู้สอนและผู้เรียนต้องช่วยกันคิด โดยผู้สอนอาจแนะแนวทางการเล่นเรียนที่มีเป้าหมายร่วมกันทั้งสองฝ่าย และต้องมีประเด็นที่จะได้เรียนรู้ชัดเจน รู้ว่ากำลังเพลินอยู่กับอะไร เพลินเป็นนวัตกรรมทางความคิดที่ส่งเสริมให้มีการเล่นเพื่อการเรียนรู้

59

60 คำถามทบทวน 1. วิเคราะห์ความแตกต่างของ เทคโนโลยี และ เทคโนโลยีการศึกษา
2. จงอธิบายวงจรของการกลายจากนวัตกรรมการศึกษาไปสู่เทคโนโลยีการศึกษา 3. จงสรุปหลักการพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา

61 งานมอบหมาย 1.เขียนแผนการเรียนรู้ 1 หน่วยเรียน 2.อธิบายความสัมพันธ์ของขอบข่ายเทคโนโลยี


ดาวน์โหลด ppt ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google