งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นโยบายอาญาและการป้องกันอาชญากรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นโยบายอาญาและการป้องกันอาชญากรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นโยบายอาญาและการป้องกันอาชญากรรม
วิวัฒนาการของนโยบาย การป้องกันสังคมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2 แนวความคิดจากผลงานของ Marc Ancel
การป้องกันสังคมจำเป็นจะต้องศึกษาวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่จำเป็นอาจต้องปฏิรูประบบงานและเปลี่ยนแปลงค่านิยม การนำศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ (สหวิทยาการ) และวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาใช้ การวิเคราะห์ การประเมินผล การปรับปรุงสถาบันที่ทำหน้าที่ป้องกันอาชญากรรมให้ทันสมัย ให้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม

3 แนวความคิดจากผลงานของ Marc Ancel
การป้องกันสังคมมิใช่การแก้แค้นทดแทนหรือการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างรุนแรง แต่ควรจะใช้วิธีการป้องกันการกระทำความผิด และการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด ในบริบทของการจัดระเบียบทางสังคม การแสวงหาและการส่งเสริมการนำกฎหมายอาญามาใช้อย่างมีมนุษยธรรม การนำวิธีการอื่นมาปรับใช้แทน เช่นวิธีการตามกฎหมายแพ่ง กฎหมายปกครอง การให้การศึกษา การสาธารณสุข การสวัสดิการสังคม หรือระบบการช่วยเหลือสังคม และแนวทางสังคมกฎหมายในการแก้ปัญหาอาชญากรรม

4 แนวความคิดจากผลงานของ Marc Ancel
การป้องกันสังคมจำเป็นจะต้องใช้วิธีการลงโทษ และนโยบายทัณฑวิทยาบนพื้นฐานของการเคารพความเป็นมนุษย์ การคุ้มครองปัจเจกชนและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การใช้ความพยายามปฏิรูปและสร้างสรรค์ระบบงานป้องกันอาชญากรรมและแก้ไขผู้กระทำความผิดเป็นสิ่งที่ควรกระทำในแนวทางสากล โดยการศึกษาเปรียบเทียบ ความร่วมมือกับต่างประเทศระหว่างนักกฎหมาย อาชญาวิทยา สังคมวิทยา

5 ข้อเสนอของ Albert J. Reiss, Jr.
การป้องกันสังคมเป็นวิวัฒนาการทางแนวความคิด กระบวนการที่ทำให้ใช้กฎหมายน้อยลง (De- Jurisdicization)

6 ข้อเสนอของ Reiss ต่อ สถานะของเหยื่ออาชญากรรม
มีนัยสำคัญทางด้านการกำหนดนโยบายทางอาญา การป้องกันบุคคลมิให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม (Preventing Victimization) การป้องกันมิให้บุคคลหรือองค์กรไปทำร้ายผู้อื่น (Preventing Person or Organization from Harming Others)

7 วัตถุประสงค์ของกระบวนการยุติธรรม (ป้องกันสังคม)
ลงโทษผู้กระทำความผิด หรือจำกัดการกระทำความผิดเพื่อมิให้ผู้นั้นทำร้ายผู้อื่นได้อีกต่อไป (Specific Deterrence) ยับยั้ง ข่มขู่หรือทำให้หวาดกลัวที่จะกระทำความผิด (General Deterrence)

8 การป้องกันมิให้เกิดเหยื่อ
การควบคุมอาชญากรรมมิให้เกิดขึ้นหรือ เกิดขึ้นน้อยที่สุด หรือทำให้ผู้กระทำความผิดมิให้กระทำความผิดต่อไป เป้าหมายของการป้องกันการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน และการป้องกันสังคมยุคใหม่ได้แก่การเปลี่ยนแปลงผู้กระทำความผิดโดยเน้นการแก้ไขฟื้นฟู (Treatment) ได้แก่การใช้ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ – การศึกษา- การเปลี่ยนแปลพฤติกรรม- การแก้ไขทางร่างกายและจิตใจ เป็นต้น อันเป็นเป็นหมายแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้กระทำความผิดเพื่อมิให้เกิดเหยื่ออาชญากรรม มากกว่าการป้องกันการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม

9 การป้องกันการตกเป็นเหยื่อ
การลดโอกาสในการประกอบอาชญากรรม โดยใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การปฏิบัติต่ออาชญากรรมที่ใช้ความรุนแรง แสวงหา วิธีป้องกันพฤติกรรมที่เป็นอันตรายหรือสร้างความบาดเจ็บให้แก่สุขภาพอนามัยของประชาชน (โดยไม่คำนึงถึงการวินิจฉัยทางด้านศีลธรรมหรือความประพฤตินั้น ในขณะที่พื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอาศัยการวินิจฉัยทางด้านศีลธรรมอันดีหรือพฤติกรรมของบุคคล ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดหรือไม่เป็นความผิด ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

10 แนวทางสาธารณสุข (Public Health)
การป้องกันปฐมภูมิ (Primary) การป้องกันก่อนการเกิดเหตุการณ์ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรืออันตราย การป้องกันทุติยภูมิ (Secondary) การป้องกันอันตรายในรูปแบบอื่น ๆ มิให้เกิดขึ้นในขณะเกิดเหตุ หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อยับยั้ง หรือป้องกันภัยพิบัติ การป้องกันตติยภูมิ (Tertiary) การเยียวยาผลเสียหายอันเกิดจากเหตุการณ์


ดาวน์โหลด ppt นโยบายอาญาและการป้องกันอาชญากรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google