ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNuntida Rattanapong ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
2
การพัฒนาทักษะการคำนวณเรื่องระบบเลขฐาน โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง ชั้นปีที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา นางพวงพลอย ขันเลข วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา เชียงใหม่ วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
3
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา
คณิตศาสตร์ถือเป็นวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ โดยเฉพาะการคิดอย่างมีเหตุผล มีแบบแผน คิดสร้างสรรค์และสามารถวิเคราะห์แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างรอบคอบ แต่เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีเนื้อหานามธรรมเป็นส่วนมาก จึงยากที่จะให้นักศึกษาส่วนใหญ่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้ต้องมีทักษะในหลาย ๆ ด้านเพื่อช่วยในการคิดคำนวณให้ถูกต้อง เช่นเดียวกับการคำนวณเรื่องระบบเลขฐาน ผู้เรียนจะต้องใช้ทักษะการบวก ลบ คูณ หารเพื่อหาคำตอบ จากเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาทักษะการคำนวณเรื่องระบบเลขฐานให้แก่ผู้เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบหนึ่งที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการฝึกทักษะความเข้าใจในเรื่องที่เรียนไปแล้ว เป็นการทบทวนความรู้และเป็นพื้นฐานในการเรียนระดับสูงต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดด์ (Thorndike) ที่กล่าวว่า การฝึกหัดซ้ำ ๆ ทำบ่อย ๆ จะสามารถเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่ถูกต้องทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ยาวนานและคงทน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการคำนวณเรื่องระบบเลขฐานได้ดีขึ้นและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ต่อไป วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
4
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาทักษะการคำนวณเรื่องระบบเลขฐานของผู้เรียน ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะ วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
5
วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
ผังสรุปสำคัญ ความเป็นมาของปัญหา : ผลคะแนนการทำแบบทดสอบเรื่องการคำนวณเรื่องระบบเลขฐานค่อนข้างต่ำ กลุ่มตัวอย่าง : นักศึกษาในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ห้อง 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล : 1. แบบฝึกทักษะจำนวน 5 ชุด ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ 1.1 การเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นฐานอื่น ๆ 1.2 การเปลี่ยนเลขฐานอื่น ๆ เป็นฐานสิบ 1.3 การบวกเลขฐาน 1.4 การลบเลขฐาน 1.5 การคูณเลขฐาน 2.แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนมีลักษณะเป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
6
ตารางคะแนนก่อนเรียน หลังเรียน และค่าความต่างคะแนนของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน , จำนวนนักศึกษา 19 คน) คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน ค่าความต่าง 3 15 +12 2 10 +8 13 +13 6 23 +17 จำหน่าย 20 5 27 +22 30 +20 9 +9 4 14 +10 +15 19 7 + 2 51 258 +207 จากตาราง แสดงให้เห็นถึง ความก้าวหน้าด้านทักษะการคำนวณเรื่องระบบเลขฐานของผู้เรียนหลังการเรียนโดยใช้แบบ ฝึกทักษะ ซึ่งมีระดับคะแนนความก้าวหน้าตั้งแต่ 2 ถึง 22 คะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ คะแนน โดยพบว่า คะแนนความก้าวหน้าของผู้เรียนส่วนใหญ่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากที่ได้เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ
7
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ตารางค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทักษะด้านการคำนวณเรื่องระบบเลขฐานของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน ,จำนวนนักศึกษา 19 คน) การทดสอบ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนเรียน 3.4 7.58 หลังเรียน 17.2 2.82 วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
8
สรุปผลการวิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
จากตาราง แสดงให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการทำแบบทดสอบของผู้เรียนหลังจากที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะสูงขึ้นจากคะแนนที่ได้ก่อนการสอน กล่าวคือ ก่อนการทดลองค่าเฉลี่ย ของคะแนนจากการทำแบบทดสอบของผู้เรียนคิดเป็น 3.4 คะแนน แต่เมื่อได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะแล้วคะแนนเฉลี่ยในการทำแบบทดสอบของผู้เรียนสูงขึ้นเป็น 17.2 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้น 13.8 คะแนน อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน การทดสอบ ปรากฏว่าค่าการกระจายของคะแนนหลังการทำแบบฝึกทักษะน้อยลงกว่าก่อน ทำแบบฝึกทักษะดังจะเห็นได้จากค่าของ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ลดลงจาก 7.58 เป็น 2.82 หลังจากการทำแบบฝึกทักษะ ดังนั้น จึงสามารถสรุป ได้ว่า หลังจากการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะแล้ว ผู้เรียนมีทักษะในการคำนวณระบบเลขฐานเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าก่อนเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ สรุปผลการวิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
9
จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ.... วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.