งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บรรยายโดย คุณ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ที่ปรึกษาศูนย์สร้างคนเก่งซีเอ็ด (SE-ED Learning Center) ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บรรยายโดย คุณ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ที่ปรึกษาศูนย์สร้างคนเก่งซีเอ็ด (SE-ED Learning Center) ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บรรยายโดย คุณ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ที่ปรึกษาศูนย์สร้างคนเก่งซีเอ็ด (SE-ED Learning Center) ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)

2 นิยามของคำว่า “เก่ง”  เก่งสังเกตช่างสังเกต รู้จักจับประเด็นสำคัญที่น่าเรียนรู้ ตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบอย่างสม่ำเสมอ  เก่งค้นรักที่จะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง  เก่งคิดมีตรรกะในการคิดที่ดี มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วางแผนการ คิดในแง่มุมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ และบูรณาการ  เก่งทำสามารถที่จะนำเอาความรู้มาประยุกต์ใช้ หรือนำมาปฏิบัติ เชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนมีความ วิริยะอุตสาหะ อดทน  เก่งเล่าสามารถที่จะถ่ายทอดความคิดให้คนอื่นเข้าใจได้  เก่งดีมีคุณธรรมในการใช้ชีวิต รู้จักนำเอาความรู้ และปัญญาที่มี ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ต่อสังคม  เก่งยิ้มมีความสุข มีเชาวน์อารมณ์ที่ดี

3 การเรียนรู้ในปัจจุบัน  ตรรกะ และความคิด –การวิเคราะห์เหตุผล –การสังเคราะห์ และการบูรณาการทางความคิด –การคำนวณ การประมาณ และการพยากรณ์  อารมณ์  จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์  แรงบันดาลใจ

4 สมองกับการเรียนรู้  คนเราเกิดมาพร้อมกับจำนวน เซลสมองที่เพียงพอต่อการ ดำรงชีวิต  การขยายตัวของสมองไม่ได้มา จากการเพิ่มจำนวนเซลของ สมอง แต่มาจาก “ใยประสาท”  สมองมีความยืดหยุ่น หากเรา ใช้สมองในการแก้ไขปัญหา สมองก็จะมีการสร้างใย ประสาทเพิ่มขึ้น แต่ถ้าไม่ได้ใช้ ใยประสาทก็จะถูกทำลายลง ไป

5 สมองกับการเรียนรู้  อารมณ์มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ โดยอารมณ์จะเป็นตัวช่วยเราในการเรียก ความทรงจำเดิมที่เก็บไว้ในสมอง  ภาวะของสมองที่เหมาะสมที่สุดต่อการ เรียนรู้ว่า ความตื่นตัวแบบผ่อนคลาย (Relaxed alertness)  การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จที่สุดเมื่อ กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ประสบการณ์ทางกายภาพที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้

6 สมองกับการเรียนรู้  เราจะจำสิ่งต่าง ๆ ได้แม่นยำที่สุด เมื่อข้อเท็จจริงต่าง ๆ และทักษะฝัง อยู่ในจากกิจกรรมในชีวิตจริงตาม ธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดความจำ การเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์  เราเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นโดย การปฏิบัติ หรือการฝึกทำ  สมองซีกซ้าย คือ ตรรกะ ตัวเลข การวิเคราะห์  สมองซีกขวา สั่งการเกี่ยวกับ ศิลปะ ดนตรี จินตนาการ การ สังเคราะห์

7 ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) ของ Howard Gardner  เด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล แตกต่างกัน  คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง 8 ด้านที่อาจจะมากน้อยแตกต่าง กันไป บางคนอาจจะสูงทุกด้านบางคนอาจจะสูงเพียงด้าน หรือสองด้าน ส่วนด้านอื่น ๆ ปานกลาง  ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้ การได้ถ้ามีการฝึกฝนที่ดี มีการให้กำลังใจที่เหมาะสม ใน สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ปัญญาด้านต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้

8 ปัญญา 8 ด้าน ตามแนวคิดของพหุปัญญา 1.ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) –มีความสามารถในการจดจำ ชอบเล่าเรื่อง เจ้าบทเจ้า กลอน รักการอ่าน รักการค้นคว้า 2.ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical – Mathematical Intelligence) –ชอบทดลองประดิษฐ์ แก้ไขปัญหา ชอบค้นหาเหตุผล ทำงานตามลำดับขั้นตอน 3.ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual – Spatial Intelligence) –ชอบวาดเขียน จดบันทึกเป็นภาพ 4.ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – Kinesthetic Intelligence) –ชอบลงมือปฏิบัติ ชอบความโลดโผน

9 ปัญญา 8 ด้าน ตามแนวคิดของพหุปัญญา 5.ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence) –ชอบร้องเพลง ชอบดนตรี 6.ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) –ชอบสังคม ชอบเป็นผู้นำ 7.ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) –มีแรงจูงใจด้วยตนเองสูง มีสมาธิในการทำงานคนเดียว อย่างจริงจัง 8.ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence) –สนใจสิ่งแวดล้อม และสังคมรอบตัว ปรับตัวเข้ากับ สิ่งแวดล้อมได้เก่ง

10 หลักการ 12 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้ สมองเป็นฐาน (Brain based Learning) 1.สมองเป็นเครื่องประมวลผลที่ทำงานในเชิงขนาน (The Brain is a Parallel Processor) –ต้องใช้การเรียนรู้หลาย ๆ แนวทาง หลาย ๆ วิธีการที่ทำ ให้เด็กมุ่งสนใจในสิ่งที่กำลังเรียนรู้อยู่ 2.การเรียนรู้ต้องอาศัยการทำงานของระบบสรีระทั้งหมด (Learning engages the entire physiology) –การควบคุมอารมณ์ การสร้างความสนุกสนาน โภชนาการ การออกกำลังกาย การเล่นเพื่อผ่อนคลาย มี ส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้ 3.มนุษย์มีความอยากที่จะค้นหาความหมายแต่กำเนิด (The search for meaning is innate) –การสร้างความท้าทาย การเรียนรู้ด้วยคำถาม

11 หลักการ 12 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้ สมองเป็นฐาน (Brain based Learning) 4.การค้นหาความหมายของมนุษย์เป็นกิจกรรมที่เป็นรูปแบบ (The Search for meaning occurs through “Patterning”) –การเรียนรู้ จะต้องมีรูปแบบ มีระบบ มีความเข้าใจ เน้นการ ประยุกต์ใช้ หรือยกตัวอย่างจริง หรือตัวอย่างเปรียบเทียบ 5.อารมณ์มีความสำคัญต่อการทำงานแบบมีรูปแบบ (Emotion are Critical to Patterning) –ให้ความสำคัญต่อความรู้สึก มีความเข้าใจว่า เด็กแต่ละคนมีความ แตกต่างกัน 6.สมองประมวลข้อมูลแบบเป็นส่วนย่อย ๆ และแบบทั้งหมดพร้อม ๆ กัน (The Brain processes parts and wholes simultaneously) –การสร้างความเข้าใจแบบทีละส่วน แล้วมีเน้นการเชื่อมโยงของสิ่ง ที่เรียนรู้ และเชื่อมโยงกับชีวิตจริงเสมอ ให้รู้สึกว่าความรู้ที่ได้ไปนั้น มีประโยชน์

12 หลักการ 12 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้ สมองเป็นฐาน (Brain based Learning) 7.การเรียนรู้อาศัยทั้งการจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และการรับรู้ต่อสภาพรอบ ข้าง (Learning involves both focused attention and peripheral perception) –สภาพแวดล้อมที่สอดคล้องเหมาะสมกับหัวข้อการเรียนรู้จะทำให้ เด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น 8.การเรียนรู้เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการรับรู้ต่าง ๆ ทั้งขณะที่มีสติรับรู้ และขณะไม่มีสติรับรู้อยู่เสมอ (Learning always involves conscious and unconscious processes) –การเรียนรู้ที่ดี ควรทิ้งโจทย์อะไรให้เด็กได้ไปคิดต่อ 9.เรามีวิธีจัดการกับการจดจำอย่างน้อยสองวิธี –การจดจำเป็นกระบวนการหนึ่งในการเรียนรู้ แต่การจดจำวิธีที่หนึ่ง ก็คือ การจดจำโดยมีรูปแบบในการจดจำ และอีกวิธีหนึ่งก็คือการจูง ใจให้เด็กสนุกที่จะจดจำ หรือรับรู้โทษของการจำไม่ได้ การจดจำ จะทำให้เด็กสามารถเรียกความรู้นั้นมาใช้ได้ทันที

13 หลักการ 12 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้ สมองเป็นฐาน (Brain based Learning) 10.เราเข้าใจได้ง่าย และจดจำได้อย่างแม่ยำ เมื่อสิ่งนั้น หรือ ทักษะนั้นมีอยู่ในระบบการจดจำแบบธรรมชาติที่มี ความสัมพันธ์กับตัวเรา –การเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือสิ่งที่มีอยู่จริงในสภาวะแวดล้อม การเรียนนอก สถานที่ การให้เด็กเล่าเรื่องที่พบ การใช้สังคมเป็นตัว ผลักให้เกิดการเรียนรู้ 11.การเรียนรู้แบบซับซ้อนจะถูกกระตุ้นโดยความท้าทาย และ ถูกยับยั้งโดยการถูกข่มขู่ (Complex learning is enhanced by challenge and inhibited by threat) –การลงโทษ เมื่อนักเรียนทำผิดพลาดจะเป็นการหยุดยั้ง การเรียนรู้ ควรให้โอกาสเด็กได้ลองปฏิบัติ ตามแนวคิด ของเขา

14 หลักการ 12 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้ สมองเป็นฐาน (Brain based Learning) 12.สมองของแต่ละคนมีความเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน (Every brain is uniquely organized) –เด็กควรมีทางเลือกในศาสตร์ที่ต้องการที่จะเรียนรู้ และ ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ พร้อมกับการปรับปรุง ทักษะที่ด้อยให้อยู่ในระดับปกติมาตรฐาน

15 พื้นฐาน 3 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้สมอง เป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) 1.การทำให้เด็กเกิดการตื่นตัวแบบผ่อนคลาย –การสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มี ความท้าทาย ชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ 2.การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน –การใช้สื่อหลาย ๆ แบบ รวมทั้งการยกปรากฏการณ์จริง มาเป็นตัวอย่าง และการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ –การเชื่อมโยงความรู้หลาย ๆ อย่าง –การอธิบายปรากฏการณ์ด้วยความรู้ที่เด็กได้รับ 3.ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง –การให้เด็กได้ลงมือทดลอง ประดิษฐ์ หรือได้เล่า ประสบการณ์จริงที่เกี่ยวข้อง

16 ความรู้ที่มีคุณภาพ  ส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม –มีความแปลกใหม่ที่น่าตื่นเต้น –เร้าใจให้คอยติดตาม เด็กอยากจะรู้ต่อเนื่อง –มีการเชื่อมโยงระหว่างความรู้เก่า และความรู้ใหม่ –มีกิจกรรมไม่น่าเบื่อ –ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็น  ส่วนพัฒนาคน –ขยายความรู้ไปสู่โลกกว้าง –จูงใจ หรือสร้างแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ด้วยตนเอง –เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ –เรียนรู้วิธีการทำงานเป็นกลุ่ม –ฝึกให้เด็กเป็นคนใจกว้าง และรู้จักการยอมรับ

17 ความรู้ที่มีคุณภาพ  ส่วนการสร้างเสริมทัศนคติที่ดี –ได้ค้นพบความสามารถ หรือ ความสนใจของตนเอง –เข้าใจชีวิต และธรรมชาติตามวัย ที่รับได้ –รัก และเห็นประโยชน์ของการ เรียนรู้ สนุกที่จะค้นคว้าต่อเนื่อง สนุกในการฝึกทักษะเพื่อความ คล่องแคล่ว

18 ทฤษฎีที่ 1: การเรียนรู้อย่างมีความสุข  เด็กแต่ละคนต้องได้รับการยอมรับว่าเป็นมนุษย์ที่มีหัวใจ เด็ก มีสิทธิ์ที่จะเป็นตัวของตัวเองไม่เหมือนใคร –พ่อแม่ต้องเข้าถึงง่าย กล้าที่จะรับฟังปัญหาของลูก กล้า ที่จะรับฟังข่าวร้ายเสมอ –เน้นการให้คำปรึกษา มากกว่าการออกคำสั่ง –เน้นการสอนด้วยการตั้งคำถาม อธิบายด้วยคำถาม –เปิดโอกาสให้เด็กได้ลอง แต่อาจจะมีสัญญาในการจำกัด ความเสียหาย  พ่อแม่ควรมีบทบาทในการเรียนรู้ร่วมกันในครอบครัว –ไม่ใช่ผลักภาระไปที่ครู –มุ่งให้เด็กสนุก และเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ โดยที่ พ่อแม่ให้การสนับสนุนตามสมควร

19 ทฤษฎีที่ 1: การเรียนรู้อย่างมีความสุข  สร้างให้เด็กมีความภูมิใจทีได้เรียนรู้ เกิดแรง บันดาลใจ สำหรับข้อบกพร่อง พ่อแม่ก็ต้อง ทำให้เด็กยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง (ใช้ กติกาไม่ใช่การถูกพิพากษา) และให้เด็กได้ หาแนวทางในการแก้ไข โดยพ่อแม่ให้การ สนับสนุน  เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกแนวทางในการ เรียนรู้ของตนเอง ตามความถนัด และความ สนใจ ได้ลองในสิ่งที่คิด (อาจจะมีสัญญาใน การจำกัดความเสียหาย)  พ่อแม่ต้องพยายามทำให้การเรียนรู้ที่ สนุกสนาน เร้าใจ เด็ก ๆ เกิดความท้าทายที่ จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง  ทำให้สิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน หรือสามารถเปรียบเทียบได้ในชีวิตประจำวัน

20 ทฤษฎีที่ 1: การเรียนรู้อย่างมีความสุข  เรียนรู้จากง่าย ไปหายาก มีลำดับ และเชื่อมโยง กันเสมอ –Learn to know –Learn to why –Learn to do –Learn to be  วิธีการเรียนรู้ต้องสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ  เน้นให้เด็ก ๆ ได้ใช้ความคิด ทั้งคิดวิเคราะห์ คิด สังเคราะห์ และใช้จินตนาการ และมีโอกาสในการ แสดงความคิดนั้น ๆ  แนวการเรียนรู้สอดคล้องสัมพันธ์กับธรรมชาติ  การประเมินผลต้องมุ่งประเมินผลในภาพรวม และ ให้เด็กได้ประเมินผลตนเอง

21 ทฤษฎีที่ 2: การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ –เรียนรู้เป็นกลุ่ม กับเพื่อน และครอบครัว –ใช้คำถามเป็นสื่อให้คิด –การจำลองสถานการณ์ (What if) –เน้นให้เด็กทำกิจกรรม และสร้างผลงาน –ให้เด็กใช้จินตนาการ –การเชื่อมโยงกับชีวิตจริง –การใช้กิจกรรมกลุ่ม เกม การอภิปราย ฯลฯ  การสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ด้วย ตนเอง  การรวบรวมข้อมูลของเด็ก และประสานงานกัน ระหว่างพ่อแม่ และครู

22 ทฤษฎีที่ 2: การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  การประเมินผล –สนับสนุนให้เด็กไม่กลัว การแข่งขัน ด้วยการ ทดสอบบ่อย ๆ –การให้เด็กยอมรับผล การประเมิน และ วางแผนในการแก้ไข ปรับปรุง ดัวยตนเอง –การประเมินผลจาก ผลงานของเด็ก และ พฤติกรรม

23 ทฤษฎีที่ 3: การเรียนรู้เพื่อพัฒนา กระบวนการคิด  การคิดเชิงวิเคราะห์ –ความสามารถในการจำแนก แยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบ เหล่านั้นเพื่อค้นหาสภาพความเป็นจริง หรือสิ่งสำคัญของ สิ่งที่กำหนดให้  การคิดเปรียบเทียบ –ความสามารถในการพิจารณาเปรียบเทียบได้สองลักษณะ คือ การเทียบเคียงความเหมือน และ / หรือ ความ แตกต่างระหว่างสิ่งหนึ่ง กับสิ่งอื่น ๆตามเกณฑ์  การคิดสังเคราะห์ –ความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบย่อยต่าง ๆ มา หลอมรวม ได้อย่างผสมผสานจนกลายเป็นสิ่งใหม่

24 ทฤษฎีที่ 3: การเรียนรู้เพื่อพัฒนา กระบวนการคิด  การคิดเชิงวิพากษ์ –ความสามารถในการพิจารณา ประเมิน และตัดสินสิ่งต่าง ๆ หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่มีข้อสงสัย หรือข้อโต้แย้งโดย การพยายามแสวงหาคำตอบที่มีความสมเหตุสมผล  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ –ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล มีหลักเกณฑ์ และ หลักฐานอ้างอิง ก่อนตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อ  การคิดเชิงประยุกต์ –ความสามารถทางสมองในการคิดนำความรู้มาปรับใช้ให้ เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับ สภาพแวดล้อม

25 ทฤษฎีที่ 3: การเรียนรู้เพื่อพัฒนา กระบวนการคิด  การคิดเชิงมโนทัศน์ –ความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล ทั้งหมดโดยมีการจัดระบบ จัดลำดับความสำคัญของ ข้อมูล เพื่อสร้างความคิดรวบยอด (Concept)  การคิดเชิงกลยุทธ์ –ความสามารถในการกำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุดโดยใช้ จุดแข็งที่ตัวเองมี มีความยืดหยุ่น พลิกแพลงได้ภายใต้ สภาวการณ์ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ  การคิดเพื่อแก้ไขปัญหา –ความสามารถในการขจัดสภาวะความไม่สมดุลที่เกิดขึ้น โดยพยายามปรับตัวเอง และสิ่งแวดล้อมให้กลับเข้าสู่ สภาวะสมดุล

26 ทฤษฎีที่ 3: การเรียนรู้เพื่อพัฒนา กระบวนการคิด  การคิดเชิงบูรณาการ –ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูล หรือแนวคิดหน่วย ย่อย ๆ ทั้งหลายที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลเข้าด้วยกัน กับเรื่องหลักได้อย่างเหมาะสม กลมกลืน เป็นองค์รวม หนึ่งเดียวที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์  การคิดเชิงสร้างสรรค์ –ความสามารถในการขยายขอบเขตความคิดที่มีอยู่เดิมสู่ ความคิดที่แปลกใหม่ โดยเป็นความคิดที่ใช้ประโยชน์ได้ อย่างเหมาะสม  การคิดเชิงอนาคต –ความสามารถในการคาดการณ์แนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้น ในอนาคตได้อย่างชัดเจน และสามารถนำสิ่งที่คาดการณ์ นั้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

27 ทฤษฎีที่ 3: การเรียนรู้เพื่อพัฒนา กระบวนการคิด  ฝึกสังเกต  ฝึกบันทึก  ฝึกการนำเสนอ  ฝึกการฟัง  ฝึกการอ่าน การค้นคว้า  ฝึกการตั้งคำถาม และตอบคำตอบ  ฝึกการเชื่อมโยงทางความคิด  ฝึกการเขียน และเรียบเรียงความคิดเป็นตัวหนังสือ

28 หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ  หมวกสีขาว เป็นการคิดในเชิงข้อมูล ข้อเท็จจริง อย่างเป็น กลาง  หมวกสีแดง เป็นการคิดโดยให้แสดงถึงอารมณ์ ชอบ – ไม่ ชอบ หรือรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนั้น ๆ  หมวกสีดำ เป็นการมองในแง่ลบ จุดด้อย  หมวกสีเหลือง เป็นการมองในแง่ดี จุดเด่น  หมวกสีเขียว เป็นการคิดให้เกิดทางเลือกใหม่ หรือ ทางเลือกที่หลากหลาย ไม่ยึดติดกับของเดิม ๆ  หมวกสีฟ้า เป็นการสรุปความคิด ตีกรอบ จัดระบบทาง ความคิดให้ตรงกับวัตถุประสงค์

29 โยนิโสมนสิการ  อุบายมนสิการ –การคิดอย่างเข้าใจความเป็นจริง ข้อเท็จจริง  ปถมนสิการ –การคิดอย่างมีลำดับขั้นตอนไม่สับสน  การณมนสิการ –การคิดอย่างมีเหตุผล  อุปาทกมนสิการ –การคิดอย่างมีเป้าหมาย

30 ทฤษฎีที่ 4: การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัย ศิลปะ ดนตรี กีฬา  ศิลปะ ดนตรี และกีฬา มีส่วนช่วยในการซึมซับถึง สุนทรียภาพในการเรียนรู้ โดยควรจะมีความสอดแทรก –หลักการของความเหมือน –หลักการของความแตกต่าง –หลักการของความเป็น “ฉัน”  การผ่อนคลายทางอารมณ์ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ความสำคัญก็คือ การสร้างความสมดุลระหว่าง “ความท้า ทายอยากรู้” กับ “ความผ่อนคลาย” –ระเบียบวินัย ที่เกิดจากตนเอง –การใช้คำถามเพื่อให้คนหาคำตอบว่า “ทำไม” ต้องมี ระเบียบและวินัย –การผิดระเบียบ และวินัย ย่อมต้องมีเหตุผล แต่เหตุผล ไม่ใช่ตัวตัดสินถูกผิด

31 ทฤษฎีที่ 5: การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัย การฝึกฝนกาย วาจา และใจ  สอนโดยใช้อุทาหรณ์ แล้วตั้งคำถามให้เด็กตอบ แล้วให้เด็ก สรุปด้วยตัวเอง  พ่อแม่ต้องยอมรับว่า เด็กมีโอกาสประพฤติผิด แต่จะทำ อย่างไรให้เด็กกล้าที่จะปรึกษา และสารภาพความผิดนั้น พร้อมกับรับโทษอย่างองอาจ  พ่อแม่ต้องยอมรับว่า การที่เด็กไม่ได้ทำตามใจพ่อแม่ หรือ ไม่ได้เป็นในสิ่งที่พ่อแม่คาดหวัง ไม่ได้เป็นสิ่งผิด  สอนโดยใช้การแฝงสาระ การพูดคุยถามความเห็น ไม่ใช่ให้ เด็ก “จำในสิ่งที่สั่ง ฟังในสิ่งที่พูด”  การสอนลูกให้ได้ดี คือ “การทำดีให้ลูกดู”  ยอมรับบ้างว่า “พ่อแม่บางครั้ง ก็เป็นฝ่ายผิด” ไม่เสียหน้าที่ จะต้องขอโทษลูก


ดาวน์โหลด ppt บรรยายโดย คุณ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ที่ปรึกษาศูนย์สร้างคนเก่งซีเอ็ด (SE-ED Learning Center) ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google